Saturday, January 28, 2017

บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ ตอนที่ 6.

6.การรวมตัวและการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ
ในปลายทศวรรษที่ 1860 ทั่วทั้งประเทศมีทางรถไฟยาวแค่ 1600 กิโลเมตรเท่านั้น      หลังจากนั้นอีกสองทศวรรษได้เพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า    ในระยะสิบปีระหว่าง 1892-1901 ทางรถไฟที่สร้างใหม่ไม่ต่ำกว่า 26,000 กิโลเมตร    ควบคู่กันไปกับศูนย์อุตสาหกรรมของมอสโคว์และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก   และแหล่งใหม่ที่เกิดขึ้นเช่นแถบบอลติค บากู  และดอนบาส    ในระหว่างปี 1893 ถึง1900 ประสบการณ์ในการขุดเจาะน้ำมันทำให้เพิ่มผลผลิตขึ้นเป็นสองเท่า เชื้อเพลิงจากถ่านหินเพิ่มขึ้น 3 เท่า,จริงอยู่..ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัสเซียไม่ได้มีปัจจัยของระบอบทุนนิยมเพิ่มขึ้นเหมือนในอังกฤษอย่างที่ มาร์กซ์ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง”ทุน”     

พระราชกำหนดปลดปล่อยไพร่ติดที่ดินในปี 1861 ได้ประกาศใช้ ภายใต้เงื่อนทางวัตถุสำหรับการพัฒนาของระบอบทุนนิยม     แต่ชนชั้นนายทุนรัสเซียได้ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ช้าเกินไปที่จะฉกฉวยผลประโยชน์จากโอกาสที่เปิดให้นี้     พลังที่อ่อนแอและความด้อยพัฒนาของระบอบทุนนิยมรัสเซียไม่สามารถแข่งขันกับพลังอันมหาศาลของชนชั้นนายทุนในยุโรปตะ วันตกและอเมริกาที่พัฒนาแล้ว...เช่นเดียวกับประเทศอดีตเมืองขึ้นทั้งหลายในปัจจุบันนี้    อุตสาหกรรมของรัสเซียล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศที่ครอบงำอยู่เหนือระบบเศรษฐกิจ   ส่วนใหญ่จะควบคุมผ่านธนาคารต่างๆและระบบการเงิน 

ทรอตสกีได้เขียนไว้ว่า  “การมาบรรจบกันของอุตสาหกรรมและทุนธนาคารประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในรัสเซียซึ่งไม่อาจพบได้ในประเทศอื่น     แต่การครอบงำทางอุตสาหกรรมของธนาคารมีความหมายสำ หรับเหตุผลเดียวกันกับการครอบงำในตลาดเงินของยุโรปตะวันตกบรรดาอุตสาหกรรมหนัก (โลหะ ถ่านหิน น้ำมัน)   อยุู่ภายใต้การควบคุมของเงินทุนต่างชาติ   ซึ่งได้สร้างระบบตัวแทนของมันเองเพื่อเชื่อมต่อกับธนาคารในรัสเซีย    อุตสาหกรรมเบาก็อยู่บนเส้นทางเดียวกันชาวต่างชาติเป็นเจ้าของหุ้นในตลาดเงินของรัสเซียถึง 40 % แต่ในสาขาอุตสาหกรรมชั้นนำเปอร์เซ็นต์การถือครองจะสูงกว่านี้” การแทรกซึมของทุนต่างชาติต่อสังคมรัสเซียเป็นแรงกระตุ้นที่รุนแรงในการพัฒนาเศรษฐกิจ   เป็นการปลุกยักษ์ที่อยู่ในระบอบอนารยะมาถึง 2000 ปีให้ตื่นขึ้นสู่ยุคสมัย   แท้จริงแล้วคือการก่อให้เกิดแรงระเบิดของสถานการณ์ทางสังคม        ชาวนาจำนวนมหาศาลถูกแยกออกจากชีวิตประจำวันในชนบทที่ไม่เคยมีการเปลี่ยน แปลงและถูกผลักให้เข้าสู่ขุมนรกของอุตสาหกรรมชนชั้นนายทุน

ทฤษฎีลัทธิมาร์กซที่ว่าด้วยองค์ประกอบของการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ       ส่วนมากจะพบในสังคมที่มีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนเช่นในรัสเซียในรอบร้อยปีมานี้    ควบคู่ไปกับลักษณะศักดินา  กึ่งศักดินา  แม้แต่รูปแบบก่อนศักดินากับการเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดของโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แบบล่าสุดที่สร้างขึ้นจากเงินทุนของฝรั่งเศสและอังกฤษ        เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย   และที่ชัดเจนที่สุดจะเห็นได้จากหารพัฒนาของบรรดาประ เทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษที่ 1990      นี่เป็นเหตุการณ์ที่น่าทึ่งที่สุดซึ่งเกิดขึ้นราวกับว่าเป็นคู่ขนานกันกับการพัฒนาของรัสเซียว่าร้อยปีก่อน       และมันอาจเป็นไปได้ที่ผลทางการเมืองจะออกมาคล้ายคลึงกัน      การพัฒนาของอุตสาหกรรมในบริบทเช่นนี้คล้ายกับว่าจะเป็นสิ่งเร่งเร้าการปฏิวัติรัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว     นอกเหนือไปจากการพัฒนาอย่างเป็นพายุบุแคมของระบบทุนนิยมรัสเซียในยุค 1880 - 1890 ก็เป็นยุคที่ตื่นตัวกันอย่างรวดเร็วของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซีย     คลื่นของการนัดหยุดงานในทศวรรษที่ 1890 เป็นโรงเรียนเตรียมสำหรับการปฏิวัติในปี 1905

ในระยะเวลา 33 ปี จาก 1865-1898    จำนวนการจ้างงานกรรมกรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 706,000  ถึง1,432,000 คน     ปี 1914 มากกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมกรอุตสาหกรรมได้ถูกจ้างงานในโรงจักรและกว่า 500 คนเป็นคนชำนาญงาน       และเกือบจะหนึ่งในสี่ของโรงจักรช่างชำนาญงานมากกว่า 1,000 คนเป็นจำนวนสัดส่วนที่มากกว่าในหลายๆประเทศ       เมื่อสิ้นทศวรรษที่ 1890 โรงงานขนาดใหญ่ 7 โรงในยูเครนจ้างกรรมกรงานโลหะถึงสองในสามของคนงานทั่วทั้งรัสเซีย      ในขณะที่เมืองบากูเกือบทั้งหมดเป็นกรรมกรในอุตสาหกรรมน้ำมัน     จริงๆแล้วก่อนถึงปี 1900  รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลก

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายมากขึ้นในด้านอุตสาหกรรม     ภาพทั่วๆไปของสังคมรัสเซียก็ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ล้าหลังที่สุด     จำนวนพลเมืองส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ในชนบท,ในขณะที่พัฒนาการของความแตกต่างทางชนชั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว     สิ่งกระตุ้นที่ทรงพลังคือปัญหาวิกฤตในภาคการเกษตรของยุโรปในยุค 1880 และต้นยุค 1890    การตกต่ำของราคาพืชผลได้ทำลายชีวิตความเป็นอยู่ชาวนาในทุกระดับชั้น     ธรรมชาติการตื่นกลัวของผู้ที่มีชีวิตอยู่ไม่ต่างไปจากการบรร ยายภาพของ เชคอฟ ในเรื่องสั้น “หุบเขาและชาวนา”ของเขา     ชนชั้นกึ่งกรรมาชีพในชนบทที่ไม่มีสิทธิ์ในที่ดินเดินเร่ขายแรงงานไปตามหมู่บ้านต่างๆเป็นภาพปกติที่เห็นกัน บนอีกปลายขั้วหนึ่งของสังคมชาวนาพวกคูลัก(kulak)หรือชาวนารวยได้กลายเป็นชนชั้นนายทุนใหม่ในชนบท   ผู้ซึ่งสร้างความร่ำรวยขึ้นจากชาวชนบทที่ยากจนโดยการซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิม    สะท้อนให้เห็นการเข้าถึงสถานการณ์จากปัญญาและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบทละครที่โด่งดังของ เชคอฟ  เรื่อง “สวนเชอรี่”

ทั้งๆที่มีความพยายามของระบอบซาร์ที่จะค้ำจุนคอมมูนชาวนามีร์(Mir)แบบเก่าเอาไว้   ซึ่งตรงกับที่นักทฤษฎีของนารอดนิคต้องการดำรงเอาไว้เพื่อเป็นพื้นฐานของระบอบสังคมนิยมชาวนา    ในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปอย่างรวดเร็วพร้อมๆกับความสัมพันธ์ทางชนชั้น   ผู้ที่ไม่สามารถหางานทำได้ในชนบทต่างทะลักเข้าเมือง    ไปสู่แหล่งรวมแรงงานราคาถูกสำหรับกิจการที่ตั้งขึ้นใหม่ๆของชนชั้นนายทุน    การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางชนชั้นมากขึ้นภายในมวลหมู่ชาวนา   ซึ่งตกผลึกไปเป็นชาวนารวยหรือคูลัคและของคนจนในชนบทผู้ไร้ที่ทำกินจำนวนมหาศาล    การโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนระหว่างนักลัทธิมาร์กซและพวกนารอดนิคไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาทุนนิยมในรัสเซียโดยสรุปแล้วเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง    งานนิพนธิ์ชิ้นแรกๆของเลนินเช่น  การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ของชาวนา” ......”ว่าด้วยเรื่องที่เรียกว่าปัญหาตลาด”....”พัฒนาการของระบอบทุนนิยมในรัสเซีย”   เป็นงานที่เขียนขึ้นเพื่อการโต้แย้งกับกลุ่มนารอดนิค ซึ่งแตกต่างจากงานนิพนธิ์เรื่องแรกๆของเพลคานอฟ    ผลงานเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานในการหักล้างทางคำพูด  ข้อเท็จจริง ตัวเลขและข้อโต้แย้งต่างๆ

การพัฒนาระบอบทุนนิยมในรัสเซียนั่นหมายถึงการพัฒนาของชนชั้นกรรมาชีพด้วย    ซึ่งในไม่ช้าก็จะ    แปรไปสู่ภาระหน้าที่ในการเป็นกองหน้าของการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้บรรลุเป้าหมาย  ระ ดับการรวมศูนย์ของภาคอุตสาหกรรมรัสเซียอยู่ในระดับสูงมาก     มันได้สรรสร้างกองทัพกรรมกรขึ้นมาอย่างรวดเร็ว.. มีการจัดตั้ง.. มีระเบียบวินัย   และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ    สถิติของการเคลื่อนไหวหยุดงานแสดงถึงการยกระดับความมั่นใจและจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกรรมกรรัสเซียในช่วงเวลานั้นได้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ปี1880-84
ปี1885-89
1890/94
การนัดหยุดงาน
101
221
181
จำนวนกรรมกรที่ร่วม
99,000
223,000
170,000




ต้นฤดูใบไม้ผลิปี 1880  เกิดวิกฤตทางด้านอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกันมาหลายปี    ช่วงเวลานี้เป็นช่วงของการว่างงาน,บรรดานายจ้างได้ฉวยโอกาสลดค่าแรงซึ่งไม่เพียงพอต่อการยังชีพอยู่แล้วลงอย่างไร้ความปราณี  บวกกับสารพัดปัญหาที่ประดังเข้ามาทำให้กรรมกรต้องยอมทนถูกกดขี่อย่างต่อเนื่องและเข้มงวดจากกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นมาตามอำเภอใจ   ทำให้เกิดการต่อต้านนายจ้างด้วยการแสดงออกทั้งทางเปิดเผยและลับ      ความไม่พอใจของกรรมกรได้สะสมปริมาณมากขึ้น  ในที่สุดก็ระเบิดออกมาด้วยกระ แสของการปลุกระดมในด้านแรงงานในมอสโคว์เมื่อปี 1885-86  วลาดิมีร์   และยาโลสลาฟวืล,นำไปสู่การนัดหยุดงานที่โรงสี นิโคล-สโกเย ที่ ที.เอส.โมโรซอฟเป็นเจ้าของ

ในเวลา 2 ปี กรรมกร11,000 คนในสถานประกอบการของโมโรซอฟ ถูกตัดค่าจ้างไม่ต่ำกว่าห้าครั้ง  ในเวลานั้นมีการต่อต้านกฎเกณฑ์และบทลงโทษที่กำหนดไว้ด้วยการปรับเงินในกรณี  ร้องเพลง   ส่งเสียงดัง  และสวมหมวกเวลาเดินผ่านห้องทำงานของผู้จัดการและอื่นๆ    บ่อยครั้งที่ค่าปรับจะมีจำนวนสูงถึงหนึ่งในสี่,บางทีก็ถึงครึ่งหนึ่งของค่าแรงกรรมกรเลยทีเดียว   7 ตุลาคม 1885 ความเดือดดาลทั้งมวลที่ถูกเก็บกดอยู่ประกอบกับความผิดหวัง หงุดหงิด การปล้นชิง และการทำตามอำเภอใจของนายจ้างได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องผู้นำในการหยุดงานคือ ปยอร์ท  อานิซิโมวิช  มอยเซเย็นโก(1852-1923)  นักปฏิวัติผู้มีประสบการณ์,อดีตสมาชิกสหบาลกรรมกรภาคเหนือของคาลทูรินที่ในอดีตเคยถูกเนรเทศไปไซบีเรีย     ชายผู้น่าสนใจผู้นี้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำโดยธรรมชาติของชนชั้นกรรมกร  ภาย หลัง มอยเซเย็นโก ได้บันทึกไว้ว่า : ผมได้เรียนรู้เป็นครั้งแรก ,ทำความเข้าใจ และปฏิบัติ

