Wednesday, September 16, 2015

บทเรียนจากชิลี 9


9.วิกฤตเศรษฐกิจ

เป็นความโชคร้ายของกลุ่มเผด็จการชิลี        เนื่องจากทำรัฐประหารไปก่อนหน้าของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก    ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง    เศรษฐกิจของชิลีซึ่งโดยปกติแล้วต้องพึ่งพาการส่งออกมาโดยตลอด     จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากผลของการลดลงของความต้องการสินค้าของตลาดภายนอก     ทำให้ราคาทองแดงตกต่ำลงอย่างมาก

ปี  1974-75  ก่อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ   การส่งออกทองแดงมีจำนวนเกือบจะ75%ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของประเทศ     และมูลค่าการส่งออกทองแดงในปี 1975 ต่ำกว่าปี 1974 ถึง45%   และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปี 1973-4. ถึง 34%    และขาดดุลการค้าถึง 400 ล้านดอลลาร์ (460 ล้าน SDRs/ Special Drawing Rights )      ด้วยความช่วยเหลือจากระบอบจักรวรรดิ์นิยมโลกทำให้กลุ่มปกครองชิลีรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย   ในเดือน มิถุนายน 1976  ไอ.เอ็ม.เอฟ. ได้อนุมัติเงินกองทุนสำรอง(SDRs)79 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยลดการขาดดุลของปี 1975    ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันธนาคาร   โลก ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯและเยอรมันตะวันตก(ในเวลานั้น)ได้อนุมัติเงินกู้แก่ชิลีรวมทั้ง หมด 60 ล้านดอลลาร์...ซึ่งเป็นการกู้ครั้งที่ 4 และ 5 ตั้งแต่มีการรัฐประหาร

เดือนพฤษภาคม 1976 กลุ่มธนาคาร 16 แห่งโดยเฉพาะในสหรัฐและแคนาดา  ได้ให้เงินกู้แก่ชิลี 125 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลา 3-5 ปี     เดือนมิถุนายนปีเดียวกันธนาคาร อินเตอร์ อเมริกัน ดีเวลลอป เม้นท์ ได้ให้เงินกู้เพิ่มอีก 20 ล้านเหรียญในระยะเวลา 20 ปี    เพียง 4 ปีแรกหลังการรัฐประหาร กลุ่ม ปกครองได้กู้เงินไปแล้วประมาณ 1000 ล้านดอลลาร์จากธนาคารเอกชนของสหรัฐฯ    ทั้งหมดนี้เป็นข้อแตกต่างจาก  การรวมหัวต่อต้านรัฐบาล อาเยนเด อย่างเป็นระบบโดยระบอบจักรวรรดินิยมโลก

ทัศนะคติของระบอบจักวรรดิ์นิยมเข้าใจได้ไม่ยากเลย  เมื่อได้อำนาจ..โดยไม่รอช้ากลุ่มปกครองก็เริ่ม ทำลายและเอาชนะชนชั้นกรรมกรอย่างเป็นระบบ    คืนโรงงานที่เป็นได้แปรสภาพไปเป็นของรัฐไปแล้วให้แก่เจ้าของเดิม  และคืนที่ดินให้แก่เจ้าที่ดิน      นโยบายด้านเศรษฐกิจของกลุ่มปกครองเผด็จการดำเนินรอยตาม ”สำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก” ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของ  มิลตัน ฟรีดแมน  โดย เฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย ”เปิดประตู”  เพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศ     ....เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชิลีต้องประสบกับความอัปยศอดสูเมื่อต้องกลายไปเป็นผู้ถูกพิชิต  ที่ถูกกดขี่ถึงสองชั้นจากชนชั้นนายทุนและเจ้าที่ดินชิลีและระบบผูกขาดขนาดมหึมาของสหรัฐอเมริกา

หลังจากกองทัพยึดอำนาจ    ฟรีดแมน ได้ไปยังชิลีและเสนอแนะอย่างเย็นชาว่าให้ตัดงบประมาณรายจ่ายลง 20%  และให้เลิกจ้างพนักงานของรัฐเป็นจำนวนมาก      มีการลดค่าเงิน เอสคูโด เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์      ด้วยเหตุนี้ในปี 1975 ค่าครองชีพจึงถีบตัวสูงขึ้นเป็น 340%.

