Thursday, April 2, 2015

เลนิน บนเส้นทางปฏิวัติ (7)

ระบอบซูบาตอฟ

ความอ่อนแอของพรรคประกอบกับการเปลี่ยนขั้วเคลื่อนไหวของกรรมกร     ถูกบีบให้ตัวมันเองจำต้องแสดงออกไปในทิศทางอื่น            ในปี 1900-1902  เอส วี ซูบาตอฟ หัวหน้าหน่วยตำรวจลับมอสโคว์  โอครานา     ได้มีความคิดที่จะจัดตั้งองค์กรแรงงานที่ถูกกฎหมายขึ้น    โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของตำรวจที่เขาสามารถเข้าร่วมแม้กระทั่งรับเลือกตั้งเป็นคณะกรรมการในฐานะผู้แทนของตำรวจด้านการตรวจสอบรักษาความปลอดภัย,และดำเนินกิจกรรม, ให้เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจอย่างเคร่งครัด ไม่ให้มีลักษณะสีสันทางการเมือง      ซูบาตอฟไม่เพียงแต่จัดตั้งสหภาพแรงงานที่ถูกกฎหมายภายใต้การควบ คุมของตำรวจขึ้นเท่านั้น (เป็นกลยุทธิที่นักปฏิวัติเรียกกันขำๆว่า “ระบอบสังคมนิยมของตำรวจ”)    แต่ยังก้าวคืบไปสู่การรับนักปฏิวัติเข้าเป็นสมาชิกด้วยด้วยการเข้าเยี่ยมนักปฏิวัติที่ถูกจองจำอยู่เสมอๆ   สร้างภาพว่าเขาสนใจเป็นห่วงเรื่องสวัสดิการและความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขัง   นำขนมปังกรอบ ชา และแม้แต่วรรณกรรมมาร์กซิสต์เข้าไปให้อ่าน      ดำเนินการไต่สวนโดยไม่ใช้สถานที่ในคุกหากแต่เป็นห้องสมุดในบ้านของเขาเอง    ซึ่งเขาจะพยายามโน้มน้าว เกลี้ยกล่อม นั่นเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะป้องกันมิให้กรรม กรเข้าร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องผลประโยชน์ของตนเอง   โดยการผสมผสานการปราบปรามที่รุนแรง   ด้วยวิธีเช่นนี้ผู้ที่อ่อนแอไร้เดียงสาส่วนหนึ่งก็ถูกหลอกให้ติดกับ  และกลายเป็นกระบอกเสียงให้แก่ซูบาตอฟภายหลังที่ถูกปล่อยตัว    เมื่อติดกับครั้งหนึ่งแล้วก็เป็นไปไม่ได้ที่จะหลบหนี     เป็นที่รู้กันว่านักปฏิวัติมักปฏิบัติต่อสายลับนักปล่อยข่าวพวกนี้ไม่ดีนัก

ความเฉลียวฉลาดของซูบาตอฟนั้นล้ำหน้ากว่าหัวหน้าตำรวจคนอื่นๆของระบอบซาร์มาก   วิธีการของเขากล่าวได้ว่าประสบผลสำเร็จมากและเกิดขึ้นจริงในเวลานั้น      ในบรรยากาศที่แรงงานทั่วไปกำลังอยู่ในความสับสนวุ่นวายและการขาดองค์กรมวลชนที่ถูกฎหมาย     มวลชนคนงานจำนวนมากต่างก็เข้าไปเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานที่ตำรวจตั้งขึ้น       เพื่อให้ข่าวสารแก่กรรมกรอย่างถูกต้อง?? อันจะนำไปสู่ความมุ่งหวังของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมการนัดหยุดงาน      สหภาพแรงงานนี้ควบคุมกรรมกรหลายหมื่นคน    มากกว่าจำนวนกรรมกรที่มีความสัมพันธ์และเคลื่อนไหวอยู่ในคณะกรรมการของกลุ่มสังคมประชาธิปไตยอย่างเทียบไม่ได้      เนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติสามารถแก้ปัญหาได้  เหล่ากรรมกรจึงถูกผลักเข้าไปในเกมส์ของตำรวจ,และใช้โอกาสนี้บีบให้เกิดข้อเรียกร้องและการจัดตั้งองค์กรอย่างถูกกฎหมายขึ้นในสถานประกอบการ  

สหภาพแรงงานของซูบาตอฟให้โอกาสแก่กรรมกรในการบริหารจัดการองค์กรกันเองและสามารถแสดงออกได้ถึงความคับแค้นใจ    คำถามอยู่ที่ว่า...อะไรคือทัศนคติของสังคมประชาธิปไตยที่ควรใช้ต่อสู้กับสหภาพแรงงานปฏิกิริยาของตำรวจ     หลายปีผ่านไปเมื่อชนชั้นกรรมกรรัสเซียได้อำนาจรัฐแล้ว   เลนินได้ให้คำตอบนี้ในนิพนธิชั้นเยี่ยมของเขาเรื่อง”คอมมิวนิสต์ปีกซ้าย,โรคไร้เดียงสา” (Left Wing Communism, an Infantile Disorder:)  ว่าด้วยยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีของการปฏิวัติว่า
ภายใต้ระบอบซาร์  เราไม่มีโอกาส ”ถูกกฎหมาย” ได้เลย ไม่ว่าในปี 1905  อย่างไรก็ตามเมื่อสายลับและตำรวจลับของซูบาตอฟจัดตั้งกลุ่ม”แบล๊ค ฮันเดรด”[1](Black Hundred) ที่ประกอบด้วยกรรมกรฝ่ายขวา และกลุ่มคนทำงานในสังคมโดยมีเป้าประสงค์ในการจับกุมและปะทะกับนักปฏิวัติ   เราได้ส่งสมาชิกพรรคของเราเข้าไปร่วมกับคนและกลุ่มเหล่านี้......พวกเขาเข้าไปทำความสัมพันธิ์กับมวลชนที่สามารถทำกาปลุกระดมได้,และประสบความสำเร็จในการดึงมวลชนเหล่านั้นออกมาจากอิทธิพลของเหล่าสายลับของซูบาตอฟ”

