Friday, November 25, 2016

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 2

ตอนที่ 2  การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในยุโรป

สภาพโดยสังเขปของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
การกำเนิดและการพัฒนาของรูปแบบการผลิตทุนนิยมนั้น  ใช้ไฟและดาบเป็นเครื่องมือเบิกทาง ในขณะ   เดียวกัน   ยังใช้ปากกาและลิ้นไปแก้ต่างให้กับความชอบธรรมของตนเองด้วย    โดยดำเนินการท้ารบต่อระเบียบแบบแผนของศักดินาจากด้านรูปการจิตสำนึก     นี่เป็นยุคแห่งการปลูกฝังความคิดใหม่และวัฒน ธรรมใหม่ของชนชั้นนายทุน      ในประวัติศาสตร์โดยทั่วไปเรียกกันว่า “การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม”
การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเริ่มแรกสุดได้เกิดขึ้นที่อิตาลีก่อนในศตวรรษที่ 14-15  ต่อมาก็ได้ขยายตัวไปสู่ฝรั่งเศส  เยอรมัน  อังกฤษ  สเปนและเนเธอร์แลนด์ตามลำดับ    เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 คู่ขนานไปกับความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมพัฒนาไปและการต่อสู้คัดค้านศักดินาของประชาชนขึ้นสู่กระแสสูง   การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมก็เข้าสู่ยุคเจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีด

การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม  คือการวิพากษ์อย่างกว้างขวางที่ชนชั้นนายทุนกระทำต่อระบอบศักดินา  ปลายหอกของมันมุ่งจ่อไปยัง ศาสนจักรโรมันคาทอลิก    ในสมัยกลาง   ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นเสาค้ำทางจิตใจของระบอบศักดินาในยุโรป   เป็นตัวแทนทั่วไปของอิทธิพลเน่าเฟะทั้งปวง    ไม่เพียงแต่สร้างระบอบแบ่งชั้นทางศาสนาของตนตามรูปแบบศักดินาจนกลายเป็นเจ้าอาณาจักรศักดินาที่มีอิทธิพลมากที่สุด   ถือครองที่ดินถึง 1 ใน 3 ของประเทศต่างๆที่เป็นโรมันคาทอลิกเท่านั้น      หากยังพยายามอย่างสุดความสามารถในการอธิบายให้ผู้คนเชื่อว่าระเบียบแบบแผนศักดินานั้นเป็น เทวลิขิต อีกด้วย   ทำการควบคุมปริมณฑลด้านต่างๆทั้งทางชีวิตสังคม  ความคิด และวัฒนธรรมอย่างแน่นหนา   ปฏิญญาของศาสนจักรก็เป็นปฏิญญาทางการเมืองในเวลาเดียวกัน    บทบัญญัติในคัมภีร์ล้วนแล้วแต่มีผลทางกฎ หมายที่ใช้ในศาลต่างๆ    สรุปแล้ว....ศาสนจักรโรมันคาทอลิกที่มีองค์สันตะปาปาแห่งกรุงโรมเป็นผู้นำ,สวมเสื้อคลุมอันศักดิ์สิทธิ์ให้กับระบอบศักดินา    และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าเหตุใดนักคิดแห่งยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม จึงได้พุ่งปลายหอกแห่งการวิพากษ์ไปยังศาสนจักรโรมันคา  ทอลิกและเทววิทยาโดยตรง

เพื่อจะต่อต้านกับเทววิทยาของคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก  ซึ่งพันธนาการความคิดผู้คนมานับร้อยนับพันปี       บรรดานักคิดของชนชั้นนายทุนทั้งหลายได้แต่ไปขอความช่วยเหลือจากจิตวิญญาณของกรีซและโรมันในสมัยโบราณ      พวกเขาพยายามยกย่องสรรเสริญวัฒนธรรมคลาสสิคที่สะท้อนการ เมืองแบบ ประชาธิปไตยของเจ้าทาส  และเศรษฐกิจสินค้าของระบอบทาส  ก่อกระแสค้นคว้าวิชาการดั้งเดิม  สืบเสาะค้นหาต้นฉบับตำราดั้งเดิม   เลียนแบบศิลปกรรมของศิลปินดั้งเดิม   ขุดค้นและใช้ปัจจัยที่เป็นคุณในวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับรูปการจิตสำนึกของศักดินา       ตั้งแต่ภาษาไปจนถึงรูปแบบของงานศิลปะ    ล้วนส่อแนวโน้ม “ฟื้นคืนของเก่า” บางประการ    กระทั่งกล่าวถึงวัฒนธรรมของพวกเขาว่าเป็นการ “คืนชีพ”  และ  “ฟื้นฟู” ของวัฒนธรรมดั้งเดิม(แบบโรมันและกรีก) 

คำว่าฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมจึงได้ชื่อเพราะเหตุนี้     จริงๆแล้วการที่ชนชั้นนายทุนเรียกหาวิญญาณของผู้ล่วงลับ  จุดมุ่งหมายก็เพื่อปลดเปลื้องพันธนาการของศักดินาและสถาปนาสังคมทุนนิยม   พวกเขา  “หยิบยืมชื่อ  คำขวัญสู้รบ และอาภรณ์ของคนโบราณ   เพื่อจะได้สวมใส่ชุดอาภรณ์ที่ได้รับการกราบไหว้บูชามาช้านานชนิดนี้   ใช้ภาษาที่หยิบยืมมานี้ไปแสดงฉากใหม่ของประวัติศาสตร์โลก”  (มาร์กซ  เรื่อง...ดิ เอททีน บรูแมร์ อ๊อฟ หลุยส์ โบนาปาร์ต ”The Eighteenth Brumaire of Louis Napoleon เป็นบทความที่มาร์กซเขียนขึ้นเพื่อวิจารณ์ในกรณีที่ นโปเลียน หลุยส์  นโปเลียน หลานชายของจักรพรรดิ์นโปเลียนทำการรัฐประหารและขึ้นครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเมื่อปี 1851  .)

โดยเนื้อแท้แล้ว...ภายใต้รูปแบบ “ฟื้นฟู” วัฒนธรรมดั้งเดิม   แต่ที่โฆษณานั้นคือเนื้อหาความคิดของชนชั้นนายทุนซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิมนุษย์นิยม”   ดังนั้นบุคคลที่เป็นตัวแทนความคิดและวัฒนธรรมในขณะนั้นก็ได้ชื่อว่า “นักลัทธิมนุษย์นิยม”   นักลัทธิมนุษย์นิยมเหล่านั้นยืนยันว่า มนุษย์เป็นผู้สร้างชีวิตและ   เป็นเจ้าของชีวิต    ใช้ทัศนคติสามัญธรรมดา “ที่เป็นมนุษย์” ไปเป็นปฏิปักษ์กับคำเทศนา “ที่เป็นเทวะ” ของศาสนจักรโรมันคาทอลิก   “มนุษย์” ในที่นี้...แท้จริงแล้วก็คือตัวชนชั้นนายทุน    และ “เทวะ” ในที่นี้ก็คือผู้ปกครองศักดินาที่ถูกทำให้เป็นแบบเทวะไปแล้วนั่นเอง    ลัทธิมนุษย์นิยมได้สะท้อนถึงผลประโยชน์และความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนที่ใช้ในการต่อสู้โฆษณา ลัทธิมนุษ์นิยมโจมตีเทววิทยาที่ทรงอิทธิพลทางด้านศิลปะวรรณคดี       ได้ทลายพันธนาการทางความคิดของศักดินาชั่วขณะหนึ่งจนปรากฏสถานการณ์ใหม่   ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็มีการพัฒนาไปก้าวใหญ่

อลิเฮียริ ดังเต (Alighieri Dante 1265-1321)  นักกวีชาวเมืองฟลอเรนซ์ของอิตาลี   ก็ได้แสดงออกให้เห็นซึ่งหน่ออ่อนของกระแสความคิดลัทธิมนุษย์นิยมไว้ในบทกวีอันลือชื่อเรื่อง“หัสนาฏกรรมของเทวะ”   โดยใช้นามปากกาเพื่อปกปิดตัวเอง   ทำการประณามองค์สันตะปาปาและพวกพระอย่างกล้าหาญ ต่อจากดังเตก็มีนักเขียนและผลงานปรากฏออกมาจำนวนหนึ่ง   ทั้งในอิตาลีและประเทศอื่นๆในยุโรป   ที่ลือชื่อที่สุดก็มีบทกวีพรรณนาความรักของฟรานเซสโก เพทราคา (Francesco Petrarca 1304-1375)    เรื่อง“บันเทิงทศวาน” ของจิโอวานนิ บอคคาค์ซีโอ (Bocaccio Giovanni 1313-1375) นักกวีชาวอิตาลี “สดุดีเทวาโง่”  วรรณกรรมเสียดสีของ เดสิเดอร์ริอุส อีราสมุส(Desiderius Erasmus 1466-1536)  นักเขียนชาวฮอลแลนด์  “คนยักษ์กับลูกชายของคนยักษ์”  นวนิยายเสียดสีของ ฟรองซัวส์ ราบองเล (Francois Rabenlaie 1494-1553)  นักเขียนชาวฝรั่งเศส      นวนิยายเรื่องยาว “ท่านจีฮาด” ของ ซาวีดรา มิกูเอลเดอ เซอร์วานเตส(Saavedra Miguel De Cervantes 1547-1616) นักเขียนชาวสเปน     และบทละครของ วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ (William Shakespear  1564-1616)  นักเขียนชาวอังกฤษ เป็นต้น   

วรรณกรรมเหล่านี้  ได้สะท้อนออกซึ่งความขัดแย้งแห่งยุคสังคมศักดินาสลายตัวในยุโรป   ทำการเสียดสีทิ่มแทงอย่างเจ็บแสบต่อศาสนจักร     พวกพระและพวกขุนนางศักดินาพยายามโฆษณายกย่องสรรเสริญอารมณ์ความคิดและแบบวิถีชีวิตของชนชั้นนายทุน   สร้างวีรภาพของชนชั้นนายทุน   พวกเขายังเริ่มใช้ภาษาของประชาชาติของตนในงานเขียน     ไม่ใช้ภาษาลาตินที่คนส่วนใหญ่ที่สุดอ่านไม่รู้เรื่องอีกต่อไป   เช่นนี้แล้วไม่เพียงแต่ได้ขยายขอบเขตในการเผยแพร่กระแสความคิดลัทธิมนุษย์นิยมให้กว้างออกไปเท่า นั้น  หากยังมีบทบาทกระตุ้นต่อภาษาประชาชาติและการสถาปนาประเทศของประชาชาติสมัยใหม่ที่ก้าว หน้าไปอีกด้วย    ในด้านศิลปะโดยเฉพาะในด้านจิตรกรรมและแกะสลัก   ก็ได้สืบทอดปัจจัยอรรถนิยมของศิลปะคดั้งเดิม  ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ยังคงใช้ศาสนาและเทพนิยายที่มีมาแต่ดั้งเดิมเป็นเค้าเรื่อง   แต่ก็บรรยายด้วยทัศนะและวิธีการของโลกสามัญธรรมดา    ถลกเสื้อคลุมที่ลี้ลับของเทวะทิ้งไป    ทำให้เทวะไม่ใช่สิ่งซึ่งสูงสุดเอื้อมอีกต่อไป   หากเป็นบุคคลที่แสดงออกซึ่งอารมณ์ความคิดของชนชั้นนายทุน   ที่มีทั้งดีใจ เสียใจ โกรธ เกลียด เป็นต้น    สิ่งเหล่านี้ได้แสดงออกอย่างเด่นชัดมากในงานของจิตรกรชาวอิตาลี  เช่น เลียวนาร์โด ดา วินชี (Leonado Da Vinci 1452-1519)    ไมเคิล แองเจโล บัวนาร์โรติ (Michel angelo Buonarroti 1475-1564)     และราฟาเอล ซานติ (Raphael Santi 1480-1520) เป็นต้น    สิ่งที่นักลัทธิมนุษย์นิยมโฆษณาป่าวร้องนั้นก็คือ    ลัทธิเอกชนของชนชั้นนายทุน    ด้วยเหตุนี้ พวกเขาย่อมจะต้องคัด ค้านมวลชน   และดูถูกมวลชน   ในบรรดางานศิลปะวรรณคดีสมัยฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมนั้น   ประชาชนผู้ใช้แรงงานไม่มีฐานะเลยแม้แต่น้อย   ถึงจะมีปรากฏตัวออกมาบ้างก็มักจะถูกบิดเบือนเป็นตัวตลกที่น่าสมเพชเสียมากกว่า

การพัฒนาของการผลิตแบบทุนนิยม   ได้ผลักดันให้วิทยาศาสตร์ธรรมชาติพัฒนาก้าวหน้าไปด้วย   นิโคเลาส์  โคเปอร์นิคุส (Nicolaus Copernicus 1473-1543)  นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์อาศัยการสังเกตเป็นเวลายาวนานของตนเอง  และผลสรุปที่ได้จากการค้นคว้าของคนรุ่นก่อนเป็นพื้นฐาน  เสนอ “ทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง” ขึ้นเป็นครั้งแรก    เขาเห็นว่าศูนย์กลางของจักรวาลคือดวงอาทิตย์ไม่ใช่โลก โลก..เป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในหลายๆดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เท่านั้น    โลกยังหมุนรอบแกนตัวเองอีกด้วย    เช่นนี้แล้วก็ได้ปฏิเสธระบบ “ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลาง” ซึ่งเคยครองฐานะครอบงำและถูกปกป้องคุ้มครองโดยศาสนจักรมานานนับพันปีเสียสิ้น         ต่อจากนั้น กาลิเลโอ  (Galileo 1564- 1642)นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี     โจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler 1571-1630) นักดารา ศาสตร์ชาวเยอรมันได้ทำการสาธยายพิสูจน์เพิ่มเติมต่อทฤษฎีของโคเปอร์นิคุส      แม้ว่าทางศาสนจักรโรมันคาทอลิคใช้วิธีการอันโหดเหี้ยมทุกชนิดไปปองร้ายต่อความ “นอกรีตนอกรอย” ของโคเปอร์นิคุสก็ตาม    แต่ “โลกยังคงหมุนอยู่” ได้กลายเป็นคำขวัญที่ปลุกเร้าใจผู้คนในขณะนั้นไปแล้ว    ทฤษฎีอันเหลวไหลที่ว่าโลกเป็นศูนย์กลาง   โลกไม่เคลื่อนไหว    ได้ถูกโค่นลงในที่สุดพร้อมกับเทพนิยายประ เภทพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกที่เชื่อมโยงอยู่กับทฤษฎีนี้ก็ถูกสั่นคลอนไปด้วย

