Thursday, April 16, 2015

เลนิน บนเส้นทางปฏิวัติ (13)

19.เกษียณและมรณกรรม



ระหว่างที่เลนินป่วย(1922–23) สตาลินได้ใช้ภาพที่แก้ไขตัดแต่งนี้อ้างว่าเป็นภาพจริงเพื่อประโชน์ในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค
มีความพยายามที่จะกุเรื่องว่าการอสัญกรรมของเลนินมีสาเหตุมาจากโรค ”ซิฟิลิส” ซึ่งอ้างว่าเป็นการทำวิจัยย้อนหลังและลงตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาของยุโรปเมื่อปี 2004 ทำให้เกิดความสงสัยกันมาก  ท่ามกลางจิตใจที่จดจ่อเคร่งเครียดอยู่กับกับการปฏิวัติต้องควบคุมดูแล  ต้องต่อสู้ในสงครามกลางเมือง และผลต่อเนื่องจากอาการบาดเจ็บในคราวที่ถูกลอบสังหาร ได้รบกวนสุขภาพให้ร่างกายอ่อนแอลงอย่างมากเลนินยังมีหัวกระสุนฝังอยู่ในลำคอจนกระทั่งศัลยแพทย์ชาวเยอรมันได้ผ่าออกเมื่อ 24 เมษายน 1922 
บรรดามิตรสหายผู้ร่วมงานทุกคนต่างยอมรับว่าเลนินทำงานเป็นเวลา14 ถึง 16 ชั่วโมงในแต่ละวันจนแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อน สาละวนอยู่กับงานไม่ว่าจะเล็ก ใหญ่อยู่เป็นประจำ เขาทำงานจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต โวลโคโกนอฟ กล่าว

เลนินให้ความสำคัญต่อการขนส่งน้ำมันใน อิวานโนโว-โวสเนสเซงสค์.... การจัดหาชุดทำงานให้แก่กรรม กรเหมือง   สอบถามและติดตามแก้ปัญหาในการผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้า   ร่างเอกสารมากมายเป็นประจำ  สั่งการ  ตกลงทางการค้า  เป็นธุระในการปันส่วนอาหาร  พิมพ์หนังสือ จุลสาร และบทความต่างๆตามคำเรียกร้องของสหาย   พิจารณาเรื่องการใช้ประโยชน์จากถ่านพีท(ถ่านหินที่เกิดจากการทับถมของพืชในแอ่งเลน....ผู้เรียบเรียง)  ช่วยปรับปรุงการทำงานในโรงงาน โนวิอี     อธิบายความเห็นต่างของวิศวกร พี เอ คอซมิน  ถึงความเป็นไปได้ในการใช้กังหันลมในการผลิตกระแสไฟฟ้าในชนบท       ทั้งหมดนี้เลนินได้ทุ่มเทรับใช้งานเฉพาะหน้าของพรรคอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

เลนินจำได้ว่าเขาได้พักผ่อนจริงๆเพียงสองครั้งเท่านั้น   ครั้งแรกก็ตอนที่หลบซ่อนตัวจากการไล่ล่าของ รัฐบาลชั่วคราวที่มีเคเรนสกีเป็นผู้นำ(ช่วงเวลานี้ได้นิพนธ์เรื่อง รัฐและการปฏิวัติ)   และตอนที่ถูก ธัญญา คลัปปาน  ลอบสังหาร    เดือนมีนาคมเมื่อคณะแพทย์ที่ตรวจอาการของท่านไม่พบสมุหฐานของโรคไม่ว่าทางประสาทหรือทางพยาธิวิทยาแต่ประการใดนอกจากความอ่อนล้าและอาการปวดศีรษะเล็กน้อยเท่านั้นและได้แนะนำให้พักผ่อน       เมื่อกลับไปเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในเดือนพฤษภาคมเลนินมีอาการทางหัวใจ  ถึงสามครั้งเป็นเหตุให้พูดไม่ได้ไปหลายสัปดาห์     ร่างกายซีกขวาเกิดอาการชาอย่างรุนแรงจนกระทั่งเดือนพฤษภาคมจึงฟื้นกลับมาจากนั้นก็ทำงานได้อย่างจำกัด    ในเดือนพฤศจิกายนได้แสดงปฐกถาขนาดยาวสามครั้ง     เดือนธันวาคม 1922  อาการทางหัวใจได้กำเริบขึ้นอีกร่างกายซีกขวาเป็นอัมพาตทำให้ต้องเลิกภารกิจทางการเมืองทั้งหมด     มีนาคม 1923 อาการกำเริบเป็นตรั้งที่สามครั้งนี้ส่งผลอย่างรุนแรงต้องนอนรักษาอยู่บนเตียงโดยไม่รู้สึกตัวจนกระทั่งวาระสุดท้าย

