Friday, July 10, 2015

บทเรียนจากชิลี 1973 ตอนที่ 1

บทเรียนของชิลี ปี 1973    
 เขียนโดย  อลัน วูดส์     11 January 1979      ทินกร   คล่องเชิงรบ   แปลและเรียบเรียง
ตอนที่1. 
วันนี้เป็นวันครบรอบ 40 ปี ของการรัฐประหารโค่นอำนาจของประธานาธิบดี ซัลวาดอร์  อาเยนเด ในประเทศชิลีและสถาปนาระบอบเผด็จการที่โหดร้ายป่าเถื่อนของ ปิโนเช     เราได้ตีพิมพ์เอกสารที่เขียนขึ้นเมื่อปี 1979  โดย อลัน วูดส์  ได้วิเคราะห์ประวัติการเคลื่อนไหวของขบวนแถวของกรรมกรชิลีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยุคของรัฐบาลผสมฝ่ายซ้ายของประธานาธิบดี อาเยนเด,ใครเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังสนับสนุน  การรัฐประหารของของนายพลปิโนเช? และพวกเขาได้พิทักษ์ผลประโยชน์ของใคร?  การดำเนินนโยบายทางการเมืองอะไรของอาเยเดทำให้ไม่สามารถป้องกันการก่อรัฐประหารได้   
เริ่มจากการพิชิตดินแดนที่เรียกว่าชิลีเริ่มขึ้นเมื่อปีคริสต์ศักราช 1536- 37 โดย ดิเอโก เดอ อัลมาโกร และต่อมาภายหลังโดย เปโดร เดอ วาลดิเวียได้ดำเนินไปด้วยความโหดร้ายทารุณพอๆกันเช่นที่ได้เกิดขึ้นในส่วนอื่นๆของทวีปนี้   แต่ผู้พิชิตไม่เคยค้นพบ“เอล โดราโด”*ในชิลีเลย (เอล โดราโด*ตำนานขุมทองในอเมริกาใต้  เป็นเรื่องที่ดึงดูดใจนักแสวงโชคในยุโรปให้ไปค้นหา แต่ไม่เคยมีการค้นพบ) การค้นหาทอง คำที่ค่อนข้างจะหายากไม่สามารถชดเชยความสิ้นเปลืองในสงครามช่วงชิงพรมแดน ”อาเราคัน” ที่ดำเนินมากระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อปี 1880     และเป็นเหตุให้ชิลีต้องกลายเป็นอาณานิคมที่แร้นแค้นที่สุดของเสปน สภาพภูมิอากาศทำให้การพัฒนาเกษตรกรรมในภาคเหนือและใต้ของชิลีเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่ง   ในขณะที่เม๊กซิโกและเปรูนั้นมีองค์ประกอบที่สามารถดึงดูดความสนใจของชนชั้นปกครองชาวคัสตินเลียนได้มากกว่า   ด้วยทัศนคติที่ว่าชิลีไม่สามารถเอื้ออำนวยในการสร้างความมั่งคั่งรวมถึงการได้รับการยอมรับในฐานันดรที่ทรงเกียรติ เช่นใน เม๊กซิโกและเปรู    อีกด้านหนึ่งชาว อาเราคันอินเดียน*ได้ต่อต้านผู้รุกรานด้วยความกล้าหาญตลอดมาจนถึงปี 1880 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาและความความหาญกล้า  ในการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทั้งทางการทหารและวิถีชีวิตการต่อสู้ของพวกเขาตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป
ผู้รุกรานจะบรรลุ ”ความสงบ” กับชาวอาเราคันโดยใช้นโยบายถอนรากถอนโคนอย่างเป็นระบบเพียงอย่างเดียว   ในสงครามนองเลือดที่ต่อต้านชนพื้นเมืองทำให้เราได้เห็นธาตุแท้ของเจ้าที่ดินชิลี      ซึ่งเป็นธาตุแท้ในการหล่อหลอมชัยชนะเพื่อทำให้ประชาชนกลายเป็นข้าทาส     เป็นวิธีที่พวกเขาคุ้นเคยมานานนับศตวรรษที่เห็นว่าชนชาวพื้นเมืองเป็นแค่สิ่งมีชีวิตที่ต่ำชั้นกว่าซึ่งมีค่ามากว่าสัตว์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น      ด้วยสำนึกว่าเป็นเผ่าพันธุ์ที่เหนือกว่านี้,ได้สร้างสมลักษณะพิเศษของชนชั้นปกครองชิลีมาจนตราบเท่าถึงปัจจุบันนี้
