ชนวนของการปฏิวัติ
วันที่ 9 มกราคม 1905
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
“เนื่องจากข้าพระพุทธเจ้าเหล่ากรรมกรทั้งหลายพร้อมด้วยภรรยาและลูกหลาน,พ่อแม่ที่แก่เฒ่าไร้ที่พึ่ง ต้องมาขอเข้าเฝ้าพระองค์...เพื่อแสวงหาความยุติธรรมและความคุ้มครองจากพระองค์ พวกข้าพระ
พุทธเจ้าทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนยากไร้ ถูกกดขี่บังคับให้ใช้แรงงานจนเกินกว่าที่จะทนต่อไปได้แล้ว ถูกหยามเหยียดประหนึ่งมิใช่มนุษย์ถูกกระทำย่ำยีและปฏิบัติต่อราวกับทาสที่ไม่สามารถมีปากเสียงใดๆ
พวกข้าพระพุทธเจ้าได้รับทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่งมีสภาพไม่ต่างจากขอทานไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายและไม่ได้รับการเหลียวแล ถูกบีบคั้นด้วยกฎเกณฑ์เผด็จการที่ตั้งขึ้นตามอำเภอใจ ความอดทนของพวกข้าพระพุทธเจ้าจวนเจียนจะถึงที่สุดแล้วในเวลาเช่นนี้ย่อมเป็นการดีที่จะตายเสียดีกว่าที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปด้วยความปวดร้าวทรมาน”
ถ้อยคำเหล่านี้…ทำให้ชนชั้นกรรมกรรัสเซียได้ก้าวเข้าสู่เวทีประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรกด้วยการยื่นเรื่องถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพระเจ้าซาร์ผู้เป็นประหนึ่ง ”พระบิดาน้อย”(Little father)[1]ของชาติด้วยมือของตนเอง หลังจากนั้นอีก11เดือนภายใต้การนำของพรรคการเมืองลัทธิมาร์กซ
ชนชั้นกรรมกรรัสเซียก็ได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับชนชั้นปกครอง ในช่วงหลายเดือนที่การปฏิวัติครั้งแรกในรัสเซียได้ถูกเล่าขานแพร่
กระจายออกไปอย่างรวดเร็วในหมู่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานรวมไปถึงบรรดาชนชั้นผู้ถูกกดขี่ทั้งหลายในสังคม และยังผ่านไปสู่แนวทางการต่อสู้ที่เป็นมีลักษณะอุดมคติที่หลากหลายและวิธีการต่อสู้อื่นๆ
เช่นการหยุดงานทางเศรษฐกิจ การร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ ตลอดไปถึงการนัดหยุดงานทั่วไปและการเดินขบวนประท้วง...กระทั่งการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธ
ปี 1905 การปฏิวัติได้ปรากฏขึ้นอย่างเปิดเผย แม้ว่าจะเป็นเพียงหน่ออ่อนและเป็นการซ้อมใหญ่ก็ตาม
กระบวนการพื้นฐานนี้ได้เกิดซ้ำขึ้นอีกและยกระดับสูงขึ้นในอีกใน 12 ปีให้หลัง เพื่อให้ชัยชนะขั้นสุด
ท้ายของชนชั้นกรรมาชีพเป็นความจริงขึ้นมาในเดือนตุลาคม 1917 แนวทางของปี 1905 ความคิดทั้งหลาย นโยบายต่างๆ
พรรค
และบรรดาผู้นำต่างได้รับการตรวจสอบมาตลอด ประสบการณ์ของการปฏิวัติครั้งแรกเป็นเครื่องตัดสินการพัฒนาและแนวโน้มในอนาคตของสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย
ก่อนที่การปฏิวัติปี 1905 จะเกิดขึ้นในขณะนั้นพรรคสังคมประชาธิปไตยกำลังตกต่ำสุดขีดจากการแตกแยกและการถูกไล่ล่าจับกุมการต่อสู้กันของกลุ่มที่แตกแยกเป็นฝักฝ่ายภายในพรรคทำให้การเคลื่อนไหวต่อสู้กับศัตรูต้องหยุดชะงักไปหลายเดือนการเคลื่อนไหวภายในรัสเซียเองไม่ได้รับการยอมรับและเกิดการหลงทิศผิดทางขึ้น เนื่องจากขาดการชี้นำจากศูนย์กลางพรรคที่อยู่ภายนอกประเทศ ตัวแทนกลุ่มบอลเชวิคถูกถอดถอนออกจากองค์กรต่างๆ จนกระทั่งเดือนธันวาคม 1904 หนังสือพิมพ์ วีเปอร์ยอด(Vperyod) ฉบับแรกจึงสามารถออกมาได้ การขาดแคลนเงินทุนคงทำให้ฐานะของ
วีเปอร์ยอดไม่ค่อยจะมั่นคงนักกลุ่มเมนเชวิคซึ่งมีแหล่งเงินทุนสนับสนุนมากกว่าแต่การเคลื่อนไหวใต้ดินภายในประเทศกลับมีน้อยกว่า ยกเว้นบางพื้นที่เช่นแถบคอเคซัสใต้แต่ที่นั่นผู้ปฏิบัติงานค่อนข้างจะอ่อนแอ
ในเวลานั้นแม้จะมีการเคลื่อนไหวงานใต้ดิน ก็ยากที่จะประเมินความเข้มแข็งที่แท้จริงของบอลเชวิคได้ ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กยังมีการบริหารองค์กรพรรคร่วมกันอย่างปกติ จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม 1904 เมนเชวิคจึงได้แยกตัวออกไป เมื่อถึงเวลานั้นผู้สนับสนุนเลนินต่างได้กลับเข้ามาบริหารพรรคอีก แต่การต่อสู้ภายในที่ผ่านมาทำให้งานของพรรคเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากภาพสะท้อนของจำนวนใบปลิวที่สมาชิกบอลเชวิคเคลื่อนไหวแจกจ่ายในปีเตอร์สเบิร์กเมื่อปี
1904 มีแค่ 11 ครั้งเท่านั้นเมื่อเทียบกับปี
1903 ที่มี 55 ครั้ง และ 117 ครั้งในปี
1905โดยทั่วไปแล้ว
องค์กรจัดตั้งของบอลเชวิคในรัสเซียในครึ่งหลังของปี 1904
นั้นถือว่ามีความตกต่ำมาก ผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา(นักปฏิวัติอาชีพ)
ต่างไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของการแตกแยก และได้รับผลสะเทือนด้านลบจากการแยกตัวออกไปของนักประนีประนอมในคณะกรรมการกลางของพรรค แม้จะได้รับคำอธิบายและให้กำลังใจจากเลนินก็ตาม แต่พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะไปเข้าร่วมกับกลุ่มเมนเชวิค ซึ่งกำลังอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ โดยการส่งทั้งตัวแทนและเงินจำนวนมากเข้าไปในรัสเซีย ในไม่ช้าก็สามารถเข้าไปครองเสียงส่วนใหญ่ในคณะกรรมการบริหารองค์กรพรรคแทนกลุ่มบอลเชวิค
ความผิดพลาดและความเฉื่อยชาของคณะกรรมการฯ เป็นสาเหตุให้กรรมกรแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
เกิดความรู้สึกไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้นที่จะเอียงไปทางเมนเชวิค คณะกรรมการแห่งเมืองนาร์วา(Narva
ปัจจุบันอยู่ในประเทศเอสโทเนีย)ได้ออกมติชี้ชัดถึง ”
ความเบื่อหน่ายที่จะทำงานต่อไปภายใต้การนำของคณะกรรมการ ” คณะกรรมการแห่งวาซีเลียฟ
(Vasiliev) ออสตร๊อฟ (Ostrov) ได้ผ่านมติ“ไม่ไว้วางใจในการนำของคณะกรรมการบอลเชวิค” ในส่วนของ นาร์วา เนวา วาซิเลียฟ ออสตร๊อฟ และ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กรรมกรได้แยกตัวออกไปเป็นจำนวนมากและประกาศเข้าร่วมกับเมนเชวิค และในเดือนธันวาคมต่างก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเอง
คณะกรรมการทั้งสองส่วนนี้ก็ดำรงอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก กว่าจะได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาก็เมื่อครั้งการประชุมสมัชชาพรรคที่ที่สต๊อคโฮม(สวีเดน) เมื่อปี