กรรมกรที่ถูกทำให้โกรธแค้นได้ระบายความโกรธของพวกเขาด้วยการทำลายโกดังเก็บอาหารของโรง งานและบ้านพักของโฟร์แมน โชริน ที่กรรมกรเกลียดชังอย่างย่อยยับเมื่อถูกบีบให้ซื้ออาหารในราคาแพง      ความตื่นตกใจจากเหตุการณ์ไม่สงบ   ผู้ว่าราชการจังหวัด วลาดิมีร์  สั่งเคลื่อนกำลังทหารและหน่วยคอสแซค    กรรมกรได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าฯแต่ก็ถูกปราบปราม   600 คนถูกจับกุม,กำลังทหารได้ปิดล้อมโรงงาน,กรรมกรถูกผลักดันให้กลับเข้าทำงานด้วยดาบปลายปืน     ในอารมณ์เช่นนั้น   กว่าโรงงานจะทำการผลิตต่อไปได้ก็หนึ่งเดือนล่วงไปแล้ว

การนัดหยุดงานที่โรงงานโมโรซอฟจบลงด้วยความพ่ายแพ้     แต่ได้สร้างผลสะเทือนเข้าไปในหัวใจของกรรมกรทั่วทั้งรัสเซีย  เป็นการตระเตรียมหนทางการเคลื่อนไหวไว้สำหรับสิบปีข้างหน้า     การไต่สวนพิจารณาโทษเริ่มขึ้นที่วลาดิมีร์ ในเดือนพฤษภาคม 1886  มอยเซเยนโกและบรรดาจำเลยคนอื่นๆ ได้ยืนหยัดต่อสู้ด้วยจิตใจที่กล้าหาญจนได้รับชัยชนะทำให้การฟ้องร้องของโรงงานเป็นโมฆะ    ได้รับการชื่นชมจากกรรมกรอย่างท่วมท้น   คำตัดสินกรณีโมโรซอฟได้สร้างกระแสของความความตระหนกขึ้นในสังคมรัสเซีย    มันเป็นสัญญานบอกเหตุ ,หนังสือพิมพ์ปฏิกิริยา มอสควา-สกีเย เวดโมสตี ได้ลงบทความประท้วง: มันเป็นเรื่องอันตรายไม่ใช่เรื่องล้อเล่นสำหรับมวลชน    พวกกรรมกรจะต้องคิดอะไรจากการตัดสินในศาลเมืองวลาดิมีร์ว่าไม่เป็นความผิด?      ข่าวของการตัดสินประดุจสายฟ้านี้ได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วไปยังแหล่งประกอบการทั้งหลาย,ตัวแทนของเราได้ออกจากวลาดิมีร์ ทันทีที่คำตัดสินได้ถูกประกาศออกมาได้ยินกันทั่วในทุกๆสถานี   

การหยุดงานที่โมโซรอฟได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันมหึมาของกำลังชนชั้นกรรมาชีพ   บทเรียนนี้ ระบอบปกครองของซาร์ซึ่งสนับสนุนบรรดาเจ้าของโรงงานอย่างเต็มกำลังได้ซึมซับไว้เป็นอย่างดี  และตัดสินใจว่าต้องมีการยินยอมผ่อนปรนต่อกรรมกรบ้าง    โดยการผ่านกฎหมายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม,ค่า  ทดแทนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1886, โดยกำหนดขอบเขตและระบุจำนวนให้เหมาะสมโดยนายจ้างและ    ให้นำไปเข้ากองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ของกรรมกร     และแน่นอน.การปฏิรูปเป็นเพียงผลพลอยได้ของกรรมกรในการต่อสู้ปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเท่านั้น    เช่นเดียวกันกับการออก “กฎ  หมาย 10 ชั่วโมง” ในสหราชอาณาจักรเมื่อศตวรรษก่อน, กฎหมายสินไหมทดแทนนี้เป็นความพยายามเพื่อจะให้กรรมกรอยู่ในความสงบและป้องกันมิให้เกิดการเคลื่อนไหวไปสู่ทิศทางปฏิวัติ,ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะโน้มน้าวบรรดากรรมกรให้เข้าสู่การควบคุมตามความต้องการของพวกนายทุนเสรีนิยม   

การออกกฎหมายแบบมี ”เมตตาธรรม”เช่นนั้นก็ยังไม่สามารถป้องกันควบคุมการหยุดงานได้  และในส่วนทั้งหมดยังมีการจับกุมและเนรเทศผู้นำกรรมกรอยู่ในช่วงเวลาต่อมา   หรือไม่ก็ออกกฎหมายใหม่เพราะต้องการส่งผลให้การเคลื่อนไหวหยุดงานซบเซาลงเท่านั้น     กรณีหยุดงาน โมโรซอฟ  สร้าง แรงดลใจกรรมกรให้เกิดความกล้า     ในขณะที่การยินยอมอ่อนข้อของกลไกราชการที่ทรงอำนาจทั้งหลายเป็น  การแสดงให้เห็นว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรจะได้มาในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตน   ปี 1887  จำนวนครั้งของการหยุดงานเพิ่มมากขึ้นมากกว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมารวมกัน   สองปีต่อมา เพลเว  หัวหน้าตำรวจถูกบังคับให้รายงานต่อ ซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่สาม ถึงสถานการของปี 1889  ถึงสภาพของบรรดาโรงงานว่ามีความยุ่งเหยิงมากกว่าในปี 1887-88

การเคลื่อนไหวหยุดงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของกรรมกรถึงฐานะทางชนชั้นและพลังทางสังคมของตนเอง   ยิ่งมีฐานะทางชนชั้นที่โดดเด่นและเป็นแบบอย่างแก่ประชา ชนอย่าง มอยเซเย็นโก ยิ่งต้องแสวงหาแนวคิดที่เป็นดวงประทีปในการส่องสว่างให้เห็นถึงสถานการณ์บนเส้นทางข้างหน้าของพวกเขา   การเคลื่อนไหวเช่นนี้มีความสำคัญเป็นสองด้าน,ด้านหนึ่งการระเบิดออกอย่างเป็นไปเอง,บ่อยครั้งจะแสดงออกด้วยการร่วมกันทำลายเครื่องจักรตามแนวคิดของ ลัทธิลุดด์ (Luddism) ซึ่งยืนยันให้เห็นถึงถึงลักษณะที่ไร้การจัดตั้งและจิตสำนึกที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นการบอกต่อโลกว่าชนชั้นกรรมกรรัสเซียกำลังก้าวขึ้นสู่เวทีแห่งประวัติศาสตร์...  อีกด้านหนึ่ง,เป็นการพิสูจน์ถึงความถูกต้องในการโต้แย้งทางทฤษฎีของเพลคานอฟและกลุ่มปลดปล่อยแรงงาน     ในกระแสที่ร้อนแรงของการต่อสู้ทางชนชั้น    ซึ่งบัดนี้ได้วางรากฐานไว้สำหรับการรวมตัวกันของหน่วยลัทธิมาร์กซรัสเซียทั้งอ่อนแอและเข้มแข็งที่ยังไม่สามารถเกาะเกี่ยวกันได้ของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซีย

จากจุดยืนของนักลัทธิมาร์กซ, เนื้อหาสำคัญของการเคลื่อนไหวหยุดงานนั้นได้พัฒนาไปไกลเกินกว่าที่จะต่อสู้เพื่อ  การเรียกร้องค่าจ้าง  สถานภาพและชั่วโมงทำงานแล้ว   สิ่งสำคัญที่แท้จริงของการหยุดงานแม้จะล้มเหลวพ่ายแพ้ก็คือการได้เรียนรู้ของกรรมกร    ในวิถีปฏิบัติของการนัดหยุดงาน..มวลชนกรรมกร  ภรรยา  ครอบครัวของพวกเขา..แน่นอนเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกพ้นจากการได้เรียนรู้ถึงบทบาทและชนชั้นที่พวกเขาสังกัดอยู่    พวกเขาจะสลัดความคิดและการปฏิบัติตนเยี่ยงทาสทิ้งไปและเริ่มยกฐานะของตนขึ้นมาให้เท่าเทียมกับมนุษย์ทั้งมวลด้วยการตัดสินใจและมีความปรารถนาด้วยตัวเองการที่พวกเขาได้ผ่านประสบการณ์จริงในการต่อสู้..  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ใหญ่ๆ..มวลชนจะเริ่มมีการเปลี่ยน แปลงตนเอง   เริ่มต้นที่การมีความรู้สึกกระตือรือร้นและจิตสำนึกระหว่างชนชั้น,กรรมกรเริ่มมีความชัดเจนและไม่เห็นด้วยกับชะตากรรมของพวกเขา    และมีความรู้สึกต่อขอบเขตที่จำกัดของตัวเองอย่างรุนแรง  ความพ่ายแพ้ยังคงมีมากกว่าชัยชนะ,บีบให้กรรมกรนักเคลื่อนไหวต้องทุ่มเทอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนและค้นหาความลี้ลับของเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมของคนทำงานโดยตัวมันเอง
การเติบโตของอุตสาหกรรมทุน​นิยมได้สร้างกองทัพอันยิ่งใหญ่ของชนชั้นแรงงานขึ้นมา แม้กองทัพที่ดีที่สุดจะต้องถูกพิชิตหากขาดนายทหารที่ได้รับการศึกษาบ่มเพาะมาเป็นอย่างดีในเรื่องของการทำสง คราม    

ยุทธการของการนัดหยุดงานได้โหมกระหน่ำในยุค 1880 ประกาศให้โลกเห็นว่ากองทัพหลักของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียมีความพร้อมและปรารถนาที่จะเข้าร่วมการต่อสู้ แต่พวกเขายังเผยให้เห็นถึงความอ่อน หัดในการเคลื่อนไหวที่เป็นไปเองแบบธรรมชาติ..ไม่มีการจัดตั้งและจิตสำนึกโดยธรรมชาติอีกทั้งยังไร้ทิศทางและการชี้นำกองทัพยังดำรงอยู่...สิ่งที่จำเป็นคือการตระเตรียมองค์กรนำในอนาคต    สรุปก็คือในช่วงเริ่มต้นของการต่อสู้นี้ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าความมีจิตสำนึกที่ดีของกรรมกรนักเคลื่อนไหวที่เอาการเอางานที่สุด สิ่งที่พวกเขาจะต้องเริ่มต้นในการเรียนรู้และเอาจริงเอาจังกับมัน  ก็คือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน..และคุณสมบัติที่เป็นเฉพาะของกรรมกรนักเคลื่อนไหวทั่วโลก  


บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ ตอนที่ 5

5.กลุ่มปลดปล่อยแรงงาน   
“การเคลื่อนไหวปฏิวัติในรัสเซียจะสามารถชนะได้มีเพียงหนทางเดียวดือการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวล ชนกรรมกร   สำหรับเราแล้วไม่มีทางออกอื่นใดและไม่อาจมี “(คำปราศรัยของ เพลคานอฟ ในที่ประชุม สมัชชาสังคมนิยมสากลที่กรุงปารีส) ครั้งหนึ่ง..เฮเกลได้ให้ข้อสังเกตว่า..”หากเราต้องการจะเห็นต้นโอคที่มีลำต้นแข็งแรง,กิ่งก้าน สาขาที่แผ่กระจายออกไปและพุ่มใบที่ดกหนา     เราคงไม่อาจมั่นใจนักหากจะเห็นแค่ผลของมัน  ”    

ดังนั้น..ภายในหน่ออ่อนที่สมบูรณ์...ไม่ว่าของพืชหรือสัตว์จะประกอบด้วยสิ่งที่แสดงถึงข้อมูลทางพันธุ กรรมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาของมันในอนาคต  ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากแนวโน้มในพัฒนาการของการปฏิวัติซึ่ง“ข้อมูลทางพันธุกรรม”จะแสดงออกทางทฤษฎีซึ่งอุดมไปด้วยองค์ ประกอบในตัวของมันเองบนพื้นฐานประสบการณ์ในอดีต     ทฤษฎีจึงเป็นความจำเป็นในเบื้อง แรก...พัฒนาการต่างๆที่ตามมาจึงจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงขนาดความเล็กหรือใหญ่ ..การจัดการองค์กรแบบล้าหลังและค่อนข้างจะเป็นแบบมือสมัครเล่นไม่อาจเดินไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้       ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มปลดปล่อยแรงงานคือการวางรากฐานทางทฤษฎีในการเคลื่อนไหว      ความจำเป็นในการทำงานครั้งแรกของกลุ่มก็คือการมุ่งเน้นที่การจัดการศึก ษาบ่มเพาะผู้ปฏิบัติงานให้ได้สักหนึ่งหรือสองหน่วยเน้นหนักที่หลักการพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ

เพลคานอฟเขียนว่า “เราได้ทุ่มเทแรงใจทั้งหมดของเราพยายามที่จะเสนองานเขียนที่มวลชนชาวนา-กรรมกรสามารถเข้าถึงและทำความเข้าใจได้พวกเรา,ในเวลานั้นไม่ว่าอย่างไรยังถือว่าเป็นภาระหน้าที่ๆจะกระจายงานเขียนของเราไปยังแวดวงของบรรดาผู้นำชนชั้นกรรมกรที่เป็นปัญญาชน”   ข้อเขียนของเพลคานอฟในระยะเวลานี้เป็นช่วงของการวางรากฐานทางทฤษฎีในการสร้างพรรค  งานหลายๆชิ้นของเขายังคงความทันสมัยอยู่จวบจนกระทั่งปัจจุบัน   แม้ว่าจะไม่ค่อยจะได้รับความสนใจจากผู้ที่ศึกษาลัทธิมาร์กซเท่าที่ควร       เนื่องจากไม่มีโอกาส,และเป็นระยะที่คนทั้งสองคนยังเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกันทาง การเมือง       หลังการปฏิวัติ...เลนินเสนออย่างจริงจังให้มีการตีพิมพ์ซ้ำงานของเพลคานอฟที่ว่าด้วยปรัชญาเช่น “ลัทธิสังคมนิยมและการต่อสู้ทางการเมือง”(Socialism and the Political Struggle) ,ความแตกต่างของเรา” (Our Differences)      และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานชั้นยอดของเพลคานอฟ..เรื่อง ”พัฒนาการของผู้มองด้านเดียวทางประวัติศาสตร์ (On the Development of the Monist View of History) ที่ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญในการตอกย้ำความคิดพื้นฐานของวิภาษวิธีและวัตถุนิยมประวัติ ศาสตร์

การโจมตีของเพลคานอฟ  ทำให้บรรดาผู้นำของนารอดนิคเกิดความสับสนไม่สามารหาคำตอบที่มีเหตุผลได้เหมือนนักลัทธิมาร์กซ       พวกเขาไช้มาตรการตอบโต้ด้วยความไม่พอใจอย่างรุนแรงและใช้ข้อกล่าวหาที่มุ่งร้ายต่อกลุ่มใหม่     หนังสือพิมพ์ “เวสทนิค นารอดนอย โวลี”(ฉบับที่2 ปี 1884) กล่าวหาว่า “สำหรับพวกเขา(นักลัทธิมาร์กซ)  ได้โต้แย้งกับ นารอดนายา โวลยา มากยิ่งกว่าการต่อสู้กับรัฐบาลรัสเซียและผู้ที่กดขี่ประชาชนรัสเซียคนอื่นๆ”

บ่อยครั้งมากที่บรรดานักลัทธิมาร์กซได้รับฟังในคำกล่าวร้ายเช่นนั้นมาตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ ดูเหมือนว่ามันเป็นอาชญากรรมในการยืนยันความชัดเจนในเรื่องทฤษฎี  สำหรับความพยายามในการขีดเส้นแบ่งและกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างตัวมันเอง(ลัทธิมาร์กซ)และความโน้มเอียงของลัทธิการ เมืองอื่นๆ   ลัทธิมาร์กซเองมักจะถูกกล่าวหาอยู่เสมอๆว่าเป็น”ลัทธิพรรคพวก” ที่เลวร้าย    เป็นพวกต่อ ต้านความเป็นเอกภาพของฝ่ายซ้ายและอะไรต่อมิอะไรไปโน่น       เรื่องตลกร้ายที่สุดเรื่องหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์คือ ทิโคมิรอฟ (ชาวพรรคนารอดนายา โวลยา)  ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่เพลคานอฟวิจารณ์     ได้กล่าวหากลุ่มของเพลคานอฟว่าเป็นกลุ่มที่ทำลายความเป็นเอกภาพของปฏิวัติ      เป็นพวกยอมจำ นน,  ยอมแบกแอกของนายทุน      ซึ่งในภายหลังตัวเขาเองกลับกลายไปเป็นพวกปฏิกิริยาสนับสนุนราชวงศ์   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายของผู้ที่ให้การสนับสนุน “เอกภาพ” ที่ไร้หลักการ...มักจะจบลงด้วยการเข้าร่วมกับฝ่ายที่เป็นศัตรูของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน

การทำงานเคลื่อนไหวด้านลึกในรัสเซีย  ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นไปด้วยความเจ็บปวดและยากลำบาก   การขนส่งเอกสารผิดกฎหมายเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก    ผู้ประกอบอาชีพและนักศึกษาที่อยู่หรือศึกษาในต่าง ประเทศต่างสมัครใจรับอาสาขนเอกสารที่ผิดกฎหมายเหล่านี้เมื่อกลับบ้านหรือกลับจากการท่องเที่ยว พักผ่อน    ในช่วงเวลาต่างๆสมาชิกของกลุ่มได้ถูกส่งเข้าไปในรัสเซียเพื่อสร้างความสัมพันธ์   การเดิน ทางเช่นนี้นับว่ามีอันตรายมากและบ่อยครั้งมักจะจบลงด้วยการถูกจับ      คนที่อยู่ภายในประเทศมักจะ สร้างการติดต่อโดยตรงกับกลุ่มที่อยู่ห่างไกลกันและรักษามันไว้ประหนึ่งก้อนทองคำ  ปี 1887-88  มีความพยายามก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซียในต่างประเทศนำโดยนักศึกษาชื่อ ราฟาอิล  โซโลไวชิค  ซึ่งออกจากรัสเซียไปเมื่อปี  1884    แต่เขามีความขัดแย้งกับกลุ่ม, เมื่อกลับถึงรัสเซียก็ถูกจับ กุมในปี 1889 และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลานาน  

ในระหว่างที่ต้องโทษอยู่เขามีสภาพจิตสับสนและกระทำอัตวินิบาตกรรม    สมาชิกกลุ่มเดียวอีกคนหนึ่งคือ  กริกอร์  กูคอฟสกี  นักศึกษาหนุ่มในซูริคถูกจับที่เมือง อ๊าคเค่น ในเยอรมันนีและถูกส่งกลับไปให้รัฐบาลพระเจ้าซาร์   เขาถูกตัดสินจำคุกและได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเช่นเดียวกัน   ยังมีเรื่องเช่นเดียว กันนี้อีกหลายกรณี    มือของเจ้าหน้าที่ของระบอบซาร์นั้นยาวมาก       กลุ่มเองก็เผชิญหน้ากับอันตรายจากการแทรกซึมจากสายของตำรวจและพวกสายลับ     เช่น คริสเตียน เฮาพ์  กรรมกรคนหนึ่งที่มีความ สัมพันธ์กับตำรวจเพื่อแทรกซึมเข้าไปในองค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตยที่ลี้ภัยอยู่นอกประ เทศ    ถูกเปิดโปงโดยพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันว่าเป็นสายลับของตำรวจ    เฮาพ์จึงถูกขับออกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์       

ที่แย่กว่าเรื่องใดๆคือความรู้สึกที่ว่าถูกโดดเดี่ยวจากการเมืองอย่างสิ้น เชิง     ที่ทำให้แย่ลงอีกก็คือการไม่ลงรอยกันในหมู่นักปฏิวัติที่ใช้ชีวิตแบบผู้ลี้ภัย    ชาวนารอดนิคพลัดถิ่นทั้งหลายรู้สึกเจ็บปวดต่อคำวิจารณ์ของเพลคานอฟ      จึงเปิดทางให้แก่ความรู้สึกเจ็บปวดของพวกเขาด้วยการประท้วงพวกที่เรียกว่า พวกนิยมบาคูนิน และเรียกร้องให้มีการขอโทษในที่สาธารณะ    ผู้ลี้ภัยส่วนข้างมากเป็นชาวนารอดนิคและเป็นปรปักษ์ที่ไม่ยอมประนีประนอมกับกลุ่มใหม่(กลุ่มปลดปล่อยแรงงาน ของเพลคานอฟ)   ที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นผู้ทรยศและสร้างความแตกแยก     หนึ่งปีผ่านไปภรรยาของเพลคานอฟได้ระลึกถึงความหลังว่า  ” ในขณะนั้นกลุ่มนารอดนายา โวลยา และ เอ็น. เค. มิคคาอิลลอฟสกี  ได้ครอบงำจิตวิญญานของผู้พลัดถิ่นและเหล่านักศึกษารัสเซียในเจนีวา”

หลังจากการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่2    เป็นช่วงเวลาของความสิ้นหวังที่ปกคลุมไปทั่วทั้งรัสเซีย     รัฐบาลของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เงียบเชียบราวกับป่าช้า   สังคมรัสเซียตกอยู่ในความมืดมนต่อความหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลง       ต้องเผชิญกับความสิ้นหวังกับการปฏิรูปอย่างสันติและถือว่าเป็นความล้มเหลวของการเคลื่อนไหวปฏิวัติทั้งมวลอีกด้วย     ในบรรยากาศเช่นนี้เองที่ว่าทำ ไม โรซา ลุกเซ็มบวร์ก  จึงได้รำลึกถึงทศวรรษแห่งความเป็นปฏิกิริยาที่มีแต่ความว่างเปล่า    อเล็กซานเดอร์ที่ 3 กษัตริย์องค์ใหม่  เป็นคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่,แข็งแรงพอที่จะงอเกือกม้าในมือได้ แต่มีสติปัญญาเพียงน้อยนิด      ผู้ปกครองรัสเซียตัวจริงก็คือ โปเบโดนอสท์เซฟ ที่ปรึกษาของกษัตริย์องค์ก่อน

ตัวแทนของสภาคณะสงฆ์อันศักดิ์สิทธิ์..มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่เน่าเหม็นมีแต่ระบบการปกครองแบบบิดากับบุตรแบบรัสเซียเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม,สำนักข่าวจะต้องถูกสั่งปิด,โรงเรียนจะต้องถูกควบคุมโดยโบสถ์  ,และพระเจ้าซาร์จะต้องมีอำนาจสูงสุด    และพระในชนบทจะต้องรายงานเรื่องราวที่น่าสงสัยใดๆในทางการเมืองของพลเมืองที่อยู่ในเขตคามของตนแก่ตำรวจ..  และแม้แต่หัวข้อการเทศนาของตนก็ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ด้วย     ส่วนพวกที่มิใช่นิกายโอโธด๊อกซ์หรือมิใช่คริสเตียนจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มงวด   สานุศิษย์ของตอลสตอย จะถูกพิจารณาว่าเป็นอันตรายต่อโบสถ์และรัฐตัวตอลสตอยเองก็ถูกบัพชนียกรรม      การประท้วงของนักศึกษาได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง

เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก    หลายๆฝ่ายจำต้องล่าถอย..อุดมการณ์เสื่อมทรามลงและถูกละทิ้งไปด้วยความขลาดเขลา     ทิศทางของชาวนารอดนิคดั้งเดิมนั้นได้ถึงทางตันแล้วจากการตัดหนามถมทางตัว เองจากการก่อภัยร้าย    “การปฏิวัติสุดกำลัง”  ส่งผลให้เกิดการตีกลับ 180 องศาและในบั้นปลายก็จบลงในค่ายของพวกเสรีนิยมที่ไร้วัฒนธรรม..ด้วยการเสนอนโยบายที่ขลาดกลัวผ่านคำสั่งสอนของการ ”ทำทีละน้อย ทำอย่างสันติ”  ตามวัฒธรรมการศึกษาที่ไม่เป็นพิษภัยในสายตาของชนชั้นปกครอง มาตอฟ ได้เขียนวิจารณ์ความผุพังของลัทธินารอดนิคไว้ว่า.. ”ความล้มเหลวของการปฏิวัติแบบ เสรีภาพของประชาชน ก็เช่นเดียวกันกับการล่มสลายของลัทธิประชานิยมทั้งมวล”      ในปริมณฑลอันไพศาลปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตยกำลังขวัญเสียอย่างถึงที่สุด และผิดหวังในการเมืองและภารกิจที่กล้าหาญของตนเอง      วัฒนธรรมแบบ “เจียมเนื้อเจียมตัว” ในการรับใช้ของกลุ่มเสรีนิยม..ของชนชั้นผู้ครอบ  ครองสมบัติ....เหล่านี้เป็นสัญญานภายใต้การมีส่วนร่วมของปัญญาชนที่ยังคงภักดีต่อกลุ่มประ ชานิยมในยุคสมัยที่มืดมัวของทศวรรษที่ 1880

ในสิบปีแรกหรือการดำรงอยู....กลุ่มปลดปล่อยแรงงานถูกบีบให้ต้องต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อยในสมรภูมิที่ทวนกระแส      เพื่อหาหนทางไปสู่คนหนุ่มสาว,เพลคานอฟ  มีภาระในการแสวงหาผู้ร่วมงานที่ปฏิเสธหรือมีความคิดแบบกึ่งนารอดนิค   หนึ่งในกลุ่มได้ตีพิมพ์จุลสารชื่อ “สโวบอดนายา  รอสสิยา” หรือรัส เซียเสรี    การนำเสนอเบื้องต้นเพื่อจะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดถึงความเป็นไปได้ของ  “การจัด ตั้งกรรมกรและชาวนาล้อมรอบการเคลื่อนไหว” และถกเถียงกันต่อไปถึงเรื่องที่อาจจะทำให้ผู้ที่ชื่นชอบเสรีนิยมตกใจกลัวที่จะเข้าร่วมเล่นเกม “คนตาบอด” ไล่จับคนตาดีแบบรัสเซีย  สถานภาพของผู้ลี้ภัยไม่แน่ว่าจะแย่ลงไปอีกหรือไม่     ความสิ้นหวังของกลุ่มได้แสดงออกโดยความไม่ลงรอยกันระหว่างเพลคานอฟและผู้ร่วมงาน   แม้แต่กิจกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารของกลุ่มก็เต็มไปด้วยอุปสรรค

