Saturday, October 24, 2015

26 เรื่องเกี่ยวกับ Islamic State ....


   
26 เรื่องเกี่ยวกับ Islamic State ที่โอบามาไม่ต้องการให้คุณรู้

โดย   Prof. M . Chossudovsky        19  พฤศจิกายน 2014

สหรัฐฯ ทำสงครามกับ อิสลามมิค เสตท เป็นการโกหกคำโต  

หลังจากสหรัฐฯได้เปิดฉากสู้รบกับ “กลุ่มก่อการร้าย อิสลาม”  ที่ได้ดำเนินไปในขอบเขตทั่วโลกก่อนหน้านี้เพื่อ  ”ปกป้องบ้านเกิดของประชาชนอเมริกัน”  ที่สหรัฐฯได้ใช้เป็นข้ออ้างยืนยันถึงความถูกถูกต้องในการใช้กำลังทหารกับกลุ่ม ”รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลเว้นท์ “(Islamic State of Iraq and the Levant /ISIL)  ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐฯเอง     นั่นเป็นนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของวอชิงตัน ในอิรักและซีเรีย รวมไปถึงการหนุนช่วยพวกผู้ก่อการร้าย

การโจมตีอย่างขนานใหญ่ของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า รัฐอิสลาม ในอิรักได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2014   นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนอย่างระมัดระวังในปฏิบัติการทางการทหารของหน่วยสืบราชการลับ   ที่ได้รับการหนุนช่วยอย่างลับๆจากรัฐบาลสหรัฐฯ  นาโต และอิสราเอล
ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายนั้นคือนิทานโกหก    แท้จริงแล้ว สหรัฐฯก็คือประเทศตัวการที่ให้การอุปถัมภ์ระบอบก่อการร้าย

สหรัฐฯและพันธมิตรคือผู้ให้การปกป้อง กลุ่ม อิสลามมิค เสตท (ซึ่งต่อไปจะใช้คำว่า ไอซิส)   ถ้าสหรัฐฯต้องการจะกวาดล้างกองกำลังของไอซิสอย่างแท้จริงแล้ว    ก็สามารถทิ้งระเบิด ”ปูพรม” ขบวนรถปิคอัพโตโยต้าของไอซิส ในขณะที่กำลังลำเลียงพลข้ามพรมแดนอิรักไปยังซีเรียเมื่อเดือนมิถุนายน
ทะเลทราย ซีโร-อารเบียน เป็นพื้นที่เปิดกว้าง     ในสภาพภูมิประเทศเช่นนี้เครื่องบินขับไล่โจมตีเช่นเอฟ-15   เอฟ 22 แรปเตอร์  และ ซี.เอฟ 18  ที่เป็นกำลังหลักสามารถปฏิบัติการได้อย่างสะดวก
ในรายการข้างล่างนี้เราได้แสดงความเห็น 26 ข้อ     เป็นข้อโต้แย้งหักล้างการโกหกคำโตที่ร่างขึ้นโดยสื่อที่ตระหนักถึงภาระหน้าที่สำคัญในด้านมนุษยธรรม      เนื่องมาจากการปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่ในการต่อต้านซีเรียและอิรักโดยตรงส่งผลให้พลเรือนต้องบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก  
มันถูกละเลย...ไม่ได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตก   ที่ได้สนับสนุนต่อการตัดสินใจของโอบามาอย่างเต็มที่   ในนโยบาย “ปฏิบัติการต่อต้านผู้ก่อการร้าย” 

ต้นกำเนิดของ  อัล กออิดะห์ ในเส้นทางประวัติศาสตร์

1.  สหรัฐฯให้การสนับสนุน อัล กออิดะห์  และร่วมมือกันเกือบจะครึ่งศตวรรษมาแล้ว  ตั้งแต่วันแรกของสงครามโซเวียต - อัฟกานิสถาน

2.  ค่ายฝึกที่ดำเนินการโดย CIA  ตั้งอยู่ในประเทศปากีสถาน      ในช่วงสิบปีตั้งแต่ 1982  ถึง 1992 นักรบจิฮาด  35,000 คน จากประเทศอิสลาม  43  ประเทศ  ถูกฝึกโดย  CIA เพื่อรบในอัฟกานิสถาน CIA  จ่ายเงินค่าโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์และหนังสือข่าว(Newsletters)ที่กระจายไปทั่วโลก  เป็นการจูงใจให้ชาวมุสลิมเข้าร่วมการต่อสู้ จิฮาด

3. ตั้งแต่ เรแกน บริหารประเทศ    วอชิงตันได้ช่วยเหลือสนับสนุนเครือข่ายก่อการร้ายอิสลามทั้งหมด โรนัลด์  เรแกน  เรียกบรรดากลุ่มก่อการร้ายว่า”นักรบเพื่อเสรีภาพ”    สหรัฐฯเป็นผู้ส่งอาวุธให้กองกำลังอิสลามิก     ทุกอย่างจะเป็น ”เรื่องที่ดี” ไปหมดถ้าเป็นการต่อสู้กับสหภาพโซเวียต     เพื่อโค่นกลุ่มปก ครองที่โซเวียตหนุนหลังอยู่     และนั่นเป็นการสิ้นสุดของรัฐบาลที่ไม่ใช่กลุ่มศาสนาในอัฟกานิสถาน
 โรนัลด์  เรแกน  พบปะกับ เหล่าผู้นำ มูจาฮีดีน อัฟกัน ที่ทำเนียบขาวเมื่อปี1985 (จากเอกสารของเรแกน)    
4. หนังสือคู่มือของกลุ่มจิฮาด   ที่ได้จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัย เนบราสกา   มีความตอนหนึ่งว่า....   “สหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินหลายล้านเหรียญเพื่อจัดหาหนังสือเรียนให้แก่เด็กนักเรียนชาวอัฟกัน     ซึ่งหนังสือเรียนเหล่านี้เต็มไปด้วยรูปภาพที่สะท้อนถึงความรุนแรง  และคำสอนของกองกำลังอิสลาม”

5. โอซามะ  บิน ลาเดน  เป็นบุคคลที่น่าสะพรึงกลัวในอเมริกา     เป็นผู้ก่อตั้งขบวนการ อัล  กออิดะห์  เขาได้รับการจัดตั้งโดย CIA ในปี 1979  ตั้งแต่ระยะแรกๆที่อเมริกาให้การอุดหนุนการทำสงครามจิฮาด  ต่อต้านรัสเซียในอัฟกานิสถาน      ตอนนั้นเขาเพิ่งอายุได้ 22 ปี  ผ่านการฝึกการรบแบบกองโจรจากค่ายฝึกที่ CIA ให้การสนับสนุน

กลุ่มอัล กออิดะห์ ไม่ได้อยู่เบื้องหลังการโจมตีกรณี 9/11    เหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 เดือนกันยายน 2011นั้น เป็นข้ออ้างเพื่อใช้สร้างเงื่อนไขในการเริ่มสงครามภาคพื้นดิน   ซึ่งรัฐบาลอัฟกานิสถานเป็นฝ่ายสนับ สนุนกลุ่ม อัล กออิดะห์   เพื่อต่อต้านการก่อการร้าย      เหตุการณ์ 9/11 เป็นเพียงเครื่องมือและสูตรสำ เร็จของการทำ “สงครามต่อต้านการก่อการร้ายในระดับสากล” ของสหรัฐ

รัฐอิสลาม (The Islamic State /IS )

6. โดยเนื้อแท้แล้ว กลุ่มรัฐอิสลาม มีความสัมพันธ์กับ อัล กออิดะห์ ที่ก่อตั้งขึ้นโดย หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐฯ     และได้รับการสนับสนุนโดยหน่วยสืบราชการลับ MI6 ของสหราชอาณาจักร       หน่วยตำรวจลับ มอสสาด (Mossad) ของอิสราเอล     สำนักงานความมั่นคงทั่วไปของปากีสถาน (ISI)   และ สำนักงานเพื่อความมั่นคงของ ซาอุดิ อารเบีย (GIP), Ri’āsat Al-Istikhbārāt Al-’Āmah ( رئاسة الاستخبارات العامة).อย่างแยกกันไม่ออก

7. กองกำลังของ  ISIL ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯและนาโต   ให้ก่อความวุ่นวายขึ้นในซีเรีย เพื่อต่อต้านและโค่นรัฐบาลของ บาร์ซาร์ อัล อัสซาดโดยตรง  
8.  นาโตและผู้บัญชาการระดับสูงชาวตุรกีเป็นผู้รับผิดชอบในการระดมพลและฝึกอาวุธให้แก่สมาชิก ไอซิล    และทหารรับจ้าง  อัล นุสรา  มาตั้งแต่เริ่มก่อการจราจลในซีเรียเมื่อเดือน มีนาคม 2011  จากแหล่ง ข่าวของหน่วยราชการลับ อิสราเอล ที่สามารถยืนยันได้   ระบุว่า  ....” การรณรงค์ระดมอาสาสมัครในโลก อืสลามเข้าต่อสู้ร่วมกับกลุ่มกบฏซีเรีย     กองทัพตุรกีให้ที่พักพิงแก่อาสาสมัครเหล่านี้   ฝึกพวกเขา และ    ส่งข้ามพรมแดนไปยังซีเรียอย่างลับๆ (จากไฟล์ของ DEBKA /เวปไซท์ด้านการเมืองและการทหารของหน่วยข่าวกรองอิสราเอล)     โดยนาโตเป็นผู้ติดอาวุธต่อต้านรถถังให้ เมื่อ 14 สิงหาคม 2011”

