Saturday, February 21, 2015

ปารีสคอมมูน (1871)

ปารีสคอมมูน คือคณะรัฐบาลที่บริหารกรุงปารีสชั่วคราวตั้งแต่วันที่ ๑๘  มีนาคม (นับอย่างเป็นทางการ  ๒๘ มีนาคมไปจนถึง ๒๘ พฤษภาคม ๑๘๗๑)  ดำรงอยู่ก่อนจะเกิดความขัดแย้งระหว่างบรรดานักอนาธิปไตยและชาวลัทธิมาร์กซ    ซึ่งและทั้งสองกลุ่มที่มีความคิดไม่เหมือนกัน   ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้องต่ออำนาจรัฐแห่งชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรกท่ามกลางยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม   การโต้แย้งไม่ลงรอยกันในแนวคิดเป็นสาเหตุให้เกิดการแยกตัวของกลุ่มการเมืองทั้งสอง     โดยรูปการทั่วไป ปารีสคอมมูน  มีลักษณะค่อนไปในแนวทางการบริหารท้องถิ่น  สภาเมือง(ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าคอมมูน)ได้บริหารกรุงปารีสเพียงสองเดือนในฤดูใบไม้ผลิแห่งปี ๑๘๗๑  อย่างไรก็ตามท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวาย   ความไม่ลงรอยกันในการบัญชาการมักลงเอยด้วยความรุนแรง มันเป็นฉากสำคัญทางการเมืองแห่งยุคสมัย

ภูมิหลัง
คอมมูนคือผลพวกแห่งการลุกขึ้นสู้ในปารีสหลังจากฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามฟรังโก-ปรัสเซีย(Franco-Prussian War)  การลุกขึ้นสู้ครั้งนี้มีสาเหตุสำคัญมาจากความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นของชนชั้นคนงานต่อความพ่ายแพ้และหายนะในสงคราม     ความไม่พอใจของคนงานและการลุกขึ้นสู้นี้ ถอดแบบมาจากการลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของคนงานทอผ้าไหมแห่งเมืองลียง (Canut Revoltsชาวปารีส โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นคนงานและชนชั้นกลางระดับล่างที่สนับสนุนสาธารณรัฐประชาธิป ไตยมาอย่างยาวนาน     โดยเฉพาะการเรียกร้องที่จะให้นครปารีสมีการปกครองตนเอง    โดยให้สภาเมืองมาจากการเลือกตั้งเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองเล็กหลายๆแห่งในประเทศ       แต่กลับถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิงจากรัฐบาลแห่งชาติที่มีความระแวงระวังต่อบรรดาชาวเมืองปารีสที่ปกครองยากและดื้อรั้น     โดยให้มีส่วนร่วมแต่ไม่อาจออกเสียงใดๆ    การเรียกร้องต้องการที่จะให้มีจัดการด้านเศรษฐกิจอย่าง  ”ยุติธรรม”  ย่อมไม่อาจเป็นไปได้ถ้าไม่ใช้แนวทางสังคมนิยม    สรุปได้ว่าการ ”ร้องขอ” เพียงอย่างเดียวจะไม่มีทางที่จะได้มาซึ่งสาธารณรัฐสังคมประชาธิปไตย!

สงครามฝรั่งเศสกับปรัสเซียเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมปี๑๘๗๐โดย กษัตริย์นโปเลียนที่สามได้นำประเทศฝรั่งเศสก้าวเข้าสู่ภัยพิบัติ      ในเดือนกันยายนกรุงปารีสก็ถูกล้อม   ช่องว่างระหว่างความเป็นอยู่ของคนจนกับคนรวยในเมืองหลวงได้ขยายห่างออกไปมากกว่าปีก่อนหน้านี้  การขาดแคลนอาหาร  ความล้มเหลวทางการทหาร  ที่ร้ายสุดคือ ทหารปรัสเซีย(เยอรมัน)ได้ระดมยิงปารีสอย่างหนัก    ความไม่พอใจต่อรัฐบาลได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง       หลังจากถูกล้อมอยู่สี่เดือนจนถึงเดือนมกราคม ปี 1871 “รัฐบาลป้องกันชาติ” ของผู้นิยมสาธารณรัฐก็บรรลุการหยุดยิงกับจักรวรรดิ์เยอรมันใหม่ที่พึ่งได้รับการสถาปนา       เยอรมันเฉลิมฉลองชัยชนะด้วยการยาตราทัพเข้าปารีสที่พึ่งจะผ่านความทุกข์ทรมานจากการปิดล้อม    ชาวปารีสส่วนมากรู้สึกเคียดแค้นขมขื่นต่อพวกปรัสเซีย  (ซึ่งบัดนี้กลายเป็นแกนนำของจักรวรรดิ์เยอรมัน) และการที่มีการเฉลิมฉลองารยึดครองเมืองของพวกเขา

ประชาชนชาวปารีสนับหมื่นคนได้ติดอาวุธตนเองในนามของ  “หน่วยพิทักษ์ชาติ”   และได้ขยายจำนวนออกไปอย่างรวดเร็วในการป้องกันเมือง   กองกำลังแต่ละหน่วยในย่านที่อยู่อาศัยของชนชั้นผู้ใช้แรงงานจัดการเลือกผู้นำของตนเอง  ซึ่งจะเป็นใครก็ได้โดยไม่เกี่ยงว่าจะเป็นพวกเสรีนิยมหรือกรรมกรสังคมนิยม
ขั้นตอนต่อไปคือการจัดตั้ง  ”คณะกรรมการกลาง”  ประกอบไปด้วยผู้รักชาติที่นิยมสาธารณรัฐและชาวสังคมนิยม   ทั้งสองกลุ่มมีความมุ่งมั่นในการปกป้องปารีสเพื่อต่อต้านการโจมตีของทหารเยอรมันและป้องกันสาธารณรัฐจากการฟื้นตัวของพวกนิยมกษัตริย์อีกด้วย     แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๘๗๑ พวกนิยมกษัตริย์กลับได้รับเลือกเข้าสภาแห่งชาติด้วยเสียงข้างมาก 

ประชาชนชาวปารีสส่วนใหญ่ไม่ยอมจำนนแม้กองทัพเยอรมันจะบุกเข้ามา     มันยิ่งกระตุ้นความรู้สึกที่อยากต่อต้านขึ้นจนถึงขีดสุด     และได้เตรียมการสู้รบไว้ก่อนที่กองทัพเยอรมันจะยาตราเข้ากรุงปารีส  บรรดากรรมกรที่หนุนช่วยหน่วย ”พิทักษ์ชาติ”  ต่างจัดการเคลื่อนย้ายปืนใหญ่จำนวนมากที่พวกเขาถือว่าเป็นเสมือนสมบัติของตนเพราะต่างก็ได้ออกเงินบริจาคซื้อหามา   แล้วนำไปเก็บไว้ยังสถานที่ปลอดภัยจากพวกเยอรมัน     ตำบลมองต์มาร์ทคือแหล่งที่สำคัญที่สุดของแห่งหนึ่งของ ” ลานปืนใหญ่”
อดอล์ฟ ติเยร์  ได้รับเลือกเป็น “ผู้มีอำนาจบริหาร” ของรัฐบาลใหม่  เป็นเงื่อนไขในการยืดเวลาที่จะตัดสินใจว่าควรจะมีประธานาธิบดีหรือกษัตริย์ ติเยร์เป็นเสมือนประมุขรัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติได้ตระหนักว่าในสถานการณ์ที่กระแสยังกระเพื่อมอยู่นี้   คณะกรรมการกลางของหน่วยพิทักษ์ชาติก็กำลังก่อตั้งศูนย์กลางทางการเมืองและกองกำลังขึ้นเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง       ตัวติเยร์เองก็มีความกังวลอยู่กับบรรดากรรมกรติดอาวุธที่สังกัดกองกำลังพิทักษ์ชาตินี้      กลัวว่าจะเป็นเรื่องที่จะกระตุ้นความไม่พอใจของเยอรมัน

ลักษณะของการลุกขึ้นสู้
กองทหารเยอรมันได้เข้าปารีสเพียงชั่วคราวและถอนออกไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น   แต่สำหรับปารีสเองกำลังอยู่ในสภาวะการต่อสู้ทางการเมืองที่ดุเดือดร้อนแรง     มีการเสนอให้มีการประชุมตัวแทนสมัชชา แห่งชาติที่พึ่งเลือกตั้งเข้ามาใหม่ในหลายๆที่ตั้งแต่เหนือจรดใต้ โดยต่างมีความเห็นว่าไม่ควรเปิดประชุมกันในเมืองหลวงที่ยังสับสนวุ่นวายอยู่    ความที่ไม่มีอะไรชัดเจนเช่นนี้..ทำให้เกิดสุญญากาศทางอำนาจขึ้นในปารีส     พร้อมๆกับความรู้สึกหวาดระแวงต่อเป้าประสงค์ของ ”สมัชชาแห่งชาติ” ที่สมาชิกส่วนข้างมากเป็นกลุ่มนิยมกษัตริย์  สำหรับคณะกรรมการกลางของหน่วยพิทักษ์ชาติแนวทางเสรีนิยมได้เพิ่มมากขึ้นจนสามารถกุมอำนาจได้อย่างมั่นคง       รัฐบาลมีความเห็นว่าไม่สามารถอนุญาตให้หน่วยพิทักษ์ชาติมีปืนใหญ่ถึงสี่ร้อยกระบอกได้       และต้องขจัดการครอบครองอาวุธอย่างไร้ขอบเขตของประชาชนให้หมดไป      วันที่  18 มีนาคม 1871 ติเยร์จึงมีคำสั่งให้เข้ายึดคลังปืนใหญ่ที่มองต์มาร์ทและที่อื่นๆทั่วทั้งเมืองเป็นเบื้องแรก  ทหารที่ท้อแท้ปราศจากขวัญและถูกปลุกเร้าจิตสำนึกให้ระลึกถึงความเป็นเสมือนพี่น้อง(ภราดรภาพ) ร่วมท้องถิ่นกับกองกำลังพิทักษ์ชาติ     จึงเกิดความลังเลกับคำสั่งที่ให้ยิงเข้าไปในกลุ่มชน      นายพล โคลด  มาร์แตง  เลอคอมเต  ผู้บัญชาการกองทหารที่มองต์มาร์ทซึ่งรู้จากทหารภายหลังว่าเป็นผู้ออกคำสั่งยิงหน่วยพิทักษ์ชาติและพลเรือน    ถูกกระชากลงจากหลังม้าและถูกยิงเป้าพร้อมๆกับนายพล โธมัส  ผู้นิยมสาธารณรัฐที่เคยเป็นผู้บัญชาการของหน่วยพิทักษ์ชาติมาก่อนก็ถูกจับได้ในบริเวณใกล้ๆนั้น

