Saturday, January 28, 2017

บอลเชวิค..เส้นทางสู่การปฏิวัติ ตอนที่ 6.

6.การรวมตัวและการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ
ในปลายทศวรรษที่ 1860 ทั่วทั้งประเทศมีทางรถไฟยาวแค่ 1600 กิโลเมตรเท่านั้น      หลังจากนั้นอีกสองทศวรรษได้เพิ่มขึ้นถึง 15 เท่า    ในระยะสิบปีระหว่าง 1892-1901 ทางรถไฟที่สร้างใหม่ไม่ต่ำกว่า 26,000 กิโลเมตร    ควบคู่กันไปกับศูนย์อุตสาหกรรมของมอสโคว์และเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก   และแหล่งใหม่ที่เกิดขึ้นเช่นแถบบอลติค บากู  และดอนบาส    ในระหว่างปี 1893 ถึง1900 ประสบการณ์ในการขุดเจาะน้ำมันทำให้เพิ่มผลผลิตขึ้นเป็นสองเท่า เชื้อเพลิงจากถ่านหินเพิ่มขึ้น 3 เท่า,จริงอยู่..ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัสเซียไม่ได้มีปัจจัยของระบอบทุนนิยมเพิ่มขึ้นเหมือนในอังกฤษอย่างที่ มาร์กซ์ได้อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง”ทุน”     

พระราชกำหนดปลดปล่อยไพร่ติดที่ดินในปี 1861 ได้ประกาศใช้ ภายใต้เงื่อนทางวัตถุสำหรับการพัฒนาของระบอบทุนนิยม     แต่ชนชั้นนายทุนรัสเซียได้ก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ช้าเกินไปที่จะฉกฉวยผลประโยชน์จากโอกาสที่เปิดให้นี้     พลังที่อ่อนแอและความด้อยพัฒนาของระบอบทุนนิยมรัสเซียไม่สามารถแข่งขันกับพลังอันมหาศาลของชนชั้นนายทุนในยุโรปตะ วันตกและอเมริกาที่พัฒนาแล้ว...เช่นเดียวกับประเทศอดีตเมืองขึ้นทั้งหลายในปัจจุบันนี้    อุตสาหกรรมของรัสเซียล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยเงินทุนจากต่างประเทศที่ครอบงำอยู่เหนือระบบเศรษฐกิจ   ส่วนใหญ่จะควบคุมผ่านธนาคารต่างๆและระบบการเงิน 

ทรอตสกีได้เขียนไว้ว่า  “การมาบรรจบกันของอุตสาหกรรมและทุนธนาคารประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในรัสเซียซึ่งไม่อาจพบได้ในประเทศอื่น     แต่การครอบงำทางอุตสาหกรรมของธนาคารมีความหมายสำ หรับเหตุผลเดียวกันกับการครอบงำในตลาดเงินของยุโรปตะวันตกบรรดาอุตสาหกรรมหนัก (โลหะ ถ่านหิน น้ำมัน)   อยุู่ภายใต้การควบคุมของเงินทุนต่างชาติ   ซึ่งได้สร้างระบบตัวแทนของมันเองเพื่อเชื่อมต่อกับธนาคารในรัสเซีย    อุตสาหกรรมเบาก็อยู่บนเส้นทางเดียวกันชาวต่างชาติเป็นเจ้าของหุ้นในตลาดเงินของรัสเซียถึง 40 % แต่ในสาขาอุตสาหกรรมชั้นนำเปอร์เซ็นต์การถือครองจะสูงกว่านี้” การแทรกซึมของทุนต่างชาติต่อสังคมรัสเซียเป็นแรงกระตุ้นที่รุนแรงในการพัฒนาเศรษฐกิจ   เป็นการปลุกยักษ์ที่อยู่ในระบอบอนารยะมาถึง 2000 ปีให้ตื่นขึ้นสู่ยุคสมัย   แท้จริงแล้วคือการก่อให้เกิดแรงระเบิดของสถานการณ์ทางสังคม        ชาวนาจำนวนมหาศาลถูกแยกออกจากชีวิตประจำวันในชนบทที่ไม่เคยมีการเปลี่ยน แปลงและถูกผลักให้เข้าสู่ขุมนรกของอุตสาหกรรมชนชั้นนายทุน

