Saturday, December 24, 2016

บอลเชวิค เส้นทางสู่การปฏิวัติตอนที่ 4.

ตอนที่ 4  กำเนิดลัทธิมาร์กซรัสเซีย

ความคาดหวังของเพลคานอฟต่อแนวโน้มในอนาคตเป็นเรื่องที่มืดมน   ยุทธวิธี “ลงสู่มวลชน” แบบเก่าล้าสมัยไปแล้ว   ชาวนาปฏิเสธคำโอ้โลมปฏิโลมของชาวนารอดนิคมากยิ่งกว่าครั้งก่อนๆ       ในที่สุดอดีตชาวนารอดนิคส่วนใหญ่ก็ได้ละทิ้งความหวังอย่างไม่แยแส  กลับไปใช้ชีวิตในเมืองดื่มกินสนุกสนานหนักยิ่งกว่าเดิม     มีความเป็นไปได้ที่ความจัดเจนในระยะที่ผ่านมาของเขาในฐานะที่เป็นหัวหน้า ”ส่วนงานกรรมกร” ได้ผลักดันให้ เพลคานอฟ เสนอความเห็นต่อบรรดาสมาชิกของ เชอร์นี  พาราเดล   ว่าพวกเขาควรจะเข้าไปปลุกระดมมวลชนกรรมกรในโรงงาน     ดังนั้นเพลคานอฟจึงเริ่มเข้าไปเสาะหาและสร้างความสัมพันธ์กับกรรมกรที่เขาเคยมีความสัมพันธ์อยู่แต่เดิม     ในบรรดากรรมกรเหล่านี้ หนึ่งในนั้น ได้แก่คาลทูลินแห่งสหบาลกรรมกรรัสเซียภาคเหนือ      แต่กระแสของลัทธิก่อภัยร้ายยังเป็นที่ชื่นชอบของบรรดากรรมกรที่ก้าวหน้าซึ่งคาลทูลินก็มีส่วนร่วมอยู่ด้วย    

เดือนกุมภาพันธ์ 1880 มีความพยายามที่จะลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์     ผู้สนับสนุนแนวทางของ เชอร์นี  พาราเดล จึงถูกโดดเดี่ยวอย่างถึงที่สุด     ลมหายใจเฮือกสุดท้ายได้มาถึงในเดือนมกราคม 1880   ตำรวจได้เข้าทะลายโรงพิมพ์ใต้ดินและทำการกวาดล้างจับกุมองค์กรก้าวหน้าต่างๆทั่วรัสเซีย  อนาคตของชาวนารอดนิคที่ไม่สนับสนุนการก่อภัยร้ายซึ่งภายหลังทรอตสกีได้ให้ข้อสังเกตว่า     ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโดดๆแต่เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น     แต่เป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ลัทธิมาร์กซ

อีกด้านหนึ่งซึ่งแตกออกไป   คือผู้ที่สนับสนุนกลุ่ม นารอดนายา โวลยา  ได้สร้างผลงานที่น่าประทับใจขึ้น   กล่าวคือ.....องค์กรเล็กๆที่ประกอบไปด้วยชายหญิงแค่สองสามร้อยคน  สามารถทำสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ ทำให้พระเจ้าซาร์ต้องกลายเป็นเสมือนนักโทษที่ถูกคุมขังไว้ในพระราชวังของพระองค์เอง      ในเวลานั้นทิศทางของกระแสมวลชนได้หลั่งไหลไปสู่ นารอดนายา โวลยา  ที่ดำเนินการโดยตัวแทนซึ่งทั้งหมดเป็นเพียงนักปฏิวัติรุ่นหนุ่มสาวทั้งสิ้น    องค์กรใหม่นี้มีการรวมศูนย์และดำเนินงานลับกันอย่างเข้มข้น นำโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วย เอ.ไอ.เซลียาปอฟ  , เอ. ดี. มิคไคลอฟ  , เอ็ม.เอฟ. โฟรเลนโก, เอ็น .เอ. โมโซรอฟ,   เวรา  ฟิคเนอร์,  โซเฟีย  เปอร์รอฟสกายา  และคนอื่นๆ        เมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหวของชาวนารอดนิครุ่นเก่า   นโยบายของ นารอดนา โวลยา    แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้ากว่า  และมีจุดยืนทางการเมืองที่ชัดเจนกว่าในการต่อสู้คัดค้านระบอบเอกาธิปไตย     เลนินมักจะกล่าวคำสรรเสริญถึงความไม่เห็นแก่ตนเองของวีรบุรุษและวีรสตรี ชาวนารอดนิคผุู้กล้าหาญเหล่านี้อยู่  เสมอๆในขณะที่มีวิจารณ์ยุทธวิธีการก่อภัยร้ายเพียงด้านเดียว    ภายหลังท่านเขียนว่า “สมาชิกของ นารอดนายา  โวลยา ได้ก้าวล้ำไปหนึ่งก้าวแล้วในการต่อสู้ทางการเมือง  เพียงแต่ไม่อาจเชื่อมเข้ากับลัทธิสังคม นิยมเท่านั้น”

นโยบายของ นารอดนายา โวลยา ที่คาดหวังไว้ในอนาคตถึงการมี ”ตัวแทน”ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปอย่างเป็นประชาธิปไตยและมีเสรีภาพอย่างเป็นทางการ ,   การโอนที่ดินให้แก่ประชาชน,   และมาตรการ  ให้โรงงานอยู่ในการจัดการของกรรมกร     การเคลื่อนไหวนี้มีพลังจูงใจต่อมวลชนที่กล้าหาญและเสีย  สละตัวเอง  รวมถึงคาลทูรินแห่งสหบาลกรรมกรภาคเหนือด้วย    เขาได้แสดงความอาจหาญอย่างมากด้วยการเริ่มต้นจากงานช่างไม้ในหน่วยเรือสำราญของพระจักรพรรดิ์    เป็นแบบอย่างของคนงานที่ได้รับความไว้วางใจ, และในเดือนกุมภาพันธ์ 1880 เขาได้ประกอบระเบิดที่มีอานุภาพร้ายแรงภาย ในโรงช่างของพระราชวังฤดูหนาว            เตรียมที่จะระเบิดพระราชวังของพระเจ้าซาร์ที่ตั้งอยู่ใจกลางนครหลวงของพระองค์เอง     ผลก็คือ..รัฐเผด็จการได้เพิ่มมาตรการปราบปราบที่เข้มข้นขึ้นภายใต้ความรับผิดชอบของนายพล เมลิคอฟ       

กรณีของคาลทูรินเป็นเรื่องที่น่าสลดใจ..ในช่วงแรกๆเขามีความความรู้สึกที่ขัดแย้งอยู่ในใจระหว่างความจำเป็นในการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวด้านแรงงานและลัทธิก่อภัยร้าย  เหมือนที่ เวนทูรี ได้อธิบาย ..”คาลทูรินมีเส้นแบ่งระหว่างเป้าหมายของการขู่เข็ญคุกคาม(ศัตรู)และภาระหน้าที่ในการเป็นผู้นำองค์กรกรรมกรอย่างความชัดเจน      และในบางครั้งยังเปิดเผยความรู้สึกของตนออกมาว่า    ปัญญาชนได้บีบคั้นเขาโดยเริ่มจากการสะกิดบาดแผลของความล้มเหลวทุกๆครั้งในการก่อภัยร้าย     ถ้า..เพียงแต่พวกเขาจะให้เวลาและเปิดโอกาสแก่เราสักนิดเพื่อการสร้างความเข้มแข็งขึ้นมา "      แต่แล้วเขาก็ถูกความกระหายที่จะปฏิบัติการในทันทีซึ่งเป็นการนำเขาไปสู่หลักประหาร

ความสำเร็จทุกๆครั้งในการก่อภัยร้าย     ก็คือการเพาะเมล็ดพันธ์ของความเสื่อมถอย   การลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ในปี 1881  ไม่ได้ทำให้การปกครองที่กดขี่บรรเทาเบาบางลง       ยิ่งการก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี  หัวหน้าตำรวจ  ยิ่งเป็นการเปิดทางให้กลไกรัฐที่กดขี่ทั้งปวงทำการต่อต้านการเคลื่อนไหวปฏิวัติรุนแรงยิ่งขึ้น      รัสเซียแบ่งการปกครองออกเป็นหลายมณฑล  โครพอทกิ้นกล่าวระลึกว่า แต่ละแห่งขึ้นอยู่กับข้าหลวงใหญ่  ส่วนมากได้รับคำสั่งให้แขวนคอผู้ที่ต่อต้านรัฐอย่างไร้ความปราณี    เช่นโควาลสกี้และพรรคพวกไม่ได้ยิงใครเลยต้องถูกประหารชีวิต     การแขวนคอกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน,  ภายในสองปีมีการแขวนคอประชาชนไปถึง 23 ราย   รวมถึงเด็กชายอายุ 19 ปีคนหนึ่ง    เพียงแค่ชูป้ายคำแถลงของนักปฏิวัติที่สถานีรถไฟซึ่งเป็นข้อกล่าวหาเพียงข้อเดียวที่ทำให้เด็กคนนั้นต้องโทษประหาร “เขายังเป็นแค่เด็กชาย  แต่ได้ตายเยี่ยงผู้ใหญ่

เด็กสาวคนหนึ่งอายุแค่ 14 ปีถูกเนรเทศไปไซบีเรียตลอดชีวิต  เพียงเธอพยายามกระตุ้นฝูงชนให้ปล่อยนักโทษบางคนในขณะที่ถูกนำไปประหาร,เธอฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดน้ำ    ผู้ต้องโทษใช้เวลาเป็นปีในที่คุมขังที่มีสภาพคล้ายถ้ำเล็กๆที่ชุกไปด้วยไข้ไทฟอยด์และเสียชีวิตไปถึง 20 % ภายในหนึ่งปีในขณะที่รอการไต่สวน       นักโทษพากันประท้วงต่อการปฏิบัติอย่างโหดร้ายของผู้คุมด้วยการอดอาหารก็ถูกบังคับให้กินด้วยการจับกรอกแม้   ผู้ที่พ้นโทษแล้วยังคงถูกเนรเทศไปยังไซบีเรีย     พวกเขาต้องประ สบกับความอดอยาก       รอจนกว่าจะได้รับความเห็นใจจากรัฐบาลอนุญาตให้กลับบ้านได้    ทั้งหมดนี้ได้สร้างความโกรธแค้นให้แก่บรรดาคนหนุ่มสาวเหมือนถูกสุมด้วยเปลวไฟของความเดือดแค้นที่ต้อง การจะแก้แค้น  

เหยื่อของภัยขาวจึงถูกทดแทนด้วยสมาชิกรุ่นใหม่  ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็ต้องตกเป็นเหยื่ออยู่ในวงจรแห่งการกดขี่...ลัทธิก่อภัยร้าย...และการกดขี่อีกต่อไป...    คนรุ่นแล้วรุนเล่าต้องเสียชีวิตในเส้นทางเช่นนี้อย่างไม่มีวันจบสิ้น....   ฝ่ายอำนาจรัฐ..ไม่เพียงเฉพาะบุคคลทั่วๆไปและหัวหน้าตำรวจเท่านั้นที่เสริมความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิม    โดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด..แม้ต่อความจริงที่ว่ากลุ่ม  นารอดนายา โวลยา จะประสบความสำเร็จเพียงใดในการลอบสังหาร

รัฐมนตรี โพเบโดนอสต์เซฟ       อัยการสูงสุดคนใหม่สาบานว่าจะใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์แบบ ”เลือดกับเหล็ก” ในการกวาดล้างกลุ่มที่ก่อภัยร้าย   กฎหมายที่เข้มงวดทยอยออกมาโดยให้อำนาจในการจับกุม เซนเซอร์และการเนรเทศเป็นไปได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด   ได้สร้างผลสะเทือนไม่แต่เพียงนักปฏิวัติเท่านั้น   ยังลุกลามไปถึงกลุ่มที่มีแนวโน้มไปทางเสรีนิยมอีกด้วย     การกดขี่ในชาติได้ยกระดับสูงขึ้น ด้วยการสั่งระงับสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ใช่ภาษารัสเซียทั้งหมด       กฎหมายยังส่งผ่านไปยังบรรดาเจ้าที่ดินให้ดูแลควบคุมชาวนาอย่างเข้มงวดอีกด้วย   

กระแสปฏิกิริยาได้แพร่กระจายไปยังโรงเรียนและมหาวิทยาลัย...ซึ่งถูกออกแบบมาให้บดขยี้รูปการต่างๆเกี่ยวกับเสรีภาพเพื่อเป็นการยับยั้งจิตใจที่ต่อต้านคัดค้านของเยาวชนคนหนุ่มสาวซึ่งเป็นเรื่องตรงกัน ข้ามกับความคาดหวังของบรรดานักก่อภัยร้าย    จากมาตรการที่เข้มงวดนี้..ไม่มีการลุกขึ้นสู้ของมวลชน ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อต้าน       ในไม่ช้าความหวังทั้งมวลของยุคแห่งลัทธิวีรชนที่ยอมเสียสละตัวเองก็ มอดมลายเป็นเถ้าถ่านไป        ปีกก่อภัยร้ายของลัทธินารอดนิค ถูกขจัดไปอย่างรวดเร็วจากกระแสของการจับกุม     ปี 1882 ศูนย์กลางขององค์กรถูกกวาดล้าง,ฝ่ายนำถูกจับกุม   การเคลื่อนไหวของชาวนา รอดนิคแตกออกเป็นเศษเล็กเศษน้อย.    .ณ.ชั่วโมงนี้..ชาวนารอดนิคดั้งเดิมที่ไม่ยอมจำนนได้กระจัด กระจายไปเคลื่อนไหวอยู่ในส่วนต่างๆของยุโรป      ดุลกำลังใหม่ทางชนชั้นกำลังถือกำเนิดขึ้นภายในประเทศรัสเซียที่ล้าหลัง

