7..การโต้กลับของชนชั้นนายทุน
“พรรคประชาชนสามัคคีได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียง
36% ในการเลือกตั้งวันที่
4 กันยายน ภายหลัง การลอบสังหารนายพล เรเน ชไนเดอร์ ผู้บัญชาการกองทัพ ในวันที่ 5
เดือนเดียวกัน ประธานาธิบดี อาเยนเด
สันนิษฐานว่าการดำรงตำแหน่งของตนกำลังเผชิญกับความยุ่งยากและการถอนตัวของชนชั้นนายทุน กองทัพเองก็พยายามอย่างเต็มที่ว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการลอบสังหารครั้งนี้ ไม่มีทหารแม้แต่คนเดียวที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และเริ่มใช้นโยบายทั่วๆไป 40 เรื่อง เมื่อรัฐบาลบริหารงานมาได้ 5
เดือนก็มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นซึ่งพรรคประชาชนสามัคคีชนะได้รับการเลือก ตั้งมากกว่า
50 %
เมื่อเป็นเช่นนี้
ผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีจึงต้องสูญเสียโอกาสที่ดีเลิศในการเปลี่ยนแปลงสังคมชิลีโดยสันติ การเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ชัยชนะที่ได้ครองเสียงข้างมากอย่างเป็นกอบเป็นกำนั้นเท่ากับว่าเป็นการปล้นโอกาสของพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนที่จะใช้วิธีการตามกฏหมายเพื่อออกกฏหมาย
สกัดกั้นพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมและข้อเรียกร้องของชนชั้นกรรมกรชาวนาต่อรัฐบาลที่ให้ดำเนินการขจัดอำนาจของเจ้าที่ดินและชนชั้นนายทุนชิลี......ติดอาวุธให้แก่กรรมกรและชาวนาในการปกป้องประชาธิปไตยของพวกเขา
รวมไปถึงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย... จัดตั้งสภาประชาชนของกรรมกร-
ชาว นา – ทหาร – แม่บ้าน – และเจ้าของกิจการรายย่อย เพื่อบริหารจัดการผลิตผล ตรวจสอบและดำรงไว้ซึ่งผลพวงของการปฏิวัติ กระจายการจัดตั้งสภาเช่นนี้ไปทั่วทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศให้ทุกๆระดับจะมีธรรมนูญเป็นของตนเอง เพื่อเป็นองค์กรอำนาจอย่างแท้จริงของชนชั้นกรรมกรและชาวนาแห่งชิลีด้วยการใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยตลอดไป เมื่อเผชิญกับการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะปฏิวัติเช่นนี้ ชนชั้นปกครอง ทหารระดับสูง
และบรรดาข้ารัฐการ จะต้องถูกแขวนอยู่กลางอากาศโดยไม่มีพื้นฐานทางสังคมมาสนับสนุน ทำให้ต้องเสียโอกาสที่ดีไปและเป็นการผ่องถ่ายอำนาจไปสู่มือของพวกปฏิกิริยา
อภิสิทธิ์ชนชิลีใช้สิ่งพิมพ์ในการควบคุมของตน ..จากการสนับสนุนของ CIA เริ่มทำการตอบโต้ในหน้าหนังสือพิมพ์ เอล เมอร์คูริโอ พรรค คริสเตียน เดโมแครท
ได้รณณรงค์ต่อต้านรัฐบาลหนักขึ้น
โดยเป็นพันธมิตรกับพรรค ชาตินิยม (Nationalist
Party)
“เรียกร้องให้ปลดอาวุธกลุ่มติดอาวุธทุกๆกลุ่ม” โดยตรรกะของพวกเขาแล้วพวกที่ว่านี้..ย่อมหมายถึงกลุ่มปีกซ้าย ส่วนกลุ่มแก๊งฟาสซิสต์ขวาจัดที่ขนอาวุธออกมาอาละวาดก่อภัยร้ายตามท้องถนนกลับได้รับการอภัยโทษทั้งหมด