ทฤษฎีลัทธิมาร์กซที่ว่าด้วยองค์ประกอบของการพัฒนาที่ไม่สม่ำเสมอ       ส่วนมากจะพบในสังคมที่มีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่ซับซ้อนเช่นในรัสเซียในรอบร้อยปีมานี้    ควบคู่ไปกับลักษณะศักดินา  กึ่งศักดินา  แม้แต่รูปแบบก่อนศักดินากับการเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดของโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แบบล่าสุดที่สร้างขึ้นจากเงินทุนของฝรั่งเศสและอังกฤษ        เป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย   และที่ชัดเจนที่สุดจะเห็นได้จากหารพัฒนาของบรรดาประ เทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษที่ 1990      นี่เป็นเหตุการณ์ที่น่าทึ่งที่สุดซึ่งเกิดขึ้นราวกับว่าเป็นคู่ขนานกันกับการพัฒนาของรัสเซียว่าร้อยปีก่อน       และมันอาจเป็นไปได้ที่ผลทางการเมืองจะออกมาคล้ายคลึงกัน      การพัฒนาของอุตสาหกรรมในบริบทเช่นนี้คล้ายกับว่าจะเป็นสิ่งเร่งเร้าการปฏิวัติรัสเซียได้แสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว     นอกเหนือไปจากการพัฒนาอย่างเป็นพายุบุแคมของระบบทุนนิยมรัสเซียในยุค 1880 - 1890 ก็เป็นยุคที่ตื่นตัวกันอย่างรวดเร็วของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซีย     คลื่นของการนัดหยุดงานในทศวรรษที่ 1890 เป็นโรงเรียนเตรียมสำหรับการปฏิวัติในปี 1905

ในระยะเวลา 33 ปี จาก 1865-1898    จำนวนการจ้างงานกรรมกรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 706,000  ถึง1,432,000 คน     ปี 1914 มากกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมกรอุตสาหกรรมได้ถูกจ้างงานในโรงจักรและกว่า 500 คนเป็นคนชำนาญงาน       และเกือบจะหนึ่งในสี่ของโรงจักรช่างชำนาญงานมากกว่า 1,000 คนเป็นจำนวนสัดส่วนที่มากกว่าในหลายๆประเทศ       เมื่อสิ้นทศวรรษที่ 1890 โรงงานขนาดใหญ่ 7 โรงในยูเครนจ้างกรรมกรงานโลหะถึงสองในสามของคนงานทั่วทั้งรัสเซีย      ในขณะที่เมืองบากูเกือบทั้งหมดเป็นกรรมกรในอุตสาหกรรมน้ำมัน     จริงๆแล้วก่อนถึงปี 1900  รัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของโลก

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายมากขึ้นในด้านอุตสาหกรรม     ภาพทั่วๆไปของสังคมรัสเซียก็ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ล้าหลังที่สุด     จำนวนพลเมืองส่วนใหญ่ยังคงอาศัยอยู่ในชนบท,ในขณะที่พัฒนาการของความแตกต่างทางชนชั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว     สิ่งกระตุ้นที่ทรงพลังคือปัญหาวิกฤตในภาคการเกษตรของยุโรปในยุค 1880 และต้นยุค 1890    การตกต่ำของราคาพืชผลได้ทำลายชีวิตความเป็นอยู่ชาวนาในทุกระดับชั้น     ธรรมชาติการตื่นกลัวของผู้ที่มีชีวิตอยู่ไม่ต่างไปจากการบรร ยายภาพของ เชคอฟ ในเรื่องสั้น “หุบเขาและชาวนา”ของเขา     ชนชั้นกึ่งกรรมาชีพในชนบทที่ไม่มีสิทธิ์ในที่ดินเดินเร่ขายแรงงานไปตามหมู่บ้านต่างๆเป็นภาพปกติที่เห็นกัน บนอีกปลายขั้วหนึ่งของสังคมชาวนาพวกคูลัก(kulak)หรือชาวนารวยได้กลายเป็นชนชั้นนายทุนใหม่ในชนบท   ผู้ซึ่งสร้างความร่ำรวยขึ้นจากชาวชนบทที่ยากจนโดยการซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิม    สะท้อนให้เห็นการเข้าถึงสถานการณ์จากปัญญาและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในบทละครที่โด่งดังของ เชคอฟ  เรื่อง “สวนเชอรี่”