นับเป็นปีๆแล้วที่แนวคิดของมาร์กซและเองเกลส์(แม้ว่ารูปแบบจะยังไม่สมบูรณ์และมีลักษณะหยาบๆผิวเผินเป็นสิ่งที่นักปฏิวัติรัสเซียมีความคุ้นเคย    มาร์กและโดยเฉพาะเองเกลส์มีส่วนสัมพันธ์กับนักทฤษฎีของลัทธินารอดนิคในการถกเถียงโต้แย้งแลกเปลี่ยนกันอยู่     แต่ลัทธิมาร์กซ์ยังไม่ค่อยมีผู้สนับสนุนนักในรัสเซีย    มันยังถูกปฏิเสธจากลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคล   และยังคัดค้านต่อ  ”การที่รัสเซียจะก้าวไปบนเส้นทางสังคมนิยม"   การยืนยันต่อบทบาทนำของชาวนาในขบวนการปฏิวัตินั้นเหลือที่จะรับได้ในหมู่เยาวชนนักปฏิวัติ      หากจะการเปรียบเทียบ ”โฆษณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง” ของบาคูนิน  ซึ่งเป็นแนว คิดที่รัสเซียได้ประสบกับบทเรียนอันเจ็บปวดของระบอบทุนนิยม     ก็ยังดีกว่าที่จะไม่ยอมทำอะไรเลยของลัทธิยอมจำนน

ชาวนารอดนิครุ่นเก่าส่วนใหญ่จะมีความหมิ่นแคลนและดูเบาในเรื่องทฤษฎี    ตราบเท่าที่พวกเขายังพึ่ง  พาการอ้างถึงเหตุผลทางอุดมการณ์        เมื่อมาพิจารณาย้อนหลังตามความเป็นจริง จะเห็นว่าแนวทางเคลื่อนไหวที่เคยปฏิบัติกันมานั้นมีความบิดเบี้ยว   อีกทางหนึ่งพวกเขายังคงยึดมั่นในแนวคิดที่ว่าชาวนาว่ายังเป็นศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวปฏิวัติอยู่,   ซึ่งมันเป็น ”ภารกิจพิเศษทางประวัติศาสตร์” ของรัส เซีย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มลัทธิชนชาติสลาฟและกลุ่มลัทธิก่อภัยร้าย      นักอุดมคติของลัทธินารอดนิคจะยึดมั่นในอุดมการณ์อย่างหัวชนฝา แทนที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและเลือกแนวทางปฏิบัติ,ลองดำเนินการทางด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธีอื่นๆเพื่อจะได้เป็นการยืนยันทดสอบว่า    แนวคิดเดิมนั้นใช้ไม่ได้, การกระทำเช่นนั้นจะทำให้จมลึกไปสู่หล่มปลักของความพ่ายแพ้

การดำเนินการครั้งแรกในแนวทางใหม่โดยมีเพลคานอฟและพลพรรคเพียงไม่กี่คน  ได้วางรากฐานที่มั่น คงสำหรับอนาคตบนพื้นฐานของการแก้ไขทางด้าน ความคิด..ทฤษฎี..ยุทธวิธี  และแนวทางยุทธศาสตร์ เรื่องนี้...นับเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของเพลคานอฟ     ถ้าปราศจากการกระทำเช่นนี้ก็ไม่อาจคาดคิดไปถึงพัฒนาการของพรรคบอลเชวิค     แม้แต่เขาเองก็กล่าวว่า “นารอดนิคเป็นแค่ปลายก้อย” เพลคานอฟพยายามแสวงหาคำตอบต่อปัญหาหลักเกี่ยวกับวิกฤตการทางอุดมการณ์ของนารอดนิค   โดยศึกษางานของมาร์กซและเองเกลส์อย่างจริงจัง       เขาถูกบีบให้ต้องหลบภัยไปยังต่างประเทศในเดือนมกราคม 1880   เขาได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักลัทธิมาร์กซชาวฝรั่งเศสและเยอรมันและได้ต่อสู้ทางอุดม การณ์อย่างดุเดือดกับนักอนาธิปไตย     การที่ได้ประสบกับการเคลื่อนไหวด้านแรงงานในยุโรปเป็นเรื่องชี้ขาดต่อจุดเปลี่ยนในการพัฒนาทางความคิดของเพลคานอฟ

กลุ่มใต้ดินในรัสเซีย   งานนิพนธ์ของมาร์กซ์มีน้อยมาก,ที่พอจะหาได้คงมีแต่เฉพาะเรื่องเศรษฐศาสตร์ และก็เช่นเดียวกับผู้คนในยุคสมัยของเขาที่คุ้นเคยแต่เฉพาะนิพนธ์เรื่อง “ทุน” ของมาร์กซ,ซึ่งก็ถูกเซ็น เซอร์โดยรัฐบาลของพระเจ้าซาร์ที่พิจารณาว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง   ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่ว่าพวกเจ้าพนักงานเซนเซอร์เองนั้นมีความเข้าใจมันหรือไม่ ?     พวกเขาคิดแค่ว่า....ไม่ให้เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนกรรมกรเท่านั้น     การที่ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการเคลื่อนไหวปฏิวัติรัสเซีย(เพราะลี้ภัย) ...ได้เปิดโอกาสให้แก่เพลคานอฟและคนอื่นๆได้เข้าถึงงานนิพนธิ์ต่างๆที่หาไม่ได้ในรัสเซีย    เพลคานอฟได้ศึกษาปรัชญาลัทธิมาร์กซ..ความเรียงเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นและทัศนะคติของวัตถุนิยมทางด้านประวัติศาสตร์ได้จุดประกายให้แก่การปฏิวัติรัสเซียในภายภาคหน้า    

เมื่อเปรียบเทียบกันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง….ความคิดเก่าเกี่ยวกับลัทธิก่อภัยร้าย..ลัทธิอนาธิปไตย..และลัทธินารอดนิค   ได้แตกสลายไปภายใต้การเข้ามาและการวิพากษ์วิจารณ์ของลัทธิมาร์กซ     เขาได้กล่าวไว้หลังจากที่ได้สะสมประสบการณ์ว่า  ” ไม่ว่าใคร..ที่ไม่ได้ผ่านช่วงเวลาเหล่านั้นกับเราแทบจะไม่สามารถจินตนาการถึงความกระตือรือร้นที่เราทุ่มเทตัวเองลงในการศึกษาของบทนิพนธิ์เกี่ยวกับสังคมประชา ธิปไตย   ท่ามกลางการดำเนินงานของนักทฤษฎีชาวเยอรมัน  ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วนับว่าเป็นนักทฤษฎีชั้นยอด   และยิ่งได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับพวกเขายิ่งทำให้เราเข้าใจเรื่องราวของสังคมประชาธิปไตยมากขึ้น    เราก็ยิ่งมีความเชื่อมั่นที่จะแก้ไขและพัฒนาการปฏิวัติของเราเอง...ทฤษฎีของมาร์กซ..เหมือนดั่งกระสวย...ที่สามารถนำเราก้าวออกจากความวกวนของความขัดแย้งที่ถูกยัดเยียดและแฝงฝังอยู่ในใจของเราโดยอิทธิพลของบาคูนิน"

อย่างไรก็ตาม     การแยกขั้วออกจากอดีตนั้นไม่ง่ายนักโดยเฉพาะกับ เลฟ ด๊อยท์ช และ เวรา ซาซูลิค ทั้งสองสามีภรรยายังคงตกอยู่ภายใต้ภาพลวงตาของลัทธิก่อภัยร้าย   จริงๆแล้วเมื่อข่าวการลอบสังหารพระเจ้าซาร์มาถึง     พวกเขาทั้งหมดยกเว้นเพลคานอฟมีใจที่จะกลับไปสู่ นารอดนายา โวลยาอีก   จากประสบการณ์ที่ผ่านมา,ในแต่ละสถานการณ์   เพลคานอฟได้เข้าใจว่า..ผู้ปฏิบัติงานของพรรคคนงานรัส เซียไม่ได้ร่วงหล่นลงมาจากฟากฟ้า  ชาวนารอดนายา โวลยา เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิถีปฏิบัติในการต่อสู้กับระบบซาร์แห่งยุคสมัย        

การเคลื่อนไหวตลอดมานั้นได้ก้าวขึ้นสู่กระแสสูงมาจากชีวิตและเลือดเนื้อของวีรชนปฏิวัติที่ได้เสียสละไปแล้วอย่างนับไม่ถ้วนซึ่งไม่อาจจารนัยได้หมดสิ้น     เป็นความจริงที่ ว่า..เพราะธรรมเนียมการเคลื่อน ไหวต่อสู้ของชาวนารอดนิค    แม้ว่าจะอยู่ในภาวะที่เสื่อมถอย..แต่ก็ยังคงเป็นที่ดึงดูดใจให้บรรดาคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีความสับสน..เสาะแสวงหาหนทางไปสู่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคม    เช่นอเล็กซานเดอร์   อูลิยานอฟ  พี่ชายของเลนินที่ถูกประหารเพราะมีส่วนร่วมในการวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สอง ในปี 1887       สำหรับเลนินเองก็มีความเห็นอกเห็นใจชาวนารอดนิค   และเป็นที่แน่ นอนว่า  การเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองของเขาก็คือผู้สนับสนุนพรรค นารอดนายา  โวลยา      การจะรัก ษาชีวิตของผู้คนจากวิถีของการก่อภัยร้ายนั้นเป็นหน้าที่แรกๆของนักลัทธิมาร์กซรัสเซีย

โดยไม่คำนึงถึงกำลังที่น้อยนิดของตน    กลุ่มของเพลคานอฟ ได้สร้างความตกใจให้แก่ฝ่ายนำของนารอดนายา โวลยา ที่พยายามขัดขวางสุ้มเสียงของลัทธิมาร์กซโดยใช้ท่าทีแบบขุนนาง      กลุ่มของเพลคานอฟ  พยายามแสวงหาเส้นทางที่จะนำไปสู่นักปฎิวัติรุ่นหนุ่มในรัสเซีย      ในที่สุดก็ต้องพบกำแพงแห่งอุปสรรคที่สร้างขึ้นมาโดยฝ่ายนำของนารอดนายา โวลยา ที่ควบคุมโรงพิมพ์ของพรรค  บรรณาธิ   การหนังสือ”ข่าวสารของพรรค” (The Narodnaya Volya Herald)   ปฏิเสธที่จะตีพิมพ์งานของเพลคานอฟ เรื่อง  “ระบอบสังคมนิยมและการต่อสู้ทางการเมือง”  งานบุกเบิกชิ้นแรกของเขาในการต่อต้านลัทธิอนาธิปไตย       

 เบื้องแรก ทิโคมิรอฟ(Tikhomirov)ซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค นารอดนายา โวลยา  ดูเหมือนว่าจะเห็นคล้อยตามและมีแนวโน้มจะรับคำร้องของกลุ่ม   แต่หลังจากพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวแล้ว    ทิโคมิรอฟ เปลี่ยนใจกระทันหันและยกเลิกการรับรองที่จะรับกลุ่มเข้าเป็นองค์กรจัดตั้งของพรรค นารอดนายา โวลยา โดยมีข้อแม้ว่า   แรกสุด...พวกเขาจะต้องทำการสลายกลุ่ม..และการสมัครเข้าเป็นสมาชิกจะต้องมีการพิจารณาแบบเป็นรายๆไป     ซึ่งทุกคนรู้ดีว่าไม่มีทางเป็นไปได้สำหรับการประนีประ นอม,และภายในเดือนกันยายน 1883 นักลัทธิมาร์กซจึงได้ก่อตั้งกลุ่ม ”ปลดปล่อยแรงงานรัสเซีย” ขึ้นมา

ในช่วงเวลาของการแยกทางกัน  ทางกลุ่มนักลัทธิมาร์กซประกอบด้วยสมาชิกไม่เกินห้าคน  ได้แก่ เพลคานอฟ   อักเซลรอด   และเวรา  ซาซูลิค  ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีเกียรติ์ประวัติเป็นที่รู้จักกันดีในการเคลื่อนไหวของนารอดนิค เวรา  ซาซูลิค  มีชื่อเสียงซึ่งเป็นคนที่ชาวยุโรปรู้จักกันดีจากผลพวงของกรณี เทรปอฟ    เลฟ  ดอยท์ช  สามีของซาซูลิค ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในรัสเซียตอนใต้ในฐานะนักโฆษณา ชวนเชื่อของนารอดนิคอยู่จนกระทั่งปลายปีทศวรรษที่ 1870   ส่วนบทบาทของ วาซิลี  นิโคเลวิช  อิค นาตอฟ(1854-85) ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก    เขาได้หลบหนีไปยังรัสเซียตอนกลางเพื่อเข้าร่วม กับการประท้วงของขบวนนักศึกษา        ก่อนเสียชีวิตเขาได้สะสมเงินไว้เป็นจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือหน่วยในการเคลื่อนไหว    น่าเสียดายที่เขาเสียชีวิตไปตั้งแต่อายุยังน้อยด้วยวรรณโรค,ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางเขามิให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้มากนัก   ส่วน ดอยท์ช ถูกจับกุมในเยอรมันเมื่อปี 1884 ถูกส่งตัวกลับรัสเซียและถูกตัดสินจำคุกหลายปี       การเสียชีวิตของ อิคนาตอฟ  มีผลกระทบต่อจำนวนสมาชิกในกลุ่มทำให้เหลืออยู่แค่เพียง 3 คน

พวกเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากและการต่อสู้ที่โดดเดี่ยวภายใต้ชื่อจัดตั้งเป็นเวลานานหลายปี ซึ่งต้องใช้ความหาญกล้าอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนที่เสียงส่วนน้อยซึ่งเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกในการตัดสิน ใจต่อสู้..ทวนกระแสที่เชี่ยวกราก...โดดเดี่ยวจากมวลชน….สภาพที่เลวร้ายของการลี้ภัยบนหนทางที่ปก คลุมไปด้วยความตีบตัน,และแทบจะไม่มีโอกาส    มันไม่ใช่ครั้งสุดท้าย...ที่พลังของลัทธิมาร์กซรัสเซียได้ลดบทบาทลงสู่ระดับ ร่ำไห้ในที่ๆไร้ผู้คน   มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ผูกโยงพวกเขาเอาไว้..นั่นก็คือความมั่นคงในอุดมการณ์   ทฤษฎี   และการประเมินเหตุการณ์ในอนาคต    เรื่องนี้..แม้จะเป็นความจริงที่ว่าอุดมการณ์ของพวกเขานั้นได้โบยบินไปสู่ความเป็นสัจธรรม     การเคลื่อนไหวด้านแรงงานในรัสเซียพึ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้น   จริงอยู่แม้จะมีการเริ่มเคลื่อนไหวหยุดงาน    แต่นั่นไม่ได้อยู่ในวิสัยของสังคมนิยม    กลุ่มแรงงานเหล่านั้นดำรงอยู่และยังคงถูกครอบงำโดยแนวคิดของนารอดนิค   และเสียงที่แผ่วเบาของกลุ่มปลดปล่อยแรงงานยังคงไม่ได้ยินในโรงงาน...   แม้แต่ขบวนนักศึกษาก็ยังถูกสะกดไว้ด้วยแนวโน้มของลัทธิอนาธิปไตยและการก่อภัยร้ายสรุปก็คือ..ยังยากที่จะเข้าถึง

