Saturday, January 14, 2017

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 6

ตอนที่ 6
สงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 (1642-1646) และนโยบายคัดค้านประชาชนของรัฐสภา
คู่ขนานไปกับสงครามกลางเมืองระเบิดขึ้น   ในกลุ่มการเมืองกลุ่มต่างๆ  ก็ได้แยกตัวเป็นสองค่ายที่มีเส้นแบ่งอย่างชัดเจน   โดยกลุ่มที่สนับสนุนรัฐสภาเรียกว่า “พวกหัวกลม” (Roundhead) และกลุ่มที่สนับสนับสนุนกษัตริย์เรียกว่า “พวกอัศวิน”(Cavaliers)   * (สมญานามทั้งสองเกิดขึ้นในสมัยที่กลุ่มสนับสนุนกษัตริย์กับรัฐสภาช่วงยาวเป็นปฏิปักษ์และต่อสู้กัน  ในปี1642 พวกสาวกนิกายพิวริแตนส์เนื่องจากตัดผมสั้นเกรียน  จึงถูกเรียกว่าพรรคหัวกลม  ส่วนขุนนางที่สนับสนุนกษัตริย์มักห้อยกระบี่  ใส่วิกผมปลอมยาวปะบ่า จึงถูกเรียกว่าพรรคอัศวิน)  แคว้นต่างๆทางภาคตะวันออกซึ่งเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองสนับสนุนรัฐสภาโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลอนดอนส่วนท้องที่ซึ่งเศรษฐกิจ ล้าหลังทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ สนับสนุนกษัตริย์    ในด้านศาสนาผู้   ที่สนับสนุนกษัตริย์คือ สาวกนิกายอังกลิกันกับสาวกนิกายโรมันคาทอลิค    ที่ยืนอยู่กับฝ่ายรัฐสภาคือสา   วกนิกายพิวริแตนส์   ขุนนางใหญ่ศักดินา  ขุนนางราชสำนัก ตลอดจนนักการธนาคาร ที่มีความสัมพันธ์กับราชสำนัก   พ่อค้าใหญ่ที่ได้รับอภิสิทธิ์สนับสนุนกษัตริย์   ชนชั้นนายทุนและชนชั้นนายทุนน้อย  ขุนนางใหม่  ชาวเมืองที่ยากจนและชาวบ้านอันกว้างใหญ่ไพศาล  ล้วนสนับสนุนรัฐสภา   ทั้งสองฝ่ายต่างเร่งมือรวบรวมกำลังอาวุธและเงินค่าใช้จ่ายเตรียมการสู้รบ    ที่ลอนดอนเพียงวันเดียวก็มีชาวเมืองเข้าร่วมเป็นทหารบ้านถึง 5,000 คน

สงครามพอเริ่มต้น   รัฐสภาก็มีความได้เปรียบทั้งด้านกำลังคนและกำลังวัตถุ    แต่ว่ากลุ่มที่เป็นคนส่วนใหญ่ในรัฐสภาคือกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของส่วนบนในชนชั้นนายทุนใหญ่และขุนนางใหม่มีความหวาดกลัวต่อลักษณะปฏิวัติที่เพิ่มทวีขึ้นของมวลชน   มีความคิดเห็นให้ประนีประนอมกับกษัตริย์กลับไปสู่ “วิถีทางปกติของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ”   นายทหารของกองทัพรัฐสภาส่วนใหญ่เป็นขุนนางที่มีความสัมพันธ์กับส่วนบนของคณะเพรสไบเทอร์เรียนที่กุมอำนาจ   ในการรบพวกเขามิใช่พยายามหาวิธีเอาชนะ        หากพยายามหาวิธีทำอย่างไรให้กษัตริย์เสียหายน้อยหน่อย    สร้างเงื่อนไขที่จะเจรจากับกษัตริย์   ฉะนั้นสงครามเกิดขึ้นไม่นานกองทัพของกษัตริย์ก็สามารถตีกองทัพของรัฐสภาพ่ายแพ้ไป   เดือนตุลาคม 1642  กองทัพของกษัตริย์ยึดได้เมืองออกฟอร์ดและตั้งค่ายใหญ่ที่นั่น   เดือนพฤศจิกายนเข้าโจมตีลอนดอนแต่ว่าความมุ่งหวังที่จะยึดเมืองลอนดอนของฝ่ายกษัตริย์ต้องเลิกล้มไปชั่วคราวเมื่อถูกตีได้จากกองทหารบ้านในลอนดอน  