ในการต่อสู้อันแหลมคมนี้   บรูโน จิโอร์ดาโน (Bruno Giordano ประมาณ 1548-1600) นักคิดและนัก วิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีมีฐานะเด่นเป็นพิเศษ   บรูโนได้สรุปรวบยอดผลสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจากด้านปรัชญา    ได้พิทักษ์และพัฒนาทฤษฎีของโคเปอร์นิคุส      คัดค้านทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลกอันเป็นทฤษฎีอันเหลวไหลไร้สาระ   ความคิดและการกระทำของเขาเป็นที่เคียดแค้นชิงชังของศาสนจักรยิ่งนัก   จึงได้เฝ้ากลั่นแกล้งปองร้ายเขาตลอดเวลา    และในที่สุดเขาถูกชนชั้นปกครองใช้ไฟเผาตายอยู่บนหลักประหารในกรุงโรม     บรูโนเชื่อมั่นสัจธรรมของวิทยาศาสตร์อย่างมั่นคง   ดูถูกเหยียดหยามเทวสิทธิ์   ในขณะที่ผู้พิพากษาของศาสนจักรตัดสินประหารชีวิตเขานั้น    เขาได้ลุกขึ้นโต้ตอบด้วยท่วงท่าอันไม่ประ หวั่นพรั่นพรึงว่า “พวกท่านอ่านคำพิพากษายังรู้สึกขลาดกลัวกว่าข้าซึ่งฟังคำพิพากษาเสียอีก” วิทยาศาสตร์ในสมัยปัจจุบันก็พัฒนาก้าวหน้าขึ้นในท่ามกลางการต่อสู้อันดุเดือดด้วยประการเช่นนี้  ในยุค
 ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมชนชั้นนายทุนที่เกิดใหม่ยังอ่อนแอมาก      มันพยายามจะทลายเครื่องพันธนาการของระบอบศักดินา   แต่ก็ไม่สามารถเสนอหลักนโยบายสู้รบในการโค่นล้มระบอบศักดินาในขั้นมูลฐานได้     แสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษที่ชนชั้นนายทุนยังอยู่ในกระบวนการตั้งครรภ์ในตัวระบอบศักดินา   ซึ่งได้สะท้อนออกอย่างเด่นชัดในกระแสความคิดลัทธิมนุษย์นิยมที่พวกเขาโฆษณาเผยแพร่

เนื้อหาสำคัญของลัทธิมนุษย์นิยม
ลัทธิมนุษย์นิยมเป็นอาวุธทางความคิดที่สำคัญที่ชนชั้นนายทุนในขณะนั้นใช้ไปคัดค้านระบบทฤษฎีเทว วิทยาของศาสนจักร     และสาธยายความเรียกร้องต้องการทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของตนเองเทววิทยาสมัยกลางเห็นว่า   เทวะนั้นอยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่างส่วนมนุษย์นั้นต่ำต้อย    บนร่างกายมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยบาป   ตามแต่เทวะจะบัญชา    ตัวมนุษย์เองนั้นไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้   มนุษย์จึงไม่ควรเรียกร้องอะไร        ขอแต่ทำตนเป็นทาสรับใช้ที่ซื่อสัตย์ พินอบพิเทาของเทวะ ก็จะสามารถได้รับ “ความสุข” ใน “ชาติหน้า” เป็นต้น           เทศนาโวหารเหล่านี้เป็นเพียงการสะท้อนระเบียบแบบแผนศักดินาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานเศรษฐกิจธรรมชาติแบบพอเพียง      อำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่างที่เทวะมีต่อมนุษย์นั้น  ก็คือการแสดงออกซึ่งการปกครองแบบอภิสิทธิ์ของเจ้าศักดินานั่นเอง    กล่าวสำหรับชนชั้นนายทุนที่ต้องการทำ ลายพันธนาการของศักดินาพัฒนาทุนนิยมอย่างเสรีแล้ว  มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจทนได้ทีเดียว

ประการแรก....มุ่งตรงต่อเทศนาโวหารของเทววิทยาชุดนี้  นักลัทธิมนุษย์นิยมก็พยายามเน้นและสรร เสริญ คุณค่า  ศักดิ์ศรี และพลังของคน  ใช้มนุษย์ภาพไปคัดค้านเทวภาพ   พวกเขาเห็นว่าพระเจ้าสร้างสรรพสิ่ง   ขณะเดียวกันก็สร้างมนุษย์     มนุษย์นั้นต่างกับสัตว์และพืชก็ตรงที่ว่ามนุษย์มี “เหตุผล”  ซึ่งก็คือ  “มนุษย์ภาพ” ที่แท้จริง   ในเมื่อมนุษย์ไม่ใช่มีบาปมาแต่กำเนิดก็สามารถผ่านจากการค้นคว้าตนเอง  เสาะค้นธรรมชาติและสังคมไปพัฒนา “เหตุผล”  ได้มาซึ่ง “เสรีภาพ”  และ “ความสุข”   โดยไม่ต้องไปคุกเข่าวิงวอนร้องขอต่อศาสนจักรและพระผู้เป็นเจ้า       บางคนก็กล่าวว่ามนุษย์สามารถอาศัยเจตนา รมณ์แห่งตนไปกำกำหนดชะตากรรมของตนเอง     บางคนก็กล่าวว่ามนุษย์สามารถอาศัยความเร่าร้อนแบบวีรชนเอกชนไปสู่สรวงสวรรค์ได้      ส่วนเช็คสเปียร์นั้นก็อาศัยปากของตัวละครร้องตะโกนว่า “อา..มนุษย์ช่างเป็นผล งานชิ้นเยี่ยม   มันเปี่ยมด้วยเหตุผลที่สูงค่า  มีพลังที่ยิ่งใหญ่  มีท่วงท่าอันสง่างาม  มีกิริยาอันสุภาพเสียนี่กระไร   ด้านการกระทำดูประหนึ่งเทวทูต   ด้านภูมิปัญญาเสมอเหมือนเทพเจ้า มันคือเจตภูตของจักรวาล  เจ้าคือวิญญาณของสรรพสิ่ง”    

นักลัทธิมนุษย์นิยมก็ได้โฆษณาฐานะที่เป็นอิสระของ”มนุษย์”       คัดค้านและลดอำนาจสัมบูรณ์ของ ”เทวะ”เช่นนี้แหละ   ในขณะนั้น พวกเขายังไม่กล้าเสนอคำขวัญ  ”สิทธิมนุษย์ฟ้าประทาน”   อันเป็นคำขวัญของนักคิดแห่งยุคเสริมสร้างภูมิปัญญาในศตวรรษที่ 18 อย่างเปิดเผย   ไม่กล้าปฏิเสธการดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าอย่างเปิดเผย    หากยังคงยอมรับว่าพระผู้เป็นเจ้าเป็นพลังชี้ขาดในขั้นสุดท้าย   นักลัทธิมนุษย์นิยมใช้มนุษย์ภาพไปปฏิเสธเทวภาพ  เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าชนชั้นนายทุนพยายามต่อสู้ชิงชัยกับชนชั้นศักดินาเพื่อเพิ่มพูนโภคทรัพย์และแผ่อิทธิพลของตนภายใต้ขอบเขตของระบอบศักดินาเท่านั้น    ประชาชนผู้ใช้แรงงานเรือนร้อยล้านเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์โลกกลับถูกพวกเขาสบประมาท ว่า  เป็น”ฝูงชนเถื่อนที่ด้อยปัญญา  ไร้สติสัมปชัญญะ”  และถูกขจัดอยู่นอก “คุณค่า” และ “ศักดิ์ศรี”

ประการที่ 2   ต่อลัทธิตัดกิเลสที่โฆษณาป่าวร้องโดยศาสนาจักรโรมันคาทอลิค   นักลัทธิมนุษย์นิยมได้ทำการโจมตีอย่างสุดกำลังโดยเสนอคำขวัญ “เสรีภาพส่วนบุคคล”   “ความสุขส่วนบุคคล”   เพื่อแก้ต่างให้กับการเคลื่อนไหวด้านอุตสาหกรรมและวิถีชีวิตของชนชั้นนายทุน   พวกเขาพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า  “เสรีภาพส่วนบุคคล”  และ “ความสุขส่วนบุคคล”  เป็นจุดมุ่งหมายชีวิตของมนุษย์   คือความเรียกร้องต้องการของ “มนุษย์ภาพ”    พวกเขาประณามลัทธิตัดกิเลสซึ่งโฆษณาโดยพวกพระว่า   เป็นสิ่งซึ่งฝืน “มนุษย์ภาพ” เป็นสุดยอดของความคิดจอมปลอม   พวกพระกล่าวว่าโลกเป็น “แหล่งความทุกข์” เรียก    ร้องให้ผู้อื่นดูเบาโภคทรัพย์   แต่พวกเขาเองกลับยึดครองที่ดินผืนใหญ่เขมือบสินทรัพย์ของผู้อื่น   พวกพระโฆษณาว่า อันเนื้อหนังมังสาคือคุกตะรางของวิญญาณ   เตือนผู้อื่นให้อดใจละเว้นจากตัณหา   แต่พวกเขาเองกลับละโมบโลภมาก   ใช้ชีวิตอันเหลวแหลกเน่าเฟะ   

นักลัทธิมนุษย์นิยมได้โจมตีความคิดจอมปลอมชนิดนี้อย่างไม่ปรานีปราศรัย   และถือมันเป็นสิ่งยืนยันพิ สูจน์ว่าการแสวงหาโภคทรัพย์และชีวิตที่เสพสุขของชนชั้นนายทุนเป็นสิ่งชอบธรรม   พ็อกจิโอ แบรคซิโอลินี(Poggio Bracciolini 1380-1495) นักมนุษย์นิยมชาวอิตาลีเห็นว่า   โภคทรัพย์เป็นเครื่องหมายที่แจ่ม ชัดซึ่งแสดงถึงความเอาใจใส่ของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อคนๆหนึ่ง     ฉะนั้นการร่ำรวยมีสินทรัพย์จึงเป็นกุศลผลบุญชนิดหนึ่ง    ส่วน โลเรนโซ วัลลา (Lorenzo Valla 1406-1457) นักมนุษย์นิยมชาวอิตาลีอีกผู้หนึ่ง  ก็โฆษณาทัศนะวิญญาณกับเนื้อหนังมังสาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน    เน้นว่าชีวิตทางเนื้อหนังมังสามีคุณค่า ไม่แพ้การปลดเปลื้องทางวิญญาณ  จะต้องเสพสุขสำราญทั้งปวงในชีวิตของชาตินี้   

จะเห็นได้ว่า “เสรีภาพส่วนบุคคล” ที่พวกเขาใฝ่หานั้น   เป็นเพียงนามแฝงของเสรีภาพในการซื้อขาย  เสรีภาพในการขูดรีดและเสรีภาพในทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนเท่านั้นเอง   และ “ความสุขส่วนบุคคล”  ที่พวกเขาโฆษณา  โดยเนื้อแท้แล้วก็คือใช้ลัทธิเสพสุขที่เปิดเผยของชนชั้นนายทุนไปคัดค้านลัทธิเสพสุขที่ไม่เปิดเผยของชนชั้นศักดินานั่นเอง     “เสรีภาพ”และ”ความสุข”เช่นนี้   แน่ละย่อมถือเอาความล้มละลายและความขมขื่นของประชาชนผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ที่สุดเป็นเงื่อนไขเบื้องแรก    ฉะนั้น  แบรคคิโอลินี  จึงประกาศอย่างเปิดเผยว่า   ต่อเมื่อเจตนารมณ์ของบุคคลเฉพาะรายได้ทำลายกฎของคนส่วนใหญ่แล้วเท่านั้น   “ภารกิจอันยิ่งใหญ่” จึงจะประจักษ์เป็นจริงได้

จากนี้จะเห็นได้ว่า   ลัทธิมนุษยนิยมที่ชนชั้นนายทุนโฆษณานั้น    ได้ถือเอา “มนุษยภาพ” ที่อยู่เหนือชนชั้นเป็นรากฐานทางทฤษฎี    แต่ว่าในสังคมที่มีชนชั้น   มีแต่มนุษยภาพที่มีลักษณะชนชั้นเท่านั้น   ไม่มีมนุษย์ภาพที่อยู่เหนือชนชั้น   บรรดาตัวแทนนักคิดของชนชั้นนายทุนทั้งหลายจับเอาอาวุธ “มนุษยภาพ”ขึ้นมา  ก็เพื่อจะประกาศว่าธาตุแท้ของชนชั้นนายทุน  อันได้แก่ลัทธิเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน   ลัทธิเสพสุขและความคลั่งไคล้ในการเป็นเจ้าเข้าครอง    ทั้งหมดเหล่านี้เป็น “มนุษยภาพทั่วไป”  อันเป็นสิ่งซึ่งฟ้าประทาน    จากนี้ไปปลุกเร้าให้ชนชั้นนายทุนทำการช่วงชิงอำนาจการขูดรีดต่อประชาชน   อำนาจการครอบครองต่อโภคทรัพย์และอำนาจการปกครองต่อสังคมกับชนชั้นศักดินา

