Thursday, July 30, 2015

บทเรียนจากชิลี 7

 7..การโต้กลับของชนชั้นนายทุน

“พรรคประชาชนสามัคคีได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง 36% ในการเลือกตั้งวันที่ 4 กันยายน  ภายหลัง  การลอบสังหารนายพล  เรเน ชไนเดอร์ ผู้บัญชาการกองทัพ ในวันที่ 5 เดือนเดียวกัน   ประธานาธิบดี อาเยนเด    สันนิษฐานว่าการดำรงตำแหน่งของตนกำลังเผชิญกับความยุ่งยากและการถอนตัวของชนชั้นนายทุน     กองทัพเองก็พยายามอย่างเต็มที่ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการลอบสังหารครั้งนี้  ไม่มีทหารแม้แต่คนเดียวที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง     และเริ่มใช้นโยบายทั่วๆไป 40 เรื่อง     เมื่อรัฐบาลบริหารงานมาได้ 5 เดือนก็มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นซึ่งพรรคประชาชนสามัคคีชนะได้รับการเลือก ตั้งมากกว่า 50 %

เมื่อเป็นเช่นนี้   ผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีจึงต้องสูญเสียโอกาสที่ดีเลิศในการเปลี่ยนแปลงสังคมชิลีโดยสันติ     การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่      ชัยชนะที่ได้ครองเสียงข้างมากอย่างเป็นกอบเป็นกำนั้นเท่ากับว่าเป็นการปล้นโอกาสของพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนที่จะใช้วิธีการตามกฏหมายเพื่อออกกฏหมาย สกัดกั้นพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมและข้อเรียกร้องของชนชั้นกรรมกรชาวนาต่อรัฐบาลที่ให้ดำเนินการขจัดอำนาจของเจ้าที่ดินและชนชั้นนายทุนชิลี......ติดอาวุธให้แก่กรรมกรและชาวนาในการปกป้องประชาธิปไตยของพวกเขา รวมไปถึงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย...  จัดตั้งสภาประชาชนของกรรมกร- ชาว นา – ทหาร – แม่บ้าน – และเจ้าของกิจการรายย่อย    เพื่อบริหารจัดการผลิตผล      ตรวจสอบและดำรงไว้ซึ่งผลพวงของการปฏิวัติ   กระจายการจัดตั้งสภาเช่นนี้ไปทั่วทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศให้ทุกๆระดับจะมีธรรมนูญเป็นของตนเอง        เพื่อเป็นองค์กรอำนาจอย่างแท้จริงของชนชั้นกรรมกรและชาวนาแห่งชิลีด้วยการใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยตลอดไป        เมื่อเผชิญกับการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะปฏิวัติเช่นนี้    ชนชั้นปกครอง  ทหารระดับสูง  และบรรดาข้ารัฐการ   จะต้องถูกแขวนอยู่กลางอากาศโดยไม่มีพื้นฐานทางสังคมมาสนับสนุน   ทำให้ต้องเสียโอกาสที่ดีไปและเป็นการผ่องถ่ายอำนาจไปสู่มือของพวกปฏิกิริยา
อภิสิทธิ์ชนชิลีใช้สิ่งพิมพ์ในการควบคุมของตน   ..จากการสนับสนุนของ CIA  เริ่มทำการตอบโต้ในหน้าหนังสือพิมพ์ เอล เมอร์คูริโอ     พรรค คริสเตียน เดโมแครท ได้รณณรงค์ต่อต้านรัฐบาลหนักขึ้น  โดยเป็นพันธมิตรกับพรรค ชาตินิยม (Nationalist Party)    “เรียกร้องให้ปลดอาวุธกลุ่มติดอาวุธทุกๆกลุ่ม”   โดยตรรกะของพวกเขาแล้วพวกที่ว่านี้..ย่อมหมายถึงกลุ่มปีกซ้าย  ส่วนกลุ่มแก๊งฟาสซิสต์ขวาจัดที่ขนอาวุธออกมาอาละวาดก่อภัยร้ายตามท้องถนนกลับได้รับการอภัยโทษทั้งหมด      ด้วยวิธีเช่นนี้พรรค คริสเตียน เดโมแครท จึงได้ตั้งกลุ่มที่คล้ายๆกับกรรมกรขึ้นมาต่อต้าน    ซึ่งเป็นรูปแบบการขัด ขวางที่ถูกกฎหมายอย่างเป็นระบบและติดอาวุธให้แก่กลุ่มอันธพาลทางการเมือง “ปิตุภูมิและเสรีภาพ” เพื่อทำการก่อกวนบนท้องถนน
พวกนายทุนและเจ้าที่ดินได้บ่อนเซาะทำลายเศรษฐกิจของชาติ       จักรวรรดินิยมอเมริกาตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลอาเยนเด     และพยายามดำเนินการไปทั่วโลกให้คว่ำบาตรสินแร่ทองแดงของชิลี    การสร้างชาติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทีละอย่างโดยไม่มีแผนเศรษฐกิจนั้น    ทำให้เกิดการชะงักงัน      สิ่งนี้ได้กระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการเพิ่มค่าจ้างโดยทันทีและมีผลกระทบค่อนข้างร้ายแรงต่อชนชั้นกลาง      คะแนนนิยมของชนชั้นกลางที่มีต่อรัฐบาลใหม่จึงลดลงอย่างรวดเร็วจนกลายไปเป็นการต่อต้านแทน  การรุกของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติเริ่มจากการนัดหยุดงานของบรรดาเจ้าของกิจการรถบรรทุกเมื่อเดือน ตุลาคม 1972      มวลชนกรรมกรเข้าใจดีถึงอันตรายจึงตอบ โต้ด้วยการเคลื่อนไหวใหญ่        และประสบผลสำเร็จในการทำลายความพยายามของการต่อต้านการปฏิวัติไม่ให้ประสบผล    แต่กลุ่มผู้นำรัฐบาลมีปฏิกิริยาอย่างไร?    รัฐบาลได้สับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีโดยมีตัวแทนของทหารเข้าร่วมด้วย      เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชัยชนะซึ่งได้มาจากการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรต้องพ่ายแพ้ลงอันเนื่องมาจากความล้มเหลวและการมีสายตาที่ไม่ยาวไกลของกลุ่มผู้นำนักปฏิรูป
“กองทัพจึงถูกขนานนามว่าเป็นอนุญาโตตุลาการในการต่อสู้ซึ่งถือเสมือนว่าได้รับรางวัลไปเรียบร้อยแล้ว”    เซปูลเวดา  ให้ข้อคิดเห็นด้วยความขมขื่น    คณะกรรมการกลางของพรรคสังคมนิยมชิลี   ได้กล่าวถึงความเดือดดาลของชนชั้นกรรมกรในการยอมจำนนของรัฐบาล    และประท้วงต่อต้านผลที่ออกมาซึ่งเป็นการหักหลังต่อชัยชนะของเราในการชี้ขาดของกระบวนการ”  (Socialismo Chileno p. 40)

การวางแผนรัฐประหาร 

ระหว่างการหยุดงานเมื่อเดือนตุลาคมและ 4 มีนาคม  ซึ่งเป็นระยะ 4 เดือนของการตระเตรียมการต่อ ต้านการปฏิวัติ    การโฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้าน  “การขาดแคลนอาหาร”  และเรื่อง “ตลาดมืด”  เป็นการสร้างสถานการณ์จอมปลอมโดยกลุ่มนายทุน    ในเวลาเดียวกัน พวกปฏิกิริยาก็ได้สมคบคิดกันวาง แผนยกระดับสถานการณ์ขึ้นในค่ายทหาร        ในภาวะเช่นนี้กลุ่มผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีก็ยังยืนยันหัวชนฝาที่จะดำเนินโครงการปฏิรูปของตนอย่างไร้เหตุผล   ด้วยความเชื่อมั่นใน ”ความภักดี”  และ “ความรักชาติ” ของบรรดานายพลทั้งหลาย      แสดงให้เห็นถึงการไร้ความสามารถในการสกัดกั้นการรุกของพวกฝ่ายขวา        แม้จะมีทุกสิ่งทุกอย่างในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 1973  พรรคประชาชนสามัคคีได้รับคะแนนเสียง 44%    “เป็นครั้งแรกที่ประชาชนมองว่าเป็นชัยชนะที่สร้างความตื่นตะลึงให้แก่ศัตรู   นี่เป็นช่วงเวลาที่จะก้าวไปสู่การรุกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะหน้าของพรรคสังคมนิยม  แต่ก็ไม่มีการรุกแต่อย่างใด” (Socialismo Chileno p. 40/41)
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรรดากรรมกรที่เป็นสมาชิกของทั้งพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิว นิสต์มีความปรารถนาที่จะรุก   มวลชนกรรมกรคอยคำสั่งจากบรรดาผู้นำของตนและพร้อมที่จะเดินสู่ถนนและทำ ลายพวกปฏิกิริยาให้สิ้นซาก    พวกเขาร้องขออาวุธ แต่สิ่งที่ได้รับก็คือคำกล่าวที่รื่นหู  คำมั่นสัญญา   เรียกร้องให้อยู่ในวินัย  ใ ห้มีความรับผิดชอบ   และให้ใจเย็นๆ   อย่างที่เซปูลเวดาได้กล่าวเอาไว้เมื่อเดือนมีนาคม 1973 ว่า       ชนชั้นกรรมาชีพ  “ไม่ต้องการสิ่งใดมากไปกว่าการได้มาซึ่งอำนาจ” (Socialismo Chileno p. 41)    ถ้อยคำในเอกสารของพรรคสังคมนิยมกล่าวอ้างแต่แรกว่า “ รัฐบาลพรรคประชาชนสามัคคี  ไม่สามารถเผชิญกับการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นนายทุนได้     เพราะความเป็นนักปฏิรูป    เพราะการแก้ไขสถานการณ์ปฏิวัติของชิลีด้วยการจัดการกับการแสดงออกของมวลชนที่ต้องการให้การรุกครั้งนี้ให้จบลง และพยายามประนีประนอมเพื่อยืดเวลาออกไปในสถานการณ์ที่กำลังจะรับมือไม่ไหวแล้ว”
ชนชั้นกรรมกรที่เป็นฐานของพรรคสังคมนิยม    มีจิตสำนึกทางชนชั้นโดยพื้นฐาน   ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีคนในกองทัพเข้าร่วมในคณะรัฐบาล     ในด้านนี้..กรรมกรสังคมนิยมได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความเข้าใจเป็นอย่างดีมากกว่าบรรดาผู้นำ...ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในบ้านเมือง     การยอมจำนนของกลุ่มผู้นำพรรคประชาชนสามัคคีในเดือนพฤศจิกายนเป็นเพียงสิ่งกระตุ้นความอยากของพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติเท่านั้น     การเลือกตั้งเดือนมีนาคมดูเหมือนว่าจะมีผลเพียงยืดความตายออกไป          ถ้ามันขึ้นอยู่กับการนำโดยเฉพาะแล้ว       การต่อต้านการปฏิวัติในชิลีได้รับชัยชนะไปแล้วเมื่อเกือบปีที่ผ่านมา     เป็นความโชคดีที่ยังมีพลังขนาดมหึมาของมวลชนกรรมกรที่เคลื่อนไหวต่อสู้อยู่    เป็นเหตุให้พลังของพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติเกิดความลังเลใจ    ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ    ลอว์เรนซ์  ไวท์เฮด  ได้เขียนบทความลงใน หนังสือพิมพ์ เดอะ อีโคโนมิสต์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1973 ว่า “ถ้ากองทัพชิลียังรีรออยู่จนถึงบัดนี้      คำอธิบายคงไม่ใช่การค้นคว้าหาลักษณะพิเศษของชาติที่เป็นจารีต     แต่ที่น่ากลัวก็คือพลังสะสมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของมวลชนกรรมกรในปัจจุบัน

