Saturday, July 11, 2015

บทเรียนจากชิลี ตอนที่ 2


บทเรียนจากชิลี ตอนที่ 2

2.  กำเนิดของการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน  ระบอบทุนนิยมได้กลายเป็นแรงผลักดันและชี้ขาดของหลายๆประเทศอย่างแน่นอนแล้วตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งแรก   แต่ทุนนิยมในชิลีตั้งแต่มันถือกำเนิดขึ้นมา ก็มีลักษณะผูกติดและเอื้ออำนวยรับใช้ต่อผลประโยชน์ของจักรวรรดิ์นิยมต่างชาติ   อีกด้านหนึ่งก็ผูกติดอยู่กับผลประโยชน์ของเจ้าที่ดินขนาดใหญ่โดยผ่านระบบธนาคารและการพาณิชยกรรม     มันเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่านายทุนชาติ  ไม่เคยมีความพยายามที่จะดำเนินการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้น นายทุนและกระทั่งยังไม่มีความสามารถที่จะทำเช่นนั้นได้

การต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจังกับการควบคุมประเทศของจักรวรรดินิยมจะกำหนดขึ้นมาได้อย่างไรเมื่อผล ประโยชน์ที่เป็นสายใยชีวิตของชนชั้นนายทุนชิลีขึ้นอยู่กับการพึ่งพาการลงทุนและค้าขายกับต่างประ เทศ?      จะทำอย่างไรในการฏิรูปเกษตรกรรม ในเมื่อเงินทุนด้านหลักมาจากเจ้าที่ดินคนเดียวกันซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ  การศึกษาฯลฯ   กับชนชั้นนายทุนอีกนับพันๆครอบครัว?    ในเมื่อชนชั้นนายทุนไม่สามารถบรรลุภาระหน้าที่ในการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนแล้ว      ชนชั้นใดในสัง คมจะสามารถดำเนินการปฏิวัติได้?   ชนชั้นชาวนาหรือ?  ชนชั้นนี้เป็นความหวังที่ ”มืดมน” กระจัดกระ จาย ,ขาดการศึกษา  และอยู่ภายใต้การกดขี่ที่โหดร้ายมานานนับศตวรรษ  ซึ่งในบางช่วงเมื่อเข้าตาจนก็จะลุกขึ้นมาแค่ก่อการจลาจลเท่านั้นซึ่งไม่ค่อยจะประสบกับความสำเร็จอันใด   เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถหาผู้ที่มีจิตวิญญาณในการนำได้เหมือนเช่นชนชั้นอื่นในสังคมที่มีประเทศ, เมืองเป็นเป้าหมาย  

สถานะภาพของชาวนาส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่เนื้อเดียวกันแต่เป็นสังคมที่มีลักษณะชั้นชนในสังคมชนชั้นซึ่งอย่างน้อยก็มีบทบาทอิสระในทางการเมืองภายใต้การนำของชนชั้นกรรมาชีพหรือไม่ก็ภายใต้ชนชั้นนายทุน       ความเป็นจริงการต่อสู้เพื่อช่วงชิงทางการเมืองของชาวนาเป็นปัญหาหลักในการปฏิวัติสัง คมนิยมในชิลี          ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนแรกก็คือการรับรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ว่าชนชั้นนี้จะสามารถทำได้
ส่วนชนชั้นกลางล่ะ? ตัวแทนทางการเมืองของชนชั้นกลางในชิลีนั้นไม่มีอะไรแตกต่างไปจากพวกจาโคแบงของฝรั่งเศส    การปฏิวัติของชนชั้นนายทุนน้อยในศตวรรษที่ 18 ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหอกของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน  