หน่วยทหารต่างก็เริ่มทยอยเข้าร่วมกับประชาชนที่ลุกขึ้นสู้  ข่าวได้แพร่สะพัดไปถึงผู้นำรัฐบาลอย่างรวดเร็ว  ติเยร์   สั่งให้ถอนกำลังบางหน่วย   ตำรวจ  ที่ยังเชื่อฟังคำสั่งของรัฐบาลอยู่ออกจากปารีสอย่างเร่งด่วนพร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ   ตัวเขาได้หลบหนีไปแวร์ซายส์ก่อนหน้านี้แล้ว   ติเยร์ยืนยันในยุทธศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ (คือการถอยออกจากปารีสก่อนหลังจากนั้นค่อยเกลับมาปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของประชาชน)  ได้วางแผน ไตร่ตรองโดยใช้ตัวอย่างของการปฏิวัติ 1848    แต่มันต่างกันตรงที่เขาหนีออกจากปารีสด้วยความตื่นตระหนก      ไม่มีหลักฐานใดๆพอที่จะเชื่อว่ารัฐบาลได้กระทำตามแผนนี้อย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติการณ์      บัดนี้คณะกรรมการกลางของหน่วยพิทักษ์ชาติจึงเป็นรัฐฐาธิปัตย์ที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวของนครปารีส    คอมมูนจึงจัดการให้มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ปีเดียวกันนั้นเอง

สมาชิกสภาคอมมูน ๙๒ คน ประกอบด้วยสัดส่วนของกรรมกรผู้ชำนาญงาน  และผู้คนจากหลากหลายสาขาอาชีพเช่น แพทย์  นักหนังสือพิมพ์  นักสาธารณรัฐนิยมฝ่ายปฏิรูปตามลำดับ  ตลอดจนนักสังคมนิยมที่หลากหลายความคิด  ฯลฯ      หลายคนเคยเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อน     และดูเหมือนว่ามีแนวโน้มคล้ายกับกลุ่มจาโคแบง หากมองย้อนกลับไปในอดีตของการปฏิวัติใหญ่ปี  1789
ผู้นำที่มีประสบการณ์ของกลุ่ม “บลังกิสต์” สานุศิษย์ของนักปฏิวัติสังคมนิยม เอากุสต์  บลังกี ถูกคาดหวังจากบรรดาผู้ที่ชื่นชมในศักยภาพของเขาว่าจะมาเป็นผู้นำการปฏิวัติกลับถูกจับเมื่อวันที่  17 มีนาคม  และจองจำอยู่ในคุกตลอดระยะการดำรงอยู่ของคอมมูน     ชาวคอมมูนไม่ประสบความ สำเร็จในการเจรจาแลกตัวเขากับ อาร์คบิชอป  จอร์จ  ดาร์บัว  พระราชาคณะแห่งปารีสในการต่อรองครั้งแรก      ครั้งต่อมากับตัวประกัน 74 คนที่ถูกกักไว้แต่ติเยร์ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง    ปารีสคอมมูนจึงได้ออกประกาศวันที่  28 มีนาคม    ให้เขตต่างๆขึ้นต่อองค์กรของตนแม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกปิดล้อมก็ตาม

มาตรการทางสังคม :  
คอมมูนได้นำปฏิทินปฏิวัติที่ถูกยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งในระยะ เวลาของการลุกขึ้นสู้     และชอบที่จะใช้ธงแดงของชาวสังคมนิยมมากกว่าธงไตรรงค์ของผู้นิยมสาธารณรัฐ     ในปี  1848 ระหว่างสาธารณรัฐที่สองพวกฝ่ายซ้ายและชาวสังคมนิยมต่างก็รับเอาธงแดงเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มตนต่างไปจากพวกสาธารณรัฐ    นั่นดูเหมือนว่าเป็นการแสดงสัญลักษณ์แห่งความแตกต่างที่พวกสาธารณรัฐรับมาจากพวกเสรีนิยม จิรองแดง ในการเคลื่อนไหวปฏิวัติใหญ่ปี  1789      โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในขบวนการ..   สภาได้เริ่มต้นการบริหารที่ดีด้วยการบริการชุมชนในปัจจัยพื้นฐานที่สุดสำหรับประชากรร่วมสองล้านคน   จนสามารถบรรลุความต้องการของคนส่วนใหญ่    ในทางนโยบายมีแนวโน้มที่ค่อนข้างจะก้าวไปในทิศทางสังคมประชาธิปไตยมากกว่าการปฏิวัติสังคม      เพราะคอมมูนมีอายุไม่ถึงหกสิบวันจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเช่น

-แยกศาสนจักรออกจากอาณาจักรโดยเด็ดขาด
-ยกเว้นค่าเช่า   หนี้สินทั้งปวงที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ถูกปิดล้อม(ในระยะนี้ไม่มีการใช้จ่ายใดๆ)
-ยกเลิกการทำงานกลางคืนของโรงงานขนมปังนับร้อยๆแห่งในปารีส
-ห้ามเก็บค่าที่พักสำหรับเพื่อนร่วมงานที่ยังโสดและลูกๆของผู้ปฏิบัติงานของหน่วยพิทักษ์ชาติที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
-ให้โรงรับจำนำของรัฐคืนเครื่องมือทำกินและเครื่องครัวที่มีราคาไม่เกินยี่สิบฟรังค์แก่เจ้าของในขณะที่ถูกล้อม   คอมมูนตระหนักว่าช่างฝีมือเหล่านี้ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องจำนำเครื่องมือทำกินของตนในระหว่างการสู้รบ
-ยืดเวลาชำระหนี้ทางการค้าและภาระผูกพันใดๆออกไปโดยห้ามคิดดอกเบี้ยและ
-ให้สิทธิ์แก่ลูกจ้างที่จะยึดและเข้าประกอบการในวิสาหกิจที่เจ้าของละทิ้ง   อย่างไรก็ตามคอมมูนยังสงวนสิทธิ์ในการให้ค่าชดเชยแก่เจ้าของเดิมอยู่

การประกาศแยกศาสนจักรออกจากอาณาจักรทำให้ทรัพย์สินของโบสถ์กลายมาเป็นทรัพย์สินของสาธารณะ   และรวมไปถึงการแยกกิจกรรมทางศาสนาออกจากโรงเรียนสามัญทั่วไปด้วย (หลังการล่มสลายของคอมมูน การแยกศาสนจักรและอาณาจักรยังไม่ได้บรรจุในประมวลกฎหมายฝรั่งเศส  กระทั่งปี  1880-81 ระหว่างสาธารณรัฐที่สาม  ได้ถูกใช้ในนาม Jules Ferry laws กระทั่งปี 1905 จึงได้มาเป็นประมวลกฎหมายฝรั่งเศสว่าด้วยการแยกศาสนจักรและอาณาจักร)   โบสถ์ยังได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาได้ต่อไป     แต่ต้องเปิดให้เป็นสถานที่ประชุมพบปะในกิจกรรมสาธารณะได้ในเวลาเย็นถนนทุกสาย   ร้านกาแฟ  และโบสถ์  กลายมาเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมและการถกเถียงอภิปรายทางการเมือง      โครงการทางกฎหมายอื่นๆนั้นมุ่งเน้นและให้ความความสำคัญในการปฏิรูปการศีกษาโดยตั้งเป้าที่จะให้เกิดการเรียนและการฝึกฝนอาชีพได้เปิดกว้างและเป็นไปได้สำหรับทุกคน

การเคลื่อนไหวของสตรี
กลุ่มสตรีจำนวนไม่น้อยได้เคลื่อนไหวก่อตั้งองค์กรสตรีขึ้น      ตามแบบอย่างการเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ในปี 1789 and 1848    นาตาลี เลอเมล นักสังคมนิยมช่างทำปกหนังสือและ  เอลิซาเบธ  ดิมิตทริ๊ฟ  สมาชิกของสากลที่หนึ่งชาวรัสเซียผู้ลี้ภัย ได้ร่วมกันก่อตั้ง “สหภาพสตรีพิทักษ์ปารีสและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ” ขึ้นในวันที่  11 เมษายน 1871    อองเดร เลโอ  นักเขียนสตรีสหายของ เปาเล มิงค์  เป็นสมาชิกผู้เอาการเอางานในการต่อต้านระบบการปกครองแบบบิดากับบุตรที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก   ต่อต้านระบอบทุนนิยม   เรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศ   ความเท่าเทียมในอัตราค่าจ้าง   และสิทธิในการฟ้องหย่าของสตรี   สิทธิทั่วไปทางการศึกษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา   และการศึกษาวิชาชีพสำหรับเยาวชนหญิง   พวกเธอยังเรียกร้องให้ขจัดความแตกต่างระหว่างสตรีที่แต่งงานอย่างถูกต้องกับเมียน้อย    และให้รับรองสิทธิทางกฎหมายระหว่างลูกนอกสมรสกับลูกในสมรสให้เท่าเทียมกัน    เรียกร้องให้เลิกโสเภณีและซ่องที่ถูกกฎหมาย   สมาคมสตรีได้มีส่วนร่วมในหลายๆชุมชน ยังมีส่วนร่วมบริหารและเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการอื่นๆอีกด้วย   คู่เคียงไปกับ  ยูยีน วาร์แลง   นาตาลี เลอเมล ได้ก่อตั้งภัตตาคารแนวสหกรณ์ La Marmite  ที่สนองเสบียงฟรีให้แก่คนยากจนที่เข้าร่วมต่อสู้ในป้อมค่ายระหว่าง ”สัปดาห์แห่งการนองเลือด”

เปาเล มิงค์ ได้เปิดโรงเรียนฟรีในโบสถ์ เซ็นต์ปิแอร์ แห่ง มองต์มาร์ท   กระตุ้นให้สมาคม ”แซงท์ ซุลปี”ทางฝั่งซ้ายมีชีวิตชีวาขึ้นอีก  แอน จาคลาด  สตรีชาวรัสเซียที่บอกปัดการแต่งงานกับ  โดสโตเยียฟสกี้ (ปัญญาชน นักเขียนชาวรัสเซีย)  และมาเป็นภรรยาของนักเคลื่อนไหวหนุ่มลัทธิบลังกี  วิคเตอร์  จาคลาด   ได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ “ปารีส คอมมูน” ร่วมกับ อองเดร  เลโอ   เธอเป็นสมาชิกของ  ”สมาคมผู้เฝ้าระวังแห่งมองต์มาร์ต”(Comité de vigilance de Montmartre”)  เช่นเดียวกับกับ หลุยส์ มิเชล และ เปาเล มิงค์    คล้ายๆกับหน่วยรัสเซียในสากลที่หนึ่ง     วิคตอรีน โบรแชร์  ใกล้ชิดกับนักเคลื่อนไหวในสมาคมสตรีสากลได้ก่อตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตขนมปังในปี ๑๘๖๗ ได้ร่วมต่อสู้ในตลอดช่วงระยะเวลาของคอมมูน ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นเช่น หลุยส์ มิเชล  “พรมจารีย์แดงแห่งมองต์มาร์ท” ผู้ซึ่งเข้าร่วมกับหน่วยพิทักษ์ชาติจนสุดท้ายถูกเนรเทศไปยังเกาะ นิวคาเลโดเนีย   เป็นสัญลักษณ์ที่มีชีวิตต่อการมีส่วนร่วมของสตรีกลุ่มเล็กๆในการลุกขึ้นสู้         กองกำลังสตรีจากหน่วยพิทักษ์ชาติได้สู้รบป้องกัน”พลาซ  บลังเช “ (จตุรัสขาว)  อย่างทรหด