จดหมายที่เพลคานอฟเขียนถึง อัคเซลรอด เมื่อปลายเดือน มีนาคม 1889  มีใจความตอนหนึ่งว่า  “ทุกคน (ทั้งพวกเสรีนิยมและสังคมนิยม)  กล่าวอย่างไม่มีข้อโต้แย้งว่า....คนรุ่นหนุ่มสาวจะไม่สนใจฟังใครก็ตามที่กล่าวต่อต้านลัทธิก่อภัยร้าย     ต่อสิ่งนี้เราจะต้องมีความระมัดระวัง  ภายหลังการก่อตั้งกลุ่มปลด ปล่อยแรงงาน   ไม่นานนักก็ต้องเผชิญกับการโจมตีอย่างรุนแรงจากทุกฝ่ายโดยถูกกล่าวหาว่า”ทรยศ” ต่อการปฏิวัติของลัทธินารอดนิค     จากประเทศที่ลี้ภัย  ทิโคมิรอฟ ได้ติดต่อกับบรรดาสหายในรัสเซีย เตือนพวกเขามิให้ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มของเพลคานอฟ  กระแสของการใส่ร้ายบิดเบือนบังเกิดผล    โซบอฟสกี  สานุศิษย์ดั้งเดิมของ บาคูนิน ได้ตั้งข้อสังเกตอย่างเหน็บแนมว่า..”พวกคุณทั้งหลายไม่ใช่นักปฏิวัติ  แต่เป็นได้แค่นักเรียนของวิชาสังคมวิทยา”  ประเด็นหลักที่ถูกโจมตีอย่างสม่ำเสมอได้แก่ “แนวคิดของ มาร์กซนั้นใช้ไม่ได้ในรัสเซียและนโยบายของเพลคานอฟนั้นก็ลอกเลียนมาจากเยอรมันอย่างไม่มีความละอาย

ในปลายทศวรรษที่ 1880   จะเห็นว่าแนวคิดของลัทธิมาร์กซได้เป็นที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้าง ขวางในการเคลื่อนไหวของมวลชนกรรมกรยุโรปจากการเคลื่อนไหวที่ถูกโดดเดี่ยวในรัสเซียทำให้สมา ชิกของกลุ่ม ”ปลดปล่อยแรงงาน”   ถูกดึงเข้ามาใกล้ชิดกับพรรคสังคมนิยมสากลที่มีพลังโดยสัญชาติญาน     เพลคานอฟและบรรดาสหายได้ตีพิมพ์บทความ,กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมต่างๆโดยเฉพาะของพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันที่เป็นพรรคของ มาร์กซ  เองเกลส์  ลิปเนคท์ และเบเบล พวกเขาได้รับกำลังใจและความช่วยเหลืออย่างดีจากพรรคสังคมประชาธิปไตยในยุโรป      พลังลัทธิมาร์กซในรัสเซียยังเล็กมากแต่ก็ได้ผนึกกำลังเข้ากับกองทัพอันมหึมาของชนชั้นกรรมาชีพในเยอรมัน    ฝรั่งเศส  เบลเยียม  จำนวนล้านๆคน   ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของลัทธิมาร์กซ..ที่ไม่ใช่ถ้อยคำบรรยายในหนังสือ”ทุน” หากแต่เป็นจำนวนของสมาชิกสหบาลกรรมกร,สาขาพรรค,และคะแนนเสียงส่วนหนึ่งในรัฐสภา

แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากกลุ่มสังคมประชาธิปไตยยุโรป    แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการทุ่มเทจิตใจ     ผู้นำกลุ่มได้ใช้เวลานับปีในการสร้างความสัมพันธิ์ฉันท์มิตรกับผู้นำกลุ่มนารอดนิคเช่นลาฟลอฟ    โดยส่วนตัวแล้ว,ผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยดูเหมือนว่ายังไม่ค่อยจะไว้วางใจต่อกลุ่มที่แยก ตัวออกไปนัก      การโต้แย้งอย่างเฉียบคมของเพลคานอฟต่อนารอดนิคได้สร้างสร้างความตื่นตะลึงขึ้นอย่างกว้างขวางในการ ”พูดความจริง”     เพลคานอฟเขียนว่า...การต่อสู้กับสาวกบาคูนินของเรา บาง    ทีสังคมประชาธิปไตยตะวันตกอาจจะเกิดความหวั่นวิตกมากขึ้น      การพิจารณาของพวกเขาไม่ค่อยจะถูกกาละนัก   พวกเขาหวาดหวั่นต่อคำโฆษณาชวนเชื่อของเรา  เนื่องมาจากการแยกตัวออกมาจากพรรคปฏิวัติซึ่งจะทำให้พลังต่อต้านรัฐบาลอ่อนด้อยลง”

ความเจ็บปวดส่วนนั้นจะต้องเก็บกลืนเอาไว้ดังที่เองเกลส์ได้ติดต่อกับ  เวรา ซาซูลิค ทางจดหมาย   ใน ความเห็นของเขายอมรับถึงความเป็นไปได้ในการสร้างสังคมนิยมในประเทศที่ล้าหลังอย่างรัสเซีย   ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์     สำหรับตัวมาร์กซเอง..คำนำในแถลงการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์( The communist manifesto ) ฉบับพิมพ์ภาษารัสเซียปี 1882 และนิพนธิ์อื่นๆก็ไม่ได้ชี้แสดงถึงความเป็นไปได้ในการสร้างสังคมที่ไร้ชนชั้นในรัสเซียบนพื้นฐานของนิคมหมู่บ้าน(mir /มีร์)    แต่ได้ผูกโยงอย่างชัด เจนถึงภาพในอนาคตของการปฏิวัติสังคมนิยมในประเทศที่ระบอบทุนนิยมพัฒนาแล้วอย่างในประเทศ ยุโรปตะวันตกท่านเขียนว่า ....”สัญญานที่บ่งบอกถึงการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพในตะวันตก, ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนเล็กๆในรัสเซียปัจจุบันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาการของพรรคคอมมิวนิสต์  ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ต่างสนับสนุนซึ่งกันและกัน

จากจดหมายที่มีถึงซาซูลิค ลงวันที่ 23 เมษายน 1885 เองเกลส์ มีความระมัดระวังอย่างยิ่งต่อหนังสือของเพลคานอฟเรื่อง “ความแตกต่างของเรา”(Our Differences) ด้านหนึ่งเองเกลส์ผู้เฒ่าได้แสดงถึงความภาคภูมิใจว่าในรัสเซียคนหนุ่มสาวที่สังกัดพรรคได้ยอมรับทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่ทางประวัติ ศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของมาร์กซที่ตรงไปตรงมาและไม่คลุมเครือ    สามารถหักล้างกับแนวคิดที่มีลักษณะอนาธิปไตยทั้งมวลและธรรมเนียมปฏิบัติที่ไร้สาระของคนรุ่นก่อนหน้านี้ลงอย่างสิ้นเชิง กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่บรรดาผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยสากลจะมองนักลัทธิมาร์กซรัสเซียกลุ่มเล็กๆนี้ด้วยสายตาที่หมิ่นแคลนอีกต่อไป

พรรคที่มีพื้นฐานมาจากพลังสนับสนุนของมวลชน   ยังเป็นเรื่องที่หนักใจสงสัยกันอยู่ในความคิดของบรรดาผู้นำกรรมกรตะวันตกถึงความเป็นไปได้ที่จะสร้างพรรคปฏิวัติลัทธิมาร์กซขึ้นได้ในรัสเซีย   ทางนอกประเทศต่างให้ความนับถือเพลคานอฟและกลุ่ม       แม้พวกเขาแม้จะรวม่กันแต่ก็ยังคงความเป็นอิสระต่อกันซึ่งเป็นเรื่องที่น่าลำบากใจ       อะไรคือปัญหาของความไม่ลงรอยกันอย่างไม่รู้จักจบสิ้นนี้?   มันสืบเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนทางทฤษฎีหรือ?   มีความจำเป็นที่จะต้องแยกแยะคำถามเหล่านี้หรือ ไม่?   ทำไมนักปฏิวัติรัสเซียจึงไม่สามารถรวมตัวกันได้?

ทัศนะคติในการสงสัยของพวกเขาดูเหมือนว่าจะตัดสินกันที่ความใหญ่เล็กของกลุ่มและมีความคืบหน้าที่ค่อนข้างจะล่าช้า     โดยการเปรียบเทียบแล้วกลุ่มนารอดนิคที่มีองค์กรจัดตั้งที่ใหญ่กว่ามาก,มีทรัพยา กรมากกว่า    และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อทั้งภายในและภายนอกรัสเซีย กระนั้นกลุ่มที่เพลคานอฟเป็นตัวแทนที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีความสำคัญอันใดนักพึ่งจะเป็นหน่ออ่อนของพรรคปฏิวัติซึ่งประกอบไป ด้วยพลังมวลชนอันไพศาล     ผ่านการต่อสู้มาเป็นเวลาถึง  34 ปี    โดยมีจุดมุ่งหมายในการนำมวลชนกรรมกรและชาวนารัสเซียไปช่วงชิงอำนาจและสถาปนารัฐประชาธิปไตยของกรรมกรให้เป็นจริงขึ้นมา


Monday, December 12, 2016

บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ ตอนที่ 3

  
3.ที่ดินและเสรีภาพ

ในช่วงเวลานั้น   สมาชิกนารอดนิคที่กระจัดกระจายกำลังพยายามเคลื่อนไหวรวบรวมกลุ่มกันขึ้นในเมืองภายใต้ธงผืนใหม่     ปี 1876 พรรค เซมลียา อี โวลยา(Zemlya i Volya)ได้ก่อตั้งขึ้นโดย นาธันสัน , อเล๊กซานเดอร์  มิไคลอฟ  และจอร์จ  เพลคานอฟ     องค์กรใต้ดินใหม่นี้นำโดยคณะกรรมการทั่วไปกับคณะกรรมการบริหารสูงสุดกลุ่มเล็กๆที่มาจากการเลือกตั้ง      ระดับรองลงมาได้แก่ส่วนงานชาวนาส่วนงานกรรมกรส่วนงานเยาวชน(นักศึกษา)และที่พัฒนาขึ้นใหม่คือ ”ส่วนที่ไม่มีการจัดตั้ง, หน่วยติดอาวุธสำ หรับป้องกันตนเองและต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมซึ่งกระทำโดยพวกข้าราชการ “   นโยบายของพรรค เซมลียา อี โวลยา นั้นอยู่บนพื้นฐานของการผสมผสานความคิดของ “สังคมนิยมแบบชาวนา”...ที่ว่า โอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ชาวนาในการที่จะตัดสินใจด้วยตนเองให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในจักรวรรดิ์รัสเซีย       สังคมรัสเซียจะก้าวไปบนพื้นฐานของการปกครองตนเองโดยคอมมูนชาวนา    จะอย่างไรก็ ตาม...ทั้งหมดนั้นต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หลักของการปฏิวัติในการโค่นล้มระบบเอกาธิปไตยที่จะต้องดำเนินการอย่าง ”ฉับพลันเท่าที่จะเป็นไปได้”     ความเร่งด่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่านายทุนจะบ่อนทำลายคอม มูนชาวนาได้เร็วแค่ไหนตามแนวคิดของในการพัฒนาทุนนิยมด้วยเหตุนี้,ต้นตอที่แท้จริงของแนวคิด “ระบอบสังคมนิยมในหนึ่งประเทศ”     จึงเป็นของบรรดาชาวนารอดนิค,ที่พยายามพยายามจะส่งมอบระบอบสังคมทุนนิยมที่พวกเขาสะพรึงกลัวด้วยการรับหลักการของแนวคิดเรื่อง   ”เส้นทางพิเศษของประวัติศาสตร์การพัฒนาสำหรับรัสเซีย” บนพื้นฐานของความคาดหวังที่มีต่อลักษณะพิเศษและสถาบันทางสังคมของชาวนารัสเซีย

วันที่ 6 ธันวาคม 1876  ผู้ประท้วงมากกว่า 500 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทำการประท้วง (ที่ผิดกฎ หมาย)    ได้รวมตัวกันที่ลานหน้ามหาวิหาร คาซาน พร้อมกับตระโกนคำขวัญ “ที่ดินและเสรีภาพ”และ ”การปฏิวัติสังคมนิยมจงเจริญ”     ในกลุ่มผู้ประท้วงมีผู้ปราศรัยเป็นเด็กหนุ่มอดีตนักศึกษาวัย 21 ปีชื่อ จอร์จ เพลคานอฟ  ที่เรียกร้องการปฏิวัติ..ทำให้เขาต้องเริ่มการใช้ชีวิตลี้ภัยและหลบลงใต้ดิน    เพลคานอฟ เกิดเมื่อ ปี 1855 เป็นทายาทของครอบครัวผู้ดีจาก ทามบอฟ     ซึ่งก็เหมือนกับคนอื่นๆในยุคสมัยของเขา    โดยเริ่มมีประสบการณ์จากงานเขียนของนักเขียนฝ่ายประชาธิปไตยรัสเซียทั้งหลายเช่น เบ--ลินสกี..โดโบรลียูบอฟ..และแน่นอน เชอร์นีลเชฟสกี    ในขณะที่ยังอยู่ในวัยรุ่นเขาได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มนารอดนิค,มีส่วนร่วมในปฏิบัติการที่เสี่ยงและอันตรายหลายครั้ง..  รวมไปถึงการแย่งชิงตัวสหายที่ถูกจับกุม..แม้กระทั่งทำงานจารกรรมและหาข่าว.....ถูกจับกุมหลายครั้งแต่ก็รอดจากการถูกคุมขังจากระบอบซาร์อยู่เสมอๆ

