3.การก่อตั้งพรรคสังคมนิยม
ดังนั้นจึงต้องสูญเสียโอกาสทองไปอย่างน่าเสียดาย รัฐบาลสังคมนิยมอายุสั้นของ
คาร์ลอส ดาวิลยา
ถูกโค่นล้มลงด้วยการทำรัฐประหารของ
อาร์ตูโร อเลสซานดรี
ความจริงที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ
พรรคเสรีนิยม และ กลุ่มก้าวหน้าของชนชั้นนาย
ทุนชิลีกลับให้การสนับสนุนอเลสซานดรี
แท้จริงแล้วระหว่างปีทศวรรษ 1930
กลุ่มเจ้าที่ดินและนายทุนใหญ่เป็นผู้ควบคุมพรรคก้าวหน้าอยู่
ความหายนะที่สำคัญในปี 1932
มีสาเหตุมาจากการขาดมวลชนของพรรคปฏิวัติ
รัฐบาลของ ดาวิลยา ได้ประกาศให้ชิลีเป็นสาธารณรัฐ”สังคมนิยม”
แต่ไม่ไว้วางใจต่อมวลชนที่เคลื่อนไหวที่ยังคงดำรงอยู่ ประกาศบางเรื่องก็ไม่สามารถยกเลิกเปลี่ยน
แปลงกฎเกณฑ์ของชนชั้นนายทุนอย่างถึงราก แต่การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยมนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของชนชั้นกรรมกร ในบริบทนี้ อดอนิส เซปูลเวดา ได้ให้ข้อ
สังเกตไว้ในบทความที่ว่าด้วยประวัติของพรรคสังคมนิยมชิลี(PSCh)ว่า
“การเคลื่อนไหวไม่ได้ยึดโยงอยู่กับการสนับสนุนของมวลชน
ไม่ได้ติดอาวุธมวลชนเพื่อเป็นเกราะป้องกันรัฐบาล,ไม่ใช่พรรคชนิดที่นำมวลชนเข้าต่อสู้”....(หนังสือพิมพ์ เอล โซเซียลิสโม
ชิลีโน ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 1976)
จากประสบการณ์ที่ชัดเจนนี้
นักสู้ชั้นเลิศของชนชั้นกรรมกรชิลีจำเป็นต้องมีพรรคใหม่อย่างเร่งด่วน, พรรคที่รักษาผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมกรอย่างแท้จริง,
ต้องไม่ใช่พรรคพรรคที่มีพื้นฐานของลัทธิสังคมนิยม-ปฏิรูป
ที่สังกัดสากลที่สองหรือองค์กรคอม
มิวนิสต์สากลที่เต็มไปด้วยความวิปริตของพวกนิยมสตาลิน,หากแต่ต้องหันกลับมาสู่ความคิดของลัทธิมาร์กซ์-เลนินที่แท้จริง,ตามอุดมการณ์ของของพรรคบอลเชวิคและการปฏิวัติเดือนตุลาคม
ผู้ปฏิบัติงานชาวสังคมนิยมจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับดำเนินแนวทางแนวทางในพรรคคอมมิวนิสต์ของพวกนิยมสตาลิน
ได้เข้ามาร่วมมือก่อตั้งพรรคสังคมนิยมตั้งแต่เริ่มแรกในเดือนเมษายน 1933 นี่เป็นโอกาสเหมาะที่จะสรุปข้อดีของ
”คำปรารภหลักการเบื้องต้น” ของพรรคสังคมนิยม(เก่า)
คำปรารภ :
พรรคยอมรับในลัทธิมาร์กซ, ที่เปี่ยมไปด้วยคุณูปการ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพัฒนาการที่เป็นวิทยาศาสตร์ของมันอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพิจารณาจากสภาพพื้นฐานของความเป็นจริง
การต่อสู้ทางชนชั้น การจัดการของระบอบทุนนิยมในยุคปัจจุบันนั้นได้แบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็นสองชนชั้นดังที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้
ชนชั้นหนึ่งถือครองปัจจัยการผลิตซึ่งใช้กดขี่ขูดรีดเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
และอีกชนชั้นหนึ่งใช้แรงงานในการผลิตโดยไร้สิ่งตอบแทนใดๆนอกเหนือไปจากค่าจ้าง