ประการที่ 3  เริ่มต้นจาก “มนุษยภาพ” ชนิดนี้   พวกเขายังเสนอและสาธยายถึงความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนและทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ   ขณะนั้นบรรดาเจ้าศักดินาเฉือนดินแดนแข็งอำนาจ   เจ้าครองนครวางอำนาจบาตรใหญ่  สงครามเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน   เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการพัฒนาอย่างราบรื่นของทุนนิยมโดยตรง      การลุกฮือขึ้นสู้ของประชาชนในสมัยสะสมทุนปฐมกาลก็คุกคามต่อความปลอดภัยในทรัพย์สินของชนชั้นนายทุน   ในขณะที่ชนชั้นนายทุนยังไม่มีกำลังเพียงพอในการกุมอำนาจรัฐนั้น   จึงมีความเรียกร้องต้องการอันเร่งด่วนที่จะให้มีอำนาจกษัตริย์ที่เข้มแข็งเกรียงไกรอำนาจหนึ่งไปทำลายการเฉือนดินแดนแข็งอำนาจแบบศักดินาและปราบปรามการต่อสู้ของประชาชน     เป็นการสนองตลาดการค้าภายในประเทศที่เป็นเอกภาพในการพัฒนาทุนนิยม    ขณะที่ตัวแทนนักคิดชนชั้นนายทุนทั้งหลายแสดง ออกซึ่งความเรียกร้องต้องการทางการเมืองนี้  ก็ยังคงหยิบยก “ทฤษฎีมนุษยภาพ” เป็นอาวุธ    

ในบทนิพนธ์ “ว่าด้วยกษัตราธิราช” ของนิโคโล แมคเคียเวลลี่ (Machiavelli Niccolo 1469-1527) นักคิดนักการเมืองชาวอิตาลี   เริ่มต้นจากความคิดที่ว่า “สันดานของมนุษย์นั้นชั่วร้ายมาแต่กำเนิด”   จึงได้วางมาตรฐานเป็นแนวปฏิบัติสำหรับกษัตริย์และรัฐของกษัตริย์    เขากล่าวว่า “ใครก็ตามหากคิดจะสถาปนารัฐๆ หนึ่งทั้งตรากฎหมายให้กับรัฐนี้    ก่อนอื่นเขาจะต้องตั้งสมมุติฐานว่ามนุษย์นั้นล้วนแล้วแต่ชั่วร้ายและ     พอมีโอกาสก็มักจะแสดงออกซึ่งความชั่วร้ายของพวกเขาออกมา”   เขายังกล่าวอย่างเปิดเผยอีกว่า ”เนื่องด้วยมนุษย์นั้นชั่วร้าย”  ฉะนั้นเพื่อจะบรรลุจุดมุ่งหมาย     ผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการที่ใช้จะต้องทำให้ตนเองเพียบพร้อมด้วยความดุร้ายเยี่ยงสิงโต   และเจ้าเล่ห์ดุจสุนัขจิ้ง จอก   แต่ว่า “จะต้องหลีก เลี่ยงการละเมิดทรัพย์สินของผู้อื่น   เพราะว่าผู้คนอาจลืมเลือนการตายของบิดาผู้ให้กำเนิดได้    แต่จะไม่ยินยอมให้เกิดการสูญเสียของสินทรัพย์เป็นอันขาด” 

แมคเคียเวลลี่ได้สลัดทิ้งซึ่งจินตภาพของเทววิทยาโดยสิ้นเชิง   ประกาศอย่างเปิดเผยว่า  ผลประโยชน์ของรัฐเป็นมาตรฐานสูงสุดในการวินิจฉัยพฤติกรรมทางการเมือง    เช่นนี้แล้ว แมคเคียเวลลี่ก็ได้เผยให้เห็นถึงความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนอย่างล่อนจ้อนและเป็นจริงในอันที่จะได้มาซึ่งอำนาจรัฐ   การพิทักษ์ทรัพย์สิน  ขยายทุน  เป็นภาระหน้าที่อันดับแรกโดยอาศัยความรุนแรงที่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามบรรทัดฐานของศีลธรรมใดๆทั้งสิ้นจึงเป็นรากฐานอันแท้จริงของรัฐชนิดนี้     ฉะนั้น ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐของแมคเคียเวลลี่ได้สะท้อนให้เห็นความเรียกร้องต้องการอย่างแรงกล้าในอันที่จะสถาปนารัฐของประชา ชาติที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางของชนชั้นนายทุนในยุโรปขณะนั้น     และทฤษฎีที่ว่า  เพื่อผลสำเร็จทางการเมือง  ขอเพียงให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ก็ไม่ต้องคำนึงถึงวิธีการที่ใช้  ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิแมคเคียเวลลี่”  นี้ได้ถูกนักการเมืองชนชั้นนายทุน  โดยเฉพาะพวกลัทธิฟาสซิสต์ยึดถือเป็นคติประจำใจอย่างเคร่งครัด

ธาตุแท้ของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม
การฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเป็นการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมครั้งหนึ่งของชนชั้นนายทุน   มันได้สะท้อนความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่จากด้านรูปการจิตสำนึก โดยเชื่อมโยงเข้ากับการเคลื่อนไหวปฏิรูปศาสนาที่ขึ้นสู่กระแสสูงในศตวรรษที่ 16   ได้สั่นคลอนต่อศาสนจักรโร มันคาทอลิคอันเป็นเสาค้ำทางจิตใจของระบอบศักดินาในยุโรปอย่างรุนแรง อันเป็นการตระเตรียมประชา มติให้กับการปฏิวัติชนชั้นนายทุน   ฉะนั้นมันจึงสอดคล้องกับกระแสประวัติศาสตร์ในขณะนั้น   ในขณะ
ที่ชนชั้นนายทุนดำเนินการโจมตีชนชั้นปกครองศักดินาและศาสนจักรโรมันคาทอลิค   ซึ่งเป็นตัวแทนของมันที่ถูกทำให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วนั้น      เพื่อจะปิดบังอำพรางผลประโยชน์อันคับแคบของตน   และปิดบังอำพรางการเป็นปฏิปักษ์กับประชาชนผู้ใช้แรงงานของตน     

นักคิดของชนชั้นนายทุนได้เพียรพยายามอ้างตนว่าไม่ใช่ตัวแทนของชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งโดยเฉพาะ   หากแต่เป็นตัวแทนของมวลมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก  แต่ว่าสิ่งที่ชนชั้นนายทุนทำอยู่นั้น  เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นของประชามหาชน   แม้แต่ในยามที่ชนชั้นนายทุนก่อการรุกโจมตีต่อชนชั้นศักดินานั้น   ก็ไม่ได้หยุดยั้งการขูดรีดและกดขี่ประชาชนผู้ใช้แรงงานแม้แต่น้อย     ทั้งจุดมุ่งหมายในการก่อการรุกโจมตีชนชั้นศักดินาของชนชั้นนายทุนก็เพื่อช่วงชิงอำนาจในการปกครองและขูดรีดประชาชนผู้ใช้แรงงานโดยแท้   ฉะนั้นพออำนาจรัฐตกถึงมือ    พวกเขาก็มักจะรวมหัวกับอิทธิพลศักดินาทำการรุกโจมตีต่อประชา ชนผู้ใช้แรงงานที่เรียกร้องให้ปฏิวัติต่อไป    ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่พวกฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมป่าวร้องนั้น   กล่าวสำหรับชนชั้นนายทุนแล้ว   มันคือโองการสวรรค์  แต่กับประชาชนผู้ใช้แรงงานแล้ว มันคือกลลวง

ตั้งแต่วันแรกที่อุบัติขึ้น   ชนชั้นนายทุนก็แบกเครื่องหลังที่เป็นสิ่งตรงข้ามกับตนไว้ซึ่งก็คือชนชั้นกรรมา ชีพ  ในการต่อสู้กับชนชั้นศักดินาแต่ละครั้ง    ผู้นำหน้าของชนชั้นกรรมาชีพยุคใกล้ก็เคยก่อการเคลื่อน ไหวที่เป็นอิสระของตน        ทั้งได้เสนอความเรียกร้องต้องการของตนที่ต้องการให้ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะมาแล้ว เช่น โธมัส มึนเซอร์ (Thomas Müntzer  ประมาณ 1489 -1525/นักเทศน์และนักการศาสนาชาวเยอรมันในยุคแรกๆของการปฏิรูป      เป็นผู้นำการลุกขึ้นสู้ของชาวนาและชนชั้นล่างเยอรมันในปี 1525  ถูกจับในการสู้รบที่เมือง ฟรังเกนเฮ้าเซ่น  ถูกทรมานและประหารชีวิตในที่สุด .) ในสงครามชาวนาเยอรมัน   ก็คือธงนำของพวกเขา  เบื้องหน้ากระแสความคิดวัฒนธรรมของชนชั้นนายทุนเขาได้ชูธง “ทรัพย์สินสาธารณะ” อย่างกล้าหาญ   ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการปฏิเสธระเบียบแบบแผนศักดินาในขณะนั้นอย่างถึงที่สุดเท่านั้น หากยังเป็นการท้าทายต่อแบบวิธีการผลิตของชนชั้นนายทุนและรูปการจิตสำนึกของมันอย่างองอาจกล้าหาญด้วย
                                                โทมัส  มึนเซอร์  ภาพจากวิกิพีเดีย
การเปิดโปงกลลวงนี้ยังมาจากอีกด้านหนึ่งคือนักสังคมนิยมอุดมคติยุคแรก   การต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมที่ดุเดือดแหลมคมในสมัยการสะสมทุนปฐมกาล    ทำให้พวกเขามองเห็น “มะเร็งร้าย” ของสังคมที่เกิดจากการขูดรีดของทุน  ดังนั้น จึงพยายามสร้างภาพ   สังคมที่ “สวยสดงดงาม” ขึ้นสังคมหนึ่งในสมองของตน  งานเขียนที่เป็นตัวแทนของพวกเขาได้แก่ “ยูโธเปีย”ของโธมัส มอร์ (Thomas More 1478-1535) ชาวอังกฤษและ “สุริยะนคร” ของทอมมาโซ คามปาเนลล่า (Tommaso  Campanella 1568-1639) ชาวอิตาลี      งานเขียนเหล่านี้ได้ตีแผ่ให้เห็นถึงการสะสมปฐมกาลของทุนที่ได้นำความทุกข์ยากลำเค็ญมาสู่ประชาชนผู้ใช้แรงงาน      เห็นว่าระบอบทรัพย์สินเอกชนเป็นบ่อเกิดของความชั่วร้ายทั้งปวง   ขณะเดียวกันก็ได้วาดภาพสังคมระบอบทรัพย์สินสาธารณะอันเป็นสังคมในอุดมคติ     กล่าวโดยสรุปแล้ว  จุดยืนมูลฐานและจุดเริ่มต้นของพวกเขายังถูกครอบงำโดยโลกทัศน์ของชนชั้นนายทุน    ทั้งไม่สามารถค้นพบกำลังทางชนชั้นและวิถีทางที่เป็นจริงในปัจจุบันในการทำให้สังคมในอุดมคตินี้ปรากฏเป็นจริงขึ้นก็ตาม    แต่งานเขียนของพวกเขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงจากอีกด้านหนึ่งว่า   ระบอบทรัพย์สินเอกชนของชนชั้นนายทุนที่ตัวแทนของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพยายามพิทักษ์รักษาและยกย่องสรรเสริญนั้น เป็นเพียงโซ่ตรวนเส้นใหม่ที่นำมาคล้องคอประชาชนผู้ใช้แรงงานเท่านั้น     การอ้างตนเป็น “ตัวแทนของมวลมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก”  ล้วนเป็นคำพูดที่ลวงคนทั้งสิ้น    
จบตอนทื่ 2….ตอนต่อไปได้แก่    การโหมโรงการปฏิวัติของชนชั้นนายทุน


Thursday, November 24, 2016

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 1.

