Wednesday, July 22, 2015

บทเรียนจากชิลี 5

5. รัฐบาล  ฟราย  (เอ็ดดูอาโด ฟราย มอนทาลวา   1911 –   1982   นักการเมืองระดับนำของชิลี   หัวหน้าพรรค คริสเตียน เดโมแครท ละเป็นประธาณาธิบดี คนที่ 28 ของชิลี ระหว่างปี  1964 ถึง1970.)  
นอกเหนือจากนี้, ภาคเกษตรกรรมทั้งหมดก็อยู่ในกำมือของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่   ทำให้ชิลีต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์ด้านเกษตร กรรมเพื่อเลี้ยงดูพลเมืองของตน,แม้ว่าจะมีอัตราส่วนของที่ดินสำหรับเพาะปลูกต่อหัวมากกว่าหลายประเทศในยุโรป     สาเหตุของมันไม่ยากในการค้นหากล่าวคือเจ้าที่ดินใหญ่ได้จ้างแรงงานราคาถูกแทนการใช้เครื่องจักรกล   และให้ความสนใจน้อยมากต่อวิธีทำการเกษตรกรรมแบบสมัยใหม่      ด้วยวิธีการผลิตด้วยแรงงานของชาวนาชิลีที่อดอยากจึงเป็นสาเหตุของการผลิตในภาคเกษตรของชิลีอยู่ในระดับต่ำ        ความจำเป็นเร่งด่วนในการปฏิรูปการเกษตรอย่างจริงจังในชิลีเป็นเรื่องที่ประจักษ์กันมาหลายทศวรรษแต่ไม่เคยมีรัฐบาลนายทุนที่ ”ก้าวหน้า” ใดๆสามารถขับเคลื่อนปัญหานี้อย่างจริงจัง,เนื่องมาจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น
ก่อนหน้าวันเลือกตั้งประธานาธิบดีของปี 1964 ประชากรที่เป็นชาวนามีจำนวน 30%   แต่เมื่อทศวรรษก่อนกระบวนการได้เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง      จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี 1940   ประชาชนร้อยละ 52 อาศัยอยู่ในเมืองและได้เพิ่มขึ้นเป็น 66 % ในปี 1960      คลื่นของการหยุดงานและระดับจิตสำนึกที่สูงขึ้นของชนชั้นกรรมกรชิลีได้เตือนให้บรรดานายทุนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งปี 1964   ทำให้รัฐบาลของ อเล็กซานดรีต้องอับอายอย่างมาก     กลุ่มคณาธิปไตยจำเป็นต้องหาทางเลือกทางทางการเมืองที่จะหยุดยั้งความได้เปรียบของพรรคการเมืองของกรรมกร       ทางเลือกนั้นก็คือพรรค คริสเตียน เดโมแครต  ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1957
 ประชาธิปไตยแบบคริสเตียน    เครื่องชี้แสดงที่ชัดเจนที่สุดของความอ่อนแอของชนชั้นนายทุนชิลีและการเติบใหญ่ของการแนวทางเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งในเมืองและชนบท   การเลือกตั้งปี1964ได้ลดการต่อสู้ระหว่าง คริสเตียน เดโมแครต ที่มี ฟราย เป็นตัวแทน และพรรคFRAP(พรรคแนวร่วมประชาชน ) ที่มีอาลเยนเอเป็นตัวแทนลงไป   ทั้งสองพรรคต่อสู้กันภายใต้คำขวัญการปฏิรูปสังคมชิลีอย่างถึงราก ฐาน
พรรคคริสเตียน เดโมแครต  ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มคณาธิปไตยมีจัดเจนช่ำชอง    ได้ฉวยโอกาสใช้ประโยชน์จากนโยบายแบบ ”เอียงซ้าย” ที่ปั้นแต่งขึ้นมาเพื่อหลอกลวงทางการเมืองในการเรียกคะแนนเสียงจากมวลชนนายทุนน้อยทั้งในเมืองชนบท       โดยทั่วไปแล้วชาวนาและชนชั้นกลางไม่ใช่ชนชั้นที่มีความเข้มแข็งเหมือนชนชั้นกรรมกรและชนชั้นนายทุน        เพราะมีทั้งชาวนารวยและชาวนาจน และทั้งหมดนั้นอยู่คั่นกลางระหว่างชนชั้นกรรมกรละชนชั้นนายทุน       ชั้นบนของพวกเขาโดยเฉพาะชาวนารวยมักจะใกล้ชิดกับชนชั้นนายทุน    ในขณะที่ชาวน่าจน  ผู้เช่านา และชาวนารับจ้างนั้นเป็นพันธมิตรโดยธรรมชาติของชนชั้นกรรมาชีพ    พรรคการเมือง ”เสรีนิยม”อย่างพรรค คริสเตียน เดโมแครต ของชนชั้นนายทุน จะมีอิทธิพลในชั้นชน นักกฎหมาย  ครู  ปัญญาชน  แพทย์  และแน่ นอนรวมไปถึงพระและนักบวชด้วย รวมทั้งบรรดาผู้คนจากชนบทที่มีความคุ้นชินกับการถอดหมวกแสดงความนอบน้อมจากชาวนามานาน     ท่านสุภาพบุรุษเหล่านี้รู้ดีว่าควรพูดอย่างไร