เลนิน 1923

หลังจากมีอาการหัวใจล้มเหลวครั้งแรก เลนินได้เสนอรายงานของตนต่อรัฐบาลโดยให้ นาเดซดา ภรรยาเขียนตามคำบอกของเขาโดยเนื้อหาทั้งหมดเป็นข้อเสนอแนะของเลนิน(การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโซเวียต) เช่นกรณีจอร์เจียซึ่งเป็นความขัดแย้งในเรื่องวิธีเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองภายใต้รัฐ ธรรมนูญของสาธารณรัฐให้เสร็จสิ้นไป(ตามเอกสารของพรรค) วิจารณ์ผู้ปฏิงานพรรคระดับนำรวมไปถึง โจเซฟ สตาลิน  กริกอรี ซิโนเวียฟ  เลฟ คาเมเนฟ  นิโคไล บุคฮาริน และลีออน ทร้อตสกีเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์(ตั้งแต่1922)ของสตาลิน เลนินรายงานเกี่ยวกับ “อำนาจที่ไม่จำกัดขอบเขต” ในการรวมศูนย์ ที่เขาไม่สามารถยอมรับได้และได้แนะนำบรรดาสหายให้คิดหาทางกีดกันสตาลินออกจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่โดยใช้ถ้อยคำสื่อถึง”บุคลิกภาพ ที่หยาบกร้าน” “ดึงดันโดยไม่จำเป็น” “ขาดทักษะในการแก้ไขสนถานการณ์” และ “มีข้อบกพร่องมากเกินไป” ซึ่งไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขาธิการใหญ่  

เมื่อเลนินถึงแก่อสัญกรรม, นาเดซดา ได้ส่งคำชี้แนะของเลนินไปยังคณะกรรมการกลางทางไปรษณีย์   และได้อ่านดังๆในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 13 พฤษภาคม 1924   อย่างไรก็ตามอำนาจการนำสูงสุดยังคงอยู่ที่ระบบ ทรอยกา(การลากรถศึกแบบรัสเซียที่ใช้ม้าเทียมสามตัวเรียงกัน)ซึ่งประกอบ ด้วย สตาลิน  คาเมเนฟ  ซิโนเวียฟ  ซึ่งเมินเฉยต่อคำชี้แนะของเลนินจนถึงปี 1925 จึงได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาโดย แม๊กซ์  อีสแมน ปัญญาชนชาวอเมริกัน  และในปีนั้นเองทร้อตสกีก็ได้พิมพ์คำชี้แนะของเลนินโดยย่อเอาแต่สาระสำคัญๆ โดยกล่าวว่าความปรารถนาของเลนินในบันทึกไม่ได้รับความใส่ใจปฏิบัติเท่าที่ควรถูกปกปิดหรือทำลายภายหลังเขาใช้เรื่องนี้ตอบโต้เรียกร้องความสนใจในการต่อต้านสตาลิน

เลนินเสียชีวิตที่กรุงมอสโคว์  เมื่อวันที่ 2  มกราคม 1924 เวลา 18.50 น. สิริอายุได้ 53 ปี  ณ.ที่พำนักของท่านที่อยู่ในอนุสรณ์สถานกอร์กีซึ่งภายหลังได้ชื่อใหม่ว่า กอร์กี เลนินสกีเย   เพียงสี่วัน...ในห้องโถงที่ตั้งศพของ วลาดิมีร์ อิลยิช เลนิน  ผู้นำของบอลเชวิคได้มีประชาชนผู้โศกเศร้าเข้าเยี่ยมคารวะร่างที่ไร้วิญญาณของเขากว่า  999,000 คน   ผู้นำรัฐบุรุษหลายชาติต่างได้ส่งสานส์แสดงความเสียใจ  ซุนยัตเซน  ผู้นำการปฏิวัติจีนได้กล่าวสดุดีว่า