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป   1.
บทที่ 1.ตอนที่ 1.  การสะสมทุนปฐมกาล

ธาตุแท้ของการสะสมปฐมกาล
รูปแบบการผลิตทุนนิยมได้ปฏิสนธิในครรภ์มารดาของสังคมศักดินา 2-300 ปีก่อนเข้าช่วงชิงอำนาจรัฐ   ชนชั้นนายทุนก็ได้ใช้วิธีการอันป่าเถื่อนไร้ยางอายภายใต้แรงกระตุ้นจากความละโมบ   ด้วยการสูบเลือดกินเนื้อของประชาชนผู้ใช้แรงงานเรือนร้อยล้านไปหล่อเลี้ยงตนเองให้เติบใหญ่ขึ้น    เห็นได้ชัดว่า  ตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดาของสังคมศักดินา    ชนชั้นนายทุนก็ได้เผยธาตุแท้ออกมาให้เห็นอย่างล่อนจ้อนแล้ว

ทวีปยุโรปในคริสศตวรรษที่ 14-15 พร้อมๆกับการพัฒนาก้าวหน้าของเทคนิคการผลิต    การขยายตัวของการแบ่งงานทางสังคม   การเพิ่มทวีของการผลิตสินค้าและการก่อรูปของตลาดการค้าทั้งภายในและภาย นอกประเทศ    ก็เริ่มปรากฏหน่ออ่อนของรูปแบบการผลิตทุนนิยมขั้นต้นขึ้นตามเมืองต่างๆแถบชายฝั่งทะ เลเมดิเตอร์เรเนียน (เช่นอิตาลี) ก่อน      ต่อจากนั้นดินแดนแถบภาคใต้ฝรั่งเศส   ฝั่งแม่น้ำไรน์  และบางเมืองในสหพันธรัฐเยอรมนีก็มีปัจจัยทุนนิยมก่อรูปขึ้นเช่นกัน

จากทาสกสิกรสมัยกลาง   ก่อเกิดชาวเมืองยุคต้น   และจากหมู่ชาวเมืองเหล่านี้ได้ก่อเกิดชนชั้นนายทุนยุคแรกๆขึ้น   ผู้ผลิตน้อยได้เกิดการแยกตัวเนื่องจากการแข่งขัน    พวกสมาคมอาชีพช่างฝีมือส่วนหนึ่งค่อยๆร่ำรวยขึ้นกลายเป็นเจ้าของสถานประกอบการ    พวกลูกมือและผู้ฝึกงานส่วนใหญ่ที่สุดกลับนับวันยากจน   ตกต่ำลงกลายเป็นคนงานรับจ้างที่ถูกขูดรีด    พวกพ่อค้าเงินกู้ดอกเบี้ยสูงส่วนหนึ่งก็ได้ให้กู้เงินสด  เครื่องมือการผลิต   และวัตถุดิบแก่พวกผู้ผลิตน้อย    โดยเอาการรับซื้อผลผลิตของพวกเขาในราคาถูกเป็นเงื่อนไขทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาทุนการค้า   จากนั้นก็ก้าวสู่การเข้ายึดกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตของพวกเขา    

พวกพ่อค้าเงินกู้ดอกเบี้ยสูงเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพ่อค้าเหมาซื้อและเจ้าของสถานประกอบ การหัตถกรรมที่กระจัดกระจาย    พวกช่างฝีมืออิสระเดิมก็จะตกต่ำลงกลายเป็นผู้ใช้แรงงานรับจ้างไป    สถานประกอบการหัตถกรรมทุนนิยมก็เกิดขึ้นและพัฒนาไปภายใต้สภาพดังกล่าว
ในชนบท...เนื่องจากการพัฒนาของเศรษฐกิจสินค้า   พวกเจ้าที่ดินศักดินาก็เริ่มดำเนินกิจการแบบทุนนิยมในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง       ในขณะเดียวกันบรรดาชาวนาก็มีการแยกตัวออกมาและพวกนักเกษตรกรรมที่เช่าที่ดินดำเนินการผลิตทางการเกษตรแบบทุนนิยมขนาดเล็กจำนวนหนึ่งก็ปรากฏขึ้นด้วย     เช่นนี้แล้วพื้นฐานเศรษฐกิจธรรมชาติของสังคมศักดินาก็ค่อยๆสลายตัว   ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทุนนิยมก็ค่อยๆพัฒนาขยายตัวขึ้นทีละก้าวๆ

การพัฒนาการผลิตแบบทุนนิยม   จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือ  1)  จะต้องสะสมและรวมศูนย์เงินตราจำนวนมากอย่างฉับพลันไว้ในมือคนส่วนน้อยและแปรเปลี่ยนเป็นทุนสำหรับขูดรีดการใช้แรงงานของผู้อื่น    2)  ผู้ใช้แรงงานเรือนแสนเรือนล้านแยกตัวออกจากปัจจัยการผลิต  กลายเป็นผู้ใช้แรงงานอิสระที่ขายพลังแรงงานอันไร้ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง   กระบวนการในการสร้างเงื่อนไขสองประการนี้ก็คือกระบวนการสะสมทุนแบบปฐมกาลนั่นเอง

ในบรรดารูปแบบสะสมทุนปฐมกาลรูปแบบต่างๆนั้น     การแย่งยึดที่ดินของชาวนาเป็นรูปแบบพื้นฐานของทั้งกระบวนการ    ส่วนการปล้นชิงแบบอาณานิคมต่อประชาชนในเอเชีย  อัฟริกาและลาตินอเมริกานั้นก็เป็นปัจจัยหลักของการสะสมทุนปฐมกาล    ทั้งหมดนี้ล้วนต้องผ่านการใช้ความรุนแรงที่โหดเหี้ยมทารุณที่สุดไปทำให้ปรากฏเป็นจริงขึ้นทั้งสิ้นมาร์กซได้ชี้ให้เห็นในว่าด้วยทุนว่า    “สิ่งที่เรียกว่าการสะสมทุนแบบปฐมกาลนั้นก็เป็นเพียงกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ผู้ผลิตแยกตัวจากปัจจัยการผลิตเท่านั้น      และประวัติศาสตร์แห่งการแย่งยึดชนิดนี้   ถูกจารึกด้วยตัวอักษรของเลือดและไฟ”  (มาร์กซ  “ว่าด้วยทุน”)

การแย่งยึดที่ดินของชาวนา
มาร์กซได้ถือเอา “ขบวนการกว้านที่ดิน”  ในอังกฤษเป็นแบบฉบับไปสังเกตวิถีดำเนินทางประวัติศาสตร์ในการทำให้ผู้ผลิตแยกตัวจากปัจจัยการผลิตอย่างละเอียด      ในช่วงปลายจองคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่อง   จากการพัฒนาขยายตัวของสถานประกอบการหัตถกรรมผ้าสักหลาดและผ้ากำมะหยี่ของทุนนิยมอังกฤษ   ทำให้ความต้องการขนแกะเพิ่มทวีขึ้น     เพื่อผลกำไรก้อนงามพวกขุนนางเจ้าที่ดิน  จึงเข้ากว้านยึดที่ดินทำกินของชาวนาด้วยวิธีการรุนแรง   ทำให้ที่ดินกลายเป็นที่ดินผืนใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อถึงกันเพื่อทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ   หมู่บ้านทั้งหมู่บ้านถูกทำลายราบเรียบ    ชาวนาเป็นจำนวนมากถูกขับไล่ออกจากที่ดินทำกินสูญเสียซึ่งปัจจัยในการดำรงชีวิตทุกชนิด   ต้องซัดเซพเนจร  ระเหเร่ร่อน  จากนั้นพวกชนชั้นปกครองอังกฤษก็ยังถือเอาพวกเขาเป็นขอทาน  เป็นโจรผู้ร้ายและพวกจรจัด    โดยตรากฏหมายที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวเลือดจำนวนมากออกมาเป็นเครื่องมือทำร้ายพวกเขา   เสือกไสพวกเขาให้ยอมรับระบอบแรงงานรับจ้างภายใต้เงื่อนไขที่โหดเหี้ยมทารุณที่สุด   

ภายหลังการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษแล้ว   ชนชั้นนายทุนและพวกขุนนางใหม่ก็ยังใช้อำนาจรัฐที่กุมอยู่ในมือของพวกเขา   ประกาศกฎหมาย  คำสั่งเกี่ยวกับการกว้านที่ดินหลายฉบับ   ทวีการแย่งยึดที่ดินของชาวนาหนักมือยิ่งขึ้น    กระบวนการแย่งยึดและปองร้ายชาวนาด้วยวิธีการรุนแรงชนิดนี้   ประเทศต่างๆในยุโรปในยุคสังคมศักดินาสลายตัวล้วนได้ดำเนินการในระดับที่แตกต่างกันทั้งสิ้น   แต่ที่เป็นแบบฉบับที่สุดรุนแรงที่สุดและถึงแก่นที่สุดนั้นก็เห็นจะมีที่อังกฤษเท่านั้น

การที่ชาวนาถูกแย่งยึดที่ดิน    ทำให้ที่ดินซึ่งแต่เดิมชาวนาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และใช้สอยอย่างกระจัดกระจายอยู่ถูกรวมศูนย์อยู่ในมือของขุนนางใหม่และพ่อค้าจำนวนน้อย    ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนใหญ่เหล่านี้   บ้างเอาที่ดินให้เช่าแก่เจ้าของฟาร์มเกษตร    บ้างดำเนินกิจการฟาร์มเกษตรแบบทุนนิยมด้วยตนเอง      เมื่อชนชั้นนายทุนยึดที่มั่นในชนบทได้แล้วก็เท่ากับได้สร้างเงื่อนไขให้กับการพัฒนาทุนอุตสาหกรรมในเมืองพร้อมกันไปด้วย     คู่ขนานไปกับการถูกทำลายของชาวนาปัจเจกภาพและหัตถ กรรมครัวเรือน    ทุนอุตสาหกรรมในเมืองก็มีพลังแรงงานอิสระราคาถูกอย่างล้นหลามและตลาดภายใน ประเทศที่พึ่งพาได้

นับแต่วันแรกที่ชนชั้นนายทุนถือกำเนิดขึ้น   ก็ถือเอาทรัพย์สินเอกชนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจล่วงละเมิดได้  และประกาศเป็นปฏิญญาข้อแรกของตน   แต่ว่า   “ผลงานชิ้นโบว์แดงชิ้นแรกของชนชั้นนายทุนก็คือการล่วงละเมิดและเหยียบย่ำทำลายทรัพย์สินอันศักดิ์สิทธิ์ของผู้อื่นและการใช้กำลังประทุษร้ายต่อร่าง กายมนุษย์อย่างหยาบช้าสามานย์”  (มาร์กซ  “ว่าด้วยทุน”)

การ “ค้นพบทางภูมิศาสตร์ครั้งมโหฬาร”  และเริ่มยุคการปล้นชิงแบบอาณานิคม
คริสต์ศตวรรษที่ 15    ความสัมพันธ์ทางเงินตราได้บ่อนเซาะระบอบศักดินาในยุโรปอย่างหนักหน่วง   ทำให้พวกพ่อค้า  และเจ้าศักดินาในยุโรปมีความกระหายต่อโภคทรัพย์  โดยเฉพาะคือทองคำในดินแดนตะ วันออกอย่างรุนแรง   คริสโตเฟอร์   โคลัมบัส  ได้กล่าวไว้ในฎีกาที่ถวายต่อองค์กษัตริย์และราชินีแห่งสเปนว่า  “ทองคำคือสิ่งซึ่งสามารถทำให้คนเราตื่นตะลึง    ผู้ใดมีมันไว้ในครอบครอง   ผู้นั้นจักสามารถบงการทุกสิ่งทุกอย่าง    เมื่อมีทองคำแล้ว จะส่งวิญญาณไปอยู่ในสรวงสวรรค์ก็เป็นสิ่งซึ่งสามารถกระทำได้”    

ความกระหายอยากทองคำที่ละโมบที่สุดชนิดนี้    สะท้อนให้เห็นความเรียกร้องต้องการอันรีบด่วนของทุนนิยมที่เจริญขึ้นใหม่ในยุโรปในอันที่จะเข้าปล้นสะดมโภคทรัพย์อย่างใหม่  เพื่อเร่งฝีก้าวให้กับการสะสมทุน  และกลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการแสวงหาเส้นทางเดินเรือใหม่สู่ตะวันออก   ขณะเดียว กัน   เนื่องจากการแผ่ขยายอำนาจในแถบเอเชียตะวันตกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของกลุ่มชนชั้นปกครองตุรกีในศตวรรษที่ 15  ได้ควบคุมด่านการค้ากับตะวันออก       ขวางกั้นเส้นทางการค้าดั้งเดิมของประเทศต่างๆในยุโรปที่ทะลุสู่ตะวันออก   ฉะนั้นการแสวงหาเส้นทางเดินเรือใหม่จึงกลายเป็นบทใหม่ที่มีความเร่งด่วนยิ่งบทหนึ่ง  สิ่งที่เรียกว่า  “การค้นพบทางภูมิศาสตร์ครั้งมโหฬาร”   ก็เริ่มจากจุดมุ่งหมายดังกล่าวโดยการแล่นเรือเป็นระยะทางไกลแบบผจญภัยอันลือชื่อ 3 ครั้งติดต่อกัน       พวกนักผจญภัยแห่งสเปนและโปรตุเกสได้สวมบทบาทนักล่าอาณานิคมชุดแรกด้วยประการฉะนี้

เริ่มแต่ต้นศตวรรษที่ 15  ชาวโปรตุเกสก็ได้ค้นหาเส้นทางเดินเรือสู่อินเดีย  โดยมุ่งลงทางใต้เลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของทวีปอาฟริกาอยู่ไม่ขาดสาย     ปี 1497วาสโก ดา กามา (Vasco Da Gama 1469 -1524)   ได้แล่นเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปที่อยู่ทางตอนใต้สุดของทวีปอาฟริกา   ไปถึงฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียในปีถัดมา       ต่อจากนั้นเขาก็ได้นำกองเรือติดอาวุธแล่นสู่ตะวันออกอีกครั้งหนึ่ง    ทำการเข่นฆ่าผู้คนตามรายทางไม่ต่างอะไรกับโจรสลัด    ทั้งได้ยึดดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย   ใช้เป็นฐานที่มั่น    ส่วนชาวสเปนนั้นได้บุกเบิกเส้นทางใหม่   แล่นเรือไปทางตะวันตก   โดยคาดหมายว่าจะสามารถไปถึงประเทศจีนและอินเดีย  “ดินแดนซึ่งเกลื่อนไปด้วยทองคำ”   ซึ่งเป็นการเดินเรือระยะไกลที่ท้าทายมากครั้งหนึ่งภายใต้กี้นำของทฤษฎี “โลกกลม”  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแล้วในขณะนั้น     

