Monday, July 20, 2015

บทเรียนจากชิลี 4

4.แนวร่วมแตกสลาย   

แม้ว่าข้อตกลงทั้งหมดจะทำโดยพรรค, ผู้นำที่อยู่ในรัฐบาลผสมได้ส่งมอบอำนาจให้แก่นักการเมืองชนชั้นนายทุนของพรรคราดิคัลภายใต้แรงกดดันของมวลชนรัฐบาลแนวร่วมจึงได้ดำเนินการปฏิรูป      แต่ภายหลังเลือกทำแต่โครงการที่ต่อต้านการปฏิรูปทั้ง หมดทำให้เกิดการเผชิญหน้ากับการเคลื่อนไหวของกรรมกร     เอกสารอย่างเป็นทางการของพรรคสังคมนิยมชิลี  ที่พิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 45 ปีของการก่อตั้งพรรคเพื่อเตือนความทรงจำของกรรมกร    ถูกขานรับด้วยมาตรการต่อต้านชนชั้นกรรมกรจากรัฐบาล :   “ชนชั้นกรรมกรในซานดิอาโกตอบโต้ด้วยการเดิน ขบวนครั้งใหญ่, แต่จบลงด้วยการถูกปราบปราม     สิ่งที่ตามมาภายหลังคือการสังหารหมู่, คณะรัฐมนตรีต้องลาออกและนั่นเป็นปฐมบทของการสุ่มเสี่ยงที่ไร้สติของพวกผู้นำในพรรคสังคมนิยมและหน่วยที่ติดอาวุธบางส่วน     การร่วมมือ( ร่วมรัฐบาล)ได้นำมาซึ่งความสูญเสียในด้านหลักการ..      นโยบายและความนิยมจากมวลชน..      

การประชุมสภาสมัยสามัญที่มีขึ้นในเดือนตุลาคม 1946  บรรดาผู้นำของพรรคสัง คมนิยมได้ถูกปลดออกจากตำแหน่ง” (.....จากหนังสือที่ระลึกครบรอย 45 ปี ของพรรคสังคมนิยมชิลี หน้า 4-5)
จาก บันทึกดังกล่าว, การที่บรรดาผู้นำพรรคสังคมนิยมเข้าร่วมรัฐบาลผสมของชนชั้นนายทุนอย่างสุ่มเสี่ยงและไร้หลักการ ใด้นำมาซึ่งหายนะของพรรคในภายหลัง   นั่นทำให้เกิดวิกฤตภายในพรรคอย่างต่อเนื่องไปถึงการแยกตัว    แต่ก็ยังสามารถประ คับประคองตัวต่อไปได้    ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณต่อบรรดาสมาชิกรุ่นหนุ่มสาวและนักลัทธิมาร์กซทั้งมวลที่ต่อสู้คัดค้านนโยบายเข้าร่วมรัฐบาลของฝ่ายนำที่เป็นนักประนีประ นอมด้วยนโยบายปฏิวัติที่เป็นอิสระทางชนชั้น     การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1946 ผู้นิยมลัทธิสตาลินชาวชิลีได้ให้การสนับสนุนผู้สมัครของชนชั้นนายทุนและได้เข้าร่วมรัฐบาลของ วิเดลา กอนซาเลซ  พร้อม  กับพรรคการเมืองฝ่าย ราดิคัลและ เสรีนิยม   สองปีหลังจากนั้นพวกเขา(ผู้นิยมลัทธิสตาลิน)ก็ได้รับรางวัลตอบแทนด้วยการถูกขับออกจากรัฐบาลและเป็นพรรคที่ผิดกฎหมายไปจนถึงปี 1958    อีกครั้งหนึ่งที่รัฐ บาล วิเดลา ได้แสดงให้โลกได้เห็นถึงลักษณะ”ปฏิกิริยา” ที่สุดขั้วของความเป็น “เสรีนิยม” ของชนชั้นนายทุนชิลี     กล่าวคือรัฐบาล “ราดิคัล”  “ปีกซ้าย” ได้กลายเป็นเครื่องมือที่หันมารับใช้จักรพรรดิ์นิยมอเมริกาและกลุ่มคณาธิปไตยชิลี