สืบเนื่องมาจากการปราศรัยที่หาญกล้าท้าทาย,เพลคานอฟจำต้องลี้ภัยไปต่างประเทศแต่ด้วยเกียรติภูมิของเขา..จึงได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกหน่วยรากฐานของ เซ็มลียา อี โวลยา แม้ตัวจะอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัยก็ตาม      เขากลับมารัสเซียในปี 1877,ผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์กซรัสเซียในอนาคตคนนี้ต้องใช้ชีวิตแบบหลบๆซ่อนๆตลอดเวลา,พกสนับมือและจะซุกปืนพกไว้ใต้หมอนในเวลากลางคืน    แรกสุดเขาได้เดินทางไปยังเมือง ซาราตอฟ บนฝั่งแม่น้ำโวลกา    และได้รับผิดชอบ”ส่วนงานกรรมกร” ของเซ็มลียา อี โวลยา ในเวลาต่อมา      ประสบการณ์ครั้งแรกของเด็กหนุ่มที่ได้ร่วมงานกับกรรมกรโรงงานซึ่งมีผลต่อความคิดของเขาอย่างลึกซึ้ง     และไม่ต้องสงสัยเลยว่าจากประสบการณ์จริงนี้มีส่วนช่วยให้เขาต้องแยกทางกับความผิดพลาดของ นารอดนิค และก้าวเข้าสู่เส้นทางของลัทธิมาร์กซ

ในเดือนธันวาคม 1877 นั่นเอง.....ห้องเก็บดินปืนของโรงงานผลิตอาวุธบนเกาะ วาซิลเลฟสกี เกิดระเบิดขึ้นมีกรรมกรเสียชีวิต 6 คนและได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก     งานศพของกรรมกรได้กลายเป็นการชุมนุมประท้วง     เพลคานอฟได้เขียนคำประกาศที่ลงท้ายด้วยถ้อยคำที่ว่า “กรรมกรทั้งหลาย! บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะทำความเข้าใจต่อเหตุผลที่ว่า  ท่านไม่ควรคาดหวังจากผู้ใด   และไม่ต้องไปคาดหวังสิ่งใดๆจากพวกผู้ดีทั้งหลาย     นานมาแล้วที่ชาวนาต่างเคยคาดหวังความช่วยเหลือจากพวกผู้ดี  แต่พวกเขากลับได้รับแต่ที่ดินชั้นเลวและภาษีที่หนักหน่วงและยิ่งหนักข้อขึ้นกว่าแต่ก่อนเสียอีก     ท่านจะเป็นเช่นนั้นหรือ....กรรมกรในเมือง..จงยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นไปอีก ”  ไม่นานนักเพลคานอฟก็ได้รับคำตอบเร็วกว่าที่เขาหรือคนอื่นที่คาดหวังไว้       การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ตุรกี(สงครามไครเมีย 1877-78)  ได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดการหยุดงานขึ้นอย่างคาดไม่ถึง   หัวหอกส่วนใหญ่ได้แก่กรรมกรโรงงานทอผ้าผู้ถูกกดขี่ขูดรีดทางชนชั้น       และไม่ใช่ครั้งสุดท้าย,ยิ่งกดขี่มากเท่าใดกรรมกรสิ่งทอต่างได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว    มากยิ่งกว่ากองพันกรรมกรในอุตสาหกรรมโลหะเสียอีก    กรรมกรได้ขอความช่วยเหลือจาก”นักศึกษา”ตลอดจนองค์กรต่างๆโดยเฉพาะกรรมกรนักปฏิวัติอิสระ

เพลคานอฟ.....ในฐานะผู้นำส่วนงานกรรมกรของพรรคเซ็มลียา อี โวลยา  พบว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง        แต่น่าเสียดาย..ที่ชาวนารอดนิคไม่มีแนวคิดว่าควรจะทำอย่างไรดีกับการเคลื่อนไหวของกรรมกรซึ่งไม่เคยมีอยู่ในแผนงานโดยรวมของพรรค     เป็นเวลาสองปีที่สูญเปล่ากรรมกรในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ทำการหยุดงานถึง 26 ครั้ง     แม้จะไม่อาจเทียบเคียงได้กับกระแสของปี 1890    สมาชิกของสหบาลกรรมกรฝ่ายเหนือได้แสดงบทบาทที่เด่นชัดในการหยุดงานครั้งนี้..และในเดือนแรกของปี 1879 ได้ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุด     ประกอบด้วยองค์กรจัดตั้งของกรรมกร 200 แห่ง   และยังมีกองหนุนอีก 200 แห่งที่กระจายตัวกันด้วยความระมัดระวังอยู่ในโรงงานต่างๆ    องค์กรทั้งหมดเชื่อมโยงกับองค์กรกลาง      กลุ่มกรรมกรมีห้องสมุดของตนเองและแน่นอนมีการแตกแขนงแยกย่อยไปตามกลุ่มใต้ดินต่างๆอย่างกว้างขวางแม้แต่ในหมู่กรรมกรที่ไม่ได้สังกัดสหบาลกรรมกรด้วย      คาลทูริน ผู้เฉลียวฉลาดได้ตั้งโรงพิมพ์ใต้ดินขึ้น      ออปนอร์สกีได้เข้าไปทำความตกลงกับกลุ่มกรรมกรในกรุงวอร์ซอ..”เป็นตัวอย่างแรกของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างกรรมกรรัสเซียและโปล”  อย่างเช่นที่เพลคานอฟได้เฝ้าสังเกตด้วยความพอใจยิ่ง

แต่ภายในหนึ่งเดือนจากการปรากฏตัวขึ้นของวารสาร  ราโบชายา ซาร์ยา (Rabochaya Zarya/ อรุณรุ่งของกรรมกร) ซึ่งเป็นวารสารใต้ดินฉบับแรก  ตำรวจก็ได้เข้าทลายโรงพิมพ์ของสหบาลฯและสมาชิกจำนวนมากถูกกวาดล้างจับกุมและถูกส่งไปทำงานหนัก..บ้างก็ถูกจำคุกและบ้างก็ลี้ภัย       ผลของการทำลายองค์กรแรกที่มีความเข้มแข็งของชนชั้นกรรมกรนั้นถือได้ว่าเป็นหายนะภัย        คาลทูรินและคนอื่นๆได้ถอนตัวออกไป..    มองโลกในด้วยทัศนะเลวร้ายและพาตัวเองเข้าสู่แนวทางก่อภัยต่อตัวบุคคล   ต้องใช้เวลานานนับสิบปีและความเสียสละอย่างมากในการเคลื่อนไหวขจัดตัวหนอนร้ายของการก่อภัยสยดสยองออกไปจากระบบได้

จากระยะแรกสุด,การเคลื่อนไหวของนักปฏิวัติในรัสเซียได้แบ่งออกเป็นสองแนวทางระหว่าง ”ผู้ให้การ ศึกษา” กับ “ผู้ลุกขึ้นสู้”   ทั้งสองแนวทางได้แสดงออกอย่างกว้างขวางและมีความชื่นชมต่อสถานภาพ ของ ลาฟรอฟ และ บาคูนิน      ความล้มเหลวของการเคลื่อนไหว “ลงสู่ประชาชน” ส่งผลให้เกิดความไม่ลงรอยและแตกแยกกันอย่างเปิดเผย          ในช่วงปี 1874-75 ในรัสเซียมีนักโทษการเมืองหลายพันคน   เยาวชนคนหนุ่มสาวได้จ่ายค่าชดใช้การต่อต้านของพวกเขาด้วยอิสรภาพ     บางส่วนได้รับการปล่อยตัวเพราะได้ประกันแต่ต้องอยู่ภายใต้การคุมประพฤติ     คนอื่นๆล้วนถูกเนรเทศไปไซบีเรียตามคำสั่ง ที่เหลือถูกจองจำรอคอยการตัดสิน     หลายคนยังคงเคลื่อนไหวโดยอิสระ,บ้างก็ตัดสินใจกลับสู่ชนบท.. ครั้งนี้ในฐานะของครูหรือหมอ      ยอมสละเวลาและพลังเพื่อน้อมรับศึกษาการทำงานและรอคอยวันที่ดีกว่า    แต่อีกหลายๆคนที่ตระหนักว่าทฤษฎี”สัญชาติญานการปฏิวัติของชาวชาวนา”ของบาคูนินเป็นแนวทางที่ผิดพลาดและพบว่าเป็นเส้นทางที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

องค์กร เซ็มลียา อี โวลยา ไม่เคยทำการจัดตั้งมวลชนอย่างมากก็แค่จำนวนโหลสองโหลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาปัญญาชนที่อายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี ในฐานะสมาชิกพรรคที่เอาการเอางาน   แต่เมล็ดพันธ์เหล่านี้ฝ่อไปเสียตั้งแต่เริ่มแรก         ผู้ที่สนับสนุน ลาฟลอฟ  พยายามเปิดหูเปิดตาประชา ชนด้วยการโฆษณาคำขวัญที่ “สันติ”...โดยอ้างเหตุผลว่า...“เราไม่ต้องการปลุกเร้าอารมณ์ของประชาชน   แต่ต้องการให้พวกเขาตื่นตัวอยู่เสมอ”  ความท้อแท้ผิดหวังในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของมวลชนชาวนาโดยวิธีโฆษณาไม่เป็นผลให้เกิดการยกระดับทางทฤษฎีสำหรับผู้ที่เคยชินกับลัทธิบาคูนินอยู่ในสมอง       จากการ “ปฎิเสธการเมือง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่มีการจัดตั้งส่งผลให้ส่วนหนึ่งของนารอดนิคหันหลังกลับ 180 องศา และเริ่มใช้วิธีเคลื่อนไหวแบบปิดลับเป็นองค์กรก่อการร้ายแบบรวมศูนย์ในนาม  “นารอดนายา โวลยา”  เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวลชนชาวนาโดยผ่านการ “โฆษณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

ความอัปยศทางการทหารของซาร์แห่งรัสเซียในสงครามกับตุรกีได้ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ของกลุ่มปกครอง   แต่กลับสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ฝ่ายตรงกันข้าม    บรรดาผู้นำของนารอดนายา โวลยา  ได้ตัดสินใจทำการสู้รบกับระบอบเอกาธิปไตยด้วยวิธีก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลเพื่อเป็นการกระตุ้นไฟสงครามปฏิวัติจาก ”เบื้องบน”   ที่บัดนี้ส่วนงานเยาวชนต่างเต็มไปด้วยความเร่าร้อนที่จะปฏิบัติการ      คำพูดของ เซลียาปอฟ  ผู้นำในอนาคตของ นารอดนายา โวลยา ได้สรุปภาระทั้งหมดให้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์    เขากล่าวว่า “การเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า  มันจำเป็นต้องมีการผลักดัน..ไม่เช่นนั้นชาติทั้งชาติจะเน่าเปื่อยผุพังและต้องเพาะเมล็ดพันธุ์(ปฏิวัติ)ไว้ก่อนที่พวกเสรีนิยมจะทำการใดๆ  “อะไรที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ?”.....“ทุกอย่างนำไปสู่สิ่งที่ดีงาม”..... “เอาละ..คุณต้องการอะไร?  ทำเพื่อรัฐธรรมนูญหรือว่าจะเป็นผู้ผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์”.........“ผมไม่ได้พูดตลกนะ..  เราต้องทำให้ประวัติศาสตร์เดินหน้าต่อไปตั้งแต่บัดนี้”   แนวทางทั้งสี่นี้ได้นำไปใช้อย่างตายตัวระหว่างลัทธิก่อภัยร้าย   และเสรีนิยม    ผู้ก่อ การไม่มีแม้แต่นโยบายที่เป็นของตัวเองอย่างอิสระ พวกเขาหยิบยืมความคิดมาจากพวกเสรีนิยม ,ผู้ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะให้เป็นไปตามความต้องการของตน

ฤดูใบไม้ร่วงปี 1877 เยาวชนหนุ่มสาวกว่า 200 คนถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหา “ลงสู่ประชาชน” ซึ่งพวกเขาถูกคุมขังมาแล้วกว่าสามปีโดยไม่มีการไต่สวน    และแทบทุกคนถูกจัดให้อยู่ร่วมกับบรรดานักโทษโดยผู้คุมและเจ้าหน้าที่ผู้ป่าเถื่อน      สำหรับนักปฏิวัติจะได้รับการปฏิบัติด้วยความโหดร้ายอย่างเป็นระบบ...ไม่ว่าจะเป็นการทรมานและทำให้อับอายโดยบรรดานักโทษซึ่งเป็นฟางเส้นสุดท้าย   โดยเฉพาะกรณีที่ป่าเถื่อนเรื่องหนึ่งที่สร้างความเดือดดาลแก่ผู้คนเป็นอย่างมากคือ....ในเดือนกรกฎาคมปี 1877 เมื่อนายพล เทรปอฟ   หัวหน้าตำรวจผู้ฉาวโฉ่แห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานแรกรับนักโทษ     โบโกลียูบอฟ    นักการเมืองหนุ่มปฏิเสธที่จะยืนทำความเคารพจึงถูกเทรปอฟสั่งลง โทษด้วยการโบยหนึ่งร้อยที        จุดเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจตอบโต้ผ่านไปจนถึงเดือนมกราคมปีถัดไป     เมื่อหญิงสาววัยรุ่น เวรา ซาซูลิค ใช้ปืนยิงนายพลเทรปอฟ เป็นการวางแผนและปฏิบัติการด้วยตัวเธอเองเพื่อเป็นการตอบ โต้ในการปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองอย่างเลวทราม     หลังจากเหตุการณ์ของซาซูลิค   ทำให้กระแสของคำโฆษณาชวนเชื่อในประเด็น “โฆษณาเรื่องที่เกิดขึ้นจริง” ก็ได้แพร่ ขยายลุกลามออกไปอย่างไม่มารถยับยั้งได้.... ศาลได้พิพากษาให้เธอพ้นผิดตามความคาดหมาย (จากแรงกดดันทางสังคม)

เบื้องแรก, ที่ใช้การก่อการร้ายก็ด้วยตั้งใจจะให้เป็นไปในขอบเขตทางยุทธวิธี  เพื่อการปล่อยตัวสหายที่ถูกคุมขัง,ขจัดสายลับของตำรวจ,และเพื่อป้องกันตนเอง  ทำการต่อต้านการกระทำที่กดขี่ของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ    แต่การก่อภัยร้ายนั้นก็มีตรรกในตัวของมันเอง....ในช่วงระยะเวลาสั้นๆความคลั่งไคล้ต่อการก่อภัยร้ายนั้นได้ครอบงำจนกลายเป็นด้านหลักขององค์กร      จากระยะเริ่มแรกยังคงมีปัญหาและมีข้อสงสัยใน”ยุทธวิธีแบบใหม่”นี้อยู่     หัวข้อหนึ่งในหน้าหนังสือวารสารที่เป็นทางการของพรรคได้วิจารณ์ในประ เด็นนี้  :   เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า....   การปลดปล่อยมวลชนกรรมกรนั้นไม่อาจเป็นไปได้โดยวิธีเช่นนี้      ลัทธิก่อภัยร้ายไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่จะทำควบคู่ไปกับการดิ้นรนต่อสู้ในขั้นรากฐาน  การจัดระเบียบทางสังคมเป็นเรื่องที่ชนชั้นหนึ่งต่อสู้กับอีกชนชั้นหนึ่ง...ดังนั้นพลังหลักของเราทั้งหมดยังต้องทำงานท่ามกลางมวลชนอยู่”