การบริหารท้องถิ่น :
ภาระหน้าที่ของบรรดาผู้นำคอมมูนนั้นมีมากมาย  สมาชิกคณะกรรมการ(ไม่ได้เป็นตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งตามรูปแบบหากเป็นตัวแทนจากความเรียกร้องต้องการแบบเร่งด่วนของสมาชิก)     ต่างถูกคาดหวังว่าจะดำเนินงานต่อทั้งการบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆและงานการ  ทหารเท่าที่จะทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  ให้จัดตั้งองค์กรที่จะรับผิดชอบต่อเรื่องนี้  โดยเฉพาะ    ในระหว่างการถูกปิดล้อมขึ้นตามเขตต่างๆตามคำเรียกร้องต้องการของมวลชน ตัวอย่างเช่นโรงอาหาร และหน่วยพยาบาลฉุกเฉินตามการขยายตัวของคอมมูน       ในขณะเดียวกันเขตชุมชนเหล่านี้ต่างก็ปฏิบัติตามความต้องการของคนในท้องถิ่น     โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบที่ปฏิรูปของสภาคอมมูน       เนื่องจากองค์ประกอบทั้งหมดของคอมมูนมีลักษณะที่ปฏิวัติ      พรรคฝ่ายปฏิวัติประกอบด้วย เหล่าผู้ นิยมลัทธิพรูดอง  (แปรเป็นลัทธิอนาธิปไตยในเวลาต่อมา)    สมาชิกชาวสังคมนิยมของสากลที่หนึ่ง(สมาคมคนงานระหว่างประเทศ)  กลุ่มลัทธิบลังกี  และพวกนิยมสาธารณรัฐเสรีนิยม    นักอนาธิปไตยและนักลัทธิมาร์กซซึ่งได้รับการยอมรับอย่างมากในปารีสคอมมูนอย่างไม่เคยมีมาก่อน       เนื่องมาจากแนวคิดทางการเมืองที่เป็นกระแสหลัก   การควบคุมโดยกรรมกร   เป็นการประสานงานกันอย่างน่าทึ่งท่ามกลางนักปฏิวัติที่หลากหลายความคิด

ตัวอย่างเช่น  ในการประชุมบริหารงานส่วนท้องถิ่นครั้งที่สาม   มีการจัดให้มีอุปกรณ์การศึกษาในโรง เรียนโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  โรงเรียนสอนศาสนาของโบสถ์(ที่เตรียมตัวเป็นพระ) ถูกยกเลิก    และตั้งโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าขึ้นแทน  ในการประชุมครั้งที่ยี่สิบได้จัดเตรียมโครงการให้เสื้อผ้าและอาหารฟรีแก่เด็กนักเรียน        ยังมีตัวอย่างความสำเร็จของคอมมูนที่คล้ายกันนี้อีกหลายประการเป็นสิ่งผสม ผสานทำให้เกิดความความมีชีวิตชีวาแก่คอมมูน   ในขั้นตอนการริเริ่มของมวลชนกรรมกรธรรมดาๆนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานและความรับผิดที่ชอบสืบช่วงต่อจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการที่รัฐบาลติแยร์ซึ่งได้ถอนตัวออกไปได้เป็นอย่างดี    หลังจากนั้นอีกไม่กี่สัปดาห์  คอมมูนก็ถูกโจมตีอย่างบ้าระห่ำโดยกองกำลังทหารที่ได้รับการสนับสนุนจากแวร์ซาย (ซึ่งรวมถึงบรรดาทหารเชลยศึกฝรั่งเศสที่เยอรมันปลดปล่อยด้วย)

ในวันที่ ๒ เมษายน  กองกำลัง”พิทักษ์ชาติ” ของคอมมูน เริ่มมีการประทะกันอย่างประปรายกับทหารจากแวร์ซาย ไม่ว่าในแนวของมวลชนส่วนใหญ่ที่ต้องการสู้รบหรือส่วนที่ต้องการเจรจา      ในวันที่ ๒ ชานเมืองใกล้ๆ คูเบอวัวว์ ถูกยึดครองโดยกองทหารรัฐบาล   และช้าไปสำหรับความพยายามที่ล้ม เหลวของกองกำลังคอมมูนที่เริ่มรุกไปยังแวร์ซายในวันที่ ๓   การต้านทานและการอยู่รอดจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่จำต้องพิจารณา     และบรรดาผู้นำคอมมูนเองได้ตัดสินใจเปลี่ยนกองกำลังพิทักษ์ชาติมาเป็นหน่วยป้องกันอย่างจริงจัง

ชุมชนผู้ลี้ภัย(การเมือง)ต่างชาติในปารีสได้ให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง   หนึ่งในนั้นคือ ยาโรสลาฟ  ดาโบรสกี้ อดีตนักชาตินิยมชาวโปล   คือผู้บัญชาการกองพลชั้นเยี่ยมของคอมมูน   สภาและคณะ กรรมการเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศของความเป็นสากล    เสาอนุสรณ์ (Vendôme Column) ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะของนโปเลียนที่ ๑  ซึ่งคอมมูนพิจารณาว่าเป็นสัญลักษณ์ของระบอบโบนาปาร์ตและลัทธิคลั่งชาติถูกโค่นลง

สาส์นแสดงความชื่นชมจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย  จากบรรดาสหบาลกรรมกรและองค์กรสังคมนิยมต่างๆรวมทั้งจากบางส่วนของเยอรมันด้วย  แต่ความหวังใดๆที่จะได้รับการหนุนช่วยจากเมืองต่างๆในฝรั่งเศสนั้นเท่ากับศูนย์     ติเยร์และคณะรัฐมนตรีของเขาในแวร์ซายบริหารงานเกือบทั้งหมดจากข่าวที่รั่วไหลออกมาจากปารีส    ทำให้เกิดความสงสัยว่าในทำไมเมืองใหญ่ๆในส่วนภูมิภาคต่างของฝรั่งเศสจึงมีการต่อต้าน   การเคลื่อนไหวในเมือง  นาบองเนอะ  ลิมอเกอะ และมาร์เซย  ถูกบดขยี้ลงอย่างรวดเร็ว ในเวลาต่อมาสถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก คณะกรรมการส่วนข้างมากที่ชนะมติ (ฝ่ายคัดค้านคือ ออยเกน เนวาแลง  ช่างเย็บหนังสือ  ผู้ช่วยของ มิคาเอล บาคูนิน    เอกสารคัดค้านจาก คาร์ล มาร์กซ และนักเสรีนิยมอื่นๆ) ในการก่อตั้ง  ”คณะกรรมการความปลอดภัยแห่งสาธารณะ”  ด้วยชื่อและรูปแบบเดียวกันกับองค์กรของกลุ่ม จาโคแบง  ที่ตั้งขึ้นในปี  1792  แห่งการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส   ที่มีการให้อำนาจอย่างกว้างขวางแต่มีความหยาบกร้านทางทฤษฎีและไม่ได้ผลทางปฏิบัติ     ตลอดเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมกองทัพฝ่ายรัฐบาลยังคงเสริมกำลังอย่างต่อเนื่อง   โดยปรัสเซียยอมปลดปล่อยเชลยศึก ฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือรัฐบาล ติเยร์  ในการเอาชนะการต่อต้านอย่างเข้มแข็งของชาวเมืองจนสามารถผลักดันกองกำลังพิทักษ์ชาติให้ถอยร่นไปได้     

วันที่  21  พฤษภาคมประตูป้อมด้านตะวันตกของกำแพงเมืองปารีสก็ถูกเปิดออก   กำลังทหารของแวร์ซายประสพชัยชนะอีกและเข้ายึดครองพื้นที่ด้านตะวันตกของปารีสไว้    ได้รับการต้อนรับจากชาวเมืองแถบนั้นซึ่งไม่ได้อพยพออกจากปารีสหลังจากการหยุดยิง      ดูเหมือนว่าวิศวกรคนหนึ่ง  (ซึ่งฝังตัวเป็นสายลับให้รัฐบาลติเยร์)  ได้ฉวยโอกาสให้สัญญานแก่ทหารรัฐบาล ในขณะที่ประตูด้านนี้ไม่มีกำลังป้องกัน    ประชาชนส่วนใหญ่ในแต่ละเขตของปารีสมีความรู้สึกที่ดีต่อภาพลักษณ์คอมมูนได้ทำการต่อสู้อย่างทรหด   บัดนี้ได้เริ่มตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเริ่มเข้าสู่ภาวะคับขัน    แต่ละเขตต่างปรับการต่อสู้มาเป็นการวางกำลังป้องกันฐานของตนในแต่ละเขตแทนเพื่อความอยู่รอดกำลังเผชิญกับความพ่ายแพ้ 

เครือข่ายแนวป้องกันที่เชื่อมกันด้วยถนนแคบๆอันเป็นเส้นแบ่งของแต่ละเขต ซึ่งก่อนหน้านี้แทบกล่าวได้ว่ามีความแข็งแกร่งชนิดที่   ”ไม่อาจตีให้แตกได้โดยง่าย”  บัดนี้เขตต่อเขตส่วนใหญ่ได้ถูกแทนที่และถ่างออกไปด้วยแนวถนนขนาดใหญ่ของโครงการเฮ้าส์มานน์  (โครงการก่อสร้างขยายพัฒนาศูนย์ กลางธุรกิจของปารีสที่เสนอโดย บารอน เฮ้าสมานน์).      รัฐบาลแวร์ซายล์รู้สึกพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งและได้รวมศูนย์กำลังที่เหนือกว่า    หลังจากได้เรียนรู้ยุทธวิธีการต่อสู้บนท้องถนนจากชาวคอมมูน  ได้โอบล้อมแนวป้องกันของชาวคอมมูนไว้เกือบทั้งหมด    ในระหว่างการล้อมปราบกองทหารของรัฐได้ รับคำสั่งให้ทำลาย ไล่ล่า เข่นฆ่ากองกำลังพิทักษ์ชาติและพลเรือนอย่างไม่มีการละเว้น    นักโทษที่มีอาวุธในครอบครองหรือผู้ต่อต้านจะถูกยิงทิ้ง    การยิงเป้าหมู่จะพบเห็นได้ตลอดเวลา    

วันที่  5 เมษายน  1871 คอมมูนได้ออกคำประกาศว่า    ผู้ใดที่ฝักไฝ่รัฐบาลแวร์ซายน์ จะต้องถูกควบคุมในฐานะตัวประกันของประชาชนชาวปารีสและจะต้องถูกพิจารณาโทษในลักษณะเดียวกัน     ตามมาตรา 5 ของกฤษฎีกาที่รัฐบาลแวร์ซายล์ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่านักโทษหรือพลพรรคสามัญของคอมมูนปารีสจะต้องถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต      หากแต่ตัวประกันที่ถูกควบคุมตัวไว้ต้องได้รับการชดใช้เป็นสามเท่า    แต่คำประกาศนี้ไม่เคยเกิดขึ้นเลย    มันเป็นเพียงข้อต่อรองเท่านั้นเพราะคอมมูนได้เพียรพยายามหลายครั้ง ที่จะแลกเปลี่ยนตัวประกันระหว่าง เมอร์ซิเออร์ ดาบัวร์ อาร์คบิชอป แห่งปารีสกับ โอกุสเต บลังกี แต่ถูก ติเยร์ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง    โดยเฉพาะเลขานุการของเขา  จูลส์  บาร์เทเลมี แซงท์  อิลแลร์  (Jules Barthélemy-Saint-Hilaire,) ถึงกับสบถออกมาอย่างฉุนเฉียวว่า  “ตัวประกัน! อะไรก็ตัวประกัน !   เลวจริงๆ ”