ในที่สุดพรรคสังคมนิยมชิลีก็ได้แตกออกเป็นสองฝ่าย    ฝ่ายนำที่มีนโยบายปฏิรูปได้เข้าร่วมกับนักปฏิรูปในพรรค” สังคมนิยมชิลี”  ส่วนอีกพวกหนึ่งที่เป็นพวกปีกซ้ายได้รวมกันเป็นพรรค”สังคมนิยมป๊อปปูลิสต์”      ในการประชุมเพื่อกำหนดนโยบายในปี1947 พวกเขาเน้นถึง  “ความไม่เป็นอิสระที่แสดงออกโดยเปิดเผยโดยชนชั้นนายทุนที่จะรื้อฟื้นการร่วมมือกับจักรพรรดินิยมและพวกคณาธิปไตยที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าอาณานิคม     และยืนยันอย่างหนักแน่นในโยบายการเป็นกองหน้าของกรรมกร,คัดค้านการร่วมมือกับพวกนายทุนเสรีนิยม  นโยบายเพียงไม่กี่บรรทัดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจเนื่องจากเป็นการ รวบรวมบทเรียนประสบ  การณ์ในการเคลื่อนไหวของชนชั้นกรรมกรชิลีที่ผ่านมาในทศวรรษก่อนหน้านี้    ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทสรุปที่สำคัญยิ่ง

 การปฏิวัติสังคมนิยม    “ในปัจจุบันนี้มันเป็นภาระหน้าที่ของสังคมนิยม  และผู้ที่มีจิตใจอย่างเดียวกัน ในลาติน-อเมริกา ที่จะดำเนินการในประเทศกึ่งเมือง ขึ้นของเราไปสู่ความสำเร็จในทางเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนทางการค้าที่ถูกกฎหมายเหมือนในส่วนอื่นๆของโลกที่ได้รับการขับเคลื่อนและกำกับโดยชนชั้นนายทุน     สถานการณ์ที่ไม่ปกติและความขัดแย้งทั้งหลายที่เราประสบด้วยตัวเองอยู่นั้น     เมื่อมาพิจารณาถึงพัฒนาการทางเศรษฐกิจในสังคมของเราที่เป็นไปอย่างล่าช้าครึ่งๆกลางอย่างที่ปรากฏอยู่นั้นเกิดจากวิกฤติของระบอบทุนนิยม    จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะยกระดับให้เร็วขึ้นด้วยชีวิตการผลิตที่รวมศูนย์    เราต้องร่นระยะเวลาให้สั้นลงด้วยพลังวิริยภาพ ของประชาชนในชาติและความเป็นหนึ่งเดียว กัน  เพื่อจะนำไปสู่การวางแผนในด้านแรงงาน...เทคนิค และทุน ที่เรามีและอยู่ภายใต้การควบคุมของเราเอง”......”เรียกร้องกระบวนการใช้ชีวิตรวมหมู่ให้เร็วขึ้น    เพราะจะมีผลไปสู่การเคลื่อนไหวที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เพื่อจะได้เป็นบรรทัดฐานอย่างเดียวกันตลอดทั้งสังคม     ต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วสถานการณ์ภายในของเราไม่อนุญาตให้รอคอยได้อีกต่อไป     เราไม่อาจหลีกพ้นจากสถาน การณ์ทางประวัติศาสตร์ได้   การเปลี่ยนผ่านที่ยิ่งใหญ่ในทางเศรษฐกิจโดยการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน...การปฏิรูปเกษตรกรรม..การพัฒนาอุตสาหกรรม..การปลดปล่อยประชาชาติ จะเกิดขึ้นในประ เทศลาตินอเมริกาได้โดยผ่านการปฏิวัติสังคมนิยม