แม้นโยบาย “เปิดประตู”  จะเป็นที่ถูกใจและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ  แต่ก็นำไปสู่ความไม่ลงรอยกันกับประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาแอนดีส      สนธิสัญญานี้เป็นความพยายามในการป้องกันตนเองของบรรดาประเทศสมาชิกจากการเอารัดเอาเปรียบของประเทศจักรวรรดิ์นิยม      ชิลีได้ลาออกจากกลุ่มสนธิสัญญานี้เมื่อปี 1976.

นโยบาย “ประหยัด” ของเดือนเมษายน 1975 ได้นำไปสู่ความหายนะ    ตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้พิมพ์ออกมาเมื่อปี 1976  ผลผลิตมวลรวมประชาชาติลดลง 16.2% ในปี 1975  ผลผลิตทางอุตสา- หกรรมลดลง 25%.  อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับ 340.7%   ซึ่งปี 1974 อยู่ที่ 380%     สิ้นปี 1976อัตราเงินเฟ้อลดลงไปอยู่ที่ 174.3%. เหนือสิ่งอื่นใดความต้องการในการบริโภคสินค้าลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

สถานการณ์ที่ไม่อาจรับได้

ระว่างกลางปี 1976 ตามการประเมินของทางการ   ระดับของการว่างงานมีมากกว่า 23% (ในบางภาคส่วน 50%)    ตัวเลขของการว่างานเพิ่มสูงขึ้นมากแม้ว่า”เศรษฐกิจเริ่มจะฟื้นตัว”   ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา      จากรายงานของวันที่ 6 กรกฎาคม 1978 อัลวาโร  บาร์ดอน  ประธานธนาคารกลางชิลีพยายาม    แสดงให้เห็นว่าภาคส่วนนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว    เขาได้แสดงตัวเลขของการว่างงานในระยะเดียวกันใน ซานติอาโก ดังต่อไปนี้

 มิถุนายน  1972:            2.3%

 มิถุนายน  1973:            2.3%

 มิถุนายน  1974:            7.5 %

 มิถุนายน  1975:            12.0%

 มิถุนายน   1976:           13.4%

 มิถุนายน   1977:           10.2%

 มิถุนายน  1978:            9.4%

และยังเพิ่มตารางตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนคนว่างงานใน เกรทเตอร์ ซานติอาโก ในปี 1978 ไว้ดังนี้

ตำแหน่งงานในภาคธุรกิจต่างๆ

อุตสาหกรรม  จาก 84,900    เป็น     325,000 คน

ก่อสร้าง             25,900                 77,500

อื่นๆ                    3,500                 20,000

บริการ                61,400              725,000

 อื่นๆ                    8,500               95,300

นักการธนาคารอนุรักษ์นิยมผู้นี้ได้ประกาศถึงความสำเร็จว่า  “เรากำลังก้าวคืบเข้าสู่ระดับปกติเช่นเดียว กับในปี 1969 แล้ว”       จากการสำรวจของของสภามหาวิทยาลัยชิลีที่พิมพ์เผยแพร่  และได้ให้ข้อเปรียบเทียบของปี 1974 และ 1977 นั้น   ระดับของอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก   9.7% เป็น 13.2%และมีการปลดออกจากงานเพิ่มขึ้นจาก 6.l% เป็น  9.9%.     รายงานของทางการได้มีการบิดเบือนความจริงในภารกิจของชาติ        จากรายงานของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันตะวันตก (SPD) ที่ไปเยือนชิลีก่อนหน้านี้    ชี้ว่าอัตราการว่างงานในขณะนั้นน่าจะสูงถึง 30% ไม่ใช่ตัวเลขแค่ 12-13% ตามที่รัฐบาลแถลง