 เบื้องหลัง “ความมีอารยะ” และ “ความรุ่งโรจน์ทางปัญญา” ของพวกเขา   ได้แก่สีผิวที่ได้แสดงออกถึงจิตวิญญาณของความเป็น”ผู้พิชิต” และ”เจ้าศักดินา”    และทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันอยู่ในหมู่ชนชั้น  ”ผู้ดี” ชาวชิลีอย่างโจ่งแจ้งและพันธมิตรชนชั้นนายทุนของพวกเขา    ซึ่งไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากทำตัวเป็นตัวแทนย่อยๆของลัทธิจักรพรรดิ์นิยม    อาสาพิทักษ์และขึ้นต่อทุนต่างชาติอย่างน่าละอาย  นานนับศตวรรษที่ดินตอนกลางอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศนับว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ดี ถูกแบ่งปันจัดสรรเป็นไร่หรือฟาร์มขนาดใหญ่ทันที  เริ่มแต่ได้รับชัยชนะต่อชนพื้นเมืองให้เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของบรรดาเจ้าศักดินา      จากการสำรวจเมื่อปี 1925 -  90  ของที่ดินในแถบนี้ล้วนเป็นของเจ้าศักดินา   ที่ดินในหุบเขาของแม่น้ำ อะคอนคาเกา ใกล้กับ เมืองวาลปาไรโซ 98% เป็นของเจ้าที่ดินเพียงหยิบมือเดียว (3%)   เจ้าที่ดินบางคนถือครองกรรมสิทธิ์มากกว่า 5,000 เฮกตาร์ (31,250 ไร่)    เหลือที่ดินผืนเล็กๆอยู่ในมือของชาวนาจนซึ่งดำรงชีวิตได้อย่างยากลำบากมาก
ที่ดินทำกินเป็นปัญหาใจกลางของสังคมชิลีมาตลอดควบคู่ไปกับการปลดแอกประเทศจากจักรพรรดินิยม   และการขาดแคลนที่ดินที่เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรม    ในภาคเหนือก็มีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ  ส่วนภาคใต้ก็มีฝนชุกเกินไป    มีเพียงตอนกลางของประเทศเท่านั้นที่สามารถพัฒนาเกษตรกรรมให้รุด หน้าไปได้    พื้นที่ส่วนนี้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพัฒนาพื้นฐานการเกษตรแบบเมดิเตอร์เรเนียนด้วยการผลิตไวน์   น้ำมันมะกอก  หรือผลไม้ต่างๆ   แต่อุปสรรคที่ใหญ่หลวงในการพัฒนานี้ได้แก่ที่ดินซึ่งอยู่ในกำมือของเจ้าที่ดินเพียงไม่กี่ราย    เจ้าของที่ดินรายใหญ่มักจะใช้ที่ดินสำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์     ที่ดินส่วนมากจะใช้ปลูกหญ้า อัลฟาลฟา และพืชอาหารของสัตว์  ที่เหลือก็จ้างแรงงานราคาถูกของชาวนาผู้ซึ่งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เลวร้ายมากพอจะเปรียบได้กับพวกทาสกสิกรในสมัยศักดินา  บรรดา     เจ้าที่ดินให้ความสนใจการเกษตรกรรมสมัยใหม่น้อยมาก
วิธีพื้นฐานของเจ้าที่ดินใหญ่โดยมากจะขัดขวางการพัฒนาการเกษตรกรรม      ในภาคใต้,ตั้งแต่ปี1850 ผู้อพยพชาวเยอรมันได้สร้างฟาร์มขนาดเล็กขึ้นเพื่อผลิตข้าวสาลีและเลี้ยงโคนมเป็นด้านหลัก    แต่ส่วนใหญ่ของประเทศไม่เคยปรากฏว่ามีชนชั้นชาวนารวยแต่อย่างใด,หากแต่จะค่อนไปทางเจ้าที่ดินใหญ่และบรรดาผู้เช่านาของพวกเขาที่มีสภาพการผลิตแบบกี่งศักดินาเสียเป็นส่วนใหญ่   ผสมผสานไปกับบรรดากรรมกรผู้ใช้แรงงานทางการเกษตรในชนบทที่ถูกเรียกว่า”ผู้ชำรุด”(rotos) ที่มีสาเหตุมาจากการกดขี่ที่โหดร้ายป่าเถื่อน,และมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แทบจะไม่ใช่มนุษย์