ด้วยวิธีเช่นนี้พรรค คริสเตียน เดโมแครท
จึงได้ตั้งกลุ่มที่คล้ายๆกับกรรมกรขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งเป็นรูปแบบการขัด ขวางที่ถูกกฎหมายอย่างเป็นระบบและติดอาวุธให้แก่กลุ่มอันธพาลทางการเมือง
“ปิตุภูมิและเสรีภาพ” เพื่อทำการก่อกวนบนท้องถนน
พวกนายทุนและเจ้าที่ดินได้บ่อนเซาะทำลายเศรษฐกิจของชาติ จักรวรรดินิยมอเมริกาตัดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่รัฐบาลอาเยนเด และพยายามดำเนินการไปทั่วโลกให้คว่ำบาตรสินแร่ทองแดงของชิลี การสร้างชาติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทีละอย่างโดยไม่มีแผนเศรษฐกิจนั้น ทำให้เกิดการชะงักงัน สิ่งนี้ได้กระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอย่างรุนแรง
ส่งผลต่อการเพิ่มค่าจ้างโดยทันทีและมีผลกระทบค่อนข้างร้ายแรงต่อชนชั้นกลาง คะแนนนิยมของชนชั้นกลางที่มีต่อรัฐบาลใหม่จึงลดลงอย่างรวดเร็วจนกลายไปเป็นการต่อต้านแทน
การรุกของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติเริ่มจากการนัดหยุดงานของบรรดาเจ้าของกิจการรถบรรทุกเมื่อเดือน
ตุลาคม 1972 มวลชนกรรมกรเข้าใจดีถึงอันตรายจึงตอบ โต้ด้วยการเคลื่อนไหวใหญ่ และประสบผลสำเร็จในการทำลายความพยายามของการต่อต้านการปฏิวัติไม่ให้ประสบผล แต่กลุ่มผู้นำรัฐบาลมีปฏิกิริยาอย่างไร? รัฐบาลได้สับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีโดยมีตัวแทนของทหารเข้าร่วมด้วย
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชัยชนะซึ่งได้มาจากการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรต้องพ่ายแพ้ลงอันเนื่องมาจากความล้มเหลวและการมีสายตาที่ไม่ยาวไกลของกลุ่มผู้นำนักปฏิรูป
“กองทัพจึงถูกขนานนามว่าเป็นอนุญาโตตุลาการในการต่อสู้ซึ่งถือเสมือนว่าได้รับรางวัลไปเรียบร้อยแล้ว” เซปูลเวดา
ให้ข้อคิดเห็นด้วยความขมขื่น
คณะกรรมการกลางของพรรคสังคมนิยมชิลี
ได้กล่าวถึงความเดือดดาลของชนชั้นกรรมกรในการยอมจำนนของรัฐบาล และประท้วงต่อต้านผลที่ออกมาซึ่งเป็นการหักหลังต่อชัยชนะของเราในการชี้ขาดของกระบวนการ” (Socialismo Chileno p. 40)
การวางแผนรัฐประหาร
ระหว่างการหยุดงานเมื่อเดือนตุลาคมและ
4 มีนาคม ซึ่งเป็นระยะ 4
เดือนของการตระเตรียมการต่อ ต้านการปฏิวัติ
การโฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้าน “การขาดแคลนอาหาร” และเรื่อง “ตลาดมืด” เป็นการสร้างสถานการณ์จอมปลอมโดยกลุ่มนายทุน ในเวลาเดียวกัน พวกปฏิกิริยาก็ได้สมคบคิดกันวาง
แผนยกระดับสถานการณ์ขึ้นในค่ายทหาร
ในภาวะเช่นนี้กลุ่มผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีก็ยังยืนยันหัวชนฝาที่จะดำเนินโครงการปฏิรูปของตนอย่างไร้เหตุผล ด้วยความเชื่อมั่นใน ”ความภักดี” และ “ความรักชาติ” ของบรรดานายพลทั้งหลาย
