Wednesday, July 15, 2015

ใครฆ่า โรซา ลุกเซ็มบวร์ก...

ใครฆ่า โรซ่า ลุกเซมบวร์ก  และคาร์ล ลิปเนคท์

เงื่อนงำทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนักลัทธิมาร์กซเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง  โดย เฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนที่รู้จัก  โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก    จากงานทางทฤษฎีของเธอ จะรู้แต่ว่าเธอถูกฆ่าโดยปรปักษ์ทางชนชั้น     ดังนั้นเราจึงใคร่เสนอเบื้องหลังเรื่องราวของการถูกฆาตร- กรรมของเธอในแง่ที่ว่า     ใครฆ่า     และทำไมต้องทำเช่นนั้น    เรื่องนี้พอจะเน้นย้ำให้เห็นว่า  ผู้กดขี่หรือ ผู้ถูกกดขี่ ใครกันแน่ที่เป็นผู้ที่ก่อความรุนแรงขึ้นก่อน ?      อีกทั้งยังทำให้เราได้เข้าใจถึงลักษณะของความเป็นปรปักษ์ทางชนชั้นที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้อย่างดีอีกด้วย        เรื่องราวต่อไปนี้คณะอัยการทหารแห่งสหภาพโซเวียตรัสเซีย  ประจำกรุงเบอร์ลิน  ได้ทำการรื้อฟื้นการสอบสวนขึ้นใหม่ พร้อมทั้งทำรายงานเอาไว้  ในปี 1945 ขณะยึดครอง เบอร์ลิน 

เกริ่น

ในวันที่ 15 มกราคม 1919  ย้อนหลังไป 96 ปี    ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ของเยอรมัน  คาร์ล ลิปเนคท์ (Karl Liebknecht)  และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก (Rosa Luxemburg)  ถูกฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม    มันเป็นเรื่องร้ายแรงและส่งผลสะท้อนไปทั่วต่อการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรเยอรมันและสากล   ผู้นำทั้งสองเป็นผู้ยึดมั่นต่อแนวทางการปฏิวัติภายในพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ลัทธิปฏิรูป หลังจากการขึ้นศตวรรษใหม่

เป็นครั้งแรกที่ข้อเขียนของนักลัทธิมาร์กซ    ได้หยิบยกเอาปัญหาของลัทธิทหารในยุคของจักรวรรดิ์นิยมขึ้นมาตีแผ่ในหนังสือของเขาเรื่อง “ลัทธิทหารและการคัดค้านลัทธิทหาร” ที่ออกในปี 1907  เป็นเหตุให้ คาร์ล ต้องถูกฟ้องร้องและถูกตัดสินจำคุก     ในฐานะของของสมาชิกสภาปรัสเซีย  เขาได้เปิดโปงกลุ่มผู้ผลิตอุตสาหกรรมสงครามที่นำโดย อัลฟรีด ฟอน กรุ๊ป มีนโยบายค้าอาวุธ      และเรียก ร้องชนชั้นกรรมาชีพสากลให้สามัคคีกัน  เป็นหัวหอกต่อสู้คัดค้านลัทธิทหาร  คาร์ล  ลิปเนคท์  สนับ สนุนการปฏิวัติปี 1905 ในรัสเซีย      และในทางการเมืองได้คัดค้านนักลัทธิแก้อย่างเอาการเอางาน พิทักษ์แนวทางเคลื่อนไหวมวลชนในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญของการต่อสู้     เขาได้ประณามการช่วย เหลือที่ให้แก่พระเจ้าซาร์ของรัฐบาลเยอรมัน        เพราะมันเป็นเงื่อนไขสนับสนุนการปราบปรามการปฏิวัติ    และเรียกร้องชนชั้นกรรมาชีพเยอรมันให้เอาอย่างการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรรัสเซีย

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้น  เขาทำตามมติพรรคสังคมประชาธิปไตย สนับสนุนรัฐบาลในการนำประเทศเข้าสู่สงครามเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 1914     หลังจากนั้นก็ได้กลับมติในวันที่ 2 ธันวาคมในการลงคะแนนคัดค้านสงครามเพียงเสียงเดียว      กระทู้ที่เขายื่นต่อประธานสภานั้นเขาพิจารณาว่าการเข้าสู่สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นลักษณะของการผนวกดินแดน     ภายหลังเอกสารนี้ได้แพร่กระจายออกไปใน รูปแผ่นปลิวที่ผิดกฎหมาย          ลิบเนคท์มีความเชี่ยวชาญและฉลาดอย่างยิ่งในการใช้ฐานะสมาชิกรัฐสภาแห่งปรัสเซียให้เป็นประโยชน์ในการต่อสู้      เขารับเอาคำขวัญของพรรคบอลเชวิคมาใช้   ในการเปลี่ยนสงครามจักวรรดิ์นิยมไปสู่สงครามกลางเมือง     และได้ร่วมกับ  โรซา ลุกเซ็มบวร์ก  ก่อตั้งกลุ่ม “สปาร์ตาคัส” ขึ้น    

ในการกล่าวปราศรัยในรัฐสภาปรัสเซีย       เขาได้เรียกร้องต่อชนชั้นกรรมาชีพเบอร์ลินให้เข้าร่วมการประท้วงในวันกรรมกรสากลปี 1916      บนเส้นทางนี้ ลิบเนคท์เรียกร้องให้โค่นล้มรัฐบาลที่นำประเทศเข้าสู่สงครามจักรวรรดิ์นิยม       ทำให้ถูกจับกุมและถูกศาลทหารพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ...ที่นี่(ในคุก)ทำให้เขาได้เรียนรู้ข่าวสารการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย

โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก   เกิดเมื่อ คศ. 1871 ในโปแลนด์และได้ใช้ชีวิตและทำงาน(ปฏิวัติ)ในเยอรมันตั้งแต่ปี 1898  เธอคัดค้าน เอ็ดดวาด  แบร์นชไตน์    นักลัทธิแก้ ตั้งแต่แรกๆและยังมีบทบาทในการต่อต้านระบอบรัฐมนตรีของ มิลเลอรังด์  และบรรดานักฉวยโอกาสที่ยอมประนีประนอมกับพรรคการ เมืองชนชั้นนายทุน    ข้อเขียนของเธอเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมไว้ในปี 1899  เรื่อง “ ปฏิรูป หรือปฏิวัติ?”    ด้วยความสนใจต่อการแตกแยกของพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย    โรซา ไม่ยอมรับแนวคิดแบบเลนินถึงความจำเป็นในการสร้างพรรคของชนชั้นกรรมาชีพ     สตาลินได้บันทึกไว้ว่า  โรซ่า ได้ประกาศสนับสนุนกลุ่มเมนเชวิค       โดยวิจารณ์ว่าพวกบอลเชวิคนั้นมีแนวโน้มไปสู่ลัทธิบลังกี*   ( หลุยส์ บลัง 1811 – 1882  นักสังคมนิยมและนักปฏิวัติชาวฝรั่งเศส  เป็นนักวัตถุนิยม แต่ไม่ใช่นักวิภาษวิธี  ดังนั้นวิธีการของเขาจึงมีลักษณะกลไก  เขาอุทิศตนในการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างเปิดเผย  ยุทธวิธีของเขาคือทำการปฏิวัติโดยอาศัยองค์กรลับที่มีการจัดตั้งหน่วยย่อยที่มีการรวมศูนย์เป็นอย่างดี  ติดอาวุธ และนำมวลชนลุกขึ้นสู้   โดยละเลยและไม่เข้าใจในการสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างทั่วถึง  วิธีการของเขาเมื่อถูกนำไปใช้จึงถูกเรียกว่า ลัทธิบลังกี )  และมีการรวมศูนย์ที่เข้มงวดเกินไป    

ระหว่างการปฏิวัติรัสเซียปี 1905 – 07 เธอได้กลับ มาใกล้ชิดกับบอลเชวิคมากขึ้นในด้านปัญหาต่างๆทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของการปฏิวัติ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก     ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นถึงบทบาทของกรรมกรว่าเป็นพลังชี้ขาดในการปฏิวัติ    และยอมรับถึงความจำเป็นในการติดอาวุธในการต่อต้านพระเจ้าซาร์ และสถาปนาเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ      เธอได้แสดงความเห็นด้วยกับโลกทัศน์ของบอลเชวิคว่า ชนชั้นนายทุนเสรีนิยมนั้นเป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ   และชนชั้นชาวนาเป็นชนชั้นปฏิวัติ   จากบทเรียนการปฏิวัติปี 1905 เธอสนับสนุนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของมวลชนนอกสภาอย่างแข็งขัน   และให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อ การเคลื่อนไหวต่อสู้ด้านการเมืองของมวลชน       การต่อต้านลัทธิทหารทำให้เธอต้องถูกจำคุกในระ หว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