สิ่งหนึ่งที่นอกเหนือความคาดหมายคือ     ชนชั้นกรรมกรชิลีต้องยอมใช้ชีวิตในสภาพที่ยากจนข้นแค้น  หิวโหย ไม่มีงานทำ  และต้องทนทุกข์ยากต่อไป        การลดลงในส่วนของประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ(กึ่งกรรมาชีพ)แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนโสเภณีและขอทานซึ่งมีอยู่ดาษดื่นทั่วไปทั้งในนครและเมืองต่างๆทั่วประเทศ       สภาพของเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะดีขึ้นโดยพรรคประชาชนสามัคคีนั้นได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับหลังการรัฐประหารวันที่ 11 กันยายน     อัตราเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ       ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมกรเลวร้ายเสียจนเหลือที่จะรับได้    

แม้ว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจทั้งมวลมาแก้ไข    แต่เศรษฐกิจของชิลียังคงอยู่ในทางตัน    ในความเป็นจริงวิธีการของ ”สำนัก ชิคาโก”  นั้นได้ทำให้การว่างงานและความทุกข์ยากเพิ่มมากขึ้น  เป็นการทำลายตลาดภายในประเทศและบ่อนเซาะพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมของชาติ    ทัศนะคติต่อระบอบทุนนิยมของชิลี  ณ ปัจจุบันนี้จึงเป็นเรื่องที่สิ้นหวัง     การขาดดุลการค้ายังคงอยู่ที่ 190 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 1978 ด้วยการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ส่งออกน้อยลง   ตลาดส่ง ออกที่สำคัญมากของชิลีคือบราซิล   อัฟริกาใต้  และอาร์เจนตินา    ซึ่งในขณะนั้นชิลีมีความขัดแย้งกับประเทศที่กล่าวมานี้ทั้งหมด     ในกรณีกับอาร์เจนตินาความตึงเครียดไม่ว่าด้านความสัมพันธ์ทาง ด้านเศรษฐกิจและการเมืองได้พุ่งสูงขึ้นถึงจุดที่ใกล้จะแตกหักแล้ว     ความไม่มั่นคงของกลุ่มปกครองได้แปรเปลี่ยนไปเป็นวิกฤตศรัทธาของชนชั้นนายทุนชิลี       มีการแสดงออกอย่างชัดเจนคือมูลค่าซื้อขายในตลาดหุ้นตกลงอย่างต่อเนื่องถึง 2% ทั้งอาทิตย์ในเดือนมิถุนายนปีนี้       ประธานตลาดหลัก ทรัพย์ซานติอาโกได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ลา เซกุนดา ยอมรับว่า  ราคาหุ้นที่ตกต่ำลงมันเป็นการ สะท้อนภาพของสถานการณ์ทั้งนอกและในประเทศ   ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการตื่นกลัวของชนชั้นนายทุนชิลีที่ขาดความมั่นใจและมองโลกในแง่ร้ายเมื่อพิจารณาถึงอนาคต

ระบอบ เอกบุรุษ ของเปรอง*(ฮวน เปรอง นายทหาร อดีตประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา)ในอาร์เจนตินาสามารถ    ยืนหยัดอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆปี   ด้วยการสร้างฐานมวลชนให้มาสนับสนุนตนเองผ่านสหภาพแรงงาน ของกรรมกรที่สนับสนุนเปรอง(เปรองนิสต์)     ซึ่งต้องขอขอบคุณการพองตัวของเศรษฐกิจหลังสงคราม ที่ส่งเสริมและกระตุ้นความต้องการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของอาร์เจนตินาในตลาดโลก    แต่ กลุ่มปิโนเช โผล่ขึ้นมาในเวลาเดียวกันกับการถดถอยทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และภาวะราคาทองแดงตกต่ำ      ปี 1972 -74 เป็นปีที่ได้มีการจดบันทึกราคาของผลิตภัณฑ์นี้         ราคาทองแดงยังตกต่ำต่อเนื่องไปจนถึงปี 1974-75. ในสองปีสุดท้ายราคาเริ่มฟื้นตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย    กระนั้นก็ยังมีมูลค่าไม่ถึงระดับก่อนหน้านี้    หนังสือพิมพ์ ไทมส์ (4/4/78)  ได้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