แสดงให้เห็นถึงการไร้ความสามารถในการสกัดกั้นการรุกของพวกฝ่ายขวา แม้จะมีทุกสิ่งทุกอย่างในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม
1973 พรรคประชาชนสามัคคีได้รับคะแนนเสียง
44% “เป็นครั้งแรกที่ประชาชนมองว่าเป็นชัยชนะที่สร้างความตื่นตะลึงให้แก่ศัตรู
นี่เป็นช่วงเวลาที่จะก้าวไปสู่การรุกซึ่งถือว่าเป็นเรื่องเฉพาะหน้าของพรรคสังคมนิยม แต่ก็ไม่มีการรุกแต่อย่างใด”
(Socialismo Chileno p. 40/41)
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรรดากรรมกรที่เป็นสมาชิกของทั้งพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิว นิสต์มีความปรารถนาที่จะรุก มวลชนกรรมกรคอยคำสั่งจากบรรดาผู้นำของตนและพร้อมที่จะเดินสู่ถนนและทำ ลายพวกปฏิกิริยาให้สิ้นซาก พวกเขาร้องขออาวุธ แต่สิ่งที่ได้รับก็คือคำกล่าวที่รื่นหู คำมั่นสัญญา เรียกร้องให้อยู่ในวินัย ใ ห้มีความรับผิดชอบ และให้ใจเย็นๆ อย่างที่เซปูลเวดาได้กล่าวเอาไว้เมื่อเดือนมีนาคม 1973 ว่า ชนชั้นกรรมาชีพ “ไม่ต้องการสิ่งใดมากไปกว่าการได้มาซึ่งอำนาจ” (Socialismo Chileno p. 41) ถ้อยคำในเอกสารของพรรคสังคมนิยมกล่าวอ้างแต่แรกว่า “ รัฐบาลพรรคประชาชนสามัคคี ไม่สามารถเผชิญกับการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นนายทุนได้ เพราะความเป็นนักปฏิรูป เพราะการแก้ไขสถานการณ์ปฏิวัติของชิลีด้วยการจัดการกับการแสดงออกของมวลชนที่ต้องการให้การรุกครั้งนี้ให้จบลง และพยายามประนีประนอมเพื่อยืดเวลาออกไปในสถานการณ์ที่กำลังจะรับมือไม่ไหวแล้ว”
ชนชั้นกรรมกรที่เป็นฐานของพรรคสังคมนิยม มีจิตสำนึกทางชนชั้นโดยพื้นฐาน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่มีคนในกองทัพเข้าร่วมในคณะรัฐบาล ในด้านนี้..กรรมกรสังคมนิยมได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีความเข้าใจเป็นอย่างดีมากกว่าบรรดาผู้นำ...ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในบ้านเมือง
การยอมจำนนของกลุ่มผู้นำพรรคประชาชนสามัคคีในเดือนพฤศจิกายนเป็นเพียงสิ่งกระตุ้นความอยากของพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติเท่านั้น การเลือกตั้งเดือนมีนาคมดูเหมือนว่าจะมีผลเพียงยืดความตายออกไป
ถ้ามันขึ้นอยู่กับการนำโดยเฉพาะแล้ว การต่อต้านการปฏิวัติในชิลีได้รับชัยชนะไปแล้วเมื่อเกือบปีที่ผ่านมา เป็นความโชคดีที่ยังมีพลังขนาดมหึมาของมวลชนกรรมกรที่เคลื่อนไหวต่อสู้อยู่
เป็นเหตุให้พลังของพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติเกิดความลังเลใจ ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ ลอว์เรนซ์
ไวท์เฮด ได้เขียนบทความลงใน
หนังสือพิมพ์ เดอะ อีโคโนมิสต์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1973 ว่า
“ถ้ากองทัพชิลียังรีรออยู่จนถึงบัดนี้
คำอธิบายคงไม่ใช่การค้นคว้าหาลักษณะพิเศษของชาติที่เป็นจารีต แต่ที่น่ากลัวก็คือพลังสะสมที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของมวลชนกรรมกรในปัจจุบัน