ฤดูร้อน ปี 1643  กองทัพของกษัตริย์ก็ได้รับชัยชนะติดต่อกันในภาคเหนือและภาคตะวันตก   ฤดูใบไม้ร่วงปีเดียวกัน   ฝ่ายกษัตริย์เตรียมบุกโจมตีลอนดอนจากสามด้าน   ฝ่ายรัฐสภามีฐานะคับขันมาก     ในเวลานี้เองกองทหารบ้านที่จัดตั้งโดยชาวเมืองในนครหลวงได้ปลดปล่อยเมือง กลอสเตอร์ อันเป็นเมืองสำคัญทางภาคตะวันตกออกจากการถูกโอบล้อมโจมตีการรุกของฝ่ายกษัตริย์ล่าถอยไป   ขณะเดียวกัน  กองทหารม้าเหล็กของ “สหพันธ์ตะวันออก”*(ปลายปี 1642 เมืองต่างๆที่อยู่ทางภาคตะวันออก เช่นเมืองนอร์โฟล์คซับโฟล์ค อัสเซ็กซ์ เคมบริดจ์  เฮอร์ตฟอร์ด เป็นต้นได้เข้าร่วมเป็นสหพันธ์) ซึ่งนำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ได้โจมตีการรุกของข้าศึกล่าถอยไปในการสู้รบ   กวาดล้างกองทัพของฝ่ายกษัตริย์ในแคว้นลินคอร์นจนหมดสิ้น   กอบกู้สถานการณ์ไว้ได้

ในการต่อสู้ประชาชนได้แสดงออกให้เห็นซึ่งกำลังอันมหาศาล   แต่ว่ารัฐสภาที่ควบคุมโดยกลุ่มเพรสไบเทอร์เรียน  ไม่ไปจัดตั้งประชาชนเข้าร่วมการต่อสู้คัดค้านกษัตริย์   หากรอคอยแต่การช่วยเหลือจากชนชั้นนายทุนและขุนนางในสก๊อตแลนด์   ปี 1643  รัฐสภาช่วงยาวได้สร้างพันธมิตรกับรัฐสภาสก๊อตแลนด์   ทางสก๊อตแลนด์รับปากจะส่งทหาร20,000 คนไปช่วยโดยรัฐสภาช่วงยาวเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทางทหารให้  เดือนกรกฎาคม 1644  ในการยุทธที่ทุ่งหญ้ามาร์สตัน  อันเป็นการยุทธที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองเป็นต้นมา   กองทัพรัฐสภาได้รับชัยชนะ   จากนั้นมาสิทธิเป็นฝ่ายกระทำในสงครามได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือฝ่ายรัฐสภา      

ชัยชนะในการรบครั้งนี้  มิใช่เกิดจากกองทหารม้าของสก๊อตแลนด์เข้าร่วมรบหากเป็นผลจากการเคลื่อนไหวปฏิวัติในท้องที่ต่างๆที่มีกระแสสูงขึ้นตลอดจนการต่อสู้กับพวกอัศวินของชาวนาและชาวเมืองอย่างไม่ขาดสายเป็นสำคัญ   กองทหารม้าที่บัญชาโดยครอมเวลล์เกิดบทบาทที่สำคัญในการยุทธครั้งนี้   แต่กองทหารที่นำโดยนายทหารของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนในสมรภูมิภาคใต้กลับถูกกองทัพฝ่ายกษัตริย์ตีแตกยับเยิน   ทำให้ชัยชนะที่ได้รับทางภาคเหนือก็ถูกหักล้างไปด้วยความพ่ายแพ้ทางทหารและนโยบายที่ปราบปรามการปฏิวัติของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน   ก่อให้เกิดความไม่พอใจโดยทั่วไป   