สัปดาห์นองเลือด  :
ในที่สุด..ระหว่างสัปดาห์ของการนองเลือดและการประหัตประหารโดยกองทหารของกลุ่มแวร์ซายล์   เธโอฟิลเลอ  เฟอเร   ก็ได้ลงนามในคำสั่งประหารชีวิตตัวประกันหกคน(รวมทั้งเมอร์ซิเออร์ ดาร์บัวร์)  ทั้งหมดถูกยิงเป้าในวันที่  4 พฤษภาคม ในคุก เดอ ลา โรเกต์  เรื่องนี้ กล่าวอย่างติดตลกว่า  “ช่างยอดเยี่ยมเสียนี่กระไร ! บัดนี้เราหมดได้เสียโอกาสที่จะหยุดการนองเลือดไปเสียแล้ว”    จากนั้นไม่นาน เฟอเรก็ได้ถูกประหารชีวิตจากการแก้เผ็ดจากกองกำลังแวร์ซายล์  (หมายเหตุ: โอกุสเต เวมอเรล ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบในแนวต้านทาน  ถูกจับและส่งตัวไปแวร์ซายล์และเสียชีวิตที่นั่น)

ทางด้านตะวันออกของปารีสซึ่งเป็นเขตพำนักของชนชั้นคนงานที่ยากจน   การสู้รบยังคงดำเนินไปอย่างเหนียวแน่นรุนแรงตามถนน  ตรอก  ซอก  ซอย   ทั้งหลาย  การต่อสู้ครั้งนี้ได้เป็นที่ เรียกขานในภายหลังว่า ลา  เซอร์แมง  ซองกลองเตอะ (สัปดาห์เลือด)  วันที่  ๒๔ พฤษภาคม  ในเขตเบลเลอวิวว์ เมนิลมองตอง ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของคนจนยังคงมีการต่อต้านอย่างประปราย      การต่อต้านจบสิ้นลงในช่วงบ่ายถึงเย็นของวันที่  ๒๘ พฤษภาคมที่แนวต้านสุดท้ายบนถนน รัมปองโน ในเขตเบลเลอวิลล์จอมพล แมคมาฮอน  ได้มีประกาศถึงชาวเมืองปารีสว่า  “บัดนี้กองทัพฝรั่งเศสจะปกป้องพวกท่านทั้งหลาย  ปารีสได้รับการปลดปล่อยแล้ว   ในเวลา  16 น. ทหารของเราได้ยึดที่มั่นสุดท้ายของผู้ก่อจลาจลได้แล้ว  และการสู้รบได้สิ้นสุดลง    ความสงบเรียบร้อย  การทำงาน และความปลอดภัยจะกลับมาเหมือนเดิม”     การตอบโต้ด้วยกำลังทหารบัดนี้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้ว    ผู้ใดให้การสนับสนุนคอมมูนไม่ว่าด้านใดๆ  ถือเป็นอาชญากรทางการเมือง  ซึ่งคนจำนวนหมื่นจะถูกตั้งข้อกล่าวหา  ชาวคอมมูนส่วนหนึ่งถูกยิงเป้าโดยหันหลังพิงกำแพง   ซึ่งบัดนี้รู้จักกันในนาม ”กำแพงของชาวคอมมูน” ซึ่งอยู่ที่สุสาน แพร์ ลาเช   หลายหมื่นคนในจำนวนนั้นได้ถูกตัดสินโทษโดยศาลทหารซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่าถูกกฎหมายหรือไม่และหลายคนถูกยิงเป้า   

การสังหารหมู่ในหลายแห่งถูกกล่าวขวัญกันในทางลบเช่นที่ สวนสาธารณะ ลุกเซ็มบูร์ก  และที่ค่ายทหาร โลโบ   หลังโรงแรม เดอวิลล์    ในทุกๆวันคนเกือบสี่หมื่นคนที่บาดเจ็บหิวโหยถูกกวาดต้อนเป็นขบวนเดินเท้าไปยังแวณ์ซายล์เพื่อไต่สวนคดีอย่างไม่ขาดสาย     มีทั้งขบวนของผู้ชาย  ผู้หญิง และเด็ก  ไปยังคุกชั่วคราวที่แวร์ซายล์ภายใต้การควบคุมของกองทัพ    หลังจากการพิจารณาคดีไปแล้ว 1,200 คน    10,000 คนมีความผิด   23 คนถูกประหารชีวิต  คนจำนวนมากถูกตัดสินจำคุก   4,000 คนถูกเนรเทศไปใช้ชีวิตที่หมู่เกาะ นิว คาเลโดเนีย  (ซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในมหาสมุทรปาซิฟิก)  จำนวนคนที่เสียชีวิตในสัปดาห์เลือดไม่อาจประเมินได้อย่างถูกต้องแน่นอน   แต่มีการประมาณการว่าอยู่ระหว่าง  10,000 ถึง  50,000 คน    เบเนดิค แอนเดอร์สัน (Benedict Anderson)  ประเมินว่า   “ 7500 คน ถูกจำคุกหรือเนรเทศไปยังอาณานิคมและ อย่างน้อย    20,000 คนถูกประหารชีวิต

หนึ่งในบรรดานายพลของ ติเยร์ ที่มีส่วนในการล้อมปราบคือ มาควิส เดอ กาลลิฟเฟต์ ผู้มีฉายาว่า “ปืนแห่งคอมมูน” ซึ่งภายหลังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาล  “พิทักษ์ส่ธารณรัฐ” ของ วาลเดกซ์- รุซโซ       หลังการสังหารหมู่ ติเยร์ส กล่าวว่า “บนพื้นกระจัดกระจายไปด้วยซากศพ คงจะ เป็นบทเรียนที่น่าสะพรึงกลัว”   อัลเฟรด คอบบาน ประเมิน ว่า   30,000 คนถูกฆ่า  บางทีอาจมากถึง    50,000 คนที่ถูกประหารและถูกจำคุก    70,000 คนลี้ภัยไปยัง  นิว คาลิโดเนีย  คนมากกว่าหมื่นคน โดยส่วนมากเป็นผู้นำชาวคอมมูน  ที่หลบหนีไปยัง เบลเยี่ยม  สหราชอาณาจักร( 3,000 -4,000 คนหลบอยู่ตามท่าเรือ ในฐานะผู้อพยพลี้ภัย) อิตาลี เสปน และสหรัฐอเมริกา    การอพยพลี้ภัยและการเดินทางรุ่นสุดท้ายได้รับการอภัยโทษในปี 1880    ภายหลังบางคนกลายเป็นนักการเมือง   สมาชิกสภาแห่งนครปารีส  เป็นวุฒิสมาชิก    ในปี 1872 สภาได้ยกเลิกกฎหมาย ที่ห้ามฝ่ายซ้ายดำเนินการทางการเมืองและก่อตั้งสมาคม   ส่วนกฎหมายนิรโทษกรรมนั้นออกเมื่อปี 1880  ยกเว้นผู้ที่ถูกพิพาก ษาโทษในคดีลอบสังหารและวางเพลิง  ปารีสยังคงอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกต่อไปอีกห้าปี

หวลรำลึก
คาร์ล มาร์กซ  ได้ค้นพบสาเหตุของความถดถอยของชาวคอมมูนที่ต้องสูญเสียช่วงจังหวะเวลาอันล้ำค่าไปจากการลงคะแนนเลือกผู้บริหารแทนที่จะเข้าโจมตีรัฐบาลแวร์ซายอย่างฉับพลัน     ธนาคารแห่งชาติฝรั่งเศสในนครปารีสมีเงินสะสมอยู่หลายพันล้านฟรังค์    ถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครชาวคอมมูนเข้าไปดูแลแตะต้อง     พวกเขาเรียกร้องขอกู้เงินจากธนาคารทั้งๆที่สามารถได้มาอย่างง่ายดาย   ชาวคอมมูนเพียงแต่ยึดโรงผลิตกษาปณ์และผลิตเหรียญ 5 ฟรังค์  (ที่มีตราสัญลักษณ์เป็นรูปฉมวกสามง่าม) ซึ่งหายากมากในปัจจุบันออกมาใช้ที่พวกเขาไม่เข้ายึดทรัพย์สินของธนาคารแห่งชาติ เป็นเพราะเกรงจะถูกประ ณาม     ดังนั้นเงินจำนวนมหาศาลจึงถูกขนจากปารีสไปยังแวร์ซาย...เงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในการบดขยี้คอมมูน  ชาวคอมมิวนิสต์   ชาวสังคมนิยมปีกซ้าย   กลุ่มอนาธิปไตย  และกลุ่มการเมืองอื่นๆ   ต่างมีความเห็นว่าคอมมูนเป็นรูปแบบสำหรับของสังคมที่ปลดปล่อยแล้วในอนาคตพร้อมกับเป็นระบบการเมืองที่มีความเป็นประชาธิปไตยในระดับพื้นจากของการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับรากหญ้า  มาร์กซ  เองเกลส์  บาคูนิน  ตลอดจน เลนินและทรอตสกี  กระทั่งเหมาเจ๋อตุง  ต่างพยายามจะถอดบทเรียนที่สำ คัญทางทฤษฎี (โดยเฉพาะพิจารณาในแง่ของเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ และการสูญสลายของรัฐ) จากประสบการณ์ที่มีอย่างจำกัดของคอมมูน   ยิ่งเน้นถึงการถอดบทเรียนจากการปฏิบัติที่  เอ็ดมอนด์  เดอ  คองคอร์ท  ได้จดบันทึกไว้ใน “สามวันหลังจากสัปดาห์แห่งการนองเลือด” ว่า....เลือดยังคงหลั่งต่อไป   จะหลั่งต่อไปอีกจากการเข่นฆ่าประชาชนที่มีส่วนร่วมในการต่อสู้จนกว่าจะถึงการปฏิวัติในครั้งหน้า...สังคมเก่าให้สันติภาพได้เพียงยี่สิบปีก่อนหน้านี้”

จุลสารเรื่อง ”สงครามกลางเมืองฝรั่งเศส”( The Civil War in France 1871) ที่คาร์ล มาร์กซเขียนขึ้นในระหว่างที่ก่อตั้งคอมมูน  ได้สดุดีความสำเร็จของคอมมูนและอธิบายว่ามันคือต้นแบบสำหรับรัฐบาลปฏิวัติในอนาคต ”ในที่สุดก็ค้นพบรูปแบบ”  ในการปลดปล่อยของชนชั้นกรรมาชีพแล้ว    มาร์กซเขียนว่า: คนงานแห่งนครปารีสและคอมมูนของพวกเขาจะได้รับการแซ่ซ้องตลอดไป   ในฐานะที่เป็นผู้สร้างสังคมใหม่อันรุ่งโรจน์ไว้ล่วงหน้า       บรรดาผู้ที่อุทิศชีวิตทั้งมวลจะถูกจดจารึกไว้ในดวงใจที่ยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมกร      ประวัติศาสตร์ของผู้ทำลายจะตอกย้ำไปตลอดกาลว่าการสวดอ้อนวอนร้องขอจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆเลย”