9. มีหน่วยรบพิเศษและหน่วยสืบราชการลับของตะวันตกเข้าร่วมปฏิบัติการกับ ไอซิล    หน่วยรบพิเศษและหน่วยสืบราชการลับ MI6 ของสหราชอาณาจักรมีส่วนในการช่วยฝึกนักรบฝ่ายกบฏที่ปฏิบัติการในซีเรีย

10. ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการทหารที่มีความผูกพันเป็นพิเศษกับเพนตากอน (กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ) ได้ฝึกการใช้อาวุธเคมีให้แก่กลุ่มกบฏด้วย   สำนักข่าว CNN รายงานเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2012 ว่า  ”...สหรัฐฯและพันธมิตรยุโรปบางประเทศที่มีข้อตกลงเกี่ยวกับการป้องกันร่วมกัน       ได้ช่วยฝึกกลุ่มต่อต้าน รัฐบาลซีเรียให้รู้จักการรักษาความปลอดภัยแก่คลังอาวุธเคมีในซีเรีย          ซึ่งเจ้าพนักงานระดับสูงของสหรัฐฯและนักการทูตอาวุโสหลายคนได้ให้สัมภาษณ์ CNN เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

11. การฝึกปฏิบัติวิธีตัดหัวของกลุ่มไอซิล   สหรัฐฯมีส่วนในการให้การสนับสนุนโครงการฝึกของกลุ่มก่อการร้ายโดยใช้สถานที่และอุปกรณ์ในประเทศซาอุดิ อารเบียและกาตาร์

12. โดยผ่านการคัดเลือกจากพันธมิตรของสหรัฐฯ   ทหารรับจ้างส่วนใหญ่คือบรรดานักโทษอาญาที่ถูกปล่อยตัวออกจากคุกของซาอุดิอารเบีย   ภายใต้ข้อตกลงที่ว่าจะต้องเข้าร่วมในกองกำลังไอซิล.  บรรดา นักโทษเดนตายชาวซาอุดิเหล่านี้จะได้รับการฝึกและให้เข้าร่วมกับกองกำลังที่โหดร้ายน่ากลัวเหล่านั้น
13. อิสราเอลให้การหนุนช่วยกองกำลังของผู้ก่อการร้ายไอซิลและ อัล นุสรา  จากที่ราบสูงโกลัน (ที่อิสราเอลยึดครองไปจากซีเรียในสงครามหกวัน)       พวกนักรบจิฮาดมีการพบปะกับเจ้าหน้าที่หน่วยกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF/ Israel Defense Forces) กระทั่งนายกรัฐมนตรีเนทันยาฮู     เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ IDF ต่างรู้เห็นเป็นใจกับ เงื่อนไขปัจจัยของพวกจิฮาดในซีเรีย(ไอซิล และ อัล นุสรา)   และสนับสนุนโดยอิสราเอล
 นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู และ โมเช ยาลอน รัฐมนตรีกลาโหม  เยี่ยมทหารรับจ้างที่ได้รับบาดเจ็บในโรงพยาบาลสนามของทหาร ในเขตยึดครองที่ราบสูงโกลันซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนของซีเรีย เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014

ซีเรียและอิรัก

14. ไอซิล คือกองกำลังทหารราบของกลุ่มพันธมิตรตะวันตก   ที่มีคำสั่งลับให้สร้างความหายนะและทำลายซีเรียและอิรัก    แสดงบทบาทภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐฯ  

15. วุฒิสมาชิก จอห์น  แมคเคน ของสหรัฐฯ ในขณะพบปะกับผู้นำกลุ่มก่อการร้ายจิฮาดในซีเรีย

16.  กองกำลังไอซิส ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้      ได้ถูกระบุว่าเป็นเป้าหมายในการรณรงค์เพื่อปฏิบัติการทิ้งระเบิด  ของสหรัฐฯและนาโตในประเด็น  “ต่อต้านผู้ก่อการร้าย”      ได้รับอาณัติให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างลับๆโดยสหรัฐฯ   วอชิงตันและพันธมิตรได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่กลุ่ม รัฐอิสลาม
17.  เป้าหมายการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯและพันธมิตรไม่ได้อยู่ที่กลุ่มก่อการร้ายไอซิล    แต่กลับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของอิรักและซีเรีย   รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมและโรงกลั่นน้ำมัน

18.  โครงการอาณาจักรศักดินากาหลิบ (Caliphate)ของรัฐอิสลาม  คือส่วนหนึ่งของนโยบายระยะยาวของสหรัฐฯ  ในการตัดแบ่งอิรักและซีเรียออกเป็นส่วนๆได้แก่    อาณาจักรกาหลิบอิสลามนิกายสุหนี่    สาธารรัฐอิสลาม(นิกาย)ชิอะห์    และอีกส่วนหนึ่งคือสาธารณรัฐแห่งเคิร์ดดิสถาน

ว่าด้วยโลกของสงครามก่อการร้าย  

19. “โลกของสงครามก่อการร้าย” เป็นการแสดงให้เห็นถึง ”การแตกสลายของอารยธรรม เป็นสงครามระหว่างการแข่งขันช่วงชิงกันในคตินิยมทางศาสนาต่างๆ    แต่ความจริงที่ถูกเปิดเผยออกมา    นั่นคือสงครามเพื่อการ   ยึดครอง   โดยมีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจเป็นตัวชี้นำ

20.  สหรัฐฯให้การสนับสนุนขบวนการ อัล กออิดะห์  อย่างลับๆผ่านหน่วยงานความมั่นคงของตะวันตก       โดยเคลื่อนไหวในประเทศ มาลี  ไนเจอร์  ไนจีเรีย  สาธารณรัฐอัฟฟริกากลาง โซมาเลีย และเยเมน    ในหนังสือ “สงครามก่อการร้ายของอเมริกา” ของ ศ.ไมเคิล   โชสซูดอฟสกี้  กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า   “.... กลุ่ม อัล กออิดะห์   ขยายตัวไปในที่ต่างๆทั้งในตะวันออกกลาง    แถบประเทศกึ่งทะเลทรายสะฮาราในอัฟริกาและเอเซีย    ได้รับการสนับสนุนด้านแนวคิดจาก ซี.ไอ.เอ     พวกเขาถูกสหรัฐฯใช้เป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลาย   สร้างความขัดแย้งภายใน   ทำลายความมั่นคงและอธิปไตยของประเทศต่างๆ

21.  กลุ่มโบโก ฮาราม ในไนจีเรีย     อัล ชาบาบ ในโซมาเลีย   กลุ่มนักรบอิสลามแห่งลิเบีย (LIFG /Libyan Islamic Fighting Groupที่สนับสนุนโดย นาโต เมื่อปี 2011   อัล กออิดะห์ในอิสลามิก มาเกรป   เจมาอิสลามมิยะห์  (JI) ในอินโดนีเซีย    กลุ่มอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กับ อัล กออิดะห์  ต่างก็ได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆจากหน่วยงานความมั่นคงของตะวันตก

22. สหรัฐฯยังให้การสนับสนุนองค์การก่อการร้ายที่มีความสัมพันธ์กับ อัล กออิดะห์ ในเขตปกครองตน เอง ซินเกียง อุยกูร์   ของจีนอีกด้วย     โดยมีเป้าประสงค์ที่แอบแฝงอยู่ก็คือการจุดชนวนความยุ่งยากทางการเมืองและสร้างความไม่ความมั่นคงทางพรมแดนด้านตะวันตกของจีน     มีรายงานว่ากลุ่มจิฮาด จีน  ได้รับการฝึก ”ก่อการร้าย“ จากกลุ่มรัฐอิสลามเพื่อปฏิบัติการโจมตี        การประกาศเจตนารมณ์ของกลุ่มจิฮาดที่มีพื้นฐานอยู่ภายในจีน  (ซึ่งรับใช้ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ)        ก็เพื่อการขยายรัฐศักดินาอิสลาม (Islamic caliphate) ไปสู่พื้นที่ด้านตะวันตกของจีน

23. ผู้ก่อการร้ายคือสหรัฐฯเอง    ในขณะที่สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอิสลามมิก เสตท อย่างเงียบๆ    โอบามาก็ประกาศภาระหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อปกป้องอเมริกาจากการโจมตีของ ไอซิล