ที่ผิดแผกแตกต่างกับประเทศอื่นและเป็นที่รู้กันว่าในชิลีไม่เคยรู้จักคำว่าการปฏิรูปเกษตรกรรมเลยจากปี1925  มีเพียงในปี1945 ที่มีความพยายามจะแบ่งสรรที่ดินเป็นผืนใหญ่ๆ   แต่ก็เป็นความพยายามครั้งเดียวที่เป็นผลพวงที่มาจากการปฏิวัติในเม๊กซิโก หรือเป็นนโยบายของรัฐบาลประเทศโบลิเวีย     เป็นการริเริ่มของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่ซึ่งตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของผลกำไรของตน    จิตสำนึกแบบศักดินาของเจ้าที่ดินชิลีไม่ได้เป็นอุปสรรคที่รุนแรงใดๆในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการเก็งกำไรที่แสนจะน่าละอายนี้      พวกเขาขายที่ดินส่วนหนึ่งไปและนำเงินกำไรไปลงทุนธุรกิจในเมืองใหญ่,พวกเขาเข้าควบคุมกิจการธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆเอาไว้ 
ผู้รับใช้นายทุน    รูปการที่ชัดเจนอย่างยิ่งในชิลีที่เป็นมากกว่าบรรดาประเทศในลาตินอเมริกาทั้งมวลคือ     การรักษาผลประโยชน์ของบรรดาเจ้าที่ดินใหญ่,นายธนาคาร, และบรรดานายทุน  ด้วยการหลอมรวมระบบคณาธิปไตยที่เข้มแข็งซึ่งควบคุมชีวิตทางเศรษฐกิจของชาติเข้ากับการควบคุมของจักรพรรดิ์นิยม  ดังนั้น,โดยธาตุแท้ของมัน..ย่อมไม่สามารถขีดเส้นแบ่งระหว่างชนชั้นเจ้าที่ดินใหญ่กับชนชั้นนายทุนชิลีออกจากกันอย่างชัดเจนได้, ชนชั้นนายทุนชิลียินยอมโดยไม่ลังเลที่จะประสานผลประโยชน์ของพวกเขาเข้ากับกลุ่มที่มีผลประโยชน์อย่างเดียวกันที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของสังคมชิลีอย่างถึงรากถึงโคน  นี่สามารถอธิบายได้ว่าไม่เคยมีการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนในชิลี     และถือว่าเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในความพยายามที่จะดำเนิน การปฏิรูปที่ดินอย่างจริงจัง,ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชนชั้นนายทุนในการปฏิวัติประชาธิปไตยของชนชั้นนี้      ผลสำฤทธิ์ทั้งหมดของสิทธิทางประชาธิปไตยในชิลีในอดีตย่อมไม่ใช่มาจากผลพวงของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน,ซึ่งตามความเป็นจริงไม่เคยเกิดขึ้นเลย,หากเนื่องมาจากการดำรงอยู่ของชนชั้นกรรมกรและระบบสหภาพแรงงานที่เข้ม แข็ง   แรงกดดันของชนชั้นกรรมกรชิลีได้บีบให้กลุ่มคณาธิปไตยไม่สามารถอยู่ในฐานะอภิสิทธ์ชนที่จะทำอะไรก็ได้ในระบบเศรษฐกิจของชิลีในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามประกาศอิสรภาพเมื่อปี 1818 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในระดับพื้นฐานของกองทัพอย่างขนานใหญ่    โดยได้รับอิทธิพลและตัวอย่างจากการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส (ปี 1789)   โดยมีความพยายามดำเนินการปฏิรูปที่ต่อต้าน