ฟรีดดริค เองเกลส์ ได้ตอกย้ำความคิดนี้   ต่อมาได้เสริมในกรณีที่(คอมมูน)ไม่มีกองทัพในการป้องกันของตนเองมีแต่การจัดกำลังตรวจตราประจำท้องที่เท่านั้น   และ..คอมมูนไม่มีลักษณะความเป็น ”รัฐ” ในความหมายเดิมที่มีอำนาจในการปราบปราม     มันเป็นเพียงแค่ช่วงระยะของการเปลี่ยนผ่าน    ภายหลังเลนินและบอลเชวิคได้ให้คำนิยามว่า:คอมมูนก็คือรูปแบบแรกสุดของเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ  นั่นหมายถึงว่ารัฐที่ดำเนินการโดยคนงานเพื่อผลประโยชน์ของคนงาน   แต่มาร์กซและเองเกลส์  ไม่ได้ให้คำวิจารณ์ที่ละเอียดมากไปกว่านี้        การแตกแยกระหว่างนักลัทธิมาร์กซและนักลัทธิอนาธิปไตยที่เกิดขึ้นในการประชุมสภาคนงานสากล (สากลที่หนึ่ง) ที่กรุงเฮกเมื่อปี 1872  น่าจะมาจากท่าทีของมาร์กซที่ยืนยันความเห็นของตนว่าคอมมูนควรมีการป้องกันตัวเอง   ต้องมีการจัดการอย่างจริงจังกับพวกปฏิกิริยา   การก่อตั้งกองกำลัง   และการตัดสินใจแบบรวมหมู่     มุ่งไปสู่ทิศทางของการปฏิวัติ ฯลฯ     การไม่ลงรอยเรื่องอื่นๆคือนักสังคมนิยมที่ต่อต้านเผด็จการไม่เห็นด้วยกับแนวคิดคอมมิวนิสต์ในการเผด็จอำนาจชั่วคราวในระยะเปลี่ยนผ่านของรัฐ  (นักอนาธิปไตยชอบที่จะดำเนินการหยุดงานทั่วไปและล้มล้างรัฐโดยทันที    โดยกระจายอำนาจแบบไม่มีการรวมศูนย์ของกรรมกรอย่างที่คอมมูนได้เคยกระทำ)   ปารีสคอมมูนได้ถูกกล่าวถึงด้วยความเคารพจากบรรดาผู้นำฝ่ายซ้ายทั้งหลาย   เหมาได้อ้างถึงบ่อยครั้ง  เลนินตลอดจนถึงมาร์กซ  ได้จัดให้คอมมูนเป็นตัวอย่างตลอดกาลของ  “เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ”  

นิคารากัว...ตอนที่ 2

นิคารากัว....ตอนที่สอง

หลังจากได้อำนาจรัฐ ซานดินิสต้าได้เสนอโครงการปฏิรูปที่ก้าวหน้าออกมาหลายอย่าง  แต่ไม่เคยทำอะไรอย่างจริงจังต่อปัญหากรรมสิทธิ์ในเรื่องปัจจัยการผลิต  โดยยอมให้เศรษฐกิจระดับที่สำ คัญยังคงอยู่ในมือของเอกชน       ปล่อยให้พวกอนาธิปไตยท้องถิ่นและจักรพรรดินิยมใช้เป็นเครื่อง มือในการบ่อนทำลายการปฏิวัติจนถูกพิชิตในที่สุด

ปฏิรูปหรือปฏิวัติ: พื้นฐานของรัฐ

ชนชั้นกรรมกรจำนวนหมื่นแสน ทั้งชายและหญิงได้รับโอกาสที่ดีอย่างฉับพลันจากชัยชนะในการปฏิวัตินิคารากัวปี 1979   เรียกร้องการมีรายได้ที่ดีขึ้นเพื่อทดแทนค่าจ้างที่ได้สูญเสียไปในระหว่างการปฏิวัติ ชนชั้นนายทุนก็ตระเตรียมฉวยโอกาสในบรรยากาศใหม่ทางการเมืองที่ซานดินิสต้าเริ่มเข้าบริหารประ เทศหลังจากประชาชนได้ขับไล่โซโมซ่าออกไปแล้ว
ปัญหาอยู่ที่ว่าภววิสัยในนิคารากัว   ไม่เหมือนรัสเซียระหว่างปี 1905-1917    ไม่มีกองกำลังองค์กรอิสระใดๆของชนชั้นกรรมกรที่ได้จัดตั้งขึ้นในเมืองเลยในช่วงของการปฏิวัติ     ดังนั้นหลังชัยชนะจึงได้เกิดสุญญากาศทางอำนาจขึ้น      และถูกเติมให้เต็มด้วยกำลังนักรบกองโจรของ FSLN  และตัวแทนของชนชั้นนายทุนในชนบท

พื้นฐานของอำนาจใหม่   ที่ควรจะเป็นความร่วมมือของตัวแทนกรรมกร ชาวนา(ตัวแทนประชาธิปไตยที่แท้จริงของชนชั้นกรรมาชีพ)      กลับถูกแทนที่ด้วยพื้นฐานโครงสร้างใหม่ของรัฐด้วยการสืบทอดอำนาจของตัวแทนกองทัพเหมือนการปฏิวัติคิวบา   จากมุมมองของนักลัทธิมาร์กซเห็นว่า   ปัญหารูปแบบของการจัดองค์กรที่ไม่อนุญาตให้มวลชนมีส่วนร่วมตัดสินใจในกระบวนการต่างๆเช่น  การเลือกตั้ง  การสรรหาผู้นำและอื่นๆ     หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือมันไม่อนุญาตให้มีการควบคุมรัฐและเครื่องมือของรัฐโดยมวลชนนั่นเอง    จุดแข็งของประชาธิปไตยชนชั้นกรรมาชีพที่เปรียบเทียบกับระบอบอื่นได้ถูกขว้างทิ้งไปโดยการปฏิวัติที่ต่างเป้าประสงค์    โดยการไม่ใช้กลไกของประชาธิปไตย  ชนชั้นกรรมาชีพไปต่อต้านการพัฒนาไปสู่ลัทธิขุนนาง

เลนินได้อธิบายว่าในกรณีที่จะรักษาการปฏิวัติไว้  “อำนาจต้องเป็นของประชาชน”   ท่านไม่เคยพูดถึง "อำนาจพื้นฐาน" โดยทั่วไป (ที่ไม่มีการจัดตั้ง)ในงานนิพนธ์ของท่านเช่น  รัฐและการปฏิวัติ,  นิพนธ์เดือนเมษายน(April Thesis)  และ    “ความหายนะที่จะเกิดขึ้นและวิธีต่อสู้กับมันอย่างไร”  (The impending catastrophe and how to fight it,)     ฝ่ายนำบอลเชวิคได้พัฒนาลัทธิมาร์กซขึ้นมาภายใต้ประสบการณ์อันรุ่งโรจน์ของการปฏิวัติ

ชนชั้นกรรมกรไม่อาจใช้กลไกรัฐของชนชั้นนายทุนมาปกครองได้     กองทัพของนายทุน  ระบอบรัฐสภา   สถาบันทางอุดมการณ์ทั้งมวล   มีไว้เพื่อคงความเป็นเผด็จการของชนชั้นนายทุนเอาไว้    เป็นเครื่องมือหลักของชนชั้นนี้ที่ใช้ปกครองชนชั้นกรรมกรและผู้ถูกกดขี่ทั้งมวลในสังคม    รัฐชนชั้นนายทุนไม่เหมาะสำหรับอำนาจทั่วไปเพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นการมีส่วนร่วมที่แท้จริงใดๆของคนส่วนใหญ่อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

เราจะอาศัยอะไรไปเอาชนะชนชั้นนายทุนและยุติระบบเศรษฐกิจ,ระบบการปกครองที่หนุนหลังโดยกองทัพของมัน     เพื่อจะสถาปนาโครงสร้างสังคมพื้นฐานที่แท้จริงจากการบริหารจัดการในรูปแบบสามัญที่เกิดขึ้นจากการดิ้นรนต่อสู้ของชั้นกรรมกรจะต้อง
1)  อำนาจทั้งหมดจะต้องอยู่ในมือของคณะกรรมการปฏิวัติ  ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งใน เขตปกครองระดับเมืองและในขอบเขตทั่วประเทศ กล่าวคือ
-   อำนาจ ทั้งหมดในโรงงาน บริษัท สื่อต่างๆต้องถูกควบคุมโดยคณะกรรมการที่มาโดยการเลือกตั้งจากชุมชนกรรมกรที่ปฏิวัติในแต่ละภาคส่วน
-   อำนาจทั้งหมดของรัฐจะต้องขึ้นอยู่ภายใต้การบัญชาขององค์กรปฏิวัติที่มาจากการเลือกตั้ง ชี้แจงได้  และยกเลิกได้โดยคณะกรรมการของกรรมกร  ชาวนา    ที่แยกออกจากชนชั้นนายทุน   ไม่ว่าจะเป็นรัฐสภานายทุน  รัฐบาลแบบนายทุนและระบบศาลของพวกเขา
-   ตัวแทนและผู้แทนทั้งหลายจะต้องมาจากการเลือกตั้ง    จะถูกปลดหรือยกเลิกตำแหน่งได้จากผู้ลงคะแนนที่เลือกตั้งเขาเข้ามาไม่ใช่จากผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว      และต้องไม่ได้รับค่าจ้างมากไปกว่าค่าจ้างเฉลี่ยของคนงาน   นี่คือหนทางที่จะต่อสู้กับระบอบขุนนาง (ในขบวนการปฏิวัติ)
2) กองทัพต้องประกอบด้วยลักษณะประชาชาติ     ประกอบด้วยชนชั้นกรรมกรและชาวนาจนโดยพื้น ฐาน    แทนกองทัพอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ถูกกีดกันและแยกออกจากประชาชนด้วยกำแพงของป้อมค่าย
-   นายทหารจะต้องมาจากการเลือกตั้ง  และปลดเป็นกองหนุนตามตำแหน่งเดิม   ควบคุมโดยคณะกรรมการปฏิวัติของมวลชนกรรมกรชาวนา   ตามเขตเลือกตั้งทั้งในเมืองและชนบท
-   อาวุธยุทโธปกรณ์ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการปฏิวัติที่มาจากเขตการเลือกตั้งของ  หมู่บ้าน โรงงาน และทหารจะต้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการด้วย
3) กิจการอุตสาหกรรม  และบริษัท ที่มีความสำคัญใดๆ  ซึ่งถูกแปรให้เป็นกิจการแห่งชาติต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกรรมกร    และต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าของเดิมและบรรดาผู้ร่วมลงทุนตามความจำเป็นที่แท้จริง
-   บรรดาธนาคาร  บริษัทประกันภัย  บริษัทก่อสร้าง  จะต้องรวมบรรดาธนาคารเอกชนและธนาคารต่างชาติเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวในนามธนาคารแห่งชาติ  ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐแห่งชนชั้นกรรมาชีพ
-   ควบคุมสินค้าต่างประเทศและรวมศูนย์ที่ดินจากเจ้าที่ดินรายใหญ่

สถานการณ์ของนิคารากัวภายหลังการปฏิวัติ   
พนักงานของรัฐทั้งที่เป็นสมาชิกและที่ไม่ใช่สมาชิกของแซนดินิสต้า  มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 6-7เท่ามากกว่าคนงานพื้นฐาน   กว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนว่างงาน ผู้จัดการอุตสาหกิจเอกชนได้รับค่าจ้างมากกว่าคนงานพื้นฐานกว่า 20 ถึง 25 เท่า    ธนาคารที่ขาดเงินทุนสำรองและกำลังอยู่ในภาวะล้มละลายถูกแปรรูปให้เป็นของรัฐ     รัฐประเมินหนี้สินของบริษัทเอกชนเช่นธนาคารต่างๆ มีหนี้เสียถึง 1800 ล้าน ดอลลาร์ ซึ่งพอๆกับของบริษัทเอกชน    โดยเฉพาะบริษัทในเครือของตระกูลโซโมซ่าที่ถูกแปรรูปให้เป็นของรัฐ (มีถึง25%ในระบบเศรษฐกิจของนิคารากัว)    โรงงานเหล่านี้ถูกทิ้งร้างจนเสื่อมสภาพไปเรียบร้อยแล้ว     

ภาระการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศถ้าไม่ถูกเพิกเฉยหรือไม่ก็ถูกยกเลิกเอาดื้อๆ     คนงานถูกกีดกันออกไปจากการควบคุม และตัดสินใจร่วมในระบบเศรษฐกิจหลักๆ
กลไกของระบบโซโมซ่า และกองกำลังติดอาวุธ(the National Guard) ถูกกวาดล้างไปแล้วจากการปฏิวัติ   สภาวะการนำของ FSLN ได้ก้าวเข้ามาแทนในความว่างเปล่านี้     หลายเดือนก่อนที่จะได้อำ นาจรัฐ    คณะผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดในคณะกรรมการสร้างชาติ  ทำตัวเป็นนายหน้าให้กับนายทุนชาติและต่างชาติจาก คอสตาริกา และเวเนซูเอลา      ที่หลายเดือนก่อนหน้าการปฏิวัติได้แสดงความบ้าคลั่งในข้อตกลงที่เกี่ยวพันกันในการพบปะเจรจาในต่างประเทศระหว่างตัวแทนของฝ่ายนำ FSLN กับนายทุนนิคารากัวและรัฐบาลนายทุนของ คอสตาริก้า ปานามา เวเนซูเอลล่า และเม๊กซิโก

เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักของทุกฝ่าย(รวมถึง FSLN ด้วย)   ได้ทำการเจรจากันถึงโฉมหน้าใหม่ของประเทศ  เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เมื่อมวลชนชาวนิคารากัวได้ถอดโซ่ตรวนของทุนนิยมออกหลังจากโค่นโซโมซ่าลงไปแล้ว    นายพล โอมาร์ ทอร์ริโฮ จากปานามาได้ส่งหน่วย ”พิทักษ์ชาติ”มาร่วมเคลื่อนไหวกับ FSLN เป้าหมายก็คือเพื่อให้ความมั่นใจแก่ชนชั้นนายทุนและคงไว้ซึ่งโครงสร้างของข้ารัฐการขุนนางของกองทัพใหม่    ด้วยการช่วยเหลือสนับสนุนด้านการขนส่งลำเลียง  กำลังพล  ในการรุกขั้นสุดท้ายของซานดินิสต้า  กองกำลังที่ตั้งขึ้นในขณะที่ดิ้นรนต่อสู้ถูกยกเลิกจากคำสั่งของส่วนกลาง   ซานดินิสต้าได้เบี่ยงเบนไปตามแรงกดดันของนายทุนชาติและนายทุนต่างชาติ
ชนชั้นปกครองต่างหวาดกลัวต่อกองกำลังปฏิวัติ   เพราะสิ่งนี้จะสร้างความเสียหายและทำลายปัจจัยแห่งการกดขี่ของรัฐของชนชั้นนายทุนจากการปฏิวัติ    การปลดอาวุธประชาชนเป็นเรื่องแรกๆในการสถาปนา ”รัฐประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน”  ของรัฐบาลสร้างชาติที่นำโดยขบวนการซานดินิสต้า
วันที่ 27 กรกฎาคม หลังจากการเข้ายึดครองเมืองหลวงมานากัวของกองกำลังซานดินิสต้า  ประธาน ฮุมแบร์โต้ ออร์เตก้า  ได้ประกาศรวมกองทัพประชาชนเข้ากับกองทหารเดิมของรัฐตามคำแนะนำของหน่วยพิทักษ์ชาติของปานามา   ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้กองทหารของรัฐเก่าได้รับการฝึกฝนจากนายทหาร สหรัฐฯและหน่วยสืบราชการลับ CIA    เขายังได้สร้างกำลังตำรวจของซานดินิสต้ามีหน้าที่ดูแลความสงบจากคณะกรรมการป้องกันซานดินิสต้า

ข่าวความสำเร็จของการปฎิวัติได้ถูกกระจายเผยแพร่ไปทั่วประเทศ   พลังที่ปลุกระดมชาวนายากจนและกรรมกรในชนบทให้ลุกขึ้นมาสนับสนุนการปฏิวัติ   แรกสุดคือความต้องการได้เป็นเจ้าของที่ดินทำกินแต่ก็ถูกคณะผู้นำสูงสุดยับยั้งไว้   กระทั่งใช้กำลังตำรวจซานดินิสต้าที่ตั้งขึ้นใหม่ไปเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวชาวนาให้สละการถือครองที่ดิน     เพื่อทำเรื่องนี้ให้กระจ่างรัฐมนตรีเกษตรและปฏิรูปได้เข้ามาแทรกแซงและออกคำสั่งมิให้ผู้ใดยึดครองที่ดินโดยพละการไม่ว่าจะเป็นที่ดินรกร้างก็ตาม   เพราะรัฐรัฐมนตรีจะได้จัดเตรียมที่ดินให้เมื่อถึงโอกาสเหมาะสม

31 กรกฎาคม วีลล๊อค หนึ่งในผู้นำซานดินิสต้าได้แถลงว่า  “เราไม่ต้องการให้เกิดระบอบเสรีนิยมขึ้น  เราคือผู้ยึดถือความจริง”    ในปี 1981 ซาเวียร์   โกโรสติอากา รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนได้ยอมรับว่า “คนส่วนน้อยมากที่จะรู้ความจริงว่า  80%  ของผลผลิตทางเกษตรกรรม   เช่นเดียวกับผลิตผลทางอุต  สาหกรรม 75% อยู่ในมือของเอกชน   เอกชนซึ่งควบคุมผลิตผลฝ้ายถึง 72%  กาแฟ 53%  เนื้อสัตว์ 58%  น้ำตาล  51% ในขณะที่ชาวนา 200,000 คนครอบครองที่ดินเพียง14% เท่านั้น   มันเป็นความจริงที่ว่า      ในขั้นตอนนี้ชาวนาและผู้ใช้แรงงานในภาคเกษตรทั้งหลายได้ตระหนักว่าผู้นำของ FSLN นั่นแหละเป็นผู้ที่ฉุดดึงการปฏิวัติ

ฝ่ายนำของแซนดินิสต้าบริหารประเทศร่วมกับ “ชนชั้นนายทุนชาติผู้ร่ำรวย”มาตั้งแต่เดือนแรกของการปฏิวัติ  อย่างไรก็ตามวิกฤติเศรษฐกิจที่เลวร้ายยังคงดำเนินต่อไปอีก   แต่สำหรับชนชั้นนายทุนซึ่งบัดนี้มีความแน่ใจว่าฝ่ายนำของ FSLN ได้หยุดการปฏิวัติแล้ว    และได้ทิ้งปัญหาทางเศรษฐกิจไว้ให้ซานดินิสต้า เป็นผู้คลี่คลาย     การเคลื่อนไหวเบื้องแรกของFSLNในรัฐบาลฟื้นฟูชาติ( ด้วยจำนวนคนเพียงห้าคน)  ที่เป็นคณะกรรมการแห่งรัฐ   นี่คือรูปลักษณ์ของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนประกอบขึ้นจากสมาชิก 33 คนได้รับการแต่งตั้งจากทุกภาคส่วนสังคม  กลุ่มการเมือง  และสหภาพแรงงาน  ซึ่งเป็นกลุ่มพลังที่ยอมรับการนำของซานดินิสต้า    ในปี1984 รัฐสภานี้ได้แปลงไปเป็น”สมัชชาแห่งชาตินิคารากัว” ซึ่งเป็นสภาของชนชั้นนายทุนปีกซ้ายที่ครองเสียงส่วนใหญ่

ในรูปแบบเช่นนี้ ฝ่ายนำของ FSLN ได้รักษารูปแบบรัฐสภาและโครงสร้างรัฐบาลของรัฐนายทุนเอาไว้    อำนาจของฝ่ายบริหารถูกรวมศูนย์อยู่ในมือของผู้อำนวยการแห่งชาติซึ่งดำรงตำแหน่งโดยประธานา ธิบดีของสาธารณรัฐ     ในปี 1984 ประชาชนมากกว่า 80%ที่มีอายุเกิน 16 ได้รับสิทธิ์เลือกตั้ง   ผลการเลือกตั้งมวลชนได้ลงคะแนนให้การสนับสนุน FSLN อย่างท่วมท้น
เล่ห์กลการหลอกลวงของจักรพรรดินิยมอเมริกา  ไม่ได้จำกัดแม้แต่จากการสร้างทัศนะประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนเท่านั้น   ยังใช้วิธีเก่าแก่ดั้งเดิมนี้มากล่าวโทษเรื่อง”การกดขี่ในนิคารากัว”อีกด้วย

นิคารากัวคือประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่สุดในอเมริกากลาง

อาร์ทูโร  ครุซ     หัวหน้ากลุ่มสมานฉันท์ประชาธิปไตยแห่งชาติ CDN (National Democratic Coordination) ได้ร่วมกับประชาชนกลุ่มต่างๆเพียงในระยะแรกของรัฐบาลซานดินิสต้าเท่านั้น   สองสามเดือนต่อมาเขากลับเข้าร่วมกับขบวนการ”คอนทรา”ที่ต่อต้านการปฏิวัติและวิพากษ์การเลือกตั้งปี 1984 ว่าเป็นการต่อต้านประชาธิปไตย(ที่เราได้เห็นตัวอย่าง เวเนซูเอลลาในปัจจุบันนี้)  ชนชั้นนายทุนไม่เคยยอมรับรัฐบาลซานดินิสต้าโดยดุษฎีเพราะว่าไม่ใช่รัฐบาลของพวกเขา  และไม่อาจวางใจต่อการ บริหารประเทศว่าจะเป็นไปตามความปรารถนาของพวกเขาหรือไม่      ซานดินิสต้าพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงกับชนชั้นนายทุนโดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ใดๆ       พยายามเชื่อในคำเล่าขานเกี่ยวกับ    ”ชนชั้นนายทุนที่ก้าวหน้า” ซานดินิสต้าได้ให้ความสำคัญในบทบาทนี้เหนือกว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ไม่เพียงแต่ซานดินิสต้าจะสูญเสียอำนาจในทางการเมืองให้แก่ชนชั้นนายทุนเท่านั้น   ยังให้ดุลอำนาจชี้ขาดทางกำลังอาวุธตกไปอยู่ในมือของพวกนายทุน  ที่จะใช้บ่อนทำลายชัยชนะของการปฏิวัตินิคารา กัวอีกด้วย     ในขณะที่รัฐบาลกำลังให้การอุ้มชูสนับสนุนธุรกิจภาคเอกชน  เกื้อหนุนด้วยการลดภาษีเพื่อแสวงหาความร่วมมือ   พวกนายทุนต่างก็รวมหัวกันคว่ำบาตรต่อต้านและหนุนช่วยขบวนการคอน ทรา ที่เป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ

เมื่อปี 1977  รายได้สาธารณะมีเพียง  14% ของผลผลิตมวลรวมของชาติ   ได้เพิ่มขึ้นเป็น 41% ในปี 1980  หลังจากได้นำมาตรการเวนคืนทรัพย์สินบางอย่างออกมาใช้ โดยเฉพาะทรัพย์สินของตระกูลโซโมซ่า       อย่างไรก็ตามหกปีหลังการปฏิวัติ(ปี 1985) ปริมาณการผลิตในชาติทำได้เต็มที่เพียง 60%เท่านั้น   ในปี 1981 ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศที่รวมกันแล้วมีถึง 40% ของรายได้จากการส่งออก   จากฐานการผลิตที่แคบอยู่แล้วก็พลอยหดตัวไปตามตามขนาดของนิคารากัว  น้อยกว่าแม้กระทั่ง  คาราคัส  และ ฮาวานา  นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า   ความต้องการที่แท้จริงของการปฏิวัติคืออะไร?      คือต้องขจัดบทบาทของชนชั้นนายทุนให้หมดไป  แล้วยกระดับความสัมพันธ์กับคิวบาให้มากขึ้น   แต่โชคไม่ดีที่มอสโคว์เล่นบทบาทด้านลบต่อเรื่องนี้       มองว่าการปฏิวัตินิคารากัวเป็นเรื่องภายในของซานดินิสต้า    และไม่มีนโยบายช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ FSLN.ทางฮาวานาเองก็ขึ้นต่อและดำเนินนโยบายตามรัสเซียอย่างสุดขั้ว   

บทบาทของมอสโคว์และฮาวานา
ปัญหาใจกลางที่การปฏิวัติของนิคารากัวถูกทำลายลงก็คือ   การที่ขบวนการแซนดินิสต้าไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของชนชั้นนายทุน   ลัทธิขุนนางมอสโคว์จะต้องรับผิดชอบต่อการเสื่อมถอยการตกต่ำที่น่าเศร้านี้     สหภาพโซเวียตพอใจที่จะปล่อยให้ปัญหานี้ให้เป็นไปตามทางของมันเอง    พวกเขาไม่เคยคำนึงถึงผลพวงที่จะหยุดยั้งกระบวนการทำลายการปฏิวัติในนิคารากัว    แม้กระทั่งการค้ากับนิคารากัวก็อยู่ในปริมาณจำกัด        เพราะมอสโคว์ไม่ต้องการมีปัญหากับผลประโยชน์ของจักพรรดิ์นิยมอเมริกาในภูมิภาคลาตินอเมริกาตามนโยบาย ”อยู่ร่วมกันโดยสันติ”  ซึ่ง เช เกอวาร่า  ก็ได้เคยวิจารณ์เรื่องนี้อย่างขมขื่นมาแล้วในอดีต    พวกเขาไม่เคยให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการเคลื่อนไหวปฏิวัติในลาติน อเมริกาเลย
ทำไมหรือ? ก็เพราะว่าลัทธิขุนนางโซเวียตหวั่นเกรงต่อการปฏิวัติที่กำลังเกิดขึ้นในทุกๆภูมิภาคของโลก  และความสำเร็จของการปฏิวัติจะทำให้ดุลกำลังระดับสากลแปรเปลี่ยนไป     ซึ่งจะส่งผลให้บรรยากาศ ”อยู่ร่วมกันโดยสันติ” ของพวกเขาและจักรพรรดิ์นิยมถูกทำลายลง      ลัทธิขุนนางมอสโคว์ชอบที่จะอ้างในก้าวไปสู่สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์       แต่ในความเป็นจริงพวกเขาไม่ต้องการเห็นลัทธิสังคมนิยมที่แท้จริงเลยไม่ว่าจะในบ้านของตนหรือในต่างประเทศ    รัฐบาลมอสโคว์ไม่ค่อยชอบ เช เกอวาร่า  และไม่สนับสนุนการปฏิวัติที่ต่างไปจากวิธีของตนในคิวบา     ในปี 1960 สองปีหลังจากคัสโตรก้าวขึ้นสู่อำนาจ   ลัทธิขุนนางโซเวียตได้บีบให้ยอมรับวิธีการขุดรากถอนโคนระบอบทุนนิยมในคิวบาอย่างเป็นสูตรสำเร็จ     ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้ทำลงไปก็คือการหยุดหยุดยั้งการขยายตัวของการปฏิวัติของประเทศที่เหลือในทวีปนี้

ปี 1979  และ 1980  เพื่อเกียรติภูมิของพวกเขา รัฐบาลคิวบาได้เรียกร้องและรณณรงค์ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนิคารากัว      พวกเขาได้มีการติดต่อเจรจากับประเทศทุนนิยมทั้งหลายในลาตินอเมริกาและทั่วโลกแม้แต่สหรัฐอเมริกาเอง    ไม่ใช่เป็นเรื่องประหลาดอันใดที่ไม่มีจีนและสหภาพโซเวียต    คิวบาพยายามกันนิคารากัวออกจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับค่ายโซเวียต  นี่คือรูปแบบที่แท้จริงที่กดดันซานดินิสต้าจำต้องรักษาความสัมพันธ์กับรัฐบาลนายทุนเสรีนิยมของกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและคาริบเบียนแทนการมีความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต   วันที่ 11 มกราคม 1985 ฟิเดล คัสโตร ได้ ให้สัมภาษหนังสือพิมพ์  บาริคาดา  สื่อกลางของ FSLN ว่า

“เมื่อวานนี้เราได้มีโอกาสรับฟังคำปราศรัยสหาย  แดเนียล ออร์เตก้า   และขอแสดงความยินดีต่อความจริงจังและรับผิดชอบของเขา   ที่ได้อธิบายถึงเป้าหมายจุดประสงค์ของขบวนการแนวร่วมซานดินิสตา ในทุกๆส่วน   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจแบบผสมผสาน,การเมืองแบบทวิภาคีและการออกกฎระเบียบ ในการลงทุนจากต่างประเทศ      ผมเข้าใจถึงแนวคิดของท่านที่ยังให้พื้นที่สำหรับระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสานอย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า     ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าการเป็นรัฐบาลที่รับใช้ผลประโยชน์ของนายทุน”
อะไรทำให้ผู้บัญชาการคัสโตร   ไม่กล่าวว่ารัฐบาลไม่ได้รับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพ     ในขณะเดียวกันก็ยอมให้ความสะดวกแก่จักรพรรดิ์นิยมเข้ามาจัดการกับระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ    ขณะที่ออกอากาศคำที่ปราศรัยอยู่     ขบวนแถวของเยาวชนและกองกำลังกรรมกรนิคารากัว   ก็เดินขบวนไปตามถนนของกรุงมานากัวตระโกนคำขวัญต่อต้านจักรพรรดิ์นิยมอย่างมีพลัง

ภาพจำลองของการขจัดการปฏิวัติแบบใหม่ในระดับสากล

หากจะไม่คำนึงถึงพฤติกรรมที่หลอกลวง(ของจักรพรรดิ์นิยม)     ทหารรับจ้างฟาสซิสต์ของขบวนการคอนทราไม่ใช่ตัวการทำลายการปฏิวัติ     การต่อต้านการปฏิวัติที่ไร้ศีลธรรมของขบวนการคอนทราได้ปิดฉากลงเมื่อกลางปี 1980       พบว่าสาเหตุแท้จริงที่บ่อนทำลายการปฏิวัติมีหลายประเด็นได้ประดังประเดเข้ามา    เช่นการตกต่ำของราคาน้ำมันและวัตถุดิบภายใต้การควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จของบรรษัทผูกขาดข้ามชาติ    บวกกับการบ่อนทำลายทั้งภายในและภายนอกของบรรดานายทุนนิคารากัวผู้ขายชาติ
ก่อนหน้าที่ซานดินิสต้าจะได้อำนาจ   สภาวะการครองชีพเริ่มตกต่ำ   อัตราเงินเฟ้อสูงถึง400% ในปี 1987  ส่งผลให้เกิดตลาดมืดที่มีผู้เกี่ยวข้องถึง 130,000 คนนับเป็น5%ของพลเมืองเลยทีเดียว   จึง     เป็นการอธิบายว่าทำไมกรรมกรต้องออกมาเคลื่อนไหวหยุดงาน   และทำไมถึงเกิดเหตุการณ์บุกปล้นพังร้านค้าในมานากัว    รัฐบาลตอบโต้ด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉินและยกเลิกสิทธิในการชุมนุมหยุดงาน    เหมือนเป็นการสนองตอบต่อการคุกคามของรัฐบาลสหรัฐฯที่นำโดย โรนันด์ เรแกน  ประเทศ   ถูกบีบให้ต้องใช้จ่ายเงินซื้ออาวุธเพื่อการป้องกันประเทศถึง 40% ของรายได้มวลรวมประชาชาติใน    ขณะที่ภาคเอกชนก็ได้ใช้มาตรการรณรงค์เรียกร้องให้ต่อต้านรัฐบาล

ประจวบกับนโยบายหาเสียงเลือกตั้งของ เรแกน  ที่ต้องการความร่วมมือจากสถานการณ์ทางสากล   นายทุนใหญ่ในสหรัฐได้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ในลาตินอเมริกาไปแล้ว   พวกเขาเห็นว่าบรรดาผู้ปกครองเผด็จการที่พวกเขาเคยให้ความสนับสนุนมาตลอดนั้นต่างถูกโค่นล้มลงไปแทบจะไม่หลงเหลือ    จึงหันมาให้การสนับสนุนบรรดานายทุนที่มีอิทธิพลครอบงำอยู่ในประ เทศต่างๆ    เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขาดแคลนผู้นำในการปฏิวัติ   ปลายปี 1980เป็นที่รู้โดยทั่วไปว่ารัฐบาลหุ่นในเอลซัลวา  ดอร์  โคลอมเบีย ได้หันมาสวมหน้ากากประชาธิปไตย    แต่เบื้องหลังของมันการฆ่าหมู่กรรมกร-ชาวนาก็ยังดำเนินต่อไป      บวกกับสถานภาพและอิทธิพลในระดับสากลของระบอบปกครองสตาลินก็เกิดวิกฤตอย่างหนัก

ในยุโรปการเคลื่อนไหวต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรและบรรดาเยาวชนได้สงบลงชั่วคราวเช่นเดียวกับในสหรัฐฯ ซึ่งก็เป็นเพียงความเงียบงันในขณะหนึ่งเท่านั้น   ในเอเชียเผด็จการในฟิลิปปินส์ได้สิ้นสุดลงโดยการเดินขบวนของมวลชน     แต่ทฤษฎีสองขั้นตอนของการปฏิวัติ (ขั้นตอนแรกคือ การปฏิวัติประชาธิ ปไตยชนชั้นนายทุนที่นำโดยชนชั้นนายทุน      ขั้นตอนที่สองคือ การปฏิวัติสังคมนิยมโดยชนชั้นกรรมาชีพ) แบบเหมาอิสต์และสตานินนิสต์ทำให้สูญเสียโอกาสและประสบความล้มเหลวในหลายๆที่    

รัฐบาลใหม่ของชนชั้นนายทุน ควอรี่ อาคิโน  มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับรัฐบาลเรแกน   การสู้รบแบบกองโจรในอัฟ กานิสถานที่สหรัฐให้การหนุนหลังด้านการเงินโดยผ่านปากีสถานเพื่อก่อกวนกองทัพรัสเซีย   เศรษฐ  กิจโลกถดถอยซบเซา     ซานดินิสต้าต้องเผชิญกับการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนักของเรแกนที่เสริมความเข้มแข็งให้แก่ทหารรับจ้างคอนทรา 