ในช่วงระยะเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองระหว่างปี 1891-1918  กลุ่มคณาธิปไตยของชิลีได้ใช้กลยุทธ์ให้ผลประโยชน์แก่ชนชั้นกลางอย่างกว้างขวาง โดยหยิบยื่นตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลให้เพื่อสร้างความภักดี  ด้วยวิธีการเช่นนี้ได้สร้างนักการเมืองอาชีพขึ้นได้แก่นักการเมือง ”เสรีนิยม” ซึ่งเป็นนักการเมืองของชนชั้นกลางที่ขายตัวแก่พวกคณาธิปไตยเพื่อแลกกับเงินและผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย    จากช่วงนี้เป็นต้นมาชนชั้นกลางของชิลีต่างมีความคิดว่าการเมืองเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้อย่างงาม     จึงเป็นความจริงที่มีการเรียกหากันว่าเป็นนักการเมืองที่ ”ก้าวหน้า” ของชนชั้นนายทุน  พวกเสรีนิยม พวกราดิคาล และ คริสเตียน เดโมแครต ล้วนมีส่วนร่วมในภาพลักษณ์ที่น่ารังเกียจของการคอร์รัปชั่นและ ”โสเภณี” ทางการเมือง   ในขณะที่มวลชนชาวนาและชนชั้นผู้ใช้แรงงานเป็นเพียงผู้ชมการแข่งขันในรัฐสภาเท่า นั้น           เหล่าตัวแทนทางการเมืองของชนชั้นกลางได้พันธนาการตัวเองอยู่บนเกวียนของของพวกคณาธิปไตยซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในการบริหารเป็นหลักประกัน    สำหรับพวกเขาแล้วเป็นการปฏิบัติหน้าที่ๆสมบูรณ์     

จุดเริ่มต้นของพวก ”เสรีนิยม” ชิลี คือการเป็นเท้าข้างซ้ายของของกลุ่มคณาธิปไตย     อีกด้านหนึ่งความรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจชิลีเกิดขึ้นพร้อมๆกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและชนชั้นกรรมกร   การพัฒนาอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมทำให้มวลชนชาวนาผู้ยากจนหลั่งไหลจากชนบทเข้าสู่เมือง   ปี 1907 พลเมืองราว43.2 % อาศัยอยู่ในเมืองที่เป็นศูนย์กลาง   และเพิ่มขึ้นเป็น 46.4 % ในปี 1920.   เฉพาะในเมืองหลวง ซานติอาโก เดอ ชิลี  มีผู้อยู่อาศัยถึง 14% ของจำนวนพลเมืองทั้งประเทศ, กระ  บวนการทำให้เป็น “ชนชั้นกรรมาชีพ” เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก  นำไปสู่ความพยายามจะจัดตั้งองค์กรของกรรมกรอันเป็นการเริ่มต้นของสหภาพแรงงาน