ในเขตควบคุมของรัฐสภา   การต่อสู้ของมวลชนที่คัดค้านเผด็จการ คัดค้านนโยบายของรัฐสภานั้น  มีรูปแบบหนึ่งที่ใช้รูปแบบการต่อสู้ภายใต้เสื้อคลุมของศาสนา   ปลายปี 1643 รัฐสภากำหนดให้ใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนแทนที่คณะอังกลิกัน   โดยกำหนดให้คณะเพรสไบเทอร์เรียนเป็นศาสนาของทางการที่ทุกคนจะต้องนับถือ    ดังนั้นการต่อสู้คัดค้านการบีบบังคับให้นับถือศาสนาจึงประสานเข้ากับการต่อสู้คัด ค้านอำนาจรัฐปัจจุบัน   ทั้งในเมืองและชนบทได้ปรากฏองค์การจัดตั้งทางศาสนาจำนวนมาก   ดำเนินการปลุกระดมภายใต้เสื้อคลุมของฝ่ายค้านทางศาสนา   อีกรูปแบบหนึ่งคือการเคลื่อนไหวของชาวไม้กระบอง  ซึ่งเกิดขึ้นในดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือและต่อมาได้แผ่ขยายตัวไปในดินแดนถึง 1 ใน 4 ของประเทศ    

เนื่องจากชาวนาที่ลุกขึ้นสู้ใช้ไม้กระบองและเครื่องมือการผลิตติดอาวุธให้ตนเอง   ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า  “ชาวไม้กระบอง”  ชาวไม้กระบองมีกำลังถึง 50,000 คน   มวลชนพื้นฐานคือชาวนาที่ยากจน  แต่   อำนาจการนำกุมอยู่ในมือของชาวนาที่ร่ำรวย      ในการสู้รบกับกองทหารฝ่ายกษัตริย์ของชาวไม้กระบอง    ได้เกิดบทบาทต่อการหนุนช่วยกองทัพฝ่ายรัฐสภา    แต่ว่าเมื่อใดที่กองทัพฝ่ายรัฐสภาทำการปล้นชิงและย่ำยีชาวนาเช่นเดียวกับกองทัพฝ่ายกษัตริย์ชาวไม้กระบองก็จะทำการตอบโต้  การเคลื่อนไหวของชาวไม้กระบองเนื่องจากขาดการนำที่ถูกต้อง   ทั้งไม่มีการจัดตั้งที่แน่นอนและเป้าหมายที่แจ่มชัด    ต่อมาจึงสลายตัวไปจากการปราบปรามของกองทัพรัฐสภา

กระแสสูงการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของมวลชน   ความไม่พอใจต่อรัฐสภาของกลุ่มศาสนาต่างๆได้บั่นทอนฐานะในรัฐสภาของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนให้อ่อนแอลงชั่วคราว    ทั้งทำให้กลุ่มเสียงส่วนน้อยในรัฐสภาซึ่งก็คือกลุ่มอิสระซึ่งเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนกลางและขุนนางชั้นกลางและชั้นผู้น้อยมีกำลังเข้มแข็งขึ้น    โอลิเวอร์ ครอมเวลล์(Oliver Cromwell  1599-1658)ผู้นำกลุ่มอิสระก็คือนักปฏิวัติชนชั้นนายทุนที่เกิดขึ้นตามความเรียกร้องต้องการในขณะนั้น   เขาถือกำเนิดในครอบครัวเจ้าที่ดินขนาดกลางใน ฮันติงดัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเคมบริดจ์  เขาเป็นขุนนางใหม่ที่เป็นแบบฉบับคนหนึ่ง    เป็นสาวกผู้เคร่งในศาสนานิกายพิวริแตนส์   ตระกูลของเขาได้ดิบได้ดีจากการแย่งชิงศาสนสมบัติของโรมันคาทอลิค   เขามีความเคียดแค้นชิงชังศาสนจักรโรมันคาทอลิคมาก   

เดือนพฤศจิกายน  ครอมเวลล์เข้าร่วมประชุมรัฐสภา   ได้เสนอให้ยกเลิกระบบสังฆราช   ปีถัดมา  เขาร่วมร่าง “หนังสือประท้วงใหญ่”  พอสงครามกลางเมืองปะทุขึ้น  เขาได้รวบรวมชาวนาผู้มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวงในเคมบริดจ์   ระดมสาวกในนิกายเดียวกัน   จัดตั้งเป็น “กองทหารม้าเหล็ก” โดยอาศัยความเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาไปปลุกเร้าจิตใจสู้รบและควบคุมพวกเขา  ครอมเวลล์ ซื่อสัตย์ต่อผลประ โยชน์ของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่   สันทัดในการใช้พลังปฏิวัติของมวลชนไปแสวงผลประโยชน์ให้กับชนชั้นตน    เขาอาศัยผลการรบของกองทหารม้าเหล็กในการบดขยี้กองทหารของฝ่ายกษัตริย์  กลายเป็นผู้นำที่ชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ต้องการ