กลุ่มปลดปล่อยแรงงานใช้ชีวิตกันภายใต้วิกฤตทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง     มีบ้างเพียงเล็กน้อยที่สามารถระดมเงินสดได้แต่ก็อยู่ในขอบเขตจำกัด       บ่อยครั้ง..ที่ชีวิตของพวกเขาต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกกันว่า ”นางฟ้า”  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในโลกมายาแบบอเมริกันหมายถึงผู้มีฐานะที่มีความเห็นอกเห็นใจได้จัดสรรเงินเพื่อใช้ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร   แม้ว่าบางคนจะไม่ใช่นักสังคมนิยม   เช่น กูรเยฟ ที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือ โซเชียล เดโมแครต รายสามเดือน       โดยปกติทั่วไป...สิ่งตีพิมพ์ของกลุ่มมักจะออกมาอย่างไม่ค่อยจะสม่ำเสมอ   ในเวลานั้นภาระหน้าที่ดำเนินไปในสภาพที่ใกล้จะสิ้นหวัง      ฤดูร้อนปี 1885 เพลคานอฟได้เขียนจดหมายถึง อัคเซลรอด  บอกถึงภาวะ ที่ย่ำแย่....”ในความเป็นจริง..เรากำลังยืนอยู่บนขอบนรกของหนี้สินต่างๆไม่รู้และไม่อาจคาดคิดได้ว่าเมื่อไหร่จะมีอะไรบางอย่างมาฉุดรั้งเรามิให้ตกลงไป..ทุกอย่างเลวร้ายเหลือเกิน

ตลอดช่วงเวลาที่มืดมนของทศวรรษที่ 1880 เพลคานอฟและครอบครัวมีชีวิตอยู่อย่างยากไร้  ในเวลานั้นเขาได้ให้บทเรียนเพื่อเตือนสติเป็นบทความเกี่ยวกับค่าจ้างที่น้อยนิดในรัสเซีย  ความเป็นอยู่ในห้อง พักที่ถูกที่สุดของคนขายเนื้อที่บริการอาหารพิเศษคือ ซุป และเนื้อต้ม   เนื่องจากอาหารที่เลวและความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ค่อยๆบ่อนเซาะสุขภาพของเขา       มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาล้มป่วยลงด้วยโรคเยื่อหุ้มปอดอัก เสบซึ่งมีผลต่อเขาไปตลอดชีวิต     การทำงานภายใต้ความยากลำบาก,ความทุกข์ทรมานและความกด ดันจากทุกทิศทาง….กลุ่มปลดปล่อยแรงงานยังดำรงอยู่ได้และยึดโยงกันด้วยความยึดมั่นในอุดมการณ์ การณ์..  .และแน่นอนยังเกิดจากความมีคุณธรรมและความรับผิดชอบทางการเมืองของเพลคานอฟเองด้วย   

ภายในกลุ่ม..เพลคานอฟอยู่ในระดับสูงสุด      การที่ถูกโดดเดี่ยวอย่างถึงที่สุดทำให้สมาชิกของกลุ่มมีความสนิทสนมกันอย่างแน่นแฟ้น  หล่อหลอมรวมกันด้วยความผูกพันทางการเมืองที่มั่นคงและลักษณะส่วนตัว    ไม่ใช่เพราะสิ่งใดๆ..ที่ภายหลังพวกเขาได้ฉายานามว่า “ครอบครัว”  และเพลคานอฟเองก็คือหัวหน้าครอบครัวที่สมาชิกไม่อาจปฏิเสธได้ในด้านความรับรู้และสติปัญญาที่เปรียบเสมือนหอคอยที่มียอดสูงกว่ายอดอื่นๆ     การดำรงอยู่ของพวกเขาในปีที่ยากลำบากต่างต้องเสียสละดิ้นรนต่อสู้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างถึงที่สุด    ในกรณีดังกล่าวมันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าปัญหาส่วนตัวและการ เมืองได้ผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว เพลคานอฟเป็นหอคอยที่แข็งแกร่งกว่าอันอื่นที่คอยปลุกปลอบ พวกเขาให้มีกำลังใจในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสงสัยและเรื่องปัญหาส่วนตัว

เรื่องที่น่าเศร้าของคนเช่น อัคเซลรอด และซาซูลิค ได้แก่การเป็นคนที่มีสองบุคลิกภายใต้เงื่อนไขประ วัติศาสตร์ที่ต่างกัน..บุคคลเช่นนี้สามารถจะแสดงบทบาทสำคัญให้เป็นแบบอย่างได้   แต่หลายปีที่ต้องใช้ในชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในการลี้ภัยได้ทำลายพัฒนาการทางสภาพจิตใจและความเป็นปัญญาชนไปเสียสิ้น       การทำงานภายใต้ร่มเงาของเพลคานอฟ, การเจริญเติบโตของพวกเขากลายเป็นเรื่องที่ไร้สาระไม่สามารถต่อยอดได้      เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปพวกเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้,ไฟของการปฏิวัติได้มอดสลายไป      เนื่องจากสภาพที่กลุ่มได้พยายามผลักดันงานมาตลอดเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษ     ผลพวงเล็กๆของการโฆษณาชวนเชื่อที่จำกัดอยู่ในวงแคบๆได้คืบคลานเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้     ปัจจัยดังกล่าวไม่เคยมีความสำคัญทางด้านพื้นฐานในช่วงปีแรกๆ,ซึ่งเป็นเวลายาวนานและเชื่องช้าช่วงของการเตรียมพร้อมทางทฤษฎีและแวดวงโฆษณาเล็กๆ    เฉพาะในภายหลังเมื่อการเคลื่อนไหวของนักลัทธิมาร์กซ์รัสเซียต้องเผชิญกับความจำเป็นที่จะต้องก้าวข้ามข้อจำกัดของขั้นตอนการโฆษณา   ได้ทำให้คุณสมบัติที่โดดเด่นของกลุ่มปลดปล่อยแรงแรงงานปรากฎออกมา

ล่วงเลยไปถึงสองทศวรรษ..สมาชิกของกลุ่มปลดปล่อยแรงงานยังมีจำนวนเท่าเดิมและเป็นคนเดิมๆ วี.เอ็น.อิกนาตอฟ  ผู้ก่อตั้งเสียชีวิตเร็วเกินไปตั้งแต่เริ่มแรกแต่ได้ฝากรอยประทับเอาไว้   เลฟ ดอยท์ช คือจิตวิญญาณคนสำคัญในด้านการทำงานขององค์กร      เป็นต้นว่าเป็นผู้จัดการพิมพ์และเผยแพร่เอกสาร    พาเวล อัคเซลรอด  ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการโฆษณาเป็นที่ประทับใจของคนหนุ่มอย่างเลนินและทรอตสกี     ชื่อเสียงของเขานั้นเคียงคู่กับเพลคานอฟมาอย่างยาวนาน    เวรา ซาซูลิค  ที่มีความจริงใจ   มีบุคลิกที่อบอุ่นแต่เป็นคนใจร้อน  ได้รับความเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งจากบาดแผลของการลี้ภัย  เธอรู้สึกหงุดหงิดในการปิดช่องว่างระหว่างกลุ่มปลดปล่อยแรงงานและนักปฏิวัติรุ่นใหม่ในรัสเซียและสนับสนุนอย่างจริงจังในนามของคนหนุ่มสาวเพื่อเอาชนะการต่อต้านของเพลคานอฟ  และให้กำลังใจกับการริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ...แต่มักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับกลุ่มคนหนุ่มที่ลี้ภัย    

การทำงานอย่างอดทนของนักลัทธิมาร์กซในที่สุดก็ประสบกับความล้มเหลว   เหตุผลที่แท้จริงกับเสียงร้องคร่ำครวญของพวกนารอดนิคเกี่ยวกับ “ลัทธิพรรคพวก”..”ไอ้พวกแบ่งแยก”ส่งผลสะเทือนต่อแนวคิดของลัทธิมาร์กซและลุกลามไปถึงผู้ที่นิยมลัทธิมาร์กซด้วย      เป็นเรื่องยากที่จะประเมินถึงแรงกระทบที่มีต่องานหนังสือเช่น “ความแตกต่างของเรา”  ที่นักปฏิวัติรุ่นหนุ่มสาวในรัสเซียกระหายอยากจะได้เพื่อหาทางออกจากหนทางที่ตีบตันของลัทธินารอดนิคซึ่งขณะนั้นอยู่ในขั้นที่ต้องพิสูจน์ตัวเองในความเสื่อมถอยของมัน       การเปลี่ยนข้างไปสู่ฝ่ายขวาของผู้นำนารอดนิคได้บรรลุถึงบทสุดท้ายแล้วด้วยการเปิด เผยการทรยศของ ทิโคมิรอฟ  ที่เป็นเป้าในการโต้เถียงของเพลคานอฟ    ผู้ซึ่งในปี1888 ได้ตีพิมพ์หนัง สือเรื่อง “ทำไมข้าพ เจ้าจึงเลิกเป็นนักปฏิวัติ”

การพังทลายของขบวนการปฏิวัติที่เก่าแก่เช่นลัทธินารอดนิคได้ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งในขบวนหนุ่มสาวภายในรัสเซีย   ได้เกิดการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่สนับสนุนแนวทางเสรีนิยมที่แสดงออก ถึงธาตุแท้ของนักปฏิรูป      และเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นบนเส้นทางของการปฏิวัติ      ใกล้จะสิ้นปี 1887 เอส. เอ็น.กินสบวร์ก   ได้กลับรัสเซียอย่างกระ ทันหัน     เขียนจดหมายแสดงความห่วงใยต่อ พี แอล. ลาฟรอฟ  ว่าหนังสือ “ความแตกต่างทางการเมืองของเรา” และ “ลัทธิสังคมนิยมและการต่อสู้ของเรานั้นทรงอิทธิพลและเข้มแข็งมาก   ซึ่งถึงคราวที่พวกเราจะต้องทำความตกลงกันเกี่ยวกับความสำคัญของปัจเจกชน ความสำคัญของปัญญาชนในการปฏิวัติได้ถูกทำลายลงโดยหนังสือทั้งสอง      โดยส่วนตัวแล้วผมได้เห็นผู้คนซึ่งถูกบดขยี้โดยทฤษฎีของเขา  สิ่งสำคัญในน้ำ เสียงของเขาคือความกล้าหาญและเชื่อมั่นในความถูกต้อง         ข้อคัดค้านทั้งมวลของเขาที่มีมาก่อน,ความถดถอยของคนรุ่นก่อนซึ่งเกือบจะกลายเป็นศูนย์    ทั้งหมดนี้มีอิทธิพลอย่างแน่นอน”  จดหมายของ กินสบวร์ก แสดงถึงความไม่รู้ว่า....นักลัทธิมาร์กซที่ถูกเนรเทศกลุ่มใหม่กำลังก่อตัวขึ้นภาย ในประเทศ,ถกเถียงกันถึงความล้มเหลวที่ผ่านมา   กำลังวางแผนในการแสวงหาทางเส้นใหม่   ซึ่งณที่นี้ความคิดของเพลคานอฟกำลังงอกงาม     ปลายทศวรรษ 1890 กลุ่มฯเริ่มจะพอใจที่ได้ประจักษ์กับตาตนเองว่านักลัทธิมาร์กซรุ่นหนุ่มสาวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น    ชื่อของเพลคานอฟเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของหน่วยงานใต้ดินและสถานีตำรวจทุกแห่ง


พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 8

ตอนที่   8.
จากเผด็จการรวบอำนาจทางทหารของครอมเวลล์ถึงการฟื้นอำนาจราชวงศ์สจ๊วต
การสถาปนาเผด็จการรวบอำนาจทางทหารของครอมเวลล์

ภายหลังที่ชนชั้นนายทุนโค่นล้มการปกครองศักดินาได้มาซึ่งอำนาจรัฐแล้ว   ด้านที่ล้าหลังในตัวของมันก็กลายเป็นด้านหลัก   ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่กับประชาชนก็รุนแรงและแหลมคมขึ้น   ค่าใช้จ่ายทางทหารอันหนักอึ้ง  ความทรุดโทรมทางด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม   ราคาสินค้าที่ถีบตัวสูงขึ้น  ชีวิตความเป็นอยู่ที่นับวันเลวลง   ทำให้ความไม่พอใจของประชาชนผู้ใช้แรงงานคุกรุ่นขึ้นมาอีก  ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1653  แคว้นเคมบริดจ์เกิดการลุกขึ้นสู้ของชาวนา   แย่งยึดที่ดินที่ถูกแย่งยึดคืน   ตีโต้กองทหารสาธารณรัฐที่ยกมาปราบปราม    เดือนพฤษภาคม  แคว้นนอร์โฟล์คก็เกิดการลุกขึ้นสู้ในลักษณะคล้ายคลึงกัน  พวกนักประชาธิปไตยก็เริ่มคึกคัก    เคลื่อนไหวแจกจ่ายจุล สารที่คัดค้านรัฐบาล       ปลุกระดมประชาชนให้ลุกขึ้นใช้ปฏิบัติการเพื่อบรรลุซึ่งการปฏิรูปอีกก้าวหนึ่ง   พรรคอัศวินได้ฉวยโอกาสอาศัยความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่ออำนาจรัฐใหม่   เตรียมก่อการจลาจลในหลายท้องที่   วางแผนกโลบายฟื้นอำนาจกษัตริย์   ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่เผชิญกับการคุก คามที่เพิ่มทวีขึ้นทุกวันทั้งจากซ้ายและขวา   จึงมีความเรียกร้องต้องการที่จะสถาปนาเผด็จการทางทหารอย่างเร่งด่วน

