Friday, July 24, 2015

บทเรียนจากชิลี 6

6. ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ
เลนินได้ให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับรัฐไว้หลายครั้งว่าโดยพื้นฐานแล้ว “ มันคือกลุ่มคนที่ติดอาวุธในการป้องกันความร่ำรวย” การยอมรับ “ ข้อตกลงว่าด้วยหลักประกันของรัฐธรรมนูญ”  ของฝ่ายนำในองค์กรแนวร่วมนั้น หมายถึงการประนีประนอม,แต่ในส่วนของพวกเขาเองนั้น,ไม่ได้ทำการติดอาวุธให้แก่ชนชั้นกรรมกรเลย     และยังไม่แตะต้ององค์กรที่เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปราบปรามเพื่อดำรงไว้ซึ่งความยากจนของชนชั้นกรรมกรและไม่สนใจที่จะปลดปล่อยมันอีกด้วย

และแล้วพวกเขาจะดำเนินการดิ้นรนต่อสู้อย่างเอาจริงเอาจังกับกลุ่มคณาธิปไตยและลัทธิจักรพรรดินิยมต่อไปได้อย่างไร? ตลอดชีวิตและเวลาของรัฐบาลองค์กรแนวร่วม,ผู้นำของพรรคสังคมนิยมและ โดยเฉพาะของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นได้หลอกลวงตัวเองยังไม่พอ       ยังหลอกลวงบรรดามวลชนกรรมกรและชาวนาเมื่อพวกเขาออกมาเรียกร้องถึงคุณลักษณะที่ “ รักชาติ” และรัก  ”ความเป็นธรรม” ของเหล่าทหารในกองทัพ   แต่แน่นอน...พวกเขา( ฝ่ายผู้นำ) ล้วนแล้วแต่มีลักษณาการที่ตกอยู่ในห้วงของความเพ้อฝันอย่างสิ้นเชิง    พวกเขาพยายามทำให้พวกเหล่านายพลทั้งหลาย “เป็นกลาง” ปลอบขวัญด้วย  เหรียญตราและเพิ่มเงินเดือนให้    

กลไกรัฐ..  โดยเฉพาะบรรดาทหารในกองทัพส่วนใหญ่ไม่ใช่อะไรที่อยู่เหนือชนชั้นและสังคม  หากแต่มันเป็นองค์กรของการกดขี่ที่อยู่ในมือของชนชั้นปกครอง     ชั้นบนสุดของกองทัพชิลีก็เหมือนเช่นประเทศอื่น  มีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์  กันอย่างลึกซึ้ง( เช่น พื้นฐานทางชนชั้น   ครอบครัว  เครือญาติ  ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจฯลฯ) กับชนชั้นนายทุนใหญ่  นายธนาคาร  และเจ้าที่ดิน     สิ่งเหล่านี้ได้มีคำอธิบายอยู่ในลัทธิมาร์กซเบื้องต้นอยู่แล้ว      อีกด้านหนึ่ง,ชนชั้นนายทุนและพรรคการเมืองตัวแทนของพวกเขาคือพรรค คริสเตียน เดโมแครต   ได้ตระหนักในเรื่องนี้อย่างชัดแจ้งว่า “ข้อตกลง” นี้ไม่ใช่ปัญหารองที่มีแต่เพียงข้อปลีกย่อยหรือเป็นเรื่องเพ้อฝัน...หากแต่มันคือเนื้อแท้เลยทีเดียว      ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นในอีกสามปีต่อมาสิ่งที่เกิดขึ้นคือหายนะของชนชั้นกรรมกรและประชาชนชาวชิลีทั้งมวล