ในงานสำคัญทางทฤษฎีของเธอในด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง    โรซา   ได้ อธิบายให้เห็นว่าระบอบทุนนิยมและจักรวรรดิ์นิยมได้ใช้นโยบายทางการเมืองแบบอาณานิคมที่แข็งกร้าว     เธอยืนยันความ เห็นของเธอว่า  การสะสมทุนภายใต้ระบอบทุนนิยมนั้นเป็นหัวหอกในการขูดรีดในส่วนที่ไม่ใช่ทุนนิยม   ดังนั้น..จักรวรรดินิยมจึงสามารถอธิบายได้ว่าเป็นการแข่งขันของประเทศทุนนิยมในแวดวงของประเทศ ที่ไม่ใช่ทุนนิยม     แม้จะมีผลงานทางทฤษฎีที่สำคัญ  แต่โรซาก็ให้การสนับสนุนความคิดที่หันเหออก ไปจากลัทธิมาร์กซในบางประเด็น      เช่นปฏิเสธสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเองของประชาชาติและดูเบาในศักยภาพในการปฏิวัติของชาวนา

ตั้งแต่สงครามโลกครั้งแรกเริ่มขึ้น   เธอได้วิจารณ์สงครามว่าเป็นลักษณะของสงครามจักรวรรดิ์นิยมและการทรยศของฝ่ายนำในพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมัน    ในฐานะผู้ก่อตั้งสันนิบาต สปาร์ตาคัสเธอได้เขียนบทความต่อต้านสงครามไว้หลายชิ้น         โรซามีความชื่นชมต่อการปฏิวัติเดือนตุลาคมของรัสเซีย ยกย่องบทบาทของบอลเชวิค       ในขณะเดียวกันก็มีความเห็นต่อยุทธวิธีของบอลเชควิคที่ประเมินค่าของเกษตรกรรมให้เป็นปัญหาของชาติโดยเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ       คำวิจารณ์ของเธอเกี่ยวกับยุทธวิธีของบอลเชวิค    ได้ถูกนำไปโฆษณาอย่างกว้างขวางโดยโฆษกรัฐบาลจักรวรรดิ์นิยมสหรัฐฯ โดยไม่คำนึงถึงความจริงที่ว่า    ภายหลังเธอได้หวนกลับมาเดินตามรอยเท้าของบอลเชวิคในการปฏิวัติและสนับสนุนปกป้องเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพและการก่อตั้งโซเวียตในเยอรมัน

คาร์ล  ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก คือผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมัน  ซึ่งได้ประชุมสมัชชากันเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1918 – 1 มกราคม 1919         หลังการปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของมวลชนกรรมกรแห่งเบอร์ลินเมื่อ  มกราคม 1919     ชนชั้นปกครองได้ทำการฆาตกรรมชาวคอมมิวนิสต์สองคนอย่างโหดเหี้ยมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 1919     และรากฐานของการฆาตกรรมนี้ได้ถูกจัดฉากขึ้นอย่างลับๆ    เชื่อมโยงไปถึง นายกรัฐมนตรี ฟรีดดริค อีแบร์ต และ นายพล เกรอเนอร์ ที่เป็นกลุ่มแกนนำของพรรคสังคมนิยมปีกขวาที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1918  เพื่อป้องกันการ ”ขยายตัวของกลุ่มก่อการร้ายบอลเชวิคในเยอรมัน”    ชนชั้นนายทุนและเครือข่ายพรรคสังคมนิยมต่างช่วงชิงกันไล่ล่าสังหารนักปฏิวัติทั้งสองท่าน       หน่วยสายลับของกรมทหารแห่งรัฐสภาไรคชท้าก(Reichstag) ที่ตั้งขึ้นโดยพรรคสังคม-ประชาธิปไตยได้ตั้งค่าหัวของคาร์ลและโรซาเป็นเงินถึง 100,000 มาร์กซ    วันที่ 13 มกราคม 1919 สองวันก่อนเกิดเหตุฆาตรกรรม   หนังสือพิมพ์ ฟอร์แวร์ทส (Vorwärts )   ได้ลงบทกวีที่เรียกร้องให้ลอบสังหารชาวคอมมิวนิสต์ทั้งสอง   

หลังการปลดปล่อยเบอร์ลินโดยเหล่าวีรชนแห่งกองทัพแดงในปี 1945 ผู้ที่มีส่วนร่วมในการฆาตกรรมถูกจับกุมและสอบสวน  คำให้การของเขาได้สูญหายไปในชั่วโมงสุดท้ายของคาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก
……………………………………………………………………..