ปี 1492  ชาวเจนัวชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ( Christopher Columbus 1451-1506)ได้รับราชโองการจากกษัตริย์ แห่งสเปนแล่นเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก    ได้พบเกาะแก่งต่างๆในทะเลคาริบเบียน     หลังจากนั้น เขายังแล่นเรือสู่ตะวันตกอีก 3 ครั้ง   เหยียบย่างสู่ดินแดนบางส่วนของแผ่นดินใหญ่อเมริกากลาง   โดยสำคัญผิดคิดว่าที่นี่ก็คืออินเดีย     ดังนั้น ชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนั้นจึงถูกเรียกว่า “ชาวอินเดียนแดง”   ต่อมาเมื่อชาวสเปนทราบว่าที่นี่ไม่ใช่อินเดีย   หากแต่เป็นแผ่นดินใหญ่ที่ค้นพบใหม่แล้วจึงได้แล่นเรือต่อไป    ปี 1519 กองเรือสเปนที่นำโดย เฟอร์ดินันด์ แมคเจลแลน(Ferdinand  Magellan 1480-1521)  แล่นเรืออ้อมแผ่นดินทางตอนใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้    ผ่านช่องแคบแมคเจลแลนในปัจจุบันไปถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์    ในการปะทะกับชาวพื้นเมือง  ครั้งหนึ่งแมคเจลแลนถูกฆ่าตาย   พรรคพวกของเขาได้กลับถึงสเปนในปี 1522  โดยผ่านเกาะมาดากัสกาและใช้เส้นทางเดินเรือที่ชาวโปรตุเกสเคยใช้มาแล้ว    การเดินเรือของโคลัมบัสและแมคเจลแลนเป็นการพิสูจน์ว่าโลกนั้นกลมจริง

การบุกเบิกเส้นทางเดินเรือใหม่จากยุโรปสู่ตะวันออก   การค้นพบแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกา   ตลอดจนผลสำเร็จในการเดินเรือรอบโลก   ได้บุกเบิกสนามรบใหม่ให้กับชนชั้นนายทุนในยุโรปที่เจริญขึ้น   พวกนักล่าอาณานิคม  ขุนนาง  พ่อค้า นักสอนศาสสนา   และโจรผู้ร้ายของประเทศต่างๆในยุโรป   ต่างก็เฮโลไปสู่ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่อุดมสมบูรณ์ของทวีปเอเซีย  อาฟริกา  และลาตินอเมริกาโดยอาศัยเส้นทางที่นักผจญภัยได้บุกเบิกไว้แล้ว   ทำการกดขี่เข่นฆ่าประชาชนชาวพื้นเมือง   หลอกลวงและปล้นชิงโภคทรัพย์ของพวกเขา   เริ่มภารกิจในการปล้นชิงแบบอาณานิคมที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวเลือด

พวกนักล่าอาณานิคมโปรตุเกสได้ครองความเป็นเจ้าในการล่าอาณานิคมต่อทวีปอาฟริกาและการค้ากับตะวันออก     พวกเขาได้สร้างที่มั่นอาณานิคมในดินแดนแถบตะวันตกของอาฟริกา   เช่น กินี  กานา  ไอวอรี่โคสต์ แองโกล่า  และทางแถบตะวันออกของอาฟริกา  เช่น โมซัมบิก เป็นต้น   โดยอาศัยที่มั่นเหล่า นี้แล้วกระจายออกปล้นสะดมอย่างป่าเถื่อน   พวกเขาใช้ ลูกแก้วมีรู   กระจก และเข็มกลัดซึ่งเป็นผลผลิตหัตถกรรมคุณภาพต่ำไปหลอกแลกกับงาช้าง  เพชร  พลอย  เครื่องเทศจากชนผิวดำ   หรือไม่ก็ใช้วิธีเข่นฆ่าอย่างสยองขวัญไปปล้นชิงเอาวัตถุมีค่าประเภททองคำอย่างดื้อๆ      ในช่วงระยะ 100 ปีนับแต่ปลายศตวรรษที่ 15 ถึงปลายศตวรรษที่ 16  ชาวโปรตุเกสได้ปล้นชิงทรัพยากรจากอาฟริกาเฉพาะทองคำอย่างเดียวก็มีมูลค่าคิดเป็นน้ำหนัก 276,000 กิโลกรัม

ส่วนนักล่าอาณานิคมสเปนก็ดำเนินการล่าอาณานิคมในอเมริกากลางและอเมริกาใต้    กลางศตวรรษที่ 16  อเมริกากลางและอเมริกาใต้  ยกเว้นบราซิลซึ่งถูกยึดครองโดยโปรตุเกสแล้ว    นอกนั้นล้วนตกเป็นอาณานิคมของสเปนทั้งสิ้น     พวกนักล่าอาณานิคมได้ทำลายวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประชาชนในท้อง ถิ่นจนหมดสิ้น   ใช้วิธีการอันป่าเถื่อน  เช่นลงทัณฑ์ทรมาน  ฝังทั้งเป็น  ล่าสังหารไปบีบบังคับชาวพื้น เมืองยอมตนลงเป็นทาส   เป็นเหตุให้ประชากรของชาวพื้นเมืองลดลงอย่างฮวบฮาบ    ถึงปี 1548  ชาวพื้นเมืองใน ไฮติ  คิวบา  จาเมก้า เป็นต้นแทบจะสูญสิ้น   ตามการคาดคะเน   ในช่วงระยะที่ปกครองโดยนักล่าอาณานิคมสเปน   ชาวอินเดียนพื้นเมืองที่ถูกฆ่าและถูกทรมานจนตายก็มีจำนวนถึง 12-15 ล้านคน    กองกระดูกที่กองเป็นพะเนินกลายเป็นทองคำเหลืองอร่ามในมือของนักล่าอาณานิคมสเปน   

ช่วงระยะ 40 ปี นับแต่ปี 1521-1560  นักล่าอาณานิคมสเปนก็ปล้นเอาทองคำมีมูลค่าคิดเป็นน้ำหนักถึง 157,000 กิโลกรัม  เงินขาว 4,670,000 กิโลกรัม    ดังนั้นมาร์กซจึงชี้ว่า   "เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดหัตถกรรมสถานประกอบการก็คือ    การค้นพบทวีปอเมริกาและการสะสมทุนโดยการนำ เข้าโลหะมีค่าจากทวีปอเมริกา”  (มาร์กซ “ความอับจนของปรัชญา”)    โลหะมีค่าจำนวนมากที่ปล้นชิงจากอาณานิคมโดยเฉพาะจากอเมริกาได้หลั่งไหลเข้าสู่ยุโรปไม่ขาดสาย    ได้ขยายขอบเขตของวิธีการแลกเปลี่ยน   ทั้งนำมาซึ่ง “การปฏิวัติราคา* (ทองคำและเงินจำนวนมหาศาลที่ปล้นชิงจากดินแดนอาณานิคม  ต้นทุนการผลิตต่ำ  หลังจากอัดฉีดเข้าสู่ปริมณฑลปริวรรตเงินตราแล้ว    ก็ทำให้ราคาของทองคำและเงินลดต่ำลง   ราคาสินค้าถีบตัวสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว    ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายศตวรรษที่16   ราคาสินค้าของประเทศต่างๆเช่นสเปน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  เยอรมัน   ล้วนถีบตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว    ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  “การปฏิวัติราคา” )

ในศตวรรษที่ 16  ราคาสินค้าที่แต่เดิมมีเสถียรภาพเป็นเวลาหลายร้อยปีของยุโรปบัดนี้ได้พุ่งทะยานขึ้นเป็นแนวดิ่ง    ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ใช้แรงงานทั้งในเมืองและชนบทยิ่งยากจนลง    พวกเจ้าที่ดินศักดินาที่อาศัยค่าเช่าเป็นเงินตราในอัตราที่แน่นอนก็มีรายได้ไม่พอรายจ่าย    มีแต่ชนชั้นนายทุนเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากการนี้และได้เร่งความ เร็วในการสะสมทุนปฐมกาล   เสริมฐานะของชนชั้นนายทุนให้มั่นคงยิ่งขึ้น    “ชนชั้นเจ้าที่ดินและชนชั้นผู้ใช้แรงงานซึ่งก็คือเจ้าศักดินาและประชาชนเสื่อมโทรมลง   ชนชั้นผู้มีทุนชนชั้นนายทุนเจริญขึ้น” (มาร์กซ  “ความอับจนของปรัชญา”)

ต่อจากสเปน  โปรตุเกส   นักล่าอาณานิคมอังกฤษ  ฮอลแลนด์  ฝรั่งเศส  ก็ทยอยกันมุ่งสู่เอเชีย  อาฟริกาและอเมริกา  ดำเนินการปล้นชิง    พวกเขาได้รับสัมปทานจากรัฐบาลของประเทศตน    ทำการก่อตั้งบริษัทผูกขาดแบบอาณานิคมชนิดต่างๆ   บริษัทเหล่านี้ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่กระตุ้นการสะสมทุนปฐมกาล   บริษัทอีสต์อินเดียของฮอลแลนด์ที่ก่อตั้งในปี 1602  ได้ค่อยๆสร้างฐานะการปก ครองแบบอาณานิคมต่อเกาะต่างๆในอินโดนีเซีย    ส่วนบริษัทอีสต์อินเดียของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี 1600 ไม่เพียง  แต่ได้ผูกขาดการค้ากับอนุทวีปเอเชียใต้และประเทศจีนเท่านั้น      หากยังได้ค่อยๆก้าวไปสู่การพิชิตอนุทวีปเอเชียใต้ปล้นชิงโภคทรัพย์มูลค่ามหาศาลอีกด้วย    โภคทรัพย์มูลค่ามหาศาลเหล่านี้ได้ผลักดันให้หัตถกรรมสถานประกอบการพัฒนาไป    ทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามมาอีกด้วย    แต่ประชาชนผู้ใช้แรงงานในอนุทวีปเอเซียใต้กลับต้องพบกับภัยพิบัติอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน    ตกอยู่ในห้วงเหวของความยากจนล้มละลาย    จากการเกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในปี 1770   เฉพาะที่เขตเบงกอลก็มีผู้เสียชีวิตถึง 10 ล้านคน

พร้อมๆกับที่ชาวเอเซียกำลังพบกับภัยพิบัติอย่างไม่เคยมีมาก่อนนั้น   ชาวอินเดียนในทวีปอเมริกาก็ถูกเข่นฆ่าเป็นจำนวนมาก   และนักล่าอาณานิคมของยุโรปดำเนินการซื้อขายทาสอย่างชั่วร้ายในทวีปอาฟริกา    ก่อนอื่นคือ  ชาวโปรตุเกส  ชาวสเปนและชาวเจนัว   ถึงศตวรรษที่ 18  ชาวอังกฤษก็กลายเป็นนักค้ามนุษย์ตัวยง     ชนผิวดำก็ถูกจับมาจากทวีปอาฟริกาไปทวีปอเมริกานั้น   ตามสถิติมีถึง 900,000 คนในศตวรรษที่16   ในศตวรรษที่ 17   2,750,000 คน ถึงศตวรรษที่18 ก็เพิ่มเป็น 7 ล้านคน     การค้าทาสได้นำผลกำไรมหาศาลมาสู่นักล่าอาณานิคมยุโรป    กลายเป็นแหล่งที่มาแหล่งหนึ่งของการสะสมทุนปฐมกาลในยุโรป  ในการขายทาสชนผิวดำสู่ทวีปอเมริกาแต่ละคน    ก็จะต้องมีชนผิวดำ 4-5คนถูกฆ่าหรือถูกทรมานจนตายในระหว่างทางขนส่งลำเลียง    ทำให้ทวีปอาฟริกาสูญเสียประชากรไปถึง 100 ล้านคนในชั่วระยะ 400 ปี   ไร่เพาะปลูกแบบทาสกลายเป็นรูปแบบเศรษฐกิจหลักของอาณานิคมในทวีปอเมริกา    ฝ้ายที่ปลูกโดยแรงงานทาสในทวีปอเมริกาก็กลายเป็นเสาค้ำอุตสา หกรรมของอังกฤษ   “รวมความแล้วก็คือ   ระบอบทาสที่แฝงเร้นในรูปของแรงงานรับจ้างในยุโรป   จำเป็นต้องอาศัยระบอบทาสที่ล่อนจ้อนของโลกใหม่เป็นฐานรองรับ” (มาร์กซ “ว่าด้วย ทุน”)....จบตอน 1

Tuesday, November 8, 2016

บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ ตอนที่ 2.

บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ
ภาคแรก  ตอนที่ 2.
2....การลงสู่มวลชน
การเคลื่อนไหวของเยาวชนซึ่งส่วนมากเป็นคนระดับบนที่ยังไร้เดียงสาและสับสนแต่กล้าหาญและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน  เป็นผู้ที่ได้ทิ้งมรดกอันล้ำค่าไว้สำหรับอนาคต     เมื่อเลนินวิจารณ์นโยบายที่ค่อนข้างจะมีลักษณะอุดมคติ(utopia)ของพวกเขา   ท่านได้ยกย่องชื่นชมความกล้าหาญของนักปฏิวัติชาวนารอดนิคอยู่เสมอๆ    เพราะเลนินเข้าใจดีว่า.การเคลื่อนไหวของนักลัทธิมาร์กซรัสเซียนั้นเกิดขึ้นจากเลือดเนื้อของผู้เสียสละเหล่านี้ทั้งสิ้นที่ได้สลัดความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งและละทิ้งความสะดวกสบายบรรดามีใน 
โลกอย่างไม่รั้งรอ    มาเผชิญหน้ากับความตาย,คุกตะราง..และการหลบหนีลี้ภัยเพื่อต่อสู้ให้ได้มาซึ่งโลกที่ดีกว่าความสับสนในทางทฤษฎีนั้นถือเสียว่าการเคลื่อน ไหวที่เพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น      การขาดพลังที่เข้มแข็งของชนชั้นกรรมกร,ขาดแผนปฏิบัติหรือรูปแบบวิธีการที่ชัดเจนใดๆของอดีตที่พอจะเป็นแสงสว่างส่องทางให้ในคืนที่มืดมิดและการสกัดกั้นมิให้พวกเขาเข้าถึงงานส่วนใหญ่ของมาร์กซ      ทั้งหมดนี้ทำให้เยาวชนปฏิวัติรัสเซียต้องสูญเสียโอกาสในการเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของกระบวนการทำงานในสังคม

เยาวชนส่วนใหญ่รู้จักมาร์กซในฐานะที่เป็นแค่นักเศรษฐศาสตร์เท่านั้นในขณะที่คำสอนของบาคูนิน*(มิคคาอิล  อเล็กซานโดรวิช  บาคูนิน 1814 – 1876 นักลัทธิอนาธิปไตยที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย ) เรื่อง”ทำลายมันให้สิ้นซาก ”และข้อเรียกร้องของเขาในการเผชิญหน้ากันโดยตรง      ดูเหมือนว่าจะเป็นเสียงเพรียกที่เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งยุคสมัยที่ผู้คนกำลังเหนื่อยหน่ายต่อถ้อยคำที่แสดงออกถึงผลลัพธ์อันล่าช้าไม่ทันใจ    ในบันทึกของ พาเวล  อัคเซลรอด* (อดีตนักปฏิวัติของลัทธินารอด  ที่เห็นว่าชาวนาเป็นกองหน้าของการปฏิวัติ  ภายหลังความล้มเหลวของลัทธินารอดนิค จึงเบนเข็มมาเป็นนักลัทธิมาร์กซ เป็นหนึ่งในห้าของกลุ่มบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ อิสครา ของพรรคสังคมประ ชาธิปไตยรัสเซียร่วมกับเลนิน) ทำให้คิดได้ว่า....ทำไมทฤษฎีของบาคูนินถึงได้จับใจคนหนุ่มสาวหัวรุนแรงด้วยคำพูดที่แสนจะเรียบง่าย   สำหรับบาคูนินคำว่า “ประชาชน” นั้นหมายถึงนักปฏิวัติและนักสังคมนิยมโดยสัญชาติญาณ.....เมื่อหันกลับไปมองในยุคกลาง...ที่ได้แสดงออกโดยกบฏชาวนาเช่นการลุกขึ้นสู้ของ ”ปูกาเชฟ”(Pugachev *ชาวนาชาวคอสแซกผู้นำกบฏที่นำชาวนาลุกขึ้นสู้ในสมัยจักรพรรดินีคัธรีนที่ 2  ในปี คศ. 1773-74) แม้แต่กลุ่มโจรก็นำไปเป็นแบบอย่างที่ดีในการต่อสู้   ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการจุดประกายให้แก่การปฏิวัติ

การต่อสู้ที่ผ่านมา    ทรอทสกี ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงจิตวิญญาณของเยาวชนผู้บุกเบิกเหล่านี้ว่า “คนหนุ่มสาว….ส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตนักศึกษาจำนวนหลายพันคนได้ทำการโฆษณาแนวทางสังคมนิยมให้แผ่กระจายไปทั่วทุกหนทุกแห่งของประเทศ...อย่างน้อยที่สุดก็แพร่ไปถึงแถบลุ่มแม่น้ำโวลก้า ซึ่งเป็นมรดกตกทอดของ ปูกาเชฟ และ ราซิน(เพราะเป็นพื้นที่ของการลุกขึ้นสู้)    การเคลื่อนไหวได้แสดงออกถึงอุดมการณ์ที่น่าชื่นชมของเยาวชนเหล่านี้    ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดของการปฎิวัติรัสเซียซึ่งถูกกล่าวขานอย่างไร้เดียงสาว่าเป็นความสำเร็จ นักโฆษณาไม่มีแม้กระทั่งองค์กรนำและการวางนโยบายที่แน่นอนมาก่อน   พวกเขาไม่มีแม้แต่ผู้ร่วมงานที่มีประสบการณ์  และทำไมจะต้องมีล่ะ?   เยาวชนเหล่านี้ได้ตัดขาดจากครอบครัวและสถานศึกษา  ไม่มีอาชีพ  ไม่มีห่วง  หรือภาระหน้าที่ใดๆ  ทั้งไม่มีความหวาดกลัวไม่ว่าจะเป็นอำนาจของฟ้าและดิน  เสมือนกับว่าการลุกขึ้นสู้นั้นเป็นผลึกแห่งชีวิต    เพื่อรัฐธรรมนูญหรือ? เพื่อระบอบรัฐสภาหรือ? เสรีภาพทางการเมืองหรือ? ไม่เลย..พวกเขาจะไม่ยอมเปลี่ยนทิศหลงทางจากการล่อหลอกของฝ่ายตะวันตกอย่างเด็ดขาด      เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการคือการปฏิวัติที่สมบูรณ์แบบโดยไม่มีการหยุดชะงักลงกลางคัน”

ฤดูร้อนปี 1874 เยาวชนหลายร้อยคนที่มีพื้นฐานจากครอบครัวระดับกลางขึ้นไปต่างพากันลงสู่ชนบทอย่างเร่าร้อนพร้อมกับความคิดที่จะปลุกเร้าชาวนาให้เข้าร่วมการปฏิวัติ   พาเวล อัคเซลรอด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานลัทธิมาร์กของรัสเซียในอนาคต     ได้เรียกร้องอย่างสุดจิตสุดใจต่อเยาวชนปฏิวัติให้หยุดเรียนโดยสิ้นเชิงว่า     "ใครที่ต้องการทำงานเพื่อประชาชนควรก้าวออกจากรั้วมหาวิทยาลัยละทิ้งความมีอภิสิทธิ์และครอบครัว..หันหลังให้กับทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะทั้งหลาย      ตัดขาดจากภาระผูกพันทั้งมวลที่เป็นเครื่องมือในการยกระดับฐานะต่อการก้าวไปสู่ชนชั้นที่สูงขึ้น, เผาสะพานนั้นทิ้งเสีย  กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือพวกเขาต้องสมัครใจที่จะลืมทางถอยทั้งหมดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับการพูดของเหล่านักโฆษณาชวนเชื่อจำต้องเปลี่ยนแปลงธาตุแท้ของตนโดยสิ้นเชิง,ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ สึกว่าตนเองมีสถานะที่ต่ำต้อยเช่นเดียวกับชาวนา......นี่ไม่เพียงแต่ในด้านอุดมการณ์เท่านั้นยังต้องรวมไปถึงท่วงทำนองในทางปฏิบัติอีกด้วย

เยาวชนคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญเหล่านี้ไม่มีนโยบายอะไรที่ชัดเจนมากไปกว่า     การลงสู่ “มวลชน”  พวกเขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าปอนๆเยี่ยงชนชั้นกรรมกรที่ซื้อหามาจากร้านขายสินค้ามือสอง  ปลอมแปลงใบผ่านทาง..เดินไปสู่ชนบทด้วยความหวังว่าพวกเขาสามารถดำรงชีวิตและทำงานได้โดยไม่ต้องถูกตรวจสอบ      การแต่งกายแบบชาวนากับกิริยาท่าทางมันได้แสดงพิรุธตั้งแต่แรกเห็นแล้ว     โครพอทกินได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “ช่องว่างระหว่างชาวนาและคนที่มีการศีกษานั้นห่างกันมากในรัสเซีย   และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาก็ไม่ปรากฏให้เห็นได้ง่ายนักในชนบท     คนที่แต่งกายแบบคนเมืองจะเป็นที่สนใจสำหรับคนทั่วไป...แม้แต่ในเมืองเอง..ถ้าใครคนหนึ่งที่พูดจาและแต่งกายต่างไปจากคนงานแต่เดินไปกับกรรมกรก็จะกระกระตุ้นความสงสัยของตำรวจทันที

โชคไม่ดีที่จิตใจปฏิวัติอันน่ายกย่องนี้ได้สร้างรากฐานทางทฤษฎีที่ไม่มั่นคงขึ้น       ความคิดที่ลี้ลับของ ”เส้นทางพิเศษในการก้าวไปสู่สังคมนิยมของรัสเซีย”  ซึ่งเป็นการก้าวข้ามสังคมศักดินาที่ป่าเถื่อนไปสู่สังคมที่ปราศจากชนชั้นนั้น      เป็นการข้ามขั้นตอนของสังคมทุนนิยมอันเป็นสาเหตุให้เกิดข้อผิดพลาด   และโศกนาฏกรรมขึ้นอย่างไม่รู้จบสิ้น..ทฤษฎีที่ผิดจะนำไปสู่หายนะในทางปฏิบัติ       พวกนารอดนิคมีแรงดลใจจากทฤษฎีของความปักใจในการปฏิวัติ       แนวคิดที่ว่าความสำเร็จของการปฏิวัติสามารถรับ ประกันได้ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทของคนกลุ่มเล็ก ๆของทั้งหญิงและชาย......นั่นเป็นเงื่อนไขทางอัตวิสัยแน่นอนมันมีลักษณะชี้ขาดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ     คาร์ล มาร์กซ  ได้ให้คำอธิบายว่า หญิงและชายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของตนขึ้นมา    แต่ไม่สามารถทำได้นอกเหนือไปจากบริบทแห่งความสัม  พันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจตามที่ตนปรารถนา

ความพยายามของนักทฤษฎีชาวนารอดนิคในการสร้าง ”หนทางพิเศษทางประวัติศาสตร์” สำหรับรัสเซียที่มีความแตกต่างจากยุโรปตะวันตก  ได้นำพวกเขาเข้าสู่วิถีทางของแนวปรัชญาจิตนิยมและมีจินตนาการต่อพลังอันยิ่งใหญ่ที่ซ่อนเร้นของชาวนาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้   ความไม่ชัดเจนทางทฤษฎีของบาคูนินเป็นภาพสะท้อนของความด้อยพัฒนาและความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่กระพร่องกระแพร่งในรัสเซียอย่างถึงที่สุดมันได้วางรากฐาน(ทางทฤษฎี)ให้แก่บรรดาชาวนารอดนิคทั้งหลายที่กำลังแสวงหาข้อเท็จจริงทางอุดมการณ์เพื่อยืนยันถึงความมั่นใจในการปฏิวัติที่คลุมเครือของพวกเขา

ในความคิดของบาคูนินได้พร่ำพรรณนาถึง มีร์(mir/คอมมูนหรือชุมชนชาวนา) ที่เป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมของชาวนาเพื่อการควบคุมหมู่บ้านในระบอบปกครองของซาร์......ว่าเป็นศัตรูของรัฐเพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นที่นักปฏิวัติต้องลงสู่หมู่บ้านเพื่อปลุกเร้า” จิตสำนึกปฏิวัติ” ของชาวนารัสเซียให้ลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐจึงจะสามารถคลี่คลายปัญหาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัย”การเมือง”หรือการจัดตั้งพรรคการเมืองแบบใดๆขึ้นมา     ภาระหน้าที่ไม่ใช่การต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย(เนื่องจากประชาธิปไตยเป็นตัวแทนรูปแบบหนึ่งของรัฐ..ดังนั้นมันจึงแสดงถึงความเป็นทรราชชนิดหนึ่งตามแนวคิดทางทฤษฎีของลัทธิอนาธิปไตย)   ที่ต้องโค่นรัฐลงในทุกๆมิติและแทนที่ด้วยสหพันธ์ชุมชนท้องถิ่นด้วยความสมัครใจบนพื้นฐานของ มีร์(คอมมูน) และขจัดองค์กรปฏิกิริยาทุกรูปแบบออกไป

ปัจจัยที่ขัดแย้งกันทางทฤษฎีนี้เกิดขึ้นอย่างทันตาเห็น..เมื่อเยาวชนนารอดนิคพยายามแปรคำสอนไปสู่การปฏิบัติคำเสนอแนะของบรรดานักศึกษา ทำให้พวกเขาต้องประสบกับความมึนชาสงสัยจากชาวนา เกิดความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์และถูกต่อต้านจากชาวนา  บ่อยครั้งที่มีการแจ้งเบาะแสของเยาวชนผู้มาเยือนให้แก่ทางการเซลียาบ๊อฟหนึ่งในผู้นำของพรรค นารอดนายา โวลยา (Narodnaya volya/ความปราถนาของประชาชน)ในอนาคต.....ได้เขียนบรรยายถึงความพยายามอย่างไม่ย่อท้อของบรรดาเยาวชนนารอดนิคในการที่จะได้รับการสนับสนุนจากชาวนา.....โดยชูประเด็นของความทุกข์ยากจากการบีบบังคับและกดขี่....แต่ชาวนารัสเซียยังยึดมั่นต่อความศรัทธาที่ว่า   “ร่างกายขอถวายเป็นราชพลีแก่กษัตริย์,จิต  วิญญานถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า,ส่วนหลังไหล่(แรงงาน)นั้นอุทิศแด่ผู้เป็นเจ้านาย” ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่ามันไม่สอดคล้องกับแนวคิดปฏิวัติของนารอดนิคเลย   ความสะเทือนใจและผิดหวังของปัญญาชนได้สะท้อนออกมาจากคำพูดของผู้ที่เข้าร่วม ”พวกเราเองค่อนข้างจะมืดบอดที่มั่นใจว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  สังเกตว่าชาวนาไม่ได้มีจิตใจที่มุ่งมั่นในการปฏิวัติเทียบเท่านักปฏิวัติอย่างเช่นที่พวกเราอยากให้พวกเขามี    เรากลับพบว่าในหมู่ชาวนาต้องการเพียงที่ดินทำกินเท่านั้น     พวกเขามีความคาดหวังต่อองค์จักรพรรดิว่าจะมีพระราชโองการจัดสรรแบ่งปันที่ดินให้และส่วนมากคิดไปเองว่าพระองค์จะทำตั้งนานแล้วแต่ถูกคัดค้านจากเจ้าที่ดินใหญ่และพวกข้าราชการ...ทั้งสองพวกนี้แหละที่เป็นศัตรูของทั้งองค์จักรพรรดิ์และชาวนา”

