Tuesday, August 11, 2015

บทเรียนจากชิลี 8

8..  รัฐ..ไม่เคยเป็นกลาง

ความผิดพลาดพื้นฐานของฝ่ายนำพรรคประชาชนสามัคคีที่จินตนาการว่า      รัฐของชนชั้นนายทุนจะยอมรับทัศนคติที่ “เป็นกลาง” ในพัฒนาการของการต่อสู้ทางชนชั้น       และในชิลีนับเป็นกรณีพิเศษเพราะมี ”ธรรมเนียมประชาธิปไตย” ในกองทัพ       ภายใต้ภาพลวงตาเหล่านี้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากบรรดานายพลจนถึงที่สุด       ก่อนหน้ารัฐประหาร.. หลังจากนายพล ลีห์  กุซมาน  ได้รับการแต่ง ตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพอากาศ     ได้กล่าวปราศรัยยืนยันว่าเห็นด้วยที่กองทัพ   “จะไม่แหวกประเพ ณีในการสนับสนุนรัฐบาลที่ถูกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ”     ภาพลวงตาเหล่านี้แพร่กระจายไปในหมู่ผู้ นำของพรรคประชาชนสามัคคี   โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ถูกเรียกว่าพรรคคอมมิวนิสต์    ในระยะแรก  หลุยส์  คอร์วาลัน  ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยในการปกป้อง “ความเป็นมืออาชีพ” และ ”ลัทธิรักชาติ” ของกองทัพชิลี     บทความที่ตีพิมพ์ใน ”เวิร์ล มาร์กซิส รีวิว” เดือนธันวาคม 1970  คอร์วาลัน เน้นหนักเป็นพิเศษถึงลักษณะพิเศษของกองทัพอากาศชิลีที่ “ยังคงดำรงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นมืออาชีพ  ที่ให้ความเคารพต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย”    ตามที่พูดนั้นผิด..น่าจะกล่าวว่า “พวกเขาคือทาสรับใช้จักรวรรดิ์นิยมและชนชั้นสูงมากกว่า”

อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1975 ในวารสารฉบับเดียวกัน  คอร์วาลันได้ยืนยันว่า “ทั้งๆที่มีความหลากหลายในหมู่พวกเขา..คนในกองทัพโดยทั่วไปยังยึดมั่นอยู่ในจรรยาบรรณ โดยให้ความเคารพต่อ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย     และให้ความภักดีต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกกฎหมาย”  และเช่นเดียวกันเขายังเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ มอร์นิ่งสตาร์ว่า ..”มันมีความจำเป็นการจะธำรงไว้ซึ่งการเผชิญหน้ากับกำลังติดอาวุธของประชาชน     ในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อกองทัพ....ซึ่งเรื่องเช่นนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนเพื่อความก้าวหน้าของชิลีโดยจะต้องไม่มีสิ่งหรือเหตุใดๆมาเป็นอุปสรรคขัดขวาง”

จะเอาชนะทหารได้อย่างไร?