24. การเติบใหญ่ของผู้ก่อการร้ายเป็นการคุกคามต่อความมั่นคงภายในของแต่ละประเทศนั้น     เป็นเรื่องที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมาโดยรัฐบาลของค่ายตะวันตกและสื่อต่างๆที่ช่วยกันสร้างภาพ         มันเป็นการล้มล้างสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเพื่อสร้างรัฐตำรวจขึ้นมาแทน      ความหวาดกลัวที่จะถูกโจมตีโดยพวกจิฮาด และคำประกาศเตือนของรัฐในเรื่องการก่อการร้าย  เป็นสภาวะการที่จัดฉากขึ้น       พวกเขาจะใช้การสร้างบรรยากาศของความกลัวและการ ขู่ขวัญ คุกคามอย่างสม่ำเสมอ          ในทางกลับกันก็มีการจับกุม  ไต่สวน   ตัดสินลงโทษ  ”ผู้ก่อการร้ายอิสลาม ?”   เพื่อธำรงไว้ซึ่งความชอบธรรมทางกฎหมายความมั่นคงของบ้านเกิดเมืองนอนอเมริกาด้วยการบังคับใช้กฎหมาย    ซึ่งจะทำให้เป็นแบบทหารมากขึ้น

เป้าประสงค์สูงสุดคือการค่อยๆทำให้ความรู้สึกเหล่านี้ค่อยๆซึมซ่านเข้าไปในจิตใจของชาวอเมริกันนับล้านๆคนให้ตระหนักถึงตัวตนของศัตรูที่แท้จริง       และให้มั่นใจว่าการบริหารรัฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะสามารถปกป้องชีวิตของประชาชนได้

25. "การต่อต้านการก่อการร้าย"  การรณรงค์ต่อต้าน รัฐอิสลาม(Islamic State)   ได้มีส่วนในการทำให้ชาวมุสลิมโดยทั่วไปกลายเป็นปีศาจ      ซึ่งในสายตาและความคิดเห็นของสาธารณชนตะวันตกที่มองว่ามีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มจิฮาด jihadists

26.   ไม่ว่าใครก็ตามที่บังอาจสอบถามถึงเหตุผลของนโยบาย ”ทำสงครามกับลัทธิก่อการร้าย” จะถูกมองว่าเป็นผู้ก่อการร้ายเสียเอง     จะถูกควบคุมโดยกฎหมายต่อต้านผู้ก่อการร้าย

เป้าประสงค์หลักของ “การทำสงครามกับลัทธิก่อการร้าย”  คือการทำให้ประชาชนอ่อนแอลง   เป็นการทำลายชีวิตทางสังคมการเมืองของอเมริกาโดยสิ้นเชิง      เป็นการขัดขวางประชาชนมิให้ใช้ความคิดและสร้างมโนคติที่ผิดๆจากการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง     มันเป็นการท้าทายความถูกต้องในการตรวจสอบและกฎเกณฑ์ทางสังคมที่เป็นอยู่ในสหรัฐอเมริกาเอง

Thursday, October 15, 2015

บทเรียนจากชิลี 10

10. การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของมวลชน
การบ่มเพาะในแวดวงของนักศึกษา     ได้เปิดฉากจากการเคลื่อนไหวในด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะครอบครัวของ ”ผู้ที่สูญหาย” ไป      ทำให้ช่องว่างระหว่างกลุ่มเผด็จการและโบสถ์คริสตจักรถ่างกว้าง มากขึ้นอีก.....เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในหมู่มวลชนโดยทั่วๆไป   ความหวาดกลัวจากผลของการปราบปรามทวีขึ้นทุกๆวัน        ถึงแม้ว่ามวลชนยังมีความกลัวอยู่..แต่ก็ยังไม่เท่ากับเมื่อก่อนหน้านี้     แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่คือความเฉยเนือยของมวลชนที่ถูกกดทับจากวิกฤตการทางเศรษฐกิจ..ความหิว และความปวดร้าวขมขื่น    แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเศร้าเสียใจ...ในความเป็นจริงมันเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า  แแสำหรับเวลาเช่นนี้แล้วไม่มีสิ่งใดๆจะดีไปกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรากฐาน

ระบอบเอกบุรุษของปิโนเช..ที่พื้นฐานสำคัญของมันมาจากเครื่องมือของรัฐ    ที่พยายามแสวงหาเป้า หมายของดุลยภาพทางชนชั้น      ด้วยวิธีนี้..ปิโนเช คิดว่าจะสามารถทำได้โดยได้รับการสนับสนุนจากมวลชนด้วยการพึ่งพิงบริการจากบรรดา นักสหภาพแรงงานขุนนาง ทั้งหลาย     หลังจากกองทัพยึดอำนาจ..  องค์กรสหภาพแรงงานของชนชั้นกรรมกรส่วนใหญ่ที่มีอยู่แต่เดิมได้ถูกยกเลิก  ในฐานะที่เป็นองค์กรผิดกฎหมาย    บรรดาผู้นำกรรมกรของสหภาพฯเหล่านี้ถูกกวาดล้าง  จับกุม  และไล่ล่าสังหาร    กระนั้นการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานก็ยังดำเนินต่อไปภายใต้ระบอบปกครองของกลุ่มเผด็จการ ทหาร     แต่ในความเป็นจริงสหภาพแรงงานเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการดำเนินการโดยผู้นำกรรมกรที่บรรดานายพลทั้งหลายขุนเลี้ยงไว้     นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของระบบอบปกครองแบบลัทธิเอกบุรุษ

ปิโนเช มีแนวคิดที่จะกำหนดการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานให้เป็นแบบ ”เชื่องเชื่อ” แต่ในสถาน การณ์ของประเทศที่กำลังบอบช้ำกับการเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ     ทำให้ความพยายามนี้กลับเป็นผลเสียต่อตนเอง      สหภาพแรงงานขุนนางต่างไม่สามารถแสดงบทบาทในการเป็นเครื่องมือของกลุ่มปกครองต่อไปได้อีกภายใต้การเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง       ซึ่งแตกต่างไปจากความต้องการของกลุ่มเผด็จการ    ในสภาวะวิกฤตทำให้เกิดแรงกดดันจากบรรดาสมาชิก จากปัจจัยเหล่านี้     เริ่มจากการเป็น ”สื่อกลาง” หรือ “ผู้ไกล่เกลี่ย” ของรัฐบาล นายจ้าง และกรรมกร (กรรมการไตรภาคี)   สามารถทำได้แค่สถานะ กึ่งค้าน หรือ คัดค้าน เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในบริบทของชิลีก็คือการจัดตั้งสหภาพแรงงานอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมั่น คง    ซึ่งพอจะทดแทนหลายสิ่งหลายอย่างได้และยังคงดำรงอยู่อย่างเป็นรูปเป็นร่าง        หน้าร้อนปี 1978     มีกรรมกรมากกว่าล้านคนเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน7,047แห่งที่มีการจัดตั้งขึ้น(สหภาพ ด้านอุตสาหกรรม 819 แห่ง..สหภาพฯด้านเกษตรกรรม 877 แห่ง    สหภาพวิชาชีพต่างๆ4,144 แห่ง และในในกลุ่มแรงงานภาคเกษตรกรรม and 207 แห่ง) ซึ่งแยกออกเป็นจำนวนดังต่อไปนี้   สหภาพฯด้านอุตสาหกรรม 235,000 คน   เกษตรกรรม 283,000 คน    สาขาอาชีพ 495,000 คน   ลูกจ้างในภาคเกษตรกรรม 13,000 คน

สมาพันธ์แรงงานกลาง (CUT/Confederación Unitaria de Trabajadores) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติของกรรมกร ถูกปิดลงในวันที่เกิดรัฐประหารยกเว้นสหภาพฯที่เป็นเครื่องมือของกลุ่มขุนนาง    ระบอบเผด็จการทหารได้แต่งตั้งกลุ่มผู้นำกรรมกรปีกขวาที่เป็นผู้แก้ต่างกลุ่มเผด็จการฯและประกาศนโยบายของตน   ก่อนที่องค์กรกรรมกรสากลและกลุ่มสหภาพแรงงานทั่วโลกจะเคลื่อนไหวคัดค้าน     แต่สหภาพแรงงานขุนนางที่พรรค คริสเตียน เดโมแครต  ควบคุมอยู่สามารถดำรงอยู่ในระดับแถวหน้า   กลุ่มปก ครองเผด็จการไม่สามารถทำลายองค์กรของกรรมกรในระดับท้องถิ่นได้     และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่      สำคัญคือจำนวนของสมาชิกสหภาพฯไม่ได้ลดลง  ก่อนการรัฐประหาร..สมาพันธ์กรรมกรกลาง(CUT)มีสมาชิกอยู่1,800,000 คน       ถ้าจะประเมินคร่าวๆในเวลานี้(1978)บรรดาสหภาพแรงงานทั้งหลายมีสมาชิกรวมกันถึง 1,200.000 คน    อันตรายที่ใหญ่หลวงคือความจริงที่กลุ่มปกครองเผด็จการทหารได้รับรายงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าว    นาย นิคานอร์ รัฐมนตรีแรงงานคนก่อนที่ได้แสดงความเห็นว่า “กรรมกรแทบจะไม่มีอะไรกิน  ซึ่งก็คือสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งหลายทั้งหลาย”
ความไม่พอใจของกรรมกร
สิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการฟื้นตัวของจิตวิญญาณทางชนชั้นได้แก่   การเคลื่อนไหวที่เกิด ขึ้นครั้งแรกสุดในปี 1987   บรรดาสหภาพแรงงานได้รวบรวมกรรมกรกว่า30,000คนใน ซานติอาโก โดยฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล       และจัดให้มีการชุมนุมในโรงงานต่างๆและในส่วนอื่นๆของประเทศ  