ปัจจัยต่างๆเหล่านี้สบโอกาสเหมาะในการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงที่สุด   ไม่ว่าจะเป็นสำนวนโวหารที่ “ปฏิวัติ” เพื่อให้ยังคงมีอิทธิพลในหมู่มวลชน      พวกเขาแสดงตนต่อชาวนาและเจ้าของร้านเล็กๆเยี่ยง “มิตรของประชาชน”  ประกาศตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างประชาชนและเจ้าหน้าที่   เป็นผู้ ปกป้องประชาชนที่ยากจนและต่ำต้อย

แต่หลังการเลือกตั้ง...ปัจจัยที่เคยทำนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลง     หากแต่นำไปใช้บริการกับทุน ส่วนมากแล้วเป็นไปในทิศทางที่รับใช้และสอพลอ...นี่คือบทบาทที่แท้จริงของพวกเขา     ชนชั้นกลางได้เดินอยู่บนสายพานที่เชื่อมต่อกันระหว่างนายธนาคารและนักผูกขาดใหญ่รายอื่นๆ      ผลประโยชน์ของนักกดขี่ทางการเมืองชนชั้นกลางเหล่านี้คือการไปไปสู่ทุน     ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำให้เกิดความไม่รู้และสร้างความงุนงงสับสนให้ชาวนานับล้าน,เจ้าของกิจการขนาดเล็ก และเป็นไปได้ต่อมวล ชนกรรมกรและสตรีที่ล้าหลัง ฯลฯ     การปฏิวัติสังคมนิยมจะมีความเป็นไปได้อีกครั้งหนึ่งก็ต่อเมื่อการ    ควบคุมของฝ่ายเสรีนิยมและคริสเตียน เดโมแครต ที่อยู่เหนือชนชั้นกลางและชาวนาได้ขาดสะบั้นลง       นโยบายต่อต้านนักลัทธิเลนินของพรรคคอมมิวนิสต์ชิลีที่มีรากฐานมาอย่างยาวนาน   จึงมีความจำเป็นด้วยการเป็นพันธมิตรกับศัตรูที่เข้มแข็งของสังคมนิยม

เป็นที่ชัดเจนว่าสังคมได้บ่มเพาะความไม่พอใจของมวลชนให้สุกงอมขึ้น     ซึ่งเพียงพอกับการย้อนไปคิดถึงความจริงในคำขวัญ ของพรรคคริสเตียน เดโมแครต เมื่อปี 1964     ซึ่งไม่ใช่อะไรที่มากไปกว่า “การปฏิวัติเสรีภาพ”  และในความเป็นจริงประชาชนมีความมั่นใจและฝากความหวังของตนไว้ที่รัฐบาล ฟราย  ที่ได้รับเสียงข้างมากถึง 56%  จาก 2.5 ล้านเสียงจากคูหาเลือกตั้ง    ผลการเลือกตั้งสภาล่างในปีถัดมาได้ยืนยันชัยชนะของพรรค คริสเตียน เดโมแครต  ที่ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจาก 23 ที่นั่ง เป็น 82 ที่นั่ง   อีกด้านหนึ่งก็คือบรรดาพรรคฝ่ายขวาถูกพิชิตลงอย่างเจ็บปวด    