เมื่อเริ่มศตวรรษใหม่ หลุยส์ อิมิลลิโอ เรคาบาเรน  เป็นผู้นำในการก่อตั้งองค์กรเหมืองแร่ไนเตรท   ปี 1910 FOCh ได้ก่อตั้งขึ้น  สองปีต่อมา  เรคาบาเรน  พยายามสร้างบทบาททางการเมืองครั้งแรกในการเคลื่อนไหวกรรมกรด้วยการตั้งพรรค  กรรมกรสังคมนิยมแห่งชิลี  POS  (the Socialist Workers Party of Chile ) ในอิควิเกอ      แต่ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและตามมาด้วยการปฏิวัติรัสเซียได้เป็นแรงกระตุ้นที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถึงรากในหมู่กรรมกรหนุ่มของชิลี    การถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1918 เป็นเหตุให้ราคาทองแดงและไนเตรทตกต่ำลงไปด้วย     ความขัดแย้งทางสังคมที่คุกรุ่นอยู่ก่อนหน้านี้ได้ปรากฏออกมาให้เห็น      ระหว่างปี 1913–1923  ค่าแรงที่แท้จริงกรรมกรลดลง 10% เนื่องมาจากอัตราเงินเฟ้อ  นัยสำคัญที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงแสดงออกโดยคลื่นของการนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นถึง 293 ครั้งในระหว่างปี 1911 และ1920
เหตุการณ์สำคัญที่ปลุกจิตสำนึกของกรรมกรชิลีคือการปฏิวัติรัสเซีย   ภายใต้บรรยากาศทั่วไปของการเปลี่ยนแปลง   พรรคกรรมกรสังคมนิยมชิลีชื่นชมต่อการปฏิวัติรัสเซียเป็นอย่างมาก  และในปี 1922 ก็ยอมรับเงื่อนไข 21 ข้อเพื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์กรคอมมิวนิสต์สากลและเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคคอมมิวนิสต๋ชิลี  ในปีต่อๆมา ชิลีได้ประสบกับวิกฤติกาลที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอในทุกระดับของสังคม, ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะก้าวสู่ชัยชนะของการปฏิวัติสังคมนิยม    ภาพลวงตาที่ ”ก้าวหน้า” ของนักการ เมืองชนชั้นนายได้ทุนสร้างความผิดหวังให้แก่ประชาชนเป็นอันมากหลังการเลือกตั้งปี 1918  รัฐบาลผสมเสรีนิยมของ อเลสซานดรี ปาลมา ได้แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความไม่มีน้ำยาในการแก้ปัญหาของชนชั้นกรรมกรได้แม้แต่เพียงเรื่องเดียว
ชนชั้นกรรมกรได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ขมขื่น ,ที่จะเลิกเชื่อถือความเป็น “เสรีนิยม”  ของนักการ  เมืองชนชั้นนายทุนอีกต่อไป        พลังทางเศรษฐกิจยังตกอยู่ในมือของระบบผูกขาดและบรรดาเจ้าที่ดิน,วิกฤตเศรษฐกิจที่ว่าแย่อยู่แล้วกลับยิ่งเลวร้ายลงไปอีก      พร้อมกับการถูกควบคุมทางเศรษฐกิจจากจักรวรรดิ์นิยม,จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าชนชั้นนายทุนชิลีก็เป็นได้เพียงตัวแทนของนายทุนต่างชาติในท้องถิ่นเท่านั้น      ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองได้สะท้อนออกมาเป็นการก่อรัฐประหารและฉวยโอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี1925   การตกต่ำของเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 1929ส่งผลกระทบต่อชิลีอย่างหนักหน่วง  บีบให้ต้องละเว้นมาตรฐานการสำรองทองคำและบอกปัดหนี้ต่างประเทศ     ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในปี 1929 ตกลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของช่วง 1927-28   การว่างงานเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์    ในปี 1929 คนงานเหมืองมีจำนวน 91,000คน ภายในสิ้นปี 1930 ลดจำนวนลงเหลือเพียง 31,000คน
โอกาสที่สูญสลาย    ความไม่พอใจเกิดขึ้นทั่วไปในทุกระดับของสังคม          การแสดงออกอย่างชัดเจนส่วนใหญ่จะเห็นได้จากกระแสปลุกระดมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งชิลี     ปัญญาชนและนักศึกษาส่วนใหญ่นั้นเปรียบเสมือนเครื่องมือที่อ่อนไหวมากในการวัดความขัดแย้งและความตึงเครียดในสังคม     เลนินได้ให้อรรถาธิบายไว้หลายครั้งว่าสภาพภววิสัยในการดำเนินการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นมีอยู่ 4 ประการ       
1: ชนชั้นปกครองได้สูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองและไม่สามารถดำเนินการปกครองต่อไปได้อีก   
2:   ในสังคมมีความขัดแย้งและแตกแยกเป็นฝักฝ่ายอย่างรุนแรงชนชั้นกลางไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างที่เคยเป็น  หรืออย่างน้อยก็วางตัวเป็นกลาง   
3ชนชั้นผู้ใช้แรงงานมีความพร้อมในการต่อสู้เพื่อชี้ขาดในการเปลี่ยนแปลงสังคม  
4:  มีพรรคปฏิวัติที่นำโดยนักปฏิวัติผู้มีความสามารถในการนำมวลชนไปต่อสู้เพื่อเผด็จอำนาจ
วิกฤตของชนชั้นปกครองชิลีนั้นเป็นลักษณะพิเศษที่ได้แสดงให้เห็นจากวิกฤตของรัฐบาลชุดต่างๆที่มีมาอย่างต่อเนื่องในทศวรรษ ที่1920  ปัญหาที่หมักหมมอยู่ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชนชั้นกลางและถูกแสดงออกโดยผ่านบทบาทของนักศึกษา  บรรดานายแพทย์ และผู้คนในสาขาอาชีพต่างๆได้ออกมาร่วมประท้วงกับนักศึกษา      การประท้วงที่รุนแรงต่างๆทำให้นำไปสู่การล่มสลายของระบอบเผด็จการ  อิบาเนซ  และทำให้เขาต้องระเห็จออกนอกประเทศ         ถ้าพลังมวลชนของพรรคปฏิวัติในชิลีดำรงอยู่จริง, สถานการณ์ก่อนการปฏิวัติน่าจะเปลี่ยนไปสู่สถานการณ์ปฏิวัติไปแล้วจากการเผด็จอำนาจโดยชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
โศกนาฏกรรมของชนชั้นผู้ใช้แรงงานชิลีคือการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของกลุ่มนิยมสตาลินที่กำลังอยู่ในภาวะเสื่อมถอยในสหภาพโซวียต   เราสามารถเห็นกระบวนการเดียวกันนี้ที่สะท้อนออกในพรรคทั้งหลายที่สังกัดองค์กรคอมมิวนิสต์สากลซึ่งตัดสินใจตามก้นแนวทางการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ระบบขุนนางรัสเซียกันอย่างมืดบอด            จากปี 1928 เรื่อยมาจนถึงองค์กรสากลที่ดำเนินงานภายใต้แนวนโยบาย ”ลัทธิสากลแห่งชนชั้นกรรมาชีพ” ของเลนิน   กลุ่มนิยมสตาลินได้ยอมรับแนวทาง “สังคมนิยมในประเทศเดียว” อย่างเป็นทางการ          ซึ่งมีผลให้พรรคคอมมิวนิสต์อื่นๆกลายเป็นเครื่องมือสนองนโยบายต่างประเทศของระบอบขุนนางรัสเซียไปอย่างสมบูรณ์แบบ    นี่เป็นการชี้ขาดจังหวะก้าวของนักปฏิรูปที่นำความเสื่อมมาสู่พรรคคอมมิวนิสต์ทั้งหลายในองค์กรคอมมิวนิสต์สากล

