Monday, April 6, 2015

เลนิน บนเส้นทางปฏิวัติ (12)

เอเชียกลาง ปี 1918

เดือนกุมภาพันธ์ 1918 กองทัพแดงได้พิชิตเมืองโคลานในเขตปกครองตนเองเติร์กกิสสถานที่สนับสนุนพวกรัสเซียขาว    แม้การเคลื่อนไหวครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะทำให้อำนาจของบอลเชวิคเป็นปึกแผ่นขึ้นในแถบเอเซียกลาง   แต่ความยุ่งยากที่ตามมาก็คือการแทรกแซงของกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร   อังกฤษให้การสนับสนุนกองทัพขาวซึ่งเป็นการคุกคามกองทัพแดงเป็นอย่างมากในแถบภูมิภาคนี้ระหว่างปี 1918     สหราชอาณาจักรได้ส่งผู้แทนถาวรทางการทหารสามคนเข้ามาประจำในที่นี้ประกอบด้วยพันโท เบลลีย์  ซึ่งมีบันทึกว่าเป็นตัวแทนผู้ถูกกองทัพแดงขับไล่และหลบหนีไปยังทาชเคนท์     อีกคนหนึ่งคือนายพล มอลลิสัน  ในนามคณะผู้แทนมอลลิสันมาพร้อมกับกำลังทหารอังกฤษ-อินเดีย  ไปเป็นที่ปรึกษาของเมนเชวิคในเมือง อัชคาบาด (ซึ่งปัจขจุบันคือเมืองหลวงของประเทศเติร์กเมนนิสสถาน)   อย่างไรก็ตามเขาประสบกับความล้มเหลวในการควบคุม ทาชเคนท์  บุคคารา  และคีวา  คนที่สามก็คือพลตรี ดันสเตอร์สวิลล์ ผู้ซึ่งถูกบอลเชวิคขับไล่ออกจากเอเชียกลางในเดือนสิงหาคมเพียงเดือนเดียวที่เขาไปถึง  

โดยไม่สนใจการรุกรานของอังกฤษในระหว่างปี1918     พรรคบอลเชวิคเริ่มทำให้ประชาชนในแถบเอเซียกลางกลับเข้ามาอยู่ภายใต้ความควบคุมของตนได้อย่างต่อเนื่อง   พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปิดการประชุมสาขาพรรคระดับภูมิภาคในเมืองทาชเคนท์ในเดือนมิถุนายน 1918 เพื่อสร้างฐานสนับสนุนพรรคบอลเชวิคในส่วนภูมิภาค
ในเดือนกรกฏาคม สมาชิกพรรคสังคมนิยมปฎิวัติปีกซ้ายและคนขององค์กรตำรวจลับ เชกา สองคนชื่อ บลียุมคิน และอังเดรเยฟ ได้ลอบสังหาร เค้าท์ เมียร์บัค เอกอัครราชทูตเยอรมัน     กลุ่มปีกซ้ายของพรรคสังคมนิยมปฏิวัติที่ลุกขึ้นสู้ในมอสโคว์ถูกปราบลงโดยบอลเชวิคและกองกำลังพิเศษของ เชกา    เลนินแสดงความเสียใจและกล่าวขอโทษเยอรมันเป็นส่วนตัวในกรณีลอบสังหารครั้งนี้และตามมาด้วยการจับกุมสมาชิกพรรคสังคมนิยมปฏิวัติปีกซ้าย