ลับ  / สำเนาหมายเลข 1
4 ตุลาคม 1945
จากรองประธานกรรมการสภาประชาชนแห่งสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ถึงสหาย วี.เอ็ม.โมโลตอฟ
ผมได้ส่ง สำเนาการสอบสวนของอัยการทหารประจำกรุงเบอร์ลินเกี่ยวกับการจับกุมและคำให้การของผู้เกี่ยวข้องในคดีฆาตกรรม โรซา ลุกเซ็มบวร์ก มาให้แล้ว
เค.กอร์เชนิน
.................................................
อัยการทหารประจำกรุงเบอร์ลิน                                                                                   ลับ
13 กันยายน 1945

เรียน ประธานคณะอัยการทหารแห่งกองทัพแดง สหาย พลโท เอ็น.พี.อัฟฟันนาซิเยฟ
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 1945 ผู้ปฏิบัติงานของหน่วย NKVD*(หน่วยสืบราชการลับรัสเซีย) ในเบอร์ลินได้ทำการจับกุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตรกรรม โรซา ลุกเซ็มบวร์ก.....ผู้ต้องหาคือ นาย ออตโต   รุงเง (ภายใต้ชื่อใหม่  รูดอฟ วิลเฮ็ล์ม) เกิดเมื่อปี 1875   ภูมิลำเนาเมือง เกสเตบิซเซ(บนฝั่งแม่น้ำโอเดอร์)  สัญชาติเยอรมัน  อาชีพชาวนา   จบการศึกษาระดับ 8 เป็นสมาชิกพรรคนาซีมาตั้งแต่ปี 1933  อาศัยอยู่บ้านเลขที่  22 ถนนไกรฟเฟ่น-เกเก็นเนอร์ , เบอร์ลิน      ยังชีพอยู่ด้วยเงินบำนาญตั้งแต่ปี 1941 และไม่ได้ทำงานเป็นหลักแหล่ง

ผลการสอบสวนมีดังต่อไปนี้

อ๊อตโต รุงเง  นายทหารชั้นประทวน สังกัดกรมทหารยานเกราะที่ 1.. เมื่อวันที่ 13 มกราคม 1919 ได้ถูกส่งไปที่โรงแรมเอเดน(เลขที่ 30 ถนนนูเร็มแบร์กเกอร์ ,เบอร์ลิน) พร้อมกับเพื่อนทหารสังกัดเดียว   กันอีก 15 นาย โดยคำสั่งผู้บังคับกองพันเพื่อไปทำหน้าที่คุ้มกันหน่วยบัญชาการ     
วันที่ 15 มกราคม รอยเอก ป๊าปสท์ นายทหารประจำกองบัญชาการ   ได้มีคำสั่งให้ รุงเง  ปฏิบัติหน้าที่รักษาการที่ประตูทางเข้าของโรงแรมเอเด็นกับพลทหาร  ดราเกอร์    ตั้งแต่เวลา 18.00 น เป็นต้นไป  เมื่อเวลา 20.00น. รุงเง และ ดราเกอร์  ยังคงปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ได้รับการสับเปลี่ยนเวรตามคำสั่งของนายพล โฮฟมาน ซึ่งในขณะนั้นกำลังบรรยายภารกิจอยู่ที่กองบัญชาการ      พวกเขาถูกปล่อยให้ รักษาการอยู่ที่นั่นโดยไม่มีกำหนดเวลา