กระนั้นก็ตาม, การตั้งรับบาลแนวร่วมได้เปิดทางไปสู่ขั้นตอนใหม่ในกระบวนการปฏิวัติชิลี    เหมือนในเสปนปี 1936  นโยบายเบื้องต้นของรัฐบาลนั้นล้าหลังการเคลื่อนไหวของมวลชนมาก       ดังที่ได้อธิบายไว้ในเอกสาร “วาระครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลี”
ในช่วง18 เดือนแรกของรัฐบาล    การดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนทำให้แบบแผนการปฏิรูปขององค์กรแนวร่วมสิ้นสุดลง     และมวลชนได้เรียกร้องให้ดำเนินการต่อไปอีกในภาค เศรษฐกิจ สุขอนามัย  การศึกษา และที่อยู่อาศัย      ด้วยวิธีเดียวกันนี้มวลชนได้เคลื่อนไหวผลักดันความปรารถนาของตนเพื่อให้มีการถ่ายโอนกิจการผูกขาดระดับใหญ่เช่นสิ่งทอและอุตสาห กรรมป่าไม้ไปอยู่ในการจัดการของกรรมกร ฯลฯ    ความต้องการเหล่านี้รัฐบาลสามารถตอบสนองได้เป็นบางเรื่องเท่านั้น   ทำให้บรรยากาศของการประนีประนอมกับฝ่ายตรงกันข้ามนั้นมีอุปสรรค ซึ่งตัวแทนของผู้ที่นิยมลัทธิปฏิรูปซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในองค์กรแนวร่วมต่างพากันโวยวายขึ้นด้วยความไม่พอใจ    และได้เข้ามาดำเนินงานแทนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  จุดนี้เอง.....ที่กลุ่มนักปฏิรูปแต่ละรายเริ่มแสดงความง่อยเปลี้ยออกมาให้เห็นในบางเรื่องและทุกๆเรื่องที่มีการริเริ่มใหม่ๆซึ่งอาจจะต้องมีการระดมมวลชนมาสนับสนุน การปฏิวัติที่มีแนวโน้มสังคมนิยม        หรือกำหนดตัวแทนของพวกเขาขึ้นมาเป็นเครื่องมือในชี้นำทางด้านเศรษฐกิจอย่างไร้ยางอายทำให้บทบาทขององค์กรสหภาพแรงงานแห่งชิลีสิ้นสุดลง       ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความแตก ต่างกันระหว่างเป้าประสงค์ของมวลชนและของรัฐบาล
 การกดดันของมวลชน

ภายใต้การกดดันของมวลชน รัฐบาลแนวร่วมประชาชนได้ก้าวไปไกลกว่าผู้นำหลายๆเท่าที่เคยเห็นมา    โครงการที่มีลักษณะกลไกและจอมปลอมของลัทธิสตาลิน, ความแตกต่างระหว่างภาระหน้าทีของประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนและภาระหน้าที่ของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพได้ถูกทำลายลงโดยการเคลื่อนไหวของมวลชน    รัฐบาลอาเยนเดได้ดำเนินมาตรการสำคัญคือการทำให้เป็นของรัฐซึ่งเป็นการกระหน่ำตีผลประโยชน์ของกลุ่มคณาธิปไตยอย่างหนักหน่วง 

การทำให้เป็นของชิลีในรัฐบาลฟรายนั้นยังคงให้อุตสาหกรรมเหมืองทองแดงอยู่ในมือของบริษัทผูกขาดของสหรัฐอยู่ถึง 49 % เช่นบริษัท อนาคอนดา  บ.เคนเนคอทท์ ทองแดง ฯลฯ     ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลฟรายยังจ่ายค่าชดเชยให้อีกเป็นจำนวนมหาศาล (ปี 1967 จ่ายให้บริษัท เคนเนคอทท์ ทองแดง  และปี 1969 ให้แก่บ. เอล เทเนียนเต 80 ล้านดอลลาร์)   ประชาชนผู้ใช้แรงงานของชิลีต้องแบกรับภาระที่หนักหน่วงนี้   เดือน กรกฎาคมปี 1971      อาเยนเดได้อธิบายถึงทุนผูกขาดของ สหรัฐอเมริกาได้ลงทุน50  ถึง 80 ล้านดอลลาร์ในชิลีสามารถกอบโกยกำไรไปเป็นจำนวน 1,566 ล้านดอลลาร์   นั่นหมายถึงว่าบริษัทเหล่านั้นเป็นหนี้ชิลีประมาณ 642 ล้านดอลลาร์  

การแปรรูปอุตสาหกรรมทองแดงให้เป็นของรัฐในเดือนกรกฎาคม 1971 นั้นเป็นการก้าวไปข้างหน้าที่มีความสำคัญ เหมืองถ่านหิน  เหมืองแร่เหล็ก และไนเตรท  อุตสาหกรรมสิ่งทอ  บริษัท ITT, INASA  และอุตสาหกรรมอื่นๆได้ถูกแปรเปลี่ยนไปโดยให้เป็นสมบัติของสาธารณะ    การปฏิรูปสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้แรงงานได้รับการสนับสนุนรัฐบาลจากประชาชนเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าทึ่ง   เช่นการแจกนมฟรีแก่เด็กนักเรียน   การคงค่าเช่าและราคาสินค้า,การเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการฯลฯ

ลำดับต่อมา มาตรการเหล่านี้ได้ให้แรงกระตุ้นอย่างใหญ่หลวงต่อการเคลื่อนไหวของมวลชน       ในระยะยาวความไม่รู้เรื่องการเมืองและ ปัจจัยของความเฉยเมยในสังคม,สามารถเห็นได้จากการดำเนิน งานของตัวแทนของรัฐบาล       ผลก็คือการเติบใหญ่ของกระบวนการเปลี่ยนแปลงขึ้นทั้งในเมืองและชนบท    ความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลฟรายที่จะทำให้การปฏิรูปเกษตรกรรม บรรลุผลเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของชัยชนะในการเลือกตั้งของ อาเยนเด   ก่อนวันลงคะแนนสถานการณ์ในชนบทได้เปลี่ยน แปลงไปเนื่องมาจากคำกล่าวของ จ๊าค ชองโชล    อดีตรัฐมนตรีเกษตรของรัฐบาลอาเยนเดที่ว่า.  “ ความไม่พอใจกำลังสูงขึ้น”. . ผู้เขียนคนเดียวนี้กันยังอธิบายว่า  การเริ่มต้นปฏิรูปเกษตรกรรมที่วางไว้นั้นอยู่ภายใต้กระแสกดดันที่หนักหน่วงในชนบท

ทิศทางแรกที่รัฐบาลแนวร่วมควรรีบจัดการได้แก่นโยบายด้านเกษตรกรรม   ด้วยการเร่งรัดกระบวนการเวนคืนที่ดินก่อนที่จะพบกับการกดดันจากชาวนา   หลังจากนั้น,คิดไปในด้านที่เป็นประโยชน์คือ    รัฐบาลใหม่คือรัฐบาลของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน, ที่ความต้องการของพวกเขาคือการเข้าถึงที่ดินทำกินให้เร็วที่สุด('Chile America,' No 25/26/27, p 27-28)

อีกด้านหนึ่ง บรรดาเจ้าที่ดินใหญ่  ได้เริ่มรณณรงค์อย่างเป็นระบบด้วยการก่อกวนในท้องถิ่นชนบท   ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่าและรื้อทิ้งอุปกรณ์ เครื่องมือ ในฟาร์ม    หลายคนพร้อมที่จะให้เงินทองเพื่อติดอาวุธให้แก่กลุ่มปีกขวาจัดที่มีทัศนะต่อต้านการปฏิรูปเกษตรกรรม   พาโบล เกิบเบิล   เจ้าที่ดินใหญ่ในจังหวัด คาอูติน ได้แถลงต่อสาธารณะถึงผลจากการที่รัฐบาลได้กระทำการใดๆที่พยายามเวนคืนที่ดินของเขาจะได้รับการตอบโต้ด้วยปืนกล   จากรายงานอย่างเป็นทางการของตำรวจว่า  “ มีชายฉกรรจ์มากกว่า 2000 คนได้รับการฝึกอาวุธเพื่อเป็นหน่วยจู่โจมระบบคมนาคม เพื่อขัดขวางการขนส่งแก๊สที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า และ  ตัดน้ำประปา     การทำเช่นนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่คนเป็นจำนวนมาก” ('Militant' 1/10/71)   
ตั้งแต่แรกแล้วที่ชนชั้นปกครองชิลีได้เตรียมการทำรัฐประหาร    ในหัวข้อเดียวกัน หนังสือ มิลิแท้นท์ได้รายงานว่า “ในระหว่างที่ อาเยนเด ได้จบปฐกถาของเขาถึงความรับผิดชอบ  และ ความมีระเบียบวินัยของมวลชน    ชัยชนะของอัลเลนทำให้เกิดอาการขวัญเสียและกลัวการเคลื่อนไหวของมวลชนมากยิ่งขึ้น   บรรดาเจ้าที่ดินและนายทุนมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่า   ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะโค่นล้มอาเยนเดลงไปในทันทีทันใด   ดังนั้นพวกเขาจึงต้องรอคอยต่อไปแต่ทว่าเป็นการตระเตรียมการอย่างระมัด ระวัง    ค่อยๆสะสมอาวุธ, สมคบกันวางแผนอย่างลับๆในบรรดากลุ่มนายทหารระดับสูง   มันคืออันตรายที่แท้จริง('Militant' 1/10/71)
 การขัดขวางของพวกอำมาตย์
มีเพียงหนทางเดียวที่จะขจัดความเป็นปฏิปักษ์ให้จบลงไปได้     ด้วยตอบโต้และทำการแยกสลายการต่อต้านของเจ้าที่ดินใหญ่คือการติดอาวุธให้แก่ชาวนา   โดยจัดตั้งคณะกรรมการที่มีบทบาทในการถือครองที่ดินขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐบาล     เมื่อ(นายทุนและเจ้าที่ดิน) ต้องเผชิญหน้ากับการพลังการเคลื่อนไหวของมวลชนที่ติดอาวุธ      เจ้าที่ดินและสมุนอันธพาลที่ติดอาวุธของมันจึงถูกพิชิตลงอย่างง่ายดายโดยมีการสูญเสียน้อยที่สุด     ในความเป็นจริง..เรื่องนี้เป็นเพียงการปกป้องชัยชนะของมวลชนภายใต้การนำอย่างถูกต้องขององค์กรแนวร่วม     แต่ฝ่ายนำในองค์กรได้ขาดความมั่นใจต่อการริเริ่มที่ปฏิวัติของมวลชนและหวาดกลัวไปว่าจะกระตุ้นแนวคิดที่ปฏิกิริยาให้คุขึ้นมาอีก   

ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงคัดค้านอย่างหนักต่อความพยายามใดๆของชาวนาจนในการเข้ายึดครองที่ดิน ”อย่างผิดกฎหมาย” กระทั่งส่งหน่วยกำลังอาสาสาธารณะเข้าขับไล่ชาวนาผู้กระทำสิ่งเหล่านั้น     ทุกวันนี้..ผู้นำองค์กรแนวร่วมบางคนยังคงคิดว่าการกระทำของพวกเขาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง   และยังยืนยันอย่างหนักแน่นว่ากลุ่มซ้ายจัดเป็นผู้จัดการการเคลื่อนไหวในครั้งนั้น     ทำให้ชาวนา  “ ก้าวไกลเกินไปแล้ว ”  ที่ไม่เพียงแต่ยึดครองที่ดินของเจ้าที่ดินใหญ่เท่านั้น  หากแต่ยังยึดที่ดินของ “ชาวนากลาง” อีก ด้วย   ไม่ต้องสงสัยเลยว่าในการเคลื่อนไหวปฏิวัติทุกครั้ง    โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้ที่ถูกกดขี่และชั้นชนที่ล้าหลังในสังคมเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก...มักจะมีแนวโน้มของการ “ก้าวล้ำหน้า” ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะให้จำกัดให้อยู่แต่เพียงในขอบเขต    และเป็นความจริงที่ว่าจะมีพวกซ้ายจัดกลุ่มเล็กๆ อาจฉวยโอกาสเคลื่อนไหวแบบเป็นไปเองของชาวนาเพื่อเพิ่มอิทธิพลให้แก่พวกเขา     แต่ความรับผิดชอบทั้งหมดในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นของฝ่ายนำในองค์กรแนวร่วม    แรกสุดก็คือพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยม

หนทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดและ ”สิ่งที่ล้นเกิน” เพื่อลดระดับความรุนแรงและการนองเลือดให้เกิดน้อยที่สุด   และเพื่อเป็นหลักประกันความสงบต่อการเปลี่ยนผ่านในเรื่องการถือครองที่ดินของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่ไปสู่แก่ชาวนาจนเท่าที่จะเป็นไปได้       ภายใต้การจัดการของชนชั้นกรรมกร   แทนที่จะใช้การปรักปรำกล่าวโทษต่อการกระทำที่ “ผิดกฎหมาย” เหล่านี้  ด้วยการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไป ควรจะให้ผู้นำในมวลชนในหมู่บ้านนั้นๆเป็นผู้จัดการแทน      อย่างที่ จ๊าค ชองโชลได้กล่าวไว้   ว่า.......พยายามลดบทบารทและความสำคัญของคณะกรรมการชาวนา  ไม่เพียงเท่านั้น ตัวเขาเองยังได้อธิบายถึงเหตุผลซึ่งขัดขวางพัฒนาการขององค์กรเหล่านี้....ซึ่งเป็นพลังที่ยอมรับกันทั่วไปในเขตชนบท
เป็นที่ประจักษ์ว่า การขยายตัวขององค์กรคณะกรรมการชาวนาเหล่านี้  มีความเป็นกลุ่มก้อนและเป็นการริเริ่ม    ยิ่งไปกว่านั้นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคแนวร่วมสามัคคีและพรรคคริสเตียน เดโมแครตและระหว่างพรรคที่เป็นแนวร่วมด้วยกันเองต่างก็พยายามช่วงชิงคณะกรรมการเหล่านี้     สถาน การณ์ภายหลังจากนั้น    ทำให้บางพรรคของกลุ่มแนวร่วมไม่ให้การสนับสนุนแก่คณะกรรมการชาวนา(Chile-America, p.32)
 ที่เหลือเชื่อก็คือ  ความคิดเห็นของกลุ่มผู้นำแนวร่วมสามัคคีบางส่วน ที่คัดค้านการยกระดับองค์กรจัดตั้งของคณะกรรมการชาวนา  อันเนื่องมาจากความพยายามของพรรคต่างๆที่ยังทำการต่อสู้ช่วงชิงกันยังดำเนินต่อไปเพื่อเข้าควบคุมองค์กรเหล่านี้         แต่การต่อสู้เช่นนี้กลับไม่ได้เกิดขึ้นในบรรดาโรงงานต่างๆที่อยู่ในแถบที่มวลชนกรรมกรอาศัยอยู่เลย,   ไม่ว่าในการเลือกตั้งทุกๆระดับทั่วประเทศ ,และในบรรดาสหภาพแรงงานทั้งหลาย       บรรดาผู้นำแนวร่วมสามัคคีเหล่านี้ไม่ได้ให้การสนับสนุน

สหภาพแรงงานและรัฐสภาทั้งยังไม่ได้ให้ความสนใจอีกด้วย   เหตุผลที่แท้จริงของ”กลุ่มผู้นำ” เหล่านี้ขององค์กรแนวร่วมฯ  คือไม่มีความเชื่อมั่นต่อการเคลื่อนไหวของมวลชนชาวนาและเกรงว่าพวกเขาจะไม่สามารถควบคุมได้      เบื้องแรกสุด..หน้าที่ของผู้นำแรงงานก็คือให้การสนับสนุนต่อการริเริ่มปฏิวัติในบางเรื่องและทุกๆเรื่องของมวลชนชาวนาจน       กระตือรือร้นที่จะผลักดันการก่อตั้งสภาชาวนาแม้ ว่าจะมีอุปสรรคที่ยากลำบากและให้ความสำคัญในการเคลื่อนไหวต่อสู้ของสภาชาวนาเพื่อนำไปสู่นโยบายการปฏิวัติสังคมนิยม,คัดค้านอิทธิพลที่เป็นพิษภัยของพรรคคริสเตียน เดโมแครต

ตั้งแต่แรก   ที่บรรดาผู้นำแนวร่วมให้ความเชื่อมั่นในเรื่องความถูกต้องตามกฎหมายของชนชั้นนายทุนว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำ เนินการเปลี่ยนแปลงสังคม  โดยไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือแบบเดิมๆทั้งหมดของรัฐ    ความจริงเช่นนี้ทำให้เกิดหายนะภัยติดตามมาในด้านการปฏิรูปเกษตรกรรม     ดังที่ จ๊าคส์   โชนชอล  ได้ยอมรับด้วยตนเองว่า  “นอกเหนือไปจากนี้ อำนาจของรัฐบาลในการควบ คุม มีขอบเขตจำกัด        ในการจัดตั้งคณะกรรมการชาวนาให้มีสถานะที่ถูกกฎหมายของกลุ่มผู้นำและให้การเงินสนับสนุนในการ ดำเนินการของพวกเขา    เว้นแต่จะเป็นการออกกฎหมาย  ...ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะผ่านไปได้สำหรับ