ถ้า..ฝ่ายนำของพรรคประชาชนสามัคคีจะใช้เวลาเพียง 1 ในสิบ ที่ทุ่มเทให้กับการเอาชนะความเชื่อ มั่นและความเคารพจากชนชั้นผู้นำในกองทัพ     มาทุ่มเทให้กับกำลังพลในกองทัพอย่างจริงจังในรูปแบบของการเคลื่อนไหวแบบแรงงาน    การพ่ายแพ้ในวันที่ 11 กันยายนจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย
ถ้าอาเยนเดใช้เกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่ของเขาและอำนาจตามกฎหมายในฐานะประธานาธิบดีแห่งสาธารณ รัฐเปลี่ยนแปลงตำแหน่งนายพลผู้นำกองทัพ สถานการณ์ที่ออกมาคงจะผิดแผกไปจากนี้    ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีทางหลีกเลี่ยง และต่างมีประสบการณ์ในการเผชิญหน้ากับการเคลื่อนไหวของมวลชนมาแล้ว
จะเกิดความเครียดและความรู้สึกแปลกแยกในที่สุด        ชนชั้นนำที่อยู่บนยอดปิรามิดในทุกๆกองทัพนั้นย่อมมีสายใยที่มองไม่เห็นเชื่อมโยงอยู่กับชนชั้นปกครอง     ส่วนระดับล่างๆมักจะมีความใกล้ชิดกับชนชั้นผู้ใช้แรงงานและชาวนา    ทหารบกและทหารเรือเห็นด้วยกับมวลชนที่เคลื่อนไหวสนับสนุนรัฐบาลของพรรคประชาชนสามัคคี      เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในบรรดาทหารชั้นผู้น้อยให้ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน      จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้บรรดาทหารชั้นล่างมีความมั่นใจในความต้องการของกรรมกรโดยผ่านการต่อสู้จนถึงขั้นสุดท้าย      หรือพูดสั้นๆก็คือ...จะต้องทำให้ทหารชั้นล่างมีมีความเชื่อมั่นในความเป็นไปได้ของชัยชนะ   ถ้าปราศจากสิ่งนี้.. ความกลัวที่มีต่อนายทหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพก็จะทำให้พวกเขายังคงยึดมั่นอยู่กับระเบียบวินัย

ความเป็นจริงเมื่อวันที่ 11 กันยายนนั้น..มีทหารเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหาร  ในขณะที่ทหารส่วนใหญ่ถูกกักไว้ในค่าย        แสดงว่า นายพล ปิโนเช มีความเข้าใจสถานการณ์ตึงเครียดที่เป็นอยู่ในกองทัพดีกว่า อาเยนเด    แต่ที่ไม่มีการต่อต้านอย่างหนักหน่วงรุนแรงก็เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นการกระทบกระเทือนหรือได้ชัยชนะต่อทหารส่วนใหญ่ที่เลือกจะอยู่เฉยๆ..แม้จะมีความเห็นอกเห็นใจใจกรรมกรก็ตาม     ในแง่นี้..วิธีการของนักปฏิรูป ”ผู้รักสันติ” ทั้งหลายมักจะนำไปสู่การเป็นปฏิปักษ์กับผู้ที่มีความตั้งใจจะต่อสู้

บัดนี้..บรรดาผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้        พวกเขาได้พยายามที่จะ ปกป้องตนเองให้พ้นจากข้อกล่าวหา  เพื่อแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการอ้างเหตุผลทุกชนิด    หนึ่งในข้ออ้างที่มักจะใช้กันอยู่เสมอๆก็คือ... ในช่วงที่คับขันนั้นชนชั้นกรรมกรพบว่าตนเองถูก ”โดดเดี่ยว”   คำตอบสำหรับข้ออ้างเหล่านี้  เซปูลเวดา กล่าวว่า  “ชนชั้นกรรมกรไม่ได้ถูกโดดเดี่ยวเลย   แท้จริงแล้วพวกเขาได้แสดงออกถึงความอ่อนล้า    ทั้งชนชั้นไม่ได้มองถึงสิ่งตอบแทนใดๆในการต่อสู้เพื่อแสดงให้ฝ่ายศัตรูรู้   แต่เหนื่อยล้ากับการเดินขบวน   มันต้องมีการกระทำที่เป็นจริงในการขจัดปัญหาความขัดแย้งในสังคมและพวกเขาไม่ได้มีความรับรู้ใดๆในส่วนของการเป็นผู้นำทางการเมืองของตน     แต่พวกเขาพร้อมที่จะต่อสู้ในทุกขณะเมื่อได้รับคำสั่ง    ในวันที่ 11 และในกรณีเดียวกัน..แม้กระทั่งวันที่ 12 และ 13   กรรมกรยังคงรอคำสั่งอยู่” ('Socialismo Chileno, p37, our emphasis)