เวลา 20.45 น. มีรถคันหนึ่งแล่นมาจอดที่ทางเข้าโรงแรม     ผู้ที่อยู่บนรถเป็นนายทหาร 4 นายและสุภาพสตรีท่านหนึ่ง  โรซา ลุกเซ็มบวร์ก    จากนั้นเธอก็ถูกนายทหารของกองบัญชาการนำตัวเข้าไปในโรงแรม   ประมาณ 10 นาทีให้หลังรถคันที่สองที่มีนายทหาร 3 นายควบคุม    พร้อมกับ คาร์ล ลิปเนคท์ ก็แล่นตามมาจอด    และคาร์ล ก็ถูกนำเข้าไปในกองบัญชาการในลักษณะเดียวกันกับโรซา
ถึงเวลานี้..เป็นที่รู้กันแล้วว่าได้มีการจับกุม คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก    ผู้คนเริ่มทยอย มารวมตัวกันอยู่ใกล้ๆโรงแรมเอเด็น

หลังจาก คาร์ล และ โรซา ได้ถูกนำตัวเข้าไปในกองบัญชาการแล้ว  ร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทุง ก็เข้าไปหา รุงเง และถามเบาๆว่า  รู้จักหญิงและชายทั้งสองคนแต่งชุดพลเรือนที่ถูกคุมตัวมาหรือไม่   รุงเง ตอบปฏิเสธ   ร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทตุง  ก็บอกว่าสองคนนั้นคือ คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก    เป็นพวกโจรนักปฏิวัติตัวร้ายที่ต้องการโค่นผู้ปกครองและยึดอำนาจเป็นของตนเอง    ร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทตุงกระซิบกับ รุงเง ว่า     เมื่อทั้งสองคนออกมาจากโรงแรมแล้วให้จัดการยิงทิ้งเสีย

จากนั้นร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทตุง  ก็เดินกลับเข้าไปในกองบัญชาการสวนทางกับ ร้อยเอก ป้าปสท์ ที่ออกมาสั่งให้ฆ่า คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก  โดยให้ตีด้วยพานท้ายปืนซึ่งรุงเงได้แต่รับคำสั่ง  เมื่อร้อยเอก ป้าปสท์ ผละไปแล้ว  ร้อยตรี คานารีส ก็ออกมาสำทับ รุงเง ว่าถ้าไม่ฆ่า  คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา  ลุกเซ็มบวร์ก  ตามคำสั่ง..เขาจะถูกยิงเป้า  เมื่อกำชับแล้ว ร้อยตรี คานารีส ก็กลับเข้าไป
ในเวลาต่อมา พลทหาร ดราเกอร์  พูดกับ รุงเง ว่า    ถ้ารุงเง ไม่ทำตามคำสั่ง ดราเกอร์ จะเป็นคนฆ่า คาร์ล และ โรซา เองด้วยดาบปลายปืน  รุงเง กล่าวว่าเขาต้องทำตามคำสั่งอยู่แล้ว

หลังจากนั้นไม่กี่นาที  ผู้จัดการโรงแรม (ไม่ได้บอกชื่อก็เดินออกมาที่ประตูใหญ่)  เขาเดินอยู่ด้านขวา โรซา อยู่ตรงกลาง  และด้านซ้ายเป็นร้อยตรี โฟเกล ผู้ซึ่งผลัก โรซา  ออกมานอกโรงแรมเข้าไปหา รุงเง    ที่เตรียมพร้อมจะลงมือ     เขาเงื้อพานท้ายปืนตีเข้าที่ใบหน้าด้านซ้ายและบริเวณไหล่ของโรซาอย่างสุดแรง   ทำให้เธอล้มลงกับพื้นแต่ยังไม่ตายและพยายามจะลุกขึ้นยืน     ทันทีร้อยตรี โฟเกล และทหารอีก 4 คนออกมาจากโรงแรม  ทั้งหมดช่วยกันลากโรซาเข้าไปในรถคันเดิมที่จอดคอยอยู่    เมื่อทั้งหมดเข้าไปในรถแล้ว   ร้อยตรี โฟเกล ดึงปืนพกออกมาและยิงเข้าที่ศรีษะของโรซา  ร่างที่ไร้วิญญานของเธอได้ถูกนำจากไป