ทั้งๆที่มีความพยายามของระบอบซาร์ที่จะค้ำจุนคอมมูนชาวนามีร์(Mir)แบบเก่าเอาไว้   ซึ่งตรงกับที่นักทฤษฎีของนารอดนิคต้องการดำรงเอาไว้เพื่อเป็นพื้นฐานของระบอบสังคมนิยมชาวนา    ในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปอย่างรวดเร็วพร้อมๆกับความสัมพันธ์ทางชนชั้น   ผู้ที่ไม่สามารถหางานทำได้ในชนบทต่างทะลักเข้าเมือง    ไปสู่แหล่งรวมแรงงานราคาถูกสำหรับกิจการที่ตั้งขึ้นใหม่ๆของชนชั้นนายทุน    การเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางชนชั้นมากขึ้นภายในมวลหมู่ชาวนา   ซึ่งตกผลึกไปเป็นชาวนารวยหรือคูลัคและของคนจนในชนบทผู้ไร้ที่ทำกินจำนวนมหาศาล    การโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนระหว่างนักลัทธิมาร์กซและพวกนารอดนิคไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาทุนนิยมในรัสเซียโดยสรุปแล้วเกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง    งานนิพนธิ์ชิ้นแรกๆของเลนินเช่น  การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ของชาวนา” ......”ว่าด้วยเรื่องที่เรียกว่าปัญหาตลาด”....”พัฒนาการของระบอบทุนนิยมในรัสเซีย”   เป็นงานที่เขียนขึ้นเพื่อการโต้แย้งกับกลุ่มนารอดนิค ซึ่งแตกต่างจากงานนิพนธิ์เรื่องแรกๆของเพลคานอฟ    ผลงานเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานในการหักล้างทางคำพูด  ข้อเท็จจริง ตัวเลขและข้อโต้แย้งต่างๆ

การพัฒนาระบอบทุนนิยมในรัสเซียนั่นหมายถึงการพัฒนาของชนชั้นกรรมาชีพด้วย    ซึ่งในไม่ช้าก็จะ    แปรไปสู่ภาระหน้าที่ในการเป็นกองหน้าของการต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมให้บรรลุเป้าหมาย  ระ ดับการรวมศูนย์ของภาคอุตสาหกรรมรัสเซียอยู่ในระดับสูงมาก     มันได้สรรสร้างกองทัพกรรมกรขึ้นมาอย่างรวดเร็ว.. มีการจัดตั้ง.. มีระเบียบวินัย   และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ    สถิติของการเคลื่อนไหวหยุดงานแสดงถึงการยกระดับความมั่นใจและจิตสำนึกทางชนชั้นของชนชั้นกรรมกรรัสเซียในช่วงเวลานั้นได้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ปี1880-84
ปี1885-89
1890/94
การนัดหยุดงาน
101
221
181
จำนวนกรรมกรที่ร่วม
99,000
223,000
170,000




ต้นฤดูใบไม้ผลิปี 1880  เกิดวิกฤตทางด้านอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกันมาหลายปี    ช่วงเวลานี้เป็นช่วงของการว่างงาน,บรรดานายจ้างได้ฉวยโอกาสลดค่าแรงซึ่งไม่เพียงพอต่อการยังชีพอยู่แล้วลงอย่างไร้ความปราณี  บวกกับสารพัดปัญหาที่ประดังเข้ามาทำให้กรรมกรต้องยอมทนถูกกดขี่อย่างต่อเนื่องและเข้มงวดจากกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นมาตามอำเภอใจ   ทำให้เกิดการต่อต้านนายจ้างด้วยการแสดงออกทั้งทางเปิดเผยและลับ      ความไม่พอใจของกรรมกรได้สะสมปริมาณมากขึ้น  ในที่สุดก็ระเบิดออกมาด้วยกระ แสของการปลุกระดมในด้านแรงงานในมอสโคว์เมื่อปี 1885-86  วลาดิมีร์   และยาโลสลาฟวืล,นำไปสู่การนัดหยุดงานที่โรงสี นิโคล-สโกเย ที่ ที.เอส.โมโรซอฟเป็นเจ้าของ

