ตอนที่
4 การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในศตวรรษที่
17
1 สภาพทางเศรษฐกิจและการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมก่อนการปฏิวัติ
การพัฒนาของเศรษฐกิจทุนนิยม
ราชอาณาจักรอังกฤษในศตวรรษที่
16-17 เป็นรัฐศักดินาที่ค่อนข้างเล็ก
ดินแดนของราชอาณาจักรมีอังกฤษ
เวลส์และเกาะที่อยู่รอบๆเท่านั้น เนื่องจากการลุกขึ้นสู้ของชาวนาและการแทรกซึมของปัจจัยทุนนิยม ระบอบทาสกสิกรของอังกฤษในทางเป็นจริงได้สลายตัวไปตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 14 แล้ว ถึงศตวรรษที่ 15
ชาวชนบทส่วนใหญ่ที่สุดเป็นชาวนาที่มีนาทำเอง ต้นศตวรรษที่ 17 ในจำนวนพลเมือง 4-5
ล้านคน มีเพียง 1 ใน
5 เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเมือง แต่ว่าก่อนปฏิวัติ
ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบศักดินาในชนบทของอังกฤษได้ถูกทำลายลงบ้างแล้ว เศรษฐกิจสินค้าของทุนนิยมได้ซึมลึกสู่ชนบท ชนบทกำลังผ่านกระบวนการสะสมทุนปฐมกาล
เริ่มแต่ศตวรรษที่
16 สถานประกอบการหัตถกรรมในอังกฤษ ได้พัฒนาขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
อุตสาหกรรมทอขนสัตว์อันเป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิมมีฐานะที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม กลางศตวรรษที่ 16
ในชนบทอันกว้างใหญ่ก็เริ่มมีการสร้างสถานประกอบการหัตถกรรมทอผ้าสักหลาดและผ้ากำมะหยี่ซึ่งส่วนใหญ่กระจัดกระจาย แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีสถานประกอบการขนาดใหญ่และรวมศูนย์ปรากฏขึ้นแล้ว ต้นศตวรรษที่ 17 กิจการทอผ้าสักหลาดและผ้ากำมะหยี่รุ่งเรืองเป็นพิเศษในอังกฤษ มีปริมาณการส่งออกถึงร้อยละ 90
กลางศตวรรษที่
16
อังกฤษได้มีแขนงงานอุตสาหกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นแล้ว อย่างเช่นอุตสาหกรรมทำกระดาษ ดินปืน กระจก
น้ำตาล อุตสาหกรรมทางทหาร การต่อเรือและอุตสาหกรรมทอผ้าฝ้ายเป็นต้น
เนื่องจากได้ใช้เทคนิคและวิทยาการจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ถลุงโลหะก็ได้รับการพัฒนาไป ระหว่างปี 1540-1640
ปริมาณการผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้น 7.5 เท่า เหล็กเพิ่มขึ้น 5
เท่า
โดยทั่วไปแล้วสถานประกอบการแต่ละแห่งจะมีคนทำงานหลายสิบคนถึงหลายร้อยคน บางรายมีคนงานรับจ้างถึงหลายพันคน ดูจากด้านต่างๆ เช่นขนาด อุปกรณ์
เทคนิคและรูปการจัดตั้งแรงงานของแขนงอุตสาหกรรมเหล่านี้แล้ว เห็นได้ว่า
อุตสาหกรรมของอังกฤษได้ค่อยๆก้าวสู่วิถีทางของทุนนิยมแล้ว
การพัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมของอังกฤษนั้น เชื่อมโยงอยู่กับการขยายตลาด โดยเฉพาะคือการขยายการค้ากับต่างประเทศ ปลายศตวรรษที่ 15