ความมุ่งมั่นอย่างไร้เดียงสาในการส่งผ่านภารกิจปฏิวัติให้แก่ชาวนานั้นช่างเป็นเรื่องที่น่าขบขันปนสมเพช เดโบกอรี  โมครีวิช (Debogori-Mokrievich) ผู้ร่วมเคลื่อนไหวคนหนึ่งกล่าวระลึกถึงความหลังว่า “พวกชาวนาไม่ให้พวกเราค้างคืนในกระท่อมของพวกเขาที่ชัดเจนคือพวกเขาไม่ชอบที่เห็นเราดูสกปรก  ,สวมใส่เสื้อผ้าที่มอมแมมนี่เป็นสิ่งสุดท้ายที่เราคาดคิดไว้แล้วตั้งแต่แรก... เมื่อเราแต่งตัวเหมือนคนทำงาน ต้องนอนกลางแจ้งทั้งหิวทั้งหนาวและเหน็ดเหนื่อย เท้าแตกระแหงจากการเดินทางด้วยรองเท้าบู๊ทราคาถูก”   จิตวิญญาณของชาวนารอดนิคต้องภินฑ์พังลงจากแรงต่อต้านของกำแพงแห่งความแตกต่างของชาวนา    ความมุ่งมั่นได้สูญสลายไปที่ละน้อย...พวกที่ยังไม่ถูกจับต่างถอนตัว ..ขจัดภาพลวงตาและกลับสู่เมืองด้วยความอ่อนล้า    การเคลื่อนไหว “ลงสู่ประชาชน” ได้พังทลายลงอย่างรวดเร็วจากการกวาดล้างจับกุมของทางการเฉพาะในปี 1874 เพียงปีเดียวนักเคลื่อนไหวกว่า 700 คนถูกจับ...นับได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้ที่ต้องจ่ายด้วยราคาที่แสนแพง     ความวีระอาจหาญและจิตวิญ ญาณของพวกเขาได้รับการกล่าวขานในสุนทรพจน์ของการต่อสู้ที่อู่ต่อเรือโดยนักปฏิวัติที่ถูกจับเป็นการจุดประกายการเคลื่อน ไหวครั้งใหม่ขึ้นอีกครั้ง

ชาวนารอดนิคมีความเชื่อมั่นใน”ประชาชน” ในทุกๆกรณี   แต่พวกเขายังคงถูกโดดเดี่ยวอย่างเบ็ดเสร็จจากชาวนาที่พวกเขายกย่องเลื่อมใส ในความเป็นจริงการเคลื่อนไหวทั้งมวลนั้นรวมศูนย์อยู่ในมือของปัญญาชน ทรอทสกีเขียนไว้ว่า“พวกป๊อปปูลิสต์”(ประชานิยม) มีความศรัทธาเชื่อมั่นต่อชาวนาและระบบคอมมูนซึ่งเป็นเสมือนภาพเงาในกระจกเท่านั้น”. “ความยิ่งใหญ่สง่างามของปัญญาชนชนชั้นกรร  มาชีพเป็นเครื่องมือเพียงสิ่งเดียวที่จะก้าวไปสู่บทบาทของผู้นำ”   ประวัติศาสตร์ทั้งมวลของชนชั้นปัญญาชนรัสเซียได้พัฒนาขึ้นระหว่างสองขั้วระหว่าง”ความภาคภูมิ”และ”การเสียสละตัวเอง”  อันเป็นเสมือนเงาทั้งสั้นและยาวที่ทาบทาอยู่บนความอ่อนแอของสังคม

ความอ่อนแอทางสังคมของปัญญาชน..เป็นการสะท้อนถึงของความสัมพันธ์ทางชนชั้นในสังคมที่ด้อยพัฒนาของรัสเซีย  การพัฒนาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมที่รับเข้ามาอย่างขนานใหญ่จากกระแสของทุนนิยมต่างชาติในทศวรรษที่ 1890 และการถือกำเนิดของพลังกรรมกรในเมืองที่เข้มแข็งยังคงเป็นเพียงบทเพลงที่พึ่งจะปรากฏขึ้น..ซึ่งจะทอดต่อไปในอนาคตที่ยาวไกล     แรงสะท้อนกลับไปสู่รากเหง้าเดิมของตน..ทำให้ปัญญาชนปฏิวัติได้แสวงหาทางรอดด้วยทฤษฎี ”แนวทางเฉพาะของรัส เซียในการก้าวสู่สังคมนิยม” บนพื้นฐานของปัจจัยในกรรมสิทธิ์ร่วมที่ดำรงอยู่ของมีร์

ทฤษฎีการต่อสู้แบบลอบโจมตีและการก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลของชาวนารอดนิครัสเซียและกลุ่มก่อความรุนแรง..ที่เคยนิยมใช้กันในกลุ่มนักเคลื่อนไหวกลุ่มเล็กๆนั้น..ในปัจจุบัน(ของสังคมรัสเซียในยุคนั้น)ได้กลายเป็นรูปแบบแนวคิดที่ตลกและล้าสมัยไปแล้ว...ซึ่งในเวลาต่อมาพวกเขาพยายามค้นหา  คนจำพวกที่สาม.....ที่มีรากฐานของชาวนาจากกลุ่มกรรมาชีพหรือในหมู่กรรมาชีพเร่ร่อน (lumpen proletariat) ซึ่งตามความจริงก็ในทุกชนชั้นยกเว้นชนชั้นกรรมาชีพ แนวคิดดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับลัทธิมาร์กซเลย  มาร์กซและเองเกลส์ได้อธิบายแล้วว่า...มีเพียงชนชั้นเดียวเท่านั้นที่สามารถนำการปฏิวัติไปสู่สังคมนิยมและสถาปนารัฐของผู้ใช้แรงงานที่มีความมั่นคงซึ่งเป็นรัฐปราศจากชนชั้นได้     มีเพียงชนชั้นผู้ใช้แรงงานเท่านั้น   เนื่องจากว่ามีคุณสมบัติและบทบาทที่โดดเด่นในสังคมและในทาง การผลิตโดยเฉพาะขอบเขตที่กว้างใหญ่ของการผลิตในด้านอุตสาหกรรมและเปี่ยมไปด้วยสัญชาติญาณและจิตสำนึกทางชนชั้น...ซึ่งมันไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน     รูปแบบของการต่อสู้ดิ้นรนของชนชั้นกรรมาชีพมีรากฐานอยู่บนการเคลื่อนไหวมวลชนที่เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการหยุดงาน,ประท้วง, ยืนหยัด, ในการนัดหยุดงานทั่วไป.

ด้วยความแตกต่างกันทางผลประโยชน์......หลักการแรกสุดในสังคมที่มีชนชั้นคือลัทธิปัจเจกชนนิยมของเจ้าของทรัพย์สินทั้งใหญ่และเล็กที่หาประโยชน์จากแรงงานนอกเหนือไปจากชนชั้นนายทุนผู้ซึ่งเป็นศัตรูกับสังคมนิยมเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการดำรงอยู่ของมัน     เรายังมีชนชั้นกลางรวมไปถึงชาวนา  ซึ่งกลุ่มหลังนี้เป็นชนชั้นในสังคมที่อย่างน้อยยังสามารถรับจิตสำนึกสังคมนิยมได้ ถ้าจะพูดถึงชั้นชนที่เหนือขึ้นไปเช่น,ชาวนารวย  นักกฎหมาย  แพทย์ สมาชิกรัฐสภา   คนพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีความใกล้ชิดกับชนชั้นนายทุน  ดังนั้น..ชาวนาไร้ที่ดินในรัสเซีย,ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของชนชั้นกรรมาชีพในชนบท,แต่ว่าจิตสำนึกของพวกเขาก็ยังห่างจากบรรดาพี่น้องในเมืองของตนมาก    ความปรารถนาแรกสุดของชาวนาไร้ที่ดินก็คือการได้เป็นเจ้าของที่ดินสักแปลงหนึ่ง    นั่นก็หมายถึงว่าพวกเขาย่อมจะกลายไปเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เล็กๆไป

ลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลและ ”ลัทธิลอบโจมตี” หรือรูปแบบที่หลากหลายของมันนั้น...เป็นวิธีการของชนชั้นนายทุนน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนารวมถึงนักศึกษาปัญญาชนและชนชั้นกรรมาชีพร่อนเร่ไร้ หลักแหล่งอีกด้วย  ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นจริงเช่นนี้โดยเฉพาะในยุคสมัยของพวกเขา กลุ่มชาวนาจนสามารถเอาชนะได้โดยอาศัยกรรมสิทธิ์ส่วนรวมอย่างเช่นที่เราได้เห็นในเสปนในปี 1936   ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่พัฒนามาก่อนของการเคลื่อนไหวปฏิวัติของชนชั้นกรรมกรในเมือง   สำหรับในรัสเซีย..ชนชั้นกรรมาชีพจะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้ก็ด้วยการปลุกระดมชาวนาจนเข้าร่วมการปฏิวัติไม่ใช่อยู่ที่การชูคำขวัญของสังคม
นิยมหากแต่อยู่บนพื้นฐานของ “ที่ดินเป็นของผู้ไถหว่าน!” ที่จริงแล้ว,โดยตัวมันเองแสดงให้เห็นว่าชนชั้นชาวนารัสเซียยังยืนห่างจากจิตสำนึกสังคมนิยมอยู่มากแม้ในปี 1917 ก็ตาม

สำหรับชาวนารอดนิคที่ขาดพื้นฐานทางทฤษฎีจะเริ่มต้นด้วยความงุนงงสับสนและไม่มีมโนภาพของความสัมพันธ์ทางชนชั้นนักลัทธิมาร์กซได้ถกเถียงโต้แย้งกันเกี่ยวกับบทบาทการนำของชนชั้นกรรมา รัสเซียที่ค่อนข้างจะไม่เป็นเอกภาพ   อะไรที่ชนชั้นกรรมกรควรจะต้องทำ?  แน่นอนมาร์กซและเองเกลส์เองคงไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์ที่มีลักษณะพิเศษของรัสเซียได้!ตราบเท่าที่พวกนารอดนิคยังพิจารณาและประเมินบทบาทของกรรมกรในเมืองแบบเบี่ยงเบนว่า เป็นแค่”ชาวนาในโรงงาน”จะมีบท บาทได้ก็แค่ช่วยสนับสนุนชาวนาในการปฏิวัติเท่านั้น แน่นอน..นั่นเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับความสัมพันธ์ที่แท้จริงต่อพลังของชนชั้นที่ปฏิวัติ

นับเป็นเรื่องที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง.   เนื่องมาจากอคติของนักทฤษฎีชาวนารอดนิค...ซึ่งเกือบจะทั้งหมดในปริมณฑลของการปฏิวัติ.....เมื่อพวกเขากล่าวถึงกรรมกรในโรงงานจะมีแต่เสียงสะท้อนที่แสดงถึงอาการหมิ่นแคลนว่าเป็นพวก “ชาวนาในเมือง”  เช่นเดียวกับพวกที่นิยมก่อความรุนแรงซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนคำขวัญ  “เซ็มลียา อี โวลยา”(ที่ดินและเสรีภาพ) ที่รับเอานโยบาย ”นำกรรมกรออกจากโรงงานและส่งพวกเขาไปสู่ชนบท”   เพลคานอฟเองก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นนักลัทธิมาร์กซก็เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้    ซึ่งภายหลังก็สามารถมองเห็นว่า “กรรมกรในโรงงานล้วนแล้วแต่ทำงานในเมืองกันมาคนละหลายๆปี..รู้สึกไม่ค่อยยินดีและไม่สู้จะเต็มใจนักต่อการกลับไปสู่ชนบท ธรรมเนียมปฏิบัติและสถาบัน(ทางสัง คม)ในชนบทได้กลายมาเป็นเรื่องที่ยุ่งยากที่ไม่คุ้นชิน...อย่างน้อยก็สำหรับคนที่บคลิก ภาพเปลี่ยนไป...”