ประชาชนส่วนใหญ่มีความ หวังต่อ ” การปฏิวัติเสรีภาพ”, การปฏิรูปเกษตรกรรม, และการทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป็นของชาวชิลี
ประสบการณ์ของรัฐบาลฟราย  ได้แสดงออกอีกครั้งหนึ่งถึงการไร้ความสามารถของพวกเสรีนิยมชนชั้นนายทุนในการสานต่อภาระกิจที่เร่งด่วนที่สุดของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน   ภายใต้การนำของฟราย,รัฐได้เข้าถือหุ้นจำนวน 51% ของบริษัททองแดงขนาดใหญ่ของสหรัฐ..แต่นั่นก็ไม่สามารถขจัดการผูกขาดควบคุมของจักรพรรดิ์นิยมอเมริกาที่มีเหนือเศรษฐกิจของชิลีได้แม้แต่น้อย    การปฏิรูปเกษตรกรรมเดินหน้าไปอย่างล่าช้าเหมือนหอยทาก   ผลของมันสรุปได้จากถ้อยคำต่อไปนี้

หากวัดด้วยมุมมองทางคุณภาพ, การทำงานของรัฐบาลพรรคคริสเตียน เดแครต สัมพันธ์กับการแบ่งสรรที่ดิน,ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับความชื่นชมเป็นอย่างยิ่งจากชาวนา 28,000 ครอบครัว   ซึ่งถูกจัดให้ลงหลักปักฐานในการปฏิรูปเกษตรกรรมหรือเข้าเป็นสมาชิกฟาร์มสหกรณ์ 1,300 แห่ง   ซึ่งไม่ว่าจะได้มาจากความตั้งใจหรือถูกเวนคืนในโครงการปฏิรูปทั้งหมดประมาณ   3 ล้านสี่แสนเฮกตาร์   นั้นหมายถึง 13% ของที่ดินที่สามารถเพาะปลูกได้  และครอบครัวชาวนาที่ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่พอเพียงจำนวน 5%  และ 10% จะได้รับเงินช่วยเหลือ   รัฐบาลพรรค คริสเตียน เดโมแครตเองได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถทำให้ชาวนา 100,000 ครอบครัวเข้าถึงที่ดินภายในระยะเวลา 6 ปี    นั่นหมายถึงการบรรลุนโยบายไปแล้วถึงหนึ่งในสาม

แผนนโยบายของฟราย เช่นการเข้าแทรกแซงกิจการธนาคารยังคงอยู่ในกระดาษ       มวลชนทั้งชาวนาและกรรมกรได้ผ่านโรงเรียนของพรรคคริสเตียน เดโมแครต และได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ามันคือ ...การหลอกลวงครั้งยิ่งใหญ่    สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างถึงราก     แต่สิ่งที่ได้รับคือภาวะการถูกครอบงำอย่างต่อเนื่องของพวกคณาธิปไตยและจักรพรรดิ์นิยมที่อยู่เบื้องหลังของการมี “ ประชาธิปไตยมากขึ้น” ที่ฉาบหน้าอยู่    บทบาทที่แท้จริงของพรรค คริสเตียน เดโมแครต คือ  ผู้ปกป้องที่ซื่อสัตย์ของของกลุ่มคณาธิปไตย...ที่ได้แสดงออกอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนในการกดขี่ชาวนาและกรรมกร    บรรดาเหยื่อ ในกรณีเหมือง