หลังจากบุกเบิกเส้นทางเดินเรือใหม่ของโลกแล้ว ศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศก็ค่อยๆย้ายจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก
ประเทศอังกฤษเป็นหน้าด่านสำคัญบนเส้นทางเดินเรือการค้าขายของโลก
ทำให้ขอบเขตการค้ากับโพ้นทะเลขยายกว้างอย่างไม่ขาดสาย ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่
17 โดยการอนุญาตพิเศษ อังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทผูกขาดการค้าที่ใหญ่โตจำนวนมาก เช่นบริษัทอีสต์ ประกอบกิจการค้าแถบชายฝั่งทะเลบอลติก บริษัทอาแสะริกันประกอบกิจการค้าทาส
และที่สำคัญที่สุดคือบริษัทอีสต์อินเดียที่ก่อตั้งในปี 1600
ได้ผูกขาดการค้ากับประเทศต่างๆทางตะวันออก การขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านการค้ากับต่างประเทศได้เร่งความเร็วให้กับกระบวนการสะสมทุนปฐมกาล และกระบวนการแปรเกษตรกรรมเป็นแบบทุนนิยม ภายในประเทศ
สถานประกอบการหัตถกรรมแบบทุนนิยมได้เข้าแทนที่หัตถกรรมในครัวเรือนแบบศักดินาอย่างรวดเร็ว
ขบวนการกว้านซื้อที่ดินและการต่อสู้ของชาวนาที่คัดค้านการกว้านที่ดิน
เพื่อพัฒนาทุนนิยม
ชนชั้นนายทุนและขุนนางที่ดำเนินกิจการแบบทุนนิยม ได้ดำเนินการกว้านที่ดินติดต่อกันเป็นเวลากว่า
300 ปี
โดยเริ่มตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 15
ขบวนการกว้านที่ดิน
โดยเนื้อแท้แล้วก็คือกระบวนการสะสมทุนปฐมกาลที่ดำเนินอยู่ในชนบทนั่นเอง มันใช้ความรุนแรงที่โหดเหี้ยมอำมหิตไปทำให้ผู้ผลิตแยกตัวออกจากปัจจัยการผลิต
ชาวนาจำนวนมากถูกขับไล่ออกจากเรือกสวนไร่นาของตนเอง
จากนี้ก็ได้สนองแรงงานทาสรับจ้างให้กับชนชั้นนายทุน ขณะเดียวกัน
ขบวนการกว้านที่ดินยังเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนบทครั้งหนึ่ง
แปรกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบศักดินาและที่ดินสาธารณะของนิคม เป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนใหญ่ของชนชั้นนายทุน เพื่อให้สอด คล้องกับการพัฒนาของทุนนิยม โดยใช้รูปแบบและวิธีการที่โหดเหี้ยมอำมหิตไปแย่งยึดที่ดินของชาวนา ดังนั้นจึงได้รับการต่อต้านอย่างสุดฤทธิ์จากชาวนา
ในระหว่างศตวรรษที่
15-16
เนื่องจากอุตสาหกรรมขนสัตว์ได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ปริมาณความต้องการขนแกะเพิ่มทวีสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ราคาถีบตัวสูงขึ้น
จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ขุนนางส่วนหนึ่งโดยเฉพาะขุนนางขนาดกลางและขนาดเล็กของอังกฤษหันมาดำเนินกิจการแบบทุนนิยม
พวกเขาพากันไปกว้านที่ดินที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ ทำการแย่งยึดที่ดินของชาวนา ครอบครองที่ดินสาธารณะของนิคม
เชื่อมที่ดินที่กระจัดกระจายเข้าเป็นที่ดินผืนใหญ่ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อถึงกันแล้วจัดการล้อมด้วยรั้วไม่ไผ่ ขุดคูโดยรอบเพื่อปล่อยฝูงแกะ ถึงปลายศตวรรษที่ 16 ต้นศตวรรษที่ 17
เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรภาคอุตสาหกรรม
ทำให้ความต้องการในธัญญาหารและผลิตผลทางเกษตรอื่นๆเพิ่มสูงขึ้นด้วย เป็นการเพิ่มแรงจูงใจใหม่ให้กับขบวนการกว้านที่ดิน พวกกว้านที่ดินไม่เพียงแต่แย่งยึดที่ดินสาธารณะของนิคมและที่ดินทำกินของชาวนาเท่านั้น ยังดำเนินงานระบายน้ำ
ปรับปรุงเนื้อดินในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มภาคตะวันออก สร้างฟาร์มเกษตรแบบทุนนิยมอีกด้วย
ขบวนการกว้านที่ดิน ทำชนบททั้งชนบทถูกทำลายลงอย่างราบคาบ ชาวนาบ้านแตกสาแหรกขาด พลัดที่นาคาที่อยู่ ซัดเซพเนจร
สุดที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้
กลายเป็น “พวกจรจัด” ไปในที่สุด
เพื่อเสือกไสให้ชาวนาเหล่านี้ยอมรับการขูดรีดอย่างทารุณจากแรงงานรับจ้าง
พวกชนชั้นปกครองอังกฤษได้ตรากฏหมายที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นคาวเลือดออกมาจำนวนมาก ใช้วิธีการลงอาญาสถานหนักไปจัดการกับ
“พวกจรจัด”
เพื่อต่อต้านขบวนการกว้านที่ดินและการข่มขี่ทางการเมืองของชนชั้นนายทุน ชาวนา ได้ก่อการลุกขึ้นสู้ไม่ขาดสาย การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออกซึ่งขบวนการกว้านที่ดินดำเนินไปอย่างดุเดือดที่สุด ชาวนาที่ลุกขึ้นสู้มีจำนวนถึง 20,000 คน
พวกเขายึดได้เมืองนอริซและประสานตนเองเข้ากับประชาชนที่ยากจนในเมือง ทำการโจมตีต่อผู้กว้านที่ดินอย่างหนักหน่วง
การแยกตัวทางชนชั้นและการแปรเปลี่ยนของกำลังทางชนชั้น
คู่ขนานไปกับการขยายตัวไม่ขาดสายของขบวนการกว้านที่ดิน ปัจจัยทุนนิยมได้แทรกซึมสู่ด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง
ความสัมพันธ์ทางชนชั้นและสัดส่วนทางชนชั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ก่อนการ
ปฏิวัติ ชนชั้นปกครองของสังคมศักดินาซึ่งก็คือชนชั้นขุนนางก็เริ่มมีการแยกตัว พวกขุนนางศักดินาหรือขุนนางเก่า ซึ่งดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บค่าเช่าที่ดินศักดินาแต่ดั้งเดิม
ซึ่งก็คือค่าเช่าที่ดินที่กำหนดแน่นอนตามธรรมเนียมปฏิบัติศักดินา เนื่องจากรายรับไม่พอกับรายจ่าย หนี้สินพอกพูนขึ้นทุกวัน ฉะนั้นจึงต้องตัดที่ดินแบ่งขายมิได้ขาด ทำให้อาณาเขตของตนนับวันหดเล็กลง พวกเขาควบคุมกลไลอำนาจรัฐ เมื่อยิ่งตกต่ำการรีดนาทาเร้นต่อประชาชนก็ยิ่งโหดเหี้ยม
ยิ่งจะเสริมอำนาจเผด็จการกษัตริย์เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตน เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมอย่างหนัก พวกนี้มีจำนวนคนไม่มาก เป็นเป้าหมายของการปฏิวัติ
ชนชั้นใหม่ที่แยกตัวออกจากชนชั้นขุนนางเรียกว่า
“ขุนนางใหม่”