ข้อพิสูจน์ของพลังอันมหาศาลนี้คือความล้มเหลวของ
“ความเติบใหญ่ของรถถัง” ในวันที่ 29 มิถุนา
ยน ในเวลานั้นกรรมกรนับหมื่นประกาศหยุดงาน
ยึดโรงงานและตั้งรั้วเพื่อรักษาพื้นที่ยึดครอง เดินขบวนไปยังจัตุรัส เดอ ลา โมเดนา
ซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาล
“นี่เป็นโอกาสพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่มีเปรียบในการนัดหยุดงาน” เซปูลเวดา กล่าวว่า “ชาวนาเฝ้าติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดและเต็มไปด้วยความระมัดระวัง
สมาชิกรัฐสภาปีกขวายืนตัวสั่นอยู่บนระเบียงรัฐสภา”
และผู้นำมีปฏิกิริยาอย่างไร? อาเยนเด ได้ขอร้องให้กรรมกรกลับเข้าทำงาน
ตำรวจถูกส่งมาให้ทำการสลายมวลชนที่เตร็ดเตร่ไปมาอย่างไร้จุดหมายไปตามท้องถนนของเมืองหลวงโดยไม่มีทิศทางหรือการนำ
พฤติกรรมเช่นนี้ของรัฐบาลได้สร้างความกระชุ่มกระชวยให้แก่ฝ่ายปฏิกิริยาที่เริ่มทำการ
หยุดงานรอบใหม่โดยเจ้าของรถบรรทุก กรรมกรตอบโต้ด้วยการหยุดงาน 24 ชั่วโมงในวันที่
9 สิงหาคม บทความของ หนังสือ
“มิลลิแตนท์” วันที่ 17สิงหาคม
ได้แสดงความเห็นว่า “ขาดความกล้าหรือความมุ่งมั่นในการต่อสู้”
สิ่งที่ขาดหายไปก็คือการนำ เกือบจะ 3 ปีให้หลัง อโดนิส เซปูล เวดา
ผู้นำพรรคสังคมนิยมได้มองย้อนกลับไปและก็ได้บทสรุปอย่างเดิมที่ว่า
“ฝ่ายนำการเคลื่อนไหวไม่ได้ให้แนวทางใดๆนอกจากมาตรการ ”ตัดลด”
การขาดการนำ
นี่คือโศกนาฏกรรมของชนชั้นกรรมกรชิลี ทั้งๆที่มีพลังมหาศาลอยู่ในมือ
ทั้งๆที่มีจิตใจสู้รบและความกล้าหาญของประชาชนผู้ใช้แรงงาน แต่ผู้นำของพวกเขาได้ทอดทิ้งไปในเวลาที่จะต้องมีการตัดสินชี้ขาด
ในด้านตรงกันข้าม..ตัวแทนของชนชั้นนายทุนได้ทำงานกันอย่างจริงจัง
พวกเขาไม่สนใจ “กฏกติกา” แม้แต่น้อย
พวกเขาสนใจแต่ผลประโยชน์ทางชนชั้นซึ่งเป็นเดิมพันที่พวกเขาจะต้องปกป้องอย่างถึงที่สุด
“ฝ่ายศัตรูรู้อยู่เสมอว่าจะต้องทำอะไร“ เซปูลเวดา กล่าวเสริม “เขาได้ถอนตัวเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประ
ประสงค์ของตนตามสภาพและเงื่อนไขในขณะนั้น
ในกรณีที่ขัดแย้งกับพรรคประชาชนสามัคคีไม่ได้ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสใดๆโดยพื้นฐาน พวกเขาได้เตรียมก่อรัฐประหารอย่างจริงจังและด้วยความมุ่งมั่นและได้สร้างสถานการณ์ให้เอื้ออำนวยต่อตนเองอย่างที่สุด.. โดยทำให้เกิดความสับสนและความขัดแย้งในการบริหารงานของรัฐบาลเพื่อให้การนำเกิดความชะงักงัน
เป็นไปได้ที่..เซปูลเวดา
อาจจะกล่าวเกินจริงไปบ้างเกี่ยวกับความเฉลียวฉลาดและการมีสายตาที่ยาวไกลของชนชั้นปกครองชิลี
แต่สิ่งที่จริงแท้แน่นอนก็คือ...ถ้าผู้นำของชนชั้นกรรมกรชิลีได้เคลื่อนไหว
แสดงบทบาทออกมาเพียงแค่เศษเสี้ยวด้วยการเอาจริงเอาจังในการปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นผู้