เอสโทเนีย  ลัตเวีย และเปโตรกราด
เอสโทเนียได้ทำข้อตกลงกับกองทัพแดงในเดือนกุมภาพันธ์        กองกำลังเยอรมันอาสาสมัครในบอลติคยึดเมือง ริกา ได้จากหน่วยพลปืนลัตเวียแดงเมื่อ 22 พฤษภาคม     แต่กองพลที่3เอสโทเนียก็ยึดกลับมาได้ในอีกหนึ่งเดือนต่อมาเป็นการสนับสนุนการสถาปนาสาธารณรัฐลัตเวีย   ในขณะนั้นกองทัพแดงต้องหันมาสนใจต่อการคุกคามครั้งใหม่จากนายพล ยูเดนิช  ซึ่งใช้เวลาตลอดฤดูร้อนจัดระเบียบกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ในเอสโทเนีย  (ทหารเอสโทเนียน 11,500 คน)  โดยมีคนท้องถิ่นและสหราชอาณาจักรให้การสนับสนุน  (เฉพาะที่เมืองท่าอาร์คานเกลสค์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือมีกำลังทหารอังกฤษ  30,000  , เชิร์บ 4,000 , โรมาเนียน4,000  อิตาเลียน 2,000 คน)  เดือนตุลาคม 1919   ได้พยายามยึดเมืองเปโตรกราดด้วยการเข้าโจมตีอย่างฉับพลันด้วยกำลังพลประมาณ 20,000 คน   ใช้กำลังทหารราบเข้าปฏิบัติการจู่โจมแบบสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนเพื่อทำลายแนวป้องกันด้านปีกของกองทัพแดง  พร้อมกับใช้รถถังของอังกฤษหกคันเข้าร่วมโจมตีเพื่อข่มขวัญทหารกองทัพแดง    แม้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทุ่มเทให้ความช่วยเหลือแก่ยูเดนิชเป็นอย่างมหาศาล   กระนั้นเขาก็ยังโอดครวญว่าไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างพอเพียง(เมื่อแพ้กองทัพแดง)
วันที่ 19 ตุลาคมกองกำลังของยูเดนิชยึดได้แค่บริเวณรอบนอกของเมือง  สมาชิกกรรมการกลางบอลเชวิคบางคนมีแนวคิดที่จะทิ้งเปโตรกราด  แต่ทร้อตสกีปฏิเสธไม่ยอมรับที่จะต้องเสียเมืองเปโตรกราดไป   จึง จัดระบบการป้องกันเสียใหม่    เขาประกาศว่า “เป็นไปไม่ได้ที่หน่วยทัพเล็กๆของอดีตทหารของพระเจ้าซาร์เพียง15,000 คน จะกลับมาเป็นนายของชนชั้นกรรมกรที่มีจำนวนถึง 700,000 คนอีก ”  เขาได้กำ หนดยุทธศาสตร์การป้องกันเมืองขึ้นโดยกล่าวว่า  “ป้องกันบนขาของตนเอง”  กองทัพขาวจะต้องเข้าสู่กับดักที่วกวนและเผชิญกับป้อมค่ายบนท้องถนน.....และนั่นพวกมันจะพบกับหลุมฝังศพของตัวเอง

ทร้อตสกีติดอาวุธให้แก่คนงานเท่าที่สามารถทำได้ทั้งชายและหญิง   ออกคำสั่งให้เคลื่อนกำลังจากมอสโคว์มาเสริม   ภายในไม่กี่สัปดาห์กำลังของกองทัพแดงที่ป้องกันเปโตรกราดก็มีกำลังพลมากกว่ายูเดนิชถึงสามเท่า   เมื่อถึงจุดนี้กำลังสนับสนุนของยูเดนิชก็ลดน้อยลงเขาจึงตัดสินใจยกเลิกการปิดล้อมเมืองและถอนกำลังออกไป  ทั้งยังขออนุมัติถอยทัพข้ามพรมแดนไปยังเอสโทเนียอีกด้วย   ดังนั้นการถอยทัพข้ามพรมแดนจึงต้องถูกปลดอาวุธและกักตัวไว้โดยคำสั่งของรัฐบาลเอสโทเนียซึ่งกำลังทำการเจรจากับรัฐบาลโซเวียต      ในวันที่ 16 พฤศจิกายนซึ่งรัฐบาลโซเวียตได้รับทราบถึงการตัดสินใจของรัฐบาลเอสโทเนียแล้วที่อนุญาตให้กองทัพแดงข้ามพรมแดนเพื่อไล่ติดตามกองทัพขาวที่ถอยเข้าไปในเอสโท โทเนียได้    ในความเป็นจริงกองทัพแดงได้สู้รบกับกองทัพเอสโทเนียจนกระทั่งบรรลุผลของการเจรจาหยุดยิงเมื่อวันที่ 3 มกราคม 1920    จากผลของสนธิสัญญา ตาร์ตู ทหารส่วนมากของยูเดนิชต้องตกอยู่ในฐานะของผู้ลี้ภัย