ความปรารถนาของชนชั้นกรรมกรในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และความหิวกระหายของชนชั้นนายทุนที่จะครอบครองผลประโยชน์และความมีอภิสิทธิ์ของมันเป็นตัวกำหนดการต่อสู้ทางชนชั้น
รัฐ: รัฐของชนชั้นนายทุนเป็นตัวแทนของรัฐที่ดำรงอยู่ เป็นเครื่องมือของระบบกดขี่ของชนชั้นหนึ่งต่อชนชั้นอื่นๆ ตราบจนเมื่อรัฐถูกทำลายไปแล้ว ลักษณาการกดขี่โดยรัฐก็จะสิ้นสุดลงไป
มันจะถูกจำกัดให้เป็นเพียงแนวทางการประสานและป้องกันให้สังคมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
การเปลี่ยนผ่าน: ระบบการผลิตของทุนนิยมนั้นอยู่บนพื้นฐานของระบอบกรรมสิทธิ์
ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน ปัจจัยการผลิต
การแลกเปลี่ยนสินค้า สินเชื่อ
และการคมนาคม ฯลฯ
มีความจำเป็นที่จะต้องถูกแทนที่โดยระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมโดยทรัพย์สินส่วนบุคคลจะถูกแปรให้เป็นของส่วนรวม
เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ: ในระหว่างขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของระบอบ เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพเป็นสิ่งจำเป็น การที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยแบบค่อยเป็นค่อยไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะชนชั้นปกครองจะยังคงรักษาอำนาจเผด็จการของตนไว้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ เพื่อให้กรรมกรตกอยู่ในความยากไร้และถูกทอดทิ้งทั้งยังขัดขวางการปลดปล่อยของกรรมกรอีกด้วย
ลัทธิสากลนิยมและ
เศรษฐกิจที่ต่อต้านจักรพรรดิ์นิยม: ทฤษฎีสังคมนิยมนั้นมีลักษณะสากลนิยมและเรียกร้องให้ชนชั้นกรรมกรทั่วโลกสามัคคีและร่วมมือกัน เพื่อให้ความมุ่งหมายนี้เป็นจริงพรรคสังคมนิยมขอเสนอนโยบายความเป็นหนึ่งเดียวของเศรษฐกิจและการเมืองของประชาชนในลาติน-อเมริกา เพื่อนำไปสู่
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งทวีป
แลเพื่อสร้างสรรนโยบายต่อต้านจักรพรรดิ์นิยม(ibid,
pages 15-16)
หลักการเบื้องต้นเหล่านี้ได้เขียนไว้ในแบบฟอร์มประวัติสมาชิกทุกคนของพรรคสังคมนิยมชิลีมาตั้งแต่
25 ปีแรกของพรรคที่ยังคงถูกเก็บรักษาไว้
หลังจากที่ฮิตเลอร์ได้ครองอำนาจในเยอรมัน
นโยบายต่างประเทศของกลุ่มขุนนางรัสเซียก็เปลี่ยนแปลงไป แรกสุดสตาลิน ได้พยายามทำสัญญากับเบอร์ลิน
เมื่อประสบความล้มเหลวมอสโคว์ก็เริ่มเปลี่ยนนโยบายใหม่บนพื้นฐานความคิดของการเป็นพันธมิตรกับ
“ประเทศประชาธิปไตย” หลักๆได้แก่
จักรพรรดินิยมฝรั่งเศสและอังกฤษเพื่อต่อต้านเยอรมัน
วันแล้ววันเล่า(จากวันแรกและวันถัดๆไป)“พรรคคอมมิวนิสต์” ได้รับคำสั่งใหม่ให้ยุตินโยบาย
”ขั้นตอนที่สาม”(การสร้างสังคมนิยม) ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านั้น
และให้เข้าร่วมในสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรไม่เพียงแต่กับพรรคสังคม-ประชาธิปไตยซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขายังประณามว่าเป็นพรรค
”สังคม-ฟาสซิสต์ ทั้งยังร่วมกับพรรค