ความคิดที่มีลักษณะเพ้อฝันในการใช้เครื่องมือเก่าของระบอบขุนนางของชนชั้นนายทุนสำหรับการปฏิรูปเกษตรกรรมนั้นแสดงนัย บางอย่าง...ในการยอมรับ”คณะกรรมการชาวนา”  แม้ว่าจะไม่สู้จะเต็มใจนัก  บ่อยครั้งที่มีการประทะกันในการต่อต้านเครื่องมือของระบอบระบบการบริหารงานแบบเก่า “ในทำนองเดียวกัน ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลแนวร่วมพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้แม้ว่าจะมีความพยายามกระทำ        ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาศัยเครื่องมือแบบเก่าของระบบราชการ“สำหรับการเปลี่ยนกระ บวนการทั้งหมดในด้านเกษตรกรรม     ซึ่งรวมไปถึงปัญหาที่หลากหลายเช่นการเวนคืนที่ดิน    การช่วยเหลือทางด้านเทคนิค  การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร    การปฏิรูประบบเศรษฐกิจระหว่าการเกษตรกรรมและส่วนที่เหลือในสังคม ฯลฯ   เราต้องการที่จะให้อุปกรณ์ของระบบราชการเดิม        ซึ่งรับผิดชอบกระบวนการต่างๆในการเปลี่ยนแปลง  ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีพลัง     มีความคล่องตัวและเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพกับพฤติกรรมและความเคยชินแบบเก่า

ได้มีความพยายามหลายชนิดในระหว่างที่ รัฐบาลแนวร่วม เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมาย    แต่ในที่สุดก็ติดขัดที่กฎหมาย ...การต่อต้านของพวกข้ารัฐการในการดัดแปลงนิสัยการทำงาน...ความแตกต่างทางชนชั้นระหว่าข้ารัฐการและชาวนา    สถานการณ์ในเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการ   การเปลี่ยน แปลงองค์ประกอบของระบบงานแบบเก่าที่พรรคจะต้องตระเตรียมต่อสู้ ให้มีลักษณะก้าวหน้าเพื่อรับใช้การเปลี่ยนแปลงทางด้านเกษตรกรรม

ข้อสรุปทั้งหมดของ จ๊าคส์  โชนชอล  นั้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า      เป็นไปไม่ได้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมในชนบทของชิลี   นอกเสียจากว่าจะลงเอยด้วยการปฏิวัติของชาวนาโดยการติดอาวุธต่อต้านพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ   โดยการจัด ตั้งคณะกรรมการชาวนาขึ้น       และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสหภาพของ เกษตรกรและองค์กรจัดตั้งของชนชั้นกรรมกรในเมือง

แต่ทั้งๆที่ทุกอย่างเป็นผลมาจากแรงกดดันจากมวลชน (ซึ่งก่อน 1 มกราคม 1971 มีการเข้ายึดครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายประมาณ 250 – 300 คน)      รัฐบาลแนวร่วมสามัคคีได้ดำเนินงานโดยผ่านการปฏิรูปมากที่สุดเท่าที่เคยทำมาในชิลี        จากคำพูดของ จาคส์  โชนชอล ที่กล่าวว่า : ภายใต้สภาพ แวดล้อมเช่นนี้      รัฐบาลแนวร่วมสามัคคีได้กำหนดเป้าหมายไว้สำหรับปี 1971 ว่าจะเวนคืนฟาร์มเป็นจำนวนพันขึ้นไป         ซึ่งเป็นจำนวนเกือบจะเท่าๆกับที่รัฐบาลพรรคคริสเตียน เดโมแครท  ได้ทำมาตลอดระยะเวลา 6 ปี ที่ครองอำนาจ ( จำนวน 1139  ฟาร์ม )  และเกือบจะสี่เท่าที่ได้เวนคืนในปี 1970 (รัฐบาลประธานาธิบดี ฟราย ได้ทำการเวนคืนที่ดินในปี 1970 จำนวน 273 แห่ง เป็นเนื้อที่ 6,340,000 เฮกตาร์)

"เรื่องนี้ส่อให้เห็นถึงความพยายามอย่างมากของระบบของรัฐการ ในการสร้างความยุ่งเหยิงซับซ้อนรับและข้อจำกัดของกระบวนการเวนคืนในการตีความกฎหมายข้อที่ 16.640    ทั้งๆที่ถูกกดดันจากชาวนาให้เร่งรัดกระบวนการให้เร็วขึ้น        ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าจำต้องหยุดชงักลงในปลายปี1971     ฟาร์ม 1378 แห่งถูกเวนคืนรวมพื้นที่  2,600,000 เฮกตาร์ รวมไปถึงคฤหาสน์ขนาดมหึมาในชิลีก็ได้สิ้นสุดลงในทางปฏิบัติ   ในปี 1973 จนถึงการรัฐประหาร  มากกว่า 1,050 ถูกเวนคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มขนาดกลางที่ผลผลิตต่ำ    แต่ยังคงมีคฤหาสน์หลงเหลืออยู่ที่ถือครองที่ดินไว้ถึง 200,000 เฮกตาร์”