ประกอบด้วยอัศวินและคหบดีในชน บทเป็นสำคัญ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของศักดินาอังกฤษ ไม่ได้ห้ามขุนนางดำเนินอุตสากรรมและพาณิชยกรรม ดังนั้นพวกเขาจึงดำเนินกิจการแบบทุนนิยม ค้าขายขนแกะ
ธัญพืช และผลิตผลทางเกษตรอื่นๆ ประกอบกิจการถลุงโลหะ ทำเหมืองแร่และปล้นชิงอาณานิคม
ที่ดินที่ราชสำนักและขุน นางศักดินาขายออกไปด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ก็ตกไปอยู่ในมือของขุนนางใหม่ ระหว่างปี 1561-1640 ที่ดินของราชสำนักลดลงร้อยละ 75
ที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของขุนนางศักดินาก็ลดลงร้อยละ 50
แต่ที่ดินของขุนนางใหม่กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20
แต่ว่าที่ดินส่วนใหญ่ของขุนนางใหม่ได้ถือครองตามระบอบถือครองที่ดินของอัศวิน
พวกเขาไม่สามารถใช้ที่ดินในครอบครองของตนอย่างอิสระเสรีได้ ทั้งยังจะต้องปฏิบัติตามพันธะศักดินาต่อกษัตริย์ เช่นเสียเงินค่าโล่ห์แทนการถูกเกณฑ์เป็นทหาร
เวลากษัตริย์ถูกจับเป็นเชลยไถ่ตัวกลับก็ต้องเสียเงินค่าไถ่
เวลาบุตรสืบทอดมรดกก็ต้องเสียภาษีมรดกเป็นต้น ระบอบถือครองที่ดินของอัศวินเป็นแหล่งที่มาทางภาษีอากรทางหนึ่งของกษัตริย์ ในยามที่การคลังของราชสำนักร่อยหลอ รัฐบาลเผด็จการก็เสริมระบอบควบคุมที่ดินและดำเนินการรีดเค้นทุกชนิด
ขุนนางใหม่เรียกร้องให้ยกเลิกระบอบถือครองที่ดินของอัศวิน ทำให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
พวกเขาได้สร้างพันธมิตรกับชนชั้นนายทุนไปต่อต้านอำนาจเผด็จการกษัตริย์ ในการปฏิวัติชนชั้นนายทุนได้สร้างพันธมิตรกับขุนนางใหม่เป็นเวลานาน
ใช้กำลังของชาวนาอันไพศาลและหัตถกรเป็นกำลังไปคัดค้านอิทธิพลศักดินา
นี่เป็นลักษณะพิเศษพื้นฐานประการหนึ่งของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษ
ชนชั้นนายทุนอังกฤษในศตวรรษที่
17 ประกอบด้วยชั้นชนต่างๆ พ่อค้ามหาเศรษฐีในเขตกรุงลอนดอนและแคว้นต่างๆ
เจ้าของสถานประกอบการขนาดใหญ่และนายทุนเงินกู้ดอกเบี้ยสูงจำนวนไม่กี่ร้อยคน ประกอบขึ้นเป็นส่วนบนของชนชั้นนายทุน พวกเขาเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย
เป็นพวกได้รับสัมปทานและถือหุ้นของบริษัทการค้าอภิสิทธิ์ของราชสำนัก ขณะเดียวกันก็เป็นเจ้าหนี้ของขุนนางด้วย
พวกเขาเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับกษัตริย์และขุนนาง เป็นกลุ่มอนุรักษ์ในชนชั้นนายทุน ที่เป็นตัวหลักของชนชั้นนายทุน
ได้แก่ชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมขนาดกลาง พวกเขาเป็นเจ้าของวิสาหกิจที่ไม่ใช่แบบสมาคมอาชีพ
เป็นผู้จัดตั้งสถานประกอบการที่กระจัดกระจายและสถานประกอบการที่รวมศูนย์ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวิสาหกิจอาณานิคม ในฐานะเจ้าของวิสาหกิจ
พวกเขาถูกระบอบสมาคมอาชีพและระบอบผูกขาดที่ดำเนินโดยกษัตริย์กีดกันในฐานะพ่อค้า