1906
การสูญเสียทั้งพื้นที่และผู้ปฏิบัติงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กทำให้เลนินต้องรับภาระที่หนักอึ้ง มันเป็นการสูญเสียอิทธิพลและการชี้นำของบอลเชวิคให้แก่เมนเชวิคอย่างต่อเนื่องในเดือนต่อๆมา ทำใหัทุกสิ่งทุกอย่างเลวลง, และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นการสูญเสียที่ส่งผลให้บอลเชวิคต้องขาดผู้นำในระดับท้องถิ่น เลนินต้องกุมศีรษะเมื่ออ่านคำอธิบายจากจดหมายของ
โรสซาเรีย เซ็มลียาชกา ตัวแทนบอลเชวิคในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เธอรายงานว่า“พวกเมนเชวิค ยกโขยงกันเข้ามาในรัสเซียอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น...คณะกรรมการกลาง(ฝ่ายเมนเชวิค...ผู้แปล)ได้จัดการเปลี่ยนให้ผู้คนมาคัดค้านเรา เราเองก็ไม่มีกำลังพอที่ต่อสู้และรักษางานเอาไว้ได้ ข้อเรียกร้องต้องการของผู้คนมาจากทั่วทุกสารทิศ มันจึงมีความจำเป็นที่คณะกรรมการกลาง(ฝ่ายบอลเชวืค...ผู้แปล)
ควรจะเดินทางกลับไปอย่างเร่งด่วน ไม่มีใครสักคนที่จะสามารถเดินทางออกไปได้
ฉันจำต้องทิ้งสำนักงานและแฝงตัวเข้าไปทำงานในท้องถิ่น ทุกอย่างดูจะเลวร้ายไปหมด....เราต้องการกำลังคน ทุกคนต่างก็เรียกร้อง ไม่มีใครที่เราพอจะทำงานด้วยได้...” และในบันทึกยังกล่าวต่อไปอีกว่า
“เรากำลังก้าวสู่จุดเสี่ยงที่จะสูญเสียเมืองแล้วเมืองเล่าจากการขาดแคลนกำลังคน ทุกๆวันฉันได้รับจดหมายกองพะเนินจากหลายๆที่...เรียกร้องให้ส่งคนไปช่วย...นี่ก็พึ่งจะตอบจดหมายจากเยคัธรินโนสลาฟ
พวกเขาขอให้ส่งคนและเงินไปช่วยไม่เช่นนั้นคงรักษาเยคัธรินโนสลาฟไว้ไม่ได้...แต่เราไม่มีคนเลยจริงๆ
คนแล้วคนเล่าต่างก็เลิกราไปโดยไม่มีผู้ปฏิบัติงานใหม่ๆเข้ามาเสริมเลยแม้แต่คนเดียว
ในขณะเดียวกันทุกหนทุกแห่งมีแต่คนของเมนเชวิคอยู่ในตำแหน่งเต็มไปหมด....มันน่าจะง่ายขึ้นที่จะขับ
เคลื่อนงานต่อไปขอเพียงแต่เรามีกำลังคนเท่านั้น
ส่วนสำนักงานก็คงเป็นแค่เทพนิยายตั้งแต่พวกเราทั้งหมดไปเคลื่อนไหวงานในท้องถิ่น”
จดหมายพวกนี้เขียนเมื่อวันที่ 7 มกราคม 1905
สองวันก่อนถึงวันอาทิตย์นองเลือด
ความไม่พอใจจากการขาดแคลนผู้ปฏิบัติงาน
แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นในคณะกรรมการทั้งหญิงและชายในหมู่มวลชนกรรมกร แทนที่จะเสริมเลือดใหม่ๆเข้าไปในคณะกรรมการ,เปิดเงื่อนไขสำหรับกรรมกรและคนหนุ่มสาวให้มากขึ้น,หาทางแก้ปัญหา, เรียกร้องนักปฏิวัติอาชีพกลับจากต่างประเทศ
ทุกๆบรรทัดของจดหมายแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ไม่สามารถเข้าไปเชื่อมงานกับฝ่ายนำของหน่วยเคลื่อนไหวที่กุมบทบาทที่เป็นจริงของขบวนการชนชั้นกรรมกรได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ ลิทวินอฟ
ได้เขียนจดหมายเสนอข้อคิดเห็นต่อเลนินว่า
“ความยุ่งยากที่เธอ (เซ็มลียาชกา)
ไม่ได้ตระหนักเลยแม้แต่น้อยว่าอะไรคือวิกฤติและอะไรคือภาวะที่น่าสมเพชของชาติเรา ?