มาตรการที่รัฐบาล อาเยนเด ยึดถือ ก็คือการให้ความใส่ใจต่อมวลชนกรรมกรและชาวนาเป็นพิเศษ      ทำให้เกิดกระแสความพึงพอใจขึ้นทั่วไปเป็นกระแสที่ใหญ่โตมาก    ผลพวงที่ชัดเจนได้สะท้อนออกในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ของวันที่ 4 เมษายน 1971
ผลการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เดือนเมษายน 1971
 พรรค                         คะแนน             % 1971           % 1967

สังคมนิยม                   631,939              22.4                13.9
คอมมิวนิสต์                 479,206                17.0               14.8
ราดิคัล                       225,851                 8.0                16.1
PSD                            38.067                 -                     1.4
USOPO                        29,132                  -                 1.0 -
คริสเตียน เดโมแครท      723,623                25.6              35.6
ชาตินิยม                      511,669                18.2              14.3
ราดิคัล-ประชาธิปไตย .   108,192                 -                   3.8
ชาติ-ประชาธิปไตย          13,435                  0.4               2.4
อิสระ                          23,907                   0.8               0.7
บัตรเสีย                       38,772                  1.4               2.2

 รวม                       2,823,784                 100%            100%

นขณะเลือกตั้งประธานาธิบดี  อาเยนเด  ได้รับคะแนนเพียง 36.3%  แต่พรรค ประชาสามัคคี ได้คะแนนเสียง 49.7%..เมื่อเทียบกับคะแนนรวมของฝ่ายค้านทั้งหมดที่ได้ 48.05%   เมื่อรวมกับคะแนนของ ราอูล อัมเปอร์โร แห่งพรรค  ป๊อปปูลาร์ โซเวียลิสต์ ยูเนียน    ฝ่ายซ้ายก็จะครองเสียงข้างมาก
 กระแสการเปลี่ยนแปลงในประเทศได้แสดงออกโดยการถือกำเนิดขึ้นของพลังกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมและในถิ่นที่อาศัยของกรรมกร     ในชนบทบรรดาชาวนาจนพยายามเข้ายึดที่ดิน    ปัญ  หาของมวลชนที่หมักหมมนี้ใด้สั่นสะเทือนพรรคจารีตนิยมของชนชั้นกลาง     กระตุ้นให้เกิดการสั่นสะเทือนอย่างแรงและก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในกระบวนแถว    สมาชิรัฐสภา 7 คน ได้แยกออกมาจากพรรคคริสเตียน เดโมแครท  และตั้งพรรคใหม่ ได้แก่พรรค MIC หรือขบวนการคริสเตียนฝ่ายซ้าย(Movement of the Christian Left)   โดยมีปีกของเยาวชนของพรรคเดิมเข้าร่วมด้วยถึง 20%    และได้ประกาศตนในนาม ”กลุ่มสร้างสรรค์ลัทธิสัง คมนิยมและได้เข้าร่วมกับพรรครัฐบาลพรรค UP”     พรรคราดิคาลได้ประสบกับความเจ็บปวดในการที่กลุ่มปีกขวาได้แยกตัวออกไปหลังหารประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 25   เนื่องจากพรรคได้ประกาศนโยบายสนับสนุน “การต่อสู้ทางชนชั้น    และมีความจำเป็นที่จะต้องขจัดการกดขี่ที่มนุษย์พึงกระทำต่อมนุษย์ ”

อัลแบร์โต  บัลทรา  ผู้นำในการตั้งพรรคเป็นโดยให้ชื่อที่ผิดเพี้ยนไปจากแนวทาง(ขวา)ของตนว่า พรรคราดิคัลซ้าย(PIR) “เพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง  .ในแนวทางที่.ไม่บังอาจแม้แต่จะต่อต้านพรรครัฐบาลอย่างนอกหน้า    กระแสหลักในการสนับสนุนรัฐบาลจะอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางนายทุนน้อย     ในความเป็นจริงแล้ว..ความสัมพันธ์พื้นฐานของแนวทางรัฐสภานั้น ไม่ได้ดีไปกว่าเงาที่ซีดสลัว     การสะท้อนออกถึงความใหญ่โตเข้มแข็งก็คือการเคลื่อนไหวของกรรกรและชาวนาในเวลานั้น   
 เงื่อนไขทางภววิสัยหลายอย่างได้ส่งผลให้การเปลี่ยนผ่านทางสังคมของชิลีเป็นไปอย่างสันติ      