นายพลชาวฟินน์  มานเนอร์ไฮม์  มีแผนที่เข้าแทรกแซงโดยส่งทหารฟินน์เข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่กองทัพขาวในรัสเซียเข้ายึดเมืองเปโตรกราดก็ไม่ได้ดำเนินการ   แต่ก็พยายามให้การช่วยเหลือสนับสนุนเท่าที่จำเป็น    เลนินพิจารณาว่า  “แน่นอนที่สุด...ความช่วยเหลือเพียงเล็กน้อยจากฟินแลนด์นั้นเป็นการตัดสินโชคชะตาของเปโตรกราด”   ในรัสเซียเหนือ ปี 1919   สัมพันธมิตรเข้าแทรกแซงรัสเซียเหนือโดยสหราชอาณาจักรเข้ายึดครองเมืองเมอร์มันสค์(Murmansk)  สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯยึดครองเมืองท่าอาร์คานเกลสค์ (Arkhangelsk)  เมื่อโคลชัค ถอยออกจากไซบีเรีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯก็ได้ถอนกำลังของตนออกไปจากเมืองด้วยก่อนที่จะติดกับฤดูหนาว
ไซบีเรีย 1919  ต้นเดือนมีนาคม  กองทัพขาวเริ่มรุกในแนวรบภาคตะวันออกเมืองยูฟาถูกยึดไปกลับอีก   กลางเดือนเมษายนกองทัพขาวได้ตรึง  แนวกลาซอฟ - คริสโตโปล - บูกุลมา - บูกูรุสลัน – ชาร์ลีก   กองทัพแดงเริ่มต้นรุกกลับต้านทัพของโคลซัคจนกระทั่งสิ้นเมษายน   กองทัพแดงซึ่งนำโดยผู้บัญชาการชั้นเยี่ยม ทูคาเชฟสกี[1]  ยึดได้เมืองเอลาบูกา(Elabuga)ในวันที่ 26 พฤษภาคม   2 มิถุนายน  ได้ซาราปูล(Sarapul)  และ7 มิถุนายนได้อิซเซฟสค์(Izevsk)ตามลำดับและยังรุกหน้าต่อไป
มิคาอิล  ทูคาเชฟสกี  นายพลแห่งกองทัพแดง

ความล้มเหลวในการรุกที่เชลียาบินสค์ของกองทัพขาวทำให้ต้องถอยไปจนถึงโทโบล   เดือนกันยายน 1919 กองทัพขาวเริ่มปฏิบัติการรุกต่อแนวโทโบล     เป็นความพยายามในครั้งสุดท้ายที่เพื่อจะพลิกสถานการณ์     วันที่14 ตุลาคมกองทัพแดงรุกกลับและเริ่มทำให้การถอยของกองทัพขาวไปทางตะวัน ออกเป็นไปอย่างขลุกขลักไม่ต่อเนื่อง 
14 พฤศจิกายน กองทัพแดงสามารถยึดเมืองออมสค์(Omsk)ไว้ได้   พลเรือเอกโคลซัคต้องเสียการควบคุมรัฐบาลที่พึ่งตั้งของตนไปในความพ่ายแพ้ครั้งนี้    การถอยออกจากแนวรบด้านตะวันออกของกองทัพขาวใช้เวลาถึงสามเดือนจวบจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 1920  เมื่อข้ามเขตไบคาล(Baikal)ไปจนถึงเมืองซิตาแล้วผู้ที่เหลือรอดจึงเข้าสมทบกับกองกำลังของ อตามาน  เซมินอฟ (พลโท และผู้นำสูงสุดของชาวคอแซคแถบทรานส์ไบคาล)
  
กองทัพรัสเซียใต้
กองทัพรัสเซียใต้(Armed Forces of South Russia ,AFSR ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1919   จากการรวมตัวของกองกำลังติดอาวุธกองเล็กกองน้อยมากมายหลายกลุ่มในท้องถิ่นเรียกตนเองว่ากองทัพขาวที่ต่อต้านพรรคบอลเชวิค  รวมถึงกองทัพอาสาสมัคร(ที่เรียกตามกองทัพอาสาสมัครชาวคอเคซัส)   นอกจากนี้ AFSR ยังรวมถึงกองทัพแห่งลุ่มน้ำดอน   กองทัพไครเมียน-อะซอฟ   กองกำลังคอเคซัสเหนือ  และกองทัพเตร์กเมนิสถาน
ในเดือนมกราคมมีจำนวนพลประกอบด้วย  ทหารราบ 51,000 นาย  ทหารม้า 34,000นาย  ปืนใหญ่สนาม204 กระบอก  ปืนกล 682 กระบอก รถไฟหุ้มเกราะคัน    ในเดือนมิถุนายน1919 จำนวนเพิ่มขึ้นเป็น   ทหารราบ 104,000 นาย  ทหารม้า 56,000นาย  ปืนใหญ่สนาม  600 กระบอก   ปืนกล1,500 กระบอก  อากาศยาน19 ลำ  รถไฟหุ้มเกราะ 34 ตู้   เรือลาดตระเวน 1 ลำ   เรือพิฆาต 5 ลำ  เรือดำน้ำ 4 ลำ  เรือปืน 20 ลำ    ในเดือนตุลาคมหลังจากสูญเสียอย่างหนักและการสับเปลี่ยนหน้าที่ของแต่ละหน่วยทัพทำให้ความเข้มแข็งของแต่ละทัพอ่อนลงอย่างมาก