การรับเอายุทธวิธีแบบใหม่เป็นเหตุให้ส่วนหนึ่งต้องแยกตัวออกไป       ระหว่างนักก่อภัยร้ายและเหล่าสาวกของ ลาฟลอฟ ที่เคยถกเถียงโต้แย้งกันมาตลอดระยะเวลาที่ทำการโฆษณาชวนเชื่อในหมู่มวลชน   ในทางปฏิบัติซึ่งภายหลังมีแนวโน้มที่จะถอยห่างออกไปจากแนวทางของการปฏิวัติไปสนับสนุนวิธีปฏิ  บัติทางการเมืองแบบ ”ทำทีละน้อย” และแบบ “ค่อยเป็นค่อยไป” ส่วนกลุ่มปีกขวาของนารอดนิคนั้นก็กำลังจะกลายไปเป็นนักเสรีนิยมอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้. ในขณะที่พวกสุดขั้วก็ตระเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของกระสุนปืนและ  ”การปฏิวัติทางเคมี” ของ ไนโตร-กลีเซอร์รีน (สารก่อระเบิด) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา... ได้มีความพยายามที่จะสร้างนักก่อภัยร้ายรุ่นใหม่ที่ต่างออกไปจากคนรุ่นเก่าในอดีตขึ้นมา     

ผู้ปฏิบัติงานของนารอดนิคที่เคยถูกจับกุม..   ยังคงยืนยันยึดมั่นอยู่กับความเชื่อในลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลอยู่และถือว่าพวกตนเป็นตัวแทนการเคลื่อนไหวของมวลชน,ในขณะเดียวกัน....ผู้ที่สนับสนุน “การต่อสู้ด้วยอาวุธ” หรือ “การสู้รบแบบกองโจรในชนบท”     ก็เห็นว่าพวกตนเท่านั้นที่เป็นปีกติดอาวุธในขบวนการต่อสู้     มีวัตถุประสงค์ในการจุดประกายการต่อสู้ของมวลชนให้เกิดบทบาทขึ้นมาอีก      แต่ผู้สนับสนุนของ   นารอดนายา  โวลยา(Narodnaya Volya)  อ้างว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ยังไม่เพียงพอวัตถุประสงค์ของพวกเขาคือการเข้าไปนำการเคลื่อนไหวของมวลชน, ที่มีชาวนาเป็นกลุ่มสังคมนิยมพื้นฐานจึงจะสามารถโค่นล้มรัฐลงไปได้  จุดมุ่งหมายของพวกเขาจะเป็นการจุด"ระเบิด" ด้วยการเคลื่อนไหวโดยประสงค์จะสร้างตัวอย่างที่กล้าหาญให้มวลชนได้ประจักษ์

อย่างไรก็ดี..สำหรับการเมืองนั้นย่อมมีตรรกะในตัวมันเอง     ข้อเรียกร้องต้องการทั้งหมดของนารอดนายา โวลยา   ในนามของมวลชนคล้ายดั่งหมอกควันที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นต่อพลังปฏิวัติของมวลชน   ข้ออ้างที่เป็นมานับศตวรรษในรัสเซียได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกันกับข้ออ้างของกลุ่ม ”การก่อภัยร้ายในเมือง” เป็นอย่างมากเช่นคำกล่าวอ้างที่ว่าเรามีความประทับใจต่อการเคลื่อนไหวต่อสู้ของมวลชน   แต่รัฐนั้นเข้มแข็งเกินไป...และอื่นๆฯลฯ   ดังที่ โมโรซอฟ นักก่อภัยร้ายได้ยืนยัน :ในการสังเกตพิจารณาชีวิตทางสังคมของรัสเซียได้บรรลุถึงบทสรุปดังนี้     เนื่องจากการปกครองตามอำเภอใจและการก่อความรุนแรงของรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของประชาชน,   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสรี ภาพในการแสดงออก..ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการพิมพ์หรือเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชนมักจะใช้วิธีชี้นำโน้มน้าวให้ปฏิบัติตาม,  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับนักเคลื่อนไหวที่เป็นกองหน้า...เรื่องแรกสุดก่อนสิ่งอื่นใด..ต้องยุติระบบการปกครองของรัฐบาลลงในทันที    การต่อสู้นี้ไม่มีทางอื่นใดนอกจากต้องมีอาวุธอยู่ในมือ   และเราจะต่อสู้ในแบบฉบับของ วิลเลียม เทล*(วิลเลี่ยม เทล วีรบุรุษผู้กล้าหาญชาวสวิสในศตวรรษที่ 14 ที่สังหาร เกสเล่อร์ ผู้ปกครองทรราชซึ่งราชวงศ์ฮัปสบวร์ก แห่งออสเตรียส่งมาปกครองสวิตเซอร์แลนด์ในยุคที่กำลังรวมเขตปกครองต่างๆเข้าเป็นสหพันธรัฐ)จนกว่าจะบรรลุถึงช่วงเวลาแห่งชัยชนะและปลดปล่อยสถาบันต่างๆให้เป็นอิสระ      มันจึงจะมีความเป็นไปได้สำหรับเราที่จะพูดคุยกันโดยไม่มีอุปสรรคทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์และในการประชุมในที่สาธารณะที่ทุกคำถามทางด้านการเมืองและสังคมจะได้รับการตอบสนอง...และการตกลงใจของพวกเขาโดยการแสดงออกอย่างเสรีของตัวแทนประ ชาชน ".

ชาวนารอดนิคนั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่มีจิตใจที่กล้าหาญ..แต่ถูกชี้นำไปในทางที่ผิดโดยนักจิตนิยมที่จำกัดเป้าหมายไว้เพียงต้องการจะขจัดนักทรมานผู้โหดเหี้ยมเช่นหัวหน้าตำรวจที่มีพฤติกรรมกดขี่หรืออะไรที่ไม่ถูกต้องทำนองนั้น  พวกเขายอมมอบตัวกับตำรวจเพื่อที่จะใช้การฟ้องร้องคดีของตัวเองเป็นเวทีสำหรับดำเนินคดีในที่สาธารณะ     พวกเขาไม่ใช้ระเบิดกับเด็กและผู้หญิงหรือใช้สังหารพลทหารธรรมดาทั่วไป ในบางโอกาสพวกเขาจะสังหารตำรวจเพื่อยึดเอาอาวุธ      วิธีเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดอย่างแท้จริง, ถูกต่อต้านและถูกประณามโดยนักลัทธิมาร์กซ

เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าทฤษฎีที่ ”ทันสมัย” ของลัทธิก่อภัยร้ายในเมืองเป็นเพียงภาพซ้ำของแนวคิดเก่าของนักก่อภัยร้ายที่ดำรงอยู่ในยุคก่อนหน้าลัทธิมาร์กซในรัสเซีย      มันเป็นเรื่องตลกร้ายที่ผู้คนเหล่านี้อ้างกันอยู่บ่อยๆว่าตนเป็นนักลัทธิมาร์กซ-เลนิน      แต่ไม่เคยรู้กันเลยหรือว่าลัทธิมาร์กซรัสเซียนั้นได้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากการต่อต้านลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลอย่างไม่อาจประนีประนอมได้  นักลัทธิมาร์กซรัสเซียได้อธิบายลักษณะของผู้ก่อภัยร้ายอย่างกระแนะกระแหนว่าเป็น  “พวกเสรีนิยมที่ติดระเบิด”    บิดาของลัทธิเสรีนิยมจะกล่าวอ้างในนาม “ประชาชน” ภายหลังถูกพิจารณาว่าไม่มีความรู้พอที่จะได้รับความเชื่อถือและขาดความรับผิดชอบต่องานปฏิรูปสังคม         บทบาทของพวกเขามีแต่จะลดน้อยลงในวาระการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของทุกๆครั้ง,ได้แต่เฝ้ามองบรรดานักเสรีนิยมในรัฐสภากำลังเจริญก้าวหน้าอยู่กับภารกิจของพวกเขา     ทายาทชายหญิงของพวกเสรีนิยมที่ไม่มีอะไรนอกจากจะรังเกียจรัฐสภา     พวกเขายืนหยัดอยู่กับการปฏิวัติและแน่นอน..“ประชาชน”    ที่มึนชาและไม่เข้าใจพวกเขาจะยอมรับในภายหลัง   ดังนั้น..พวกเขาจะใช้วิธีของ ”เคมีปฏิวัติ”  ด้วยการผลิตระเบิดและปืนลูกโม่

เช่นเดียวกับแต่ก่อน..บทบาทของมวลชนก็ลดระดับลงไปเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์      นักลัทธิมาร์กซได้เฝ้าสังเกตเห็นว่าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมจะดำเนินไปได้นั้นขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของชนชั้นกรรมกรการที่จะก้าวหน้า...ภาระหน้าที่คือการยกระดับจิตสำนึกของตนเองให้เข้มข้นขึ้น ซึ่งจะทำให้บทบาทด้านที่ปฏิ กิริยามีแนวโน้มลดน้อยลงจากมุมมองนี้..บทบาทของนักก่อภัยร้ายทั้งมวลย่อมเป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ   ดังนั้นหากนโยบายก่อภัยร้ายของพวกเขาประสบความสำเร็จ..      จะเป็นอันตรายอย่างแน่นอนสำหรับประชาชน      

ความพยายามแสวงหาทางลัดในทางการเมืองนั้นบ่อยครั้งมักประสบกับความหายนะบทสรุปก็คือ.. อะไรที่จะสามารถทำให้กรรมกรถอนตัวออกจากการก่อภัยร้ายต่อบุคคลได้?    มีเพียงหนทางเดียวคือการเตรียมการก่อตั้งสหบาลกรรมกรขึ้นมา,แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมกับการนัดหยุดงาน  เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับมวล ชน,ปลุกระดม,โฆษณาและให้การศึกษาทั้งหมด      ทั้งหมดนี้กลับถูกมองว่าไม่มีความจำเป็น...สิ่งที่จำ 
เป็นกว่าก็คือระเบิดและปืน, แล้วปัญหาต่างๆจะได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไป

ประวัติศาสตร์ของศตวรรษที่ 20 ได้ตระเตรียมบทเรียนที่น่าเศร้าบางอย่างให้เกิดขึ้น   เมื่อนักปฏิวัติบางส่วนพยายามที่จะเป็นตัวแทนในการปฏิบัติการเยี่ยงวีรบุรุษที่ติดอาวุธเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของชนชั้นกรรมกร     ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนของนารอดนายา โวลยา    ความพยายามที่จะท้าทายอำนาจรัฐโดยวิธีดังกล่าวจะนำไปสู่​​ความพ่ายแพ้ที่สยดสยองและจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครื่องมือในการกดขี่ขึ้นอีก     นั่นหมายถึงความล้มเหลว    แต่แม้ในกรณี,ตัวอย่างเช่น...สงครามกองโจรแม้จะประสบความสำเร็จในการโค่นล้มระบอบการปกครองเก่าลงไป  ก็ไม่สามารถนำไปสู่​​การจัดตั้งรัฐของกรรมกรสังคมนิยมที่มีความมั่นคงได้    อย่างดีที่สุด...มันจะนำไปสู่รัฐกรรมกรที่บิดเบี้ยว   [ระบอบปกครองแบบลัทธิเชิดชูวีรบุรุษ(Bonapartism) แห่งชนชั้นกรรมาชีพ]  ที่กรรมกรจะต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มขุนนางปัญญาชน     

ในความเป็นจริง,ผลพวงที่ออกมานั้นเป็นเรื่องที่ได้ตัดสินใจกันมาก่อนหน้าแล้วคือโครงสร้างในทางจัดตั้งแบบการทหารของนักก่อภัยร้ายและกองโจรที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยภายในองค์กร   และนอกเหนือสิ่งอื่นใด,มันเป็นความจริงที่พวกเขาได้กระทำการอย่างเป็นเอกเทศที่อยู่นอกกรอบวินัยของชนชั้นกรรมกร      พรรคปฏิวัติที่แท้จริงไม่ใช่การแต่งตั้งแต่พวกของตัวเองขึ้นมาในฐานะผู้ประสิทธิ์ประสาสน์ของมวลชน     หากแต่มีความมุ่งมั่นที่จะจัดตั้งอย่างมีจิตสำนึกเพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่...สังคมนิยม

การเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกเก่าของพรรค เซ็มลียา อี โวลยา      มีแนวโน้มในความพยายามที่จะคง ลัทธิก่อการร้ายเอาไว้...แต่ถูกกวาดทิ้งไป  การประชุมสมัชชาทีโวโรเน็ซฮ์(Voronezh)ในเดือนมิถุนายน 1879  ความพยายามที่จะประนีประนอมเพื่อระงับความแตกแยกประสบความล้มเหลว และต่อมาก็เกิดการแตกหักกันในเดือนตุลาคมในปีนั้นเองด้วยข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะยุบเลิกองค์กร    แบ่งสิน ทรัพย์  และตกลงกันว่าจะไม่ใช้ชื่อเดิม     ฝ่ายนิยมก่อภัยร้ายใช้ชื่อว่า “นารอดนายา โวลยา หรือความต้องการของประชาชน    ในขณะที่ส่วนที่เหลือที่เป็นสถานที่อบรมสมาชิกของนารอดนิค     ใช้ชื่อว่า “ เชอร์นี่  เพเรเดล” หรือ Black Redistribution และยังประกาศเจตนาและแนวคิดเดิมของนารอดนิคในการปฏิวัติชาวนา   ซึ่งภายหลังได้จัดองค์กรขึ้นใหม่นำโดย เพลคานอฟ   และนั่นหมายถึงพลังแห่งลัทธิมาร์กซรัสเซียได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 3