ในเวลา 2 ปี กรรมกร11,000 คนในสถานประกอบการของโมโรซอฟ ถูกตัดค่าจ้างไม่ต่ำกว่าห้าครั้ง  ในเวลานั้นมีการต่อต้านกฎเกณฑ์และบทลงโทษที่กำหนดไว้ด้วยการปรับเงินในกรณี  ร้องเพลง   ส่งเสียงดัง  และสวมหมวกเวลาเดินผ่านห้องทำงานของผู้จัดการและอื่นๆ    บ่อยครั้งที่ค่าปรับจะมีจำนวนสูงถึงหนึ่งในสี่,บางทีก็ถึงครึ่งหนึ่งของค่าแรงกรรมกรเลยทีเดียว   7 ตุลาคม 1885 ความเดือดดาลทั้งมวลที่ถูกเก็บกดอยู่ประกอบกับความผิดหวัง หงุดหงิด การปล้นชิง และการทำตามอำเภอใจของนายจ้างได้ระเบิดออกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องผู้นำในการหยุดงานคือ ปยอร์ท  อานิซิโมวิช  มอยเซเย็นโก(1852-1923)  นักปฏิวัติผู้มีประสบการณ์,อดีตสมาชิกสหบาลกรรมกรภาคเหนือของคาลทูรินที่ในอดีตเคยถูกเนรเทศไปไซบีเรีย     ชายผู้น่าสนใจผู้นี้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้นำโดยธรรมชาติของชนชั้นกรรมกร  ภาย หลัง มอยเซเย็นโก ได้บันทึกไว้ว่า : ผมได้เรียนรู้เป็นครั้งแรก ,ทำความเข้าใจ และปฏิบัติ

กรรมกรที่ถูกทำให้โกรธแค้นได้ระบายความโกรธของพวกเขาด้วยการทำลายโกดังเก็บอาหารของโรง งานและบ้านพักของโฟร์แมน โชริน ที่กรรมกรเกลียดชังอย่างย่อยยับเมื่อถูกบีบให้ซื้ออาหารในราคาแพง      ความตื่นตกใจจากเหตุการณ์ไม่สงบ   ผู้ว่าราชการจังหวัด วลาดิมีร์  สั่งเคลื่อนกำลังทหารและหน่วยคอสแซค    กรรมกรได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ว่าฯแต่ก็ถูกปราบปราม   600 คนถูกจับกุม,กำลังทหารได้ปิดล้อมโรงงาน,กรรมกรถูกผลักดันให้กลับเข้าทำงานด้วยดาบปลายปืน     ในอารมณ์เช่นนั้น   กว่าโรงงานจะทำการผลิตต่อไปได้ก็หนึ่งเดือนล่วงไปแล้ว

การนัดหยุดงานที่โรงงานโมโรซอฟจบลงด้วยความพ่ายแพ้     แต่ได้สร้างผลสะเทือนเข้าไปในหัวใจของกรรมกรทั่วทั้งรัสเซีย  เป็นการตระเตรียมหนทางการเคลื่อนไหวไว้สำหรับสิบปีข้างหน้า     การไต่สวนพิจารณาโทษเริ่มขึ้นที่วลาดิมีร์ ในเดือนพฤษภาคม 1886  มอยเซเยนโกและบรรดาจำเลยคนอื่นๆ ได้ยืนหยัดต่อสู้ด้วยจิตใจที่กล้าหาญจนได้รับชัยชนะทำให้การฟ้องร้องของโรงงานเป็นโมฆะ    ได้รับการชื่นชมจากกรรมกรอย่างท่วมท้น   คำตัดสินกรณีโมโรซอฟได้สร้างกระแสของความความตระหนกขึ้นในสังคมรัสเซีย    มันเป็นสัญญานบอกเหตุ ,หนังสือพิมพ์ปฏิกิริยา มอสควา-สกีเย เวดโมสตี ได้ลงบทความประท้วง: มันเป็นเรื่องอันตรายไม่ใช่เรื่องล้อเล่นสำหรับมวลชน    พวกกรรมกรจะต้องคิดอะไรจากการตัดสินในศาลเมืองวลาดิมีร์ว่าไม่เป็นความผิด?      ข่าวของการตัดสินประดุจสายฟ้านี้ได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วไปยังแหล่งประกอบการทั้งหลาย,ตัวแทนของเราได้ออกจากวลาดิมีร์ ทันทีที่คำตัดสินได้ถูกประกาศออกมาได้ยินกันทั่วในทุกๆสถานี   