เลนินมิได้จำกัดอยู่แค่ข้อสังเกตุของเขาเพียงแค่ปัญหาของระบอบซาร์ของรัสเซียเท่านั้น  หากแต่ยังได้วางรากฐานและกฎเกณฑ์ทั่วไปโดยใช้หลักการของลัทธิมาร์กซในองค์กรมวลชนของชนชั้นกรรมาชีพอีกด้วยโดยการสร้างพรรคปฏิวัติที่แท้จริงขึ้น, มันไม่เพียงพอที่จะเคลื่อนไหวเพียงด้านแคบๆ   แต่มันมีความจำเป็นที่จะปูทางไปสู่มวลชนโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรคใดๆมันมีความจำเป็นที่จะต้องเดินไปสู่มวลชนไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร   “การปฏิเสธที่จะทำงานในสหภาพแรงงานปฏิกิริยานั้นหมายถึงการเสียโอกาสสำคัญในการพัฒนามวลชนคนงานผู้ล้าหลังที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้นำกรรมกรปฏิกิริยาบรรดาสายลับของชนชั้นนายทุน, นักแรงงานขุนนางหรือกรรมกรผู้ที่กำลังจะกลายเป็นสมุนรับใช้ของนายทุนอย่างเต็มตัว”

ทฤษฎีไร้สาระที่ว่าชาวคอมมิวนิสต์ไม่ควรเข้าไปทำงานในสหภาพแรงงานปฏิกิริยานั้นแสดงให้เห็นถึงทัศนะที่สุดขั้วของลัทธิฉวยโอกาสเอียงซ้ายอย่างชัดเจนในปัญหาความผิดพลาดของพวกเขาในการทำงานมวลชน     ถ้าต้องการช่วยเหลือมวลชน,ได้รับความเห็นอกเห็นใจและได้รับการสนับสนุนจากมวลชน   ก็ต้องไม่กลัวความยากลำบาก  ไม่กลัวการกล่าวร้ายส่อเสียด  ไม่กลัวการเล่นเล่ห์เพทุบาย  ไม่กลัวการสบประมาท  และการก่อกวนจากบรรดาผู้นำที่เป็นนักฉวยโอกาสและพวกนักสังคมคลั่งชาติ  คนพวกนี้ย่อมมีสายสัมพันธ์กับบรรดานายทุนและตำรวจอยู่แล้วไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม    นั่นจึงจะเป็นการปฏิบัติงานที่สมบูรณ์      ที่ใดที่มีมวลชนเราต้องเข้าไป   ต้องจิตใจที่เสียสละไม่ว่าในเรื่องใดๆเพื่อจะสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆได้    ดำเนินการปลุกระดม  และโฆษณาชวนเชื่ออย่างเป็นระบบ ด้วยความมุ่งมั่น  สม่ำเสมอ  อดทน  ในสถาบัน  ชมรม  และสมาคมทั้งหลายแม้ว่ามันจะเป็นองค์กรปฏิกิริยาของกรรมกร  หรือกึ่งกรรมกร”

สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะเด่นของเลนิน    ที่ใช้วิธีผสมผสานและยืดหยุ่นในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและหลักการในการแก้ปัญหาการบริหารองค์กร   ผู้มีอำนาจมีความพยายามที่จะสร้างกำแพงคั่นกลางระหว่างนักลัทธิมาร์กซและมวลชน     ดังนั้นกรรมกรชาวสังคมประชาธิปไตยต้องทำงานกันอย่างระมัดระวัง , มีความอดทนและใช้ยุทธวิธีที่พลิกแพลงเข้าไปทำลายอุปสรรคสิ่งกีดขวางเหล่านี้ด้วยการรุกเข้าไปในองค์กรสหภาพฯ   เพื่อบรรลุภาระหน้าที่ในการติดอาวุธทางความคิดแบบลัทธิมาร์กซให้แก่มวลชนกรรมกร   ภายใต้แรงกดดันของกรรมกรพื้นฐานสมาชิกในสหภาพแรงงานของซูบาตอฟบางส่วนได้เริ่มการเคลื่อน ไหวต่อสู้เปลี่ยนแปลงภายในองค์กร      ภายหลังคลื่นการหยุดงานในปี 1903 ซูบาตอฟก็มาถึงทางตันแม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวอยู่บ้าง      ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีการรวมตัวกันของกรรมกรโรงงานและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสหภาพแรงงานของซูบาตอฟ   ก่อตั้งขึ้นโดยสาธุคุณ กาปอนโดยได้รับอนุญาตจากตำรวจ      นักสังคมประชาธิปไตยจำนวนมากต่างเห็นโอกาสและมีความจำเป็นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรนี้เพื่อการเข้าถึงมวลชน     แต่ไม่ยอมรับลักษณะปฏิกิริยาของมันไม่ว่าจะตั้งแต่เริ่มต้นหรือในท้ายที่สุด    นักปฏิวัติต่างมีความเข้าใจในวิถีทางการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่แท้จริงของชนชั้นกรรมาชีพ   