มวลชนถูกทอดทิ้ง

ทั้งพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ต่างก็มีอาวุธ  มีทฤษฎีชี้นำ  มีนโยบายทางการทหาร    แต่ในช่วงเวลาที่จริงจัง  อาวุธทั้งหลายแหล่กลับกลายเป็นแค่วัตถุเท่านั้น    นโยบายทางการทหารนั้นไร้ผล   บรรดาผู้นำส่วนใหญ่ตาลีตาเหลือกหลบหนี   ทอดทิ้งมวลสมาชิกของตนให้ช่วยเหลือตนเองเท่าที่พวกเขาจะทำได้      มันจบลงอย่างไร้คุณค่าสำหรับสามปีแห่งการต่อสู้เยี่ยงวีรชนของชนชั้นกรรมกรและชาวนาชิลี         มีคนกล่าวว่าการสละชีวิตของประธานาธิบดี อาเยนเด ถือได้ว่าเป็นการ ”ดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ” ของระบอบสังคมนิยมชิลี         และมันก็เป็นได้แค่ ”เกียรติยศ” และธรรมจรรยาที่เป็น นามธรรม เท่านั้น    ไม่ใช่ชัยชนะ  และเป็นความพ่ายแพ้ของการปฏิวัติสังคมนิยม    มันไม่ใช่เป็นเรื่องของชีวิตหรือความตายของคนๆหนึ่ง     

ในวันที่ชนชั้นกรรมกรได้ถูกสังหารหมู่..  ไม่มีแม้แต่ความเป็นไปได้ในการที่จะปกป้องตนเอง    ไม่ต้องสงสัยเลยถึงความจริงที่ว่า...ประธานาธิบดี ซัลวาดอร์ อาเยนเด ได้ยืนหยัดและสละชีวิตของตนภายใต้ซากสลักปรักพังของทำเนียบ โมเนดา     จะเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของบรรดาผู้นำที่น่านับถือหลายๆคนที่ได้ละทิ้งสมาชิกของตนให้ตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเลวร้ายที่ติดตามมา       พวก ผู้นำ ที่นั่งอยู่ในสถานลี้ภัยที่แสนสุขสบาย แล้วเขียนบทความอย่างยืดยาวเกี่ยวกับ  “การต่อต้านของวีรชนในชิลี”

ซัลวาดอร์ อาเยนเด ได้กลายเป็น“ผู้อุทิศตนเพื่ออุดมการณ์” ของการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน     แต่ความเห็นอกเห็นใจจากทั่วโลกไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ของวันที่ 11 กันยายน 1973  หรือทำให้อาเยนเดพ้นจากการมีส่วนในความรับผิดชอบต่อสิ่งเกิดขึ้นได้   มีความพยายามที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของมวลชนกรรมกรจากเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นจริง    และทำไมมันจึงเกิดขึ้น  โดยใช้วิธีการทุกชนิด  เช่นการโน้มน้าวจิตใจและสร้างตำนานความไม่น่าเชื่อถือของสังคมนิยมและการปฎิวัติ    แต่เราให้ความเคารพและมีความทรงจำที่ดีต่อ อาเยนเด  และผู้คนอีกนับพันนับหมื่นที่ไม่ปรากฏนามทั้งหญิงและชายผู้ซึ่งถูกฆาตรกรรมในวันต่อๆมาภายหลังเหตุการณ์   สำหรับชนชั้นกรรมกรเรา ภาระหน้าที่แรกสุดก็คือต้องเรียนรู้จากประสบการณ์โดยจะต้องไม่ให้มันเกิดซ้ำขึ้นอีก

ระบอบปกครองอะไร?

ในประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า..สำหรับชนชั้นกรรมาชีพแล้วไม่มีอะไรที่จะเลวร้ายไปกว่าการยอมจำนนโดยไม่มีการต่อสู้...  ตราบเท่าที่องค์กรจัดตั้งของพวกเขายังอ่อนปวกเปียกในขณะที่เผชิญหน้ากับความเป็นจริง    มวลชนจะตกอยู่ภายใต้ความสิ้นหวังโดยสิ้นเชิง        ไม่ว่าจะเป็นความพ่ายแพ้ของวีรชนในการต่อสู่เช่น ปารีส คอมมูน หรือแอสตูเรียน ที่เสปนในปี 1934 (การลุกขึ้นสู้ของกรรมกรเหมืองในแคว้นแอสตูเรียภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเสปน)   ได้ทิ้งไว้ให้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลังให้สืบสานต่อไป