ใช้แรงงาน...เหมือนเช่นที่นักการเมืองชนชั้นนายทุนได้กระทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขาแล้วละก้อ ชนชั้นกรรมาชีพชิลีคงจะสวามารถก้าวขึ้นสู่อำนาจได้ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว
แต่อาจจะเป็นสามหรือสี่ครั้งในขณะที่พรรคประชาชนสามัคคีครองอำนาจอยู่
เงื่อนไขอยู่ที่ว่า..ความต้องการที่จะต่อสู้นั้นมีอยู่
..เพียงแต่ขาดการนำโดยนักปฏิวัติที่ยึดมั่นในแนวทางของลัทธิมาร์กซ–เลนิน
ที่มีความมุ่งมั่นและมีความสามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง
ความพยายามของ
อาเยนเด และผู้นำคนอื่นๆของพรรคประชาชนสามัคคี เพื่อให้บรรลุข้อตกลงกับกลุ่มปฏิกิริยาโดยได้ข้อสรุปในข้อตกลงกับพรรค
คริสเตียน เดโมแครทและเปิดทางให้กองทัพได้เข้ามามีส่วนร่วมในรัฐบาล เท่านี้ก็สร้างความสับสนให้แก่ชนชั้นกรรมกรและเป็นการสนับสนุนพวกปฏิ
ปักษ์ปฏิวัติ ผู้มีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบในนโยบายนี้คือ
คอร์วาลัน และฝ่ายนำของพรรคคอม มิวนิสต์
กล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่กดดัน อาเยนเด และฝ่ายนำสังคมนิยมให้เดินไปสู่เส้นทางหายนะเส้นนี้หลังจากล้มเหลวในการพัฒนารถถังในเดือนมิถุนายน
ที่น่าขันก็คือ คอร์วาลัน ได้แสดงสุนทรพจน์ในวารสาร “ลัทธิมาร์กซวันนี้”
ของพรรคคอมมิวนิสต์อังกฤษในเดือน กันยายน 1973 ที่กล่าวยกย่อง “ผู้บัญชาการกองทัพที่ได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเด็ดขาด(การก่อรัฐประหาร
และฆาตกรรมประธานาธิบดี อาเยนเด โดยนายพล ปิโนเช่) และความภักดีของบรรดาเหล่าทัพและตำรวจ”
คอร์วาลัน
ตอบคำถามในหนังสือพิมพ์ มิลลิเทีย ของกรรมกรด้วยความเดือดดาล..ที่แนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ถูกปฏิเสธ
“ไม่เป็นไรหรอกท่านสุภาพบุรุษ..เราจะยังคงให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อทหารอาชีพและสถาบันทหาร ศัตรูของพวกเขาไม่ใช่ประชาชนแต่เป็นกลุ่มปฏิกิริยา” “อาเยนเด เองและผู้นำพรรคสังคมนิยมก็ต้องรับผิดชอบอย่างมากในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย.. ที่ยอมรับนโยบายเช่นนั้น ตัวอย่างเช่น
วันที่ 24 มิถุนายน เขาได้เรียกร้องผู้สนับสนุนให้รับรองการเจรจากับกลุ่มการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ซึ่งก็มีความต้องการให้ประเทศมีการเปลี่ยนแปลง”
(เรื่องนี้ได้พาดพิงถึงพรรค คริสเตียน เดโมแครท
ในขณะนั้นคือผู้สนับสนุนกลุ่มฟาสซิสต์ที่แท้จริง) และ “เตือนเรื่องการคัดค้านกองทัพว่าเป็นพวกปฏิกิริยาอย่างมีจำแนก เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียง5วันก่อนที่ทหารจะลากรถถังออกมาทำรัฐประหารเมื่อวันที่
29 มิถุนายน
เป็นที่เชื่อได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า
ความตั้งใจของ ซัลวาตอร์ อาเยนเด