ลักษณะพิเศษที่เลนินมักจะใช้อยู่เสมอในการทำงาน     คือไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามต่อปัญหาความแตกต่างในทางทฤษฎีอย่างเด็ดขาด      และใช้ยุทธวิธีที่มีลักษณะยืดหยุ่นอย่างมากในการทำงานร่วม   กันทั้งในด้านบริหารองค์กรโดยการประสานผลประโยชน์พื้นฐานเข้าด้วยกัน      ชนชั้นปกครองมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างกำแพงกั้นระหว่างนักลัทธิมาร์กซและมวลชน  กรรมกรฝ่ายสังคมประชาธิปไตยต้องใช้ความอดทนระมัดระวังในการเคลื่อนไหวอย่างมาก, ใช้ยุทธวิธีอย่างยืดหยุ่นพลิกแพลงเพื่อทะลายสิ่งกีดขวางเหล่านี้โดยรุกเข้าไปในสหภาพแรงงานเพื่อนำเอาความคิดลัทธิมาร์กซไปติดอาวุธทางความคิดให้แก่เพื่อนกรรมกร      โดยวิธีนี้สหภาพฯที่จัดตั้งโดยซูบาตอฟจึงไม่สามารถต้านทานความกดดันเช่นนี้ได้     สมาชิกบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนหน่วยงานของตน(workshop)ไปเป็นองค์กรเคลื่อนไหวต่อสู้   ซูบาตอฟ เริ่มหมดบทบาทลงไป เนื่องจากไม่สามารถต้านทานกระแสคลื่นของการนัดหยุดงานของปี 1903 ได้    แต่สหภาพแรงงานที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของของฝ่ายปฏิกิริยาก็ยังเคลื่อนไหวต่อไปโดยยังใช้แนวทางเดียวกับซูบาตอฟ เช่น  ”สหพันธ์กรรมกรโรงงานและหน่วยงานรัสเซีย” ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก  ที่ก่อตั้งขึ้นโดยบาทหลวงกาปอน ที่ได้รับการอนุมัติจากตำรวจ

นักสังคมประชาธิปไตยส่วนใหญ่ได้พยายามไขว่คว้าโอกาสในการเข้าร่วมขบวนกับองค์กรของบาทหลวงกาปอนเพื่อเป็นการปูทางเข้าหามวลชน     พวกเขาต่างยอมรับลักษณะปฏิกิริยาของมัน  นี่ไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งสุดท้าย    นักปฏิวัติบางคนมักจะเข้าใจเอาเองว่าหนทางในการเคลื่อนไหวที่แท้จริงของชนชั้นกรรมกรได้คลี่คลายลงไปแล้วโดยเริ่มต้นจากความคิดที่เป็นนามธรรม(อัตวิสัย)   ที่ว่าชนชั้นกรรมาชีพจำต้องมีพรรคปฏิวัติเป็นแกนนำ     พวกเขาหลงคิดเอาว่ากำลังอยู่ในองค์กร(ที่แท้จริง)ของชนชั้นกรรมา ชีพซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากสถานการณ์อย่างเป็นรูปธรรม   และเพียงแต่เข้าใจเอาจากอัตวิสัยของตนที่ไม่ได้เจาะลึกลงไปว่ามันความคล้ายคลึงกันหรือไม่      โดยไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าองค์กรของชนชั้นกรรมกรควรมีหน้าตาเช่นไร?        องค์กรสหภาพใหม่นี้ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับของตำรวจเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมชนชั้นกรรมาชีพแล้วหรือไม่ ? ชาวลัทธิมาร์กซจะเข้าร่วมในองค์กรที่น่าขยะแขยงนี้อย่างไรกระทั่งการเข้าไปเริ่มงานโฆษณา ปลุกระดม เพียงอย่างเดียวของกลุ่มนักสังคมประชาธิปไตยหน่วยเล็กๆนั้นดูเหมือนจะไร้ประโยชน์       กรรมกรที่มีการจัดตั้งเป็นชนชั้นกรรมาชีพที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์สูงส่วนมากล้วนเป็นสมาชิกสหภาพของบาทหลวงกาปอน

คนเหล่านี้ย่อมเห็นพวกกรรมกรหนุ่มๆที่พยายามเข้าไปชี้นำหรือสอนบทเรียนแก่พวกเขาไม่อยู่ในสายตา    การโฆษณาชวนเชื่อดูเหมือนเหมือนว่าจะไม่มีผลแต่อย่างใด เอส. โซมอฟ (ไอ. เอ. พุชกิน)สมาชิกเมนเชวิค ได้อธิบายสถานการณ์ของพวกเขาในองค์กรจัดตั้งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อต้นปีว่า
 “เป็นภาพที่น่าเศร้า  องค์กรจัดตั้งที่พอจะถือว่าดีก็มีแต่เพียงในเขตนาร์วาเท่านั้น      ตัวอย่างเช่นในจำนวนกรรมกร  30,000 คน     องค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตยมีอยู่แค่ 6 หรือ 7 หน่วยเท่านั้น(หนึ่งหน่วยมีสมาชิก 5 ถึง 6คน)    การเคลื่อนไหวในโรงงานปูลิตอฟและโรงประกอบหัวรถจักรและตู้รถไฟก็เป็นการเคลื่อนไหวในด้านเศรษฐกิจการเมืองตามวัฒนธรรมแบบเก่า    จริงอยู่, แม้จะมีตัวแทนขององค์กรอยู่แต่การเคลื่อนไหวของพวกเขาก็ยากที่จะเข้าใจได้     ชีวิตรวมหมู่ในโรงงานไม่ได้สะท้อนออกซึ่งความเป็นหน่วยจัดตั้งเลย    ต่อสถานการณ์วุ่นวายที่ยืดเยื้อเช่นนี้ทำให้บทบาทการเคลื่อน ไหวของกาปอนมีพลังเพิ่มมากขึ้น      มันเป็นความต้องการของมวลชวนกรรมกรทั้งมวลที่จะเคลื่อนไหวรวมตัวกันเป็นพลังทางชนชั้นซึ่งระบอบซูบาตอฟไม่เคยให้ความใส่ใจ     ยิ่งไปกว่านั้นกรรมกรที่สังกัดหน่วยจัดตั้งของเราส่วนมากเป็นคนรุ่นหนุ่มที่พึ่งจะพ้นระยะทดลองงานและยังไม่มีบารมีพอต่อสภาพ แวดล้อมในโรงงาน”