ตัวอย่างที่ร้ายแรงที่สุดก็คือกระบวนการในเยอรมันเมื่อปี 1933   ซึ่งใชัวิธีที่เกือบจะเหมือนกับที่ผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีชิลีใช้     ผู้นำของพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันยินยอมให้ ฮิตเลอร์ ก้าวขึ้นสู่อำนาจโดย “ไม้ต้องทุบกระจกหน้าต่าง” (หมายถึงยินยอมต่อการข่มขู่โดยการใช้กำลัง) อย่างที่ฮิตเลอร์ได้คุยโวในภายหลัง   อะไรที่ส่งผลต่อทัศนะของการประนีประนอมแบบ    “สันติ อหิงสา” ของผู้นำกรรมกรเยอรมัน    การเคลื่อนไหวต่อสู้ของกรรมกรเยอรมันซึ่งก่อนหน้านี้กล่าวได้ว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลกได้กลายเป็นผุยผงเพียงชั่วข้ามคืน  ในทางปฏิบัติมันได้สาบสูญไปแล้วโดยสิ้นเชิง   ความสิ้นหวังและการหลงทิศผิดทางของชนชั้นกรรมกรเยอรมัน.    .เป็นผลมาจากความมืดบอดของบรรดาผู้นำซึ่งสามารถอธิบายได้อย่างพื้นฐานที่สุดก็คือการยอมจำนนภายใต้อำนาจของทรราชฮิตเลอร์   และในทางปฏิบัติก็คือไม่มีการจัดตั้งเพื่อต่อต้านพวกนาซีในเยอรมัน        ในเชิงเปรียบเทียบนี้ได้เกิดขึ้นในประเทศ ต่างๆ
หลังรัฐประหาร 11 กันยายน    การกระทำหลายสิ่งหลายอย่างของระบอบ ปิโนเช มีลักษณะฟาสซิสต์และในความเป็นจริงวิธีการต่างๆที่ใช้ต่อต้านชนชั้นกรรมกรของ ปิโนเช ก็คือการเข่นฆ่า  ทรมาน  และค่ายกักกัน   ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่เคยใช้มาแล้วในอดีตโดย ฮิตเลอร์  มุสโสลินี  และฟรังโก
ไม่เพียงเท่านั้น..กรณีเปรียบเทียบระหว่างชิลีและเยอรมันซึ่งมีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน  ในเบื้อง แรก..สถานการณ์ในชิลีของวันก่อนรัฐประหาร   ชนชั้นกรรมกรได้รับความชื่นชอบมากกว่าในเยอรมัน   ชนชั้นกรรมกรเยอรมันได้รับความบอบช้ำอย่างร้ายแรงต่อเนื่องจากความพ่ายแพ้ในระหว่างปี 1919 และ 1933   ในทางกลับกัน....ในชิลีกรรมกรได้รับชัยชนะหลายครั้งต่อความพยายามของพวกปฏิปักษ์-ปฏิวัติ   ในเดือนก่อนหน้ารัฐประหารที่ได้แสดงให้เห็นเมื่อวันที่ 4 กันยายน และความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้
แต่พื้นฐานที่แตกต่างกันคือ   ฮิตเลอร์ทุ่มตัวเองบนพื้นฐานของการเคลื่อนไหวในกลุ่มมวลชนฟาสซิสต์ “สังคมชาตินิยม”     ที่พึ่งพาการเคลื่อนไหวสนับสนุนอย่างจริงจังของมวลชนนับล้านๆคนของชนชั้นนายทุนน้อยที่โลเลสิ้นหวัง    พวกกรรมกรว่างงาน  และอันธพาลนับหมื่นคนที่จัดตั้งและติดอาวุธให้โดยหน่วยตำรวจลับ เอส. เอ.    เป็นที่แน่นอนว่าฐานมวลชนนี้เป็นฟาสซิสต์รูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากรูปแบบอื่นที่ใช้ตอบโต้กลุ่มอื่นๆโดยใช้ความรุนแรงอย่างถึงเลือดเนื้อ    เป้าประสงค์ของลัทธิฟาสซิสต์ คือการทำลายองค์กรจัดตั้งของกรรมกรให้สิ้นซาก     รวมไปถึงการขจัดตัวอ่อนของสังคมใหม่ที่อยู่ในครรภ์ของสังคมเก่าอีกด้วย
แต่เครื่องมือของรัฐชนชั้นนายทุนไม่เพียงพอต่องานทำลายล้างนี้  พื้นฐานของรัฐนั้นแคบเกินไปในการบรรลุการจัดการให้ถึงรากแก่นของชนชั้นกรรมาชีพ         จากเหตุผลที่ว่านี้..ลักษณะพิเศษของลัทธิฟาสซิสต์ในจุดหมายเบื้องต้นได้แก่การเคลื่อนไหวมวลชนชนชั้นนายทุนน้อยที่ “บ้าคลั่ง” ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติของระบอบทุนนิยมและไม่มีความมั่นใจในความศักยภาพของชนชั้นกรรมกรในการนำเสนอทางเลือกอื่นที่เป็นไปได้  จึงหันไปหาทางออกจากลัทธิฟาสซิสต์ที่มีการหลอกลวงทางการเมืองสูง ประกอบกับลัทธิ “สังคมชาตินิยม” ของมัน    นี่คือฐานมวลชนที่สนับสนุนระบอบฟาสซิสต์ให้มีความมั่นคงขึ้นและเปิดโอกาสให้มีการทำลายการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน  (ในเยอรมันแม้แต่ชมรมหมากรุกของชนชั้นกรรมกรก็ถูกสั่งปิด)
ระบอบฟาสซิสต์ในเยอรมันใช้เวลา 12 ปี  ในอิตาลี 20 ปี  ในเสปน ใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 40 ปีและ   ความเป็นจริงในระยะเวลาต่อมาระบอบปกครองก็ได้กลายสภาพไปเป็นรัฐเผด็จการของทหาร/ตำรวจที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความเฉื่อยเนือยของประชาชน      ระบอบปิโนเชท์ไม่เคยมีพื้นฐานมวลให้การสนับ  สนุนหากจะเปรียบเทียบกับระบอบฟาสซิสต์ทั่วไปกลุ่มฟาสซิสต์เช่นกลุ่ม “ปิตุภูมิและเสรีภาพ” ( ปาเตรีย อี ลิเบอร์ตาด/ Patria y Libertad) ที่ได้บ่มเพาะความสยดสยองและความวุ่นวายก็เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ     พวกเขาไม่มีบทบาทในการเป็นตัวของตัวเองได้เลยแม้แต่น้อย     ได้แต่แสดงออกแบบพวกปฏิกิริยา  โดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปในทิศทางที่เข้าไปแทรกแซงเสียมากกว่า      พวกเขาเป็นได้ไม่มากไปกว่ากำลังเสริมหรือกองหนุนของรัฐชนชั้นนายทุน      และพวกเขายังไปไม่ถึงระดับเดียวกับกลุ่มผู้สนับสนุนพรรค ฟาลางค์ ของเสปน(พรรคฟาสซิสต์ของเสปน)ในทศวรรษที่ 1930
เป็นความจริงที่ว่า..   เมื่อเกิดรัฐประหาร...ในส่วนของชนชั้นกลางถูกกระทบโดยอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นถึง 300% และความเชื่อมั่นที่ลดลงจากนโยบายด้านการเมืองของรัฐบาลพรรคประชาชนสามัคคี..เมื่อเฝ้ามองดูบรรดานายพลทั้งหลายต่างก็มีความหวังที่สอดคล้องกันที่จะหาวิธีแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ    แต่ไม่มีหนทางใดๆมาหนุนช่วยได้หากจะเทียบกับลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลีหรือเยอรมันในทศวรรษที่ 1930     การทำรัฐประหารของปิโนเช เป็นการกระทำโดยทหารซึ่งมีลักษณะอย่างเดียวกันกับการทำรัฐประหารของประเทศอื่นๆในลาตินอเมริกา   จะต่างกันก็ตรงที่ที่มีความสยดสยองมากกว่า   ลักษณะของความโหดร้ายนองเลือดของการรัฐประหารครั้งนี้เป็นเรื่องใหม่และเป็นครั้งแรกสำหรับลาติน  อเมริกา     จึงสามารถอธิบายอย่างชัดเจน..ถึงความกลัวของชนชั้นปกครองที่มีประสบการณ์ภายใต้รัฐบาลของอาเยนเด   ที่พวกตนต้องตกอยู่ภายใต้การกดดันของมวลชน    ซึ่งเป็นการมองภาพที่เลยไปไกลเกินกว่าเหตุมาก    บรรดานายทุนและเจ้าที่ดินได้ทำการแก้แค้นด้วยความรุนแรงโดยมีความมุ่งมั่นที่จะ  ”สั่งสอนและให้ได้รับบทเรียน” เสียบ้าง     อีกด้านหนึ่ง..การเคลื่อนไหวของกรรมกรนั้นมีความเข้มแข็งมาก  นั่นหมายความว่าปฏิกิริยาในการตอบโต้จึงต้องใช้มาตรการในระดับถึงเลือดถึงเนื้อมากกว่าในประเทศอื่นๆ
ระบอบเอกบุรุษ  (A bonapartist regime )