ชนชั้นปกครองตกอยู่ในความปั่น ป่วนและแกว่งไปมา    การเคลื่อนไหวของมวลชนขึ้นสู่กระแสสูง   และในสภาพเป็นจริงได้ก้าวล้ำหน้าพวกผู้นำแรงงานหัวปฏิรูปไปไกลโขแล้ว   ชนชั้นกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาชาวนาต่างมองรัฐบาลด้วยสายตาแห่งความหวัง   ฝ่ายนำของชาวสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ได้ตำแหน่งสำคัญๆในรัฐบาลและการบริหารรัฐกิจ       ในสายตาของมวลชนที่ล้าหลังและชนชั้นกลาง    การเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศทำให้พวกเขามีเปรียบและเป็นการเอื้ออำนวยต่อภา- ระหน้าที่ของการปฏิวัติสังคมนิยม      แม้กระทั่งในกองกำลังแห่งชาติ  ซึ่งพรรคประชาชนสามัคคีได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก    

ไม่เพียงแต่ทหารบกและทหารเรือเท่านั้นยังรวมไปถึงบรรดานายทหาร ชั้นประทวนและนายทหารสัญญาบัตรระดับล่าง   ที่สนับสนุนพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์อีกด้วย    ประธานาธิบดีแห่งสาธารณ รัฐมีสิทธิ์ที่ระงับการทำประชามติ       เป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการสภาพภววิสัยเกินเลยไปกว่านี้     กระนั้นการนำของพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ต้องประสบกับความล้มเหลวในการใช้ประโยชน์ในช่วงที่มีการนัดหยุดงานเป็นตัวตัดสินขี้ขาดในการขจัดอำนาจของบรรดาอภิสิทธิ์ชนลงไป

ในสถานการณ์เช่นนี้เงื่อนไขของอำนาจคู่ขนานได้ปรากฏให้เห็นในสังคมของชิลี   ในหนังสือครบรอบ 45 ปีของพรรคสังคมนิยมชิลีหน้า 17 ได้เขียนไว้ว่า  “ บนจุดนี้มีความสำคัญมากที่เน้นให้เห็นถึงความขัดแย้งพื้นฐานที่เกิดจากแรงบันดาลใจของมวลชนที่มีต่ออำนาจนิยม  ที่ได้แสดงออกถึงสิ่งที่เรียกว่าหน่วยคอมมานโดของประชาชน  ที่เกิดขึ้นทั่วไปในรูปแบบของการควบคุมด้านอาหาร    คณะกรรม  การบริหารงาน ฯลฯ”

แม้ว่าบรรดาผู้นำการเคลื่อนไหวในด้านแรงงานได้ ปล่อยให้อำนาจในการคัดค้านตกอยู่ในมือของชนชั้นปกครอง  พวกเขาไม่บังอาจที่จะแตะต้องกองทัพและตำรวจ    เซพูลเวดากล่าวว่า “พรรคประชาชนสามัคคีมีอำนาจบริหาร      แต่ศัตรูกลับควบคุมสถาบันต่างๆของชนชั้นนายทุนไว้ทั้งหมด และปกป้องตนเองอยู่เบื้องหลังสถาบันดังกล่าว เพื่อเตรียมการต่อต้านการปฏิวัติ”  รัฐบาลมีอำนาจตามกฎหมายที่ประกาศให้ประชาชนลงประชามติเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่    ซึ่งแทบจะไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าชัยชนะจะต้องตกเป็นของพรรคกรรมกรทั้งมวล        แต่ในช่วงข้าวใหม่ปลามันนี้บรรดาผู้นำของพรรคประชาชนสามัคคีได้สูญเสียโอกาสที่ดีนี้ไป เนื่องเพราะไว้วางใจใน”ความปรารถนาดี” ของศัตรูทางชนชั้นด้วยความมืดบอด


No comments:

Post a Comment