ขวัญกำลังใจของประชาชนนิคารากัวตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว      ความคลางแคลงสงสัยไม่แน่ใจต่อรัฐบาลแซนดินิสต้าเริ่มเกิดขึ้นทีละน้อย    ผลจากการคุกคามขู่เข็ญของจักรพรรดิ์นิยมได้เกิดกระแสเคลื่อนไหวขึ้นในฝ่ายปีกซ้ายของซานดินิสต้าตระเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งภายใน    ปี 1989 อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นถึง 36,000% อย่างไม่อาจควบคุมได้     อัตราเฉลี่ยรายได้ต่อคนต่ำกว่าครึ่ง หนึ่งของปี 1977 สถานการณ์เข้าขั้นเลวร้ายถึงที่สุด  ฐานะของรัฐบาลแขวนอยู่บนเส้นด้าย  สวัสดิ    การสังคมถูกตัดทอนลงจนเกือบจะถึงจุดต่ำสุดในปี 1990  ซึ่งเป็นปีชี้ขาดการเลือกตั้ง

การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและค่ายตะวันออก ในปี1980 การระงับความช่วยเหลือส่งผลให้เกิดการขวัญเสียขึ้นกับฝ่ายนำของซานดินิสต้า    และเริ่มหันเหนโยบายการแก้ปัญหาไปทางขวา  ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจและการเมือง    ผลก็คือการปฏิรูปที่ดินอย่างขอไปทียังเป็นปมเงื่อนที่ค้างคาอยู่ภาย ใต้การกดดันของภาคเอกชน  การคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มเกิดขึ้นและขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง    แดเนียล ออร์เตก้า  ประธานแนวร่วมซานดินิสต้า  ได้หมดความชอบธรรมลงไปเมื่อหนังสือพิมพ์ราย วัน”ลูนิต้า” ของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีได้นำเสนอถ้อยแถลงของเขาว่า   “เรารักษาคำมั่นสัญญาของเราว่าจะดำรงระบบเศรษฐกิจผสมเอาไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้รูปแบบของสวีเดนคือแบบอย่างที่เราชาวนิคารากัวได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษ”(จากการให้สัมภาษของแดเนียล ออร์เตก้า เมื่อ 5 พฤษภา คม 1989)   แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า....สวีเดนเป็นรัฐที่มีความมั่นคงและศักยภาพมากกว่านิคารากัวและชนชั้นนายทุนสวีเดนนั้นมีบทเรียนมานานกว่าสามร้อยปี         ซานดินิสต้าจึงต้องสูญเสียอำนาจในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1990  มันเป็นการประท้วงต่อรัฐบาล FSLN  มันเป็นการลงคะแนนต่อต้านความหิวโหยและความขมขื่นของประชาชน  

การขาดวิสัยทัศน์ทางการเมืองของฝ่ายนำแซนดินิสต้าในอดีต   เผยให้เห็นสถานะภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน   จากการปราศรัยของ แดเนียล ออร์เตก้า เลขาธิการใหญ่ของ FSLN   ที่ส่งผลถึงการเลือกตั้งในปี1990 ซึ่งสหรัฐฯได้หว่านดอลล่าร์ให้แก่การโฆษณาต่อต้านขบวนการซานดินิสต้า     ออร์เตก้า กล่าวว่า “นอกเหนือไปจากความความตั้งใจจริงแล้ว  เรายังต้องใช้ความซื่อสัตย์เข้าไปต่อสู้กับการคอร์รัปชั่นซึ่งผู้กุมอำนาจ(นักการเมืองปีกขวา) ได้ก่อไว้ในปี 1990 หรือใน 1996 หรือใครก็ตามที่กำลังจะกระทำอยู่ในขณะนี้     นอกเหนือไปจากความพยายามทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับนิคารากัวความจริงอยู่ที่ว่าพวกเขาไม่มีความมั่นใจในขณะที่เผชิญหน้ากับชาวนิคารากัวกับแนวร่วมซานดินิสต้า  ที่ต่อสู้อย่างสง่างามในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  รักษาอธิปไตยทั้งทางสังคมและการเมือง    การจะทำเช่น นี้ได้เราจึงต้องการรัฐบาลที่บริการงานด้วยความยืดหยุ่น  เปิดใจกว้าง   และนอกเหนือสิ่งอื่นใด    ต้องประกอบด้วยจิตสำนึกแห่งเกียรติยศและความเป็นอิสระในการตัดสินใจ   ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งสุดท้ายก็คือรัฐบาลของเราจะต้องมีจิตสำนึกแห่งศักดิ์ศรีและความเป็นอิสระด้วย        

มันเป็นความเจ็บปวดและน่าละอายสำหรับเราที่ต้องกล่าวอะไรเช่นนี้แต่มันคือความจริง     เราปรารถนาที่จะเห็นรัฐบาลชุดปัจจุบันกอบกู้เกียรติยศ ศักดิ์ศรี  อย่างเร่งด่วนด้วยการเข้าไปแก้ปัญหาการผลิตต่างๆ  อาหาร  สุขอนามัยและการศึกษาของชาติ  นั่นจึงจะหมายถึงว่าได้สร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่นิคารากัว” (meeting in Managua, July 19, 2004). ภายหลังประสบการณ์ที่ขมขื่นจากการไร้ทิศทางและความอ่อนด้อยทางทฤษฎีลัทธิมาร์กซ   ผู้นำระ ดับสูงของแนวร่วมซานดินิสต้ายังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเพ้อฝันอยู่กับ ”นายทุนก้าวหน้าแห่งชาติ   ในประเทศที่พลเมืองกว่าครึ่งไม่มีงานทำและมากกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณต้องใช้ชำระหนี้ต่างประ เทศ   อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักการเมืองปีกขวาไม่สามารถทำลายลงไปได้คือวัฒนธรรมของการดิ้นรนต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรนิคารากัว     การต่อสู้ของ เอากุสโต เซซ่าร์ ซานดิโน  และชาวนิคารากัวผู้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิวัติทั้งมวลเป็นสิ่งที่ไม่เคยเหือดหายไปจากสายเลือดของประชาชนนิคารากัว     เมล็ดพันธ์ของการปฏิวัติจะงอกงามขึ้นอีกครั้ง      แม้ในเวลาที่การกฏิวัติได้ถูกแบ่งแยกโดยที่ผู้นำนัก ปฏิรูปยังกุมการเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิวัติซานดินิสต้าอยู่ก็ตาม

การหวนกลับของกระแสปฏิวัติโลก

การปฏิวัติของประชาชนเวเนซูเอลา  คือประสบการณ์อันโอชะที่จะแปรเปลี่ยนสถานการณ์ปฏิวัติในระดับสากล      ปัจจุบันนี้โลกทั้งโลกกำลังต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายกับจักรพรรดินิยม      ในระดับกว้างกำลังเป็นช่วงเวลาของการนำเสนอและการเกิดขึ้นของปัจจัยแห่งการปฏิวัติที่แตกต่างไปจากประ วัติศาสตร์การปฏิวัติของศตวรรษที่ผ่านมาได้แก่
1.การเปลี่ยนผ่านจากยุคสมัยของการพัฒนาพลังการผลิตที่ล่าช้าทางสากล ไปสู่ยุคใหม่แห่งวิกฤติของจักรพรรดิ์นิยมกำลังเริ่มขึ้น (เหมือนกับการไปสู่ทางตันในเวลาเริ่มต้นของศตวรรษที่ยี่สิบ)  สิ่งนี้ได้เป็นตัวกระตุ้นอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกกับภาพขยายของสงคราม การปฏิวัติ และการต่อต้านการปฏิวัติ

๒. ธรรมชาติที่ก้าวร้าวของจักรพรรดิ์นิยมอเมริกาประกอบกับการเสื่อมของฐานอำนาจ   ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจของสหรัฐฯได้ถดถอยลง    ประกอบกับจำต้องรักษาแนวร่วมระดับสากลของตนเอาไว้(คล้ายคลึงกับสถานการณ์สมัยพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนามและวิกฤติการณ์น้ำมันระหว่างปี 1973-75)

๓. การแบ่งขั้วทางสังคมและการฟื้นคืนชีพของการเคลื่อนไหวปฏิวัติทั่วทั้งลาตินอเมริกาเท่ากับเป็นการสิ้นสุดลงของสันติภาพและความมั่นคงในประเทศทุนนิยมที่กำลังพัฒนาทั้งมวล   นั่นย่อมหมายถึงว่ากระแสการระแวดระวังและต่อต้านจักรพรรดิ์นิยมมีความหนักหน่วงยิ่งขึ้น      
นี่ย่อมเป็นการชี้แสดงให้เห็นว่า  ได้มีปัจจัยใหม่ๆเข้ามาหนุนเสริมยกระดับการต่อสู้ทางชนชั้นให้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นได้แก่
๑. ความเข้มแข็งและเติบใหญ่ของชนชั้นกรรมกรทั่วโลก    ท่ามกลางปลักตมแห่งความทุกข์ยากได้เพิ่มมากขึ้นในสังคมที่มีอภิสิทธิ์ชนเพียงหยิบมือเดียว 
๒. ความมั่นคงของชนชั้นปกครองในเอเชีย อัฟริกา และลาตินอเมริกาได้เสื่อมถอยลงอย่างรวดเร็ว  “นายทุนชาติ” เหล่านี้  ได้ประสบกับความล้มเหลวในระหว่าง 50-100 ปีที่ผ่านมาในสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า”การพัฒนาประเทศ”

เราได้เข้าสู่ยุคสมัยของการปฏิวัติโลกที่แน่นอนแล้ว     เวเนซูเอลลาคือกองหน้าของกระบวนการนี้     เช่นเดียวกับที่นิคารากัวเคยเป็นเมื่อครั้งอดีตที่ ”คณะผู้ปรึกษา” นักลัทธิปฏิรูปได้แสวงหาหนทางที่จะนำการปฏิวัติถอยหลังกลับ        พวกเขาพูดว่าเราต้องใช้ลัทธิระบบเศรษฐกิจผสมนั่นคือเศรษฐกิจระ บอบทุนนิยม   พวกเขายังกล่าวอีกว่าต้องชะลอการปฏิวัติเอาไว้ก่อนเราต้องดัดแปลงบรรดานายทุน”ที่ก้าวหน้า” ทั้งมวล     นี่ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับนโยบายทั่วไปของนักลัทธิปฏิรูปเสียเหลือเกิน    อันเป็นการนำมาสู่การล่มสลายของการปฏิวัตินิคารากัว 

มีแต่ต้องอาศัยทฤษฎีปฏิวัติแบบลัทธิมาร์กซ    ที่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานจะต้องเรียนรู้จากบทเรียนการปฏิวัติในอดีตที่ผ่านมา        จะต้องเรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงความผิดพลาดล้มเหลวของการปฏิวัตินิคารากัวและการปฏิวัติที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆด้วย       มีแต่ยืนอยู่บนพื้นฐานเช่นนี้เท่านั้นเราจึงจะสามารถก้าวไปสู่ชัยชนะที่แท้จริงได้        จะต้องเน้นย้ำชัยชนะของการปฏิวัติรัสเซียและยืนหยัดสืบทอดแนวทางการปฏิวัติแบบลัทธิมาร์กซที่แท้จริงเอาไว้     ภาระหน้าที่ของเราคือการขจัดระบอบทุนนิยมแล้วเริ่มต้นก้าวเดินไปกับสหพันธ์สังคมนิยมเวเนซูเอลลาและคิวบา   ขยายการปฏิวัติไปให้ทั่วทั้งลาตินอเมริกาและที่อื่นๆ   
จบ