”ก้าวหน้า”ของชนชั้นนายทุน
โดยอ้างว่าเพื่อหยุดยั้งอันตรายจาก ”ลัทธิฟาสซิสต์
ด้วยวิธีนี้บรรดาผู้นำพรรค “คอมมิวนิสต์”
จึงมีความกระตือรือร้นมากในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบรรดานายทุนเสรีนิยม
เลนินได้ใช้เวลาตลอดชีวิตของท่านต่อต้านนโยบายร่วมมือกับสิ่งที่เรียกว่า “ก้าวหน้า” ของพวกนายทุน
ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมรัฐบาลผสมชั่วคราวของบรรดานักเสรีนิยมชนชั้นนายทุนภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ในรัสเซีย ในขณะที่พรรคเมนเชวิคและพรรคสังคมนิยมปฏิวัติ
คิดว่าเป็นการถูกต้องแล้วที่พวกเขาเข้าร่วมรัฐบาลชั่วคราว หนังสือ “แนวร่วมประชาชาติ ในประวัติศาสตร์” ฉบับตี พิมพ์ครั้งแรกได้ยืนยันว่า...ในประเทศรัสเซียที่ล้าหลัง
ชนชั้นกรรมกรยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยของพลเมืองทั้งประเทศ ภาระหน้าที่เร่งด่วนของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนและชาวสังคมนิยมควรจะร่วมมือกับพรรคการเมืองที่
”ก้าวหน้า” ของชนชั้นนายทุน
ในการต่อสู้กับเศษเดนของระบอบศักดินาและพวกฟาสซิสต์ที่เป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ
เลนินได้ให้คำตอบยืนยันโดยไม่ลังเลเลยว่า ไม่มีความมั่นใจในชนชั้นนายทุน ไม่สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราว ไม่เคยเชื่อนักเสรีนิยมชนชั้นนายทุนอย่างเคเรนสกี
ไม่สร้างความสัมพันธ์กับพรรคอื่นๆ(โดยเฉพาะกับเมนเชวิค) ในด้านตรงกันข้าม...เชื่อมั่นเพียงประการเดียวต่อพลังขององค์กรจัดตั้งโซเวียต
หรือสภากรรมกรซึ่งเป็นพลังๆเดียวที่สามารถโค่นล้มพวกปฏิกิริยา สืบทอดภารหน้าที่ในการแบกรับการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนโดยร่วมกับพันธมิตรชาวนาจนในการเผด็จอำนาจในที่สุด ต่อเนื่องไปจนถึงการยึดทรัพย์สิน(ที่ใช้ขูดรีดผู้อื่น)ของนายทุนและก้าวไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยม
เลนินและชาวบอลเชวิคเข้าใจดีถึงการสร้างระบอบสังคมนิยมว่าไม่อาจสร้างขึ้นได้ในประเทศเดียว แม้ว่าอย่างน้อยที่สุดในประเทศที่ล้าหลังอย่างรัสเซียในเวลานั้น
พวกเขาต้องเร่งในการขยายการปฏิวัติไปยังประเทศอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ทุนนิยมได้พัฒนาไปแล้วในยุโรป พวกเขาจำต้องสถาปนาองค์กรคอมมิวนิสต์สากลขึ้นเพื่อประกาศเจตนารมณ์ในการการปฏิวัติโลก ผนึกกำลังประเทศสังคมนิยมในยุโรปและในที่สุดไปสู่สมาพันธ์สังคมนิยมโลก
แนวร่วมทั่วไปองค์กรแรกของชิลี: ภายใต้การนำของเลนินและทร้อตสกี
องค์กรคอมมิวนิสต์สากลได้รวมบรรดาชนชั้นกรรมกรที่มีจิตสำนึกปฏิวัติที่สุดในขอบเขตทั่วโลกผนึกเข้าไว้ด้วยกัน บทเรียนที่ขมขื่นจากบรรดาพรรคสังคม-ประชาธิปไตยสากล(ที่เลนินได้เปรียบเทียบว่าไม่ใช่องค์กรระดับสากลแต่มีลักษณะค่อนไปทาง
”สำนักงานไปรษณีย์” ที่เน้นหนักการติดต่อระหว่างพรรคนานาชาติเท่านั้น) ชาวบอลเชวิคได้นำเอาทัศนะทางสากลที่แท้จริงของมาร์กซและเองเกลในช่วงที่พวกท่านได้ดำเนินการในสันนิบาติกรรมกรสากลกลับคืนมาคือพรรคการเมืองของนักปฏิวัติสังคมนิยม