พวกเขาถูกเบียดขับจากบริษัทอภิสิทธิ์ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
อุปสรรคขัดขวางจากศักดินาที่พวกเขาได้รับนั้นค่อนข้างมาก ความเรียกร้องต้องการปฏิวัติก็ค่อนข้างสูง
ชาวนาเป็นกำลังหลักของการปฏิวัติชนชั้นนายทุน ก่อนการปฏิวัติ มวลชนพื้นฐานของชาวนาอังกฤษคือชาวนาที่มีนาทำเอง ซึ่งก็คือชาวนาที่มีนาทำเองอย่างเสรีกับชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง
โดยมีชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงเป็นหลัก
พันธะศักดินาที่ชาวนาผู้มีนาทำเองอย่างเสรีจะต้องแบกรับนั้นค่อนข้างเบา สามารถจัดการกับที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดของตนเองอย่างเสรีได้
ส่วนชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงนั้นแปรเปลี่ยนมาจากทาสกสิกร เป็นคนส่วนใหญ่ของชาวนาในขณะนั้น ต้นศตวรรษที่ 17 พวกเขามีจำนวนคนเป็นร้อยละ 60 ของชาวนาในภาคกลาง
อัตราส่วนเปรียบเทียบในภาคตะวันตกและภาคเหนือยิ่งมีมาก ที่ภาคตะวันออกซึ่งทุนนิยมค่อนข้างเจริญ ก็มีจำนวนสูงถึง 1 ใน
3 กระทั่ง 1 ใน 2
การทำกินบนที่ดินผืนเล็กและสิทธิต่างๆในการใช้สอยผืนที่ดินซึ่งสืบทอดต่อๆกันมา
จะมีบันทึกอยู่ในสมุดบัญชีซึ่งฉบับตัวจริงจะถูกเก็บรักษาไว้ในศาลแขวง โดยพวกเขาเก็บฉบับสำเนาไว้
พวกเขาไม่สามารถจัดการกับที่ดินของตัวเองได้ นอกจากต้องส่งค่าเช่าให้เจ้าที่ดินแล้ว ยังถูกรีดเค้นแบบศักดินาในด้านอื่นๆอีกด้วย แบกรับพันธะศักดินามากมาย
ที่ดินส่วนที่เป็นของตนเองขณะสืบทอดหรือโอนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าที่ดินก่อน ทั้งต้องเสียเงินค่าอนุมัติอีกด้วย จำนวนเงินจะเป็นเท่าไรนั้น
เจ้าที่ดินจะเป็นผู้กำหนดเอง
ในชั่วระยะเวลานับจากศตวรรษที่ 16 ถึงกลางศตวรรษที่ 17
ค่าใช้จ่ายในด้านนี้เพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าในหลายท้องที่ ชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงเนื่องจาก เนื่องจากไม่สามารถเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ในที่สุดต้องสูญเสียที่ดินของตนไป
พวกเขามีความเรียกร้องต้องการอย่างเร่งด่วนที่จะให้ยกเลิกระบอบศักดินา
แปรที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดเป็นทรัพย์สินของตนเอง ชาวนาจนในอังกฤษขณะนั้นเรียกว่า
ชาวนาบ้านกระต๊อบ ชาวนาบ้านกระต๊อบเพียงสามารถใช้ที่ดินผืนกระจิ๊ดรอบๆบ้านกระต๊อบเท่านั้น
ที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านเคยเป็นแหล่งสำคัญในการดำรงชีพของพวกเขา
การกว้านที่ดินทำให้ฐานะของพวกเขายิ่งแย่ลงและตกต่ำลงเป็นชาวนารับจ้างในที่สุด กลายเป็นชนกรรมาชีพและกึ่งกรรมาชีพในชนบท ชาวนาอันกว้างใหญ่ไพศาลล้วนคัดค้านระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบศักดินาทั้งสิ้น