ความเป็นอิสระทางชนชั้น      ประสบการณ์ที่ผ่านมาของรัฐบาลชนชั้นนายทุนแสดงให้เห็นถึงบทสัง เคราะห์ที่ถูกต้อง       หลังจากผ่านปีแห่งความรุ่งโรจน์หลังสงครามโลกครั้งที่สองมาชั่วขณะหนึ่งแล้ว    ราคาทองแดงได้ลดลงอีกครั้ง  อันเป็นผลให้เกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของชาติระดับการจ้างงานในด้านอุตสาหกรรมของชิลีเมื่อปี 1949 ตกต่ำลงมากกว่าของปี 1947    ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆมชนชั้นนายทุนชิลีสร้างความร่ำรวยจากการเก็งกำไรค่าของเงิน     ที่ดิน 75% ที่เหมาะแก่การเพาะปลูกอยู่ในมือของคนเพียง 5%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ    ทุนของอเมริกายึดกุมภาคอุตสาหกรรมของชาติไว้อย่างแนบแน่น
ในขณะเดียวกัน   สหภาพแรงงานก็ประสบผลสำเร็จในการเคลื่อนไหวรวมตัวกันขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ชะงักงันไปเมื่อปี 1946   สหภาพแรงงานแห่งชิลี(CUT) เป็นองค์กรที่เน้นย้ำให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ของกรรมกรทั่วทั้งในเขตเมืองและชนบท “ที่จะต่อสู้คัดค้านการกดขี่เอารัดเอาเปรียบที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันจนกว่าจะบรรลุระบอบสังคมนิยมที่สมบูรณ์ในที่สุด”
สถานการณ์เช่นนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้หรือว่าไม่   การไม่เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลที่มิได้เป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมกรเป็นขั้นตอนสำคัญของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมนิยม,จนถึงการตัดสินใจด้วยการถกเถียงโต้แย้งกันถึงความเป็นไปได้ทางอุดมการณ์  ,มันจะถูกชี้ขาดและตามมาด้วยการทบทวนนโยบายพื้นฐานอีกครั้งหนึ่งก่อนที่มันจะเป็นทัศนะทางอุดมการณ์  นั่นคือความเป็นอิสระทางชนชั้นซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชั้นกรรมกร   ด้วยเหตุผลเช่นนี้องค์กรที่ชื่อว่า ”แนวร่วมกรรมกร” จึงเกิดขึ้นในเดือน สิงหาคม 1956 ,  บทเสนอได้รับความกระจ่างแล้วบทเรียนพื้นฐานบทแรกคือชนชั้นนายทุนในประเทศเราไม่ใช่ชนชั้นที่ปฏิวัติ      ด้านหนึ่งกรรมกรอุตสาหกรรมและกรรมกรเหมือง,ชาวนา และชนชั้นปัญญาชนนายทุนน้อย,ช่างฝีมือ และผู้ประกอบการอิสระรายย่อย  และในทุกส่วนของประชาชนที่ผลประโยชน์ถูกทำลาย(โดยนายทุน)ล้วนแล้วเป็นพลังของการปฏิวัติ    ทั้งหมดนี้ชนชั้นกรรมกรถือว่าเป็นชนชั้นที่มีบทบาทชี้ขาด  โดยมีองค์กรจัดตั้ง สหภาพแรงงาน ประสบการณ์ทางการเมือง  และสำนึกทางชนชั้น  ถือว่าเป็นใจกลางที่ยืนหยัดที่สุดในการเคลื่อนไหวต่อสู้." (45th Anniversary of the CSP, page 9, )
 ในเอกสารเดียวกันนี้ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 1978 ยืนยันว่า  รายละเอียดในวัตถุประสงค์ต่างๆยังจะต้องไปให้ถึง และดังนั้นต้องถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญของชิลี   เราปฏิเสธการเริ่มต้นกับชนชั้นนายทุนที่อ่อนปวกเปียก  เป็นอิสระ   และไม่ขึ้นต่อพวกเขา     เนื่องจากพวกเขาคือแขนงหนึ่งของจักรวรรดินิยม และมีความสนิทแน่นแฟ้นกับบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่   ละเมิดกฎหมายโดยใช้อภิสิทธิ์ทางเศรษฐกิจของตนโดยปราศจากความยุติธรรม  เราได้ข้อสรุปว่าพวกเขาคือชนชั้นผู้กดขี่ต่อทั้งกรรมกรธรรมดาและผู้ที่ใช้แรงงานสมอง   แต่ยินดีที่จะยอมรับพวกเขาในฐานะของสมาชิกในการสร้างสังคมใหม่ ที่ผดุงไว้ด้วยโครงสร้างที่ก้าวหน้าและทันสมัย