ด้วย นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการชี้นำ
ชนิดเดียวกัน
แนวคิดนี้ไม่ได้ต่อต้านวิถีทางของประชาธิปไตยแม้แต่น้อย
ไม่ได้หมายถึงการที่พรรคหนึ่งจะไปครอบงำพรรคอื่นๆ แต่กลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงจากสภาพที่แท้จริงในการประชุมสี่ครั้งแรกขององค์กรคอมมิวนิสต์สากล ได้ทำการอภิปรายกันในขอบเขตที่กว้างขวางเกี่ยวกับประชาธิป
ไตยภายในองค์กรและเสรีภาพในการถกเถียงโต้แย้ง
ซึ่งพรรคเล็กที่สุดสามารถแสดงความแตกต่างทางนโยบายกับพรรคที่ใหญ่ที่สุดได้
มีความอิสระเป็นตัวของตัวเองอย่างกว้างขวางสำหรับทุกชาติภายใต้นโยบายเดียวกันที่ตราโดยที่ประชุมสากล
โดยมีการจัดขึ้นทุกปีท่ามกลางความยากลำบากจวบจนถึงวันมรณภาพของเลนิน
สภาวะเสื่อมถอยของการปฏิวัติรัสเซียเนื่องมาจากระบอบขุนนาง เป็นผลให้รัฐกรรมกรในประเทศที่ล้าหลังถูกโดดเดี่ยวสถานการณ์ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
กระบวนการทำพรรคคอมมิวนิสต์ให้กลายเป็นระบอบสตาลิน
สามารถสะท้อนให้เห็นได้จากขบวนการในองค์กรคอมมิวนิสต์สากลที่คู่ขนานกันไป
องค์ประกอบที่สำคัญทั้งมวลล้วนถูกกำจัดและแทนที่ด้วยระบอบขุนนาง
ซึ่งบางอย่างไม่เคยเกิดขึ้นเลยในยุคของเลนิน
ฝ่ายนำของสากลฯล้วนแล้วแต่เป็นผู้ปฏิบัติงานที่นิยมสตาลิน มุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามคำสั่งของมอสโคว์ จาก 1928
หน่วยงานต่างๆเหล่านี้ได้ดำเนินการตามแนวทางนโยบายซ้ายตกขอบของ “ยุคที่สาม” ในที่สุดในปี
1935โดยไม่มีสาเหตุใดๆพวกเขาได้หันกลับไปใช้นโยบาย ”แนวร่วมทั่วไป” อีก ซึ่งทรอตสกีได้ระบุไว้อย่างถูกต้องถึงลักษณะ
“หน้าไหว้หลังหลอก” แบบลัทธิเมนเชวิค และ “การสมคบกันเพื่อยับยั้ง”
แต่บรรดาผู้ที่นิยมสตาลินไม่สามารถนำนโยบายความร่วมมือระหว่างชนชั้นต่างๆของพวกเขาให้ลุล่วงไปได้โดยปราศจากการมีส่วนร่วมของชาวสังคมนิยม
กรรมกรชิลีได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งแล้วถึงการตระบัดสัตย์ของพวกนักการเมือง
”เสรีนิยม” ชนชั้นนายทุน
การก่อตั้งพรรคสังคมนิยมเป็นความปรารถนาที่เร่ง ด่วนโดยสัญชาติญานของชนชั้นกรรมกรที่มีความจำเป็นต่อนโยบายที่เป็นอิสระทางการเมืองของชนชั้น การประกาศนโยบายสังคมนิยมของ
“แนวร่วมสามัคคีกรรมกร” ที่ได้ใช้ในการรณณรงค์แข่งขันการเลือกตั้งประธานาธิบดีของ
มาร์มาดุค โกรฟ * (Marmaduke Grove
นายทหารอากาศ,
นักการเมืองและเป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำสูงสุดของรัฐบาลแห่ง”สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งชิลี”
ในปี 1932) ผู้นำการเคลื่อนไหวด้านแรงงานที่โดดเด่น,ที่ถูกจำคุกโดยรัฐบาล,ผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากซานติอาโกด้วยคำขวัญ
”จากคุกสู่สภา”
วิญญาณของการเคลื่อนไหวปฏิวัติในเวลานั้นได้แสดงออกโดย
วาทะที่โด่งดังของโกรฟ “ เมื่อเราได้อำนาจ..