ในเวลาเดียวกัน,ภายใต้การชี้นำของกลุ่มนิยมสตาลินในมอสโคว์  พรรคต่างๆในองค์กรสากลต่างชื่นชมกับต่อสิ่งที่เรียกว่า”ยุคที่สาม” ที่มีนโยบายซ้ายสุดขั้ว  เห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรแบบสังคมนิยมแบบเผด็จอำนาจ            นโยบายเช่นนี้มีสาเหตุมาจากความพ่ายแพ้อย่างยับเยินของพรรคชนชั้นกรรมกรเยอรมันเมื่อปี 1933     สิ่งที่ตามมาคือพรรคคอมมิวนิสต์ในหลายประเทศได้สูญเสียรากฐานมวลชนไปเนื่องมาจากนโยบายที่บ้าคลั่งนี้ที่ต่อต้านนโยบาย ”แนวร่วมปฏิวัติ” ( revolution front)ที่สนับสนุนโดยเลนิน           เช่นเดียวกันกับในชิลีนโยบายของกลุ่มนิยมสตาลินได้สร้างความเสียหายขึ้นอย่างใหญ่หลวง      เราได้เห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลดระดับจากความเป็นพรรคลงมาเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย    โดดเดี่ยวตัวเองจากมวลชนในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจ,รวมความแล้วก็คือไม่มีความความสามารถในการนำการเคลื่อน ไหวปฏิวัติ  (ยังมีต่อ)

No comments:

Post a Comment