เอกสารยังบรรยายต่อไปว่า “ภาระหน้าที่ของคนรุ่นเราไม่ใช่รักษาไว้ซึ่งขั้นตอนการปฏิวัติประชาธิป ไตยชนชั้นนายทุนเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นก้าวแรกของการปฏิวัติสังคมนิยม     ในความเป็นจริง,ภาระ หน้าที่พื้นฐานของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนในชิลี   คือการเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยชนชั้นกรรมกรที่เป็นหัวหอกของมวลชนผู้ยากจน ชาวนา และบรรดาผู้ที่ถูกกดขี่ในส่วนอื่นๆของสังคม    แต่รัฐบาลของชนชั้นกรรมกรชิลีไม่สามารถจำกัด “ประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน” ได้แต่ปล่อยให้สถาน การณ์พาไป  โดยไม่ได้โจมตีระบอบทุนนิยมอย่างต่อเนื่องและดำเนิการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยม     
การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1958  ซัลวาดอร์  อาเยนเด ผู้สมัครธรรมดาคนหนึ่งของพรรค พันธมิตรสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ภายใต้ร่มธงของ  FRAP (แนวร่วมประชาชน) ได้ 356,000 คะแนน  แพ้ อเลสซานดรี คู่แข่งจากพรรคฝ่ายขวาเพียง 30,000 คะแนนเท่านั้น    รัฐบาลพรรคฝ่ายขวาได้ดำ เนินมาตรการ “ประหยัด” (หมายถึงการตัดลดค่าจ้าง เงินบำนาญ การเลิกจ้าง ฯลฯ) ที่ชนชั้นกรรมกรเป็นผู้ที่ต้องแบกภาระที่หนักอึ้งนี้ไว้บนบ่า    คำตอบก็คือกระแสคลื่นของการหยุดงาน, แต่ก็ต้องเผชิญกับการกดขี่ปราบปรามอย่างนองเลือดโดยรัฐบาล    ที่เราเห็นว่าในส่วนของผู้นำฝ่ายพรรคสังคมนิยมมีแนวโน้มที่ยอมอ่อนข้อภายใต้การกดดันของพรรคคอมมิวนิสต์       ในนโยบายทั่วไปจะสังเกตว่ามีการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานสำคัญของพรรคสังคมนิยม ดังที่เอกสารครบรอย 45 ปีของพรรคที่ได้ระบุไว้ว่า 
“เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ยากลำบากในการจำแนกหลักการพื้นฐานของสังคมนิยมตามวิธีการของ FRAP   ที่รวมไปถึงความคลุมเครือไม่ชัดเจนจำนวนมากของหลักการ    ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกแยะว่านโยบายของพรรคในระดับชาติ ระดับสากล และเอกลักษณ์ทางสังคมว่าจะถูกต้องและเหมาะสมเพียงพอ  หรือ ไม่ก็ในอีก 20 ปีต่อมา    แนวร่วมกรรมกรซึ่งยึดมั่นต่อหลักการพื้นฐานทั้งหมดของเรา    แต่กลายเป็นว่าเราได้นำมาซึ่งความสิ้นหวังในการเข้าร่วมขบวนซึ่งเราต้องรับผิดชอบ      ในแทบทุกกลุ่มพันธมิตรมักจะเดินไปสู่ความอ่อนล้าและทำให้เรามีหนทาง     และเป็นครั้งที่สามที่เราตัดสินใจผิดพลาดในการยอมรับปฏิญญาซึ่งละเลยชนชั้นกรรมกร ,การต่อสู้ทางชนชั้น,      ลืมกระทั่งว่า...ชั้นนายทุนไม่ใช่นักปฏิวัติ....ที่เราได้เขียนไว้ในหลักการ,ในรายงานการประชุมสภา, ในการอภิปรายถกเถียงกันกับพรรคอื่นๆเมื่อครั้งที่เราได้ร่วมก่อตั้งพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์กับแนวร่วมกรรมกรที่มีความขัดแย้งในหลักการพื้นฐานกับพรรคเรา  "
นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผู้นำของฝ่ายที่เรียกว่าพรรค “คอมมิวนิสต์” ได้ยืนยันบทสรุปของพวกเขาถึงลักษณะการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนชิลี     และเรียกร้องถึงความจำเป็นในการแสวงหาข้อตกลงและร่วมมือกับพรรคการเมืองที่เรียกว่า “ก้าวหน้า” ของชนชั้นนายทุน
และอีก เรื่องหนึ่ง..ที่ฝ่ายนำของพรรคสังคมนิยมได้แสดงให้เห็นถึงความไม่ความสามารถต่อต้านแรงกดดัน   อย่างไรก็ตามความตั้งใจที่ชัดเจนของพวกเขาเป็นเรื่องดีที่จะรักษาพลังสามัคคีพื้นฐานของชนชั้นกรรมกรชิลีเอาไว้    ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝ่ายนำของพรรคสังคมนิยมต้องจ่ายไปในราคาที่แพงลิบลิ่ว.. ผลพวงที่ตามมากลับกลายไปเป็นการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1973
 อะไรคือความชัดเจน   ในการนำชนชั้นกรรมกรไปสู่การเผด็จอำนาจ   มันยังไม่เพียงพอต่อการมีอุดมการณ์พื้นฐานที่ถูกต้องที่มากหรือน้อย  แน่นอนหากปราศจากความคิดที่ชัดเจน ปราศจากนโยบายที่ปฏิวัติ ปราศจากหลักการพื้นฐานและมุมมองของลัทธิมาร์กซที่ถูกต้อง    จะไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะสร้างพรรคที่ปฏิวัติหรือเกิดการปฏิวัติสังคมนิยมขึ้นมาได้  และมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำการปฏิวัติด้วย, ผู้นำแบบบอลเชวิค    ที่ไม่ผิดทิศหลงทางต่อเป้าหมายของการปฏิวัติโดยละเลยต่อปัญหาพื้นฐานภายใต้หน้ากากของ “กลยุทธิยอมจำนน” หรือเพื่อ “ความสามัคคี”