จากนั้นคนส่วนหนึ่งก็เดินห้อมล้อม คาร์ล ลิปเนคท์ ออกมาจากโรงแรม มีว่าที่ร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทุง  น้องชายของ ร้อยเอก ฟลั้กค์-ฮาร์ทุง  ร้อยโท ริททิน  ร้อยโทอีกคนหนึ่ง  ร้อยโทชูลท์ซ  ร้อยโท ลิป มาน  และพลทหาร ฟรีดดริก   และได้นำตัว คาร์ล ไปขึ้นรถคันเดิมที่จอดคอยอยู่ฝั่งตรงกันข้าม   หลัง จากทั้งหมดจากไปแล้ว ร้อยตรี ครูล  ได้เดินเข้ามาหา รุงเง และสั่งให้ขึ้นไปยังชั้นสองของโรงแรมโดยทันที   และให้ฆ่า วิลเฮล์ม พิค  บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “ธงแดง” ของพรรคคอมมิวนิสต์เสีย

ครูล  นำ รุงเง ขึ้นไปชั้นสองขณะที่ วิลเฮล์ม พิค ยืนอยู่ที่บริเวณทางเดิน  และสั่งให้ยิงได้ทันทีที่ พิค ขยับตัว   พวกเขาต้องการสร้างฉากว่า พิค พยายามหลบหนีในระหว่างถูกควบคุม    เมื่อถูกปล่อยให้อยู่กันสองต่อสองที่ทางเดิน    พิคหันมาพูดกับ รุงเง ว่า  คุณทหารอย่ายิง   ผมมีเรื่องบางอย่างที่จะนำไปถ่ายทอดแก่ผู้บังคับบัญชาของคุณ   จากนั้น รุงเง ก็ปล่อย พิคให้เข้าไปในห้องทำงานของร้อยเอก ปาปสท์    หลังจากนั้นไม่กี่นาที ปาปสท์ ก็ปล่อย พิค ออกมาแล้วสั่งให้ รุงเง นำ พิคไปยังสำนัก งานของผู้บัญชาการ    ในระหว่างทางคาดว่า รุงเงได้ปล่อย พิค ไปและกลับมายังกองบัญชาการแล้วรายงานต่อร้อยตรี แฮร์วิทซ ว่ารู้สึกไม่สบายจึงไม่สามารถนำพิคไปส่งจนถึงที่ได้       เวลาประมาณ 22.30 น. ร้อยตรี โฟเกล  ได้กลับมายังกองบัญชาการและแจ้งว่า  พวกเขาได้ได้ทิ้งศพของโรซ่าลงในแม่น้ำ สปรี แล้ว

รถคันที่สองกลับมาเวลา 23 น. พร้อมกับบรรดานายทหารที่นำตัว คาร์ล ลิปเนคท์ ออกไป    พวกเขารายงานว่าได้ขับรถนำ คาร์ลไปตามถนนมุ่งไปยังแถบสวนสัตว์(Zoological garden)   และแกล้งทำเป็นรถเสียจึงจอดจึงพากันลงจากรถ        ขณะนั้น ร้อยตรี ชุลท์ซ  ก็ล้วงมืดพับออกจากกระเป๋าของคาร์ลแล้วกรีดที่แขนของตนเอง  และลงมือยิง คาร์ล ลิปเนคท์      เพื่อเป็นการอธิบายว่า คาร์ล ลิปเนคท์  ได้ทำร้ายชูลท์ซ ในขณะที่พยายามหลบหนี   จึงถูกถูกยิงตาย

วันที่ 16 มกราคม  รุงเงได้ถูกเรียกให้ไปรายงานตัวที่กองบัญชาการกรม     ซึ่งร้อยเอก ปาปสท์ ได้ออกคำสั่งให้หลบอยู่เงียบๆในอพาร์ทเม้นท์ของ ผู้หมวด ลิปมาน  และห้ามออกไปไหนโดยเด็ดขาดจนกว่าจะได้รับเอกสารที่จำเป็นในการหลบหนี    หลังจากนั้นแปดวัน ร้อยตรี คานาริส และ ลิปมาน ก็นำเอกสารปลอมมาให้ในชื่อ ดินวาลด์ และแนะนำให้หลบไปยังเมือง เฟลทสบวร์ก พร้อมกับให้เงินไป 1,000 มาร์ก  รุงเง อาศัยอยู่ในเฟลทสบวร์กจนถึง  11 เมษายน 1919 จึงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยปราบปรามอาชญากรรมมาพบ    และนำตัว รุงเง ไปเบอร์ลินกับพวกเขา