ในสภาพที่เป็นจริง   การจะทำให้ราคาทองแดงพ้นจากจากระดับราคาต่ำสุดได้    ความชัดเจนแรกสุด จะต้องลดการผลิตลงอย่างขนานใหญ่  นั่นแหละถึงจะพบกับแสงสว่าง”

ประเทศผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ได้ก่อตั้งองค์กร CIPEC (The Intergovernmental Council of Countries Exporters of Copper) เห็นชอบที่จะลดการผลิตทองแดงลง 15% เพื่อตรึงราคา  แต่ชิลี..ซึ่งประเทศที่ส่งออกทองแดงมากที่สุดปฏิเสธที่จะเข้าร่วมใน CIPEC    เป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มปิโนเช กลัวว่าการลดการผลิตอาจมีผลกระทบในทางสังคมอย่างรุนแรง   สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดสำคัญของทองแดงจากชิลี      มันขัดกันกับที่สหรัฐฯก็เป็นประเทศที่ส่งออกทองแดงรายใหญ่และยังเป็นผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ที่สุดอีกด้วย     ปัญหาก็คือทองแดงที่สหรัฐฯผลิตนั้นมีราคาสูงและไม่มีคู่แข่ง  พื้น ฐานการผลิตทองแดงสหรัฐฯมีลักษณะผูกขาด       จึงกดดันกลุ่มทุนให้ควบคุมจำกัดการนำเข้าทอง แดงจากประเทศโลกที่สาม      ผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้มีแนวโน้มจะสร้างความหายนะให้แก่ชิลี     การลดค่าเงินดอลลาร์เมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นถึงมาตรการกีดกันที่ซ่อนเร้นของนักปกป้องผลประ โยชน์เหล่านี้    ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับอย่างรุนแรงต่อการส่งออกของชิลีและสำหรับเศรษฐกิจของชิลีโดยรวม...ในเดือนต่อมา

วิกฤติของกลุ่มปกครอง

กลุ่มปกครองแบบเอกบุรุษทุกกลุ่ม   มีความจำเป็นที่จะแสดงตัวตนโดยผ่านบุคคลผู้ทรงอำนาจคนหนึ่ง ที่เป็น ”ผู้เข้มแข็ง” ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นตัวแทน “ชาติ” ที่อยู่เหนือผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือพรรค  บทวิจารณ์ของ ลีห์ กุซแมน เกี่ยวกับ “ลัทธิผู้นำ” ของปิโนเช    ประการแรก ทหารส่วนหนึ่งไม่พอใจที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกกีดกันจากศูนย์กลางของอำนาจ       ส่วนแบ่งของเค้กที่ได้รับนั้นนั้นไม่ตรงกับความต้องการ      แต่กลุ่มนี้ยังต้องต่อสู้กับกลุ่มแก๊งอื่นๆอีกต่อไปและลามไปไกลถึงบุคคลบางคนในกลุ่มผู้กุมอำนาจ

ความไม่พอใจกลุ่มปกครองได้เกิดขึ้น        ลีห์ได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากสังคมโดยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของประชาชน   โดยพยายามสร้างความประทับใจต่อการเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่เป็นตัวแทนของปิโนเช    เช่นการพูดถึงความเป็นเสรีนิยม ที่ตรงกันข้ามกับความเป็น เผด็จการของกลุ่มปกครอง        ปิโนเชถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น....จากการห้อมล้อมของคณะปรึกษาที่แย่สุดๆซึ่งล้วนแต่มาจากทหารแทบทั้งสิ้น       และได้รับการสนับสนุนจากเยาวชนที่ได้รับการจัดตั้งและดูแลเป็นอย่างดีจำนวนมาก     ทำให้เกิดภาพลวงตาในความสง่างามของลัทธิวีรบุรุษชิลี     ปิโนเช  มีชีวิตอยู่ในอยู่ในโลกแห่งความฝันอย่างสมบูรณ์แบบ         เหมือนกับจักรพรรดิโรมันที่เต็มไปด้วยความฝันถึง ”สถาบันแห่งชาติแบบใหม่”  และผสมผสานด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อป้องกันความเป็นประชาธิปไตยที่   แท้จริง ซึ่งพวกอัตตาธิปไตยมีส่วนร่วม         ตามแนวรัฐธรรมนูญใหม่ของปิโนเชในการคืนความปกติบัญญัติไว้ สามขั้นตอนคือ