ข้อพิสูจน์ของพลังอันมหาศาลนี้คือความล้มเหลวของ “ความเติบใหญ่ของรถถัง”  ในวันที่ 29 มิถุนา ยน ในเวลานั้นกรรมกรนับหมื่นประกาศหยุดงาน   ยึดโรงงานและตั้งรั้วเพื่อรักษาพื้นที่ยึดครอง  เดินขบวนไปยังจัตุรัส เดอ ลา โมเดนา ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาล  “นี่เป็นโอกาสพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่มีเปรียบในการนัดหยุดงาน”  เซปูลเวดา กล่าวว่า  “ชาวนาเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดและเต็มไปด้วยความระมัดระวัง   สมาชิกรัฐสภาปีกขวายืนตัวสั่นอยู่บนระเบียงรัฐสภา”

และผู้นำมีปฏิกิริยาอย่างไร?  อาเยนเด ได้ขอร้องให้กรรมกรกลับเข้าทำงาน     ตำรวจถูกส่งมาให้ทำการสลายมวลชนที่เตร็ดเตร่ไปมาอย่างไร้จุดหมายไปตามท้องถนนของเมืองหลวงโดยไม่มีทิศทางหรือการนำ    พฤติกรรมเช่นนี้ของรัฐบาลได้สร้างความกระชุ่มกระชวยให้แก่ฝ่ายปฏิกิริยาที่เริ่มทำการ หยุดงานรอบใหม่โดยเจ้าของรถบรรทุก        กรรมกรตอบโต้ด้วยการหยุดงาน 24 ชั่วโมงในวันที่ 9 สิงหาคม     บทความของ หนังสือ “มิลลิแตนท์”  วันที่ 17สิงหาคม ได้แสดงความเห็นว่า  “ขาดความกล้าหรือความมุ่งมั่นในการต่อสู้”   สิ่งที่ขาดหายไปก็คือการนำ   เกือบจะ 3 ปีให้หลัง อโดนิส เซปูล เวดา ผู้นำพรรคสังคมนิยมได้มองย้อนกลับไปและก็ได้บทสรุปอย่างเดิมที่ว่า    “ฝ่ายนำการเคลื่อนไหวไม่ได้ให้แนวทางใดๆนอกจากมาตรการ ”ตัดลด”

การขาดการนำ

นี่คือโศกนาฏกรรมของชนชั้นกรรมกรชิลี  ทั้งๆที่มีพลังมหาศาลอยู่ในมือ  ทั้งๆที่มีจิตใจสู้รบและความกล้าหาญของประชาชนผู้ใช้แรงงาน   แต่ผู้นำของพวกเขาได้ทอดทิ้งไปในเวลาที่จะต้องมีการตัดสินชี้ขาด     ในด้านตรงกันข้าม..ตัวแทนของชนชั้นนายทุนได้ทำงานกันอย่างจริงจัง พวกเขาไม่สนใจ “กฏกติกา” แม้แต่น้อย     พวกเขาสนใจแต่ผลประโยชน์ทางชนชั้นซึ่งเป็นเดิมพันที่พวกเขาจะต้องปกป้องอย่างถึงที่สุด

“ฝ่ายศัตรูรู้อยู่เสมอว่าจะต้องทำอะไร“  เซปูลเวดา กล่าวเสริม “เขาได้ถอนตัวเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประ ประสงค์ของตนตามสภาพและเงื่อนไขในขณะนั้น    ในกรณีที่ขัดแย้งกับพรรคประชาชนสามัคคีไม่ได้ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสใดๆโดยพื้นฐาน     พวกเขาได้เตรียมก่อรัฐประหารอย่างจริงจังและด้วยความมุ่งมั่นและได้สร้างสถานการณ์ให้เอื้ออำนวยต่อตนเองอย่างที่สุด..     โดยทำให้เกิดความสับสนและความขัดแย้งในการบริหารงานของรัฐบาลเพื่อให้การนำเกิดความชะงักงัน

เป็นไปได้ที่..เซปูลเวดา อาจจะกล่าวเกินจริงไปบ้างเกี่ยวกับความเฉลียวฉลาดและการมีสายตาที่ยาวไกลของชนชั้นปกครองชิลี   แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนก็คือ...ถ้าผู้นำของชนชั้นกรรมกรชิลีได้เคลื่อนไหว แสดงบทบาทออกมาเพียงแค่เศษเสี้ยวด้วยการเอาจริงเอาจังในการปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นผู้ ใช้แรงงาน...เหมือนเช่นที่นักการเมืองชนชั้นนายทุนได้กระทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาแล้วละก้อ    ชนชั้นกรรมาชีพชิลีคงจะสวามารถก้าวขึ้นสู่อำนาจได้ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว    แต่อาจจะเป็นสามหรือสี่ครั้งในขณะที่พรรคประชาชนสามัคคีครองอำนาจอยู่   เงื่อนไขอยู่ที่ว่า..ความต้องการที่จะต่อสู้นั้นมีอยู่  ..เพียงแต่ขาดการนำโดยนักปฏิวัติที่ยึดมั่นในแนวทางของลัทธิมาร์กซ–เลนิน ที่มีความมุ่งมั่นและมีความสามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง

ความพยายามของ อาเยนเด และผู้นำคนอื่นๆของพรรคประชาชนสามัคคี   เพื่อให้บรรลุข้อตกลงกับกลุ่มปฏิกิริยาโดยได้ข้อสรุปในข้อตกลงกับพรรค คริสเตียน เดโมแครทและเปิดทางให้กองทัพได้เข้ามามีส่วนร่วมในรัฐบาล      เท่านี้ก็สร้างความสับสนให้แก่ชนชั้นกรรมกรและเป็นการสนับสนุนพวกปฏิ ปักษ์ปฏิวัติ       ผู้มีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบในนโยบายนี้คือ คอร์วาลัน และฝ่ายนำของพรรคคอม มิวนิสต์     กล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่กดดัน อาเยนเด และฝ่ายนำสังคมนิยมให้เดินไปสู่เส้นทางหายนะเส้นนี้หลังจากล้มเหลวในการพัฒนารถถังในเดือนมิถุนายน     

ที่น่าขันก็คือ คอร์วาลัน  ได้แสดงสุนทรพจน์ในวารสาร “ลัทธิมาร์กซวันนี้” ของพรรคคอมมิวนิสต์อังกฤษในเดือน กันยายน 1973 ที่กล่าวยกย่องผู้บัญชาการกองทัพที่ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเด็ดขาด(การก่อรัฐประหาร และฆาตกรรมประธานาธิบดี อาเยนเด โดยนายพล ปิโนเช่)   และความภักดีของบรรดาเหล่าทัพและตำรวจ”

คอร์วาลัน ตอบคำถามในหนังสือพิมพ์ มิลลิเทีย ของกรรมกรด้วยความเดือดดาล..ที่แนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ถูกปฏิเสธ   “ไม่เป็นไรหรอกท่านสุภาพบุรุษ..เราจะยังคงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อทหารอาชีพและสถาบันทหาร   ศัตรูของพวกเขาไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นกลุ่มปฏิกิริยา”  “อาเยนเด เองและผู้นำพรรคสังคมนิยมก็ต้องรับผิดชอบอย่างมากในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย..  ที่ยอมรับนโยบายเช่นนั้น   ตัวอย่างเช่น  วันที่ 24 มิถุนายน เขาได้เรียกร้องผู้สนับสนุนให้รับรองการเจรจากับกลุ่มการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ซึ่งก็มีความต้องการให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลง” (เรื่องนี้ได้พาดพิงถึงพรรค คริสเตียน เดโมแครท  ในขณะนั้นคือผู้สนับสนุนกลุ่มฟาสซิสต์ที่แท้จริง)  และ  “เตือนเรื่องการคัดค้านกองทัพว่าเป็นพวกปฏิกิริยาอย่างมีจำแนก     เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียง5วันก่อนที่ทหารจะลากรถถังออกมาทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน

เป็นที่เชื่อได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความตั้งใจของ ซัลวาตอร์ อาเยนเด และผู้นำคนอื่นๆในพรรคประชาชนสามัคคีนั้นเป็นไปด้วยความสัตย์ซื่อ        พวกเขามีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะ”เปลี่ยนผ่านโดยปราศจากความสูญเสียและบอบช้ำ” ของสังคม      แต่โชคร้ายสำหรับการปฏิวัติสังคมนิยม  ความตั้งใจดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ   เหมือนอย่างคำกล่าวที่ดีเลิศของผู้นำ( ภายใน) ของพรรคสังสังคมนิยมชิลี  ที่ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร “นูโว คลาริดาด” ของชาวลัทธิมาร์กซ เสปน ฉบับที่ 24 เมษายน 1978 ว่า     “ถ้ากระบวนการถูกวัดโดยความตั้งใจ     เราจะขอกล่าวว่าความตั้งใจของพรรคประชาชนสามัคคีนั้นคือปราการลัทธิสังคมนิยมของชิลี    ถึงแม้ว่าเรามีแต่ลัทธิฟาสซิสต์และระบอบเผด็จการก็ตาม”

ทุกวันนี้   ผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีบางคมที่ลี้ภัยพยายามจะพิสูจน์ว่าตัวเองตามเส้นทางนี้โดย ประมาณว่า  “ถ้าเราสู้ย่อมจะเกิดสงครามกลางเมืองและนองเลือด  ผู้คนจะล้มตายนับหมื่น “  ช่างเป็นถ้อยคำที่น่าสมเพชเสียนี่กระไรสำหรับปัจจุบันนี้    กรรมกรและชาวนานับหมื่นๆ..ชนชั้นกรรมกรชั้นเลิศ  ได้ถูกทำลายอย่างขุดรากถอนโคน ถูกทรมาน ถูกคุมขังอย่างเข้มงวดในค่ายกักกันหรือไม่ก็ “สาบสูญ” ไปอย่างไร้ร่องรอย   แต่ก็ยังคงมีประชาชนผู้ดื้อรั้นอีกมากที่ต้องจ่ายให้กับการ   “หลีกเลี่ยงความรุน แรง”   แน่นอน....ไม่มีชาวสังคมนิยมคนใดต้องการความรุนแรง     เราต้องการเปลี่ยนผ่านแบบสันติ โดยปราศจากความบอบช้ำ    แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากประวัติศาสตร์ว่า   ไม่มีชนชั้นปกครองคนใดในประวัติศาสตร์ที่จะยอมสูญเสียอำนาจ และอภิสิทธิ์ของตน   โดยไม่มีการต่อสู้  และเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีกติกาอีกด้วย!!!!

กรรมกรชาวสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ต้องการต่อสู้กับพวกปฏิกิริยา   เป็นความจริงที่แจ่มชัดคือการประท้วงเมื่อวันที่ 4 กันยายน   เมื่อกรรมกร 800,000 คน  พวกเขาหลายๆคนติดอาวุธเดินขบวนไปตามถนนในเมืองซานติอาโก(เดอ ชิลี)  เซปูลเวดา  บรรยายสถานการณ์ดังต่อไปนี้ : “คนจนแถบชานเมือง  ชาวนา  แม่บ้าน   และผู้ที่ยากจนค่นแค้นจำนวนมากที่ไม่ใช่สมาชิก(ของสหภาพแรงงาน)    แต่พวกเขาล้วนเป็นพลังทางสังคมของพรรคประชาชนสามัคคี     

วันที่ 29 มิถุนายน  พวกเขาได้ตอบโต้ความพยายามที่จะรัฐประหารโดยการประท้วงอย่างเข้มแข็ง    ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐต้องใช้เวลามากกว่า5 นาทียืนอยู่บนหน้ามุขพระราชวังโมเนดา  ก่อนที่จะกล่าวปราศรัยท่ามกลางเสียงเสียงกระหึ่มของมวลชนที่เรียกร้องให้ยุบสภา   วันที่ 4 กันยายน  7 วันก่อนรัฐประหารในทุกๆเมืองและหมู่บ้านของชิลี  มวลชนได้ออกมาสนับสนุนรัฐบาลอย่างหนาแน่น    ในกรุงซานติอาโก มีจำนวนถึง 800,000คน  ที่กระสับกระส่ายและมีความกระตือรือร้น ประท้วง และเรียกร้องตระโกน ตีให้หนัก! ตีให้หนัก !เราต้อง การมาตรการที่เข้มข้น!   สร้างกำลังประชาชนขึ้นมา!!!  อาเยนเด! อาเยนเด+ ประชาชนจะปกป้องท่าน!!!('Socialism Chileno', pp36-37).

กรรมกรชิลีมีความมั่นใจต่อผู้นำของพวกเขา   ได้เรียกร้องขออาวุธและแผนการต่อสู้ แทนที่จะเป็นแค้ท่อนไม้..หากมวลชนกรรมกรเหล่านี้ได้รับการติดอาวุธ      แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากนักและไม่ค่อยมีคุณภาพสักเท่าใด....วันนี้ประวัติศาสตร์ของชิลีในอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยรากฐาน        การประท้วงขนาดมหึมาเมื่อวันที่ 4 กันยายนแสดงให้เห็นว่า..ชนชั้นกรรมกรไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจที่จะต่อสู้ และเรียกร้องในการติดอาวุธ     แต่บรรดาผู้นำของพวกเขา....แทนที่จะให้อาวุธ   กลับหยิบยื่นคำพูดที่ไพเราะและขอร้องพวกเขาให้ใจเย็นและอยู่ในความสงบแทน   ให้กลับบ้าน    นั่นย่อมหมายถึงการปลดอาวุธของมวลชนกรรมกรในวันสุกดิบของการรัฐประหาร    

ในจุดนี้กองทัพย่อมมีปัญหาขึ้นแล้วโดยธรรมชาติ    บางกระแสกล่าวว่า อาเยนเดถาม อัลตามิราโน ว่า “มีมวลชนเทาใดที่ต้องการหยุดรถถัง”   อย่างไรก็ตาม...นี่เป็นข้อผิดพลาดอย่างยิ่งในการตั้งคำถาม     ถ้าคำถามของกองทัพจะลดลงไปถึงระดับที่ว่า “ มีนายพลกี่มากน้อยที่กำลังควบคุมดาบปลายปืนอยู่”   ก็คงไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นไปได้ในภาพรวมของประวัติศาสตร์     กษัตริย์ เฟรดเดอริค  แห่งปรัสเซียเคยให้ข้อสังเกตไว้ครั้งหนึ่งว่า  “เมื่อดาบปลายปืนเริ่มคิด  เราแพ้แล้ว”

ในกองทัพชิลีมีทหารมากมายที่เป็นสมาชิกของพรรคชาตินิยม   แม้แต่บรรดานายทหารก็ให้ความเห็นอกเห็นใจพรรคประชาชนสามัคคี   หลายๆคนเล่นไพ่พรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์อยู่  การพยายามลุกขึ้นสู้ของทหารเรือปีกซ้ายในวันที่ 7 สิงหาคมเป็นการบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ถ้าได้รับการร้องขออย่างจริงจังจาก อาเยนเด ให้ติดอาวุธให้แก่กองกำลังของมวลชนกรรมกร


เป็นที่น่าเสียดาย  จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย    อาเยนเด มีความมั่นใจมากเกินไปว่า บรรดานายพลจะไม่แตกแถว  กระทั้งเชื่อว่าพวกเขาจะปกป้องรัฐบาลของตน    เรื่องหนึ่งที่น่าขยะแขยงและน่าสมเพชทางประวัติศาสตร์คือ ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร  อาเยนเด ได้แต่งตั้งนายพล กุซมาน และปิโนเช  เป็นผู้บัญชาการกองทัพอากาศและกองทัพบกตามลำดับ     จนกระทั่งวาระสุดท้าย...เมื่อรถถังวิ่งออกสู่ถนนแล้ว    อาเยนเดยังบอกให้มวลชนกรรมกร อยู่อย่างสงบ และใจเย็นในขณะที่พยายามติดต่อกับปิโนเชทางโทรศัพท์  แต่....ไร้คำตอบ

Friday, July 24, 2015

บทเรียนจากชิลี 6

6. ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ
เลนินได้ให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับรัฐไว้หลายครั้งว่าโดยพื้นฐานแล้ว “ มันคือกลุ่มคนที่ติดอาวุธในการป้องกันความร่ำรวย” การยอมรับ “ ข้อตกลงว่าด้วยหลักประกันของรัฐธรรมนูญ”  ของฝ่ายนำในองค์กรแนวร่วมนั้น หมายถึงการประนีประนอม,แต่ในส่วนของพวกเขาเองนั้น,ไม่ได้ทำการติดอาวุธให้แก่ชนชั้นกรรมกรเลย     และยังไม่แตะต้ององค์กรที่เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปราบปรามเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยากจนของชนชั้นกรรมกรและไม่สนใจที่จะปลดปล่อยมันอีกด้วย

และแล้วพวกเขาจะดำเนินการดิ้นรนต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจังกับกลุ่มคณาธิปไตยและลัทธิจักรพรรดินิยมต่อไปได้อย่างไร? ตลอดชีวิตและเวลาของรัฐบาลองค์กรแนวร่วม,ผู้นำของพรรคสังคมนิยมและ โดยเฉพาะของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้หลอกลวงตัวเองยังไม่พอ       ยังหลอกลวงบรรดามวลชนกรรมกรและชาวนาเมื่อพวกเขาออกมาเรียกร้องถึงคุณลักษณะที่ “ รักชาติ” และรัก  ”ความเป็นธรรม” ของเหล่าทหารในกองทัพ   แต่แน่นอน...พวกเขา( ฝ่ายผู้นำ) ล้วนแล้วแต่มีลักษณาการที่ตกอยู่ในห้วงของความเพ้อฝันอย่างสิ้นเชิง    พวกเขาพยายามทำให้พวกเหล่านายพลทั้งหลาย “เป็นกลาง” ปลอบขวัญด้วย  เหรียญตราและเพิ่มเงินเดือนให้    

กลไกรัฐ..  โดยเฉพาะบรรดาทหารในกองทัพส่วนใหญ่ไม่ใช่อะไรที่อยู่เหนือชนชั้นและสังคม  หากแต่มันเป็นองค์กรของการกดขี่ที่อยู่ในมือของชนชั้นปกครอง     ชั้นบนสุดของกองทัพชิลีก็เหมือนเช่นประเทศอื่น  มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์  กันอย่างลึกซึ้ง( เช่น พื้นฐานทางชนชั้น   ครอบครัว  เครือญาติ  ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจฯลฯ) กับชนชั้นนายทุนใหญ่  นายธนาคาร  และเจ้าที่ดิน     สิ่งเหล่านี้ได้มีคำอธิบายอยู่ในลัทธิมาร์กซเบื้องต้นอยู่แล้ว      อีกด้านหนึ่ง,ชนชั้นนายทุนและพรรคการเมืองตัวแทนของพวกเขาคือพรรค คริสเตียน เดโมแครต   ได้ตระหนักในเรื่องนี้อย่างชัดแจ้งว่า “ข้อตกลง” นี้ไม่ใช่ปัญหารองที่มีแต่เพียงข้อปลีกย่อยหรือเป็นเรื่องเพ้อฝัน...หากแต่มันคือเนื้อแท้เลยทีเดียว      ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นในอีกสามปีต่อมาสิ่งที่เกิดขึ้นคือหายนะของชนชั้นกรรมกรและประชาชนชาวชิลีทั้งมวล

กระนั้นก็ตาม, การตั้งรับบาลแนวร่วมได้เปิดทางไปสู่ขั้นตอนใหม่ในกระบวนการปฏิวัติชิลี    เหมือนในเสปนปี 1936  นโยบายเบื้องต้นของรัฐบาลนั้นล้าหลังการเคลื่อนไหวของมวลชนมาก       ดังที่ได้อธิบายไว้ในเอกสาร “วาระครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลี”
ในช่วง18 เดือนแรกของรัฐบาล    การดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนทำให้แบบแผนการปฏิรูปขององค์กรแนวร่วมสิ้นสุดลง     และมวลชนได้เรียกร้องให้ดำเนินการต่อไปอีกในภาค เศรษฐกิจ สุขอนามัย  การศึกษา และที่อยู่อาศัย      ด้วยวิธีเดียวกันนี้มวลชนได้เคลื่อนไหวผลักดันความปรารถนาของตนเพื่อให้มีการถ่ายโอนกิจการผูกขาดระดับใหญ่เช่นสิ่งทอและอุตสาห กรรมป่าไม้ไปอยู่ในการจัดการของกรรมกร ฯลฯ    ความต้องการเหล่านี้รัฐบาลสามารถตอบสนองได้เป็นบางเรื่องเท่านั้น   ทำให้บรรยากาศของการประนีประนอมกับฝ่ายตรงกันข้ามนั้นมีอุปสรรค ซึ่งตัวแทนของผู้ที่นิยมลัทธิปฏิรูปซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรแนวร่วมต่างพากันโวยวายขึ้นด้วยความไม่พอใจ    และได้เข้ามาดำเนินงานแทนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  จุดนี้เอง.....ที่กลุ่มนักปฏิรูปแต่ละรายเริ่มแสดงความง่อยเปลี้ยออกมาให้เห็นในบางเรื่องและทุกๆเรื่องที่มีการริเริ่มใหม่ๆซึ่งอาจจะต้องมีการระดมมวลชนมาสนับสนุน การปฏิวัติที่มีแนวโน้มสังคมนิยม        หรือกำหนดตัวแทนของพวกเขาขึ้นมาเป็นเครื่องมือในชี้นำทางด้านเศรษฐกิจอย่างไร้ยางอายทำให้บทบาทขององค์กรสหภาพแรงงานแห่งชิลีสิ้นสุดลง       ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความแตก ต่างกันระหว่างเป้าประสงค์ของมวลชนและของรัฐบาล
 การกดดันของมวลชน