ระหว่างเดินทางไปเบอร์ลินโดยรถไฟ   ตำรวจทั้งสองได้ให้คำอธิบายแก่ รุงเง ว่าเขาจะต้องไปขึ้นศาลในกรณีที่มีส่วนรู้เห็นกับการฆาตรกรรม คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก    รุงเงจะต้องปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการนี้   และยืนยันให้การว่าในเวลานั้นได้อาศัยอยู่ที่ เฟลทสบวร์ก   เมื่อถึงเบอร์ลินเขาถูกขังคุกตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน  จนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม กระบวนการทางศาลได้เริ่มขึ้นและดำ เนินต่อไปจนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม

วันที่ 9 พฤษภาคม 1945 ระหว่างทำการสอบสวน  อ๊อตโต รุงเง ได้ให้การดังต่อไปนี้

ช่วงเวลานั้นผมถูกจำคุกก่อนที่จะมีการไต่สวน  ทนาย กรินสบัค และผู้พิพากษา เฮนท์ซ  ได้มาพบผมในที่คุมขังและให้คำแนะนำว่าผมควรปฏิบัติตนอย่างไรในขณะที่ถูกไต่สวน         พวกเขาบอกว่าให้ผมยอมรับในข้อกล่าวหาทั้งหมดเพียงผู้เดียว นายทหารทั้งหลายล้วนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง     ผมถูกทึกทักเอาว่า  การฆ่า คาร์ล และ โรซา    เป็นการกระทำของผมเพียงคนเดียวและที่ทำไปเพราะอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถควบคุมสติได้

ระหว่างการสอบสวนในวันที่ 14 กันยายน 1945  อ๊อตโต รุงเง ได้กล่าวว่า
“หลังจากที่ผมได้ตอบคำถามทั้งหมดของผู้พิพากษาเฮนท์ซ ว่าผมได้ฆ่าโรซาและคาร์ลด้วยตัวผมเอง ในขณะที่อยู่ในภาวะที่ไม่อาจควบคุมตัวเองได้   ผมก็ไม่ได้ถูกตั้งคำถามอีกเลย”
และให้การต่อไปอีกว่า:
“จริงๆแล้ว  ผมไม่ได้เสียสติ ผมปกติทุกอย่างเหมือนคนทั่วไปและสามารถตอบคำถามเหมือนเช่นคนที่มีความสามารถควบคุมสติของตนได้”
“ก่อนการไต่สวน ผมถูกส่งไปโรงพยายามเพื่อทำการทดสอบถึง 3 ครั้ง   และแพทย์ที่ปรึกษา ด้ายกฎ หมาย  ด็อกเตอร์ ไลป์มาน และชตาร์ส-มอน ได้รายงานว่าผมมีสภาพป่วยทางจิต ”

หลังจากนั้นบรรดาเจ้าหน้าที่ทหารผู้มีส่วนร่วมในการสังหาร คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก เมื่อถูกศาลสอบถาม   ก็ตระโกนตอบด้วยความกราดเกรี้ยวจนประชาชนที่มาฟังคำพิจารณาได้ยินกันทั่วทั้งศาล ว่าพวกเขาไม่ได้ออกคำสั่งและไม่ได้มีส่วนรู้เห็นใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย    แต่ในทางสาธาร ณะเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเจ้าหน้าที่เหล่านั้นให้การเท็จทั้งๆที่เป็นผู้วางแผนฆ่า     ส่วน รุงเงถูกใช้เป็นเครื่องมืออันหนึ่งเท่านั้น     ผู้พิพากษา เฮนท์ซ  สั่งหยุดทำการไต่สวนและออกจากห้องพิจารณาไป
รุงเงถูกตัดสินจำคุก 25 เดือนโดยศาลแห่งนี้    ส่วนเจ้าหน้าที่ทหารทั้งหมดถูกตัดสินให้ยกฟ้อง

ในขณะที่ถูกจองจำอยู่นั้น    บางครั้งในเดือนพฤศจิกายน 1919   นายทหารคนหนึ่ง พันเอก อัพชเต็ทได้เข้าเยี่ยม รุงเง และเขาได้เล่าความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับการฆาตรกรรม คาร์ล และ โรซา ให้ฟัง  ใน ขณะที่เข้าเยี่ยม รุงเง พันเอก อัพชเต็ท ได้เขียนเกี่ยวกับการให้ปากคำของ รุงเง รายงานขึ้นฉบับหนึ่งและกล่าวภายหลังว่า รายงานฉบับนั้นถูกเสนอให้พิจารณาตอนที่ประธานคณะกรรมการศาลทหารจะทำการสอบสวนรายละเอียดเพิ่มเติมครั้งที่สองก่อนที่จะมีการตัดสินคดี   