การเคลื่อนไหวของกรรมกรในหน่วยจัดตั้งย่อมมีความสามารถเหนือกว่าระดับกรรมกรโดยทั่วไป   ซึ่งทำงานได้ดีกว่าและมีความกระตือรือล้นมากกว่า      ไม่เพียงแต่งานทางด้านการเมืองก็ทำได้ค่อนข้างดีโดยเฉพาะในสถานประกอบการที่มีสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในการเจาะทะลวง      เอ.เอ็ม. บูอิโก กรรมกรโรงงานปูลิตอฟบันทึกไว้ว่า  “ในวันเวลาดังกล่าว  ถือกันโดยทั่วไปว่าถ้ากรรมกรที่ไม่ใช่ระดับผู้ชำนาญงาน, ไม่ใช่ระดับช่างฝีมือก็จะไม่มีพวกพ้องบริวารและผู้สนับสนุน     ทัศนะเช่นนี้มาจากรากเหง้าของระบอบเก่า      สำหรับหน่วยโฆษณากรรมกรอาวุโสระดับผู้ชำนาญงานมักจะไม่คอยให้ความสนใจต่อคนงานที่มีอาวุโสน้อยแลยังไม่มีความชำนาญ    ถ้าคนงานหนุ่มเหล่านี้เริ่มต้นการพูดคุย(โฆษณา)บรรดากรรมกรอาวุโสมักจะพูดตัดบทว่า “พวกแกน่าจะไปเรียนรู้การจับค้อน ใช้มีด ใช้สิ่วให้ถูกวิธีก่อนเถอะว่าควรทำอย่างไร   ก่อนที่พวกแกจะมาถกเถียงและสอนคนอื่น”

บาทหลวงกาปอน
สหภาพแรงงานของกาปอนเริ่มก่อตั้งเมื่อเดือน เมษายน 1904   ซึ่งตามสภาพที่เป็นจริงคือสมาคมมิตรภาพที่จัดการเกี่ยวกับห้องสมุด   การประกันตนและการบริการทางสังคม   เช่นจัดแสดงคนตรีในช่วงเย็นเพื่อให้บริการแก่กรรมกรและครอบครัว     โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นทางออกแก่กรรมกรได้ผ่อนคลายความคับข้องใจในบางครั้งบางคราว      การพูดเรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องห้ามอย่างเด็ดขาดด้วยการประกาศเป้าประสงค์ที่ไม่สู้จะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวต่อสู้ของมวลชนกรรมกร     เช่นการรณณรงค์เรื่อง  ”สำนึกในความเป็นชาติ” ในมวลหมู่กรรมกร, สนับสนุนเรื่องที่ ”สมเหตุผล” ที่เป็นไปได้เช่นเรื่องสิทธิของกรรมกร, การเลี้ยงดูบุตรฯลฯ  เคลื่อนไหวเรียกร้องโดยวิธีที่กฎหมายรับรองโดย  “ดำเนินกิจกรรมที่มีการอำนวยความสะดวกในการปรับปรุงกฎหมายแรงงาน,เงื่อนไขของการทำงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิต "
ตั้งแต่นั้นมากลุ่มผู้นำก็ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆไปตามหน้าที่ของตนทั้งนี้รวมไปถึงบรรดาผู้ที่เรียกตนเองว่านักปฏิวัติทั้งหลายด้วย   ไม่ใช่เรื่องแปลก...ที่กรรมกรนักปฏิวัติและปัญญาชนต่างก็มององค์กรใหม่นี้ด้วยความคลางแคลงใจและด้วยความเป็นปฏิปักษ์อย่างสูง

แม้ว่าพวกตำรวจและบรรดาผู้นำหุ่นในสหภาพจะพยายามบีบคั้น จำกัด การเคลื่อนไหวของกรรมกรให้ เป็นการต่อสู้แบบ ”ถูกกฎหมาย” หรือให้อยู่ในกรอบของกฎหมายก็ตาม ในที่สุดพวกเขากลับต้องพบกับความล้มเหลว        กระแสสูงของความไม่พอใจเกิดขึ้นทั่วไปในสังคมสืบเนื่องมาจากสงครามระหว่าง รัสเซียกับญี่ปุ่นและเริ่มกระจายไปสู่มวลชนกรรมกรกลุ่มที่ล้าหลังที่สุด    จนถึงขณะนี้ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์กับระบอบซาร์ยิ่งเพิ่มมากยิ่งขึ้นซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่พวกปัญญาชนเสรีนิยมและบรรดานักศึกษา  กองกำลังขนาดใหญ่ของชนชั้นกรรมกรดูเหมือนว่ายังไม่ได้เข้าร่วมการต่อสู้    แต่....ถึงแม้ว่าจะอยู่ในความสงบบรรดาโรงงานและถิ่นที่อยู่ของกรรมกรกำลังอยู่ในภาวะที่เดือดพล่านด้วยความไม่พอใจ   ต่อภววิสัยเช่นนี้...จิตสำนึกได้แสดงออกถึงความเรียกร้องต้องการต่อความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งองค์กรใต้ดินขึ้น
ภายหลังที่ เพลเว (Plehve) รัฐมนตรีมหาดไทยผู้น่าชิงชังถูกลอบสังหารในเดือนกรกฎาคม 1904 กลุ่ม ชนชั้นปกครองต่างสิ้นหวังที่กองทัพถูกพิชิต   ทำให้พวกเขาตัวสั่นไปด้วยความหวาดกลัว,จึงพยายามหาทางยับยั้งการก่อปฏิวัติโดยมวลชนชั้นล่างโดยยอมโอนอ่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในสังคมโดยการกำหนดจากข้างบน       ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1904 ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มปกครองและมวลชนกรรมกรได้คลายความตึงเครียดลงบ้าง    เปิดโอกาสให้ให้มวลชนกรรมกรมีพื้นที่หายใจได้มากขึ้น   จากเดือนกันยายน 1904 เป็นต้นมาบรรดาชมรมของกรรมกรได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องตามโรงงานต่างๆในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโดยได้รับการอุปถัมภ์จากชมรมสหภาพแรงงานของบาทหลวงกาปอน,ซึ่งตอนนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่กรรมกร        กรรมกรรุ่นใหม่ๆที่ไร้ประสบการณ์การต่อสู้ได้รับการจัดตั้งขึ้น    สหภาพของกาปอนยามนี้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 8,000 คน และขยายสาขาออกไปตามเขตต่างๆในเมืองอีก 11 แห่ง  มีกรรมกรเข้าร่วมเป็นสมาชิกจำนวนมากกว่าที่เคยเป็นสมาชิกในองค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตยที่อย่างมากมีเพียง 5-600 คน อย่างเทียบไม่ได้

บรรดากรรมกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพของกาปอนนั้นไม่เหมือนกรรมกรรุ่นเก่าที่มีสำนึกเรื่องสังคมประชาธิปไตย    หากแต่เป็นมวลชนที่ค่อนข้างจะดิบเถื่อนไม่เคยผ่านการฝึกฝน(การต่อสู้)มาก่อน    และยังดูดซับเอาสภาวะความล้าหลังที่ยาวนานมานับพันปีของชนชั้นชาวนามาอย่างเต็มเปี่ยม   ตราบเท่าที่ความอยุติธรรมยังดำรงอยู่   ชาวนารัสเซียยังคงมีความเชื่อที่ผิดๆว่าพวกตนเป็นเพียง ”ข้ารองพระบาท” ของพระเจ้าซาร์  ไม่ได้คิดว่าสถาบันกษัตริย์ต่างหากที่จะต้องมีภาระในการปกป้องประชาชน   มันคงไม่ใช่โดยเหตุบังเอิญที่มีพระเป็นผู้นำสหภาพฯ        นักลัทธิมาร์กซถูกกีดกันไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทอย่างจริงจังได้ในองค์กรนี้       แม้ว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนกรรมกรที่มีความสำคัญโดยพื้นฐานซึ่งก่อนหน้านี้ได้เคยแสดงบทบาทของตนผ่านองค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปปไตยมาตลอดนับเป็นทศวรรษได้จบสิ้นลง     และนี่คือโฉมหน้าใหม่ที่เกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมของเวลานั้น

มันเป็นเรื่องที่บางคนได้ละเลยต่อประเด็นสำคัญไป   เมื่อได้อ่านข้อวิจารณ์ที่กล่าวว่าการปฏิวัติในปี 1905 นั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่าง ”เป็นไปเอง”  แน่นอนปัจจัยของความเป็นไปเองนั้นปรากฎอยู่,แต่ไม่ใช่ด้านหลัก     เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นและนำไปสู่กรณี 9 มกราคมนั้น    กลุ่มผู้นำในองค์กรจัดตั้งของสหภาพฯกาปอนได้มีการวางแผนกันมาเป็นอย่างดี        โดยใช้บทบาทภายใต้แรงกดดันของมวลหมู่กรรมกร,ซึ่งหลายๆคนในนั้นเคยผ่านการปลุกระดมจากหัวข้อโฆษณาของนักลัทธิมาร์กซมาก่อนในกรณีการหยุดงานครั้งใหญ่เมื่อทศวรรษที่ 1890

ภาพลักษณ์ของกาปอนนั้นดูเป็นปริศนา     ทัศนะที่เด่นชัดของชาวลัทธิมาร์กซมีความเห็นว่ากาปอนคือเป็นสายลับของตำรวจ     ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทำหน้าที่การวางแผนการสังหารหมู่ในวันที่ 9 มกราคม 1905 โดยเจตนา   เป็นที่รับรู้กันโดยไปทั่วที่หลักสูตรการอบรมระยะสั้นของกลุ่มผู้นิยมสตาลินได้ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า 
ในปี 1904 ก่อนการนัดหยุดงานที่โรงงานปูลิตอฟ   พวกตำรวจได้ใช้สายลับเข้าไปยุแหย่ปลุกปั่นกรรมกรโดยพระรูปหนึ่งชื่อกาปอน... ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือตำรวจในองค์กรโอครานา(ตำรวจลับ)โดยการสร้างเงื่อนไขสำหรับการยิงมวลชนกรรมกรและทำลายการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรด้วยวิธีรุนแรง”

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า..กาปอนนั้นคบหากับตำรวจลับตั้งแต่ครั้งก่อตั้งสหภาพฯแล้ว    ในขณะเดียวกันก็ยังมีความสัมพันธ์กับสมาชิกระดับสูงของรัฐบาลอีกด้วยซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่ค่อนข้างจะขัดแย้งกัน   วันที่ 9 มกราคมกาปอนเดินขบวนเคียงข้าง ปินชาส์ รูเทนแบร์ก นักสังคมประชาธิปไตยและรอดตายจากเงื้อมมือตำรวจของระบอบซาร์ไปอย่างหวุดหวิด, ภายหลังได้หลบภัยไปอยู่กับ  แม๊กซิม กอร์กี้     และยังได้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดกับเลนินในเจนีวาและเริ่มมีความใกล้ชิดกับกลุ่มบอลเชวิค       เลนินเชื่อในความจริงใจของเขา      แต่ความเข้าใจของกาปอนเกี่ยวกับการปฏิวัตินั้นยังคงอยู่ในระดับพื้นฐานอยู่มาก     การลี้ภัยได้ทำลายตัวเขาเองเหมือนกับที่ได้ทำลายคนอื่นๆ     กาปอนเริ่มประพฤติตนออกนอกลู่นอกทางและติดการพนันและในที่สุดก็กลับรัสเซีย      เขาเริ่มพยายามรื้อฟื้นความสัมพันธ์เก่าๆโดยติดต่อกับตำ รวจโดยเขียนจดหมายถึง ดูรโนโว รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย      ในที่สุดเขาถูกลอบสังหารในเดือนมีนาคม 1906     ที่น่าขันก็คือกระสุนสังหารนั้นมาจากเพื่อนสมาชิกพรรค สังคมนิยม-ปฏิวัติ ที่เคยเดินเคียงบ่าเคียงไหล่กันในวันอาทิตย์นองเลือดในเดือนมกราคมนั่นเอง