ตอนที่  3  การโหมโรงของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน      

ขบวนการปฏิรูปศาสนา
คู่ขนานไปกับที่อิทธิพลและผลสะเทือนของชนชั้นนายทุนแผ่ขยายกว้างออกไปทุกวัน   พวกเขาไม่อาจนิ่งเฉยในฐานะที่ไร้สิทธิไร้เสียงของตนดังแต่ก่อนอีกแล้วในวิถีของการสะสมทุนปฐมกาลและฟื้นฟูศิลปวัฒน-  ธรรม   ชนชั้นนายทุนเริ่มใช้ปฏิบัติการทางการเมือง    ปฏิบัติการนี้เริ่มต้นที่การเคลื่อนไหวปฏิรูปศาสนาในยุโรปและสงครามชาวนาขนาดใหญ่ในเยอรมัน

นับแต่ศตวรรษที่ 14 ฝ่ายค้านในศาสนจักรโรมันคาทอลิคที่สะท้อนความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนาย ทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมที่เจริญขึ้นใหม่    เริ่มมีการเคลื่อนไหวอย่างคึกคัก   ที่อังกฤษในครึ่งหลังศตวรรษที่ 14  มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้สถาปนา “ศาสนจักรประจำชาติ” ของจอห์น ไวคลิฟฟ์ (John Wycliffe ประมาณ 1320-1384)    ที่เชคโกสโลวาเกียในต้นศตวรรษที่ 15 ก็มีการต่อสู้ปฏิรูปศาสนาที่ประสานกับการช่วงชิงการปลดปล่อยประชาชาติที่ก่อการโดย จาน ฮุส (Jan Hus หรือ จอห์น ฮุส)   การเคลื่อนไหวดังกล่าวข้างต้นได้แบ่งแยกออกเป็นกลุ่มปฏิวัติที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาวนาและชาวเมือง,ได้ฟักตัวกลายเป็นการลุกขึ้นสู้ของชาวนาที่ดุเดือดรุนแรง      จนถึงศตวรรษที่ 16  การปฏิรูปศาสนาได้รวมตัวเป็นกระแสคลื่นอันเชี่ยวกรากซัดกระหน่ำไปทั่วยุโรป      ประเทศเยอรมันที่ความขัดแย้งทางชนชั้นรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นจุดปะทุของขบวนการนี้   มาร์ติน  ลูเธอร์ เป็นผู้ก่อการรุกโจมตีเป็นคนแรก

มาร์ติน  ลูเธอร์(Martin 1483-1546)เป็นศาสตราจารย์ด้านเทววิทยาของมหาวิทยาลัยในเมืองวิทเทนแบร์ก (Wittenberg หรือ ลูเธอร์ชตัดท์/ Lutherstadt)ของเยอรมัน      มีความไม่พอใจอย่างหนักต่อความเหลวแหลกและไร้เหตุผลขององค์สันตะปาปาและศาสนจักร     เขา..ในฐานะตัวแทนผลประโยชน์และความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่        ก่อนอื่นจึงได้เสนอแนวคิดให้ปฏิรูปศาสนจักรโรมันคาทอลิค    หลักการขั้นมูลฐานข้อหนึ่งในคำสอนใหม่ของลูเธอร์คือ   “ความศรัทธานำมาซึ่งการปลดเปลื้อง”   เขาเห็นว่าการได้รับการปลดเปลื้องทางวิญญาณของมนุษย์  เพียงพึ่งพาความเคร่งในศรัทธาก็พอแล้ว       ไม่จำเป็นต้องผ่านพวกพระเป็นสื่อกลางและไม่ต้องพึ่งการถวายปัจจัยต่อศาสนจักรและพิธีกรรมอันจุกจิกหยุมหยิม       ดังนั้นเขาจึงมีความเห็นให้ยกเลิกระบอบแบ่งชั้นศักดินาทางศาสนาและพิธีกรรมจุกจิกหยุมหยิมทุกชนิด    ยกเลิกกิจกรรมทั้งหมดที่เป็นการเผาผลาญทรัพย์สินเงินทองของศาสนจักร       สร้าง“ศาสนจักรราคาถูก” ที่สอด คล้องกับความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุน   ลูเธอร์ยังโจมตีลัทธิตัดกิเลสของศาสนจักรโรมันคาทอลิคว่า ฝืน “มนุษยภาพ”    เขาเห็นว่า “การได้มาซึ่งทรัพย์สินและพิทักษ์รักษาทรัพย์สิน” เป็น “หน้าที่อันพึง ของคริสต์ศาสนิกชนทุกคน”  เช่นนี้แล้ว  เขาได้ยืนยันว่า  การขูดรีดจนสามารถสร้างฐานะร่ำรวยของชนชั้นนายทุนเป็นสิ่งถูกต้องและชอบด้วยเหตุผล      ข้อคิดเห็นในการปฏิรูปศาสนจักรของ ลูเธอร์ ที่สำคัญได้สะท้อนความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่      ขณะเดียวกันก็ได้รับการสนับสนุนจากพวกอัศวินและเจ้าผู้ครองนครส่วนหนึ่ง    เพราะว่าพวกเขาจ้องจะเขมือบที่ดินผืนใหญ่และทรัพย์สินของศาสนจักรมาเป็นเวลานานแล้วนั่นเอง

ปี 1517 ภายใต้คำอ้างเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม     องค์สันตะปาปาได้จัดจำหน่ายบัตรไถ่บาปชนิดหนึ่งในประเทศที่เป็นโรมันคาทอลิคทั้งหลาย       ทั้งนี้เพื่อกอบโกยเงินทองเข้ากระเป๋านั่นเอง    ทูตพิเศษขององค์สันตะปาปาโฆษณาว่าเพียงแค่นำเงินที่ซื้อบัตรไถ่บาปไปเคาะตู้เงิน  วิญญาณของคนที่มีบาปก็สามารถไปสู่สรวงสวรรค์ได้         กลลวงอันไร้ยางอายนี้ทำให้ความไม่พอใจของมวลชนชั้นชนต่างๆในเยอรมันที่มีต่อองค์สันตปาปาและศาสนจักรซึ่งสะสมและเก็บกดมาเป็นเวลานานถึงจุดระเบิดทันที   ยามนั้น  ลูเธอร์ได้จัดการปิดประกาศ “หลักธรรม 95 ข้อ” (Ninety-five Theses)   ของเขาไว้ที่ประตูใหญ่ของวิหาร วิทเทนแบร์ก ทำการประณามองค์สันตปาปาอย่างสาดเสียเทเสีย   ปี 1520  เขายังจัดการเผาราชโองการขององค์สันตะปาปาที่คัดชื่อเขาออกจากศาสนิกภาพต่อหน้าสาธารณชน      ทั้งเสนอให้สถาปนาศาสนจักรประจำชาติที่สลัดพ้นจากการควบคุมขององค์สันตะ ปาปา        ปฏิบัติการและคำเรียกร้องอันห้าวหาญนี้    ได้กลายเป็นสัญญาณสู้รบที่คัดค้านศาสนจักรโรมันคาทอลิคในทันที

แต่ทว่า  พอไฟถูกจุดขึ้นแล้วก็ได้ไหม้ลามออกนอกขอบเขตที่ชนชั้นนายทุนจะควบคุมได้     ชาวนาและชาวเมืองอันกว้างใหญ่ไพศาลได้พกพาความเรียกร้องต้องการของตนโถมตัวเข้าสู่การเคลื่อนไหวโดยมี โธมัส มึนเซอร์ (Thomas Müntzer  )เป็นผู้นำ      พวกเขามีความคิดเห็นให้ใช้ความรุนแรงไปโค่นล้มระ บอบสังคมในปัจจุบัน   สถาปนารัฐแบบเมืองแมนแดนสวรรค์ที่ไม่มีทรัพย์สินเอกชน   ไม่มีการขูดรีดและกการกดขี่ทางชนชั้นขึ้นรัฐหนึ่ง    โธมัส มึนเซอร์   เคยเป็นหมอสอนศาสนาโรมันคาทอลิคในเมืองสวิคเคาน์( Zwickau)ของเยอรมัน  เริ่มแรกสนับสนุนข้อคิดเห็นของลูเธอร์ไปพร้อมกับการขยายตัวของการเคลื่อนไหว        เขาได้ดูดซับพลังในหมู่มวลชนมิได้ขาด   ในที่สุดก็แยกทางเดินกับลูเธอร์อย่างเด็ดเดี่ยว    เขาได้โจมตีคัมภีร์อันเน่าเฟะของศาสนจักรโรมันคาทอลิคอย่างเผ็ดร้อน      ปฏิเสธคำสอนที่ว่ามีแต่คัมภีร์ไบเบิลเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ให้ความเห็นแจ้งอย่างไม่พลาดผิด    กระทั่งเห็นว่าพระเยซูคริสต์ก็เป็นคนเหมือนกัน   เขาได้ลอกคราบความศักดิ์สิทธิ์และความลึกลับของศาสนาคริสต์ออกจนหมดสิ้น    เอาการหลอกลวงด้วยสวรรค์และขู่ด้วยนรกออกมาตีแผ่ให้เห็นอย่างล่อนจ้อนเช่นเดียวกับทัศนะเกี่ยวกับศาสนาที่ใกล้เคียงกับอเทวนิยม      

ความคิดทางการ เมืองของเขาก็สะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพที่เพิ่งจะพัฒนา     เขาเรียกร้องประชาชนลุกขึ้นใช้ความรุนแรงฟาดกระหน่ำใส่ “โอ่งเก่าใบผุๆ” ของสังคมปัจจุบันใบนี้    ภาระหน้าที่ของผู้เป็นสาวกก็คือสร้างแดนสวรรค์ขึ้นในโลกปัจจุบัน     มึนเซอร์ไม่เพียงแต่คัดค้านศาสนจักรโรมันคาทอลิคและเจ้าครองนครศักดินาและขุนนางในเมืองเท่านั้น    หากยังประณามคำสอนที่สันตินุ่มนวลของลูเธอร์ด้วย    เขาเรียกศาสตราจารย์ลูเธอร์ว่า ดอกเตอร์ “ลุคน่า” หมายถึงบรมครูผู้โป้ปด    เขาเดินทางขึ้นเหนือล่องใต้เพื่อโฆษณาเหตุผลของการปฏิวัติ..หว่านเมล็ดพันธุ์ปฏิวัติ   ติดต่อประสานงานกับกลุ่มปฏิวัติในท้องที่ต่างๆ      การเคลื่อนไหวของมึนเซอร์   ได้เกิดบทบาทอย่างใหญ่หลวงต่อการกระตุ้นสงครามชาวนาในเยอรมัน

ปี 1524-1525   ในเยอรมันได้เกิดสงครามชาวนาที่คัดค้านระบอบศักดินาและคัดค้านศาสนจักรโรมันคาทอลิค   สงครามครั้งนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเยอรมัน    ทั่วประเทศมีชาวนาประมาณ 2 ใน 3 เข้าร่วมสงครามครั้งนี้    โดยเฉพาะในแคว้น ชวาเบน  ฟรานโกเนีย  และแซกโซนี    การลุกขึ้นสู้ของสามแคว้นนี้ยิ่งมีขนาดใหญ่   และผู้นำโดยตรงในแคว้นแซกโซนีก็คือตัวมึนเซอร์เอง    การเคลื่อน ไหวปฏิวัติครั้งนี้ได้กระทบกระเทือนศาสนจักรโรมันคาทอลิคและขุนนางศักดินา      ทั้งเพศบรรพชิตและฆราวาสมาก   การเคลื่อนไหวปฏิวัติที่ถั่งโถมทำให้ชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่ตกอกตกใจยิ่งนัก     ดังนั้นพวกเขาจึงโอนเอนเข้าหาและยืนอยู่กับพวกขุนนางและเจ้าครองนคร     ร่วมมือกันก่อการรุกโจมตีต่อชาวนาที่ปฏิวัติ  

ลูเธอร์ ก็ได้ออกมาป่าวร้องให้ทำการปราบปรามชาวนาที่ลุกขึ้นสู้อย่างไม่ต้องปรานีปราศรัย  “ใครก็ตามขอเพียงให้มีกำลังทำได้ไม่ว่าจะในที่ลับที่แจ้งก็ดี   ล้วนจะต้องบดขยี้  รัดคอให้ตาย  และทิ่มแทงพวกเขาให้แหลกเหลวเหมือนตีสุนัขบ้าให้ตายฉันนั้น”   ลูเธอร์ได้ตกต่ำลงกลายเป็นทาสรับใช้ผู้ซื่อสัตย์และผู้สมรู้ร่วมคิดของชนชั้นปกครองไปโดยสิ้นเชิง   ในที่นี้หน้ากากตัวแทน “ปวงชน” ของชนชั้นนายทุนได้ถูกพวกเขากระชากขาดรุ่งริ่ง    เผยให้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงของพวกเขาอย่างล่อนจ้อน    เนื่องจากชาวนาในขณะนั้นยังขาดการชี้นำจากชนชั้นที่ก้าวหน้า      โดยเฉพาะคือการทรยศหักหลังของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่    ทำให้สงครามชาวนาพ่ายแพ้ไปในที่สุด         ตัวมึนเซอร์เองก็ถูกจับในการสู้รบที่เมือง ฟรังเกนเฮ้าเซ่น(Frankenhausen)  ถูกทรมานอย่างทารุณ และถูกประหารชีวิตในที่สุด ศีรษะของเขาถูกตั้งแสดงไว้นอกกำแพงเมืองนานเป็นปีเพื่อเป็นการตักเตือนผู้ที่คิดจะลุกขึ้นสู้อีก  

ภายหลังสงครามชาวนาพ่ายแพ้   พวกเจ้าศักดินาได้ดำเนินการตีโต้กลับอย่างบ้าคลั่ง    ทำให้ชาวนาที่เคยได้รับอิสรภาพทางร่างกายบ้างแล้วกลับถูกกดลงเป็นทาสกสิกรอีกครั้งหนึ่ง    ขณะเดียวกันประเทศเยอรมันก็ตกอยู่ในภาวะแตกแยกทางการเมืองมากยิ่งขึ้น       ผลต่อเนื่องอีกประการหนึ่งก็คือพวกขุน นางศักดินาจำนวนมากได้ฉวยโอกาสแย่งยึดที่ดินของศาสนจักรโรมันคาทอลิค       จากนั้นพวกเขาก็   เปลี่ยนมานับถือศาสนานิกายลูเธอรัล        ทั้งจัดให้นิกายลูเธอรัลมีสถานภาพอยู่ในอาณาจักรของตน    เพื่อให้มันมารับใช้ผลประโยชน์ทางชนชั้นของตน