ในแวดวงทั้งหมด,ถ้าหากทุกหนทุกแห่งต่างก็ต่อต้านเรา เราคงต้องประสบกับความยากลำบากมิใช่น้อย การเติบใหญ่ของพรรคชนชั้นกรรมาชีพยังพอจะทำให้เราคิดได้ว่า เรายังดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลุ่มก้อนของมวลชนกรรมกรที่ไร้การจัดตั้ง ที่ไม่มีการสนับสนุนใดๆมาตั้งแต่มีการปรองดองกัน(ของคณะกรรมการกลางและเมนเชวิค) ทัศนคติของคณะกรรมการกลางเปลี่ยนแปลงไป
ความพยายามทั้งหมดของพวกเรากลายเป็นการดิ้นรนไปสู่ความตายของบอลเชวิค ไม่เคยมีการประชุม(อย่างน้อยแม้แต่การประชุมลับ),ไม่มีการปลุกระดมเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติในระดับกว้าง
ผมขอย้ำว่า...สถานภาพของเราขณะนี้สั่นคลอนและอันตรายอย่างที่สุด
เราสามารถหาทางออกได้เพียงสองทางเท่านั้นคือ
1. เรียกประชุมสภาโดยทันที(ไม่ควรเกินเดือนกุมภาพันธ์)
และ
2.เริ่มออกหนังสือพิมพ์ให้เร็วที่สุด
หากไม่สามารถบรรลุทั้งสองข้อนี้ให้เร็วแล้ว เราจะต้องก้าวไปสู่ความหายนะอย่างแน่นอนและเป็นก้าวที่จะชี้ชะตากรรมของพรรคด้วย
บางทีเราจำเป็นต้องยอมสูญเสียปีเตอร์สเบิร์ก เมนเชวิคกลุ่มใหญ่จะยึดกุมที่นั่น....เราควรสำแดงพลังของเราที่นั่น..แต่ใครละจะเป็นคนทำ?” บอลเชวิคกำลังตกอยู่ในความยุ่งยากแต่เมนเชวิคเองก็ไม่ได้ดีไปกว่านั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากมวลชนกรรมกร
องค์กรสังคมประชาธิปไตยในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเริ่มแต่ มกราคม 1905 เป็นต้นมาไม่ว่าจะใช้มาตรการใดๆก็ยังอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ โซโลมอน ชวาร์ซ (Solomon Schwarz)บันทึกไว้ว่า
“เดือนธันวาคม 1903 มีเพียง 18
กลุ่มโรงงานที่เข้าร่วมในองค์กรสังคมประชาธิปไตยและสมาชิกของแต่ละกลุ่มมีเพียง 7
ถึง 10 คน ซึ่งเท่ากับมีสมาชิกที่เป็นกรรมกรทั้งหมดเพียงไม่เกิน 180 คน ถ้าสมาชิกที่เป็นนักศึกษาและปัญญาชนมีจำนวนพอๆกันนี้ สมาชิกทั้งหมดก็น่าจะมีประมาณ 360 คน ในช่วงหน้าหนาวปี 1904
สมาชิกคณะกรรมการและนักเคลื่อนไหวกิจกรรมมีจำนวนลดลงและการติดต่อสัมพันธ์กับฝ่ายซ้ายในต่างประเทศก็น้อยลงมากหรือเกือบจะไม่มีเลย ในทำนองเดียวกันสามารถกล่าวได้ว่ากลุ่มเมนเชวิคก็ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนมากไปกว่าเรา ในเขตหนึ่งๆมีหน่วยย่อยเพียง 15 ถึง 20 หน่วย