ความคิดที่ว่าโดยจิตสำนึกแล้วกาปอนนำคนงานไปเพื่อถูกฆ่านั้นเป็นเรื่องที่ผิดอย่างแน่นอน    ความขัด แย้งทางบุคลิกภาพของเขาสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญาแบบคนงานรุ่นใหม่ทีพึ่งจะมาจากชนบทซึ่งมีลักษณะชนชั้นกรรมาชีพเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น       เขานำเอาอคติและความคิดปฏิกิริยาติดตัวมา    แต่ด้วยการที่เป็นนักจัดตั้งที่มีความสามารถ   พูดจาปราศรัยได้น่าฟัง   มีความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ, สามารถพูดภาษาที่กรรมกรเข้าใจได้   อีกทั้งสามารถผสมผสานความเข้มแข็งและคำสอนของศาสนาเข้าด้วยกันได้อย่างน่าทึ่ง ทำให้การต่อสู้ทางชนชั้นให้สอดคล้องกับระบบกษัตริย์    สร้างความงุนงงสับสนทางจิตสำนึกให้แก่ผู้คนที่ถูกกดขี่นับล้านๆคน

กาปอนในฐานะที่เป็นลูกชาวนา,ผู้ซึ่งเคยสัมผัสกับความคิดปฏิวัติมาตั้งแต่วัยเด็ก     ความเชื่อของเขาแสดงออกถึงการดิ้นรนอย่างไร้ทิศทางของชนชั้นนี้     ซึ่งปรารถนาที่จะต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในโลกที่เป็นอยู่    แต่ยังคงสับสนด้วยความหวังที่จะได้รับความสุขสมบูรณ์ของชีวิตหลังความตาย      และยังมีความเชื่อมั่นใน ”พ่อของแผ่นดิน”อยู่    ไม่มีใครที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกของมวลชนได้ดีไปกว่ากาปอน     ด้วยเหตุนี้มวลชนจึงเทิดทูนเขา  ไลโอเนล โคชัน ได้เขียนไว้ในบันทึกเรื่อง “สิบวันแรกของเดือนมกราคม”  ว่า
เขา(กาปอน)ได้เปล่งประกายของความเป็นทั้งผู้นำและศาสคาพยากรณ์ ....สำหรับทุกคำพูดของเขาทำให้ผู้คนมีความหวังในชีวิต    เสื้อคลุมสีดำของพระและไม้กางเขนเป็นประดุจแม่เหล็กที่ดูดเอาผู้ทุกข์ระ ทมนับแสนมารวมกัน”

พลวัตรทั้งหมดของกาปอนนั้นได้ทุ่มเทไปในการปลุกเร้า  ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถควบคุมได้   ในขณะที่นักปฏิวัติทั้งหลายต่างก็ประทับตราเขาว่าเป็นสายของตำรวจที่ส่งมาปลุกปั่นยุแยง     และบรรดาเจ้าหน้าที่ต่างก็สาปแช่งเขาในฐานะตัวแทนของการปฏิวัติที่อันตรายยิ่ง    โดยมิได้พิจารณาถึงความมุ่งมั่นทางอัตวิสัยของเขา   ซึ่งภายหลังต่อมาได้ถูกบรรยายว่ายังห่างไกลจากสภาพความจริง        กาปอนไม่มีความพร้อมในการใช้กำลังที่เขาช่วยเสกสร้างขึ้นมา       ตลอดระยะเวลาการเคลื่อนไหวต่อสู้เขาได้สร้างรอยประทับขึ้นจากเหตุการณ์ที่ดำเนินไปโดยอยู่เหนือความควบคุมและความเข้าใจของเขา     ก่อนหน้าวันสังหารหมู่เพียงวันเดียวผู้นำคนนี้ได้กล่าวด้วยความไม่แน่ใจว่า “ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดตามมา?” ดีหรือไม่ผมไม่รู้ได้ อาจเป็นบางอย่างที่ยิ่งใหญ่   แต่อะไรก็ไม่แน่นอน  ผมไม่สามารถพูดได้  ไม่รู้จะออกหัวหรือหาง”

การสะสมความเคียดแค้นและขมขื่นของกรรมกรโรงงานในไม่ช้าก็ระเบิดออกเป็นการนัดหยุดงานในเดือนธันวาคมที่โรงงานสร้างอาวุธโปลิตอฟ    ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ของชนชั้นกรรมาชีพในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก      เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1904  โดยมวลชนกรรมกรได้จัดให้มีการประชุมกันภายในโรง งานหลายแห่งโดยการอุปถัมภ์ของสหภาพกาปอน    เพื่อให้กรรมกรได้ระบายความคับแค้นใจและเรียนรู้ถึงพลังของชนชั้นตน   พวกนายจ้างเริ่มหวาดกลัวและได้ตัดสินใจระงับการประชุม     ชนวนระเบิดก็คือการไล่คนงานที่เป็นแกนนำการเคลื่อนไหวของสหภาพฯกาปอนออกจากงานจำนวน 4 คน     วันที่ 28 ธันวาคม กาปอนได้จัดประชุมตัวแทนกรรมกรใน 11 โรงงาน  ท่ามกลางอารมณ์ความรู้สึกที่เดือดพล่านได้ผลักดันให้กลุ่มผู้นำกรรมกรและแม้แต่ผู้นำของลัทธิผู้นิยมกาปอนเองให้มีลักษณะสู้รบมากขึ้น

เมื่อความเป็นจริงทางภววิสัยได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ แน่นอนตัวแทนของทั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคสังคมนิยมปฏิวัติต่างก็ได้รับเชิญเข้าร่วมเคลื่อนไหวด้วย      ที่ประชุมได้ตัดสินใจส่งตัวแทนไปทำความตกลงยื่นข้อร้องเรียนต่อกรรมการบริหารและผู้ที่รับผิดชอบของโรงงานต่างๆในเซนตปีเตอร์สเบิร์ก    แสดงออกถึงความไม่พอใจในสถานะและสภาพการทำงานของเหล่ากรรมกร    วันที่ 3 มกราคม กรรมกร 13,000 คนได้นัดหยุดงาน        เหลือเพียงสองคนที่เป็นสายของตำรวจเท่านั้นที่ยังทำงานอยู่     กลุ่มผู้หยุดงานเรียกร้องให้ลดเวลาทำงานเหลือ 8 ชั่วโมงต่อวัน    โดยไม่มีการทำงานล่วงเวลา  รับรองสภาพการทำงาน   ค่ารักษาพยาบาลฟรี   เพิ่มค่าแรงให้แก่กรรมกรหญิง  อนุญาตให้มีตัวแทนกรรมกรในการประชุม   และให้จ่ายค่าแรงในระหว่างวันที่มีการหยุดงาน