ผลประโยชน์ของโบสถ์และเจ้าที่ดินใหญ่     แต่ความริเริ่มนี้ถูกขัดขวางโดยพวก ”เปลูคอนเนส(pelucones)* ในภาษาเสปนหมายถึงพวกชนชั้นผู้ดีอนุรักษ์นิยมในสังคมชิลีเมื่อราวต้นทศวรรษที่ 18 ที่สวมวิกผมตามสมัยนิยมแบบยุโรป  ซึ่งถูกเรียกโดยกลุ่มหัวใหม่ที่ต้องการเปลี่ยน แปลงสังคม      เป็นชนชั้นที่มีอิทธิพลในการร่างรัฐธรรมนูญชิลีฉบับปี 1833  เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ชนชั้นสูงในการดำรง ตำแหน่งประธานาธิบดีและผูกขาดอำนาจทางการเมือง) ซึ่งเป็นชนชั้นศักดินาที่มีบทบาทในการยกร่างรัฐธรรมนูญปฏิกิริยาฉบับปี 1833

การพัฒนาของปัจจัยทุนนิยมก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างพวกเสรีนิยม(แนวคิดใหม่)และอนุรักษ์นิ ยม(แนวคิดเก่า)ตลอดระยะครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19   แต่ก็จบลงเหมือนกับประเทศอื่นๆด้วยการร่วมมือกันแบ่งปันผลประโยชน์ที่ปล้นชิงมาจากประชาชน   ซึ่งต้องขอบคุณพวกเขาในการควบคุมรัฐบาลและประเทศ เงื่อนไขสำคัญที่พวกเขาสามารถร่วมมือกันก็คือการทำสงครามต่อต้านเปรูกับโบลิเวียอย่างต่อต่อเนื่องเพื่อครอบครองความมั่งคั่งทางทรัพยากรเหมืองแร่ในภาคเหนือของประเทศ จากการพิชิตทะเล ทรายอาเราคาน  ปริมาณสำรองแร่ไนเตรทอันมหาศาลในที่นั้นจึงตกไปอยู่ในมือของกลุ่มคณาธิปไตยชิลี
เมื่อสงครามยุติลง  ปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไข  รัฐบาลชิลีได้รับความนิยมอย่างมากในปี 1883   ชิลีได้ครอบครองเมืองโบราณ ทัคนา และ อาริคา  ของเปรูโดยให้คำมั่นว่าจะมีการลงประชามติแต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นเลย   บรรดานายทุนได้มีส่วนในการแบ่งอำนาจกับชนชั้นศักดินาและขุนทหารใหญ่   ซึ่งชัยชนะในการรบได้เปิดทางกว้างไปสู่ความมั่งคั่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน   ผลกำไรจากการทำเหมืองไนเตรทคือจุดเริ่มต้นของระบอบทุนนิยมสมัยใหม่ในชิลี     และไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องไปเผชิญหน้ากับชนชั้นศักดินาและทหารระดับสูงซึ่งก็พร้อมอยู่แล้วที่จะให้ความร่วมมือทางธุรกิจกับชนชั้นนายทุน
 บนเส้นทางที่ชนชั้นนายทุนถือกำเนิดมาเช่นนี้    เป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นให้ได้ว่าชนชั้นนายทุนชาติของชิลีนั้นถูกกัดกร่อนจนตกอยู่ในภาวะที่เสื่อมถอย     ไม่สามารถต่อสู้กับอำนาจอิทธิพลของเจ้าที่ดินใหญ่ ได้แต่ยอมจำนนเป็นเบี้ยล่างอยู่ตลอดมา และยอมมอบอำนาจการปกครองประทศให้แก่เจ้าที่ดินใหญ่ไปเสียเกือบทั้งหมด       ส่วนแบ่งที่ได้มาก็คืออำนาจในการกดขี่ขูดรีดกรรมกรและชาวนาที่ปล้นชิงมาได้จากสงครามชายแดน ชนชั้นนายทุนได้ส่วนแบ่งที่ดินแต่ชนชั้นเจ้าที่ดินได้รับส่วนแบ่งในด้านอุตสาหกรรม ,เหมืองแร่,และพาณิชยกรรม     ทั้งสองชนชั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นโดยผ่านจากผลประโยชน์ทางด้านธนาคารและธุรกิจการเงิน     ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ บทสรุปสุดท้ายของชนชั้นนาย ทุนชิลีก็คือความอ่อนแอไร้อำนาจที่จะดำเนินภารกิจพื้นฐานของชนชั้นตนคือการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน      เหมือนเช่นที่ชนชั้นนายทุนฝรั่งเศสและอังกฤษได้เข้าใจมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และ 18 แล้ว