และในเดือนธันวาคมปี 1904 เหลือเพียง 4 ถึง 5 หน่วยเท่านั้น”
พี เอ การ์วี
สมาชิกระดับนำคนหนึ่งของเมนเชวิคได้อธิบายสภาพในกรุงเคียฟก่อนปี 1905 ว่า
”การขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานเป็นเรื่องที่น่าประหลาด, การห่างเหินจากมวลชนกรรมกรและผลประโยชน์รายวันของพวกเขา,
การไม่มีชีวิตทางการจัดตั้งหากเทียบกับเวลาที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อผมในเคียฟ มันเป็นสภาวะการที่ห่อเหี่ยวมากหากเทียบกับชีวิตการจัดตั้งเมื่อก่อนที่โอเดสสาในช่วงปี
190-1902 ที่มีแต่ความกระตือรือล้น , มีการจัดประชุมที่เคียฟ,
มีการประชุมในส่วนของผู้ทำหน้าที่โฆษณาเพื่อชี้นำหน่วยงานโฆษณา ซึ่งส่วนมากจะเป็นการทำใบปลิวแจกจ่ายไปตามหน่วยต่างๆนั่นเป็นที่ทำทั้งหมด”
“ผมก็ยังเดินหน้าต่อไป กล่าวได้ว่าตลอดปี 1905 ทั้งในเคียฟ รอสตอฟ
และมอสโคว์ แต่ละวันต้อง ต่อสู้ดัดแปลงผู้ปฏิบัติงานของเราในองค์กรจัดตั้งของพรรค ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้ปฏิบัติงานหนุ่มสาวที่ขาดประสบการณ์ ขี้โมโห ใจร้อน เด็ดเดี่ยว
แต่กลับอ่อนด้อยในเรื่องความสัมพันธ์กับมวลชนกรรมกรและไม่มีบารมีในโรงงาน นักสังคมประชาธิปไตยรุ่นเก่าซึ่งเป็นกองหน้าที่แท้จริงของมวลชนกรรมกร
ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงที่มีการโฆษณารณณรงค์ในเรื่อง ”ลัทธิเศรษฐกิจ[2]”
คนงานรุ่นเก่าเหล่านี้ต่างไม่เข้าร่วมในการนัดหยุดงานเมื่อเดือนตุลาคม ไม่ว่าจะในเคียฟ รอสตอฟ และมอสโคว์
ผม..ไม่เพียงแต่ผมเท่านั้นที่ต้องหันไปใช้วิธีการที่แยบยลเพื่อดึงเอาคนเก่าแก่เหล่านั้นให้หันกลับมาทำงานให้พรรคอีก แต่ดูเหมือน ว่าพวกเขากลับมาอย่างไม่สู้จะเต็มใจนัก พวกเขาไม่เชื่อถือในองค์กรจัดตั้งและวิธีทำงานของเรา”
-----------------------------------------------------------------------------------------
[1] พระบิดาน้อย
(Little father) เป็นสมัญญานามของพระเจ้าซาร์ในฐานะที่ถูกยกย่องให้เป็นเสมือน
“พ่อ” ของประชาชนรัสเซีย
รองลงมาจากพระบิดาใหญ่ (Great father)
ซึ่งหมายถึงพระเยซูคริสต์
Many thanks for your kind invitation. I’ll join you.
ReplyDeleteWould you like to play cards?
Come to the party with me, please.
See you soon...
เล่นบาคาร่า
คาสิโนออนไลน์
คาสิโน
คาสิโนออนไลน์