ภายใต้การกดดันของมวลชน รัฐบาลแนวร่วมประชาชนได้ก้าวไปไกลกว่าผู้นำหลายๆเท่าที่เคยเห็นมา    โครงการที่มีลักษณะกลไกและจอมปลอมของลัทธิสตาลิน, ความแตกต่างระหว่างภาระหน้าทีของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนและภาระหน้าที่ของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพได้ถูกทำลายลงโดยการเคลื่อนไหวของมวลชน    รัฐบาลอาเยนเดได้ดำเนินมาตรการสำคัญคือการทำให้เป็นของรัฐซึ่งเป็นการกระหน่ำตีผลประโยชน์ของกลุ่มคณาธิปไตยอย่างหนักหน่วง 

การทำให้เป็นของชิลีในรัฐบาลฟรายนั้นยังคงให้อุตสาหกรรมเหมืองทองแดงอยู่ในมือของบริษัทผูกขาดของสหรัฐอยู่ถึง 49 % เช่นบริษัท อนาคอนดา  บ.เคนเนคอทท์ ทองแดง ฯลฯ     ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลฟรายยังจ่ายค่าชดเชยให้อีกเป็นจำนวนมหาศาล (ปี 1967 จ่ายให้บริษัท เคนเนคอทท์ ทองแดง  และปี 1969 ให้แก่บ. เอล เทเนียนเต 80 ล้านดอลลาร์)   ประชาชนผู้ใช้แรงงานของชิลีต้องแบกรับภาระที่หนักหน่วงนี้   เดือน กรกฎาคมปี 1971      อาเยนเดได้อธิบายถึงทุนผูกขาดของ สหรัฐอเมริกาได้ลงทุน50  ถึง 80 ล้านดอลลาร์ในชิลีสามารถกอบโกยกำไรไปเป็นจำนวน 1,566 ล้านดอลลาร์   นั่นหมายถึงว่าบริษัทเหล่านั้นเป็นหนี้ชิลีประมาณ 642 ล้านดอลลาร์  

การแปรรูปอุตสาหกรรมทองแดงให้เป็นของรัฐในเดือนกรกฎาคม 1971 นั้นเป็นการก้าวไปข้างหน้าที่มีความสำคัญ เหมืองถ่านหิน  เหมืองแร่เหล็ก และไนเตรท  อุตสาหกรรมสิ่งทอ  บริษัท ITT, INASA  และอุตสาหกรรมอื่นๆได้ถูกแปรเปลี่ยนไปโดยให้เป็นสมบัติของสาธารณะ    การปฏิรูปสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้แรงงานได้รับการสนับสนุนรัฐบาลจากประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าทึ่ง   เช่นการแจกนมฟรีแก่เด็กนักเรียน   การคงค่าเช่าและราคาสินค้า,การเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการฯลฯ

ลำดับต่อมา มาตรการเหล่านี้ได้ให้แรงกระตุ้นอย่างใหญ่หลวงต่อการเคลื่อนไหวของมวลชน       ในระยะยาวความไม่รู้เรื่องการเมืองและ ปัจจัยของความเฉยเมยในสังคม,สามารถเห็นได้จากการดำเนิน งานของตัวแทนของรัฐบาล       ผลก็คือการเติบใหญ่ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งในเมืองและชนบท    ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลฟรายที่จะทำให้การปฏิรูปเกษตรกรรม บรรลุผลเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของชัยชนะในการเลือกตั้งของ อาเยนเด   ก่อนวันลงคะแนนสถานการณ์ในชนบทได้เปลี่ยน แปลงไปเนื่องมาจากคำกล่าวของ จ๊าค ชองโชล    อดีตรัฐมนตรีเกษตรของรัฐบาลอาเยนเดที่ว่า.  “ ความไม่พอใจกำลังสูงขึ้น”. . ผู้เขียนคนเดียวนี้กันยังอธิบายว่า  การเริ่มต้นปฏิรูปเกษตรกรรมที่วางไว้นั้นอยู่ภายใต้กระแสกดดันที่หนักหน่วงในชนบท

ทิศทางแรกที่รัฐบาลแนวร่วมควรรีบจัดการได้แก่นโยบายด้านเกษตรกรรม   ด้วยการเร่งรัดกระบวนการเวนคืนที่ดินก่อนที่จะพบกับการกดดันจากชาวนา   หลังจากนั้น,คิดไปในด้านที่เป็นประโยชน์คือ    รัฐบาลใหม่คือรัฐบาลของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน, ที่ความต้องการของพวกเขาคือการเข้าถึงที่ดินทำกินให้เร็วที่สุด('Chile America,' No 25/26/27, p 27-28)

อีกด้านหนึ่ง บรรดาเจ้าที่ดินใหญ่  ได้เริ่มรณณรงค์อย่างเป็นระบบด้วยการก่อกวนในท้องถิ่นชนบท   ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่าและรื้อทิ้งอุปกรณ์ เครื่องมือ ในฟาร์ม    หลายคนพร้อมที่จะให้เงินทองเพื่อติดอาวุธให้แก่กลุ่มปีกขวาจัดที่มีทัศนะต่อต้านการปฏิรูปเกษตรกรรม   พาโบล เกิบเบิล   เจ้าที่ดินใหญ่ในจังหวัด คาอูติน ได้แถลงต่อสาธารณะถึงผลจากการที่รัฐบาลได้กระทำการใดๆที่พยายามเวนคืนที่ดินของเขาจะได้รับการตอบโต้ด้วยปืนกล   จากรายงานอย่างเป็นทางการของตำรวจว่า  “ มีชายฉกรรจ์มากกว่า 2000 คนได้รับการฝึกอาวุธเพื่อเป็นหน่วยจู่โจมระบบคมนาคม เพื่อขัดขวางการขนส่งแก๊สที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และ  ตัดน้ำประปา     การทำเช่นนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่คนเป็นจำนวนมาก” ('Militant' 1/10/71)   
ตั้งแต่แรกแล้วที่ชนชั้นปกครองชิลีได้เตรียมการทำรัฐประหาร    ในหัวข้อเดียวกัน หนังสือ มิลิแท้นท์ได้รายงานว่า “ในระหว่างที่ อาเยนเด ได้จบปฐกถาของเขาถึงความรับผิดชอบ  และ ความมีระเบียบวินัยของมวลชน    ชัยชนะของอัลเลนทำให้เกิดอาการขวัญเสียและกลัวการเคลื่อนไหวของมวลชนมากยิ่งขึ้น   บรรดาเจ้าที่ดินและนายทุนมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่า   ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะโค่นล้มอาเยนเดลงไปในทันทีทันใด   ดังนั้นพวกเขาจึงต้องรอคอยต่อไปแต่ทว่าเป็นการตระเตรียมการอย่างระมัด ระวัง    ค่อยๆสะสมอาวุธ, สมคบกันวางแผนอย่างลับๆในบรรดากลุ่มนายทหารระดับสูง   มันคืออันตรายที่แท้จริง('Militant' 1/10/71)
 การขัดขวางของพวกอำมาตย์
มีเพียงหนทางเดียวที่จะขจัดความเป็นปฏิปักษ์ให้จบลงไปได้     ด้วยตอบโต้และทำการแยกสลายการต่อต้านของเจ้าที่ดินใหญ่คือการติดอาวุธให้แก่ชาวนา   โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่มีบทบาทในการถือครองที่ดินขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐบาล     เมื่อ(นายทุนและเจ้าที่ดิน) ต้องเผชิญหน้ากับการพลังการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ติดอาวุธ      เจ้าที่ดินและสมุนอันธพาลที่ติดอาวุธของมันจึงถูกพิชิตลงอย่างง่ายดายโดยมีการสูญเสียน้อยที่สุด     ในความเป็นจริง..เรื่องนี้เป็นเพียงการปกป้องชัยชนะของมวลชนภายใต้การนำอย่างถูกต้องขององค์กรแนวร่วม     แต่ฝ่ายนำในองค์กรได้ขาดความมั่นใจต่อการริเริ่มที่ปฏิวัติของมวลชนและหวาดกลัวไปว่าจะกระตุ้นแนวคิดที่ปฏิกิริยาให้คุขึ้นมาอีก   

ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงคัดค้านอย่างหนักต่อความพยายามใดๆของชาวนาจนในการเข้ายึดครองที่ดิน ”อย่างผิดกฎหมาย” กระทั่งส่งหน่วยกำลังอาสาสาธารณะเข้าขับไล่ชาวนาผู้กระทำสิ่งเหล่านั้น     ทุกวันนี้..ผู้นำองค์กรแนวร่วมบางคนยังคงคิดว่าการกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง   และยังยืนยันอย่างหนักแน่นว่ากลุ่มซ้ายจัดเป็นผู้จัดการการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น     ทำให้ชาวนา  “ ก้าวไกลเกินไปแล้ว ”  ที่ไม่เพียงแต่ยึดครองที่ดินของเจ้าที่ดินใหญ่เท่านั้น  หากแต่ยังยึดที่ดินของ “ชาวนากลาง” อีก ด้วย   ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในการเคลื่อนไหวปฏิวัติทุกครั้ง    โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้ที่ถูกกดขี่และชั้นชนที่ล้าหลังในสังคมเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก...มักจะมีแนวโน้มของการ “ก้าวล้ำหน้า” ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้จำกัดให้อยู่แต่เพียงในขอบเขต    และเป็นความจริงที่ว่าจะมีพวกซ้ายจัดกลุ่มเล็กๆ อาจฉวยโอกาสเคลื่อนไหวแบบเป็นไปเองของชาวนาเพื่อเพิ่มอิทธิพลให้แก่พวกเขา     แต่ความรับผิดชอบทั้งหมดในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นของฝ่ายนำในองค์กรแนวร่วม    แรกสุดก็คือพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยม

หนทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและ ”สิ่งที่ล้นเกิน” เพื่อลดระดับความรุนแรงและการนองเลือดให้เกิดน้อยที่สุด   และเพื่อเป็นหลักประกันความสงบต่อการเปลี่ยนผ่านในเรื่องการถือครองที่ดินของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่ไปสู่แก่ชาวนาจนเท่าที่จะเป็นไปได้       ภายใต้การจัดการของชนชั้นกรรมกร   แทนที่จะใช้การปรักปรำกล่าวโทษต่อการกระทำที่ “ผิดกฎหมาย” เหล่านี้  ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป ควรจะให้ผู้นำในมวลชนในหมู่บ้านนั้นๆเป็นผู้จัดการแทน      อย่างที่ จ๊าค ชองโชลได้กล่าวไว้   ว่า.......พยายามลดบทบารทและความสำคัญของคณะกรรมการชาวนา  ไม่เพียงเท่านั้น ตัวเขาเองยังได้อธิบายถึงเหตุผลซึ่งขัดขวางพัฒนาการขององค์กรเหล่านี้....ซึ่งเป็นพลังที่ยอมรับกันทั่วไปในเขตชนบท
เป็นที่ประจักษ์ว่า การขยายตัวขององค์กรคณะกรรมการชาวนาเหล่านี้  มีความเป็นกลุ่มก้อนและเป็นการริเริ่ม    ยิ่งไปกว่านั้นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคแนวร่วมสามัคคีและพรรคคริสเตียน เดโมแครตและระหว่างพรรคที่เป็นแนวร่วมด้วยกันเองต่างก็พยายามช่วงชิงคณะกรรมการเหล่านี้     สถาน การณ์ภายหลังจากนั้น    ทำให้บางพรรคของกลุ่มแนวร่วมไม่ให้การสนับสนุนแก่คณะกรรมการชาวนา(Chile-America, p.32)
 ที่เหลือเชื่อก็คือ  ความคิดเห็นของกลุ่มผู้นำแนวร่วมสามัคคีบางส่วน ที่คัดค้านการยกระดับองค์กรจัดตั้งของคณะกรรมการชาวนา  อันเนื่องมาจากความพยายามของพรรคต่างๆที่ยังทำการต่อสู้ช่วงชิงกันยังดำเนินต่อไปเพื่อเข้าควบคุมองค์กรเหล่านี้         แต่การต่อสู้เช่นนี้กลับไม่ได้เกิดขึ้นในบรรดาโรงงานต่างๆที่อยู่ในแถบที่มวลชนกรรมกรอาศัยอยู่เลย,   ไม่ว่าในการเลือกตั้งทุกๆระดับทั่วประเทศ ,และในบรรดาสหภาพแรงงานทั้งหลาย       บรรดาผู้นำแนวร่วมสามัคคีเหล่านี้ไม่ได้ให้การสนับสนุน

สหภาพแรงงานและรัฐสภาทั้งยังไม่ได้ให้ความสนใจอีกด้วย   เหตุผลที่แท้จริงของ”กลุ่มผู้นำ” เหล่านี้ขององค์กรแนวร่วมฯ  คือไม่มีความเชื่อมั่นต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนชาวนาและเกรงว่าพวกเขาจะไม่สามารถควบคุมได้      เบื้องแรกสุด..หน้าที่ของผู้นำแรงงานก็คือให้การสนับสนุนต่อการริเริ่มปฏิวัติในบางเรื่องและทุกๆเรื่องของมวลชนชาวนาจน       กระตือรือร้นที่จะผลักดันการก่อตั้งสภาชาวนาแม้ ว่าจะมีอุปสรรคที่ยากลำบากและให้ความสำคัญในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของสภาชาวนาเพื่อนำไปสู่นโยบายการปฏิวัติสังคมนิยม,คัดค้านอิทธิพลที่เป็นพิษภัยของพรรคคริสเตียน เดโมแครต

ตั้งแต่แรก   ที่บรรดาผู้นำแนวร่วมให้ความเชื่อมั่นในเรื่องความถูกต้องตามกฎหมายของชนชั้นนายทุนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำ เนินการเปลี่ยนแปลงสังคม  โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือแบบเดิมๆทั้งหมดของรัฐ    ความจริงเช่นนี้ทำให้เกิดหายนะภัยติดตามมาในด้านการปฏิรูปเกษตรกรรม     ดังที่ จ๊าคส์   โชนชอล  ได้ยอมรับด้วยตนเองว่า  “นอกเหนือไปจากนี้ อำนาจของรัฐบาลในการควบ คุม มีขอบเขตจำกัด        ในการจัดตั้งคณะกรรมการชาวนาให้มีสถานะที่ถูกกฎหมายของกลุ่มผู้นำและให้การเงินสนับสนุนในการ ดำเนินการของพวกเขา    เว้นแต่จะเป็นการออกกฎหมาย  ...ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะผ่านไปได้สำหรับ

ความคิดที่มีลักษณะเพ้อฝันในการใช้เครื่องมือเก่าของระบอบขุนนางของชนชั้นนายทุนสำหรับการปฏิรูปเกษตรกรรมนั้นแสดงนัย บางอย่าง...ในการยอมรับ”คณะกรรมการชาวนา”  แม้ว่าจะไม่สู้จะเต็มใจนัก  บ่อยครั้งที่มีการประทะกันในการต่อต้านเครื่องมือของระบอบระบบการบริหารงานแบบเก่า “ในทำนองเดียวกัน ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลแนวร่วมพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้แม้ว่าจะมีความพยายามกระทำ        ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาศัยเครื่องมือแบบเก่าของระบบราชการ“สำหรับการเปลี่ยนกระ บวนการทั้งหมดในด้านเกษตรกรรม     ซึ่งรวมไปถึงปัญหาที่หลากหลายเช่นการเวนคืนที่ดิน    การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค  การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร    การปฏิรูประบบเศรษฐกิจระหว่าการเกษตรกรรมและส่วนที่เหลือในสังคม ฯลฯ   เราต้องการที่จะให้อุปกรณ์ของระบบราชการเดิม        ซึ่งรับผิดชอบกระบวนการต่างๆในการเปลี่ยนแปลง  ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีพลัง     มีความคล่องตัวและเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพกับพฤติกรรมและความเคยชินแบบเก่า

ได้มีความพยายามหลายชนิดในระหว่างที่ รัฐบาลแนวร่วม เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย    แต่ในที่สุดก็ติดขัดที่กฎหมาย ...การต่อต้านของพวกข้ารัฐการในการดัดแปลงนิสัยการทำงาน...ความแตกต่างทางชนชั้นระหว่าข้ารัฐการและชาวนา    สถานการณ์ในเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ   การเปลี่ยน แปลงองค์ประกอบของระบบงานแบบเก่าที่พรรคจะต้องตระเตรียมต่อสู้ ให้มีลักษณะก้าวหน้าเพื่อรับใช้การเปลี่ยนแปลงทางด้านเกษตรกรรม

ข้อสรุปทั้งหมดของ จ๊าคส์  โชนชอล  นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า      เป็นไปไม่ได้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมในชนบทของชิลี   นอกเสียจากว่าจะลงเอยด้วยการปฏิวัติของชาวนาโดยการติดอาวุธต่อต้านพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ   โดยการจัด ตั้งคณะกรรมการชาวนาขึ้น       และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสหภาพของ เกษตรกรและองค์กรจัดตั้งของชนชั้นกรรมกรในเมือง

แต่ทั้งๆที่ทุกอย่างเป็นผลมาจากแรงกดดันจากมวลชน (ซึ่งก่อน 1 มกราคม 1971 มีการเข้ายึดครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายประมาณ 250 – 300 คน)      รัฐบาลแนวร่วมสามัคคีได้ดำเนินงานโดยผ่านการปฏิรูปมากที่สุดเท่าที่เคยทำมาในชิลี        จากคำพูดของ จาคส์  โชนชอล ที่กล่าวว่า : ภายใต้สภาพ แวดล้อมเช่นนี้      รัฐบาลแนวร่วมสามัคคีได้กำหนดเป้าหมายไว้สำหรับปี 1971 ว่าจะเวนคืนฟาร์มเป็นจำนวนพันขึ้นไป         ซึ่งเป็นจำนวนเกือบจะเท่าๆกับที่รัฐบาลพรรคคริสเตียน เดโมแครท  ได้ทำมาตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ครองอำนาจ ( จำนวน 1139  ฟาร์ม )  และเกือบจะสี่เท่าที่ได้เวนคืนในปี 1970 (รัฐบาลประธานาธิบดี ฟราย ได้ทำการเวนคืนที่ดินในปี 1970 จำนวน 273 แห่ง เป็นเนื้อที่ 6,340,000 เฮกตาร์)

"เรื่องนี้ส่อให้เห็นถึงความพยายามอย่างมากของระบบของรัฐการ ในการสร้างความยุ่งเหยิงซับซ้อนรับและข้อจำกัดของกระบวนการเวนคืนในการตีความกฎหมายข้อที่ 16.640    ทั้งๆที่ถูกกดดันจากชาวนาให้เร่งรัดกระบวนการให้เร็วขึ้น        ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าจำต้องหยุดชงักลงในปลายปี1971     ฟาร์ม 1378 แห่งถูกเวนคืนรวมพื้นที่  2,600,000 เฮกตาร์ รวมไปถึงคฤหาสน์ขนาดมหึมาในชิลีก็ได้สิ้นสุดลงในทางปฏิบัติ   ในปี 1973 จนถึงการรัฐประหาร  มากกว่า 1,050 ถูกเวนคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มขนาดกลางที่ผลผลิตต่ำ    แต่ยังคงมีคฤหาสน์หลงเหลืออยู่ที่ถือครองที่ดินไว้ถึง 200,000 เฮกตาร์”

มาตรการที่รัฐบาล อาเยนเด ยึดถือ ก็คือการให้ความใส่ใจต่อมวลชนกรรมกรและชาวนาเป็นพิเศษ      ทำให้เกิดกระแสความพึงพอใจขึ้นทั่วไปเป็นกระแสที่ใหญ่โตมาก    ผลพวงที่ชัดเจนได้สะท้อนออกในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ของวันที่ 4 เมษายน 1971
ผลการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เดือนเมษายน 1971
 พรรค                         คะแนน             % 1971           % 1967

สังคมนิยม                   631,939              22.4                13.9
คอมมิวนิสต์                 479,206                17.0               14.8
ราดิคัล                       225,851                 8.0                16.1
PSD                            38.067                 -                     1.4
USOPO                        29,132                  -                 1.0 -
คริสเตียน เดโมแครท      723,623                25.6              35.6
ชาตินิยม                      511,669                18.2              14.3
ราดิคัล-ประชาธิปไตย .   108,192                 -                   3.8
ชาติ-ประชาธิปไตย          13,435                  0.4               2.4
อิสระ                          23,907                   0.8               0.7
บัตรเสีย                       38,772                  1.4               2.2

 รวม                       2,823,784                 100%            100%

นขณะเลือกตั้งประธานาธิบดี  อาเยนเด  ได้รับคะแนนเพียง 36.3%  แต่พรรค ประชาสามัคคี ได้คะแนนเสียง 49.7%..เมื่อเทียบกับคะแนนรวมของฝ่ายค้านทั้งหมดที่ได้ 48.05%   เมื่อรวมกับคะแนนของ ราอูล อัมเปอร์โร แห่งพรรค  ป๊อปปูลาร์ โซเวียลิสต์ ยูเนียน    ฝ่ายซ้ายก็จะครองเสียงข้างมาก
 กระแสการเปลี่ยนแปลงในประเทศได้แสดงออกโดยการถือกำเนิดขึ้นของพลังกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมและในถิ่นที่อาศัยของกรรมกร     ในชนบทบรรดาชาวนาจนพยายามเข้ายึดที่ดิน    ปัญ  หาของมวลชนที่หมักหมมนี้ใด้สั่นสะเทือนพรรคจารีตนิยมของชนชั้นกลาง     กระตุ้นให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างแรงและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในกระบวนแถว    สมาชิรัฐสภา 7 คน ได้แยกออกมาจากพรรคคริสเตียน เดโมแครท  และตั้งพรรคใหม่ ได้แก่พรรค MIC หรือขบวนการคริสเตียนฝ่ายซ้าย(Movement of the Christian Left)   โดยมีปีกของเยาวชนของพรรคเดิมเข้าร่วมด้วยถึง 20%    และได้ประกาศตนในนาม ”กลุ่มสร้างสรรค์ลัทธิสัง คมนิยมและได้เข้าร่วมกับพรรครัฐบาลพรรค UP”     พรรคราดิคาลได้ประสบกับความเจ็บปวดในการที่กลุ่มปีกขวาได้แยกตัวออกไปหลังหารประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 25   เนื่องจากพรรคได้ประกาศนโยบายสนับสนุน “การต่อสู้ทางชนชั้น    และมีความจำเป็นที่จะต้องขจัดการกดขี่ที่มนุษย์พึงกระทำต่อมนุษย์ ”