เพื่อพิทักษ์รักษาเผด็จการชนชั้นนายทุน   ครอมเวลล์ตัดสินใจใช้ปฏิบัติการ   ก่อนอื่นทำการตอบโต้การคุกคามที่มาจากด้านขวาก่อน    จัดการขับไล่ไสส่งรัฐสภาช่วงยาวที่ไม่สมประกอบ   รัฐสภาช่วงยาวเคยเป็นศูนย์กลางนำการปฏิวัติชนชั้นนายทุน    แต่ในสมัยสาธารณรัฐ   มันได้เปลี่ยนสีแปรธาตุเป็นกลุ่มคณาธิปไตยที่ประชาชนรู้สึกจงเกลียดจงชัง   มันได้สมรู้ร่วมคิดกับอิทธิพลศักดินาวางแผนตรากฎหมายเลือกตั้งใหม่   กุมอำนาจรัฐต่อไป   เตรียมการฟื้นอำนาจกษัตริย์   วันที่20 เมษายน 1653ครอมเวลล์ได้ข่าวว่ารัฐสภากำลังเปิดอภิปรายกฎหมายเลือกตั้งใหม่   จึงนำกำลังทหารบุกเข้าไปในที่ประชุม  ด่ากราดสมาชิกรัฐสภาด้วยการระบุชื่ออย่างเปิดเผย   เขาล้วงนาฬิกาออกจากกระเป๋า   ยื่นคำขาดว่าจะไม่ให้รัฐสภาดำรงอยู่ที่นี่เกิน 1 นาทีตามเวลาที่กำหนดให้    

จากนั้นก็สั้งทหารทำการขับไล่สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดออกจากห้องประชุมครอมเวลล์เดินไปหยุดยืนที่ข้างเก้าอี้ประธานรัฐสภา   เห็นบนโต๊ะมีตราประทับ (ตราพระลัญจกรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทรงอิทธิพลของกษัตริย์ที่มอบอำนาจไว้กับประธานรัฐสภา) วางอยู่   จึงกล่าวว่า “เราจะจัดการอย่างไรกับของเล่นชิ้นนี้ดี   โยนมันทิ้งไปแล้วกันนะ”    เสร็จแล้วเขาก็สั่งให้ปิดประตูลั่นกุญแจประตูใหญ่ของตึกรัฐสภา  แล้ว กลับไปที่ไวท์ฮอลล์   ในขณะที่ครอมเวลล์ทำการขับไล่รัฐสภาช่วงยาวอยู่นั้น    ไม่ได้เจอกับแรงต่อต้านใดๆจากสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น กล่าวตามคำพูดของเขาก็คือ  “หมาตัวเดียวก็ไม่กล้าเห่า”   มวลประชาชนอังกฤษชื่นชมกับเรื่องนี้   เพราะว่ามันได้ทำลายภัยแฝงในการฟื้นอำนาจศักดินาลงไปได้

หลังสลายรัฐสภาช่วงยาว   เดือนกรกฎาคม 1653ครอมเวลล์ได้เรียกประชุม “รัฐสภาขนาดย่อม” ที่มีสมาชิกเพียง100 กว่าคน    สมาชิกรัฐสภาขนาดย่อมไม่ได้เกิดจากการเลือกตั้ง   หากเกิดจากการเสนอชื่อโดยองค์การศาสนาของกลุ่มอิสระและอนุมัติโดยครอมเวลล์ เนื่องจากภายในประ เทศมีความไม่พอใจโดยทั่วไป  “รัฐสภาขนาดย่อม” จึงจำเป็นต้องผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปจำนวนหนึ่ง   เช่นลดหย่อนภาษีอากร  ยกเลิกภาษี 10 ชัก 1     ลดกำลังทหาร เป็นต้น  เป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารชั้นสูงที่นำโดยครอมเวลล์โกรธเกรี้ยวมาก    จึงจัดการยุบมันเสียในวันที่ 12 ธันวาคม   

หลังจากนั้น 4 วัน   ภายใต้การชี้แนะเป็นนัยของครอมเวลล์  พวกนายทหารชั้นสูง  ผู้พิพากษาและนายกเทศมนตรีลอนดอนได้เข้าชื่อเสนอให้ครอมเวลล์รับสมญานาม “ผู้ป้องกันประเทศ”  ด้วยประการฉะนี้    ครอมเวลล์ก็ได้สถาปนาอำนาจรัฐเผด็จการรวบอำนาจทางทหารภายใต้รูปแบบของสาธารณรัฐ    อำนาจรัฐนี้มีชนชั้นนายทุนใหญ่และชนชั้นใหม่ของขุนนางเจ้าที่ดินเป็นรากฐานของมัน   โดยถือเอาการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของพวกเขาเป็นจุดมุ่งหมาย     ชนชั้นขุนนางเจ้าที่ดินนี้ได้ค่อยๆก่อรูปและเติบใหญ่ขึ้นท่ามกลางสงครามรุกรานอาณานิคม ส่วนบนของมันโดยทั่วไปจะมีสมญานามและยศถาบรรดาศักดิ์ขุนนาง   ทั้งนับวันแต่จะใกล้ชิดกับขุนนางศักดินาเก่ามากยิ่งขึ้น     เมื่อรากฐานทางชนชั้นของอำนาจรัฐครอมเวลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมจะสะท้อนออกในนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศของเขา

รัฐบาลแห่งชาติ  การปกครองโดยทหารตำรวจและสงครามต่อภายนอก
หลังจากรัฐสภาขนาดย่อมถูกยุบไม่นาน   สภานายทหารได้ร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ที่เรียกว่า “เครื่องมือการปกครอง”  กำหนดว่า  อำนาจรัฐของสาธารณรัฐอังกฤษ  สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ล้วนเป็นของเจ้าป้องกันประเทศ   นี่ก็เป็นครั้งแรกที่ผนึกเอา อังกฤษ  สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปีถัดมา  อาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใหม่*  (รัฐธรรมนูญใหม่ได้กำหนดคุณสมบัติด้านทรัพย์สินของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเพิ่มจาก 40ชิลลิงจากรายได้ในผืนที่ดินเป็น 200 ปอนด์  เช่นนี้แล้ว  รัฐสภาก็ถูกควบคุมโดยเจ้าที่ดินใหญ่    นายทหารชั้นสูงที่กลายเป็นเจ้าที่ดินใหญ่จากการเขมือบที่ดินในไอร์แลนด์)  เรียกประชุมรัฐสภา  ในรัฐสภามีสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งที่เป็นกลุ่มสาธารณรัฐ  ได้แสดง ออกซึ่งความไม่พอใจต่อการมีอำนาจเบ็ดเสร็จของเจ้าป้องกันประเทศ      ดังนั้นครอมเวลล์จึงปล่อยให้มันดำรงอยู่แค่ 5 เดือนก็จัดการยุบทิ้งเสีย   

เป็นเวลา 2 ปีหลังจากนั้นก็ไม่ได้เปิดประชุมรัฐสภาอีกเลย    ครอมเวลล์อาศัยคณะรัฐมนตรีที่ประกอบจากนายทหารชั้นสูง 18 คน   ดำเนินการปกครองแบบเผด็จการรวบอำนาจ   แต่ว่า สถานการณ์ภายในประเทศตึงเครียดขึ้นอีกก้าวหนึ่ง   เพื่อกดการต่อต้านของประชาชน   ปราบปรามการกบฏของพวกนิยมกษัตริย์   ในระหว่างปี 1655-1656 ครอมเวลล์ได้จัดแบ่งอังกฤษออกเป็นเขตทหาร 11 เขต   แต่ละเขตแต่งตั้งนายทหารบกยศพลตรีเป็นผู้นำ    กุมอำนาจทั้งทางการเมืองและการทหารไว้บนตัวคนเดียว   รับผิดชอบควบคุมดูแลตั้งแต่ระเบียบสังคมไปจนถึงชีวิตส่วนตัวของชาวบ้าน   ดำเนินระบอบการปกครองโดยทหารและตำรวจอย่างโจ๋งครึ่ม    ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่า   ระบอบการปกครองโดยนายพลตรีกองทัพบกนั่นเอง

ในด้านเศรษฐกิจ  รัฐบาลแห่งชาติปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน   รักษาไว้ซึ่งภาษี 10 ชัก 1ของศาสนจักรในอดีต   คุ้มครองนักกว้านที่ดิน   ขบวนการกว้านที่ดินแถบป่าชายเลนขนานใหญ่ที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ในอังกฤษก็ได้รับการคุ้มครองจากรัฐ    นโยบายต่างประเทศที่เป็นพื้นฐานของรัฐบาลแห่งชาติก็คือ   สร้างความได้เปรียบทางการค้าของโลกและจักรวรรดิอาณานิคมที่เข้มแข็งเกรียงไกรให้กับชนชั้นนายทุนอังกฤษ     

เพื่อผ่อนคลายวิกฤติการณ์ทางการเมืองภายในประเทศและใช้สินสงครามที่ได้จากการทำสงครามภายนอกประเทศไปชดเชยการขาดดุลทางการคลัง   รัฐบาลแห่งชาติยังคงดำเนินสงครามปล้นชิงต่อภายนอกประเทศต่อไป   โดยใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อประเทศโปรตุเกสและสเปนตามลำดับ   ภายหลังที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนอันมหาศาลแล้ว   อังกฤษจึงสามารถแย่งยึดเกาะจาไมก้าในทะเลคาริบเบียน (1655) และดานซิก บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป (1658)  จากมือสเปนมาได้   สนองความทะเยอทะยานในการแผ่ขยายอาณาเขตให้กับชนชั้นนายทุน

รัฐบาลแห่งชาติล้มคว่ำ
รัฐบาลแห่งชาติถูกกระหน่ำตีทั้งจากด้านซ้ายและขวา   ชาร์ลส์ที่ 2 ได้ช่วงชิงการสนับสนุนจากสเปน ฝรั่งเศสและอิทธิพลเน่าเฟะอื่นๆที่เป็นโรมันคาทอลิคบนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป    ทั้งได้ประสานกับพวกนิยมกษัตริย์ภายในประเทศดำเนินแผนกโลบายฟื้นอำนาจกษัตริย์   บนผืนแผ่นดินที่ผ่านการชะล้างจากเปลวเพลิงปฏิวัติ    การเคลื่อนไหวของประชาชนก็เริ่มก่อหวอดขึ้นอีก    การต่อสู้ของชาวป่าชายเลนทางภาคตะวันออก  และการต่อสู้คัดค้านการกว้านที่ดินของชาวนาในท้องที่ต่างๆเกิดขึ้นมิได้ขาด   เริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1650  ชาวนาไม่นำพาต่อการสั่งห้ามของเจ้าของกรรมสิทธิ์   พากันบุกเข้าไปในป่าสงวนหักร้างถางพง  แปรเขตป่าเป็นผืนที่ดินเพาะปลูก    ถึงปี 1659  การเคลื่อนไหวของชาวนาได้ปรากฏกระแสสูงใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ชนชั้นนายทุนและขุนนางที่ดิน   โดยเฉพาะคือส่วนบนของพวกเขา   เมื่อเผชิญกับกระแสสูงการเคลื่อนไหวของประชาชนที่นับวันเพิ่มทวีขึ้น   ก็ตกอกตกใจเป็นกำลัง   จึงเรียกร้องให้เปลี่ยนระบอบเผด็จการรวบอำนาจทางทหารกลับไปสู่ระบอบกษัตริย์    เพื่อจะได้ดำเนินการปราบปรามอย่างป่าเถื่อนสยดสยอง  ปี1656  รัฐบาลแห่งชาติได้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยที่ 2  แก้ไข “เครื่องมือการปกครอง”   มีการเสนอให้ฟื้นระบอบกษัตริย์และสภาสูง   เรียกร้องให้ครอมเวลล์สถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์     ครอมเวลล์เองย่อมมีความปรารถนาจะตั้งราชวงศ์ใหม่อยู่แล้ว    แต่เนื่องจากผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆในหมู่ชนชั้นนายทุนไม่ลงตัวกัน  ต่อปัญหาฟื้นระบอบกษัตริย์จึงมีความเห็นแตกต่างกัน   ทางกองทัพก็มีความเห็นคัดค้าน   นายทหารชั้นสูงก็ไม่ยอมสละอำนาจทางการเมืองของตน    ดังนั้น ครอมเวลล์จึงจำต้องปฏิเสธการขึ้นสู่บัลลังก์   รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านสภาก็ให้ตัดข้อความเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์ออกเสีย    แต่ประกาศว่า  เจ้าป้องกันประเทศจะสืบทายาทโดยตระกูลครอมเวลล์เท่านั้น