การนัดหยุดงานที่โรงงานปูลิตอฟ

การเรียกร้องนั้นมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากแนวคิดของกาปอน    เพื่อจะหันเหแนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้ให้ไปสู่แนวทางสันติเพื่อประกันความปลอดภัย      หรืออาจจะเป็นไปได้ที่กาปอนมีความมั่นใจว่าเขาสามารถสร้างบทบาทขึ้นในฐานะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่าง”พ่อของแผ่นดิน”และลูกๆได้    การเคลื่อนไหวยังคงเดินหน้าต่อไปแม้ว่ามวลชนยังอยู่ในสถานการณ์ที่วุ่นวายสับสน      โดยตรรกแล้วเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นแนวคิดที่จะไม่ก่อเกิดอันตรายใดๆขึ้น       ความคิดที่จะถวายฎีกาต่อพระเจ้าซาร์และคำเรียก ร้องต้องการเฉพาะหน้านั้นเป็นอารมณ์ร่วมของมวลชนอยู่แล้ว       การประชุมกลุ่มมวลชนได้เกิดขึ้นทั่วไปในนครหลวงกาปอนต้องวิ่งรอกไปทั่วเพื่อเข้าร่วมการประชุม       เขากล่าวคำปราศรัยด้วยถ้อยคำที่เผ็ดร้อนรุนแรงขึ้นเรื่อยๆภายใต้อารมณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวร่วมกับมวลชนผู้ที่ยกย่องเชิดชูเขา     ผู้ที่อยู่ในเหตุ การณ์ได้เล่าถึงบรรยากาศที่สุดแสนจะประทับใจในการประชุมครั้งนั้น    ถึงบุคลิกภาพในการปราศรัยของเขาซึ่งดูเสมือนดั่งคำสั่งสอนของพระศาสดา      กาปอนได้รับฉันทานุมัติและมีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในการนำการต่อสู้ของมวลชนกรรมกร      เขาเรียกร้องให้มวลชนยืนหยัดร่วมกันและถ้าจำเป็น..ก็ขอตาย ร่วมกัน ........”ผู้คนที่อยู่ที่นั่นต่างตกอยู่ในอาการปลื้มปิติ  หลายคนร่ำไห้, กระทืบเท้า, กระแทกเก้าอี้ ,ทุบกำแพงด้วยกำปั้นและยกมือโห่ร้อง    ให้สัตย์ปฏิญานว่าจะยืนหยัดต่อสู้ร่วมกันจนถึงวาระสุดท้าย”

การเคลื่อนไหวได้แปรสภาพเป็นการนัดหยุดงานทั่วไปอย่างรวดเร็ว    วันที่ 5 มกราคม กรรมกร 26,000 คน ร่วมหยุดงาน ; วันที่ 7  105,000 คน  และวันต่อมามีกรรมกรเข้าร่วมถึง 111,000 คนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ยังมีลักษณะทางการเมืองอีกด้วย   มติที่ประชุมในวันที่ 5 ยังเรียกร้องให้จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยเร่งด่วนเรียกร้องให้มีเสรีภาพทางการเมือง, ให้ยุติสงคราม(กับญี่ปุ่น)และปลดปล่อยนักโทษการ เมืองทั้งหมด      การริเริ่มตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวทั้งหมดนี้มีความเป็นไปได้ว่ามาจากมวลชนกรรมกรที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากพรรคสังคมประชาธิปไตย    พรรคสังคมประชาธิปไตยได้ทำการปลุกระดม  โฆษณาและจัดตั้ง  สร้างความสัมพันธ์กับกรรมกรฝ่ายก้าวหน้าทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ทำการบ่มเพาะพวกเขามาเป็นเวลานานแล้ว โดยหน่วยเคลื่อนไหวโฆษณาของพรรค       ยิ่งไปกว่านั้นกรรมกรจำนวนมากเคยได้รับผลสะเทือนจากการปลุกระดมมวลชนของพรรคสังคมปนะชาธิปไตยที่ได้กระทำมาอย่างเป็นระบบอย่างน้อยก็นับเป็นสิบปีก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 9 มกราคม      คำขวัญพื้นฐานที่นักลัทธิมาร์กซที่ได้ฝังลึกไว้ในจิตสำนึกของชนชั้นกรรมาชีพได้เริ่มปรากฏผล       ปัญหาข้อหลักๆที่พรรคสังคมประชาธิปไตยได้เรียกร้องมาโดยตลอดนั้นได้เป็นจริงขึ้นมาโดยผ่านข้อเสนอที่มีชื่อเสียงของกาปอนเช่น    ลดชั่วโมงทำงานเป็น 8 ชั่วโมง/วันและให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นต้น