เนื่องจากการเคลื่อนไหวนัดหยุดงานเป็นไปได้ยากมากในชิลีขณะนั้น    จึงทำได้แค่การปลุกระดมในโรงงาน   สามารถกดกันนายจ้างได้เพียง  5 ถึง 10 นาที เท่านั้น    จากการกระทำทีละเล็กทีละน้อยทำให้ความกลัวหมดสิ้นไปกรรมกรเริ่มมีความกล้ามากขึ้น    วิธีการต่อสู้ประท้วงแบบใหม่ๆได้ถูกคิดค้นขึ้น     เหมืองแร่  ชิชิเกอมาตา ในภาคเหนือ ได้มีการนัดหยุดงานเพื่อประท้วง ”ความหิวโหย”เหล่ากรรมกรเหมืองปฏิเสธการกินในโรงอาหารของสถานประกอบการ        การประท้วง รูปแบบนี้ได้ขยายไปยังเหมือง เอล เทียเน้นเต     การประท้วงแบบนี้ยืดเยื้อออกไปนับเดือนและนั่นคือการบ่มเพาะ ในมวลหมู่กรรมกร   ตามที่นิตยสาร ฮอย ได้เขียนไว้ว่า...”มันเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจใน เอล เทียเน้นเต     เพราะว่าเราได้ใช้เวลาห้าถึงหกเดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องค่าจ้าง”...”วันพฤหัสที่ 2  เดือนพฤศจิกายน 1977  กรรมกร 1200  จาก 4000 คน ของเหมืองทองแดง เอล เทียเน้นเต ไม่ยอมกลับเข้าทำงาน

มีการแจกจ่ายแผ่นปลิวเป็นเวลาหลายวัน และที่เห็นติดอยู่บนกำแพงได้เรียกร้องให้กรรมกรหยุดงานในวันที่ 2 พฤศจิกายน        ทำให้นายจ้างจำต้องทำความตกลงว่าจะจ่ายเงินโบนัสให้ในเดือนธันวาคม   ในเวลาเดียวกันกรรมกร 49 คนถูกเลิกจ้าง... “โดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆแม้แต่น้อยจากสหพันธ์กรรมกรเหมืองแร่ทองแดง”    แหล่งข่าวเดียวกันได้รายงานอีกว่า “ในการชุมนุมของมวลชนกรรมกร 3000 คนของสหภาพฯที่เซเวล อี มินาส   ในกลางเดือนพฤศจิกายน...สมาชิกได้เรียกร้องให้ประธานสหภาพฯลาออกเนื่องจากแสดงตนประกาศสนับสนุนเข้าข้างนายจ้าง “

ความจริงเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงกระบวนการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานที่ได้เริ่มต้นขึ้นอีกอย่างมีชีวิตชี วา     ชนชั้นกรรมกรไม่อาจยอมรับสภาพการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อที่เป็นทางการพุ่งสูงขึ้นถึง 60% ในปี 1978     เป็นเหตุให้สหภาพแรงงานขุนนางตกอยู่ในสถานะที่ง่อนแง่นมากยิ่งขึ้น      ครอบครัวของกรรมกรส่วนใหญ่มีอาหารกินกันแค่วันละมื้อเดียวเท่านั้น     กรรมกรและครอบครัวมีเพียงขนมปังและชาสำหรับบริโภค     จากความเป็นอยู่ในสภาพที่สิ้นหวังได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการจลาจล อย่างในกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นใน เอล เทเนียนเต้       

เรื่องที่ไร้สาระเรื่องหนึ่งก็คือสหภาพแรงงานทองแดงขุนนาง(ที่มี กุยเลอโม เมดินา ที่เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติเป็นผู้นำ)   ไม่เห็นด้วยกับการหยุดกิจการได้กล่าวหาว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 นั้นเป็นผลมาจากแรงจูงใจทางการเมืองของกลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของคนงานเหมือง"   ได้มีการตอบโต้ผู้นำกรรมกรในบางแห่งด้วยการไล่ออกและเนรเทศไปยังชนบทที่ห่างไกล  ความไม่พอใจของกรรมกรได้แผ่ขยายไปยังภาคส่วนต่างๆเช่นกรรมกรท่าเรือ    ซึ่งในเวลาเดียวกันได้ทำการเคลื่อนไหว “เฉื่อยงาน” จนทำให้การขนส่งที่ท่าเรือวาลปาไรโซ ลดลงถึง 50 %.

ความไม่พอใจของบรรดากรรมกรได้เริ่มส่งผลสะท้อนกลับไปยังผู้นำกรรมกรขุนนางเอง  ในการชุมนุม ที่โรงละคร โคปูลิกัน ในนครซานติอาโกในพิธีเฉลิมฉลองอาคาร    สหพันธ์กรรมกรก่อสร้างและช่างไม้ได้แสดงความไม่พอใจออกมาว่า  “ด้วยเงิน 1,411 เปโซ ซึ่งเป็นอัตราค้าแรงขั้นต่ำ  ทำให้เรามีเงินพอแค่จะจ่ายค่าขนมปังเพียง 2 กิโลกรัมต่อวันเท่านั้น     สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 5-7 คน  ค่าจ้างขั้นต่ำจะซื้อได้แค่ขนมปังเท่านั้น” (Revista de America Contemporarea, p. 21)
อีกด้านหนึ่งสภาวะที่ย่ำแย่ของกรรมกรที่แสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า     10%ของการเสียชีวิตของประเทศมาจากการประสบอุบัติเหตุในการทำงาน     ซึ่งเป็นระดับอัตราสูงที่สุดในลาตินอเมริกา   ความไม่พอใจของมวลชนกรรมกร..บางครั้งจะสะท้อนออกบนหน้าหนังสือพิมพ์ของชนชั้นนายทุน   เช่นใน วันที่ 17 กรกฎาคม 1978  หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก(tabloid) ลา เทเซรา  ได้ประณามการข่มเหงกรรม กรเหมืองแร่ เอล ซัลวาดอร์ ในตอนเหนือของประเทศ    ตามที่ บาร์ดาดิโน  คาสติลโย ประธานสมา พันธ์กรรมกรเหมืองแร่ทองแดงได้กล่าวว่า...”ไม่เพียงแต่จะมีการจัดการที่ย่ำแย่เท่านั้น    แต่ผู้จัดการอาวุโสยังกลั่นแกล้งข่มเหงกรรมกรอย่างเป็นระบบ...เหยียดหยามศักดิ์ศรีของพวกเขา    เลิกจ้างโดยไร้เหตุผล   ละเมิดกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย.....ปฏิเสธหลักการที่ถูกกฎหมายและไม่ยอมรับข้อเรียกร้องใดๆในด้านสิทธิแรงงาน”
ความกลัวของชนชั้นนายทุนน้อย
คาสติลโย ได้กล่าวเสริมว่า “...เขาได้ตัดสินใจที่จะปกป้องสิทธิประโยชน์ของบรรดาสมาชิกสหพันธ์ฯและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะตามมา    ผมไม่สนใจต่อมาตรการต่างๆที่ต่อต้านผม   ในขณะนั้นบรรดากรรมกรต่างอยู่ในความสงบ    แต่ในแต่ละวันก็มีการเดินขบวนประท้วงอันเนื่องมาจากความทุกข์ยากและไม่พอใจ”
จากถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันทั้งมวลที่มีต่อชนชั้นกรรมกร    ซึ่งมาจากผู้นำกรรมกรขุนนางโดยพื้นฐาน.....ในขณะเดียวกันก็เป็นการผลักดันให้เกิดช่องว่างระหว่างพวกเขากับกลุ่มปกครองเผด็จการและบรรดานายจ้างเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เกิดการบอกเตือนถึงสถานการณ์ในอนาคต    เช่นในเหมือง เอล เทเนียนเต  และเช่นเดียวกันกับที่ เอล ซัลวาดอร์ (ซึ่งเป็นเหมืองทองแดงที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามของประเทศที่มีกรรมกรถึง 5,634 คน) ที่ทำการนัดหยุดงานในเดือนพฤศจิกายน 1977 ภายใต้ยุทธวิธี  “ลา” แทนปัญหาการเรียกร้องค่าแรงและได้รับการปฏิบัติที่เลวจากหัวหน้างาน   หนัง   สือพิมพ์ ลา เทเซรา แสดงความ  “เห็นอกเห็นใจ”  และเข้าข้างกรรมกร    โดยกล่าวถึงประเด็นที่พวกหัวหน้างานใช้ตำแหน่งและอำนาจ ”ทำตัวเป็นปฏิปักษ์” ต่อกรรมกร      ด้วยทัศนะคติที่ย่ำแย่เช่นนี้ได้กลายเป็นการสนับสนุนให้เกิดความไม่สงบขึ้นทั่วไปในสังคม
การเอื้อประโยชน์ในปัญหาของกรรมกรเหมืองแร่เช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความกลัวที่เพิ่มขึ้นของบรรดาชนชั้นนายทุนในระดับต่างๆต่อความเป็นไปได้การฟื้นตัวของการเคลื่อนไหวในหมู่กรรมกร    ทุกสิ่งดูเลวร้ายไปหมด..ในกรณีที่ผลิตผลทองแดงที่มีมูลค่าถึง 60% ของเงินตราต่างประเทศที่ใช้เป็นเงินงบ ประมาณของประเทศ     เรื่องนี้คือสาเหตุสำคัญที่บรรดานายทุนใช้กดดันรัฐบาลให้  ”เอาใจใส่ดูแลข้อ เรียกร้อง”  ทางด้านแรงงานเพื่อความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ 