การหยุดงานที่โมโซรอฟได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันมหึมาของกำลังชนชั้นกรรมาชีพ   บทเรียนนี้ ระบอบปกครองของซาร์ซึ่งสนับสนุนบรรดาเจ้าของโรงงานอย่างเต็มกำลังได้ซึมซับไว้เป็นอย่างดี  และตัดสินใจว่าต้องมีการยินยอมผ่อนปรนต่อกรรมกรบ้าง    โดยการผ่านกฎหมายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม,ค่า  ทดแทนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 1886, โดยกำหนดขอบเขตและระบุจำนวนให้เหมาะสมโดยนายจ้างและ    ให้นำไปเข้ากองทุนรวมเพื่อสิทธิประโยชน์ของกรรมกร     และแน่นอน.การปฏิรูปเป็นเพียงผลพลอยได้ของกรรมกรในการต่อสู้ปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเท่านั้น    เช่นเดียวกันกับการออก “กฎ  หมาย 10 ชั่วโมง” ในสหราชอาณาจักรเมื่อศตวรรษก่อน, กฎหมายสินไหมทดแทนนี้เป็นความพยายามเพื่อจะให้กรรมกรอยู่ในความสงบและป้องกันมิให้เกิดการเคลื่อนไหวไปสู่ทิศทางปฏิวัติ,ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะโน้มน้าวบรรดากรรมกรให้เข้าสู่การควบคุมตามความต้องการของพวกนายทุนเสรีนิยม   

การออกกฎหมายแบบมี ”เมตตาธรรม”เช่นนั้นก็ยังไม่สามารถป้องกันควบคุมการหยุดงานได้  และในส่วนทั้งหมดยังมีการจับกุมและเนรเทศผู้นำกรรมกรอยู่ในช่วงเวลาต่อมา   หรือไม่ก็ออกกฎหมายใหม่เพราะต้องการส่งผลให้การเคลื่อนไหวหยุดงานซบเซาลงเท่านั้น     กรณีหยุดงาน โมโรซอฟ  สร้าง แรงดลใจกรรมกรให้เกิดความกล้า     ในขณะที่การยินยอมอ่อนข้อของกลไกราชการที่ทรงอำนาจทั้งหลายเป็น  การแสดงให้เห็นว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรจะได้มาในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของตน   ปี 1887  จำนวนครั้งของการหยุดงานเพิ่มมากขึ้นมากกว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมารวมกัน   สองปีต่อมา เพลเว  หัวหน้าตำรวจถูกบังคับให้รายงานต่อ ซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่สาม ถึงสถานการของปี 1889  ถึงสภาพของบรรดาโรงงานว่ามีความยุ่งเหยิงมากกว่าในปี 1887-88

การเคลื่อนไหวหยุดงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงความรับรู้ที่เพิ่มขึ้นของกรรมกรถึงฐานะทางชนชั้นและพลังทางสังคมของตนเอง   ยิ่งมีฐานะทางชนชั้นที่โดดเด่นและเป็นแบบอย่างแก่ประชา ชนอย่าง มอยเซเย็นโก ยิ่งต้องแสวงหาแนวคิดที่เป็นดวงประทีปในการส่องสว่างให้เห็นถึงสถานการณ์บนเส้นทางข้างหน้าของพวกเขา   การเคลื่อนไหวเช่นนี้มีความสำคัญเป็นสองด้าน,ด้านหนึ่งการระเบิดออกอย่างเป็นไปเอง,บ่อยครั้งจะแสดงออกด้วยการร่วมกันทำลายเครื่องจักรตามแนวคิดของ ลัทธิลุดด์ (Luddism) ซึ่งยืนยันให้เห็นถึงถึงลักษณะที่ไร้การจัดตั้งและจิตสำนึกที่เป็นไปตามธรรมชาติเป็นการบอกต่อโลกว่าชนชั้นกรรมกรรัสเซียกำลังก้าวขึ้นสู่เวทีแห่งประวัติศาสตร์...  อีกด้านหนึ่ง,เป็นการพิสูจน์ถึงความถูกต้องในการโต้แย้งทางทฤษฎีของเพลคานอฟและกลุ่มปลดปล่อยแรงงาน     ในกระแสที่ร้อนแรงของการต่อสู้ทางชนชั้น    ซึ่งบัดนี้ได้วางรากฐานไว้สำหรับการรวมตัวกันของหน่วยลัทธิมาร์กซรัสเซียทั้งอ่อนแอและเข้มแข็งที่ยังไม่สามารถเกาะเกี่ยวกันได้ของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซีย

จากจุดยืนของนักลัทธิมาร์กซ, เนื้อหาสำคัญของการเคลื่อนไหวหยุดงานนั้นได้พัฒนาไปไกลเกินกว่าที่จะต่อสู้เพื่อ  การเรียกร้องค่าจ้าง  สถานภาพและชั่วโมงทำงานแล้ว   สิ่งสำคัญที่แท้จริงของการหยุดงานแม้จะล้มเหลวพ่ายแพ้ก็คือการได้เรียนรู้ของกรรมกร    ในวิถีปฏิบัติของการนัดหยุดงาน..มวลชนกรรมกร  ภรรยา  ครอบครัวของพวกเขา..แน่นอนเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกพ้นจากการได้เรียนรู้ถึงบทบาทและชนชั้นที่พวกเขาสังกัดอยู่    พวกเขาจะสลัดความคิดและการปฏิบัติตนเยี่ยงทาสทิ้งไปและเริ่มยกฐานะของตนขึ้นมาให้เท่าเทียมกับมนุษย์ทั้งมวลด้วยการตัดสินใจและมีความปรารถนาด้วยตัวเองการที่พวกเขาได้ผ่านประสบการณ์จริงในการต่อสู้..  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ใหญ่ๆ..มวลชนจะเริ่มมีการเปลี่ยน แปลงตนเอง   เริ่มต้นที่การมีความรู้สึกกระตือรือร้นและจิตสำนึกระหว่างชนชั้น,กรรมกรเริ่มมีความชัดเจนและไม่เห็นด้วยกับชะตากรรมของพวกเขา    และมีความรู้สึกต่อขอบเขตที่จำกัดของตัวเองอย่างรุนแรง  ความพ่ายแพ้ยังคงมีมากกว่าชัยชนะ,บีบให้กรรมกรนักเคลื่อนไหวต้องทุ่มเทอย่างมากเพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนและค้นหาความลี้ลับของเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมของคนทำงานโดยตัวมันเอง
การเติบโตของอุตสาหกรรมทุน​นิยมได้สร้างกองทัพอันยิ่งใหญ่ของชนชั้นแรงงานขึ้นมา แม้กองทัพที่ดีที่สุดจะต้องถูกพิชิตหากขาดนายทหารที่ได้รับการศึกษาบ่มเพาะมาเป็นอย่างดีในเรื่องของการทำสง คราม    

ยุทธการของการนัดหยุดงานได้โหมกระหน่ำในยุค 1880 ประกาศให้โลกเห็นว่ากองทัพหลักของชนชั้นกรรมาชีพรัสเซียมีความพร้อมและปรารถนาที่จะเข้าร่วมการต่อสู้ แต่พวกเขายังเผยให้เห็นถึงความอ่อน หัดในการเคลื่อนไหวที่เป็นไปเองแบบธรรมชาติ..ไม่มีการจัดตั้งและจิตสำนึกโดยธรรมชาติอีกทั้งยังไร้ทิศทางและการชี้นำกองทัพยังดำรงอยู่...สิ่งที่จำเป็นคือการตระเตรียมองค์กรนำในอนาคต    สรุปก็คือในช่วงเริ่มต้นของการต่อสู้นี้ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าความมีจิตสำนึกที่ดีของกรรมกรนักเคลื่อนไหวที่เอาการเอางานที่สุด สิ่งที่พวกเขาจะต้องเริ่มต้นในการเรียนรู้และเอาจริงเอาจังกับมัน  ก็คือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน..และคุณสมบัติที่เป็นเฉพาะของกรรมกรนักเคลื่อนไหวทั่วโลก  


No comments:

Post a Comment