เผด็จการแบบ ทหาร-ตำรวจ   ที่พื้นฐานของมันมาจาก “ปกครองด้วยดาบ” ของระบอบบูชาคนเก่ง  แต่ระบอบนี้ในชิลี...สำหรับเหตุผลที่กล่าวถึงแล้ว.จำเป็นต้องมีลักษณะของการใช้ความรุนแรงโดยเฉพาะ ได้ลอกเลียนแบบวิธีการมาจากระบอบฟาสซิสต์     แต่ปิโนเช ไม่มี..และไม่เคยมีฐานมวลชนในสังคม ในการดำเนินภารกิจใจกลางของระบอบฟาสซิสต์        จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งด้วยการทำลายการเคลื่อนไหวทั้งหมดของมวลชนกรรมกรโดยพยายามแยกสลายให้ถึงที่สุด     แทนที่ด้วยการกดขี่อย่างหนักหน่วงซึ่งเป็นธรรมชาติของกลุ่มทหารที่ปกครอง      มันเป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีความมั่นคงภายใน  และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะอยู่ยงเท่ากับระบอบของฮิตเลอร์และมุสโสลินี    ซึ่งค่อนข้างจะเหมือนกลุ่มเผด็จการในกรีซ     ที่ทู่ซี้อยู่ถึง 7 ปี  แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาใดๆของระบอบทุนนิยมของประชาชนกรีกได้เลย   และในที่สุดก็ล่มสลายไปเปิดทางให้คลื่นลูกใหม่ของการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วที่ทำให้สังคมต้องชะงักงัน