ความตื่นกลัวของชนชั้นนายทุนได้พุ่งเป้าไปยังกลุ่มปกครองเผด็จการ   ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ ลีห์ กุซ มาน รวมศูนย์การวิจารณ์ของเขาไปยังรัฐบาลที่เริ่มจากปัญหาด้านนโยบายทางเศรษฐกิจ      ต้นเดือนสิงหาคม 1975   ลีห์ได้กล่าวหาว่านโยบายเศรษฐกิจของกลุ่มปกครองนั้นเป็นสาเหตุ “ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมากในการลิดรอนสิทธิ์ของชนชั้นต่างๆ    ค่าใช้จ่ายทางสังคมของนโยบายนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าที่ได้คาดหมายไว้    การว่างงานพุ่งสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดมากกว่าที่เคยเป็นมา  และชนชั้นที่ยากไร้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส”

แน่นอนปฏิบัติการ ”น้ำตาจระเข้”ของพวกปฏิกิริยานี้โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ส่งผลให้เกิดความหวาดหวั่น  ที่จะรับผิดชอบในการเคลื่อนไหวใดๆ      แต่ความกลัวต่อผลกระทบทางสังคมที่จะตามมาก็คือการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นกรรมกร     สำหรับตัวปิโนเชเอง..เขาพยายามที่จะจัดประชุมกับบรรดาสหภาพแรงงานขุนนางทั้งหลายซ้ำแล้วซ้ำเล่าในปีเช่นนี้    เพื่อจะค้นหาความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นและพยายามจะหาทางออก

ในส่วนของสหภาพแรงงานขุนนาง  ต่างมีความชื่นชมยินดีที่สามารถบรรลุข้อลงระหว่างรัฐบาลและ นายจ้าง         แต่สถานะที่ล้มเหลวของระบอบทุนนิยมในชิลีไม่อนุญาตให้พวกเขาสร้างอัตรากำไรที่เพียงพอสำหรับการยักย้ายถ่ายเท   นายจ้างยังไม่พร้อมที่จะยอมรับเงื่อนไข     สำหรับกรรมกรและครอบครัวก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร     มันเป็นสูตรสำเร็จที่ความไม่พอใจจะประทุขึ้นในสังคม

ผู้นำสหภาพแรงงานพนักงานของรัฐได้ให้คำอธิบายว่า   การปรับค่าจ้างขึ้นเพียง10% นั้นไม่เพียงพอและยืนกรานในข้อเรียกร้องของตน โดยให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆอย่างเร่งด่วน   เนื่องจาก  ”สภาพความเป็นอยู่ของพนักงานรัฐตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบากมาก”    ประธานของ เฟนเมตา (สหพันธ์แรง งานลูกจ้างอุตสาหกรรมรถยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างโลหะ) ได้มีจดหมายไปถึง นสพ.ลา เทอร์เซรา ฉบับวันที่  10/7/78    โดยให้เหตุผลถึงกำลังซื้อที่ลดลงในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างและหลักประ กันสำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง       ในจดหมายฉบับนี้  คาสโตร ได้อธิบายอย่างชัดเจนต่อผลกระทบของนโยบาย ”เปิดประตู”  ของสำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก  เมื่อเขาได้ชี้ชัดออกมาว่า

“การนำสินค้าเข้าจำนวนมหาศาลได้สร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมและกำลังซื้อของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการว่างงานและการถดถอยทางเศรษฐกิจ    สหพันธ์แรงงาน เฟนเตมา  เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก     จากที่เคยมีสมาชิกถึง 12,000 คน ในปี 1973   กลับเหลือสมาชิกอยู่เพียง 7,000 คนในเดือนมิถุนายน 1978       การว่างงานในธุรกิจการค้าเนื่องมาจากการปิดกิจการ  และเพราะว่าจากการเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าในระดับต่ำของสินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า”

ข้อตกลงที่ไม่อาจเป็นไปไม่ได้

วันที่ 28  มิถุนายน  สหพันธ์แรงงานพาณิชยกรรมแห่งชาติ (Fenatrobeco)ได้มีจดหมายถึง ปิโนเช เรียกร้องให้มีการเผยแพร่  “กำไรที่เกิดโดยแรงงานหลังจากการต่อสู้มานานปี” ขึ้นใหม่   โดยยกเลิก  คำสั่งที่ได้ตีพิมพ์ไปเมื่อเร็วๆนี้      ในจดหมายได้ชี้แจงอย่างไร้เดียงสาว่า "ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านได้ยืนยันแทบทุกครั้งในโอกาสต่างๆว่าสิทธิทั้งหมดของกรรมกรจะได้รับการเคารพ."

ปัญหาของสหภาพแรงงานขุนนางทั้งหลายคือไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆกับรัฐบาลและบรรดานายทุนได้เลยในสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น     ผู้นำสหภาพฯถูกบีบให้ไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลเผด็จการ ภายใต้แรงกดดันของชนชั้นกรรมกรที่กำลังมีความตื่นตัวในการต่อสู้เพื่อปกป้องผล ประโยชน์ของตน     ตัวอย่าง..เช่นการประกาศใช้กฎหมายควบคุมสหภาพฯ      ทำให้เห็นสิ่งลวงตา ว่า  ไม่มีความจำเป็นใดๆต่อการดำรงอยู่ของสหภาพแรงงานขุนนาง...มันเป็นการกีดกันพวกเขาไม่ให้แสดงออกถึงบทบาทของการเป็นคนกลางได้

นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของคลื่นการประท้วงที่สื่อตรงไปยังปิโนเชโดยผู้นำสหภาพแรงงาน  ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนมานี้   “คณะกรรมการสมานฉันท์สหภาพแรงงานแห่งชาติ”   มีความสัมพันธ์อย่างสนิทแน่นแฟ้นเป็นพิเศษกับกลุ่มปกครองเผด็จการ    และได้แสดงตนว่าเป็น”ตัวแทน”ระดับชาติของบรรดาสมาชิกสหภาพแรงงานนับล้านคน       พวกเขาถูกบีบให้ปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายฉบับที่ 2200 ของวันที่ 15 มิถุนายนที่พวกเขามีส่วนร่วมในการลงนาม     โดยประธานสหภาพแรงงานสิ่งพิมพ์  สหภาพช่างทาสี   สมาพันธ์กรรมกร-ชาวนาสามัคคี     กรรมกรโลหะและเหมืองแร่  โดยเขียนไว้ในต้นฉบับว่า...   ”เราขอปฏิเสธรูปแบบเหล่านี้โดยสิ้นเชิง       เมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการผิดสัญญาตั้งแต่แรกเกี่ยวกับเรื่องการยอมรับสิทธิประโยชน์ของกรรมกรที่เคยมีมาแต่เดิม         เราไม่ยอมรับการจ้างงานแบบชั่วคราว    ตั้งแต่มีกฎหมายฉบับนี้..กรรมกรถูกมัดมือมัดเท้าให้ยอมรับการแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการกดขี่อย่างหน้าด้านๆหรือถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม....