นั่นหมายถึงว่าจะไม่มีเสาไฟฟ้าว่างที่ใช้แขวนพวกคณาธิปไตยอีกต่อไป ” คำพูดเหล่า นี้ได้สะท้อนอารมณ์ของมวลชนกรรมกรและส่วนอื่นๆที่ถูกกดขี่ในสังคมชิลี ที่แสวงหาหนทางของการ ปฏิวัติสังคมนิยม...
ที่ไม่ใช่การร่วมมือกับชนชั้นนายทุน
ความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงของมวลชนและวิกฤตของทุนนิยมบีบบังคับให้กลุ่มคณาธิปไตยค้นหา”บท
สรุปสุดท้าย” ที่คล้ายคลึงกับในเยอรมันและอิตาลี,โดยการก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ
ภายใต้รัฐบาลแบบลัทธิโบนาปาร์ท*ไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมในชิลีได้เลย
แต่การเคลื่อนไหวของพวกฟาสซิสต์นั้นชนชั้นกรรมกรได้ทำการต่อต้านอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ กองกำลัง ”เสื้อเหล็ก”
โดยกรรมกรของพรรคสังคมนิยมและเยาวชนสังคมนิยมได้ต่อสู้กับกับพวกฟาสซิสต์ไปทั่วทั้งประเทศ ด้วยความหวาด กลัวต่อเรื่องนี้..ส่งผลให้รัฐบาลของ
อเล็กซานดรี
ถูกบีบให้แสดงการต่อต้านพวกฟาสซิสต์เมื่อพวกนี่มีความพยายามที่จะทำรัฐประหาร
ความพยายามของพวกฟาสซิสต์ประสบกับความล้มเหลว เกิดวิกฤตขึ้นกับรัฐบาลของอเล็กซานดรี ในหมู่มวลชนเกิดกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มมากขึ้น
ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการรุกของชนชั้นกรรมกร
แต่การแสดงบทบาทของพวกซ้ายชิลีที่นิยมสตาลินเป็นเรื่องที่น่าอัปยศ
เสียดาย...ที่ฝ่ายนำของพรรคสังคมนิยมไม่สามารถนำเสนอทางเลือกที่ถูกต้องได้ พวกนิยมสตาลินฉวยโอกาสริเริ่มการกดดันอย่างหนักหน่วงต่อฝ่ายนำพรรคสังคมนิยมให้ยอมรับแนวคิดเกี่ยวกับการทำแนวร่วมชั่ว
คราวกับพรรคราดิคัล(พรรคฝ่ายซ้าย)
ซึ่งมีแนวคิดขัดกับหลักการพื้นฐานส่วนใหญ่ของพรรค
และไม่สอดคล้องในเชิงอุดมการณ์กับชนชั้นกรรมกรที่เข้าใจถึงความทรยศปลิ้นป้อนของพวกเสรีนิยมชนชั้นนาย
ทุนและต้องการรัฐบาลของชนชั้นตนเอง
ดั่งที่ อดอนิส เซปูลเวดา ได้กล่าวไว้ว่า
“เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีการเคลื่อนไหวด้านแรงงานได้ถูกกางลงบนโต๊ะ...เพื่อการถกเถียงอภิปรายถึงการสร้างแนวร่วม พรรคสังคมนิยมได้คัดค้านการเป็นพันธมิตรนี้ ถือว่าเป็นการพ่ายแพ้..ที่จะต้องสูญ เสียบทบาทนำในด้านการเคลื่อนไหวแรงงานไปให้แก่พวกนายทุน มันจะมีผลอย่างลึกซึ้งต่อสถานการณ์ ในขณะนั้นที่ต้องการผู้นำที่มีบารมีในการดึงดูดผู้คน เพราะจะทำให้มีกองกำลังเพิ่มขึ้น ไม่มีนักสังคมนิยมคนใดยอมรับและยอมจำนนต่อการบีบบังคับเช่นนี้”