ในระยะสั้น    ข้อผิดพลาดที่แสดงออกถึงความไม่มีเสถียรภาพและความมั่นคงอย่างยิ่งยวดก็คือไม่มีการต่อต้านกลุ่มปกครองจากมวลชนในชิลีที่มีความรู้สึกถึงการไร้พลังอำนาจ     หลังจากองค์กรจัดตั้งของกรรมกรชิลีได้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 11 กันยายน       การสังหารหมู่นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานเป็นไปอย่างเหี้ยมโหดทารุณ          การแยกสลายสหภาพแรงงานได้สร้างบรรยากาศที่สับสนอลหม่านไปทั่ว   ต่อสถานการณ์เช่นนี้.. ท่ามกลางวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ..การไม่มีงานทำและความหิวโหย   ละทิ้งการต่อสู้........สิ่งเดียวที่อยู่ในจิตวิญญาณของกรรมกรก็คือความท้อแท้สิ้นหวังและเฉื่อยเนือย     ดังนั้นจึงสามารถอธิบายได้ว่า..ทำไมระบอบเผด็จการจึงอยู่ได้อย่างยาวนานทั้งๆที่ในบ้านเมืองเต็มไปด้วยสารพันปัญหาและความขัดแย้งนานาชนิด      ทั้งยังมีเรื่องตลกร้ายให้เห็นอีกคือ.  หลังจากวันที่ 11 กันยายน   กลุ่มผู้นำที่ปฏิเสธการติดอาวุธให้แก่กรรมกร-ชาวนาอย่างเป็นระบบซึ่งจะสามารถนำไปสู่ชัยชนะได้นั้นพวกเขาทำอย่างไรกัน ?      หลายต่อหลายครั้งที่พวกเขาได้ปวารณาตัวเองขึ้นมาเขียนบทความมาก มายหลายชิ้นจากสถานที่ลี้ภัยที่อยู่ไกลโพ้นและมีความปลอดภัย       เรียกร้องให้ติดอาวุธเพื่อต่อต้านพวกเผด็จการ!!!!