1) ขั้นฟื้นฟู (1973-80)    2) ขั้นเปลี่ยนผ่าน (1980-84)    3) ขั้นปกติหรือสร้างความเข้มแข็ง(1985)

ถ้าตามแผนนี้   ก็จะไม่มีการเลือกตั้งทั่วไปรวมถึงการเลือกประธานาธิบดีไปจนถึงปี 1991  ถ้าเป็นตาม นั้นอำนาจที่แท้จริงก็จะอยู่ในอุ้งมือของบรรดานายพลทั้งหลาย      พรรคลัทธิมาร์กซก็ยังคงถูกสั่งห้าม     การเคลื่อนไหวต่างๆก็จะเป็นไปได้ยากยิ่ง

ภยันตรายที่ร้ายแรงของระบอบทุนนิยมชิลี        เป็นการแสดงถึงความฝันที่โง่บัดซบของปิโนเช  ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจนโดยตัวแทนที่ฉลาดที่สุดของชนชั้นนายทุน     วิกฤตเศรษฐกิจ   ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม    การฟื้นตัวอย่างช้าๆที่มั่นคงของชนชั้นกรรมกร     และฐานมวลชนในสังคมที่สนับสนุนกลุ่มปกครองเผด็จการที่ลดน้อยถอยลง   เป็นสาเหตุให้ปัญญาชนชนชั้นนายทุนเกิดความวิตกกังวลตลอดไปจนถึงวอชิงตัน

บรรดานักยุทธศาสตร์ของจักวรรดิ์นิยมอเมริกาต่างวางแผนอย่างเลือดเย็นถึงความเป็นไปได้ในการอยู่รอดและการล้มคว่ำของรัฐบาลทหารชุดปัจจุบันในซานติอาโก      ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความหมายสำคัญต่อการลงทุนของสหรัฐฯซึ่งเพิ่งจะมีการฟื้นขึ้นตัวภายหลังรัฐประหาร       วอชิงตันมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในลาตินอเมริกาแทบทุกเรื่อง     จักรวรรดิ์นิยมมีสายลับที่แทรกซึมอยู่ในทุกระดับรวมไปถึงในรัฐบาลอีกด้วย   ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ     พวกเขา(สหรัฐฯ)รู้ว่า.ในปัจจุบันนี้     สังคมโลกไม่ยอมรับและสนับสนุนพวกเผด็จการ   ที่มันยังดำรงอยู่ได้ก็เพราะความเฉื่อยเนือยของมวลชน     แต่ในระยะยาว..การกดขี่เช่นนี้จะกระตุ้นให้การปฏิวัติประทุขึ้นไม่ว่าในที่หนึ่ง หรือที่อื่นๆ    ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก..ไม่เพียงแต่ต่อระบอบเผด็จการเท่านั้นยังรวมไปถึงการดำรงอยู่ของระบอบทุนนิยมในชิลีอีกด้วย       ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปในประเทศต่างๆของลาตินอเมริกา นี่คือคำอธิบายที่เป็นสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่ไม่เคยคำนึงถึงเรื่อง  ”สิทธิมนุษยชน” แต่อย่างใด

ความหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะได้รับการช่วยเหลือจากวอชิงตัน     และจากบางส่วนของอภิสิทธิ์ชนชาวชิลีและนายทหารระดับสูงของกองทัพ    กุซแมน ได้เปิดฉากดิ้นรนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมในหนังสือพิมพ์ คอร์เรียเร เดอ ลา เซรา     เมื่ออ่านในรายละเอียดของบทความนี้และประกาศอื่น ๆ ของลีห์   ก็พอจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า    ความกลัวของชนชั้นสูงซึ่งเป็นส่วนข้างมากของชนชั้นนายทุนต่อการระเบิดในชิลีเมื่อเขากล่าวเตือนว่า  “นี่คือความเสี่ยงที่ว่าประชาชนจะเลือกการแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรงในสถาน การณ์ปัจจุบัน”  และยืนยันว่า  “มันสายเกินไป แต่ก็สามารถเสนอนโยบายที่จะกลับไปสู่ภาวะปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปได้โดยการกำหนดเวลา  วิธีการ และอื่นๆ”    และลีห์ ได้กำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านในระยะ 5 ปี  (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่พลเรือนจะได้มอบอำนาจในเวลาอันรวดเร็ว)     และได้ทำการโฆษณาให้มีการตั้งพรรคการเมืองของชนชั้นนายทุนอย่างถูกกฎหมายแบบพรรคคริสเตียน เดโมแครท      และพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมกรโดยให้  “ดำเนินการแบบในสแกนดิเนเวีย”