และผู้นำคนอื่นๆในพรรคประชาชนสามัคคีนั้นเป็นไปด้วยความสัตย์ซื่อ พวกเขามีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะ”เปลี่ยนผ่านโดยปราศจากความสูญเสียและบอบช้ำ”
ของสังคม
แต่โชคร้ายสำหรับการปฏิวัติสังคมนิยม
ความตั้งใจดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ
เหมือนอย่างคำกล่าวที่ดีเลิศของผู้นำ( ภายใน) ของพรรคสังสังคมนิยมชิลี ที่ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร “นูโว คลาริดาด”
ของชาวลัทธิมาร์กซ เสปน ฉบับที่ 24 เมษายน 1978 ว่า “ถ้ากระบวนการถูกวัดโดยความตั้งใจ เราจะขอกล่าวว่าความตั้งใจของพรรคประชาชนสามัคคีนั้นคือปราการลัทธิสังคมนิยมของชิลี ถึงแม้ว่าเรามีแต่ลัทธิฟาสซิสต์และระบอบเผด็จการก็ตาม”
ทุกวันนี้
ผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีบางคมที่ลี้ภัยพยายามจะพิสูจน์ว่าตัวเองตามเส้นทางนี้โดย
ประมาณว่า “ถ้าเราสู้ย่อมจะเกิดสงครามกลางเมืองและนองเลือด ผู้คนจะล้มตายนับหมื่น “ ช่างเป็นถ้อยคำที่น่าสมเพชเสียนี่กระไรสำหรับปัจจุบันนี้ กรรมกรและชาวนานับหมื่นๆ..ชนชั้นกรรมกรชั้นเลิศ ได้ถูกทำลายอย่างขุดรากถอนโคน ถูกทรมาน ถูกคุมขังอย่างเข้มงวดในค่ายกักกันหรือไม่ก็
“สาบสูญ” ไปอย่างไร้ร่องรอย แต่ก็ยังคงมีประชาชนผู้ดื้อรั้นอีกมากที่ต้องจ่ายให้กับการ
“หลีกเลี่ยงความรุน
แรง” แน่นอน....ไม่มีชาวสังคมนิยมคนใดต้องการความรุนแรง เราต้องการเปลี่ยนผ่านแบบสันติ
โดยปราศจากความบอบช้ำ
แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างจากประวัติศาสตร์ว่า ไม่มีชนชั้นปกครองคนใดในประวัติศาสตร์ที่จะยอมสูญเสียอำนาจ
และอภิสิทธิ์ของตน
โดยไม่มีการต่อสู้ และเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีกติกาอีกด้วย!!!!
กรรมกรชาวสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ต้องการต่อสู้กับพวกปฏิกิริยา
เป็นความจริงที่แจ่มชัดคือการประท้วงเมื่อวันที่ 4 กันยายน เมื่อกรรมกร 800,000 คน
พวกเขาหลายๆคนติดอาวุธเดินขบวนไปตามถนนในเมืองซานติอาโก(เดอ ชิลี) เซปูลเวดา
บรรยายสถานการณ์ดังต่อไปนี้ : “คนจนแถบชานเมือง ชาวนา
แม่บ้าน และผู้ที่ยากจนค่นแค้นจำนวนมากที่ไม่ใช่สมาชิก(ของสหภาพแรงงาน) แต่พวกเขาล้วนเป็นพลังทางสังคมของพรรคประชาชนสามัคคี
วันที่
29 มิถุนายน
พวกเขาได้ตอบโต้ความพยายามที่จะรัฐประหารโดยการประท้วงอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐต้องใช้เวลามากกว่า5
นาทียืนอยู่บนหน้ามุขพระราชวังโมเนดา
ก่อนที่จะกล่าวปราศรัยท่ามกลางเสียงเสียงกระหึ่มของมวลชนที่เรียกร้องให้ยุบสภา วันที่ 4 กันยายน 7
วันก่อนรัฐประหารในทุกๆเมืองและหมู่บ้านของชิลี มวลชนได้ออกมาสนับสนุนรัฐบาลอย่างหนาแน่น ในกรุงซานติอาโก มีจำนวนถึง 800,000คน
ที่กระสับกระส่ายและมีความกระตือรือร้น ประท้วง และเรียกร้องตระโกน
ตีให้หนัก! ตีให้หนัก !เราต้อง การมาตรการที่เข้มข้น! สร้างกำลังประชาชนขึ้นมา!!! อาเยนเด!