เดือนมกราคม 1645  รัฐสภามอบอำนาจให้ครอมเวลล์จัดตั้งกองทัพใหม่     “กองทัพใหม่” กองนี้มีกำลังพล 22,000 คน   ในจำนวนนี้เป็นกำลังพลทหารม้า 6,000 คน     กองทัพใหม่ประกอบขึ้นจากชาวนาผู้มีนาทำเองและหัตถกร   เปี่ยมด้วยจิตใจปฏิวัติและความศรัทธาของสาวกนิกายพิวริแตนส์   ผู้บังคับบัญชาชั้นล่างของกองทัพใหม่มีไม่น้อยมาจากชาวบ้านธรรมดา      แต่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงยังคงเป็นพวกขุนนาง   อำนาจการบังคับบัญชากุมอยู่ในมือของกลุ่มอิสระ  กองทัพใหม่จัดตั้งขึ้นไม่นานก็ได้บดขยี้กองกำลังหลัก ของกษัตริย์ในการยุทธที่ นาสบี ในเดือนมิถุนายน1646  ได้รับชัยชนะลักษณะชี้ขาดและยุติสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1   กษัตริย์หลังจากหลบหนีออกไปอยู่สก๊อตแลนด์แล้ว  ถูกควบ คุมตัวโดยชาวสก๊อต   ต่อมาไม่นาน   รัฐสภาได้ใช้เงิน 400,000 ปอนด์ไถ่ตัวกลับมาคุมขังไว้ในป้อมโบราณแห่งหนึ่งใกล้ๆเมืองนาสบี

ในขณะที่มวลชนกำลังทำการสู้รบอาบเลือดอยู่ในแนวหน้านั้น   พวกชนชั้นนายทุนและขุนนางกลับใช้อำนาจที่กุมอยู่ในมือของพวกเขา   ดำเนินมาตรการในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนเป็นอันมาก  เช่น
(1) รัฐสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการคณะต่างๆหลายคณะ เสริมเผด็จการที่มีชนชั้นนายทุนกับขุนนางเป็นพันธมิตรกัน     
(2) เพื่อเป็นการผลักภาระค่าใช้จ่ายทางทหารไปให้ประชาชน  รัฐสภามีมติจัดเก็บภาษีทางอ้อม
(3)  เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อค้าดำเนินการฉวยโอกาสเก็งกำไรจากผืนที่ดิน   รัฐสภาจัดการขายทอดตลาดที่ดินที่ริบจากพวกกษัตริย์ในราคาสูง  
(4)  เพื่อเปิดโอกาสให้นักการธนาคารได้ร่ำรวยจากการค้าสงคราม   รัฐสภาได้เปลี่ยนพันธบัตรเงินกู้เป็นขุมทรัพย์ของพวกเขา  
(5)  ปี1642  รัฐสภายังยกเลิกระบอบกรรมสิทธิ์ที่ดินของอัศวิน   ที่ดินกลายเป็นกรรมสิทธิ์เอกชนของขุนนางใหม่   ยกเลิกการเสียเงินรัชชูปการ*(ตามระบอบศักดินาสมัยกลางของอังกฤษกำหนดว่า    พวกอัศวินถือครองที่ดินจะ     ต้องเข้าเกณฑ์ให้กษัตริย์  ศตวรรษที่17 พันธะชนิดนี้ได้เปลี่ยนเป็นเสียเงินแทนการเกณฑ์แรง   เรียกว่าเงินรัชชูปการอัศวินและได้ยกเลิกพันธะส่งส่วยศักดินาแก่เจ้าที่ดินใหม่ของชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง) และพันธะศักดินาอื่นๆ