มีความขัดแย้งอย่างแหลมคมกับเจ้าศักดินาดำรงอยู่ ขณะเดียวกันชาวนาก็คัดค้านขบวนการกว้านที่ดิน
ดังนั้นจึงมีความขัดแย้งกับชนชั้นนายทุนขุนนางใหม่ดำรงอยู่อย่างรุนแรงด้วย
คนงานหัตถกรทั้งในเมืองและชนบทก็เป็นกำลังปฏิวัติที่สำคัญกำลังหนึ่ง
พวกเขาถูกกดขี่ถึงสองชั้นจากศักดินานิยมและทุนนิยมพร้อมๆกัน ดังนั้นพวกเขาจึงคัดค้านการกดขี่จากระบบระเบียบแบบศักดินาของสมาคมอาชีพ
ขณะเดียวกันก็คัดค้านการขูดรีดของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่อีกด้วย
ขบวนการปฏิรูปศาสนาพิวริแตนส์
ตั้งแต่ทศวรรษที่
1630-1640
อังกฤษก็เริ่มมีการปฏิรูปศาสนา
โดยตัดขาดความสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อศาสนจักรโรมันคาทอลิคในกรุงโรม ปิดโบสถ์วิหารโรมันคาทอลิค ริบทรัพย์สินของศาสนจักร ตั้งคณะอังกลิกันเป็นศาสนาของทางการรวมศาสนจักรกับอาณาจักรเป็นองค์เดียวกัน ภายใต้สภาพที่การเมืองกับศาสนารวมเป็นองค์เดียวกัน
คณะอังกลิกันกลายเป็นเครื่องมือของอำนาจกษัตริย์และเสาค้ำของระบอบเผด็จการ
เจ้าหน้าที่บริหารของคณะอังกลิกันที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์ในทางเป็นจริงแล้วก็คือข้าราชสำนัก
พระบรมราชโองการของกษัตริย์มักจะนำไปประกาศบนแท่นแสดงธรรม
ไม่เพียงแต่สาวกต่างนิกายจะถูกปองร้ายอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนแล้ว แม้แต่สาวกของอังกลิกันเองก็ยังถูกจับตาดูอย่างเข้มงวดกวดขัน
ศาลศาสนาจะดำเนินการปราบปรามต่อบุคคลผู้ต้องสงสัยว่าไม่ขึ้นต่อคำสอนของศาสนานิกายอังกลิกัลป์อย่างเฉียบขาด กษัตริย์
ขุนนางและสังฆราช
เป็นอิทธิพลปฏิปักษ์ปฏิวัติสามเส้าในองค์เดียวกัน
คือเป้าหมายของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษ ฉะนั้น
การต่อสู้คัดค้านศักดินาก็แสดงออกมาในรูปการคัดค้านศาสนาของทางการอีกด้วย
ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่เรียกร้องให้ดำเนินการปฏิรูปศาสนาอีกก้าวหนึ่ง
ขจัดพิธีกรรมจุกจิกหยุม หยิมของโรมันคาทอลิคในคณะอังกลิกัน ยกเลิกการกราบไหว้บูชา “รูปพระเยซู” ตัดค่าใช้จ่ายทางศาสนาให้น้อยลง คัดค้านการรีดไถของศาสนจักร มีความคิดเห็นทำศาสนจักรให้ “บริสุทธิ์” จึงได้ชื่อว่าพิวริแตนส์ (puritants) เพื่อต่อสู้กับศาสนาของทางการ
พวกเขาค้นพบอาวุธทางความคิดสำเร็จรูปจากศาสนานิกายคัลแวงนิสม์
ชนชั้นนายทุนเรียกร้องให้สร้างสถาบันศาสนาประชาธิปไตยตามรูปแบบของศาสนาคัลแวงนิสม์ พวกเขาโฆษณาเผยแพร่ว่า การเคลื่อนไหวอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเป็น
“ภาระหน้าที่” อันศักดิ์สิทธิ์
การรีบสร้างฐานะให้ร่ำรวยเป็นการแสดงออกซึ่งการสนองรับพระมหากรุณาธิคุณจากพระผู้เป็นเจ้า และเป็นนิมิตหมายของ “ราษฎรที่เลือกสรร” เป็นพิเศษของพระผู้เป็นเจ้า การที่พวกเขาเสนอให้ปรับปรุงศาสนจักร จริงๆแล้วก็คือต้องการสร้างระบอบสังคมทุนนิยม