ในเยอรมัน..ถึงแม้ว่านิกายลูเธอรัล จะเปลี่ยนสีแปรธาตุกลายเป็นเครื่องมือที่ว่านอนสอนง่ายของเจ้าศักดินาแล้วก็ตาม     แต่ถึงอย่างไรมันก็ยังคงสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของชนชั้นนายทุน   ดังนั้นในยุคสะสมทุนปฐมกาลในยุโรปจึงมีเนื้อดินอันอุดมสมบูรณ์สำหรับการขยายตัวของมัน      และได้ค่อยๆแผ่ขยายเข้าไปในประเทศต่างๆในยุโรปตอนเหนือเช่น นอรเวย์ สวีเดน เดนมาร์ก เป็นต้น  ในอัง กฤษ  ฝรั่งเศส  โป แลนด์  ฮังการี  ก็มีสาวกของนิกายลูเธอรัลอยู่ส่วนหนึ่งเช่นกัน

แหล่งกำเนิดการปฏิรูปศาสนาอีกแห่งหนึ่งคือ   ประเทศสวิตเซอร์แลนด์   ซึ่งเศรษฐกิจทุนนิยมค่อนข้างพัฒนา   ณ ที่นั้นได้เกิดการปฏิรูปศาสนาของคัลแวง ซึ่งถือกรุงเจนีวาเป็นศูนย์กลาง  จัง คัลแวง (Jean Calvin 1509-1564)  เกิดในฝรั่งเศส   ได้รับผลสะเทือนทางความคิดจากศาสนานิกายลูเธอรัลในขณะศึกษาอยู่ในกรุงปารีส    เนื่องจากที่ฝรั่งเศสมีการปองร้ายสาวกนิกายใหม่* (เป็นคริสต์ศาสนานิกายใหม่ที่แยกตัวจากนิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายใหญ่หนึ่งในสามนิกาย คือโรมันคาทอลิค  โปรแตสแตนท์  และกรีกออร์ธอร์ดอกซ์  คำว่าโปร แตสแตนท์ ยังเป็นชื่อรวมของนิกายต่างๆ ที่แยกตัวออกจากโรมันคาทอลิค ในคราวเคลื่อนไหวปฏิรูปศาสนาในยุโรปในศตวรรษที่ 16   เนื่องจากมีท่าทีต่อต้านโรมันคาทอลิคซึ่งเป็นศาสนาทางการที่กรุงโรม   ฉะนั้น  ในยุโรปโดยทั่วไปจึงเรียกว่า “นิกายต่อต้านโรม”  หรือนิกายประท้วง (โปรแตสแตนท์)  คำว่า “นิกายประท้วง” มาจากภาษาเยอรมันคือ โปรแตสแตนท์   เดิมหมายถึงการประท้วงต่อญัตติฟื้นฟูอภิสิทธิ์ของโรมันคาทอลิคของผู้แทนเจ้าครองนครและชาวเมืองในที่ประชุมสภาแห่งจักรวรรดิเยอรมันในปี 1529   ต่อมาจึงเป็นชื่อเรียกขานนิกายต่างๆที่ไม่ขึ้นต่อนิกายโรมันคาทอลิคในกรุงโรม)  เขาจึงหนีไปอยู่กรุงบรัสเซลส์  ต่อมาไปอยู่เจนีวาเพื่อสร้างทฤษฎีทางศาสนาของตนเองเช่นเดียวกับลูเธอร์   

คัลแวงก็ยึดถือข้อคิดเห็น “ความศรัทธานำมาซึ่งการปลดเปลื้อง” และให้ก่อตั้ง “ศาสนจักรราคาถูก”   แต่เขาก้าวหน้ากว่าลูเธอร์ตรงที่เขาเสนอสิ่งที่เรียกว่า “ทฤษฎีว่าด้วยลิขิตก่อนกำเนิด”  เห็นว่าชะตาชีวิตของคนเรานั้นได้ถูกกำหนดแน่นอนแล้วโดยพระผู้เป็นเจ้า    ความมั่งมีหรือยากจนก็คือตราของ “ผู้ที่เลือกสรร”  และ  “ผู้ที่ถูกทอดทิ้ง” ของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง     ทฤษฎีว่าด้วยชะตาลิขิตของเขาชนิดนี้   ทั้งได้ปลุกเร้าให้ชนชั้นนายทุนมานะบากบั่นสร้างฐานะมั่งมีศรีสุขเพื่อพิสูจน์ว่าตนคือ “ราษฎรเลือกสรร” ของพระผู้เป็นเจ้า     และทั้งใช้มันมาอำพรางธาตุแท้การขูดรีดของชนชั้นนายทุน   แปรพฤติกรรมในการขูดรีดและหลอกลวงทั้งปวงของชนชั้นนายทุนให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์    นอกจากนี้  “ทฤษฎีว่าด้วยลิขิตก่อนกำเนิด”  ของคัลแวงก็ยังสะท้อนความจริงข้อหนึ่งคือ  ในการแข่งขันทางการค้า....สิ่งที่ชี้ขาดความสำเร็จหรือความล้มเหลวนั้น ไม่ใช่เจตนารมณ์หรือปฏิบัติการของบุคคล   หากคือพลังทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจล่วงรู้ได้เป็นตัวกำหนด   คัลแวงได้ปรับปรุงศาสนจักรตามหลักการระบอบสาธารณรัฐ    โดยให้สา วกทำการเลือกผู้อาวุโส  (โดยทั่วไปจะเป็นชาวเมืองที่ร่ำรวยที่สุด)   และบาทหลวงมาควบคุมดูแลศาสนกิจ  

นับแต่ปี 1541เป็นต้นมา   คัลแวงได้เป็นผู้นำของศาสนจักรในเจนีวา   ภายใต้การนำของเขา   ในช่วงเวลา 20 กว่าปีให้หลัง   โดยความจริงเจนีวาได้กลายเป็นสาธารณรัฐที่รวมการเมืองและศาสนาเป็นองค์เดียวกัน    กระทั่งมีผู้เรียกขานเขาว่า “สันตะปาปาแห่งกรุงเจนีวา”  การปฏิบัติของคัลแวงต่อ “ความคิดนอกรีต” ทั้งปวงโดยเฉพาะต่อ “กลุ่มล้างบาปใหม่”*  (กลุ่มล้างบาปใหม่ เห็นว่า การล้างบาปของเด็กๆที่ถูกบังคับให้กระทำโดยศาสนจักรนั้นเป็นโมฆะ   ควรต้องล้างบาปใหม่อีกครั้งเมื่อเติบโตขึ้นแล้ว   จึงได้ชื่อว่า “ล้างบาปใหม่”   มวลชนที่เป็นฐานรองรับของกลุ่มนี้ก็คือชาวนาและช่างฝีมือ   พวกเขาเรียกร้องให้ทำทรัพย์สินเป็นของสาธารณะ   คัดค้านระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของขุนนางเจ้าที่ดินและศาสนจักร ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สะท้อนความเรียกร้องต้องการของชาวนาและชาวเมือง    จึงได้ถูกปองร้ายอย่างโหดเหี้ยม    เพื่อเป็นหลักประกันในการปกครองของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่   

ศาสนานิกายคัลแวงนิสม์ได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็วในอังกฤษ  ฝรั่งเศส  ภาคตะวันตกและภาคใต้ที่เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองของเยอรมันและเนเธอร์แลนด์เป็นต้นเป็นที่เด่นชัดว่า  การปฏิรูปศาสนาที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 ครั้งนี้   ไม่ใช่การโต้แย้งอภิปรายทางเทววิทยาเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในสรวงสวรรค์ล้วนๆอย่างแน่นอน      หากเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่ชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่คัดค้านชนชั้นปกครองศักดินาที่มีศาสนจักรโรมันคาทอลิคเป็นตัวแทนภายใต้การอำพรางด้วยเสื้อคลุมของศาสนานั่นเอง    ถึงแม้ว่าศาสนจักรโรมันคาทอลิคได้ดำเนินการต่อสู้ดิ้นรนและตีโต้กลับอย่างดื้อรั้นเป็นเวลานาน    เช่นจัดตั้ง “สมาคมเยซูคริสต์”  ขึ้นมาต่อต้าน   

ตัวการปฏิรูปศาสนาเองก็เคยถูกยึดกุมโดยขุนนางศักดินาหรืออำนาจกษัตริย์ในบางประเทศ    จนเกิดการเปลี่ยนสีแปรธาตุก็ตาม    แต่ผลโดยรวมแล้วก็คือศาสนจักรโรมันคาทอลิคได้รับความพ่ายแพ้อย่างหนักหน่วง   นิกายใหม่ของลูเธอร์และคัลแวงกลับได้รับผลสำเร็จอย่างใหญ่หลวง    เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวเติบใหญ่ของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่    การปฏิรูปศาสนาได้บุกเบิกหนทางช่วงชิงอำนาจรัฐให้กับชนชั้นนายทุน   มันได้สนองอาวุธทางความคิดแก่การปฏิวัติชนชั้นนายทุนในยุคแรก    การปฏิวัติชนชั้นนายทุนในเนเธอร์แลนด์ในปี 1566-1609   และการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในเวลาต่อมา   ล้วนดำเนินไปภายใต้ธงนำของศาสนานิกายคัลแวงนิสม์ทั้งสิ้น ……..

การปฏิวัติชนชั้นนายทุนในเนเธอร์แลนด์
กลางศตวรรษที่ 16  ในเนเธอร์แลนด์ได้เกิดการปฏิวัติชนชั้นนายทุน       การปฏิวัติครั้งนี้สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของชนชั้นนายทุน       คำว่า “เนเธอร์แลนด์”  มีความหมายมาจากคำว่า “ที่ลุ่ม”  หมายถึงดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์  แม่น้ำมาส  ตอนล่างของแม่น้ำสเคลต์และชายฝั่งทะเลเหนือ       ซึ่งก็คือฮอล  แลนด์  เบลเยี่ยม  ลักเซมเบอร์ก     และส่วนหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศสในปัจจุบันนั่นเอง    เนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 16 เป็นดินแดนซึ่งเศรษฐกิจทุนนิยมเจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป   ขณะเดียวกันเนเธอร์แลนด์ก็เป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสเปน   ถูกกดขี่บีฑาจากการปกครองของสเปน   เริ่มแต่ปี 1556  กษัตริย์แห่งสเปน  ฟิลิปป์ที่ 2  (Philip 2 ครองราชย์ 1556-1598)  ก็ได้เสริมการปกครองแบบเผด็จการต่อเนเธอร์แลนด์หนักมือยิ่งขึ้น    การยึดครองทางทหาร  การกดขี่ทางประชาชาติ   การปองร้ายทางศาสนาและมาตรการรีดนาทาเร้นทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก   เป็นอุปสรรคขัดขวางอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมในเนเธอร์แลนด์  เป็นเหตุให้ความขัดแย้งทางชนชั้นและความขัดแย้งทางประชาชาติแหลมคมขึ้นอย่างรวดเร็ว   การปฏิวัติกลายเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว       โดยเฉพาะในทศวรรษที่ 1550-1560   ความคิดต่อต้านของชนชั้นปฏิวัติต่างๆในเนเธอร์แลนด์นับวันมีแต่จะสูงขึ้น

ในหมู่ชนชั้นนายทุนนั้น    นับว่าพวกเจ้าของสถานประกอบการหัตถกรรม  พ่อค้าขนาดกลางและขนาดเล็กค่อนข้างก้าวหน้า    พวกเขาเรียกร้องให้โค่นการปกครองเผด็จการศักดินาของสเปน   สร้างรัฐประ ชาชาติที่เป็นอิสระ   ผลักดันเศรษฐกิจทุนนิยมให้พัฒนาก้าวหน้าไป   พวกเขาชูธงศาสนานิกายคัลแวงนิสม์ในการปฏิวัติคัดค้านการปกครองของสเปน   พวกเขาได้ประสานตนเองเข้ากับการต่อสู้ของมวลชนในระยะเวลาที่แน่นอน   เกิดบทบาทที่เป็นคุณไม่น้อย   แต่ว่า  ชนชั้นนายทุนพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีฐานะนำในหมู่ชนชั้นนายทุนโน้มเอียงไปทางอนุรักษ์   พวกเขาถึงแม้ว่าคัดค้านมาตรการบางประการของระบอบเผด็จการ     แต่ว่าใช้ท่าทีประนีประนอมกับอิทธิพลขุนนางและผู้ปกครองสเปน   โดยเฉพาะพวกพ่อค้ามหาเศรษฐีทางตอนใต้ซึ่งมีติดต่อทางการค้ากับสเปนและอาณานิคมของมันก็ยิ่งเป็นเช่นนี้  ส่วน
 ชาวนาและชาวเมืองซึ่งได้รับการกดขี่ทางชนชั้นและทางประชาชาติถึงสองชั้นนั้น      มีความเรียกร้องต้องการปฝกิวัติอย่างแรงกล้า    พวกเขาเรียกร้องให้ใช้กำลังโค่นล้มระเบียบปัจจุบัน    ทำลายพวกขุน นางและพวกพระ   พวกเขาใฝ่ฝันสังคมระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะพวกนี้เป็นกำลังพื้นฐานของการปฏิวัติ

นอกจากนี้   ในหมู่ขุนนางศักดินาก็มีการแยกตัวของกลุ่มฝ่ายค้านที่นำโดยเชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยม(1533-1584) พวกเขาบ้างเป็นขุนนางใหม่ที่เป็นแบบชนชั้นนายทุน   มีความเรียกร้องต้องการพัฒนาทุนนิยม   บ้างไม่พอใจที่ขุนนางสเปนกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ   จึงคิดฉกฉวยโอกาสแย่งยึดที่ดินของศาสนจักรโรมันคาทอลิค     พวกเขาได้จัดตั้งกลุ่มการเมืองของตนเองเรียกว่า “พันธมิตรขุนนาง”   ดำเนินการเคลื่อนไหวคัดค้านสเปน        และได้ยึดอำนาจการนำของฝ่ายปฏิวัติภายใต้การหนุนหลังของชนชั้นนายทุนใหญ่พาณิชยกรรม  ซึ่งมีผลทำให้การปฏิวัติในเนเธอร์แลนด์กลายเป็นการปฏิวัติที่ไม่ถึงที่สุด