“แผนการเลิกจ้างของเคลลี่เป็นอันว่าถูกเลื่อนออกไปโดยรัฐบาลมีความประสงค์ให้กลับไปพิจารณาทบทวนใหม่ก่อนที่จะนำมาใช้       เนื่องจากถูกเคลื่อนไหวคัดค้านจากสหภาพแรงงานทั้งมวลแม้แต่สหภาพฯที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล

อนึ่ง...พวกเขายังแสดงทัศนะที่ว่าด้วยการยกเลิกข้อตกลงในการรวมตัวของแรงงานที่มีลักษณะคล้าย คลึงกัน...”เราได้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมีมานานเป็นๆปี”    และนั่นก็เพื่อจะทำให้สหภาพแรงงานทั้งหลายอ่อนแอลง   “สิทธิตามกฎหมายของบรรดาผู้นำกรรมกรถูกจำกัด    โดยทำให้พวกเขาเข้าใจสับสนไปว่าเหมือนกับสิทธิในการลาคลอด”  ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับการขึ้นค่าจ้าง10% .ในเดือนมิถุนายาดังที่กล่าวมาแล้ว...      เราขอย้ำว่าการปรับค่าจ้างนั้นไม่สามารถชดเชยกับค่าครองชีพจริงที่สูงขึ้น   และชนชั้นผู้ใช้แรงงานไม่สามารถหลุดพ้นจากการมีชีวิตอยู่บนความอดอยากกับค่าจ้างที่ได้รับ        มันเป็นการบ่อนเซาะทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเรา”
 และท้ายที่สุด
“เนื่องเพราะสถานการณ์เริ่มจะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทนต่อไปได้แล้ว...ในเวลาไม่นานนี้เราจะเสนอเอกสารต่อรัฐบาลให้รับข้อเรียกร้อง   ซึ่งเราพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่จะมีชีวิตรอดได้ท่ามกลางชนชั้นอื่นในสังคม    ถึงเนื้อหาสาระในการขึ้นค่าแรงให้แก่กรรมกร ลูกจ้าง  และผู้ประกอบอาชีพอื่นๆที่เราเป็นตัวแทน”
สิ่งที่เกิดขึ้นได้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างปิโนเชและผู้นำที่”น่านับถือ”ของสหภาพแรงงานคริสเตียน เดโมแครท  ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างชัดเจน    ได้แสดงอาการถอยห่างออกจากกลุ่มปกครองเผด็จการ    วิกฤตเศรษฐกิจ  การว่างงาน  ความอดอยากหิวโหย  ความทุกข์ยาก       ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดที่บ้าบอของ Milton Friedman  อย่างเข้มงวด  โดยการแยกขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างชนชั้นกรรมกร   ชาวนาและส่วนใหญ่ของคนชั้นกลางที่ต่อต้านรัฐบาล    ปิโนเช สามารถอยู่ได้ก็เพราะความเฉื่อยเนือยของมวลชนในชั่วระยะเวลาหนึ่ง        แต่มันค่อนข้างชัดเจนว่ากระบวนการพัฒนาจิตสำนึกของชนชั้นกรรม กรนั้นได้ก้าวไปสู่ระดับโมเลกุล     มันเป็นการสะสมกำลังภายใต้ปรากฎการณ์ที่ดูเหมือนว่าสงบสันติ 

Wednesday, September 16, 2015

บทเรียนจากชิลี 9


9.วิกฤตเศรษฐกิจ

เป็นความโชคร้ายของกลุ่มเผด็จการชิลี        เนื่องจากทำรัฐประหารไปก่อนหน้าของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจทั่วโลก    ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง    เศรษฐกิจของชิลีซึ่งโดยปกติแล้วต้องพึ่งพาการส่งออกมาโดยตลอด     จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากผลของการลดลงของความต้องการสินค้าของตลาดภายนอก     ทำให้ราคาทองแดงตกต่ำลงอย่างมาก

ปี  1974-75  ก่อนภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ   การส่งออกทองแดงมีจำนวนเกือบจะ75%ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของประเทศ     และมูลค่าการส่งออกทองแดงในปี 1975 ต่ำกว่าปี 1974 ถึง45%   และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปี 1973-4. ถึง 34%    และขาดดุลการค้าถึง 400 ล้านดอลลาร์ (460 ล้าน SDRs/ Special Drawing Rights )      ด้วยความช่วยเหลือจากระบอบจักรวรรดิ์นิยมโลกทำให้กลุ่มปกครองชิลีรอดพ้นจากภาวะล้มละลาย   ในเดือน มิถุนายน 1976  ไอ.เอ็ม.เอฟ. ได้อนุมัติเงินกองทุนสำรอง(SDRs)79 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยลดการขาดดุลของปี 1975    ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันธนาคาร   โลก ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯและเยอรมันตะวันตก(ในเวลานั้น)ได้อนุมัติเงินกู้แก่ชิลีรวมทั้ง หมด 60 ล้านดอลลาร์...ซึ่งเป็นการกู้ครั้งที่ 4 และ 5 ตั้งแต่มีการรัฐประหาร

เดือนพฤษภาคม 1976 กลุ่มธนาคาร 16 แห่งโดยเฉพาะในสหรัฐและแคนาดา  ได้ให้เงินกู้แก่ชิลี 125 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลา 3-5 ปี     เดือนมิถุนายนปีเดียวกันธนาคาร อินเตอร์ อเมริกัน ดีเวลลอป เม้นท์ ได้ให้เงินกู้เพิ่มอีก 20 ล้านเหรียญในระยะเวลา 20 ปี    เพียง 4 ปีแรกหลังการรัฐประหาร กลุ่ม ปกครองได้กู้เงินไปแล้วประมาณ 1000 ล้านดอลลาร์จากธนาคารเอกชนของสหรัฐฯ    ทั้งหมดนี้เป็นข้อแตกต่างจาก  การรวมหัวต่อต้านรัฐบาล อาเยนเด อย่างเป็นระบบโดยระบอบจักรวรรดินิยมโลก

ทัศนะคติของระบอบจักวรรดิ์นิยมเข้าใจได้ไม่ยากเลย  เมื่อได้อำนาจ..โดยไม่รอช้ากลุ่มปกครองก็เริ่ม ทำลายและเอาชนะชนชั้นกรรมกรอย่างเป็นระบบ    คืนโรงงานที่เป็นได้แปรสภาพไปเป็นของรัฐไปแล้วให้แก่เจ้าของเดิม  และคืนที่ดินให้แก่เจ้าที่ดิน      นโยบายด้านเศรษฐกิจของกลุ่มปกครองเผด็จการดำเนินรอยตาม ”สำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก” ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือของ  มิลตัน ฟรีดแมน  โดย เฉพาะอย่างยิ่ง นโยบาย ”เปิดประตู”  เพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศ     ....เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชิลีต้องประสบกับความอัปยศอดสูเมื่อต้องกลายไปเป็นผู้ถูกพิชิต  ที่ถูกกดขี่ถึงสองชั้นจากชนชั้นนายทุนและเจ้าที่ดินชิลีและระบบผูกขาดขนาดมหึมาของสหรัฐอเมริกา

หลังจากกองทัพยึดอำนาจ    ฟรีดแมน ได้ไปยังชิลีและเสนอแนะอย่างเย็นชาว่าให้ตัดงบประมาณรายจ่ายลง 20%  และให้เลิกจ้างพนักงานของรัฐเป็นจำนวนมาก      มีการลดค่าเงิน เอสคูโด เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์      ด้วยเหตุนี้ในปี 1975 ค่าครองชีพจึงถีบตัวสูงขึ้นเป็น 340%.

แม้นโยบาย “เปิดประตู”  จะเป็นที่ถูกใจและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ  แต่ก็นำไปสู่ความไม่ลงรอยกันกับประเทศอื่นๆที่เป็นสมาชิกของสนธิสัญญาแอนดีส      สนธิสัญญานี้เป็นความพยายามในการป้องกันตนเองของบรรดาประเทศสมาชิกจากการเอารัดเอาเปรียบของประเทศจักรวรรดิ์นิยม      ชิลีได้ลาออกจากกลุ่มสนธิสัญญานี้เมื่อปี 1976.

นโยบาย “ประหยัด” ของเดือนเมษายน 1975 ได้นำไปสู่ความหายนะ    ตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้พิมพ์ออกมาเมื่อปี 1976  ผลผลิตมวลรวมประชาชาติลดลง 16.2% ในปี 1975  ผลผลิตทางอุตสา- หกรรมลดลง 25%.  อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับ 340.7%   ซึ่งปี 1974 อยู่ที่ 380%     สิ้นปี 1976อัตราเงินเฟ้อลดลงไปอยู่ที่ 174.3%. เหนือสิ่งอื่นใดความต้องการในการบริโภคสินค้าลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

สถานการณ์ที่ไม่อาจรับได้

ระว่างกลางปี 1976 ตามการประเมินของทางการ   ระดับของการว่างงานมีมากกว่า 23% (ในบางภาคส่วน 50%)    ตัวเลขของการว่างานเพิ่มสูงขึ้นมากแม้ว่า”เศรษฐกิจเริ่มจะฟื้นตัว”   ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา      จากรายงานของวันที่ 6 กรกฎาคม 1978 อัลวาโร  บาร์ดอน  ประธานธนาคารกลางชิลีพยายาม    แสดงให้เห็นว่าภาคส่วนนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว    เขาได้แสดงตัวเลขของการว่างงานในระยะเดียวกันใน ซานติอาโก ดังต่อไปนี้

 มิถุนายน  1972:            2.3%

 มิถุนายน  1973:            2.3%

 มิถุนายน  1974:            7.5 %

 มิถุนายน  1975:            12.0%

 มิถุนายน   1976:           13.4%

 มิถุนายน   1977:           10.2%

 มิถุนายน  1978:            9.4%

และยังเพิ่มตารางตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนคนว่างงานใน เกรทเตอร์ ซานติอาโก ในปี 1978 ไว้ดังนี้