อัลแบร์โต  บัลทรา  ผู้นำในการตั้งพรรคเป็นโดยให้ชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากแนวทาง(ขวา)ของตนว่า พรรคราดิคัลซ้าย(PIR) “เพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง  .ในแนวทางที่.ไม่บังอาจแม้แต่จะต่อต้านพรรครัฐบาลอย่างนอกหน้า    กระแสหลักในการสนับสนุนรัฐบาลจะอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางนายทุนน้อย     ในความเป็นจริงแล้ว..ความสัมพันธ์พื้นฐานของแนวทางรัฐสภานั้น ไม่ได้ดีไปกว่าเงาที่ซีดสลัว     การสะท้อนออกถึงความใหญ่โตเข้มแข็งก็คือการเคลื่อนไหวของกรรกรและชาวนาในเวลานั้น   
 เงื่อนไขทางภววิสัยหลายอย่างได้ส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านทางสังคมของชิลีเป็นไปอย่างสันติ      

ชนชั้นปกครองตกอยู่ในความปั่น ป่วนและแกว่งไปมา    การเคลื่อนไหวของมวลชนขึ้นสู่กระแสสูง   และในสภาพเป็นจริงได้ก้าวล้ำหน้าพวกผู้นำแรงงานหัวปฏิรูปไปไกลโขแล้ว   ชนชั้นกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาชาวนาต่างมองรัฐบาลด้วยสายตาแห่งความหวัง   ฝ่ายนำของชาวสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ได้ตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลและการบริหารรัฐกิจ       ในสายตาของมวลชนที่ล้าหลังและชนชั้นกลาง    การเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศทำให้พวกเขามีเปรียบและเป็นการเอื้ออำนวยต่อภา- ระหน้าที่ของการปฏิวัติสังคมนิยม      แม้กระทั่งในกองกำลังแห่งชาติ  ซึ่งพรรคประชาชนสามัคคีได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก    

ไม่เพียงแต่ทหารบกและทหารเรือเท่านั้นยังรวมไปถึงบรรดานายทหาร ชั้นประทวนและนายทหารสัญญาบัตรระดับล่าง   ที่สนับสนุนพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์อีกด้วย    ประธานาธิบดีแห่งสาธารณ รัฐมีสิทธิ์ที่ระงับการทำประชามติ       เป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการสภาพภววิสัยเกินเลยไปกว่านี้     กระนั้นการนำของพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ต้องประสบกับความล้มเหลวในการใช้ประโยชน์ในช่วงที่มีการนัดหยุดงานเป็นตัวตัดสินขี้ขาดในการขจัดอำนาจของบรรดาอภิสิทธิ์ชนลงไป

ในสถานการณ์เช่นนี้เงื่อนไขของอำนาจคู่ขนานได้ปรากฏให้เห็นในสังคมของชิลี   ในหนังสือครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลีหน้า 17 ได้เขียนไว้ว่า  “ บนจุดนี้มีความสำคัญมากที่เน้นให้เห็นถึงความขัดแย้งพื้นฐานที่เกิดจากแรงบันดาลใจของมวลชนที่มีต่ออำนาจนิยม  ที่ได้แสดงออกถึงสิ่งที่เรียกว่าหน่วยคอมมานโดของประชาชน  ที่เกิดขึ้นทั่วไปในรูปแบบของการควบคุมด้านอาหาร    คณะกรรม  การบริหารงาน ฯลฯ”

แม้ว่าบรรดาผู้นำการเคลื่อนไหวในด้านแรงงานได้ ปล่อยให้อำนาจในการคัดค้านตกอยู่ในมือของชนชั้นปกครอง  พวกเขาไม่บังอาจที่จะแตะต้องกองทัพและตำรวจ    เซพูลเวดากล่าวว่า “พรรคประชาชนสามัคคีมีอำนาจบริหาร      แต่ศัตรูกลับควบคุมสถาบันต่างๆของชนชั้นนายทุนไว้ทั้งหมด และปกป้องตนเองอยู่เบื้องหลังสถาบันดังกล่าว เพื่อเตรียมการต่อต้านการปฏิวัติ”  รัฐบาลมีอำนาจตามกฎหมายที่ประกาศให้ประชาชนลงประชามติเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่    ซึ่งแทบจะไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าชัยชนะจะต้องตกเป็นของพรรคกรรมกรทั้งมวล        แต่ในช่วงข้าวใหม่ปลามันนี้บรรดาผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีได้สูญเสียโอกาสที่ดีนี้ไป เนื่องเพราะไว้วางใจใน”ความปรารถนาดี” ของศัตรูทางชนชั้นด้วยความมืดบอด


Wednesday, July 22, 2015

บทเรียนจากชิลี 5

5. รัฐบาล  ฟราย  (เอ็ดดูอาโด ฟราย มอนทาลวา   1911 –   1982   นักการเมืองระดับนำของชิลี   หัวหน้าพรรค คริสเตียน เดโมแครท ละเป็นประธาณาธิบดี คนที่ 28 ของชิลี ระหว่างปี  1964 ถึง1970.)  
นอกเหนือจากนี้, ภาคเกษตรกรรมทั้งหมดก็อยู่ในกำมือของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่   ทำให้ชิลีต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านเกษตร กรรมเพื่อเลี้ยงดูพลเมืองของตน,แม้ว่าจะมีอัตราส่วนของที่ดินสำหรับเพาะปลูกต่อหัวมากกว่าหลายประเทศในยุโรป     สาเหตุของมันไม่ยากในการค้นหากล่าวคือเจ้าที่ดินใหญ่ได้จ้างแรงงานราคาถูกแทนการใช้เครื่องจักรกล   และให้ความสนใจน้อยมากต่อวิธีทำการเกษตรกรรมแบบสมัยใหม่      ด้วยวิธีการผลิตด้วยแรงงานของชาวนาชิลีที่อดอยากจึงเป็นสาเหตุของการผลิตในภาคเกษตรของชิลีอยู่ในระดับต่ำ        ความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปการเกษตรอย่างจริงจังในชิลีเป็นเรื่องที่ประจักษ์กันมาหลายทศวรรษแต่ไม่เคยมีรัฐบาลนายทุนที่ ”ก้าวหน้า” ใดๆสามารถขับเคลื่อนปัญหานี้อย่างจริงจัง,เนื่องมาจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น
ก่อนหน้าวันเลือกตั้งประธานาธิบดีของปี 1964 ประชากรที่เป็นชาวนามีจำนวน 30%   แต่เมื่อทศวรรษก่อนกระบวนการได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง      จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี 1940   ประชาชนร้อยละ 52 อาศัยอยู่ในเมืองและได้เพิ่มขึ้นเป็น 66 % ในปี 1960      คลื่นของการหยุดงานและระดับจิตสำนึกที่สูงขึ้นของชนชั้นกรรมกรชิลีได้เตือนให้บรรดานายทุนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งปี 1964   ทำให้รัฐบาลของ อเล็กซานดรีต้องอับอายอย่างมาก     กลุ่มคณาธิปไตยจำเป็นต้องหาทางเลือกทางทางการเมืองที่จะหยุดยั้งความได้เปรียบของพรรคการเมืองของกรรมกร       ทางเลือกนั้นก็คือพรรค คริสเตียน เดโมแครต  ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1957
 ประชาธิปไตยแบบคริสเตียน    เครื่องชี้แสดงที่ชัดเจนที่สุดของความอ่อนแอของชนชั้นนายทุนชิลีและการเติบใหญ่ของการแนวทางเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งในเมืองและชนบท   การเลือกตั้งปี1964ได้ลดการต่อสู้ระหว่าง คริสเตียน เดโมแครต ที่มี ฟราย เป็นตัวแทน และพรรคFRAP(พรรคแนวร่วมประชาชน ) ที่มีอาลเยนเอเป็นตัวแทนลงไป   ทั้งสองพรรคต่อสู้กันภายใต้คำขวัญการปฏิรูปสังคมชิลีอย่างถึงราก ฐาน
พรรคคริสเตียน เดโมแครต  ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มคณาธิปไตยมีจัดเจนช่ำชอง    ได้ฉวยโอกาสใช้ประโยชน์จากนโยบายแบบ ”เอียงซ้าย” ที่ปั้นแต่งขึ้นมาเพื่อหลอกลวงทางการเมืองในการเรียกคะแนนเสียงจากมวลชนนายทุนน้อยทั้งในเมืองชนบท       โดยทั่วไปแล้วชาวนาและชนชั้นกลางไม่ใช่ชนชั้นที่มีความเข้มแข็งเหมือนชนชั้นกรรมกรและชนชั้นนายทุน        เพราะมีทั้งชาวนารวยและชาวนาจน และทั้งหมดนั้นอยู่คั่นกลางระหว่างชนชั้นกรรมกรละชนชั้นนายทุน       ชั้นบนของพวกเขาโดยเฉพาะชาวนารวยมักจะใกล้ชิดกับชนชั้นนายทุน    ในขณะที่ชาวน่าจน  ผู้เช่านา และชาวนารับจ้างนั้นเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติของชนชั้นกรรมาชีพ    พรรคการเมือง ”เสรีนิยม”อย่างพรรค คริสเตียน เดโมแครต ของชนชั้นนายทุน จะมีอิทธิพลในชั้นชน นักกฎหมาย  ครู  ปัญญาชน  แพทย์  และแน่ นอนรวมไปถึงพระและนักบวชด้วย รวมทั้งบรรดาผู้คนจากชนบทที่มีความคุ้นชินกับการถอดหมวกแสดงความนอบน้อมจากชาวนามานาน     ท่านสุภาพบุรุษเหล่านี้รู้ดีว่าควรพูดอย่างไร

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สบโอกาสเหมาะในการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุด   ไม่ว่าจะเป็นสำนวนโวหารที่ “ปฏิวัติ” เพื่อให้ยังคงมีอิทธิพลในหมู่มวลชน      พวกเขาแสดงตนต่อชาวนาและเจ้าของร้านเล็กๆเยี่ยง “มิตรของประชาชน”  ประกาศตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่   เป็นผู้ ปกป้องประชาชนที่ยากจนและต่ำต้อย