แม้ว่าคำขวัญของพรรคสังคมประชาธิปไตยจะได้รับการตอบสนองจากมวลชน    แต่สำหรับตัวพรรคเองกำลังอยู่ในภาวะที่โดดเดี่ยวและไม่มีบารมีพอ    อีกไม่กี่ปีต่อมามาร์ตอฟได้เขียนไว้ในหนังสือ”ประวัติ ศาสตร์ของพรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย” ของเขายอมรับว่า..  ”ทั้งสองปีกของพรรคสังคมประชาธิป ไตย(บอลเชวิคและเมนเชวิค....ผู้แปล)ไม่สามารถแม้แต่จะสังเกตได้ถึงการเกิดสภาวะการปฏิวัติที่โหมกระหน่ำในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อเดือนมกราคม 1905 เอาเสียเลย   ไม่เพียงแต่ฝ่ายนำของพรรคที่อยู่นอกประเทศเท่านั้นแม้แต่องค์กรจัดตั้งภายใน(ประเทศ)ทั้งหมดก็เช่นกัน  ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเหตุ การณ์ครั้งนั้นเท่าที่ควร”   และแม้แต่กลุ่มบอลเชวิคเองก็ยอมรับในการสรุปในสมัยประชุมสมัชชาครั้งที่ 3  โดยแถลงว่า....”เหตุการณ์เดือนมกราคม  พบว่าในการประชุมคณะกรรมการแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเป็นอย่างยิ่งที่ในขณะนั้นความสัมพันธ์กับมวลชนกรรมกรของกลุ่มเมนเชวิคเป็นการจัดการที่สับสนอลหม่านอย่างยิ่ง (องค์กรโซเวียตคนงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอยู่ภายใต้การควบคุมบริหารโดยสมาชิกของกลุ่มเมนเชวิคเป็นส่วนใหญ่...ผู้แปล) มีเพียงเขตวาซิลีและวีบอร์กเท่านั้นที่สามารถดำเนินงานไปได้”

เช่นเคย....”สามัคคีเป็นหนึ่งเดียว” คือคำขวัญในการเคลื่อนไหวมวลชน    พวกเขา(ผู้สนับสนุนกาปอน)  เห็นว่าพรรคสังคมประชาธิปไตยนั้น ”ไม่มีอะไร”เลย    มองว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเสียด้วยซ้ำไป    ในการประชุมมวลชนกรรมกรครั้งหนึ่งกาปอนกล่าวบริภาษนักพูดของพรรคสังคมประชาธิปไตยว่า  “อย่ามาเสนอความเห็นที่ทำให้แตกแยกเลย     ขอให้เรามาเดินหน้าไปด้วยกันสู่เป้าหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ภายใต้ร่มธงแห่งสันติที่เป็นเอกภาพเถิด”     อำนาจการนำของกาปอนนั้นไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้  ซึ่ง        ต่างจากนักปฏิวัติสังคมประชาธิปไตยซึ่งเป็นผู้ที่มวลชนกรรมกรยังมีความคลางแคลงใจอยู่     สมาชิกบอลเชวิคกล่าวรายงานในที่ประชุมสมัชชาครั้งที่ 3 แห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเมื่อเดือนเมษายนว่า    พวกเขาเข้าไปร่วมเคลื่อนไหวช้าไปมากเนื่องจากเห็นว่ามันเป็นองค์กรปฏิกิริยาที่ตำรวจก่อตั้งขึ้น     เริ่มจะมาสนใจอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อการนัดหยุดงานเป็นไปในทิศทางที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น    ในบางส่วนของเมืองเขตวีบอร์กเป็นเขตที่น่าสนใจอย่างยิ่งความเห็นของพวกเขาถูกรับฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจ      แต่ในเขตอื่นพวกเขากลับถูกละเลยไม่ให้ความสนใจ   บ่อยครั้งที่ผู้เป็นประธานไม่อนุญาตให้พวกเขาแม้แต่จะพูด

จนกระทั่งวันที่ 9 มกราคมผู้แทนของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้รายงานว่า “คนงานมีทัศนะคติต่อต้านคณะ กรรมการ(บอลเชวิค)อย่างรุนแรง     นักปลุกระดมของเราถูกโจมตี,เอกสารใบปลิวถูกทำลายและเงิน จำนวน 500 รูเบิลแรกถูกส่งไปช่วยสนับสนุนคนงานที่ปูลิตอฟโดยนักเรียนนักศึกษาแม้ไม่ค่อยเต็มใจนัก”   นักเขียนฝ่ายเมนเชวิคต่างยืนยันว่า ”ในเขตนาวาร์,การเคลื่อนไหวเริ่มขึ้นในช่วงสายของวันที่ 8 มกราคม มวลชนกรรมกรต่างมีความกระตือรือร้นสนใจในเนื้อหาข้อเรียกร้องของกาปอน      มีเพียงพรรคสังคมประชาธิปไตยเพียงหนึ่งเดียวที่พยายามนำเสนอเนื้อหาด้านการเมือง     ต้องถูกโห่และตระโกนด้วยความไม่พอใจจากกลุ่มกรรมกรด้วยถ้อยคำ  “ไร้สาระ” “ไล่มันไป”

การแสดงออกถึงความอ่อนด้อยและการถูกโดดเดี่ยว(จากมวลชน)ของพรรคสังคมประชาธิปไตยตั้งแต่การเริ่มต้นการปฏิวัตินั้น ลิฟชิทส์  นักเคลื่อนไหวของพรรคในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้เปิดเผยถึงความรู้สึกที่คับแค้นสิ้นหวังถึงความไม่มีบทเรียนในการปฏิบัติและไม่มีความสามารถที่จะจูงใจมวลชน     ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ก่อนการเคลื่อนไหว 9 มกราคม เขาบันทึกไว้ว่า....”เรา..พรรคการเมืองของกรรมกรรู้ดีว่าการต่อสู้ด้วยสันติวิธีจะไม่อาจนำมาซึ่งสิ่งที่ต้องการและไม่คุ้มค่า      มีแต่จะนำมวลชนไปสู่การถูกเข่นฆ่าปราบปราบปรามอย่างนองเลือด    พลังใดเล่าที่จะป้องกันความชั่วร้ายที่น่าสยดสยองเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น  ซึ่งระบอบซาร์และระบบพระจะสามารถรับผิดชอบได้หรือ? เพราะพลังเช่นนั้นไม่มีอยู่แล้ว”  แต่ภายใน 24 ชั่วโมงสถานการณ์ทั้งมวลก็แปรเปลี่ยนไป
 -----------------------------------------------------

[1]คือกลุ่มองค์กรปฏิกิริยาขวาจัดที่ต่อต้านชาวยิว   ระบอบซาร์ใช้องค์กรนี้เป็นหน่วยติดอาวุธสำรองเพื่อต่อต้านการเคลื่อนไหวของกรรมกรและนักปฏิวัติ

No comments:

Post a Comment