เราได้เห็นว่าการเป็นพันธมิตรกันระหว่างนายทุนและเจ้าที่ดินทำให้มีมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากที่กอง ทัพได้รับชัยชนะเมื่อปี1883และยังสามารถพิชิตชนอินเดียนพื้นเมืองแห่งอาเราคานได้ภายในทศทศวรรษเดียวกัน    พันธมิตรนี้ได้สร้างลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง     คือการได้ขยายเขตแดนของประเทศ ซึ่งได้กลายมาเป็นการเพิ่มพูนความมั่งคั่งที่ได้รับจากแร่ไนเตรท   “ความปรองดองทางประวัติศาสตร์” ระหว่างฝ่ายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของชนชั้นปกครองนี้ได้สร้างพื้นฐานทางการเมือง “ระบบรัฐสภา” ขึ้นในระยะต่อมาอย่างยาวนาน     เศรษฐกิจโลกอยู่ในยุคที่รุ่งเรืองมากในช่วงปี 1891- 1913  ทำให้ชนชั้นปกครองของชิลีมีความมั่นคง    ชิลีวางตัวเป็นกลางในสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้รับผลประ โยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล   การร่วมมือกันของธนาคาร  ระบอบเจ้าที่ดิน และธุรกิจใหญ่ๆเป็นไปอย่างราบรื่นสมบูรณ์   ซึ่งก็มีพื้นฐานที่ไม่แตกต่างกันนักระหว่างพรรคการเมืองต่างๆที่เป็นตัวแทนในรัฐสภา   ภาพข้างล่างนี้ได้ไขความลับของ ”ประชาธิปไตยแบบชิลี” ในสมัยนั้น 
ผลผลิตไนเตรท;
ปี  1832              300,000    ตัน
ปี   1896           1,000,000    ตัน
ปี  1901-1910     1,700,000   ตัน    (เฉลี่ยรายปี)
ปี  1911-1920     2,500,000    ตัน   (เฉลี่ยรายปี)
ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของการค้าโลก   ทำให้มีความต้องการไนเตรทจากชิลีมากขึ้นบีบให้ราคาพุ่งสูงขึ้นถึง 75% ระหว่างปี 1910-1918   และเช่นเดียวกันกับทองแดงที่เข้ามาเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญแทนไนเตรททีละเล็กทีละน้อย   ผลผลิตทองแดงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 30,000 ตัน/ปี    เป็นค่าเฉลี่ยระหว่าปี 1901-1910  และ  60,000  ตันในปี 1920  การค้าต่างประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 140 ล้านเปโซในปี 1886 เป็น 580 ล้านเปโซในปี 1906
 แต่ในขณะเดียวกันชนชั้นนายทุนชิลีก็ไม่สามารถทำการปฏิรูปที่ดินให้ลุล่วงไปได้ แม้กระทั่งในด้านอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ ใน  ”ยุคทอง” ของชนชั้นนายทุนชิลี    ชนชั้นนายทุนชาติกลับยอมสยบและรับใช้ประเทศจักรพรรดินิยม   แม้ในช่วงปีที่เกิดสงคราม โลกครั้งแรก, ครึ่งหนึ่งของการลงทุนด้านอุตสา -หกรรมเหมืองแร่ตกเป็นของต่างชาติ     ในไม่ช้าประเทศจักรวรรดินิยมซึ่งไม่ใช่ใครอื่น