การปฏิวัติเริ่มต้นด้วยการต่อสู้ของมวลชนที่มีขนาดใหญ่โต   เดือนสิงหาคมปี 1566   เมืองหัตถกรรมบางแห่งทางภาคใต้ได้เกิดเหตุการณ์ “ขบวนการทำลายเทวรูป”   มวลชนชาวนาและชาวเมืองได้ลุกขึ้นรื้อทำลายโบสถ์วิหารโรมันคาทอลิค   เผาทำลายพันธบัตรและโฉนดที่ดิน   ริบทรัพย์สินของศาสนจักร   เดือนตุลาคม  ขบวนการได้แผ่ขยายไปถึง12 มณฑลในจำนวน 17 มณฑลของเนเธอร์แลนด์     ผู้เข้าร่วมมีจำนวนหลายหมื่นคน   การเคลื่อนไหวของมวลชนที่เป็นไปประดุจพายุบุแคมนี้   ทำให้พันธมิตรขุนนางและฝ่ายคัลแวงนิสม์ซึ่งเป็นกลุ่มนำตกอกตกใจยิ่งนัก  ขุนนางส่วนหนึ่งจึงหันไปช่วยเหลือกองกำลังของรัฐบาลปราบปรามผู้ก่อการลุกขึ้นสู้     

บรรดาผู้นำในคณะอาวุโสหรือเพรสไบเทอร์เรียนของฝ่ายคัลแวงนิสต์พากันถอนตัวออกจากการเคลื่อน ไหวอย่างตาลีตาลาน       ชนชั้นปกครองสเปนจึงจัดตั้งกำลังตีโต้กลับทันที     เดือนสิงหาคม 1567 ดยุค อัลวา ( Dukำ Alva  of 1508-1583)   ข้าหลวงใหญ่คนใหม่ได้นำกำลังทหาร 18,000 คนเข้าตั้งประจำในเนเธอร์แลนด์   ดำเนินการปกครองแบบสยองขวัญ   ตรวจค้นจับกุมและเข่นฆ่าผู้ลุกขึ้นสู้ขนานใหญ่   ทั้งดำเนินระบอบภาษีใหม่อันเป็นการทำลายเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์    อัลวาประกาศอย่างโอหังว่า  เก็บเนเธอร์แลนด์ที่ยากจนไว้ให้พระผู้เป็นเจ้าดีกว่าทิ้งเนเธอร์แลนด์ที่ร่ำรวยให้ปีศาจ    มวล

 ชนใช้การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธไปตอบโต้การปกครองที่สยดสยองและนโยบายปล้นชิงของอัลวา   

ในภาคใต้ มีลูกจ้าง  หัตถกร  และชาวนาหลบเข้าสู่ป่าเขา   จัดตั้งองค์กร “ขอทานป่าเขา”*(ปี1566   ขณะที่พันธมิตรขุนนางยื่นหนังสือประท้วงต่อข้าหลวงใหญ่นั้น   บรรดาขุนนางใหญ่สเปนด่าพวกเขาว่า “ไอ้ขอทาน”  พันธมิตรขุนนางจึงใช้คำว่าขอทานเป็นชื่อจัดตั้งของตนเอง   ทั้งได้ออกแบบภาพ ถุงย่ามและกะลาขอทานเป็นตราของกลุ่ม     ต่อมา มวลชนปฏิวัติก็นิยมใช้ชื่อนี้   ในขบวนทัพของฝ่ายลุกขึ้นสู้มักได้ยินคำขวัญ “ขอทานจงเจริญ” เป็นประจำ)ดำเนินสงครามกองโจรทางภาคเหนือ เช่น มณฑลฮอลแลนด์  และซีแลนด์  เป็นต้น   พวกชาวประมง  กะลาสีเรือและกรรมกรท่าเรือก็โยกย้ายกำลังไปอยู่ในลำเรือ   จัดตั้งกองจรยุทธ “ขอทานทะเล” ขึ้นทำการโจมตีกองเรือและที่มั่นตามชายฝั่งทะเลของสเปนจนได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม   พวกชนชั้นนายทุนขุนนางส่วนหนึ่งก็เข้าร่วมกองจรยุทธ์ชนิดนี้ด้วยเช่นกัน    การต่อสู้ด้วยอาวุธของมวลชนได้โจมตีต่อชนชั้นปกครองสเปนอย่างหนัก   ทั้งเป็นการตระเตรียมให้กับกระแสสูงของการปฏิวัติที่จะติดตามมา

เดือนเมษายน 1572  กองจรยุทธทะเลกองหนึ่งได้โจมตีและยึดได้เมืองบริลส์บนเกาะซีแลนด์   ชัยชนะในครั้งนี้ได้ผลักดันการปฏิวัติขึ้นสู่กระแสสูงใหม่     หลายสัปดาห์ต่อมาการลุกขึ้นสู้ได้ขยายตัวไปทั่วทุกมณฑลทางภาคเหนือ     ชาวนาลุกขึ้นมาทำลายโบสถ์วิหารและเรือกสวนของขุนนาง   ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามพันธะศักดินา     มวลชนที่ลุกขึ้นสู้ในเมืองภายใต้การนำของพวกหัวรุนแรงชนชั้นนายทุนได้จัดตั้งกองทัพปฏิวัติ   ก่อตั้งอำนาจรัฐในเมือง   ทำการปราบปรามต่อพวกพระ    พวกทรยศและพวกสปายสายลับที่นิยมสเปน   ตีโต้การบุกโจมตีของกองทัพสเปนล่าถอยไป     ปลายปี 1573 มณฑลทางภาคเหนือได้ทยอยปลดแอกจากการยึดครองของสเปนและประกาศเอกราช

ในกระบวนการต่อสู้ของประชาชนที่พัฒนาไปอย่างครึกโครม      ชนชั้นนายทุนใหญ่พาณิชยกรรมได้สมคบกับขุนนางทำการช่วงชิงอำนาจรัฐ   ปี 1572 พวกเขาได้รับตัวเชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยมซึ่งลี้ภัยอยู่ต่างประเทศกลับมาที่ภาคเหนือ     ทั้งได้สนับสนุนให้ขึ้นมาเป็นข้าหลวงใหญ่ในที่ประชุม 7 มณฑลภาคเหนือซึ่งจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม   พวกเขามุ่งหวังจะพึ่งพากำลังของพวกขุนนางหยุดยั้งการปฏิวัติไม่ให้พัฒนาสืบต่อไป

เดือนกันยายน 1576  ที่บรัสเซลส์เกิดการลุกขึ้นสู้   โค่นล้มสถาบันการปกครองสูงสุดของสเปนที่มีต่อเนเธอร์แลนด์   จากนั้นมา สนามการต่อสู้ที่สำคัญก็ได้เคลื่อนย้ายไปในมณฑลต่างๆทางภาคใต้    แต่ว่า พวกขุนนางและพ่อค้ามหาเศรษฐีทั้งหลายของภาคใต้ที่ได้แย่งยึดอำนาจรัฐของมณฑลต่างๆทางภาคใต้ไว้ในมือ  กลับพยายามอย่างสุดกำลังที่จะประนีประนอมกับสเปน    ส่วนขุนนางและพ่อค้ามหาเศรษฐีในภาคเหนือซึ่งมีเชื้อพระวงศ์วิลเลี่ยมเป็นผู้นำก็จดจ้องคอยแต่จะประนีประนอมกับขุนนางทางภาคใต้    เดือนตุลาคม  ได้เปิดประชุม 3 ฐานันดรของเนเธอร์แลนด์ที่เมืองเกนต์   “ข้อตกลงประนีประนอมเกนต์”  ซึ่งบรรลุในที่ประชุมก็คือผลิตผลของการประนีประนอมดังกล่าว   ข้อตกลงนี้แม้ว่าได้ยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆของอัลวา   เน้นความจำเป็นที่เหนือใต้จะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็ตาม   แต่ในข้อตกลงไม่เพียงแต่ไม่แตะต้องปัญหาการทำลายระบอบที่ดินแบบศักดินาเท่านั้น    กระทั่งปัญหาเอกราชของเนเธอร์แลนด์ก็ไม่ได้กล่าวถึงเลย

ภายหลังจากการลงนามในข้อตกลงแล้ว   ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1577  ประชาชนในเมืองต่างๆของภาคใต้ก็ได้ก่อการลุกขึ้นสู้ครั้งใหม่    ได้ก่อตั้งองค์กรอำนาจรัฐปฏิวัติ   ใช้มาตรการประชาธิปไตยบางประการ   การลุกขึ้นสู้ของชาวนาก็แผ่ขยายไปในมณฑลต่างๆอีกครั้งหนึ่ง   แต่ว่าการต่อสู้ของประชาชนกลับถูกปราบปรามโดยกองทหารของสภาสามฐานันดร        และถูกบ่อนทำลายโดยพวกสนับสนุนวิลเลี่ยม   ทำให้กำลังปฏิวัติในภาคใต้ถูกบั่นทอนให้อ่อนแอลง       เป็นการหนุนส่งให้กับการก่อเหตุวุ่นวายของขุนนางในภาคใต้และการตีโต้กลับของกองทัพสเปนปี 1578  กองทัพสเปนได้ตีกองทัพของสภาสามฐานันดรพ่ายแพ้ไปที่เมืองเกมโบล   ขุนนางทางภาคใต้ฉวยโอกาสก่อการกบฏ   

เดือนมกราคม ปีต่อมา    ขุนนางที่เป็นกบฏในเมืองอาร์ตตอยส์และเมืองไฮนัทได้ก่อตั้ง “สหพันธ์อาร์ราส”   สมคบกับกองทัพสเปนดำเนินการเคลื่อนไหวกบฏที่ปฏิปักษ์ปฏิวัติอย่างเปิดเผย       เช่นนี้แล้ว   ความฝันของมณฑลต่างๆทางภาคเหนือที่จะประนีประนอมกับขุนนางในภาคใต้ได้ดับวูบลง   ดังนั้นจึงได้ก่อตั้งองค์กร “พันธมิตรยูเตรคต์”  ขึ้นต่อต้าน    พันธมิตรประกาศว่า   มณฑลต่างๆในภาคเหนือจะไม่มีการแบ่งแยกตลอดกาล   พิทักษ์เอกราช   ปี 1581  สภาสามฐานันดรในภาคเหนือประกาศปลดพระเจ้าฟิลิปป์ที่ 2   สถาปนา “สาธารณรัฐรวมมณฑล”  วิลเลี่ยมเป็นกงสุล   ดำเนินการปกครองแบบคณาธิป ไตยที่มีชนชั้นนายทุนใหญ่พาณิชยกรรมและขุนนางเป็นพันธมิตรกัน

กองทัพสเปนได้สมคบคิดกับสหพันธ์อาร์ราส     ทำการตีโต้กลับต่อกำลังฝ่ายปฏิวัติ   ได้ยึดครองเมืองบางส่วน   ปี1585  ยึดได้เมืองบรัสเซลส์และเมืองแอนต์เวอร์ป    ฟื้นการปกครองของสเปนในภาคใต้   ทั้งได้หันเป้าไปโจมตีทางภาคเหนือ    กองทัพสาธารณรัฐรวมมณฑลได้ตีโต้การบุกโจมตีของกองทัพสเปนพ่ายแพ้ไปครั้งแล้วครั้งเล่า   พิทักษ์รักษาเอกราชของตนไว้ได้   ปี 1609 สเปนซึ่งตกอยู่ในฐานะยากลำบากทั้งภายในและภายนอกประเทศ      ไม่มีกำลังที่จะทำลายการปฏิวัติในเนเธอร์แลนด์อีกต่อไป    จึงถูกบีบให้ยอมเซ็นต์ “สัญญาสันติภาพ 12ปี”   ความจริงก็คือ  รับรองความเป็นเอกราชของสาธารณรัฐรวมมณฑลนั่นเอง  สาธารณรัฐรวมมณฑลมีมณฑลฮอลแลนด์ใหญ่ที่สุดและร่ำรวยที่สุด    ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า  สาธารณรัฐฮอลแลนด์ด้วย    การปฏิวัติของเนเธอร์แลนด์ก็ได้รับชัยชนะทางภาคเหนือ

การปฏิวัติเนเธอร์แลนด์เป็นการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนที่ได้รับความสำเร็จเป็นครั้งแรก   มันได้บุกเบิกทางการพัฒนาของทุนนิยมในภาคเหนือของเนเธอร์แลนด์   ชนชั้นนายทุนที่พัฒนายังไม่สุกงอม  หวาดกลัวมวลชนเป็นที่สุด   มักจะพึ่งพาเป็นพันธมิตรกับขุนนางตลอดเวลา    พยายามทำให้การปฏิวัติเลิกล้มกลางคัน   การปฏิวัติเนเธอร์แลนด์เป็นการปฏิวัติที่ไม่ถึงที่สุดครั้งหนึ่งของชนชั้นนายทุน   ไม่เพียงแต่ไม่สามารถดำเนินการต่อสู้คัดค้านศักดินาภายในประเทศให้ถึงที่สุดเท่านั้น   กระทั่งการต่อสู้คัดค้านการปกครองของสเปนก็เพียงได้รับชัยชนะเฉพาะส่วนในดินแดนทางภาคเหนือเท่านั้นอีกด้วย    

มาร์กซชี้ว่า “การปฏิวัติปี 1789 ถือเอาการปฏิวัติปี 1648 เป็นต้นแบบของมัน (อย่างน้อยก็ในยุโรป)   และการปฏิวัติปี 1648  ก็มีแต่ถือเอาการลุกขึ้นสู้คัดค้านสเปนของชาวเนเธอร์แลนด์เป็นต้นแบบของมัน    การปฏิวัติแต่ละครั้งในสองครั้งนี้  ล้วนก้าวหน้ากว่าต้นแบบของตนนับด้วยศตวรรษ  ไม่เพียงแต่ในด้านกาลเวลาเป็นเช่นนี้  ทั้งในด้านเนื้อหาก็เช่นกัน”  (มาร์กซ  “การปฏิวัติของชนชั้นนายทุน”)     จะเห็นได้ว่าการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของเนเธอร์แลนด์ก็คือการซ้อมรบใหญ่ครั้งหนึ่งของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนอังกฤษ   ขณะที่ทั่วทั้งยุโรปยังอยู่ในยุคการปกครองเผด็จการศักดินาโดยทั่วไป   ผลสำเร็จอันมีขอบเขตจำกัดของมันแสดงว่า   ชนชั้นนายทุนในยุโรปได้พกพาความเรียกร้องต้องการที่จะแย่งยึดอำนาจรัฐก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์แล้ว   จบตอนที่3   ตอนต่อไปคือ  ยุคการปฏิวัติชนชั้นนายทุนมาถึงแล้ว