“คนพวกนี้มีประสบการณ์,เต็มใจที่จะอุทิศตนเพื่อส่วนรวม  แต่ความพยายามของพวกเขาที่จะยกระดับตนเองในชนบท,กลับไม่ประสบผลอะไรเลย  หลังจากร่อนเร่ไปตามหมู่บ้านต่างๆด้วยความตั้งใจที่จะปักหลักในที่ไหนสักแห่งหนึ่ง(ซึ่งหลายคนถูกมองว่าเป็นคนต่างเชื้อชาติ) ในที่สุดก็ต้องเลิกล้มกิจกรรมทุกอย่างและกลับสู่ซาราตอฟ  เมืองที่พวกเขาเคยสร้างความสัมพันธ์กับกรรมกรท้องถิ่นและ  ไม่มีอะไรมากไปกว่าการสร้างความประหลาดใจและแปลกแยกต่อ”ประชาชน”และเด็กๆในชนบทอยู่บ้างเมื่อความจริงเริ่มกระจ่าง   พวกเราจำต้องเลิกล้มความคิดเรื่องที่จะรวมเอากรรมกรและชาวนาเข้าด้วยกัน”

ตามแนวทางทฤษฎีของนารอดนิค เห็นว่ากรรมกรในเมืองนั้นยังห่างจากลัทธิสังคมนิยมมากกว่าชาว นา      ดังนั้นนักจัดตั้งของนารอดนิคจึงเปลี่ยนแนวทางการทำงานกรรมกรใน โอเดสซา และกล่าวหาว่า “พวกที่ทำงานในโรงงานนั้นได้สูญเสียรากเหง้าของการใช้ชีวิตแบบชนบทไปแล้ว..ไม่อาจทำความสัม  พันธ์กับชาวนาได้    อย่างน้อยที่สุดก็ในการโฆษณาแนวทางสังคมนิยม”    กระนั้นก็ดีชาวนารอดนิคก็ได้ดำเนินงานในมวลหมู่กรรมกรและได้มาซึ่งผลตอบแทนที่สำคัญ    ผู้ที่เริ่มบุกเบิกงานในส่วนนี้คือ นิโคลัย วาซิเลวิช ไชคอฟสกี     กลุ่มของเขาเริ่มก่อตั้งหน่วยโฆษณาขึ้นในหมู่กรรมกรในเขตเซนปีเตอร์สเบิร์กซึ่งโครพอทกิน ก็เป็นหนึ่งในนักโฆษณาของเขา   ในสภาพที่เป็นจริงได้บีบให้หน่วย งานของนารอดนิค.....แรกสุดจำต้องเผชิญกับ ”ปัญหาของกรรมกร”  ซึ่งพึ่งจะถูกขับออกจากกลุ่มโดยนักทฤษฎีที่นิยมบาคูนิน     ชนชั้นกรรมกรรัสเซียแม้ว่าจะเป็นเพียงยุคเริ่มต้น..และมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็ได้ประทับรูปรอยของตนไว้บนพื้นที่ของการเคลื่อนไหวปฏิวัติ

ทัศนะคติของกรรมกรที่มีต่อพวก ”สุภาพบุรุษหนุ่ม” คือการชอบสั่งสอน  ไอ.เอ บาสกิน กรรมกรแห่งปีเตอร์สเบิร์กได้ชี้แนะเพื่อนกรรมกรของตนว่า “พวกเราต้องเรียนรู้จากนักศึกษาแต่ถ้าพวกเขาเริ่มสอนเราในเรื่องเหลวไหล เราต้องเหวี่ยงเขาทิ้งไป”   มีความเป็นไปได้อย่างเช่น บาสกิน ที่เพลคานอฟได้เข้าใจถึงความรู้สึกของกรรมกรที่ไม่อยากลงไปในชนบท   บาสกินถูกจับเมื่อเดือนกันยายน 1874 และพ้นโทษออกมาในปี 1876 ได้กล่าวต่อเพลคานอฟว่าเขา “พร้อมแล้วเช่นแต่ก่อนที่จะทำงานโฆษณา การปฏิวัติ..แต่เฉพาะในหมู่กรรมกรด้วยกันเท่านั้น...ผมไม่ต้องการไปทำงานในชนบทเพราะเขาเห็นว่า “ชาวนานั้นเหมือนพวกแพะแกะ”  ที่ไม่ยอมเข้าใจเรื่องการปฏิวัติเอาเสียเลย

ในขณะที่ปัญญาชนนารอดนิคปลุกปล้ำอยู่กับปัญหาทฤษฎีการปฏิวัติสำหรับอนาคต   สิ่งกระตุ้นจิตสำนึกทางชนชั้นขั้นแรกสุดได้ปรากฏขึ้นในใจกลางเมือง  การปลดปล่อยไพร่ติดที่ดินได้กลายเป็นศูนย์รวมของความรุนแรง การพัฒนาระบอบเกษตรกรรมแบบทุนนิยมได้กลับกลายไปเป็นการบั่นทอนผลประโยชน์ของชาวนา  ผลก็คือเจ้าที่ดินได้ตระเตรียมพื้นที่ของตนสำหรับการผลิตแบบทุนนิยมดังที่ เลนินได้อธิบายไว้ว่า.... ก่อให้เกิดกระบวนความขัดแย้งขึ้นในหมู่ชาวนาการตกผลึกทางชนชั้นของชาวนารวยคูลัคส์( /kulaks) ที่อยู่ในโครงสร้างชั้นบนสุดของชนชั้นชาวนาที่กำลังจะล้มละลายกับชาวนาจนอยู่ในชั้นล่างสุด     เพื่อจะให้หลุดพ้นจากชีวิตชนบทที่ถูกบดขยี้จากความยากจน    ทำให้ชาวนาจนจำนวนมากต้องหลั่งไหลเข้าเมืองเพื่อหางานทำ      ในช่วงปี 1865–90 กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 65 เปอร์เซ็นต์  ในจำนวนนี้กรรมกรเหมืองแร่เพิ่มขึ้น106 เปอร์เซ็นต์   เอ.จี.ราชิน ได้ให้ตัวเลขของกรรมกรในเขตยุโรปของรัสเซียไว้ดังนี้(จักรวรรดิรัสเซียส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปยุโรป  อีกส่วนหนึ่งอยู่ในทวีปเอเซีย )
ปี
โรงงานและ สถานประกอบการ
    เหมืองแร่
      รวม
1865
509
165
674,000
1890
840
340
1,180,000
การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญระหว่างศตวรรษที่ 1870  ประชากร    ของเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กเพิ่มจาก 668,000 คน ในปี 1869 ไปเป็น 928,000 คนในปี 1881.   การแยก ตัวออกจากภูมิหลังแบบชาวนาและถูกเหวี่ยงเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในโรงงานที่ร้อนระอุของหม้อไอน้ำและต้อว    ตรากตรำอยู่กับสิ่งเหล่านี้เป็นเวลานาน.....ทำให้จิตสำนึกของกรรมกรแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วรายงานฉบับหนึ่งของตำรวจกล่าวถึงความไม่พอใจและแข็งกระด้างของผู้ใช้แรงงานในตอนหนึ่งระบุว่า  “พฤติกรรมที่หยาบช้าต่ำทรามของเจ้าของโรงงานในการจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่กรรมกรสุดแสนที่จะทน ทานได้”    และยังกล่าวต่อไปอีกว่า “พวกเขามีความตระหนักอย่างชัดแจ้งว่า  โรงงานจะอยู่ไม่ได้หาก ไม่มีแรงงานของพวกเขา”   ซาร์ อเล็กซานเดอร์ ได้อ่านรายงานและใช้ดินสอเขียนคำว่า “แย่มาก” ไว้ที่ขอบหนังสือ สืบเนื่องจากการเติบใหญ่ของกรรมกรและความโกลาหลวุ่นวายที่เกิดขึ้น     กรรมกรจึงได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งกลุ่มแรงงานได้    

สหบาลกรรมกรภาคใต้ได้ก่อตั้งขึ้นโดย  อี. ซาสลาฟสกี(E. Zaslavsky /1844-78)บุตรชายของครอบครัวผู้ดีตกยาก,  เขา“ลงสู่ประชาชน” เมื่อปี 1872-73 ทำให้รู้ว่ายุทธวิธีแบบเดิมนั้นเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์และเริ่มทำการโฆษณา(การปฏิวัติ)ในมวลหมู่กรรมกรของโอเดสซา   จากหน่วยเล็กๆของกรรมกรที่พบปะกันสัปดาห์ละครั้งและการเข้าร่วมลงนามทำให้สหบาลกรรมกรถือกำเนิดขึ้นมา    นโยบายของสหบาลฯเริ่มต้นจากความเป็นจริงที่ว่า  “กรรมกรทั้ง หลายจะได้รับสิทธิของตนเองและการยอมรับก็ด้วยการปฏิวัติที่รุนแรงเท่านั้นจึงจะสามารถโค่นล้มทำลายอภิสิทธิ์ทั้งมวลและความไม่เท่าเทียมกันลงไปได้....บนพื้นฐานของการให้สวัสดิการทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม” อิทธิพลของสหบาลฯได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว .จนกระทั่งถูกทำลายลงด้วยการจับกุมในเดือนมีนาคม 1875   ผู้นำสหบาลทั้งหมดถูกพิพากษาให้ทำงานหนัก,ซาสลาฟสกี เองโดน 10 ปี    สุขภาพของเขาถูกกัดกร่อนจากสภาพการคุมขังที่ย่ำแย่ทำให้มีอาการคุ้มคลั่งและเสียชีวิตลงในคุกด้วยวัณโรค

ในเวลาต่อมาสหบาลกรรมกรที่ได้มีการพัฒนาอย่างมีเนื้อหาสาระได้แก่.....สหบาลกรรมกรแห่งรัสเซียเหนือ..ที่ก่อ ตั้งขึ้นอย่างผิดกฎหมายในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1877  ภายใต้การนำของ คาลทูริน*(สเตพาน  นิโคลาเยวิช  คาลทูริน  1857-1882 นักปฏิวัติรัสเซีย เป็นสมาชิกของพรรค นารอดนายา โวลยา รับผิดชอบในการลอบสังหารพระเจ้าซาร์อเลกซานเดอร์ที่สองของรัสเซีย ) และออปนอร์สกี (Obnorsky)...วิคเตอร์  ออปนอร์สกี ที่เป็นทั้งช่างเหล็ก และช่างเครื่อง...บุตรชายของข้าราชการปลดเกษียณ  ในขณะที่ทำงานตามโรงงานต่างๆในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้น  เขาได้เข้าร่วมกลุ่มศึกษาของกรรมกรกระทั่งต้องหลบไปยังโอเดสสาเพื่อหนีการจับกุม     และที่นั่นเขาได้เริ่มเข้าไปมีความสัมพันธ์ในสหบาลที่ซาสลาฟสกีตั้งขึ้น จากนั้นได้เดินทางไปต่างประ เทศในฐานะกลาสีเรือ     และที่นั่นทำให้เขาได้รับอิทธิพลความคิดของพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อกลับมายังเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้พบปะกับ พี.แอล.ลาฟรอฟ และ พี. อักเซลรอด ผู้นำที่ปราดเปรื่องของขบวนการเคลื่อนไหวนารอดนิค   

สเตพาน คาลทูริน คือภาพลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ของการเคลื่อนไหวปฏิวัติในช่วงปลายทศวรรษที่ 1870     เช่นเดียวกับช่างเครื่อง ออปนอร์สกี เขาเริ่มต้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวในกลุ่มของ ไชค๊อฟสกี  ในฐานะของนักโฆษณา  เพลคานอฟได้เขียนบรรยายถึงภาพอมตะของเขาในขบวนนักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียไว้ดังนี้ :“เมื่อเขา ( สเตพาน) ต้องเคลื่อนไหวในฐานะที่ถูกกฎหมาย      เขามีความกระตือรือล้นอย่างยิ่งในการพบปะและพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบรรดานักศึกษา,รับฟังข่าวสารทุกชนิดจากพวกเขา และหยิบยืมหนังสือ  มีอยู่บ่อยครั้งที่อยู่พูดคุยกันถึงดึกดื่นเที่ยงคืนโดยตัวเองมีการนำเสนอน้อยมาก แขกของเขาจะตื่นเต้นยินดียิ่งที่ได้มีโอกาสสร้างความกระจ่างให้แก่กรรมกรที่ไม่มีความรู้ใดๆ,และมักจะบรรยายเสียยืดยาวเกี่ยวกับทฤษฎีที่กำลังเป็นที่นิยมกันเท่าที่จะเป็นไปได้      

สเตพาน จะจับจ้องมองผู้พูดอย่างระมัดระวังและสนใจ     ในขณะแววตาที่เฉลียวฉลาดจะสะท้อนออกถึงความขบขันและมีเมตตาอยู่ตลอดเวลา และมักจะมีเรื่องตลกร้ายอยู่เสมอๆในความสัมพันธ์ของเขากับนักศึกษา....แต่สำหรับกรรมกร,เขาจะปฏิบัติในวิถีทางที่แตกต่างออกไป..เขาจะจ้องมองด้วยสายตาที่เอาจริงเอาจังและใช้คำพูดในแบบอย่างของนักปฏิวัติและดูแลพวกเขาประหนึ่งพยาบาลผู้เต็มไปด้วยความห่วงใยเขาอบรมสั่งสอน หาหนังสือให้อ่าน..มอบหมายงาน..ไกล่เกลี่ยพวกเขาเมื่อเวลาทะเลาะกันและตำหนิผู้กระทำผิดบรรดาสหายต่างรักเขาซึ่งเขาเองก็รู้และตอบแทนด้วยความรักที่ระอุอุ่น     เมื่อเวลาผ่านไปเขาพูดน้อยมากและดูไม่ค่อยจะจริงจัง, ท่ามกลางกรรมกรแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีบุคคลที่มีการศึกษาและความสามารถพอๆกับเขาอยู่มากมายหมายถึงผู้ที่เคยผ่านโลกกว้าง,เคยอาศัยอยู่ต่างประเทศ”

ความลับที่ยิ่งใหญ่ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เรียกว่า “เผด็จการของสเตพานนั้น”   อยู่ที่ความใส่ใจอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยซึ่งเขาได้อุทิศให้แก่ทุกเรื่องราวแม้แต่ก่อนการประชุมก็ยังบอกทุกๆคนให้ตรวจสอบสภาวะความพร้อมของจิตใจ.....ซึ่งเขาจะพินิจพิจารณาในทุกๆด้านของปัญหาและโดยธรรมชาติเขาได้ตระเตรียมงานมาแล้วเป็นอย่างดี....... คาลทูรินไม่ใช่แบบอย่างของนักโฆษณาที่โดดเด่นนักในแวดวงการเคลื่อนไหวของกรรมกรรัสเซียในช่วงแรกๆ     ในเวลาต่อมาเขาได้ก้าวไปสู่การเคลื่อนไหวที่ก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลและเป็นผู้วางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์ อเล๊กซานเดอร์ที่สอง