ด้วยความเคารพ, เลนินไม่เคยโอนอ่อนต่อการประนีประนอมโดยสิ้นเชิง   หลายครั้งที่ท่านถูกกล่าวหาว่าเป็น “นักลัทธิพรรคพวก”และ “นักลัทธิคัมภีร์” ที่ปฏิเสธการประนีประนอมในด้านหลักการพื้นฐาน   ไม่เพียงแต่กับชนชั้นนายทุนเท่านั้น(ซึ่งแน่นอนอยู่แล้ว) แต่กับพรรคของชนชั้นกรรมกรอื่นๆอีกด้วย     ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่ท่านไม่ยอมประนีประนอมกับกลุ่มเมนเชวิค ในปี 1917  ผู้ซึ่งกล่าวหาว่าท่านเป็นนักลัทธิพรรคพวกและสร้างความแตกแยกให้แก่ค่ายนักปฏิวัติ   การกล่าวประณามเช่นนั้นไม่ได้สร้างความสะดุ้งสะเทือนต่อการนำพาการปฏิวัติเลย     เลนินมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อความจำเป็นในข้อสัญญาชั่วคราวและ เห็นด้วยกับพรรคของชนชั้นกรรมกรอื่นๆ   แต่คำขวัญที่ท่านระลึกอยู่เสมอคือการ “แยกกันเดินและร่วมกันตี”  แต่ไม่เคยสับสนต่อนโยบายที่แตกต่างกัน  และความแตกต่างของขบวนการกรรมกรเหล่านี้ในการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่เป็นรูปธรรม        

ภัยพิบัติของระบอบสังคมนิยมชิลีตลอดไปถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของมันที่    หลังจากได้ถอดบทเรียนข้อสรุปที่ถูกต้องจากประสบการณ์ในการเคลื่อนไหวต่อสู้แล้ว     แต่บรรดาผู้นำมักจะถูกนำไปสู่ปัญหาเฉพาะหน้าพื้นฐานตามข้อเสนอของกลุ่มนิยมสตาลินที่บริหารและครอบงำแนวร่วมซึ่งเกิดจากการร่วมมือของทั้งสองพรรค     ความเห็นของพวกเขาที่สิ่งกำหนด  แนวคิด..นโยบาย..และมุมมองต่างๆ     ด้วยวิธีการเช่นนี้จึงได้นำไปสู่ความพ่ายแพ้ครั้งยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมกร

นโยบายปฏิกิริยาของช่วงปี 1958 – 64  รัฐบาลอเล็กซานดรีได้สร้างกระแสของ ความรุนแรงขึ้นในประเทศ,ที่สะท้อนออกด้วย การเคลื่อนไหวหยุดงาน    การเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีแกว่งไปมาที่ 4.5%.ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล      อัตราค่าจ้างที่แท้จริงของกรรมกรยังคงอยู่ในระดับเดียวกันกับปี 1945     ประชาชนจำนวน 60%ได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ของชาติเพียง 20%    
สภาพของชนบทย่ำแย่มากไม่เว้นแม้แต่จังหวัดที่มีการเกษตรกรรมที่ดีมากเช่น อคอนคากัว และซานติอาโก  ตัวอย่างเช่น.....ที่ดินถึง 90%เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าที่ดินที่มีจำนวนเพียง แค่7%   โดยทั่วไปแล้วที่ดินที่สามารถทำการเกษตรได้จริงนั้นมีเพียง 10 ของที่ดินทั้งหมดในประเทศ     แม้รัฐบาลจะให้สัญญาว่าจะปฏิรูปเกษตรกรรม        แต่สถานะที่แท้จริงของชาวนาจนเป็นเพียงแค่ ”ผู้เช่า” และ ”แรงงานรับจ้าง” เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาแต่อดีต  ยังคง ยากจน หิวโหย  ไร้การศึกษา  โรคติดต่อ  และติดสุราเรื้อรัง

No comments:

Post a Comment