จากนี้ก็ได้สร้างระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชนชั้นนายทุนขึ้น    แต่ว่ารัฐสภาไม่ได้ยกเลิกพันธะส่งส่วยศักดินาแก่เจ้าที่ดินใหม่ของชาวนาที่มีนาทำเองในสังกัดบัญชีหลวง    กระทั่งภาษี 10 ชัก1*(เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่คริสตจักรในยุโรปเรียกเก็บชาวบ้าน   ศตวรรษที่ 6 ศาสนจักรอาศัยบทบัญญัติในคัมภีร์ที่ว่า  ผลิตผล1 ใน 10 ของชาวนาและชาวเลี้ยงสัตว์เป็นของพระผู้เป็นเจ้า   เริ่มจัดเก็บภาษี ปี คศ.779 กษัตริย์ ชาร์ลส์  เลอมังก์ แห่งฝรั่งเศส  กำหนดว่า  การเสียภาษี 10 ชัก 1 เป็นพันธะอันพึงปฏิบัติของชาวราชอาณาจักรฟรังค์ทุกคน) ของศาสน จักรก็จะต้องส่งให้แก่เจ้าที่ดินใหม่      มาตรการของรัฐสภาในสมัยสงครามกลางเมืองนี้ได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั้งในเมืองและชนบทอย่างหนัก    ประชาชนได้เดินขบวนสำแดงกำลังหลายต่อหลายครั้ง    ในชนบทได้ปรากฏการต่อสู้อันแหลมคมระหว่างชาวนากับเจ้าที่ดิน    หลังสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 ยุติลง    การต่อสู้ทางชนชั้นได้ปรากฏสถานการณ์ใหม่   เปิดฉากการต่อสู้ภายในรัฐสภาเองและระหว่างรัฐสภากับกองทัพ

การแตกแยกและการต่อสู้ภายในค่ายที่คัดค้านศักดินา
หลังชัยชนะของสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 แล้ว    ต่อการปฏิรูปในด้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อปัญ หาสำคัญที่ว่าจะปฏิวัติในอังกฤษต่อไปหรือไม่   ได้เกิดความเห็นแตกแยกและต่อสู้กันระหว่างชนชั้นและกลุ่มต่างๆ     เริ่มต้นจากผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนใหญ่และของขุนนางใหม่ระดับบน กลุ่มเสียงข้างมากในรัฐสภาช่วงยาวซึ่งก็คือกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน อันเป็นกลุ่มที่กุมอำนาจ    เห็นว่าเมื่อสงครามกลางเมืองยุติลงแล้วการปฏิวัติก็ควรจะยุติลงด้วย   พวกเขาลอบติดต่อและสมคบกับกษัตริย์ชาร์ลส์ซึ่งถูกคุมขังอยู่อย่างลับๆ    มุ่งหวังจะตั้งรัฐบาลระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่สามารถปกป้องคุ้มครองผล ประโยชน์ที่ได้มาแล้วของพวกเขา   พยายามขัดขวางการปฏิวัติไม่ให้พัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง

กลุ่มเสียงข้างน้อยในรัฐสภาซึ่งก็คือกลุ่มอิสระเห็นว่า  การปฏิวัติยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ยังมีบริษัทและองค์ การผูกขาดมากมายที่เกิดขึ้นจากการขายสัมปทานอย่างไม่บันยะบันยังของกษัตริย์      การแข่งขันอย่างเสรียังไม่ปรากฏเป็นจริง   เศษเดนศักดินาที่ขัดขวางการดำเนินกิจการด้วยวิธีแบบใหม่  เพื่อได้มาซึ่งผลกำไรของคหบดีชั้นกลางนั้นยังคงดำรงอยู่   ชนชั้นนายทุนกลางและขุนนางใหม่เห็นว่าผลประ โยชน์ที่พวกเขาได้รับจากการปฏิวัตินั้นยังไม่มากพอยังต้องดำเนินการต่อสู้กับกษัตริย์ต่อไป   และสิ่งที่พวกเขาทนไม่ได้ก็คือการนำเอาคณะเพรสไบเทอร์เรียนมาเป็นศาสนาของทางการและครอบครองผลประโยชน์ของ ศาสนจักรแต่เพียงผู้เดียว     กลุ่มนี้กุมอำนาจการบัญชากองทัพอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงก่อรูปเป็นสถานการณ์ที่กองทัพเป็นปฏิปักษ์กับรัฐสภา

แต่ทว่าภายในกองทัพเองก็เกิดการแตกแยก   ที่สำคัญคือความขัดแย้งระหว่างมวลชนพลทหาร ซึ่งประ กอบขึ้นจากชาวนาที่มีนาทำเองกับนายทหารชั้นสูงแหลมคมขึ้น    เหล่าพลทหารนับวันแต่จะยืนเคียงข้างอยู่กับกลุ่มเสมอภาคไม่ยอมรับการนำของนายทหารกลุ่มอิสระ   กลุ่มเสมอภาคเป็นกลุ่มที่สะท้อนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนน้อยพวกเขาหลั่งเลือดเสียสละในสงคราม      แต่การปฏิวัติไม่ได้นำผลประโยชน์อะไรมาสู่พวกเขาหากกลับนำความทุกข์ยากและ “ทรราชย์ใหม่” มาสู่พวกเขา      พวกเขาเรียกร้องให้ปฏิวัติต่อไปดำเนินการปฏิวัติประชาธิปไตยให้ซึมลึกยิ่งขึ้น    ทางการเมืองพวกเขาเรียกร้องสิทธิเลือกตั้งทั่วไป    ทางเศรษฐกิจเรียกร้องให้เลิกระบอบผูกขาดทุกชนิด   ปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีอากร   ยกเลิกการกว้านที่ดิน   พวกเขามีความเรียกร้องให้สถาปนาสาธารณรัฐแต่ไม่สู้เด่นชัดนัก