แต่หลังการเลือกตั้ง...ปัจจัยที่เคยทำนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลง     หากแต่นำไปใช้บริการกับทุน ส่วนมากแล้วเป็นไปในทิศทางที่รับใช้และสอพลอ...นี่คือบทบาทที่แท้จริงของพวกเขา     ชนชั้นกลางได้เดินอยู่บนสายพานที่เชื่อมต่อกันระหว่างนายธนาคารและนักผูกขาดใหญ่รายอื่นๆ      ผลประโยชน์ของนักกดขี่ทางการเมืองชนชั้นกลางเหล่านี้คือการไปไปสู่ทุน     ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำให้เกิดความไม่รู้และสร้างความงุนงงสับสนให้ชาวนานับล้าน,เจ้าของกิจการขนาดเล็ก และเป็นไปได้ต่อมวล ชนกรรมกรและสตรีที่ล้าหลัง ฯลฯ     การปฏิวัติสังคมนิยมจะมีความเป็นไปได้อีกครั้งหนึ่งก็ต่อเมื่อการ    ควบคุมของฝ่ายเสรีนิยมและคริสเตียน เดโมแครต ที่อยู่เหนือชนชั้นกลางและชาวนาได้ขาดสะบั้นลง       นโยบายต่อต้านนักลัทธิเลนินของพรรคคอมมิวนิสต์ชิลีที่มีรากฐานมาอย่างยาวนาน   จึงมีความจำเป็นด้วยการเป็นพันธมิตรกับศัตรูที่เข้มแข็งของสังคมนิยม

เป็นที่ชัดเจนว่าสังคมได้บ่มเพาะความไม่พอใจของมวลชนให้สุกงอมขึ้น     ซึ่งเพียงพอกับการย้อนไปคิดถึงความจริงในคำขวัญ ของพรรคคริสเตียน เดโมแครต เมื่อปี 1964     ซึ่งไม่ใช่อะไรที่มากไปกว่า “การปฏิวัติเสรีภาพ”  และในความเป็นจริงประชาชนมีความมั่นใจและฝากความหวังของตนไว้ที่รัฐบาล ฟราย  ที่ได้รับเสียงข้างมากถึง 56%  จาก 2.5 ล้านเสียงจากคูหาเลือกตั้ง    ผลการเลือกตั้งสภาล่างในปีถัดมาได้ยืนยันชัยชนะของพรรค คริสเตียน เดโมแครต  ที่ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจาก 23 ที่นั่ง เป็น 82 ที่นั่ง   อีกด้านหนึ่งก็คือบรรดาพรรคฝ่ายขวาถูกพิชิตลงอย่างเจ็บปวด    

ประชาชนส่วนใหญ่มีความ หวังต่อ ” การปฏิวัติเสรีภาพ”, การปฏิรูปเกษตรกรรม, และการทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นของชาวชิลี
ประสบการณ์ของรัฐบาลฟราย  ได้แสดงออกอีกครั้งหนึ่งถึงการไร้ความสามารถของพวกเสรีนิยมชนชั้นนายทุนในการสานต่อภาระกิจที่เร่งด่วนที่สุดของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน   ภายใต้การนำของฟราย,รัฐได้เข้าถือหุ้นจำนวน 51% ของบริษัททองแดงขนาดใหญ่ของสหรัฐ..แต่นั่นก็ไม่สามารถขจัดการผูกขาดควบคุมของจักรพรรดิ์นิยมอเมริกาที่มีเหนือเศรษฐกิจของชิลีได้แม้แต่น้อย    การปฏิรูปเกษตรกรรมเดินหน้าไปอย่างล่าช้าเหมือนหอยทาก   ผลของมันสรุปได้จากถ้อยคำต่อไปนี้

หากวัดด้วยมุมมองทางคุณภาพ, การทำงานของรัฐบาลพรรคคริสเตียน เดแครต สัมพันธ์กับการแบ่งสรรที่ดิน,ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับความชื่นชมเป็นอย่างยิ่งจากชาวนา 28,000 ครอบครัว   ซึ่งถูกจัดให้ลงหลักปักฐานในการปฏิรูปเกษตรกรรมหรือเข้าเป็นสมาชิกฟาร์มสหกรณ์ 1,300 แห่ง   ซึ่งไม่ว่าจะได้มาจากความตั้งใจหรือถูกเวนคืนในโครงการปฏิรูปทั้งหมดประมาณ   3 ล้านสี่แสนเฮกตาร์   นั้นหมายถึง 13% ของที่ดินที่สามารถเพาะปลูกได้  และครอบครัวชาวนาที่ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่พอเพียงจำนวน 5%  และ 10% จะได้รับเงินช่วยเหลือ   รัฐบาลพรรค คริสเตียน เดโมแครตเองได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถทำให้ชาวนา 100,000 ครอบครัวเข้าถึงที่ดินภายในระยะเวลา 6 ปี    นั่นหมายถึงการบรรลุนโยบายไปแล้วถึงหนึ่งในสาม

แผนนโยบายของฟราย เช่นการเข้าแทรกแซงกิจการธนาคารยังคงอยู่ในกระดาษ       มวลชนทั้งชาวนาและกรรมกรได้ผ่านโรงเรียนของพรรคคริสเตียน เดโมแครต และได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ามันคือ ...การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่    สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถึงราก     แต่สิ่งที่ได้รับคือภาวะการถูกครอบงำอย่างต่อเนื่องของพวกคณาธิปไตยและจักรพรรดิ์นิยมที่อยู่เบื้องหลังของการมี “ ประชาธิปไตยมากขึ้น” ที่ฉาบหน้าอยู่    บทบาทที่แท้จริงของพรรค คริสเตียน เดโมแครต คือ  ผู้ปกป้องที่ซื่อสัตย์ของของกลุ่มคณาธิปไตย...ที่ได้แสดงออกอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนในการกดขี่ชาวนาและกรรมกร    บรรดาเหยื่อ ในกรณีเหมือง

ความล้มเหลวของรัฐบาลพรรค คริสเตียน เดโมแครต
หลังจาก ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี 1964 บรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์  มีความเป็นไปได้ในการยกระดับความร่วมมือกับรัฐบาล
สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1964 ของพรรค น่าจะบรรลุข้อตกลงที่มุ่งเน้นการจัดการกับพรรครัฐบาลได้หรือยัง?   หรือเพียงแต่ให้ชนชั้นกรรมกรยอมจำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่าของชนชั้นนายทุนมาอย่างยาวนาน.......” ถ้าเช่นนี้(การ นำพรรคสังคมนิยมไปขึ้นต่อพรรคคริสเตียน เดโมแครต). คือการร่วมมือกัน ,ด้วยการหนุนช่วยกันในยามคับขัน  หรือเป็นพรรคฝ่ายค้านตามกฎหมาย   เราจะไม่ถูกทำให้อ่อนแอลงจากฐานสนับสนุนของเราในสังคม   และหนทางไปสู่ความนิยมของเราจะไม่ถูกปิดลง”  
มวลชนที่สนับสนุนพรรค คริสเตียน เดโมแครต ได้หดหายไปอย่างรวดเร็ว   ความไม่พอใจต่อปัญหาที่หมักหมมอยู่ของชนชั้นนายทุนน้อยได้ก่อหวอดขึ้นในเรื่องการจัดตำแหน่งในพรรคของฟรายเอง   สะท้อนออกโดยการแยกตัวในปี 1969 ของกลุ่มปีกซ้ายที่ก่อตั้งพรรค MAPU ขึ้นและพัฒนาไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์ที่รุนแรง
ในสภาพเช่นนี้  มีความพยายามจัดตั้งแนวร่วมกันขึ้นมาใหม่ในการเลือกตั้งระหว่างพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์   ในคราวประชุมโต๊ะกลม, เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับแนวร่วมทั่วไปเป็นที่ถกเถียงกัน ทำให้เกิดความบาดหมางขึ้นระหว่างตัวแทนของพรรคทั้งสอง    และต่อมาเป็นที่ประจักษ์กันดีถึงปัญหาของสังคมนิยมในชิลีว่า  “เป็นทัศนะที่ยืดเยื้ออย่างไม่มีวันจบสิ้น” ('Socialismo Chileno,' p 31)
ขณะที่ อาเยนเด มีความจริงใจและเชื่อมั่นอย่างไม่ต้องสงสัยในความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่สังคมนิยมโดยแนว ทางรัฐสภา, แต่สำหรับผู้นำฝ่ายนิยมสตาลินยังวนเวียนอยู่กับปัญหาที่ว่ายังไม่ใช่เวลาของสังคมนิยม   ผลก็คือเอกสารชี้นำเต็มไปด้วยความกำกวม ไม่ปะติดปะต่อ     อย่างที่ได้ยืนยันไว้ใน “เอกสารฉลองวันครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลี”
 “ การปรึกษาหารือกันในการประชุมโต๊ะกลมจบลงด้วยการเรียกตัวเองว่า “แนวร่วมสามัคคี”   การประชุมรอบนี้มีผลต่อแนวทางนโยบายของรัฐบาล ”แนวร่วมสามัคคี” , ซึ่งเป็นที่รวมของความแตกต่างกันในโครงร่างนโยบายทางการเมืองอันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ทั้งสองพรรคให้ตกอยู่ในสภาพที่ขัดแย้ง     เป็นลักษาการของสังคมนิยมและประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนในการปฏิวัติชิลี, ซึ่งต่อมาได้ถูกปกป้องโดยพรรคคอมมิวนิสต์ชิลีและพรรคสังคมนิยมในยุคก่อนหน้านี้    ความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ในรัฐบาลแนวร่วมสามัคคีมาตั้งแต่ต้นจนจบ”
 แนวร่วมสามัคคี (United Front)
“ชัยชนะในวันที่ 4 กันยายบน  และผลที่เกิดจากการขยายนโยบายทำให้กระบวนการปฏิวัติอ่อนแอลงโดยทันที   เป็นช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เกิดสภาวะตึงเครียดทางชนชั้น:  ปฏิวัติหรือปฏิปักษ์ปฎิวัติ    มันไม่ใช่นโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นหรือทำให้ลุล่วงไปโดยรัฐบาลเอง   ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองหวาดกลัว,แต่พลวัตรการปฏิวัติของมวลชนย่อมเป็นอันตรายที่แท้จริงต่อระบอบทุนนิยม   นอกเหนือสิ่งอื่นใด...พวกเขาหวาดกลัวต่อการนำขบวนการโดยชนชั้นกรรมกร       ได้แสดงออกเบื้องแรกถึงการ ครอบงำรัฐบาลของนักสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในองค์กรแนวร่วมสามัคคีในการเคลื่อนไหวมวลชน”    แต่ทว่า...เงื่อนไขทางอัตตวิสัยภายหลังจากนี้    เกี่ยวกับการนำ  ไม่รู้ว่าจะสนองตอบอย่างไรสำหรับความเป็นจริงที่จะนำไปสู่ขบวนแถวของการปฏิวัติ    ความเป็นจริงที่ก้าวล้ำหน้าขอบเขตทางภววิสัยโดยขบวนการแนวร่วมในปี 1969” ('Chilean Socialism', page 85)