“ตลอดช่วงระยะเวลาของประวัติศาสตร์ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญนับหมื่นต่างใช้คำพูดได้อย่างสละสลวยและคำเหล่านั้นยังคงเป็นเพียงคำพูดอยู่ดี  ยกเว้นท่าน..เลนิน  ท่านไม่เพียงแต่พูดแต่ยังสอนเรา ท่านได้ทำให้คำพูดของท่านเป็นจริงขึ้นมา ท่านได้สร้างประเทศนี้ขึ้นใหม่  ท่านได้ชี้นำให้พวกเราได้เห็นถึงเส้นทางของการต่อสู้ ท่านช่างยิ่งใหญ่กระไรเช่นนั้น ท่านจะไม่ตายไปจากความทรงจำของประชาชนผู้ถูกกดขี่ในทุกๆประเทศ”
วินสตัน  เชอร์ชิล  ผู้สนับสนุนให้สหราชอาณาจักรเข้าแทรกแซงและต่อต้านการปฏิวัติรัสเซีย เป็นพันธมิตรกับขบวนการฝ่ายขาวในการเคลื่อนไหวทำลายชาวบอลเชวิคและลัทธิบอลเชวิคกล่าวว่า
“เขาน่าจะเป็นผู้ที่ค้นพบวิธีกลับสู่เส้นทางสายหลัก...ประชาชนชาวรัสเซียถูกทอดทิ้งให้จมปลักแห่งความทุกข์ทรมาน    การถือกำเนิดของเขาคือความโชคร้าย   แต่การเสียชีวิตของเขาเป็นความเลวร้ายยิ่งกว่า”

พิธีศพ



ผู้เคลื่อนย้ายโลงศพของเลนินจากสถานีรถไฟไปยังหอแรงงาน  เฟลิกซ์  ดเซอร์ซินสกี้ อยู่ด้านหน้าถัดไปคือ ทิโมไฟร ซาโปรนอฟ และเลฟ คาเมเนฟ  อยู่ด้านซ้าย  
ในวันถัดมารัฐบาลโซเวียต ได้ประการกาศการมรณกรรมของเลนินต่อสาธารณชนโดย มิคฮาอิล คาลินิน  ประธานแห่งรัฐอ่านแถลงการณ์อย่างเป็นทางการต่อตัวแทนสมาชิกสภาโซเวียตทั่วทั้งรัสเซียด้วยน้ำตานองหน้าเมื่อเวลา 11 นาฬิกา พร้อมไปกับคณะแพทย์ที่เริ่มชัณสูตรศพ  วันที่ 23 มกราคคณะกรรมการกลางของพรรค  องค์กรพรรคประจำมอสโคว์  บรรดาสหภาพแรงงาน และสภาโซเวียตคนงาน   ได้มาชุมนุมกันหน้าบ้านพักของท่านเพื่อแบกโลงสีแดงที่บรรจุศพ  มีคาเมเนฟ  ซิโนเวียฟ   สตาลิน  บุคฮาริน  บุบโฮฟ และคราซิน  เป็นผู้แบกโลง ฝูงชนที่โศกเศร้าพากันหลั่งไหลมายังสถานีรถไฟตลอดทางเข้าเมืองซึ่งมีระยะทางยาวกว่าห้าไมล์จากสถานีรถไฟปาเวลเลทสกี (Paveletsky)ไปยังหอแรงงานซึ่งเป็นที่ตั้งศพก็หนาแน่นไปด้วยผู้คนประชาชนนับล้านต่างเดินทางมาจากทั่วทั้งสหภาพโซเวียตยืนเข้าแถวหลายๆชั่วโมงท่ามกลางหิมะและอากาศที่หนาวเย็นเพื่อเคารพศพด้วยความอาลัยรัก   หลังการมรณกรรมได้ใม่นาน...เมืองเปโตรกราดก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น”เลนินกราด” เพื่อเป็นเกียรติ์แก่เลนินเรื่อยมาจนถึงปี 1991 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงจึงเปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อเดิมอีกแต่ยังคงไว้ซึ่งชื่อของ  “เขตปกครองเลนินกราด”  เอาไว้  ร่างของเลนินถูกตั้งแสดงไว้ที่สุสานเลนินในมอสโคว์เมื่อวันที่ 27  มกราคม 1924  มาจนกระทั่งทุกวันนี้