ขบวนการพิวริแตนส์ใช้รูปแบบและทัศนคติในประเพณีดั้งเดิม ชูธงศาสนา
ปลุกระดมมวลชนลุกขึ้นสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐให้กับชนชั้นนายทุน
การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษได้ดำเนินไปภายใต้เสื้อคลุมทางศาสนา
อันเป็นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของการปฏิวัติ
ขบวนการพิวริแตนส์ได้แตกแยกเป็นกลุ่มที่สำคัญสองกลุ่ม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 แล้ว
กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน ซึ่งเป็นกลุ่มหัวนุ่มนวลได้กุมอำนาจการนำในการเคลื่อนไหว
กลุ่มนี้เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนใหญ่และส่วนบนของขุนนางใหม่ ไม่ได้ตัดขาดความสัมพันธ์ทางจัดตั้งกับคณะ อังกลิกัน*(*เป็นคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ที่สำคัญนิกายหนึ่ง เกิดขึ้นในอังกฤษในยุคปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่
16
กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8
แห่งอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของชนชั้นนายทุนที่เจริญขึ้นใหม่ได้ถือเอากรณีที่องค์สันตะปาปาไม่อนุญาตให้พระองค์ปลดพระราชินี
(เจ้าฟ้าหญิงแห่งสเปน) เพื่ออภิเษกสมรสใหม่เป็นเหตุ ประกาศงดส่งเครื่องบรรณาการต่อศาสนจักรโรมันคาทอลิคแห่งกรุงโรมในปี
1532 ปี 1534 เสนอร่างกฎหมายผ่านรัฐสภา
กำหนดให้ศาสนจักรในอังกฤษไม่ต้องขึ้นต่อองค์สันตะปาปาแห่งกรุงโรมอีกต่อไป แต่ให้กษัตริย์อังกฤษทรงเป็นผู้นำสูงสุด ศาสนจักรที่ไม่ขึ้นต่อองค์สันตะปาปาแห่งกรุงโรมซึ่งก็คือคณะอังกลิกัล จึงกลายเป็นศาสนาทางการของอังกฤษ คณะอังกลิกัลในยุคแรกไม่ว่าจะกล่าวจากด้านคำสอน
รูปแบบการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือระบบการจัดตั้งส่วนใหญ่สืบทอดประเพณีของนิกายโรมันคาทอลิค)
เพียงให้ยุบตำแหน่งสังฆราชโดยให้สาวกเป็นผู้เลือก
“ผู้อาวุโส” ขึ้นบริหารศาสนกิจ
ปีกซ้ายของขบวนการ พิวริแตนส์ เรียกว่ากลุ่มอิสระ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มสะท้อนผลประโยชน์ของขุนนางใหม่และชนชั้นนายทุนกลาง มีความเห็นว่า
วิหารแต่ละแห่ง
นิกายแต่ละนิกายเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ให้บริหารร่วมกันโดยปวงสาวก บรรดาสาวกสามารถทำพิธีสวดเอง ตีความคัมภีร์เองโดยเสรี สามารถไปมาหาสู่กับพระผู้เป็นเจ้าเอง โดยไม่ถูกแทรกแซงจากพระสังฆราช ฉะนั้นพวกเขาจึงปฏิเสธอำนาจสังฆ ราช และก็ปฏิเสธอำนาจของ “ผู้อาวุโส” ด้วย ทว่..ก่อนได้อำนาจรัฐ
ทั้งสองกลุ่มยังคงร่วมเป็นพันธมิตรไปคัดค้านเผด็จการอำนาจกษัตริย์
ชนชั้นนายทุนน้อยในเมืองและชาวนาส่วนหนึ่งก็เข้าร่วมขบวนการพิวริแตนส์
ทำให้ภายในขบวนการพิวริแตนส์เกิดการแยกตัวเร็วขึ้น …จบตอน 4
No comments:
Post a Comment