อาเยนเด+ ประชาชนจะปกป้องท่าน!!! “ ('Socialism
Chileno', pp36-37).
กรรมกรชิลีมีความมั่นใจต่อผู้นำของพวกเขา ได้เรียกร้องขออาวุธและแผนการต่อสู้
แทนที่จะเป็นแค้ท่อนไม้..หากมวลชนกรรมกรเหล่านี้ได้รับการติดอาวุธ แม้ว่าจะมีจำนวนไม่มากนักและไม่ค่อยมีคุณภาพสักเท่าใด....วันนี้ประวัติศาสตร์ของชิลีในอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยรากฐาน การประท้วงขนาดมหึมาเมื่อวันที่ 4
กันยายนแสดงให้เห็นว่า..ชนชั้นกรรมกรไม่เคยเลิกล้มความตั้งใจที่จะต่อสู้
และเรียกร้องในการติดอาวุธ
แต่บรรดาผู้นำของพวกเขา....แทนที่จะให้อาวุธ กลับหยิบยื่นคำพูดที่ไพเราะและขอร้องพวกเขาให้ใจเย็นและอยู่ในความสงบแทน ให้กลับบ้าน
นั่นย่อมหมายถึงการปลดอาวุธของมวลชนกรรมกรในวันสุกดิบของการรัฐประหาร
ในจุดนี้กองทัพย่อมมีปัญหาขึ้นแล้วโดยธรรมชาติ บางกระแสกล่าวว่า อาเยนเดถาม อัลตามิราโน ว่า
“มีมวลชนเทาใดที่ต้องการหยุดรถถัง” อย่างไรก็ตาม...นี่เป็นข้อผิดพลาดอย่างยิ่งในการตั้งคำถาม ถ้าคำถามของกองทัพจะลดลงไปถึงระดับที่ว่า
“ มีนายพลกี่มากน้อยที่กำลังควบคุมดาบปลายปืนอยู่” ก็คงไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นไปได้ในภาพรวมของประวัติศาสตร์ กษัตริย์ เฟรดเดอริค
แห่งปรัสเซียเคยให้ข้อสังเกตไว้ครั้งหนึ่งว่า “เมื่อดาบปลายปืนเริ่มคิด เราแพ้แล้ว”
ในกองทัพชิลีมีทหารมากมายที่เป็นสมาชิกของพรรคชาตินิยม
แม้แต่บรรดานายทหารก็ให้ความเห็นอกเห็นใจพรรคประชาชนสามัคคี
หลายๆคนเล่นไพ่พรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ การพยายามลุกขึ้นสู้ของทหารเรือปีกซ้ายในวันที่
7 สิงหาคมเป็นการบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ถ้าได้รับการร้องขออย่างจริงจังจาก อาเยนเด
ให้ติดอาวุธให้แก่กองกำลังของมวลชนกรรมกร
เป็นที่น่าเสียดาย จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย อาเยนเด
มีความมั่นใจมากเกินไปว่า บรรดานายพลจะไม่แตกแถว
กระทั้งเชื่อว่าพวกเขาจะปกป้องรัฐบาลของตน เรื่องหนึ่งที่น่าขยะแขยงและน่าสมเพชทางประวัติศาสตร์คือ
ก่อนที่จะเกิดรัฐประหาร อาเยนเด
ได้แต่งตั้งนายพล กุซมาน และปิโนเช เป็นผู้บัญชาการกองทัพอากาศและกองทัพบกตามลำดับ
จนกระทั่งวาระสุดท้าย...เมื่อรถถังวิ่งออกสู่ถนนแล้ว อาเยนเดยังบอกให้มวลชนกรรมกร อยู่อย่างสงบ
และใจเย็นในขณะที่พยายามติดต่อกับปิโนเชทางโทรศัพท์ แต่....ไร้คำตอบ
No comments:
Post a Comment