การจัดกำลังของ ASFR ก่อนปี 1919  
กองทัพอาสาสมัคร(ตั้งชื่อใหม่ว่ากองทัพอาสาสมัครคอเคเซียน)ประกอบด้วย
กองทัพน้อยที่  มีนายพล คูเตปอฟ เป็นผู้บัญชาการ
กองทัพน้อยที่ 2   มีนายพล พรอมตอฟเป็นผู้บัญชาการ
กองพลน้อยทหารราบที่ 5 มีนายพล ยูเซโฟวิช เป็นผู้บัญชาการ
กองทัพน้อยทหารม้าคูบานที่ 3 มีนายพล  ชกูโร  เป็นผู้บัญชาการ
กลุ่มทัพเคียฟ  มีนายพล เบรดอฟ เป็นผู้นำ  ประกอบด้วย
กองทัพแห่งลุ่มน้ำดอน
กลุ่มทัพด้านเหนือ มีนายพล สตาร์ชินา เซมิเลตอฟ เป็นผู้บัญชาการ
กลุ่มทัพด้านใต้ มีนายพล เดนิซอฟ เป็นผู้บัญชาการ
กลุ่มทัพ ทรานส์-ดอน มีพันเอก บีคาโดรอฟ เป็นผู้บัญชาการ
ทัพคอเคซัสประกอบด้วย
กองทัพน้อยคูบานที่ มีนายพล โปรคอฟสกี เป็นผู้บัญชาการ
กองทัพน้อยคูบานที่ มีนายพล  อูลากี ภายหลังเปลี่ยนเป็นนายพล นาฮูเมนโก เป็นผู้บัญชาการ
กองทัพน้อยคูบานที่ มีนายพล  ชาติลอฟ ภายหลังเปลี่ยนเป็นนายพล โตปอร์คอฟ เป็นผู้บัญชาการ
กองทัพเตอร์กีสถานประกอบด้วย
กองพลทหารราบผสม ซาคาสปึยสกายา มีพลตรี ราซาเรฟ เป็นผู้บังคับการ
กองพลแม่นปืน เตอรกีสถานสกายา มีพลตรี ลิตวินอฟ เป็นผู้บังคับการ
กองพลทหารม้า  มีพลตรี โอราซ ข่าน เซดาร์ เป็นผู้บังคับการ
Foreign forces throughout Russia
the positions of the Allied expeditionary forces and of the White Armies in European Russia, 1919
Numbers of foreign soldiers who occupied the indicated regions of Russia:
50,000 Czechoslovaks (along the Trans-Siberian railway)[9]
28,000 Japanese, later increased to 70,000 (in the Vladivostok region and north) [10][11]
40,000 British (in the Arkhangelsk and Vladivostok regions)[10]
17,000 Poles - mostly 5th Rifle Division (almost 12,000 men) in Siberia and 4th Rifle Division (ca. 4000 men) in "Southern Russia", also a single 400-men-strong battalion in Murmansk within the Anglo-Slavic Legion
13,000 Americans (in the Arkhangelsk and Vladivostok regions)
12,000 French and French colonial (mostly in the Arkhangelsk and Odessa regions)
11,500 Estonians in northwestern Russia[4]
4,192 Canadians (in the Vladivostok region)
1,100 Canadians (in the Murmansk and Arkhangelsk regions)
41 Canadians (in the Baku Region)
4,000 Serbs (in the Arkhangelsk region)
4,000 Romanians (in the Arkhangelsk region)
2,500 Italians (in the Arkhangelsk region and Siberia)[10]
2,300 Chinese (in the Vladivostok region)[12]
23,351 Greeks (part of I Army Corps under Maj. Gen. Konstantinos Nider, comprising 2ndand 13th Infantry Divisions, in the Crimea, and around Odessa and Kherson)[13]
150 Australians (mostly in the Arkhangelsk regions)

เมษายน  1920 อันตอน เดนิกิน ผู้บัญชาการสูงสุด   ได้ส่งมอบอำนาจบัญชาการให้แก่ ปยอร์ท  นิโคเลเยวิช แวรงเกิล  เป็นผู้นำ  ”กองทัพรัสเซีย”   ซึ่งรวบรวมจากกำลังพลที่กระจัดกระจายของ ASFR หลังความพ่ายแพ้