เดือนกันยายน 1658  ในขณะที่นโยบายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาลแห่งชาติตกอยู่ในฐานะยากลำบาก   วิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจใกล้จุดระเบิดนั้น   ครอมเวลล์ป่วยเสียชีวิต หลังจากที่ลูกชายของเขา  ริชาร์ดครอมเวลล์(Cromwell Richard 1626-1712) เข้ารับตำแหน่งเจ้าป้องกันประเทศสืบต่อจากผู้เป็นบิดาแล้ว    บรรดานายทหารทั้งหลายก็เปิดฉากต่อสู้แก่งแย่งชิงอำนาจกันอย่างดุเดือด     ภ่ยในกลุ่มชนชั้นปกครองตกอยู่ในสภาพปั่นป่วนระส่ำระสาย    ชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางเจ้าที่ดิน   มีความต้องการอันรีบด่วนที่จะมีอำนาจที่เข้มแข็งอำนาจหนึ่งเพื่อปราบปรามกำลังฝ่ายปฏิวัติ  พวกเขาจึงฝากความหวังไว้กับราชสำนักแห่งราชวงศ์สจ๊วต    

ตัวแทนที่อยู่ในประเทศอังกฤษของชาร์ลส์ที่ 2 ก็ขยายการเคลื่อนไหวฟื้นอำนาจระบอบกษัตริย์เป็นการใหญ่   วิลเลี่ยมเลนธอลล์( William  Lenthall 1591-1662)  ประธานรัฐสภาช่วงยาวซึ่งเป็นพวกจงรักภักดีต่อราชสำนักได้ฟื้นรัฐสภาไม่สมประกอบในเดือนพฤษภาคม 1659  บีบบังคับให้ริชาร์ด ลาออก และล้มระบอบรัฐสภาแห่งชาติ    จอร์จมังค์( Jeorge Monk1608-1670)  ผู้บัญชาการทหารของอังกฤษประจำสก๊อตแลนด์เป็นพวกนิยมกษัตริย์ที่ฝังตัวอยู่ในกองทัพ        ได้ยกทัพเข้ากรุงลอนดอนในเดือนกุมภาพันธ์ 1660  เข้าควบคุมรัฐบาล       จากนั้นก็วางแผนให้ชาร์ลส์ที่ 2 ซึ่งหนีตายอยู่ในฮอลแลนด์   ประกาศ “แถลงการณ์เบรดา”      โฆษณาเผยแพร่ในหมู่ผู้มีทรัพย์สินให้มีความเพ้อฝันต่อราชวงศ์เก่า    เดือนมีนาคม เรียกประชุมรัฐสภาใหม่  มังค์ฉวยโอกาสยัดเยียดคนของพวกนิยมกษัตริย์เข้าสู่รัฐสภาจำนวนมาก    เดือนพฤษภาคม รัฐสภาประกาศสถาปนาชาร์ลส์ที่ 2 เป็นกษัตริย์   จากนั้นไม่นาน ชาร์ลส์ที่ 2 ก็กลับถึงลอนดอน  เริ่มยุคฟื้นอำนาจในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ

การฟื้นอำนาจราชวงศ์เก่าในปี 1660  ตลอดจนนโยบายภายในและต่างประเทศ
ชาร์ลส์ที่ 2 (Charles 2 ครองราชย์ 1600-1685) ใน “แถลงการณ์เบรดา”  ได้กล่าวถึงว่าหลังคืนสู่ราชบัลลังก์แล้วจะนิรโทษกรรมต่อผู้เข้าร่วมการปฏิวัติ  จะอนุญาตให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา   ประกันความสัมพันธ์ในทรัพย์สินและที่ดินที่กำหนดขึ้นในสมัยปฏิวัติ    ดังนั้นจึงได้รับการต้อนรับจากผู้มีทรัพย์ สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นนายทุนใหญ่       แต่ว่าความฝันของพวกเขาได้พังทลายลงอย่างรวดเร็ว  พออำนาจที่อยู่ภายใต้การควบคุมของชาร์ลส์และพวกนิยมกษัตริย์เริ่มจะมั่นคง    พวกเขาก็ตระบัดสัตย์  พยายามฟื้นระบอบเผด็จการศักดินาที่มีอยู่ก่อนปฏิวัติอย่างสุดกำลัง    ดำเนินการพลิกคดีอย่างบ้าคลั่ง  ไม่เพียงแต่ปราบปรามมวลชนอย่างไร้ความปราณีเท่านั้น   หากยังปราบปรามชนชั้นนายทุนอย่างไม่ไว้หน้าอีกด้วย  

ต่อบุคคลที่เคยเข้าร่วการพิจารณาคดีกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 1  ล้วนมีโทษฐาน “ผู้ปลงพระชนม์”   ไม่ว่าจะเสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่  ล้วนถูกตัดสินลงโทษด้วยการแขวนคอทั้งสิ้น   ศพที่เน่าเปื่อยแล้วของครอมเวลล์ก็ถูกขุดขึ้นมาและนำไปแขวนคออยู่บนหลักกางเขน   ปี 1661  เรียกประชุม “รัฐสภาอัศวิน”  ประกาศฟื้นคณะอังกลิกัน เริ่มยุคปองร้ายทางศาสนาอีกครั้งหนึ่ง   การเข่นฆ่าได้ขยายขอบเขตออกไปสู่ผู้คนทั้งปวงที่นิยมระบอบสาธารณรัฐ    พวกหัวรุนแรงตลอดจนผู้เข้าร่วมปฏิวัติหรือสนับสนุนการปฏิวัติ
แต่ว่าการกระทำที่ถอยหลังเข้าคลองของราชวงศ์ฟื้นอำนาจได้ถูกคัดค้านจากด้านต่างๆ  พวกนิยมกษัตริย์ที่กลับจากการหนีตาย   ถึงแม้ว่าจะพยายามฟื้นคืนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตนที่สูญเสียไป  แต่ว่าที่ดินเหล่านี้ได้เปลี่ยนเจ้าของไปหลายเจ้าของแล้วในสมัยปฏิวัติ   และส่วนใหญ่ตกไปอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนที่เป็นกลุ่มคณะเพรสไบทีเรียน   

พวกนิยมกษัตริย์รวมทั้งตัวกษัตริย์เองจำใจเห็นด้วยกับวิธีประนีประนอมคือให้เจ้าของที่ดินคนใหม่ชด    ใช้ค่าสินไหมทดแทนบางประการแก่เจ้าที่ดินคนเก่า      แต่ที่ดินยังคงเป็นของเจ้าของคนใหม่ต่อไป   รัฐบาลฟื้นอำนาจในขณะเดียวกับที่ปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของเจ้าที่ดินใหญ่และเจ้าของฟาร์มเกษตรใหญ่แบบทุนนิยมนั้น   ก็ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในบางระดับ  เพราะว่าทางราชสำนักก็ได้รับประโยชน์ไม่น้อยจากการเคลื่อนไหวปล้นชิงอาณานิคมจากบริษัทผูกขาดการค้ากับต่างประเทศและจากการค้าทาส

เพื่อช่วงชิงการช่วยเหลือจากกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส     ชาร์ลส์ที่ 2 ได้ฟื้นศาสนจักรโรมันคาทอลิคในอังกฤษ   และเสริมความเข้มแข็งให้กับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช    ต่อภายนอกยอมขึ้นต่อฝรั่งเศสซึ่งเป็นโรมันคาทอลิค    ปี 1670 ได้เซ็นสัญญาลับกับฝรั่งเศสซึ่งมีลักษณะทำลาย ชนชั้นนายทุนอังกฤษ   ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเลิกนโยบายปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษ  ทั้งขายเมืองดานซิกที่ครอมเวลล์ยึดได้ให้กับฝรั่งเศส   มาตรการเหล่านี้  ล้วนทำให้ชนชั้นนายทุนอังกฤษไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง   ความพ่ายแพ้ในสงคราม อังกฤษ-ฮอลแลนด์(1664-1667) ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งหลายเคียดแค้นชิงชังต่อราชวงศ์สจ๊วต      ปี 1672ชาร์ลส์ที่ 2  ประกาศ “แถลงการณ์เสรีภาพในการนับถือศาสนา”  เป็นก้าวแรกของการฟื้นศาสนจักรโรมันคาทอลิคในอังกฤษ   แต่ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากรัฐสภา  จึงจำใจยกเลิกแถลงการณ์ฉบับนั้น

ในกระบวนการต่อสู้กับราชวงศ์สจ๊วตนั้น   รัฐสภาได้ค่อยๆแบ่งฝ่ายออกเป็นสองฝ่าย   ฝ่ายที่สนับสนุนกษัตริย์เรียกว่า “พรรคทอรี่”  เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของขุนนางเจ้าที่ดินซึ่งมีความสัมพันธ์กับราชสำนัก  พวกนี้สนับสนุนรูปแบบอำนาจรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์   ฝ่ายที่คัดค้านกษัตริย์เรียกว่า “พรรควิก”*(คำว่า วิก/Whig   ตามความหมายเดิมหมายถึงโจรสก๊อตแลนด์   ส่วนคำว่า ทอรี่ นั้น ความหมายเดิมหมายถึงคนที่นับถือศาสนาโรมันคาทอลิคของไอร์แลนด์  เป็นฉายานามที่ทั้งสองฝ่ายใช้ด่าทอฝ่ายตรงข้าม) ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมตลอดจนขุนนางเจ้าที่ดินใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับมัน   พวกนี้พยายามช่วงชิงขยายอำนาจของรัฐสภา   จำกัดอำนาจกษัตริย์  

ปี 1679 พวกวิกพยายามดันรัฐสภาผ่าน “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองต่อร่างกาย”  ในกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า  ไม่มีหมายจับของศาลจะทำการจับกุมคุมขังผู้คนไม่ได้   ผู้ถูกจับจะต้องส่งให้ศาลพิจารณาในเวลาอันสั้น   นี่ก็คือรากฐานระบอบรัฐธรรมนูญของอังกฤษนั่นเอง   แต่ความเป็นจริงแล้ว  มันคือวิธีการอย่างหนึ่งที่ชนชั้นนายทุนใช้รับมือกับการปองร้ายของชนชั้นศักดินา   ก่อนอื่นก็คือใช้มาปกป้องคุ้มครองชาวพรรควิก   กฎหมายนี้ยังระบุว่า  ผู้ถูกจับถ้าหากสามารถยื่นหลักทรัพย์จำนวนมากค้ำประกัน  ปล่อยตัวชั่วคราวได้   แต่ผู้ถูกจับที่ถูกจับในกรณีติดหนี้แล้ว   จะอยู่นอกความคุ้มครองของกฎหมายฉบับนี้   จะเห็นได้ว่า  “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทางร่างกาย” มีลักษณะทางชนชั้นอย่างเด่นชัดที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้มีทรัพย์สินเท่านั้น

ปี 1685 ชาร์ลส์ที่ 2 สิ้นพระชนม์    เจมส์ที่ 2 (James 2 ครองราชย์ 1685-1688) ผู้ซึ่งคลั่งไคล้ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคสืบราชบัลลังก์   เขาก็รับเงินอุดหนุนจากฝรั่งเศส      ทำงานตามนโยบายของหลุยส์ที่ 14 เช่นเดียวกับชาร์ลส์ที่ 2  เขาลดภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าฝรั่งเศส   ขายผลประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษ  ทั้งเตรียมสถาปนาศาสนจักรโรมันคาทอลิคขึ้นในอังกฤษอีก  ฟื้นการปกครองของศาสนจักรโรมันคาทอลิคอันเป็นห่วงโซ่สำคัญห่วงหนึ่ง  ในการบรรลุซึ่งการฟื้นอำนาจศักดินาอย่างทั่วด้านและเสริมความมั่นคงให้กับการปกครองของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช   ในการนี้  เจมส์ที่2 ได้ปลดปล่อยสาวกนิกายโรมันคาทอลิคที่ต้องโทษจำคุกจำนวนมาก   เอาสาวกนิกายโรมันคาทอลิคมาเป็นแม่ทัพนายกองในกองทัพ   ปี 1687 ประกาศ “แถลงการณ์เสรีภาพในการนับถือศาสนา”   ยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสาวกนิกายโรมันคาทอลิคและสาวกนอกนิกายของทางการ   เตรียมเปลี่ยนนิกายโรมันคาทอลิคเป็นศาสนาของทางการ  

เดือนเมษายน 1688   กษัตริย์มีราชโองการให้อ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ให้วิหารทุกแห่ง   ทั้งทำการจับกุมสังฆราชและมหาสังฆราชของคณะอังกลิกันที่ขัดราชโองการของพระองค์      ความจริง การที่ราชวงศ์สจ๊วต ซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นศักดินาเคยร่วมมือกับชนชั้นนายทุนนั้นก็เป็นเพราะความจำเป็น   มาบัดนี้ถึงคราวที่จะแตกหักอย่างเปิดเผยแล้ว   ดังนั้นจึงทำให้ขุนนางเจ้าที่ดินใหม่และชนชั้นนายทุนรู้สึกถึงความคุกคามที่มีต่อพวกเขาโดยตรง       พวกขุนนางเจ้าที่ดินกลัวว่าวันใดที่ฟื้นอำนาจสังฆราชโรมันคาทอลิค   นำมาซึ่งการฟื้นอำนาจระบอบศักดินาอย่างทั่วด้านแล้ว   ที่ดินและศาสนสมบัติที่พวกเขาแย่งยึดจากศาสนจักรโรมันคาทอลิคแต่ครั้งปฏิรูปศาสนาของพวกเขาก็จะหลุดมือไป   ที่ดิน 7 ใน 10 ของอังกฤษก็จะต้องเปลี่ยนเจ้าของใหม่  


ชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมกลัวว่า  ศาสนจักรและระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชจะอุดช่องทางการสร้างฐานะร่ำรวยของพวกเขา   นี่ก็ทำให้กลุ่มและชั้นชนต่างๆของชนชั้นนายทุนและขุนนางเจ้าที่ดินใหม่รวมตัวกันเข้าภายใต้คำขวัญ      คัดค้านศาสนจักรโรมันคาทอลิคของ “ต่างชาติ” ที่เป็น “ปฏิปักษ์กับประชาชาติ”  นับแต่คณะอังกลิกันซึ่งเป็นศาสนาของทางการไปจนถึงกลุ่มคณะเพรสไบที เรียน กลุ่มอิสระ ซึ่งเป็นสาวกนิกายโปรแตสแตนท์อันเป็นศาสนาที่ไม่ใช่ของทางการ   ล้วนรวมตัวกันขึ้นมาคัดค้านกษัตริย์เพื่อป้องกันการฟื้นอำนาจอย่างทั่วด้านของระบอบศักดินาและการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวลชน ที่อาจเกิดขึ้นอีก  

พรรควิกและพรรคทอรี่ตกลงร่วมมือกันก่อการรัฐประหาร   เดือนมิถุนายน 1688  รัฐสภาส่งตัวแทนไปประเทศฮอลแลนด์  เชิญเจ้าชายวิลเลี่ยมที่ 3 แห่งราชวงศ์ออร์เรนจ์ (1650-1702)   ราชบุตรเขยของเจมส์ที่ 2 ซึ่งขณะนั้นเป็นกงสุลบริหารรัฐบาลของฮอลแลนด์มาสืบราชบัลลังก์ของอังกฤษ    เดือนพฤศจิกายน วิลเลี่ยมนำกองทัพยกพลขึ้นบกที่อังกฤษ   เจมส์ที่ 2  ไม่ทันได้ต่อต้านก็หนีเตลิดไปอยู่ฝรั่งเศส    เดือนกุมภาพันธ์ 1689  รัฐสภาประกาศสถาปนาวิลเลี่ยมเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ   พระชายาของพระองค์เป็นราชินี   ผ่านจากการต่อสู้ฟื้นอำนาจและต้านการฟื้นอำนาจหลายครั้งหลายหน    ในที่สุด อังกฤษก็สามารถสถาปนาระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญของชนชั้นนายทุนขึ้น การรัฐประหารครั้งนี้  ชนชั้นนายทุนเรียกมันว่า  “การปฏิวัติที่มีเกียรติ” จบตอนที่ 8

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 7

ตอนที่ 7
สงครามกลางเมืองครั้งที่สองกับการสถาปนาสาธารณรัฐ
ในขณะที่ภายในกองทัพมีการต่อสู้กันอยู่นั้น   อิทธิพลปฏิกิริยาก็ได้เงยหัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง    ปลายปี 1647 กษัตริย์ลอบหนีออกจากที่คุมขัง  แต่หนีไปถึงเกาะไวท์ก็ถูกจับตัวได้อีก   เนื่องจากเกรงว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนจะมีกระแสสูงขึ้น  กลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์และกลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของอังกฤษต่างก็ส่งคนไปเจรจากับกษัตริย์ชาร์ลส์ เพื่อทำข้อตกลงลับกัน      ฤดูใบไม้ผลิปี 1648  พวกนิยมกษัตริย์ได้อาศัยปัญหาทุพภิกขภัยและความยากลำบากทางเศรษฐกิจ    ได้ก่อการจลาจลในท้องที่ต่างๆ เช่นลอนดอน  เวลส์  และเคนต์   มีเรือรบหลายลำแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายนิยมกษัตริย์    เดือนกรกฎาคม  กองทัพสก๊อตแลนด์เคลื่อนกำลังเข้าสู่ภาคเหนือของอังกฤษสนับสนุนการกบฏของกษัตริย์ชาร์ลส์

เบื้องหน้าการคุกคามจากสงครามครั้งใหม่ที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ก่อขึ้น  กลุ่มอิสระจึงตัดสินใจประนีประนอมกับกลุ่มเสมอภาคชั่วคราว   ในที่ประชุมสภากองทัพในเดือนเมษายน 1648   กลุ่มอิสระและกลุ่มเสมอภาคตกลงร่วมมือกันตีทัพฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้ไป   การสู้รบผ่านไปเป็นเวลาหลายเดือนการก่อกบฏในท้องที่ต่างๆของฝ่ายกษัตริย์จึงถูกปราบปรามลงไปได้    สงครามกลางเมืองครั้งที่สองยุติลงด้วยการที่กรุงเอดินบะระของสก๊อตแลนด์ถูกยึดครอง

ขณะที่กองทัพออกจากกรุงลอนดอนเพื่อปราบปรามการกบฏของฝ่ายกษัตริย์นั้น   กลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนก็สร้างฐานะที่ได้เปรียบในรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง   ทั้งดำเนินการเจรจากับกษัตริย์เกี่ยวกับการคืนสู่ราชบัลลังก์    ต้นเดือนธันวาคมกองทัพเคลื่อนกำลังเข้าสู่กรุงลอนดอน  เข้าควบคุมรัฐสภาทำการกวาดล้างสมาชิกรัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนที่วางตัวเป็นศัตรูกับกองทัพจำนวน 140 กว่าคน     ด้วยเหตุจากการกวาดล้างเป็นเหตุให้สมาชิกบางส่วนจงใจไม่เข้าร่วมประชุม       ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมมีเพียง 50-60 คนเท่านั้น  ต่อมารัฐสภาช่วงยาวจึงถูกขนานนามว่า  “รัฐสภาไม่สมประกอบ”

รัฐสภาดำเนินการต่อสู้ต่อไปในปัญหาพิจารณาพิพากษาโทษกษัตริย์ชาร์ลส์   สภาล่างใช้เวลาอภิปรายเกือบหนึ่งเดือนเต็มๆจึงเสนอให้ส่งตัวชาร์ลส์ขึ้นศาลฐานทรยศกบฏชาติ     แต่ว่า สภาสูงซึ่งมีสมาชิกสภาเหลืออยู่เพียง 16 คนกลับใช้สิทธิยับยั้งภายใต้แรงกดดันอย่างหนักของพลทหารและมวลชน   กลุ่มอิสระภายหลังที่ประกาศให้สภาล่างเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดแล้วได้ผ่านมติจัดตั้งศาลสูงพิเศษที่ประกอบด้วยบุคคลจากรัฐสภาและกองทัพรวม 135 คน  ทำการพิจารณาพิพากษาคดีของกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันที่ 6 มกราคม 1649  ถึงวันที่ 27 เดือนเดียวกัน ศาลจึงได้มีคำพิพากษาว่า  ชาร์ลส์แห่งราชวงศ์สจ๊วตเป็นทรราช ผู้ทรยศ  อาชญากร   และศัตรูร่วมของประชาชน  ให้สำเร็จโทษเสีย   วันที่ 30 มกราคม ท่ามกลางเสียงชัยโยโห่ร้องชาร์ลส์ถูกบั่นพระเศียร

ภายหลังกษัตริย์ชาร์ลส์สิ้นพระชนม์รัฐสภาของกลุ่มอิสระได้ผ่านกฎหมายจำนวนมาก  ในการประชุมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม 1649  ได้ยกเลิกสภาขุนนาง   กำหนดให้รัฐสภาที่มีสภาเดียวเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดของประเทศ   และมอบอำนาจบริหารให้กับคณะรัฐมนตรีที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพที่ มี ครอมเวลล์ เป็นผู้นำ    เดือนพฤษภาคมรัฐสภาประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ

กระแสสูงใหม่ของการต่อสู้ช่วงชิงประชาธิปไตยของมวลประชาชน  กลุ่มขุดดิน
ภายหลังสถาปนาสาธารณรัฐกลุ่มอิสระได้ยึดอำนาจรัฐไว้ในมือ    สร้างเผด็จการชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ขึ้น  ในด้านเศรษฐกิจกลุ่มอิสระยังคงดำเนินนโยบายของคณะเพรสไบทีเรียนต่อไป    รีดนาทาเร้นคนยากจน ปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่อย่างสุดกำลัง  ในทางการเมืองปฏิเสธการปฏิรูปใดๆที่จะดำเนินไปอีกขั้นหนึ่ง      เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคมีกระแสสูงขึ้นและการลุกฮือแข็งข้อของพลทหาร  ลิลเบอร์น ประณามคณะรัฐมนตรีอย่างเปิดเผยว่า   มันคือเตียงนอนอันอบ อุ่นของทรราชย์ใหม่   รัฐบาลของกลุ่มครอมเวลล์เป็นราชวงศ์ที่เผด็จการยิ่งกว่า   ป่าเถื่อนยิ่งกว่าราชวงศ์ที่ผ่านมา   เดือนมิถุนายน  ลิลเบอร์นกับมิตรร่วมรบของเขาส่วนหนึ่งถูกจับ  

เพื่อจะทำลายกลุ่มเสมอภาคในกองทัพ  ครอมเวลล์ ตัดสินใจส่งพวกเขาไปปราบปรามการลุกขึ้นสู้ทางประ ชาชาติของไอร์แลนด์   กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้ชนิดมาไม้ไหนไปไม้นั้น พวกเขาเสนอให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงตกเบิก   คัดค้านการส่งทหารไปยังไอร์แลนด์และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเป็นต้น    พวกเขาดำเนินการปลุกระดมในกองทัพ    เดือนพฤษภาคมกองทหารบางกรมกองที่ถูกส่งไปยังไอร์แลนด์ ขณะ  ที่เดินทางไปถึงท้องที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ได้ก่อการลุกฮือแข็งข้อขนานใหญ่   การลุกฮือแข็งข้อของกอง ทหารทำให้รัฐสภาและรัฐบาลตกอกตกใจเป็นกำลัง        ครอมเวลล์เล่นลูกไม้ใหม่โดยยุแหย่ให้เกิดความแตกแยกระหว่างกรมกองต่างๆ   เขาใช้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินตาม “กติกาประชาชน”  เปิดประชุมรัฐสภาใหม่และจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงตกเบิกเป็นเหยื่อล่อ   ไปทำให้หน่วยทหารอีกส่วนหนึ่งอยู่ในความสงบ   ทั้งเสือกใสพวกเขาไปปราบปรามหน่วยทหารที่ลุกขึ้นสู้   ครอมเวลล์  ยังนำหน่วยทหารที่ประกอบด้วยชั้นชนชาวนารวยด้วยตนเองไปทำการปราบปรามกลุ่มเสมอภาคที่ลุกขึ้นสู้อย่างโหดร้าย

ในเวลาเดียวกับที่กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้กับกลุ่มครอมเวลล์นั้นคนยากจนในชนบทก็ดำเนินการต่อสู้ช่วงชิงให้แก้ปัญหาที่ดินตามผลประโยชน์ของชาวนา   ที่เด่นที่สุดในหมู่พวกเขาคือ “กลุ่มเสมอภาคที่แท้ จริง”  หรือ “กลุ่มขุดดิน”   การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคโดยมูลฐานแล้วไม่ได้ล้ำออกนอกขอบเขตการช่วงชิงสิทธิเลือกตั้งทั่วไปของชนชั้นนายทุน    กลุ่มขุดดินเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาวนาที่ยากจนอันกว้างใหญ่ไพศาล      สะท้อนออกซึ่งความคิดลัทธิเฉลี่ยแบบสังคมบรรพกาลที่เรียบๆของชาวนา  พวกเขาเห็นว่าบนผืนดินที่หล่อเลี้ยงด้วยหยาดเหงื่อและหยดเลือดของประชาชน ประชาชนควรได้ไม่เพียงแต่สิทธิ เลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น    หากควรได้รับที่ดินด้วย    ที่ดินที่แต่ละคนครอบครองควรจำกัดแค่ความจำเป็นในการดำรงชีพของแต่ละคนเท่านั้น      ที่ดินของกษัตริย์  ของรัฐ  ของศาสนจักร และของพวกนิยมกษัตริย์จะต้องจัดสรรส่วนหนึ่งมาแบ่งให้ชาวนา     เนื่องจากกลุ่มอิสระก็เช่นเดียวกับกลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนไม่ได้    ให้ผลประโยชน์อะไรในทางเป็นจริงแก่ชาวนา   ชาวนาที่ยากจนจึงลงมือแก้ปัญหาที่ดินด้วยตนเอง