ตำแหน่งงานในภาคธุรกิจต่างๆ

อุตสาหกรรม  จาก 84,900    เป็น     325,000 คน

ก่อสร้าง             25,900                 77,500

อื่นๆ                    3,500                 20,000

บริการ                61,400              725,000

 อื่นๆ                    8,500               95,300

นักการธนาคารอนุรักษ์นิยมผู้นี้ได้ประกาศถึงความสำเร็จว่า  “เรากำลังก้าวคืบเข้าสู่ระดับปกติเช่นเดียว กับในปี 1969 แล้ว”       จากการสำรวจของของสภามหาวิทยาลัยชิลีที่พิมพ์เผยแพร่  และได้ให้ข้อเปรียบเทียบของปี 1974 และ 1977 นั้น   ระดับของอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก   9.7% เป็น 13.2%และมีการปลดออกจากงานเพิ่มขึ้นจาก 6.l% เป็น  9.9%.     รายงานของทางการได้มีการบิดเบือนความจริงในภารกิจของชาติ        จากรายงานของกลุ่มสมาชิกรัฐสภาสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันตะวันตก (SPD) ที่ไปเยือนชิลีก่อนหน้านี้    ชี้ว่าอัตราการว่างงานในขณะนั้นน่าจะสูงถึง 30% ไม่ใช่ตัวเลขแค่ 12-13% ตามที่รัฐบาลแถลง

สิ่งหนึ่งที่นอกเหนือความคาดหมายคือ     ชนชั้นกรรมกรชิลีต้องยอมใช้ชีวิตในสภาพที่ยากจนข้นแค้น  หิวโหย ไม่มีงานทำ  และต้องทนทุกข์ยากต่อไป        การลดลงในส่วนของประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ(กึ่งกรรมาชีพ)แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนโสเภณีและขอทานซึ่งมีอยู่ดาษดื่นทั่วไปทั้งในนครและเมืองต่างๆทั่วประเทศ       สภาพของเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังจะดีขึ้นโดยพรรคประชาชนสามัคคีนั้นได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับหลังการรัฐประหารวันที่ 11 กันยายน     อัตราเงินเฟ้อยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอ       ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมกรเลวร้ายเสียจนเหลือที่จะรับได้    

แม้ว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจทั้งมวลมาแก้ไข    แต่เศรษฐกิจของชิลียังคงอยู่ในทางตัน    ในความเป็นจริงวิธีการของ ”สำนัก ชิคาโก”  นั้นได้ทำให้การว่างงานและความทุกข์ยากเพิ่มมากขึ้น  เป็นการทำลายตลาดภายในประเทศและบ่อนเซาะพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมของชาติ    ทัศนะคติต่อระบอบทุนนิยมของชิลี  ณ ปัจจุบันนี้จึงเป็นเรื่องที่สิ้นหวัง     การขาดดุลการค้ายังคงอยู่ที่ 190 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 1978 ด้วยการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ส่งออกน้อยลง   ตลาดส่ง ออกที่สำคัญมากของชิลีคือบราซิล   อัฟริกาใต้  และอาร์เจนตินา    ซึ่งในขณะนั้นชิลีมีความขัดแย้งกับประเทศที่กล่าวมานี้ทั้งหมด     ในกรณีกับอาร์เจนตินาความตึงเครียดไม่ว่าด้านความสัมพันธ์ทาง ด้านเศรษฐกิจและการเมืองได้พุ่งสูงขึ้นถึงจุดที่ใกล้จะแตกหักแล้ว     ความไม่มั่นคงของกลุ่มปกครองได้แปรเปลี่ยนไปเป็นวิกฤตศรัทธาของชนชั้นนายทุนชิลี       มีการแสดงออกอย่างชัดเจนคือมูลค่าซื้อขายในตลาดหุ้นตกลงอย่างต่อเนื่องถึง 2% ทั้งอาทิตย์ในเดือนมิถุนายนปีนี้       ประธานตลาดหลัก ทรัพย์ซานติอาโกได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ลา เซกุนดา ยอมรับว่า  ราคาหุ้นที่ตกต่ำลงมันเป็นการ สะท้อนภาพของสถานการณ์ทั้งนอกและในประเทศ   ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการตื่นกลัวของชนชั้นนายทุนชิลีที่ขาดความมั่นใจและมองโลกในแง่ร้ายเมื่อพิจารณาถึงอนาคต

ระบอบ เอกบุรุษ ของเปรอง*(ฮวน เปรอง นายทหาร อดีตประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา)ในอาร์เจนตินาสามารถ    ยืนหยัดอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆปี   ด้วยการสร้างฐานมวลชนให้มาสนับสนุนตนเองผ่านสหภาพแรงงาน ของกรรมกรที่สนับสนุนเปรอง(เปรองนิสต์)     ซึ่งต้องขอขอบคุณการพองตัวของเศรษฐกิจหลังสงคราม ที่ส่งเสริมและกระตุ้นความต้องการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ของอาร์เจนตินาในตลาดโลก    แต่ กลุ่มปิโนเช โผล่ขึ้นมาในเวลาเดียวกันกับการถดถอยทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และภาวะราคาทองแดงตกต่ำ      ปี 1972 -74 เป็นปีที่ได้มีการจดบันทึกราคาของผลิตภัณฑ์นี้         ราคาทองแดงยังตกต่ำต่อเนื่องไปจนถึงปี 1974-75. ในสองปีสุดท้ายราคาเริ่มฟื้นตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย    กระนั้นก็ยังมีมูลค่าไม่ถึงระดับก่อนหน้านี้    หนังสือพิมพ์ ไทมส์ (4/4/78)  ได้แสดงความเห็นไว้ดังนี้

ในสภาพที่เป็นจริง   การจะทำให้ราคาทองแดงพ้นจากจากระดับราคาต่ำสุดได้    ความชัดเจนแรกสุด จะต้องลดการผลิตลงอย่างขนานใหญ่  นั่นแหละถึงจะพบกับแสงสว่าง”

ประเทศผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ได้ก่อตั้งองค์กร CIPEC (The Intergovernmental Council of Countries Exporters of Copper) เห็นชอบที่จะลดการผลิตทองแดงลง 15% เพื่อตรึงราคา  แต่ชิลี..ซึ่งประเทศที่ส่งออกทองแดงมากที่สุดปฏิเสธที่จะเข้าร่วมใน CIPEC    เป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มปิโนเช กลัวว่าการลดการผลิตอาจมีผลกระทบในทางสังคมอย่างรุนแรง   สหรัฐฯยังคงเป็นตลาดสำคัญของทองแดงจากชิลี      มันขัดกันกับที่สหรัฐฯก็เป็นประเทศที่ส่งออกทองแดงรายใหญ่และยังเป็นผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่ที่สุดอีกด้วย     ปัญหาก็คือทองแดงที่สหรัฐฯผลิตนั้นมีราคาสูงและไม่มีคู่แข่ง  พื้น ฐานการผลิตทองแดงสหรัฐฯมีลักษณะผูกขาด       จึงกดดันกลุ่มทุนให้ควบคุมจำกัดการนำเข้าทอง แดงจากประเทศโลกที่สาม      ผู้ปกป้องผลประโยชน์เหล่านี้มีแนวโน้มจะสร้างความหายนะให้แก่ชิลี     การลดค่าเงินดอลลาร์เมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นถึงมาตรการกีดกันที่ซ่อนเร้นของนักปกป้องผลประ โยชน์เหล่านี้    ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับอย่างรุนแรงต่อการส่งออกของชิลีและสำหรับเศรษฐกิจของชิลีโดยรวม...ในเดือนต่อมา

วิกฤติของกลุ่มปกครอง

กลุ่มปกครองแบบเอกบุรุษทุกกลุ่ม   มีความจำเป็นที่จะแสดงตัวตนโดยผ่านบุคคลผู้ทรงอำนาจคนหนึ่ง ที่เป็น ”ผู้เข้มแข็ง” ซึ่งถือเสมือนว่าเป็นตัวแทน “ชาติ” ที่อยู่เหนือผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือพรรค  บทวิจารณ์ของ ลีห์ กุซแมน เกี่ยวกับ “ลัทธิผู้นำ” ของปิโนเช    ประการแรก ทหารส่วนหนึ่งไม่พอใจที่รู้สึกว่าพวกเขาถูกกีดกันจากศูนย์กลางของอำนาจ       ส่วนแบ่งของเค้กที่ได้รับนั้นนั้นไม่ตรงกับความต้องการ      แต่กลุ่มนี้ยังต้องต่อสู้กับกลุ่มแก๊งอื่นๆอีกต่อไปและลามไปไกลถึงบุคคลบางคนในกลุ่มผู้กุมอำนาจ