กองทัพคอสแซคไม่สามารถรวบรวมกำลังคนและจัดการเรื่องทุนทรัพย์ได้เลยตลอดปี 1918   ปีต่อมาก็เริ่มเกิดความขาดแคลน    สิ่งที่ตามมาก็คือเมื่อกองกำลังโซเวียตภายใต้การนำของสมาชิกบอลพรรคเชวิค  อันโตนอฟ  ออฟซีนโก เริ่มรุกตอบโต้  กองทหารคอสแซคก็ถูกตีพ่ายไปอย่างรวดเร็วทำให้กองทัพแดงเข้ายึดเมืองเคียฟ(Kiev)ได้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์1919
กำลังทหารของนายพลเดนิกินเข้มแข็งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ   ในหลายๆเดือนของฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาวเกิดการประทะกันอย่างหนักหน่วงในแถบที่ราบต่ำโดเนท   เป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงว่าบอลเชวิคจะเป็นฝ่ายรุกจู่โจมต่อกองทัพขาว     และในเวลาเดียวกันกองทัพรัสเซียใต้ของนายพลเดนิกินกำลังเป็นต่อในแถบคอเคซัสเหนือ   สามารถผลักดันกองทัพแดงให้ทิ้งเมือง ซาริทซีน (Tsaritsyn  ต่อมาเปลี่ยนเป็น สตาลินกราด และ โวโกกราด ในปัจจุบัน)    ปลายเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคมกองทัพรัสเซียใต้ AFSR เข้าโจมตีตลอดแนวรบตั้งแต่แม่น้ำดไนเปอร์จนถึงแม่น้ำโวลกาและพิชิตชัยได้ในหลายๆสมรภูมิ    
  
กองทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่เมืองโอเดสสา(Odessa)แต่ก็ไม่ได้ทำการรบแต่อย่างใด   ภายหลังได้ถอนออกไปเมื่อ 8 เมษายน 1919        กลางเดือนมิถุนายนกองทัพแดงได้รุกจากไครเมียและโอเดสสา      กองทัพของเดนิกินยึดได้เมือง คาร์คอฟ (Kharkov) และเบลกอรอด(Belgorod)   ในขณะที่กองทัพขาวภายใต้การนำของนายพล แวรงเกิลก็ยึดเมืองซาริทซีนได้   สามารถยึดครองคอเคซัสเหนือได้ทั้งหมด    วันที่ 20 มิถุนายนนายพลเดนิกินได้ประกาศและออกคำสั่งระดมทั้งกองทัพ  วางกำลังเข้าโอบล้อมเตรียมรุกและยึดเมืองมอสโคว์โดยวางแผนให้นายพล วลาดิมีร์ มาเยฟสกี นำทหาร 40,000 คน บุกเข้ายึดเมือง

แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะถอนกำลังทหารของตนออกไปแล้ว   แต่ก็ยังให้ความช่วยเหลือสนับสนุนทางทางด้านยุทธสัมภาระและยุทธปัจจัย (เช่น เงิน  อาวุธ  อาหาร  กระสุนปืน  วัตถุระเบิด  และที่ปรึกษาด้านการทหาร )แก่กองทัพขาวตลอดปี 1919
ด้านนายพลแวรงเกิลหลังจากยึดเมือง ซาริทซีน ได้แล้วก็มุ่งไปยังเมือง ซาราตอฟ    ทร้อตสกี้เล็งเห็นถึงอันตรายใหญ่หลวงถ้าหาก แวรงเกิล สามารถบรรจบทัพเข้ากับพลเรือเอกโคลชัคได้   กองทัพขาวก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้นอีกมากบอลเชวิคจะต้องรับศึกหนักซึ่งไม่เป็นผลดีนัก      จึงสั่งรวมศูนย์ทุ่มกำลังทั้งหมดเข้าโจมตีกองทัพของพลเรือเอกโคลซัคเสียก่อนแม้จะต้องสูญเสียอย่างหนักก็ตาม    กองทัพภาคตะวันออกของโคลซัคได้ถูกตีถอยร่นไปในเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม      กองทัพแดงจึงไม่ต้องหวั่นเกรงอันตรายใดๆจากทางไซบีเรียอีกสามารถเผชิญหน้ากับกองทัพของนายพลเดนิกินเพียงทัพเดียว