(Socialismo Chileno, page 20)
เป็นที่น่าเสียดาย...การขาดประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานรุ่นหนุ่มสาวและความรวนเรของบรรดาผู้นำพรรค
ซึ่งไม่รู้ว่าจะยืนหยัดต้านทานแรงกดดันของกลุ่มผู้นิยมสตาลินได้อย่างไร ทำให้นำไปสู่ความผิดพลาดที่ร้ายแรงต่อการเข้าร่วมในแนวร่วมโดยไม่คำนึงถึงความเป็นปฏิปักษ์ของสมาชิกในส่วนที่ไม่ใช่ผู้นำ และความขัดแย้งพื้นฐานทั้งหลายรวมไปถึงนโยบายของพรรคเองด้วย
ในการประชุมสมัชชาวิสามัญของพรรคในปี 1938
ออสการ์ ชนาคเค (Oscar
Schnake) เลขาธิการพรรค ใช้เวลา 5
ชั่วโมงเพื่อจูงใจตัวแทนสมาชิกให้ยอมรับการถอนตัวออกจากการแข่งขันของ มาร์มาดุ๊ค
โกรฟ ซึ่งมีการปลุกระดมมาตั้งแต่ปี
1936 การตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างน่าเศร้านี้ได้สร้างหายนะให้แก่ระบอบสังคมนิยมและชนชั้นกรรมกรชิลีทั้งชนชั้นในเวลาต่อมา จาก การเข้าเป็นแนวร่วมกับรัฐบาลของพรรคสังคมนิยมที่ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในปี
19387 เซปูลเวดา
ได้สรุปบทเรียนไว้ดังต่อไปนี้
พรรคที่อ่อนเยาว์ไม่ได้คัดค้านการร่วมรัฐบาลผสม กับความก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย
และความอิ่มอาบปลาบปลื้มกับองค์กรรัฐของนักฉวยโอกาสเป็นแรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมจนลืมเลือนเป้าประสงค์
นี่คือดอกผลของความอ่อนแอ(ทางทฤษฎี)และแนวคิดลัทธิปฏิรูปของเหล่าผู้นำที่ยังซ่อนเร้นแฝงฝังอยู่อย่างเหนียวแน่นในการต่อสู้ของปีที่ผ่านมา
บรรดานักลัทธิมาร์กซผู้ที่มีความเข้าใจและมีจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างแน่วแน่มั่นคงได้ทำการต่อสู้คัดค้านกระแสคลื่นปฏิรูปที่กำลังแผ่ซ่านอยู่ในพรรค นัก
ปฏิวัติรุ่นใหม่พร้อมที่จะเป็นกองหน้าในการสู้รบเพื่อกอบกู้ฟื้นคืนอุดมการณ์ “สมาชิกระดับล่างมีปฏิกิริยาอย่างแรงกล้าในการคัดค้านการคอร์รัปชั่นและการรวบอำนาจที่เริ่มจะสำแดงออกขององค์กรนำสูงสุด
ความไม่เห็นด้วยนั้น..ไม่เพียงแต่จะมาจากกลุ่มหัวรุนแรงเท่านั้นแต่ยังมาจากบรรดากรรมกรผู้มีประสบการณ์อย่างไม่คาดคิดมาก่อนอรกด้วย การขับคณะกรรมการกลางพรรคของคนรุ่นใหม่คือฟางเส้นสุดท้าย
เป็นการแตกแยกที่เกิดขึ้นครั้งหนักหน่วงที่สุดในรอบ 43 ปีของพรรคสังคมนิยม
No comments:
Post a Comment