ความล้มเหลวของรัฐบาลพรรค คริสเตียน เดโมแครต
หลังจาก ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งปี 1964 บรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์  มีความเป็นไปได้ในการยกระดับความร่วมมือกับรัฐบาล
สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 1964 ของพรรค น่าจะบรรลุข้อตกลงที่มุ่งเน้นการจัดการกับพรรครัฐบาลได้หรือยัง?   หรือเพียงแต่ให้ชนชั้นกรรมกรยอมจำนนต่ออำนาจที่เหนือกว่าของชนชั้นนายทุนมาอย่างยาวนาน.......” ถ้าเช่นนี้(การ นำพรรคสังคมนิยมไปขึ้นต่อพรรคคริสเตียน เดโมแครต). คือการร่วมมือกัน ,ด้วยการหนุนช่วยกันในยามคับขัน  หรือเป็นพรรคฝ่ายค้านตามกฎหมาย   เราจะไม่ถูกทำให้อ่อนแอลงจากฐานสนับสนุนของเราในสังคม   และหนทางไปสู่ความนิยมของเราจะไม่ถูกปิดลง”  
มวลชนที่สนับสนุนพรรค คริสเตียน เดโมแครต ได้หดหายไปอย่างรวดเร็ว   ความไม่พอใจต่อปัญหาที่หมักหมมอยู่ของชนชั้นนายทุนน้อยได้ก่อหวอดขึ้นในเรื่องการจัดตำแหน่งในพรรคของฟรายเอง   สะท้อนออกโดยการแยกตัวในปี 1969 ของกลุ่มปีกซ้ายที่ก่อตั้งพรรค MAPU ขึ้นและพัฒนาไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์ที่รุนแรง
ในสภาพเช่นนี้  มีความพยายามจัดตั้งแนวร่วมกันขึ้นมาใหม่ในการเลือกตั้งระหว่างพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์   ในคราวประชุมโต๊ะกลม, เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับแนวร่วมทั่วไปเป็นที่ถกเถียงกัน ทำให้เกิดความบาดหมางขึ้นระหว่างตัวแทนของพรรคทั้งสอง    และต่อมาเป็นที่ประจักษ์กันดีถึงปัญหาของสังคมนิยมในชิลีว่า  “เป็นทัศนะที่ยืดเยื้ออย่างไม่มีวันจบสิ้น” ('Socialismo Chileno,' p 31)
ขณะที่ อาเยนเด มีความจริงใจและเชื่อมั่นอย่างไม่ต้องสงสัยในความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่สังคมนิยมโดยแนว ทางรัฐสภา, แต่สำหรับผู้นำฝ่ายนิยมสตาลินยังวนเวียนอยู่กับปัญหาที่ว่ายังไม่ใช่เวลาของสังคมนิยม   ผลก็คือเอกสารชี้นำเต็มไปด้วยความกำกวม ไม่ปะติดปะต่อ     อย่างที่ได้ยืนยันไว้ใน “เอกสารฉลองวันครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลี”
 “ การปรึกษาหารือกันในการประชุมโต๊ะกลมจบลงด้วยการเรียกตัวเองว่า “แนวร่วมสามัคคี”   การประชุมรอบนี้มีผลต่อแนวทางนโยบายของรัฐบาล ”แนวร่วมสามัคคี” , ซึ่งเป็นที่รวมของความแตกต่างกันในโครงร่างนโยบายทางการเมืองอันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ทั้งสองพรรคให้ตกอยู่ในสภาพที่ขัดแย้ง     เป็นลักษาการของสังคมนิยมและประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนในการปฏิวัติชิลี, ซึ่งต่อมาได้ถูกปกป้องโดยพรรคคอมมิวนิสต์ชิลีและพรรคสังคมนิยมในยุคก่อนหน้านี้    ความขัดแย้งนี้ดำรงอยู่ในรัฐบาลแนวร่วมสามัคคีมาตั้งแต่ต้นจนจบ”
 แนวร่วมสามัคคี (United Front)
“ชัยชนะในวันที่ 4 กันยายบน  และผลที่เกิดจากการขยายนโยบายทำให้กระบวนการปฏิวัติอ่อนแอลงโดยทันที   เป็นช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่เกิดสภาวะตึงเครียดทางชนชั้น:  ปฏิวัติหรือปฏิปักษ์ปฎิวัติ    มันไม่ใช่นโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นหรือทำให้ลุล่วงไปโดยรัฐบาลเอง   ซึ่งเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองหวาดกลัว,แต่พลวัตรการปฏิวัติของมวลชนย่อมเป็นอันตรายที่แท้จริงต่อระบอบทุนนิยม   นอกเหนือสิ่งอื่นใด...พวกเขาหวาดกลัวต่อการนำขบวนการโดยชนชั้นกรรมกร       ได้แสดงออกเบื้องแรกถึงการ ครอบงำรัฐบาลของนักสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ในองค์กรแนวร่วมสามัคคีในการเคลื่อนไหวมวลชน”    แต่ทว่า...เงื่อนไขทางอัตตวิสัยภายหลังจากนี้    เกี่ยวกับการนำ  ไม่รู้ว่าจะสนองตอบอย่างไรสำหรับความเป็นจริงที่จะนำไปสู่ขบวนแถวของการปฏิวัติ    ความเป็นจริงที่ก้าวล้ำหน้าขอบเขตทางภววิสัยโดยขบวนการแนวร่วมในปี 1969” ('Chilean Socialism', page 85)