 20. การเมืองและการปฏิวัติ
เลนินคือนักปฏิวัติแห่งลัทธิมาร์กซอย่างแท้จริง     ทฤษฏีปฏิวัติของเขาเชื่อถึงความจำเป็นในการโค่นล้มระบอบทุนนิยมด้วยการใช้กำลังก้วยการปฏิวัติเพื่อสถาปนาเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นคนส่วนข้างมากเพื่อก้าวไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ในที่สุด      และจะต้องมีพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพที่มีลักษณะสู้รบเป็นกองหน้าชี้นำ  เป็นการพัฒนาไปสู่ลัทธิมาร์กซ-เลนิน     อันเป็นอุดมการ์ณ์ที่ทรงอิทธิพล  โรเบิร์ต  เซอร์วิส  นักเขียนชีวประวัติของเลนินให้ข้อสังเกตว่า   เลนินคัดค้านแนวคิดของลัทธิอุดมธรรม,พิจารณาว่าสำนึกทางศีลธรรมไม่สามารถตอบปัญหาของสังคมได้อย่างถูกต้องเที่ยงธรรม     ท่านวินิจฉัยว่าการปฏิบัติเป็นปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินชี้ขาดถึงความสำเร็จของการปฏิวัติ
ข้อสรุปของเลนินที่ว่า “จักรพรรดินิยมคือขั้นตอนสูงสุดของระบอบทมุนนิยม”  การปฏิวัติของเลนินไม่ใช่แต่เฉพาะในรัสเซียเท่านั้นหากทั้งโลก       เพื่อการปฏิวัติโลก “สากลที่สาม”  หรือองค์กรคอมมิวนิสต์สากลได้ประชุมก่อตั้งขึ้นในรัสเซียเมื่อปี 1919 เพื่อแทนที่สากลที่สองซึ่งเต็มไปด้วยอิทธิพลของแนวคิดอื่นที่ไม่ใช่ลัทธิมาร์กซ     เลนินมีอิทธิพลมากในการประชุมสภาของสากลครั้งแรก    ครั้งที่สอง(1920) และครั้งที่สาม(1921)  เขาหวังที่จะใช้องค์กรนี้เป็นตัวแทนของการปฏิวัติสังคมนิยมในระดับสากล   แต่หลังจากความล้มเหลวของการปฏิวัติในโปแลนด์อันเป็นชนวนให้เกิดสงคราม โซเวียต-โปแลนด์ขึ้นในปี1919–21     อีกทั้งการปฏิวัติในเยอรมันนีและใรยุโรปตะวันออกหลายๆแห่งถูกบดขยี้ลง    เลนินได้เห็นถึงการต่อต้านอาณานิคมในประเทศเมืองขึ้นเพิ่มมากขึ้น   จึงให้ความสนใจที่จะขยายการต่อสู้ปฏิวัติไปสู่        ปเหล่าประเทศอาณานิคม    เขามีความเชื่อว่าการปฏิวัติในประเทศอาณานิคมเหล่านี้จะมีความเป็นไปได้โดยการเป็นพันธมิตรระหว่างชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นชาวนาในชนบท   

ปี 1923 เลนินกล่าวว่า ผลสะเทือนของการต่อสู้ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นแค่ในรัสเซีย  อินเดีย  จีน ฯลฯ หากแต่รวมไปถึงประชาชนส่วนใหญ่ของโลกด้วย     ภายในเพียงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านไปการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยยิ่งจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว    ดังนั้นจึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าผลของการต่อสู้ในโลกจะเป็นเช่นไร    เช่นนี้แล้วชัยชนะของสังคมนิยมจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน         เลนินได้กล่าวชื่นชมต่ออุดมการณ์พื้นฐานของการปฎิวัติสังคมนิยมในจีนที่นำโดยซุนยัตเซ็นและพรรคกว๋อหมินตั่ง  เลนินได้ยกย่องซุนในความตั้งใจที่จะปฏิรูปสังคมและแสดงความยินดีต่อการต่อสู้กับจักรพรรดินิยมต่างชาติ   และซุนเองก็ชื่นชมต่อเลนินในฐานะ “บุรุษผู้ยิ่งใหญ่”  และได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีกับความสำเร็จในการปฏิวัติรัสเซีย   พรรคกว๋อหมินตั่งเป็นพรรคปฏิวัติของนักชาตินิยมที่ ใช้ลัทธิเลนินในการจัดตั้งโดยการช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต

21.  งานนิพนธิ์
เลนินเป็นนักทฤษฎีการเมืองและนักปรัชญาที่มีผลงานมากมายและได้นำเสนอมุมมองทางการเมืองเพื่อการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ  เขาเขียน จุลสาร  บทความ และหนังสือโดยไม่ต้องมีนักจดเชาวเลขหรือเลขานุการยกเว้นตอนล้มเจ็บ  เขาประพฤติ ปฏิบัติไม่ว่าต่อสหาย  พันมิตร และเพื่อน  ทั้งในรัสเซียและทั้งโลกเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด    งานนิพนธิ์ของเขาที่มีการรวบรวมไว้ประกอบด้วย 54  ชุด   แต่ละชุดมี 650 หน้า   แปลเป็นภาษาอังกฤษ 45 ชุด โดยสำนักพิมพ์ก้าวหน้ามอสโคว์และเป็นหนังสือที่นับว่าทรงอิทธิพลมาก คือ

-      จะทำอะไรดี? (What is to be Done? 1902)  กล่าวถึงการปฏิวัติต้องมีพรรคที่ปฏิวัติเป็นกองหน้า
-      จักรพรรดินิยม ขั้นสูงสุดของทุนนิยม (Imperialism, the Highest Stage of Capitalism 1916)  ได้อรรถาธิบายถึงว่า  ทำไมระบอบทุนนิยมจึงต้องพังทลายอย่างที่มาร์กซได้คาดการไว้   และกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่าเป็นสงครามของระบอบทุนนิยมก่อขึ้นเพื่อแย่งชิง  ดินแดน  แหล่งทรัพยากร   และแรงงานราคาถูก
-      รัฐและการปฏิวัติ (The State and the Revolution 1917) ได้อธิบายแนวคิดของมาร์กซและเองเกลส์   ถือว่าเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีของการปฏิวัติเดือนตุลาคมและโต้แย้งพรรคสังคม-ประชาธิปไตยที่มีแนวโน้มลังเลในการปฏิวัติ
-      บทนิพนธิ์เดือนเมษายน (April Theses  1917) เสนอเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์สังคมที่มีความจำเป็นในการปฏิวัติสังคมนิยม
-      คอมมิวนิสต์ปีกซ้าย โรคไร้เดียงสา (Left-Wing" Communism: An Infantile Disorder 1920) เป็นข้อวิจารณ์พวกซ้ายจัดในพรรคอย่างแหลมคม  

หลังอสัญกรรมของเลนิน   ทางการสหภาพโซเวียตได้ตรวจสอบบทนิพนธิ์บางส่วนให้เป็นหลักการของ เลนิน  สตาลินและคณะกรรมการกลาง     ดังนั้นการพิมพ์ครั้งที่ 5 (55 ชุด /1958-65) จึงได้ลบเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างเลนิน-สตาลิน  และเรื่องที่ไม่เหมาะสมของผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตออกไป    ริชาร์ด ไปป์ส  นักประวัติศาสตร์ได้ตีพิมพ์ เอกสาร จดหมาย โทรเลข  ที่ถูกลบออกจากฉบับพิมพ์ครั้งที่ ขึ้นและให้ความเห็นว่าการพิมพ์ครั้งที่ 5 นี้ไม่มีความสมบูรณ์

 ชีวิตส่วนตัวและบุคลิกภาพ
“รวมบทนิพนธ์ของเลนิน  เปิดเผยให้เห็นถึงรายละเอียดของคนที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า  เป็นตัวของตัวเอง   ไม่กลัวศัตรูและอุปสรรคทั้งปวง    มีการตัดสินใจที่แน่วแน่และกระตือรือล้น   มีพลวัตรอย่างไม่รู้จักจบสิ้น   มีพลังในการโน้มน้าวผู้อื่น   มีความจริงจังและบุคลิกที่น่าประทับใจและอยากใกล้ชิด   อุทิศตน   มีไหวพริบ,เฉลียวฉลาดและมีทักษะเป็นเลิศในทางการเมือง    กล้าที่จะนำเสนอสิ่งที่เป็นสัจธรรม   ชีวิตของเขาได้กลายไปเป็นประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของบอลเชวิค”     หลุยส์  ฟิชเชอร์ 1964