31 มกราคม 1920 โดยการพิจารณาของศาลทหารสูงสุด รุงเง ถูกปล่อยตัวและถูกกักอยู่ในบ้านเพื่อคอยการพิจารณาคดีครั้งที่สอง

5 กุมภาพันธ์ 1920 มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายและนาย เฮปเปิร์ท ผู้บัญชาการเรือนจำ  ได้มาหา รุงเง และชี้แนะว่า การพิจารณาคดีครั้งใหม่เกี่ยวกับคดีฆาตรกรรม คาร์ล และ โรซา กำลังจะเริ่มขึ้น  แต่การปรากฎตัวของ รุงเง ครั้งนี้ในฐานะพยานในคดีที่ทหารถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพัน       แต่เนื่องจากถูกบีบทางการเมือง    ทำให้รุงเง ต้องถูกกักขังอีก     เฮปเปิร์ท ได้ริบเอาใบรับรองการพ้นโทษที่ออกให้  โดยศาลสูงสุดไป    ต้องคอยจน ถึงวันที่ 24 มีนาคม กว่าศาลจะเริ่มต้นเปิดพิจารณาอีกครั้ง

เนื่องจากมีการติดตามอย่างต่อเนื่องด้วยการตีพิมพ์บทความในวารสารโดยบรรณาธิการ บอร์นชไตน์   เกี่ยวกับการตัดสินที่ผิดพลาดของผู้พิพากษา เฮนท์ซ ในปี 1919 ในคดีฆาตรกรรม คาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก     การพิจารณาครั้งใหม่จึงได้เริ่มขึ้น  โดยมี รุงเง ปรากฎตัวในฐานะพยาน
ในระหว่างการซักถามในศาล เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ปีเดียวกัน อ๊อตโต รุงเง  ให้การว่า

“ประมาณ 8 วันก่อนพิจารณาคดีของผู้พิพากษาเฮนท์ซ   ผมได้รับข้อเสนอจากบุคคลสองคนว่าจะให้เงิน 10,000 มาร์ก แก่ผม  เพื่อให้การอย่างเดียวกันกับที่เคยให้ไว้เมื่อการไต่สวนปี 1919    ในคดีฆาตรกรรมคาร์ล ลิปเนคท์ และ โรซา ลุกเซ็มบวร์ก     ทั้งสองคนไม่ได้แจ้งชื่อเพียงแต่บอกว่าได้รับการร้องขอจากผู้พิพากษา เฮนท์ซ  แต่ผมปฏิเสธไม่รับข้อเสนอของพวกเขา”

ระหว่างการสอบปากคำครั้งนี้ รุงเง ยังได้ให้การเพิ่มเติมว่า

“ในขณะดำเนินคดีของผู้พิพากษาเฮนท์ซ     ผมได้พูดความจริงทั้งหมดว่าการฆาตรกรรมดำเนินไปอย่างไร  รวมถึงการพยายามฆ่า วิลเฮล์ม พิค  ซึ่งตัวเขามาเป็นพยานด้วย” 
การตัดสินคดีที่ฉ้อฉลในคดีที่เกี่ยวกับการสังหารคาร์ลและโรซาเมื่อปี 1919       ทำให้ผู้พิพากษาเฮนท์ซ ถูกไล่ออกจากตำแหน่งอัยการสูงสุดของเยอรมันหลังจากถูกสอบสวนดำเนินคดีสอบสวนในปี 1929

เนื่องจากไม่สามารถสืบสวนถึงสาเหตุการฆาตรกรรมได้ในวงกว้าง      แม้ผมได้มีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม      ตามความเป็นจริง..     ไม่สามารถหาพยานหลักฐานที่มีส่วนในการฆาตรกรรมโดยตรงได้     อีกอย่างหนึ่งสุขภาพของ รุงเง ก็ทรุดโทรมลงมากในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤศจิกายน  วันที่ 1กันยายน รุงเง ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากสุขภาพที่แย่ลงเรื่อยๆในวัยชรา(รุงเง เกิดเมื่อปี 1875)
อัยการทหารประจำกรุงเบอร์ลิน


พันเอก คอทลียา

No comments:

Post a Comment