องค์กรแนวร่วมสามัคคีไม่ได้มีแต่เพียงการรวมตัวของพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น   ยังมีขบวนแถวของบรรดาพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนน้อยและกลุ่มการเมืองต่างๆ  (MAPU, API, PSD และกลุ่มราดิคาล) ที่มีฐานมวลชนเพียงเล็กน้อย    พรรคราดิคาลที่เข้าร่วมในขณะนั้นเป็นตัวแทนของชนชั้นนายทุนอย่างไม่ต้องสงสัย,ที่ได้แยกตัวออกมาเนื่องจากแรงกดดันของมวลชน    ในฐานะที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับองค์กรแนวร่วมมาก่อนเมื่อทศวรรษที่ 1930 ในครั้งที่พรรคราดิคัลเก่าได้ครองเสียงข้างมาก     ซึ่งกลุ่มราดิคาลของ อัลแบร์โต บาลตรา ได้แยกตัวออกมาร่วมกับพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นพรรคของมวลชนกรรมกรในขณะที่เป็นพลังที่มีบทบาทสำคัญ     แม้ว่ากลุ่มผู้นำที่นิยมสตาลินยังยึดติดแน่นอยู่ในผลประโยชน์กับรัฐบาลราดิคัลในปัจจุบัน,ไม่ ใช่เพราะให้ความสำคัญกับการเลือกตั้ง        หากแต่เพราะไม่สามารถบรรลุนโยบายด้านสังคมนิยมอย่างที่ไม่อาจอภัยให้ได้  “ เราไม่อาจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วได้   เพราะนั่นจะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่พันธมิตร ”    ยุทธวิธีแบบเดียวกันนี้ฝ่ายนำของพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสได้เคยใช้มาก่อนแล้ว  เช่นเดียวกับพรรคราดิคัล

ฝ่ายที่ยืนอยู่ตรงกันข้ามกับ ”แนวร่วม” คือพรรคของชนชั้นนายทุนสองพรรคได้แก่พรรคแห่งชาติของ อเลสซานดรี ซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มคณาธิปไตยชนชั้นนายทุนอย่างเปิดเผย   และพรรคคริสเตียน เดโมแครต ที่มีโทมิคเป็นตัวแทน   ซึ่งเป็นคนที่อันตรายอย่างยิ่งที่จะฟื้นภาพลักษณ์ของพรรค “ปีกซ้าย” ที่สนับสนุนการยึดกิจการเหมืองทองแดง ธนาคารต่างชาติ เข้าเป็นของ รัฐ  และเร่งปฏิรูปเกษตรกรรม   แต่ครั้งนี้มวลชนไม่ยอมถูกหลอกลวงจากสัญญาจอมปลอมของพรรค คริสเตียน เดโมแครต อีก ต่อไป  ผลการเลือกตั้งจึงออกมาดังนี้

อาเยนเด   1,075, 616 เสียง (36.3%)      อเลสซานดรี  1,036,278 เสียง (34.9%)     โทมิค  824,849 เสียง (27.8%)

ผลการลงคะแนนที่ออกมาแสดงให้เห็นถึงความตกต่ำอย่างเห็นได้ชัดของพรรค คริสเตียน เดโมแครต   แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนขั้วในสังคมชิลี   ความจริง พรรคคริสเตียน เดโมแครตได้สูญเสียฐานะการครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนไปเรียบร้อยแล้วในเดือนมีนาคม 1969 คือได้ที่นั่งในสภาผู้แทนเพียง 50 ที่นั่งใน 150 ที่นั่ง