ความไม่พอใจกลุ่มปกครองได้เกิดขึ้น        ลีห์ได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากสังคมโดยการใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของประชาชน   โดยพยายามสร้างความประทับใจต่อการเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่เป็นตัวแทนของปิโนเช    เช่นการพูดถึงความเป็นเสรีนิยม ที่ตรงกันข้ามกับความเป็น เผด็จการของกลุ่มปกครอง        ปิโนเชถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น....จากการห้อมล้อมของคณะปรึกษาที่แย่สุดๆซึ่งล้วนแต่มาจากทหารแทบทั้งสิ้น       และได้รับการสนับสนุนจากเยาวชนที่ได้รับการจัดตั้งและดูแลเป็นอย่างดีจำนวนมาก     ทำให้เกิดภาพลวงตาในความสง่างามของลัทธิวีรบุรุษชิลี     ปิโนเช  มีชีวิตอยู่ในอยู่ในโลกแห่งความฝันอย่างสมบูรณ์แบบ         เหมือนกับจักรพรรดิโรมันที่เต็มไปด้วยความฝันถึง ”สถาบันแห่งชาติแบบใหม่”  และผสมผสานด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อป้องกันความเป็นประชาธิปไตยที่   แท้จริง ซึ่งพวกอัตตาธิปไตยมีส่วนร่วม         ตามแนวรัฐธรรมนูญใหม่ของปิโนเชในการคืนความปกติบัญญัติไว้ สามขั้นตอนคือ

1) ขั้นฟื้นฟู (1973-80)    2) ขั้นเปลี่ยนผ่าน (1980-84)    3) ขั้นปกติหรือสร้างความเข้มแข็ง(1985)

ถ้าตามแผนนี้   ก็จะไม่มีการเลือกตั้งทั่วไปรวมถึงการเลือกประธานาธิบดีไปจนถึงปี 1991  ถ้าเป็นตาม นั้นอำนาจที่แท้จริงก็จะอยู่ในอุ้งมือของบรรดานายพลทั้งหลาย      พรรคลัทธิมาร์กซก็ยังคงถูกสั่งห้าม     การเคลื่อนไหวต่างๆก็จะเป็นไปได้ยากยิ่ง

ภยันตรายที่ร้ายแรงของระบอบทุนนิยมชิลี        เป็นการแสดงถึงความฝันที่โง่บัดซบของปิโนเช  ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจนโดยตัวแทนที่ฉลาดที่สุดของชนชั้นนายทุน     วิกฤตเศรษฐกิจ   ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม    การฟื้นตัวอย่างช้าๆที่มั่นคงของชนชั้นกรรมกร     และฐานมวลชนในสังคมที่สนับสนุนกลุ่มปกครองเผด็จการที่ลดน้อยถอยลง   เป็นสาเหตุให้ปัญญาชนชนชั้นนายทุนเกิดความวิตกกังวลตลอดไปจนถึงวอชิงตัน

บรรดานักยุทธศาสตร์ของจักวรรดิ์นิยมอเมริกาต่างวางแผนอย่างเลือดเย็นถึงความเป็นไปได้ในการอยู่รอดและการล้มคว่ำของรัฐบาลทหารชุดปัจจุบันในซานติอาโก      ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความหมายสำคัญต่อการลงทุนของสหรัฐฯซึ่งเพิ่งจะมีการฟื้นขึ้นตัวภายหลังรัฐประหาร       วอชิงตันมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในลาตินอเมริกาแทบทุกเรื่อง     จักรวรรดิ์นิยมมีสายลับที่แทรกซึมอยู่ในทุกระดับรวมไปถึงในรัฐบาลอีกด้วย   ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์ในประเทศนั้นๆ     พวกเขา(สหรัฐฯ)รู้ว่า.ในปัจจุบันนี้     สังคมโลกไม่ยอมรับและสนับสนุนพวกเผด็จการ   ที่มันยังดำรงอยู่ได้ก็เพราะความเฉื่อยเนือยของมวลชน     แต่ในระยะยาว..การกดขี่เช่นนี้จะกระตุ้นให้การปฏิวัติประทุขึ้นไม่ว่าในที่หนึ่ง หรือที่อื่นๆ    ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก..ไม่เพียงแต่ต่อระบอบเผด็จการเท่านั้นยังรวมไปถึงการดำรงอยู่ของระบอบทุนนิยมในชิลีอีกด้วย       ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปในประเทศต่างๆของลาตินอเมริกา นี่คือคำอธิบายที่เป็นสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่ไม่เคยคำนึงถึงเรื่อง  ”สิทธิมนุษยชน” แต่อย่างใด

ความหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะได้รับการช่วยเหลือจากวอชิงตัน     และจากบางส่วนของอภิสิทธิ์ชนชาวชิลีและนายทหารระดับสูงของกองทัพ    กุซแมน ได้เปิดฉากดิ้นรนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมในหนังสือพิมพ์ คอร์เรียเร เดอ ลา เซรา     เมื่ออ่านในรายละเอียดของบทความนี้และประกาศอื่น ๆ ของลีห์   ก็พอจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า    ความกลัวของชนชั้นสูงซึ่งเป็นส่วนข้างมากของชนชั้นนายทุนต่อการระเบิดในชิลีเมื่อเขากล่าวเตือนว่า  “นี่คือความเสี่ยงที่ว่าประชาชนจะเลือกการแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรงในสถาน การณ์ปัจจุบัน”  และยืนยันว่า  “มันสายเกินไป แต่ก็สามารถเสนอนโยบายที่จะกลับไปสู่ภาวะปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปได้โดยการกำหนดเวลา  วิธีการ และอื่นๆ”    และลีห์ ได้กำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านในระยะ 5 ปี  (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่พลเรือนจะได้มอบอำนาจในเวลาอันรวดเร็ว)     และได้ทำการโฆษณาให้มีการตั้งพรรคการเมืองของชนชั้นนายทุนอย่างถูกกฎหมายแบบพรรคคริสเตียน เดโมแครท      และพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมกรโดยให้  “ดำเนินการแบบในสแกนดิเนเวีย”

ความล้มเหลวที่แสนจะขมขื่นในความพยายามที่จะ “ปฏิวัติบนหอคอย” นี้ไม่นานได้ก็ล้มเลิกไป   ลีห์ เรียกร้องต่อปิโนเช   ให้ทำการกวาดล้างความเละเทะในระบบของกองทัพดีกว่าที่จะมาคิดขจัดตัวเขา   ช่างเป็นเรื่องที่โง่เขลาสิ้นดี    ปิโนเช ยืนยันในภายหลัง  “ผมมีความมั่นคง  มั่นคงมากในรัฐบาล”  แต่ขั้นตอนของ ลีห์ ได้มองข้ามการแบ่งฝักแบ่งแบ่งฝ่ายและความตึงเครียดในขบวนแถวของกลุ่มรัฐประ หารไปเสีย    ความกังวลของกองทัพได้แสดงออกถึงความจริงที่มีนโยบายให้กองทหารเตรียมพร้อมอยู่ในค่ายอย่างเข้มงวด  พร้อมกับวางเวรยามอย่างหนาแน่นไว้โดยรอบกองบัญชาการของกองทัพ

หนังสือพิมพ์ปฏิกิริยา(เอล  เมอคิวริโอ และ ลา เทเซอร์รา) เข้าตาจนถึงกับเรียกร้อง “ความสามัคคีในชาติ”   เพื่อยืนยันความปรารถนาใน “แนวทางแห่งการปรองดองกับกลุ่มปกครอง”  ความตื่นตระหนกในแวดวงของพวกปฏิกิริยานั้นได้สะท้อนออกอย่างชัดเจนที่สุดในหน้าหนังสือพิมพ์ ลา เทเซอร์รา ที่ว่า   ”ถ้าไม่ผดุงไว้ซึ่งความสามัคคีที่พวกเขา(ฝ่ายประชาชน)ทุกๆคนต่างก็รู้ดี ...นั่นคือเวลาที่มืดมนของชิลี   ความพยายามที่ได้กระทำเพื่อสร้างความตระหนักเช่นนี้จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ”....นั่นเป็นสัญญานบอกเหตุของความหวาดกลัวของกลุ่มรัฐประหาร

จะอย่างไรก็ตาม..ภาพของการต่อสู้แย่งชิงกันในกลุ่มรัฐประหาร    แสดงถึงความไม่มั่นคงของระบอบการปกครองในปัจจุบัน    พรุ่งนี้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้.. วิกฤติอย่างใหม่..ความตึงเครียดชนิดใหม่   และการแตกแยกครั้งใหม่จะประทุขึ้น    ภายใต้ความกดดันที่ยากจะรับได้ของความขัดแย้งที่สะสมอยู่ภายในสังคมของชิลี

โฆษกของกลุ่มรัฐประหารพยายามยืนยันอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อยว่า    ความสงบเรียบร้อยจะจะต้องกลับคืนมาในบ้านเมือง”  

การกดขี่ได้ให้บทเรียนบางอย่าง    เมื่อเดือนที่ผ่านมา DINA (Dirección de Inteligencia Nacional   หน่วยสืบราชการลับแห่งชาติชิลี ) ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น CNI (Central Nacional de Informaciones  )  หน่วยข่าวกลางแห่งชาติ    โดยพื้นฐานแล้วไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย     และในเวลาไม่นานนัก  สัญลักษณ์อย่างแรกคือการฟื้นตัวของขบวนการมวลชน หลังจาก 5 ปีของประสบการณ์ที่ปวดร้าวจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 11 กันยายน