แผนการบุกยึดมอสโคว์ของนายพลเดนิกินเป็นภัยที่คุกคามที่แท้จริง     แนวรับของกองทัพแดงที่ขยายกว้างมากนั้นทำให้มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่ง      ทำให้กองทัพแดงต้องถูกบีบให้ถอยออกจากเคียฟ เมืองคุคสค์และโอเรลถูกยึดในวันที่30 สิงหาคม     กองทัพคอสแซคแห่งลุ่มน้ำดอนของนายพล คอนสแตนติน มามอนตอฟ รุกคืบขึ้นเหนือสู่เมือง โวโรเนทซ์     แต่ถูกทัพของนายพล ทูคาเชฟสกี แห่งกอง ทัพแดงตีแตกในเดือนตุลาคม    ทูคาเชฟสกี  ต้องหันมาเผชิญหน้ากับกองทัพอาสาสมัครที่ตั้งขึ้นใหม่ของนายพลเดนิกิน

การเคลื่อนไหวต่อต้านโซเวียตของกองทัพขาวขึ้นสู่กระแสสูงจนถึงเดือนกันยายน 1919    ในระยะนั้นทัพของเดนิกินยังคงเป็นอันตรายในระยะยาว    แต่แนวหน้าของฝ่ายขาวไม่ค่อยมีความมั่นคงนักบางครั้งกลายสภาพเป็นทั้งแนวรบและชุดลาดตระเวนไปพร้อมๆกัน  ไม่มีกำลังสำรอง   ขาดกระสุนดินดำ   ปืนใหญ่   และกองหนุน    ดังนั้นกองทัพของเดนิกินจึงถูกพิชิตครั้งแล้วครั้งเล่าในสมรภูมิเริ่มแต่เดือนตุลา คมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน     วันที่17 ธันวาคมกองทัพแดงก็ยึดเมืองเคียฟคืนและได้รับชัยชนะทำให้กองทัพคอสแซคต้องถอยหนีกลับไปยังแถบทะเลดำ     กองทัพขาวที่มุ่งหน้าไปยังภาคกลางและตะวัน ออกนั้นประสบความสำเร็จในการขับไล่ ”กองทัพดำ” (ที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “กองทัพปฏิวัติแห่งยูเครน”)ของกลุ่มอนาธิปไตยที่นำโดย  เนสตอร์  มาคโน ออกจากพื้นที่ยูเครนใต้และไครเมีย    การพ่ายแพ้ครั้งนี้ มอสโคว์ เกิดความลังเลที่จะช่วยเหลือ มาคโน และกองทัพดำเพราะการส่งอาวุธไปให้แก่กองกำลังอนาธิปไตยในยูเครนนั้นเสี่ยงต่อการตกไปอยู่ในมือของกองทัพขาวเป็นอย่างมาก    ในช่วงฤดูหนาวปี 1919-1920  กำลังส่วนใหญ่ของกองทัพฝ่ายขาวได้แก่กองทัพอาสาสมัครและกองทัพแห่งลุ่มน้ำดอน   ถูกตีโต้จนต้องถอยออกจากแถบลุ่มน้ำดอนกลับไปยังเมืองรอสตอฟ (Rostov)   กำลังเพียงเล็กน้อย(กองทหารเคียฟและโอเดสสา)ที่เหลือป้องกันเมืองโอเดสสาและไครเมียจำต้องถอย  บอลเชวิคจึงเข้ายึดครองอย่างง่ายดาย 

เอเชียกลาง 1919    กุมภาพันธ์ 1919  รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ถอนทหารออกจากเอเชียกลางเนื่องมาจากความสำเร็จของกองทัพแดง    กองทัพฝ่ายขาวสู้รบควบคุมรัสเซียภาคพื้นยุโรปและอาณาบริเวณที่มีเคือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมติดต่อได้ระหว่างมอสโคว์และทาชเคนท์ไว้    ทำให้กองทัพแดงในไซบีเรียถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิงจากเอเซียกลาง    แม้ว่าปัญหาการสื่อสารจะเป็นข้อด้อยของกองทัพแดงแต่บอลเชวิคก็พยายามให้การสนับสนุนสาขาพรรคในเอเซียกลางโดยเปิดการประชุมพรรคในระดับภูมิภาคครั้งที่สองขึ้นในเดือนมีนาคม   ในการประชุมครั้งนี้ได้ก่อตั้งสำนักงานองค์กรมุสลิมสังกัดพรรคบอลเชวิคขึ้นประจำภูมิภาค   พรรคบอลเชวิคได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการแสวงหาการสนับสนุนจากชนชาติต่างๆในท้องถิ่นโดยสร้างความประทับใจให้แก่พลเมืองท้องถิ่นในภูมิภาค      ใช้เวลาตลอดปีเพื่อสร้างและผดุงไว้ซึ่งความสมานฉันท์กับประชาชนในแถบนี้
ความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารกับกองทัพแดงในไซบีเรียและรัสเซียในภาคพื้นยุโรปได้สิ้นสุดลงในราวกลางเดือนพฤศจิกายน      สืบเนื่องมาจากความสำเร็จของกองทัพแดงในตอนเหนือของแถบเอเซียกลาง     การติดต่อกับมอสโคว์ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่และบอลเชวิคสามารถครอบครองชัยชนะเหนือกองทัพขาวในเตอรกีสถานได้สำเร็จ