ผลของการเลือกตั้งในปี 1970  แนวร่วมสามัคคี เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ    แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ใช่เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด   จึงเป็นเงื่อนไขที่พวกฝ่ายขวาจะใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างสถานการณ์ก่อนที่อาเยนเดจะจัดตั้งรัฐบาล    ฝ่ายนำขององค์กรแนวร่วมมีทางเลือกอยู่สองทางคือไม่ยอมรับการขู่กรรโชก ของชนชั้นนายทุนและเพรียกร้องขอความเห็นใจจากมวลชน, หรือประณามแผนอุบายสกปรกของชนชั้นนายทุนที่คัดค้านความต้องการของมวลชน,ที่จัดตั้งองค์กรมวลชนขนาดใหญ่ทำการเคลื่อนไหวทั่วประเทศ      หรือกดดันให้ยอมรับสถานการณ์ที่ตนกำหนดขึ้น   

ชาวสังคมนิยมที่มีลักษณะสู้รบต่างมีความเดือดดาลต่อเล่ห์เพทุบายของชนชั้นนายทุน,และไม่ต้องสงสัยเลยว่าความไม่พอใจของมวลชนได้เพิ่มสูงขึ้น,  ต้องการให้ฝ่ายนำขององค์กรแนวร่วมจัดการรณณรงค์และให้คำชี้แจง    ในเดือนมิถุนายน 1970 องค์กรแรงงานชิลีได้คุกคามด้วยการจัดให้มีการนัดหยุดงานไปเรียบร้อยแล้ว     ในสถานการณ์ครั้งนั้นชนชั้นกรรมกรได้กลายเป็นพลังชี้ขาดของสังคม  เพราะ 75% ของประชาชนล้วนแล้วแต่ยังชีพด้วยเงินเดือนค่าจ้าง,โดยเฉพาะที่เป็นพื้นฐานอยู่ในเมือง (อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ)  พลเมืองที่อยู่ในภาคเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวนั้นมีอยู่ไม่ถึง 25%    

พลังการเคลื่อนไหวของกรรมกรชิลีนั้น ได้แสดงออกด้วยการนัดหยุดงานในสมัยของรัฐบาล  อิบาเนซ และ อเลสซานครี  บรรดากรรมกรต่างรู้ดีถึงการรณณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้นเต็มไปด้วยการใช้เล่ห์เหลี่ยมและกลอุบายสกปรกเพื่อต่อต้านองค์กรแนวร่วมสามัคคีที่กำกับโดยจักรวรรดิ์นิยมและกลุ่มอนาธิปไตย เป็นความพยายามในการเคลื่อนไหวสกัดกั้นการเข้ามาเป็นรัฐบาลของ อาเยนเด อย่างไม่เคยมีมาก่อนซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและในทุกๆเมืองและหมู่บ้านทั่วทั้งประเทศ 

มากไปกว่านั้น, สำหรับนักลัทธิมาร์กซแล้วแม้ว่าผลของเลือกตั้งจะเป็นเสมือนมาตรสำคัญในการวัดระดับจิตสำนึกของมวลชน นั่น มิใช่เป็นเพียงปัจจัยเดียวในการพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีของเรา    เรา...ที่เป็นชาวลัทธิมาร์กซไม่ใช่ชาวอนาธิปไตย,   ด้วยเหตุผลนี้....เราจึงเข้าร่วมในการเลือกตั้งและต้องการที่จะใช้ทุกๆกลไกของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนให้ประโยชน์  รวมไปถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสันติ     โดยผ่านวิถีทางรัฐสภาที่ถูกกฎหมาย, ถ้าหากจะได้รับโอกาสที่จะกระทำเช่น นั้นได้      