องค์กรแนวร่วมสามัคคีไม่ได้มีแต่เพียงการรวมตัวของพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น   ยังมีขบวนแถวของบรรดาพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนน้อยและกลุ่มการเมืองต่างๆ  (MAPU, API, PSD และกลุ่มราดิคาล) ที่มีฐานมวลชนเพียงเล็กน้อย    พรรคราดิคาลที่เข้าร่วมในขณะนั้นเป็นตัวแทนของชนชั้นนายทุนอย่างไม่ต้องสงสัย,ที่ได้แยกตัวออกมาเนื่องจากแรงกดดันของมวลชน    ในฐานะที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับองค์กรแนวร่วมมาก่อนเมื่อทศวรรษที่ 1930 ในครั้งที่พรรคราดิคัลเก่าได้ครองเสียงข้างมาก     ซึ่งกลุ่มราดิคาลของ อัลแบร์โต บาลตรา ได้แยกตัวออกมาร่วมกับพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรคของมวลชนกรรมกรในขณะที่เป็นพลังที่มีบทบาทสำคัญ     แม้ว่ากลุ่มผู้นำที่นิยมสตาลินยังยึดติดแน่นอยู่ในผลประโยชน์กับรัฐบาลราดิคัลในปัจจุบัน,ไม่ ใช่เพราะให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง        หากแต่เพราะไม่สามารถบรรลุนโยบายด้านสังคมนิยมอย่างที่ไม่อาจอภัยให้ได้  “ เราไม่อาจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วได้   เพราะนั่นจะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่พันธมิตร ”    ยุทธวิธีแบบเดียวกันนี้ฝ่ายนำของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสได้เคยใช้มาก่อนแล้ว  เช่นเดียวกับพรรคราดิคัล

ฝ่ายที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับ ”แนวร่วม” คือพรรคของชนชั้นนายทุนสองพรรคได้แก่พรรคแห่งชาติของ อเลสซานดรี ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มคณาธิปไตยชนชั้นนายทุนอย่างเปิดเผย   และพรรคคริสเตียน เดโมแครต ที่มีโทมิคเป็นตัวแทน   ซึ่งเป็นคนที่อันตรายอย่างยิ่งที่จะฟื้นภาพลักษณ์ของพรรค “ปีกซ้าย” ที่สนับสนุนการยึดกิจการเหมืองทองแดง ธนาคารต่างชาติ เข้าเป็นของ รัฐ  และเร่งปฏิรูปเกษตรกรรม   แต่ครั้งนี้มวลชนไม่ยอมถูกหลอกลวงจากสัญญาจอมปลอมของพรรค คริสเตียน เดโมแครต อีก ต่อไป  ผลการเลือกตั้งจึงออกมาดังนี้

อาเยนเด   1,075, 616 เสียง (36.3%)      อเลสซานดรี  1,036,278 เสียง (34.9%)     โทมิค  824,849 เสียง (27.8%)

ผลการลงคะแนนที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความตกต่ำอย่างเห็นได้ชัดของพรรค คริสเตียน เดโมแครต   แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนขั้วในสังคมชิลี   ความจริง พรรคคริสเตียน เดโมแครตได้สูญเสียฐานะการครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนไปเรียบร้อยแล้วในเดือนมีนาคม 1969 คือได้ที่นั่งในสภาผู้แทนเพียง 50 ที่นั่งใน 150 ที่นั่ง

ผลของการเลือกตั้งในปี 1970  แนวร่วมสามัคคี เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ    แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ใช่เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด   จึงเป็นเงื่อนไขที่พวกฝ่ายขวาจะใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างสถานการณ์ก่อนที่อาเยนเดจะจัดตั้งรัฐบาล    ฝ่ายนำขององค์กรแนวร่วมมีทางเลือกอยู่สองทางคือไม่ยอมรับการขู่กรรโชก ของชนชั้นนายทุนและเพรียกร้องขอความเห็นใจจากมวลชน, หรือประณามแผนอุบายสกปรกของชนชั้นนายทุนที่คัดค้านความต้องการของมวลชน,ที่จัดตั้งองค์กรมวลชนขนาดใหญ่ทำการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ      หรือกดดันให้ยอมรับสถานการณ์ที่ตนกำหนดขึ้น   

ชาวสังคมนิยมที่มีลักษณะสู้รบต่างมีความเดือดดาลต่อเล่ห์เพทุบายของชนชั้นนายทุน,และไม่ต้องสงสัยเลยว่าความไม่พอใจของมวลชนได้เพิ่มสูงขึ้น,  ต้องการให้ฝ่ายนำขององค์กรแนวร่วมจัดการรณณรงค์และให้คำชี้แจง    ในเดือนมิถุนายน 1970 องค์กรแรงงานชิลีได้คุกคามด้วยการจัดให้มีการนัดหยุดงานไปเรียบร้อยแล้ว     ในสถานการณ์ครั้งนั้นชนชั้นกรรมกรได้กลายเป็นพลังชี้ขาดของสังคม  เพราะ 75% ของประชาชนล้วนแล้วแต่ยังชีพด้วยเงินเดือนค่าจ้าง,โดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานอยู่ในเมือง (อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ)  พลเมืองที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวนั้นมีอยู่ไม่ถึง 25%    

พลังการเคลื่อนไหวของกรรมกรชิลีนั้น ได้แสดงออกด้วยการนัดหยุดงานในสมัยของรัฐบาล  อิบาเนซ และ อเลสซานครี  บรรดากรรมกรต่างรู้ดีถึงการรณณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้นเต็มไปด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมและกลอุบายสกปรกเพื่อต่อต้านองค์กรแนวร่วมสามัคคีที่กำกับโดยจักรวรรดิ์นิยมและกลุ่มอนาธิปไตย เป็นความพยายามในการเคลื่อนไหวสกัดกั้นการเข้ามาเป็นรัฐบาลของ อาเยนเด อย่างไม่เคยมีมาก่อนซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและในทุกๆเมืองและหมู่บ้านทั่วทั้งประเทศ 

มากไปกว่านั้น, สำหรับนักลัทธิมาร์กซแล้วแม้ว่าผลของเลือกตั้งจะเป็นเสมือนมาตรสำคัญในการวัดระดับจิตสำนึกของมวลชน นั่น มิใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวในการพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีของเรา    เรา...ที่เป็นชาวลัทธิมาร์กซไม่ใช่ชาวอนาธิปไตย,   ด้วยเหตุผลนี้....เราจึงเข้าร่วมในการเลือกตั้งและต้องการที่จะใช้ทุกๆกลไกของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนให้ประโยชน์  รวมไปถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสันติ     โดยผ่านวิถีทางรัฐสภาที่ถูกกฎหมาย, ถ้าหากจะได้รับโอกาสที่จะกระทำเช่น นั้นได้      

แม้ว่าตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของชิลีได้แสดงให้เห็นว่า.. ชนชั้นปกครองจะมีความอดกลั้นต่อการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยในขอบเขตจำกัดเท่านั้น      ยามใดเมื่อพวกเขาเห็นว่าอำนาจและอภิสิทธิ์ของพวกเขาถูกคุกคาม,พวกเขาจะไม่ลังเลเลยที่จะเป็นฝ่ายล้มกระดานก่อนแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อ “พิทักษ์กฎเกณฑ์”  ซึ่งเป็นกฎที่พวกเขาตั้งขึ้นเองเพื่อและปกป้องอำนาจและความมีอภิสิทธิ์และปราบปรามทำลายประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมกร      ไม่!...เราคือนักลัทธิมาร์กซไม่ใช่นักอนาธิปไตย.....เราเป็นผู้อยู่ข้างสัจธรรมและได้เรียนรู้บทเรียนบางเรื่องจากประวัติศาสตร์     ด้วยความเคารพ...สหาย เซปูลเวดาได้กล่าวไว้อย่างถูก ต้องที่สุดว่า 

ว่าด้วยเรื่องของอำนาจ,มันไม่ใช่ปัญหาที่มีความสัมพันธ์กันเหมือนในวิชาคณิตศาสตร์ว่ามีกำลังมากหรือน้อย    ตัวอย่างเช่นในเดือนมีนาคม 1973  เรามีเสียงอยู่ 50 หรืออาจมากถึง 55 แต่ก็มิได้มีความหมายต่อจักรวรรดินิยมและชนชั้นนายทุนใหญ่เลยที่จะหยุดการตระ เตรียมการรัฐประหารหรือหยุดความต้องการในการล้มล้างเรา       ประสบการณ์ทางประวัติ ศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าแม้พวกเขาจะเป็นเสียงส่วนน้อย   แต่ก็มีความพยายามที่จะปกป้องการครอบงำทางชนชั้นด้วยความรุนแรง” (Socialismo Chileno, P 36)
สหายชาวสังคมนิยมส่วนใหญ่ละบางทีก็ชาวคอมมิวนิสต์ด้วย   ต่างได้คาดคะเนไว้ล่วงหน้าแล้วถึงกับดักอันต่ำช้าของชนชั้นนายทุนที่ได้ตระเตรียมไว้      ผู้สนับสนุนตัวสำคัญในเล่ห์อุบายนี้คือพรรค คริสเตียน เดโมแครต   ซึ่งครั้งหนึ่งได้เผยให้เห็นถึงธาตุแท้ของนักปกป้องเจ้าเล่ห์,ที่ปกป้องผลประโยชน์ของนายทุนใหญ่และจักรพรรดิ์นิยมอเมริกาที่เป็นเจ้านายของมัน

ภายใต้การกดดันอย่างหนักหน่วงของ โควาลันและพวกพ้องทำให้ อาเยนเด จำต้องทำความตกลงกับพรรค คริสเตียน เดโมแครต และยอมรับสิ่งที่เรียกว่า “ข้อตกลงว่าด้วยหลักประกันของรัฐธรรมนูญ”  ในการก่อตั้ง ”กองกำลังเอกเทศ”  หรือการแต่งตั้งนายทหารในกองทัพซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ผ่านวิทยาลัยทางการทหาร    อีกด้านหนึ่งต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในกองทัพบก เรือ อากาศ หรือ ตำรวจนอกจาก  จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาซึ่งพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนยังครองเสียงข้างมากอยู่      
ด้วยวิถี ทางเช่นนี้อาเยนเดและบรรดาผู้นำองค์กรแนวร่วมได้พลัดหลงเข้าสู่กับดักตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว, โดยลืมพื้นฐานด้านหลักของลัทธิมาร์กซ และลืมคำอารัมภบทของนโยบายเมื่อครั้งการก่อตั้งพรรคสังคมนิยมชิลีไปเสียสิ้นที่กล่าวว่า  “ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบระบอบประประชาธิปไตยแบบวิวัฒนาการนั้นไม่มีทางเป็นไปได้  เพราะชนชั้นปกครองได้จัดตั้งองค์กรพลเรือนติดอาวุธของตนเองและได้สร้างระบอบเผด็จการขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่งความยากไร้ของชนชั้นกรรมกรให้ดำรงอยู่ต่อไปและไม่สนใจที่จะทำการปลด ปล่อยแต่อย่างใด”