รัสเซียใต้ ยูเครน   1920-21   แนวรบด้านใต้นั้นมีลักษณะปฏิบัติการกว้างใหญ่และเป็นอันตรายคุกคามต่อรัฐบาลบอลเชวิคมาก   เบื้องแรกนั้นเป็นแค่กองอาสาสมัครของชาวคอสแซคเสียเป็นส่วนมาก ที่ต่อต้านบอลเชวิคมาตั้งแต่แรกๆในปี 1919  แต่หลังจากนายพล เดนิกิน ประสบความล้มเหลวในการบุกยึดมอสโคว์  กองทัพรัสเซียใต้ต้องล่าถอย   ต้นปี 1920 กำลังหลักของเดนิกินต้องถอยร่นจากดอนไปยังรอสตอฟด้วยการข้ามแม่น้ำดอน    หลังจากนี้เดนิกินหวังว่าทหารจะได้มีเวลาพักผ่อนและปรับปรุงกองทัพเสียใหม่แต่ก็ไม่สามารถยึดครองภูมิภาคดอนไว้ได้ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 1920 เริ่มล่าถอยข้ามเขตคูบานเพื่อไปยังเมืองท่า โนโวรอสสิยาสค์บนฝั่งทะเลดำ  ความหละหลวมในการเคลื่อนย้ายที่ โนโวรอสสิยาสค์ ส่อให้เห็นถึงอนาคตที่มืดมนของกองทัพขาว กำลังพล 40,000 นายถูกเคลื่อนย้ายโดยเรือของรัสเซียและพันธมิตรจากโนโวรอสสิยาสค์ไปยังไครเมียโดยทิ้งม้าพาหนะยุทธสัมภาระและอาวุธหนักไว้  ในขณะที่ทหารอีก 20,000 คนถูกทิ้งไว้เบื้องหลังและต้องหลบหนีหัวซุกหัวซุนจากการไล่ล่าจับกุมของกองทัพแดงจากหายนะที่โนโวรอสสิยาสค์ ทำให้เดนิกินต้องสละอำนาจจึงได้ส่งมอบอำนาจบัญชาการให้แก่นายพล  ปยอร์ท  นิโคเลเยวิช  แวรงเกิล  เป็นผู้นำ”กองทัพรัสเซีย”  ในเมษายน 1920   กำลังพลเหล่านี้ล้วนต่รวบรวมมาจากทหารของ ASFR ที่แตกกระจัดกระจายหลังความพ่ายแพ้   ...คณะกรรมการกองทัพจึงได้เลือกนายพล แวรงเกิล ขึ้นเป็นผู้บัญชาการสูงสุดคนใหม่ของกองทัพขาว    แวรงเกิลพยายามฟื้นฟูกองทัพที่ท้อแท้หมดหวังให้กลับมาทำการสู้รบได้ใหม่อีกและสามารถรักษากำลังในไครเมียไว้ได้ตลอดปี 1920

หลังจากรัฐบาลบอลเชวิคที่มอสโคว์ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทั้งทางการทหารและการเมืองกับ เนสตอร์  มาคโน และกลุ่มอนาธิปไตยยูเครน    กองทัพดำของชาวอนาธิปไตยได้เข้าโจมตีและได้รับชัยชนะเหนือกองกำลังในกองทัพของแวรงเกิลหลายต่อหลายครั้งในยูเครนใต้     บีบให้เขาต้องล่าถอยก่อนที่เขาจะเก็บเกี่ยวเอาผลผลิตสะสมไว้เป็นเสบียง  แวรงเกิลจึงรุกขึ้นเหนือเพื่อแสวงหาความได้เปรียบ ต่อกองทัพแดงที่กำลังสู้รบอยู่ในสงครามโปแลนด์- โซเวียต ปี 1919-1920 และกำลังจะได้รับชัยชนะ แต่การรุกครั้งนี้ถูกสกัดโดยกองทัพแดงทำให้เขาต้องถอยกลับไปยังไครเมียโดยมีกองทหารราบและทหารม้าของทั้งกองทัพแดงและกองทัพดำไล่ติดตาม     นายพลแวรงเกิลและกองกำลังที่เหลือได้หนีจากไครเมียไปยังคอนสแตนติโนเปิลในวันที่14 พฤศจิกายน1920  เป็นการปิดฉากการสู้รบของทั้งสองฝ่าย