มากกว่าหนึ่งปีหลังการรัฐประหาร      โฆษกพรรคคอมมิวนิสต์ชิลีได้มีคำประกาศออกมาอย่างต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์ ”ลา เสต็มปา” ของอิตาลี  เห็นด้วยกับ  ”องค์กรฝ่ายซ้ายทั้งหลายของชิลีจะติดอาวุธ  แต่ต้องพิจารณาถึงการควบคุมจำนวนของมันด้วย” และ “ การต่อสู้โค่นล้มระบบอบทหาร”   ช่างเป็นโลกแห่งความฝันสำหรับวีรบุรุษผู้ลี้ภัยเหล่านั้นอาศัยอยู่”

แน่นอน..สิ่งสุดท้ายที่ควรจะเสนอแนะภายใต้สถานการณ์เหล่านี้คือการต่อสู้ด้วยอาวุธ     สงครามกองโจร   หรือลัทธิก่อภัยร้ายต่อบุคคล   ผลลัพท์ที่คนกลุ่มน้อยผู้ผลักดันความคิดเหล่านี้ในชิลีได้สะท้อนกลับที่เป็นไปในเชิงลบเสียมากกว่า      ความไร้สติและไม่มีความจำเป็นทำให้ต้องสูญเสียสหายเยาวชนผู้กล้าหาญที่มีแนวคิดที่ไม่ถูกต้องไปคนแล้วคนเล่าและทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกขึ้นในกลุ่ม     ถึงกระนั้นก็ยังมีกลุ่มแกนเล็กๆของชนชั้นกรรมกรทั้งที่เป็นสมาชิกของพรรคสังคมนิยมและพรรคอมมิวนิสต์ ได้เริ่มรวมตัวกันขึ้นอย่างช้าๆท่ามกลางความเจ็บปวดในการแบกรับภาระหน้าที่ๆยากลำบากด้วยการทำงานใต้ดิน


ไม่เหมือนกับกลุ่มผู้นำที่ลี้ภัย    บรรดาสหายเหล่านี้ไม่เคยพยายามที่จะปิดบังสภาพที่เลวร้ายด้วยคำพูดที่ระรื่นหู    แต่จะพูดความจริงและซื่อสัตย์ถึง การปราบปราม  การกดขี่  ความอดอยากและ การก่อภัยสยดสยองต่อประชาชน     เงื่อนไขที่ดีที่สุดของชนชั้นกรรมกรก็คือ  ไม่ว่าจะอยู่ในคุก  ในงานใต้ดิน  ในค่ายกักกัน   ต่างก็พยายามทำภาระหน้าที่พื้นฐานของตนให้บรรลุในการสรุปบทเรียนที่ถูกต้องจากประ สบการณ์อันเลวร้ายของพวกเขา       แต่โชคร้าย..ดูเหมือนว่าพวกผู้นำที่อาวุโสทั้งหลายต่างไร้ความสามารถและไม่เต็มใจที่จะทำเช่นนั้น

No comments:

Post a Comment