ทร้อตสกีที่รู้จักเลนินดีบรรยายว่า:    ลักษณะภายนอกของเลนินคือความเรียบง่ายแต่เข้มแข็ง   รูปร่างไม่สูงนักใบหน้ามีลักษณะแบบชาวสลาฟทั่วๆไป ดวงตาสุกใสลุ่มลึก    ลักษณะเด่นเป็นพิเศษคือหน้าผากโหนกใหญ่และทรงพลัง   ทรอทสกีประเมินบทบาทของเลนินในเดือนเมษายน 1917ว่า เมื่อเขา(เลนิน)ได้ติดอาวุธใก้แก่พรรคบอลเชวิคอีกครั้งด้วย”บทนิพนธิ์เดือนเมษายน” อันลือลั่น   ทรอทสกี้กล่าวถึงลักษณะเฉพาะด้วยนัยทางทฤฎีวัตถุนิยมประวัติศาสตร์
“ทันทีที่เลนินกลับจากต่างประเทศหลังจากลี้ภัยไปนาน  สื่อต่างๆได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาโจมตีเขาอย่างบ้าคลั่ง    การต่อสู้ทางความคิดกับบรรดาสหายสมาชิกพรรครุ่นเก่าที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ยุทธวิธีของเขาจบลงด้วยชัยชนะถือได้ว่าเป็นปัญหาของการต่อสู้ในวงกว้าง  ในกรณีนี้กล่าวง่ายๆก็คือเป็นความเห็นต่างที่เต็มไปด้วยลักษณะกลไก  ลัทธิปัจเจก  ลัทธิวีรชน  ลัทธิอัจฉริยภาพ   ที่คัดค้านเงื่อนไขทางภววิสัยของมวลชนและพรรค    ในความเป็นจริง...ความแตกต่างนี้ได้จบลงเพียงด้านเดียว   เลนินไม่ใช่องค์ประกอบที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญในการพัฒนาทางประวัติศาสตร์  แต่เป็นผลผลิต  เป็นรากก้ำวที่ได้หยั่งลึกที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหมดของรัสเซีย    พร้อมทั้งเป็นกองหน้าของมวลชนคนงานที่อุทิศชีวิตตลอดยี่สิบห้าปีบนเส้นทางของการต่อสู้ปฏิวัติ”   

เบอร์ทรัล รัสเซลล์  ที่ใช้เวลาสนทนากับเลนินเป็นชั่วโมงกล่าวว่า:  “มีท่าทีที่เป็นมิตรมาก  ข้อเด่นคือเป็นคนง่ายๆไม่มีเค้ารอยของความหยิ่งยะโสแม้แต่น้อย    ถ้ามีใครสักคนหนึ่งพบเขาโดยที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนคงไม่คิดว่าจะเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดหรือแม้แต่จะคิดว่าเป็นคนที่มีชื่อเสียงแต่อย่างใด    ผมไม่เคยพบบุคคลสำคัญที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับตัวเองถึงเพียงนี้    เขามองผู้เป็นแขกด้วยความสนิทสนมใกล้ชิด   จ้องลึกเข้าไปในดวงตาซึ่งทำให้เพิ่มความหวั่นเกรงขึ้นมาอีก   ครั้งแรกดูเหมือนว่ารื่นเริงเป็นกันเองเขาหัวเราะด้วยอารมณ์เบิกบาน    หลังจากนั้นทำให้ผมรู้สึกว่าค่อนข้างจะน่ากลัวเขามีลักษณะผู้นำที่เข้มงวด    สงบนิ่ง   ไม่มีความกลัว   ที่พิเศษคือการไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว      ทฤษฎี,แนวคิดเกี่ยวกับวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้นรู้สึกว่าจะซึมซ่านอยู่ในจิตวิญญาณและสายเลือด      รักที่จะอธิบายชี้แจงอยู่เสมอเหมือนศาสตราจารย์ที่ฉุนเฉียวเพราะไม่ต้องการให้ความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีผิดไป      ผมมีความประทับใจที่เขาไม่ชื่นชมต่อปัญญาชนขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย”
จากที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับบุคลิกภาพส่วนตัวของเลนินคือแบบอย่างของผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน  เป็นคนรักเด็กและแมว     โปรดปรานการปั่นจักรยานเป็นอย่างมาก    ชอบถ่ายรูป    เล่นหมากรุก   เล่นเสก๊ต    ว่ายน้ำ    ดนตรี    และการปีนเขา   ในขณะที่ลี้ภัยในสวิตเซอร์แลนด์เลนินและภรรยาชอบการเดินขึ้นเขา      ชีวิตส่วนตัวและรายละเอียดปลีกย่อยของเลนินได้ถูกเล่าไว้ในหนังสือ      ”ความทรงจำถึงเลนิน” (Memories of Lenin.) ที่บันทึกโดย นาเดซดา  ครุฟสกายา  ภรรยาคู่ชีวิตและมิตรร่วมรบของท่าน

-----------------------------------------------------------------------------------------

No comments:

Post a Comment