แม้ว่าตลอดระยะเวลาของประวัติศาสตร์โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของชิลีได้แสดงให้เห็นว่า.. ชนชั้นปกครองจะมีความอดกลั้นต่อการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยในขอบเขตจำกัดเท่านั้น      ยามใดเมื่อพวกเขาเห็นว่าอำนาจและอภิสิทธิ์ของพวกเขาถูกคุกคาม,พวกเขาจะไม่ลังเลเลยที่จะเป็นฝ่ายล้มกระดานก่อนแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อ “พิทักษ์กฎเกณฑ์”  ซึ่งเป็นกฎที่พวกเขาตั้งขึ้นเองเพื่อและปกป้องอำนาจและความมีอภิสิทธิ์และปราบปรามทำลายประชาธิปไตยของชนชั้นกรรมกร      ไม่!...เราคือนักลัทธิมาร์กซไม่ใช่นักอนาธิปไตย.....เราเป็นผู้อยู่ข้างสัจธรรมและได้เรียนรู้บทเรียนบางเรื่องจากประวัติศาสตร์     ด้วยความเคารพ...สหาย เซปูลเวดาได้กล่าวไว้อย่างถูก ต้องที่สุดว่า 

ว่าด้วยเรื่องของอำนาจ,มันไม่ใช่ปัญหาที่มีความสัมพันธ์กันเหมือนในวิชาคณิตศาสตร์ว่ามีกำลังมากหรือน้อย    ตัวอย่างเช่นในเดือนมีนาคม 1973  เรามีเสียงอยู่ 50 หรืออาจมากถึง 55 แต่ก็มิได้มีความหมายต่อจักรวรรดินิยมและชนชั้นนายทุนใหญ่เลยที่จะหยุดการตระ เตรียมการรัฐประหารหรือหยุดความต้องการในการล้มล้างเรา       ประสบการณ์ทางประวัติ ศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าแม้พวกเขาจะเป็นเสียงส่วนน้อย   แต่ก็มีความพยายามที่จะปกป้องการครอบงำทางชนชั้นด้วยความรุนแรง” (Socialismo Chileno, P 36)
สหายชาวสังคมนิยมส่วนใหญ่ละบางทีก็ชาวคอมมิวนิสต์ด้วย   ต่างได้คาดคะเนไว้ล่วงหน้าแล้วถึงกับดักอันต่ำช้าของชนชั้นนายทุนที่ได้ตระเตรียมไว้      ผู้สนับสนุนตัวสำคัญในเล่ห์อุบายนี้คือพรรค คริสเตียน เดโมแครต   ซึ่งครั้งหนึ่งได้เผยให้เห็นถึงธาตุแท้ของนักปกป้องเจ้าเล่ห์,ที่ปกป้องผลประโยชน์ของนายทุนใหญ่และจักรพรรดิ์นิยมอเมริกาที่เป็นเจ้านายของมัน

ภายใต้การกดดันอย่างหนักหน่วงของ โควาลันและพวกพ้องทำให้ อาเยนเด จำต้องทำความตกลงกับพรรค คริสเตียน เดโมแครต และยอมรับสิ่งที่เรียกว่า “ข้อตกลงว่าด้วยหลักประกันของรัฐธรรมนูญ”  ในการก่อตั้ง ”กองกำลังเอกเทศ”  หรือการแต่งตั้งนายทหารในกองทัพซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ผ่านวิทยาลัยทางการทหาร    อีกด้านหนึ่งต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในกองทัพบก เรือ อากาศ หรือ ตำรวจนอกจาก  จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาซึ่งพรรคการเมืองชนชั้นนายทุนยังครองเสียงข้างมากอยู่      
ด้วยวิถี ทางเช่นนี้อาเยนเดและบรรดาผู้นำองค์กรแนวร่วมได้พลัดหลงเข้าสู่กับดักตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว, โดยลืมพื้นฐานด้านหลักของลัทธิมาร์กซ และลืมคำอารัมภบทของนโยบายเมื่อครั้งการก่อตั้งพรรคสังคมนิยมชิลีไปเสียสิ้นที่กล่าวว่า  “ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบระบอบประประชาธิปไตยแบบวิวัฒนาการนั้นไม่มีทางเป็นไปได้  เพราะชนชั้นปกครองได้จัดตั้งองค์กรพลเรือนติดอาวุธของตนเองและได้สร้างระบอบเผด็จการขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่งความยากไร้ของชนชั้นกรรมกรให้ดำรงอยู่ต่อไปและไม่สนใจที่จะทำการปลด ปล่อยแต่อย่างใด”

No comments:

Post a Comment