นักคิดและผู้นำของกลุ่มขุดดินคือ   เจอร์ราด   วินสแตนเลย์(Gerrard Winstanley 1609-1652)  เขาเป็นพ่อค้าย่อยที่ล้มละลายในกรุงลอนดอน       ต่อมาไปเป็นชาวนารับจ้างในแคว้นเซอเรย์ใกล้ๆกรุงลอนดอน    วินสแตนเลย์ ดำเนินการเคลื่อนไหวในนามคนยากคนจนที่ถูกกดขี่ทั้งปวงของอังกฤษ   โฆษณาความคิดลัทธิเฉลี่ยแบบสังคมบรรพกาล     เรียกร้องให้ทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนในการถือครองที่ดิน  มีความคิดเห็นว่าคนทุกคนล้วนต้องออกแรงทำงาน  มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านสิทธิผลประโยชน์  กลับไปสู่ภาวะธรรมชาติของระบอบถือครองที่ดินโดยส่วนรวม      แต่ว่าเขามีความคิดเห็นว่า  ให้ใช้ “ความรัก” และการกระทำที่เป็นแบบอย่างไปส่งผลสะเทือนต่อผู้อื่น     คัดค้านการใช้กำลังไปทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน      เพ้อฝันจะผ่านโครงการปฏิรูปสังคมแบบยูโธเปียไปทำให้ระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะปรากฏเป็นจริงขึ้น       เขายังเห็นว่าไม่เพียงแต่คนยากคนจนเท่านั้นที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดินแม้แต่พวกเจ้าของที่ดิน   เมื่อได้รับรู้ถึงลักษณะชอบธรรมในการ เคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดินแล้วก็ล้วนจะต้องยอมสละที่ดินของตนเอง   คำเทศนาโวหารเกี่ยวกับความรักของวินสแตนเลย์ได้ลดทอนประกายที่คมกล้าของความคิดปฏิวัติของเขาลงไปไม่น้อย

เดือนเมษายน 1649  ชาวนากลุ่มหนึ่งได้ไปบุกเบิกที่ดินที่ภูเขา เซนต์จอร์จ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆกรุงลอนดอน   พวกเขาทำงานด้วยกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน  ขนานนามตนเองว่า “พวกขุดดิน”  ต่อมาในท้องที่ต่างๆเช่น   นอร์ทแธมป์ตัน   บักกิ้งแฮม    กลอสเตอร์   ฮันติงตัน   แลงคาเซียร์   ลินคอร์น ฯลฯ   ล้วนได้ปรากฏการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดิน      การเคลื่อนไหวแม้จะมีลักษณะสันติ ทั้งเป็นการบุกเบิกที่ ดินรกร้างว่างเปล่า  ไม่ได้แตะต้องระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนแต่ยังไม่วายถูกรัฐบาลขับไล่และสั่งห้าม   ต่อมาไม่นานการเคลื่อน ไหวของกลุ่มขุดดินในท้องที่ต่างๆ  ได้ถูกกองทหารปราบปรามลงไปตามลำดับ

การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของไอร์แลนด์ถูกปราบปราม
เกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติคทางภาคตะวันตกของยุโรป  กับสก๊อตแลนด์  และอังกฤษเพียงมีช่องแคบขวางกั้นเท่านั้น  แต่เดิมมีชนเผ่าต่างๆของชนชาติเคลท์อาศัยอยู่     นับแต่ครึ่งหลังศตวรรษที่ 12 อังกฤษก็เริ่มรุกรานเข้าสู่ไอร์แลนด์   ถึงศตวรรษที่ 16  ก็เริ่มทำการแย่งยึดที่ดินขนานใหญ่   พระเจ้าเจมส์ที่ 1 เคยริบที่ดินในไอร์แลนด์ถึงสามล้านเอเคอร์    ชาวอังกฤษและชาวสก๊อตแลนด์พากันย้ายถิ่นฐานไปอยู่อัลสเตอร์ภาคเหนือของไอร์แลนด์      ท้องที่แห่งนี้จึงกลายเป็นฐานที่มั่นของอังกฤษในการปกครองไอร์แลนด์   ในขณะที่ สตราฟฟอร์ท ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ในปี 1633-1639นั้น   ได้ดำเนินการปกครองแบบอาณานิคมที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุด  เป็นเหตุให้เกิดการลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของชาวไอร์แลนด์ ในปี 1641 เพื่อการสร้างชาติที่เป็นเอกราช     การลุกขึ้นสู้ภายใต้การนำของ “สหพันธ์โรมันคาทอลิค”  ได้ปะทุขึ้นที่อัลสเตอร์เป็นแห่งแรก  ไม่นานก็ลุกลามไปทั่วทั้งเกาะ

เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของไอร์แลนด์และพิชิตไอร์แลนด์ในที่สุด   ปี 1642 รัฐสภาช่วงยาวได้ผ่านมติให้ริบที่ดินค่อนข้างดีของไอร์แลนด์จำนวนสองล้านห้าแสนเอเคอร์เป็นค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทหารที่ทำศึกในไอร์แลนด์  โดยวิธีจำหน่ายโฉนดที่ดินก่อน   แล้วตีราคาต่ำที่สุดขายให้แก่ชนชั้นนายทุนใหญ่และขุนนางใหม่ของอังกฤษ   แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองระเบิดขึ้น   โครงการพิชิตไอร์แลนด์จึงถูกพักไว้ชั่วคราว ค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพที่ออกศึกในไอร์แลนด์ ซึ่งรวบรวมมาได้ถูกเปลี่ยนไปใช้ในสงครามกลางเมือง   หลังจากที่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในอังกฤษถูกปราบลงในปี 1649 แล้ว  เดือนสิงหาคม ครอมเวลล์ ก็ยกทัพไปตีไอร์แลนด์       นี่เป็นสงครามล่าเมืองขึ้นครั้งแรกของสาธารณรัฐอังกฤษ   มันได้นำภัยพิบัติมาสู่ประชาชนไอร์แลนด์อย่างแสนสาหัส      ในระยะเว ลานับตั้งแต่ปี 1649-1652  เป็นเวลา 3 ปีที่กองทหารอังกฤษเข้ารุกรานไอร์แลนด์    ทำให้ประชากรไอร์แลนด์ลดลง 610,000 คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,460,000 คน  ที่ดินจำนวนมากถูกแย่งยึด

การฟื้นอำนาจครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้
ปี 1648  ในขณะที่การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษขึ้นสู่กระแสสูงนั้น   รัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์  วิตกว่าการขยายตัวของการปฏิวัติจะกระตุ้นให้ชาวนาในสก๊อตแลนด์ลุกขึ้นสู้  สั่นคลอนฐานะการปกครองของพวกเขา      จึงหันเข้าหาค่ายนิยมกษัตริย์ฝากความหวังไว้กับราชวงศ์สจ๊วต ปี 1649 ภายหลังที่ชาร์ลส์ที่ 1 ถูกสำเร็จโทษไม่นาน    พวกขุนนางและชนชั้นนายทุนของสก๊อตแลนด์หลังจากได้รับคำมั่นสัญญาจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ที่หนีตายไปอยู่ฮอลแลนด์ว่า ยินดีจะให้คณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์เป็นศาสนาของทางการและคำมั่นสัญญาอื่นๆ    แล้วก็ประกาศสนับสนุนชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์   ทั้งสมคบกับพวกนิยมกษัตริย์ในอังกฤษเตรียมโค่นล้มสาธารณรัฐ  บรรลุซึ่งการฟื้นอำนาจราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษ     ปี 1650 ชาร์ลส์ที่ 2 กลับถึงสก๊อตแลนด์

สาธารณรัฐอังกฤษเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันคับขัน รัฐสภาจึงเรียกตัวครอมเวลล์กลับจากไอร์แลนด์   แต่งตั้งเขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปราบสก๊อตแลนด์      ครึ่งปีแรกของปี 1650 สง ครามอาณานิคมต่อไอร์แลนด์ของอังกฤษสิ้นสุดลงโดยพื้นฐาน    ครอมเวลล์ได้จัดหน่วยทหารภายใต้การบังคับบัญชาให้ตั้งประจำอยู่ในไอร์แลนด์เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวไอร์แลนด์ต่อไป   ส่วนตนเองกลับสู่อังกฤษ นำกองทหารเข้าบุกสก๊อตแลนด์ต่อไป   เดือนกันยายน 1650  ขณะที่กองทหาร 2 กองสัประยุทธ์กันที่ แดนบาร์ นั้น       ครอมเวลล์นำกำลังเข้าโจมตียังความเสียหายแก่กองทหารสก๊อตแลนด์อย่างหนัก  

เดือนกันยายน 1651  ชาร์ลส์ที่ 2 นำทัพด้วยตนเอง    หลีกเลี่ยงการปะทะซึ่งหน้ากับกำลังหลักของครอมเวลล์ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก  แล้วเดินทัพเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกมุ่งหน้าสู่ไอร์แลนด์   มุ่งหวังจะเข้าตีกรุงลอนดอน  ได้เกิดการรบขั้นแตกหักขึ้นที่วูสเตอร์    ชาวนาถือการกลับมาของชาร์ลส์ที่ 2 เป็นการซ้ำรอยภัยพิบัติในสมัยชาร์ลส์ที่ 1   จึงพากันจับอาวุธขึ้นโถมตัวเข้าสู่การสู้รบ    ทหารบ้านเฉพาะมาจากแคว้นอีสเซ็กซ์และแคว้นซัฟโฟล์คก็มีถึง 3,000 คน ครอมเวลล์ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาที่ติดอาวุธจึงเปลี่ยน สถานการณ์จากรับเป็นรุก   กองทหารของชาร์ลส์ถูกทำลายเรียบ   ชาร์ลส์ที่ 2 หนีเอาตัวรอดไปอยู่ต่างประ เทศ   ความมุ่งหวังฟื้นอำนาจราชวงศ์เก่าครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้ลง

สาธารณรัฐหลังจากได้พิชิตสก๊อตแลนด์แล้ว  ก็ได้ริบที่ดินจำนวนมากจากขุนนางใหญ่และพวกนิยมกษัตริย์ส่วนหนึ่งให้เป็นรางวัลแก่นายทหารชั้นสูง      อีกส่วนหนึ่งขายให้แก่ชนชั้นนายทุนอังกฤษและสก๊อตแลนด์   โดยเฉพาะหลังจากพิชิตไอร์แลนด์แล้ว        สาธารณรัฐได้ริบที่ดินของพวกลุกขึ้นสู้อย่างขนานใหญ่ทำให้ ที่ดิน 2 ใน 3 ของไอร์แลนด์  เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปอยู่ในมือของผู้ถือครองอังกฤษ   ที่สำคัญคือตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนใหญ่และนายทหารชั้นสูงและชั้นกลางในเขตเมืองลอนดอน   ก่อรูปเป็นชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินอังกฤษ      ตัวครอมเวลล์เองได้ครอบครองที่ดินชั้นดีในไอร์แลนด์ถึง 1,000 เอเคอร์   ชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินนี้ได้กลายเป็นเสาค้ำของอิทธิพลปฏิกิริยาอังกฤษ   ได้กุมอำนาจรัฐ  และพยายามจะฟื้นระบอบขุนนางอังกฤษตามประเพณีดั้งเดิม

นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐ
นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐเผด็จการชนชั้นนายทุนของกลุ่มอิสระทั้งหมดวางอยู่บนจุดพื้นฐานเหล่านี้คือ   ละเลยผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้พิทักษ์รักษาสาธารณรัฐ  โดย เฉพาะอย่างยิ่งคือละเลยผลประโยชน์ของชาวนา..สร้างเงื่อนไขที่เป็นผลดีต่อการก่อร่างสร้างตัวเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ที่ได้อำนาจรัฐแล้ว   รัฐบาลได้จัดการขายที่ดินจำนวนมากที่ริบมาจากราชสำนัก..พวกนิยมกษัตริย์และศาสนจักรด้วยวิธีแบ่งขายเป็นแปลงใหญ่และตีราคาสูง  คนยากคนจนไม่มีปัญญาซื้อได้    ฉะนั้นจึงตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่  

รัฐสภายังนำเอาไร่สวนของพวกนิยมกษัตริย์ปูนบำเหน็จแก่พวกชั้นบนของกองทัพ   ตัวครอมเวลล์เองก็ได้มา 2 แปลงที่สามารถทำรายได้ปีละ 7,000 ปอนด์ขึ้นไป    เจ้าที่ดินคนใหม่จัดการขับไล่ชาวนาออกจากผืนที่ดิน    ภายในประ เทศได้ปรากฏสภาพฉวยโอกาสเก็งกำไรจากการซื้อขายที่ดินอย่างครึกโครม
ในด้านนโยบายต่างประเทศ   เพื่อแย่งชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าในการค้าขายทางทะเล     ได้ทำการโจมตีฮอลแลนด์ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ   ปี 1651ได้ประกาศใช้ “กฎหมายการเดินเรือทางทะเล” ในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดไว้ว่า  การนำเข้าสินค้าของอังกฤษจะอนุญาตให้เรืออังกฤษหรือของประเทศผู้ผลิตสินค้านั้นเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น    ส่วนสินค้าส่งออกก็อนุญาตให้เฉพาะเรืออังกฤษเป็นผู้ส่ง  "กฏหมายการเดินเรือทางทะเล"  มีผลกระทบโดยตรงต่อฮอลแลนด์ซึ่งดำเนินกิจการขนส่งทางทะเลโดยเฉพาะ ด้วย เหตุนี้ ฮอลแลนด์กับอังกฤษจึงได้ทำสงครามกันเป็นเวลา 2 ปี (1652-1654)      ผลของสงครามคือฮอล   แลนด์เป็นฝ่ายแพ้  จึงถูกบีบให้รับรอง “กฎหมายการเดินเรือทางทะเล”   จากนั้นมา  การค้าขายทางทะเลและกิจการเดินเรือของอังกฤษก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จบตอนที่ 7