ความล้มเหลวที่แสนจะขมขื่นในความพยายามที่จะ “ปฏิวัติบนหอคอย” นี้ไม่นานได้ก็ล้มเลิกไป   ลีห์ เรียกร้องต่อปิโนเช   ให้ทำการกวาดล้างความเละเทะในระบบของกองทัพดีกว่าที่จะมาคิดขจัดตัวเขา   ช่างเป็นเรื่องที่โง่เขลาสิ้นดี    ปิโนเช ยืนยันในภายหลัง  “ผมมีความมั่นคง  มั่นคงมากในรัฐบาล”  แต่ขั้นตอนของ ลีห์ ได้มองข้ามการแบ่งฝักแบ่งแบ่งฝ่ายและความตึงเครียดในขบวนแถวของกลุ่มรัฐประ หารไปเสีย    ความกังวลของกองทัพได้แสดงออกถึงความจริงที่มีนโยบายให้กองทหารเตรียมพร้อมอยู่ในค่ายอย่างเข้มงวด  พร้อมกับวางเวรยามอย่างหนาแน่นไว้โดยรอบกองบัญชาการของกองทัพ

หนังสือพิมพ์ปฏิกิริยา(เอล  เมอคิวริโอ และ ลา เทเซอร์รา) เข้าตาจนถึงกับเรียกร้อง “ความสามัคคีในชาติ”   เพื่อยืนยันความปรารถนาใน “แนวทางแห่งการปรองดองกับกลุ่มปกครอง”  ความตื่นตระหนกในแวดวงของพวกปฏิกิริยานั้นได้สะท้อนออกอย่างชัดเจนที่สุดในหน้าหนังสือพิมพ์ ลา เทเซอร์รา ที่ว่า   ”ถ้าไม่ผดุงไว้ซึ่งความสามัคคีที่พวกเขา(ฝ่ายประชาชน)ทุกๆคนต่างก็รู้ดี ...นั่นคือเวลาที่มืดมนของชิลี   ความพยายามที่ได้กระทำเพื่อสร้างความตระหนักเช่นนี้จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ”....นั่นเป็นสัญญานบอกเหตุของความหวาดกลัวของกลุ่มรัฐประหาร

จะอย่างไรก็ตาม..ภาพของการต่อสู้แย่งชิงกันในกลุ่มรัฐประหาร    แสดงถึงความไม่มั่นคงของระบอบการปกครองในปัจจุบัน    พรุ่งนี้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.. วิกฤติอย่างใหม่..ความตึงเครียดชนิดใหม่   และการแตกแยกครั้งใหม่จะประทุขึ้น    ภายใต้ความกดดันที่ยากจะรับได้ของความขัดแย้งที่สะสมอยู่ภายในสังคมของชิลี

โฆษกของกลุ่มรัฐประหารพยายามยืนยันอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยว่า    ความสงบเรียบร้อยจะจะต้องกลับคืนมาในบ้านเมือง”  

การกดขี่ได้ให้บทเรียนบางอย่าง    เมื่อเดือนที่ผ่านมา DINA (Dirección de Inteligencia Nacional   หน่วยสืบราชการลับแห่งชาติชิลี ) ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CNI (Central Nacional de Informaciones  )  หน่วยข่าวกลางแห่งชาติ    โดยพื้นฐานแล้วไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย     และในเวลาไม่นานนัก  สัญลักษณ์อย่างแรกคือการฟื้นตัวของขบวนการมวลชน หลังจาก 5 ปีของประสบการณ์ที่ปวดร้าวจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 11 กันยายน