สหรัฐอเมริกาก็เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทอุตสาหกรรมเหมืองทองแดงเสียเอง      บริษัท “เอล เทเนียนเต้ “ ที่มีขนาดการผลิตใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศก็ตกอยู่ในมือของบริษัทสหรัฐฯเมื่อปี 1904     บริษัท ชูคิกามาตา  ซึ่งมีผลผลิตเป็นครึ่งหนึ่งของผลผลิตทองแดงของทั้งประเทศก็ถูกซื้อโดยบริษัทอีกแห่งหนึ่งของสหรัฐฯเมื่อปี 1912   และมากไปกว่านั้นในเวลาเพียงครึ่งศตวรรษ    บริษัทผลิตทองแดงต่างๆเช่น อนาคอนดา และเคนเนคอท ได้ดำเนินกิจการปล้นชิงผลประโยชน์จากทรัพยากรเหมืองแร่ของชาติ,สะสมกำไรมูลค่ามหาศาลไปจากชนชั้นกรรมกรชาวชิลี    อะไรที่เกิดขึ้นจริงกับทองแดง,สิ่งนั้นมันก็เกิดขึ้นกับส่วนอื่น ๆ ด้วย   เช่นเหล็กซึ่งเป็นสินแร่ที่มีคุณภาพดีและมีมากมายในชิลี       บริษัท เบ็ธเลเฮมเหล็ก กล้า ได้เข้าควบคุมกิจการของบริษัท เอล โตโฮ  ในปี 1913  และดำเนินการไปจนกระทั่งแร่หมดลง    เหล็กกล้าส่วนใหญ่ของชิลีถูกส่งไปยังอเมริกา
เรื่องนี้ต้องให้ความคารวะต่อชนชั้นนายทุนชิลีเป็นอย่างมากที่ได้หลงเหลือหลักฐานที่สมบูรณ์ ต่อความไร้ประสิทธิภาพของพวกเขาในการแบกรับภารหน้าที่พื้นฐานของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนและการปลดปล่อยประเทศชาติจากการครอบงำของจักรพรรดิ์นิยม     ก่อนสงครามโลกครั้งแรกชิลีมีสภาพเป็นประเทศกึ่งบริวารของจักพรรดิ์นิยมอังกฤษ    หลังสงครามโลกครั้งที่สองชนชั้นนายทุนชิลีได้เปลี่ยนแอกใหม่มาขึ้นต่อจักรพรรดิ์นิยมอเมริกา   ปัจจุบันชนชั้นนี้ก็ยังพร่ำเพ้อพูดถึง” แผ่นดินพ่อ” และ”อุดมการณ์ของชาติ”  อย่างที่เคยแอบอ้างมาตลอด     แต่ไร้ความสามารถที่จะทำให้ชิลีเป็นอิสระและความอัปยศจากจักรพรรดิ์นิยม   จากตัวอย่างแรกพวกเขาเข้าร่วมมีบทบาทในฐานะผู้จัดการท้องถิ่นที่ดูแลผลประโยชน์ให้แก่จักรพรรดินิยม,เป็นเด็กหิ้วกระเป๋าให้แก่นายทุนต่างชาติ     ภายใต้กฎเกณฑ์ของชนชั้นนายทุนความมั่งคั่งจำนวนมหึมาของชิลีถูกปล้นไปโดยจักรพรรดิ์นิยมหรือไม่ก็ถูกถลุงโดยชนชั้นปกครองคณาธิปไตย   พวกเขาไม่แม้แต่จะสร้างชาติให้เจริญรุ่งเรืองหรืออย่างน้อยก็พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น,ซึ่งน่าเสียดายเพราะเป็นได้แค่การสร้างภาพเท่านั้น   ถนนที่มีสภาพดีในภาคเหนือล้วนสร้างขึ้นโดยบริษัทเหมืองแร่ต่างชาติ    สินค้าส่งออกส่วนมากของชิลีก็ใช้บริการขนส่งทางเรือของต่างชาติ

สิ่งที่ได้กล่าวมาคือภาระหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความจำเป็นต้องดำเนินต่อไปให้ได้ในชิลี ซึ่งสิ่งเหล่า นี้ได้ถูกทำให้สำเร็จลุล่วงในยุโรปมานานแล้ว, ตั้งแต่ยุคสมัยของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน  แต่ประวัติศาสตร์ของชิลีได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณลักษณะของชนชั้นนายทุนชาติของชิลีในส่วนทั้งหมดว่าไม่มีความสามารถที่จะไปบรรลุภาระหน้าที่นี้  (โปรดติดตามตอนต่อไป)

No comments:

Post a Comment