ไซบีเรียและตะวันออกไกล  1920-21   ในไซบีเรีย กองทัพของพลเรือเอก โคลชัค ล่มสลายลง   ตัวเขาเองลาออกหลังจากเสียเมืองออมสค์และแต่งตั้งนายพล กริกอรี  เซมีโยนอฟ เป็นผู้นำคนใหม่ของกองทัพขาวในไซบีเรีย   หลังจากนั้นไม่นาย โคลชัดก็ถูกจับโดยกองทหารเชคโกสวัคในระหว่างที่เดินทางไปยังอีร์คุคสค์โดยไม่มีกำลังคุ้มกันเพื่อไปพบกับศูนย์กลางสำนักงานการเมืองสังคมนิยมในเมืองนี้       ซึ่งหกวันต่อมาคณะผู้แทนทั้งหมดได้เปลี่ยนไปเป็นคณะกรรมการแห่งกองทัพปฏิวัติบอลเชวิค   วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์โคลซัคและ วิคเตอร์ เปเปลีเยฟ  นายกรัฐมนตรี ก็ถูกยิงเป้า  ก่อนที่กองทัพขาวจะมาถึง     กองทัพที่แตกกระจัดกระจายของโคลชัคได้มาถึงไซบีเรียและเข้าร่วมกับกองกำลังของ  กริกอรี  เซมีโยนอฟ    ตั้งเป็นกองทัพตะวันออกไกลซึ่งมีกองทัพญี่ปุ่นให้การสนับสนุนและยึดเมืองชิตาไว้  หลังจากญี่ปุ่นถอนออกไปจากทรานสไบคาลเลีย    เซมีโยนอฟไม่สามารถรักษาฐานะผู้นำของตนไว้ได้  ถูกกองทัพแดงขับออกไปจากทรานสไบคาลเลียและลี้ภัยไปยังประเทศจีน    ญี่ปุ่นซึ่งมีแผนจะผนวกเขตปกครองอามูร์ (Amur Krai) ได้ถอนกำลังทหารออกไปเมื่อบอลเชวิคอ้างสิทธิ์ในการควบคุมดินแดนตะวันออกไกลของรัสเซีย         วันที่ 25 ตุลาคม 1922  เมื่อกองทัพแดงเดินทัพเข้าสู่เมืองท่าวลาดิวอสต๊อค รัฐบาลชั่วคราว พรีอามูร์ ก็เป็นอันต้องสิ้นสุดลง

หลังจากนั้นก็ยังมีการก่อการจลาจลขึ้นอีกในหลายๆแห่งเช่นในพื้นที่เอเชียกลางกองทัพแดงยังคงถูกต่อต้านจนถึงปี 1923 ซึ่งกลุ่ม “บาสมาชิ” (นักรบกองโจรอิสลาม) ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านบอลเชวิคหลังได้อำนาจ    โซเวียตได้ให้การสนับสนุนประชาชนที่ไม่ใช่รัสเซียในเอเซียกลางเช่น  มากาซา มาซันชิ  ผู้นำกองกำลังทหารม้าต่อสู้กับกลุ่ม บาสมาชิ ที่พรรคคอมมิวนิสต์ไม่สามารถขจัดได้หมดสิ้นจนกระทั่งถึงปี 1934   นายพล อนาโตลี  เปเปลียาเยฟ   ยังทำการต่อสู้ในเขต อยาโน ไมสกี จนถึงปี 1923  ภูมิภาคคัมชัตกาและสะขะลินเหนือยังอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นและได้ถอนกำลังออกไปเมื่อปี1925 ตามสนธิสัญญาที่ทำกับสหภาพโซเวียต



[1] หนึ่งในห้าจอมพลของสหภาพโซเวียต     ถูกจับกุมเมื่อคราวกวาดล้างครั้งใหญ่ (The great purge 1936-37) ในสมัยของสตาลินในข้อหาทรยศต่อชาติและถูกตัดสินประหารชีวิต    ภายหลังรัฐบาลโซเวียตได้คืนเกียรติยศให้ในฐานะวีรบุรุษของชาติ

No comments:

Post a Comment