ผู้นำสำคัญของกลุ่มเสมอภาคคือนักลัทธิประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน  ชื่อ จอห์น ลิลเบอร์น (John Lilburne ประมาณ 1614-1657)        ลิลเบอร์นเคยถูกจับขังคุกในสมัยการปกครองของกษัตริย์ชาร์ลส์เนื่องจากเขาคัดค้านคณะอังกลิกัน    หลังออกจากคุกในปี 1641 แล้วก็เข้าเป็นทหารร่วมรบอยู่ในกอง ทัพรัฐสภา   ต่อมาเนื่องจากไม่พอใจต่อนโยบายคัดค้านประชาชนของรัฐสภาจึงลาออกจากกองทัพ  ปี 1646  เขาถูกกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนจับใส่คุกอีกเนื่องจากเผยแพร่คำพูดและข้อคิดเห็นให้ล้มราชบัลลังก์   เลิกสภาสูงและเลิกภาษี 10 ชัก 1เป็นต้น     ระหว่างอยู่ในคุกเขาก็ยังคงเคลื่อนไหวต่อไปโดยการออกจุลสาร ที่โฆษณาเผยแพร่หลักนโยบายทางการเมืองของกลุ่มเสมอภาค    

เขาเริ่มต้นจากทฤษฎีว่าด้วยสิทธิมนุษย์เป็นสิทธิฟ้าประทานของชนชั้นนายทุน       เห็นว่าคนเราเกิดมาล้วนแล้วแต่เสมอภาค   ล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกันในด้านเสรีภาพและความปลอดภัยส่วนบุคคล    มีแต่กติกาที่ประชาชนเห็นชอบด้วยจึงเป็นแหล่งที่มาของอำนาจทางกฎหมาย   เขาประณามรัฐสภาว่าเป็นทรราชย์ดุจเดียวกับกษัตริย์    ข้อคิดเห็นของลิลเบอร์นไม่ได้ล้ำออกนอกเส้นของชนชั้นนายทุน    แต่ว่าความคิดประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของเขากลับมีผลสะเทือนในหมู่พลทหารและมวลประชาชนอย่างใหญ่หลวง   ปี 1647 พวกพลทหารเรียกร้องให้ปล่อยตัวลิลเบอร์น  สานุศิษย์ของเขาก็ดำเนินการจัดตั้งมวลชนพลทหารในกองทัพ  ขยายการต่อสู้

กลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนเห็นว่า   กองทัพที่คุมอยู่ในมือของกลุ่มอิสระเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุแผนการของพวกเขา    ดังนั้นรัฐสภาจึงมีมติสลายกองทัพ   ส่วนใหญ่ปลดประจำการกลับบ้าน  ส่วนหนึ่งส่งไปปราบปรามการต่อสู้กู้ชาติของชาวไอร์แลนด์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1641      มตินี้ได้ก่อให้เกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงภายในกองทัพ    เดือนเมษายน1647  เหล่าพลทหารในกรมกองต่างๆได้เลือกผู้แทนของตน  จัดตั้งเป็น “สภานักปลุกระดมพลทหาร”   ดำเนินการต่อสู้ทวงเบี้ยเลี้ยงที่ตกเบิก คัดค้านการสลายกองทัพ  ช่วงชิงสิทธิและผลประโยชน์ด้านต่างๆ     ครอมเวลล์ ในฐานะตัวแทนพันธมิตรชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ชั้นกลางได้เผชิญกับสถานการณ์ใหม่ของการต่อสู้ทางชนชั้นหลังสงคราม    

ในชั้นแรกเขามุ่งหวังจะสร้างพันธมิตรกับชนชั้นนายทุนใหญ่และขุนนางใหม่ระดับบน    ร่วมเสพดอกผลของการปฏิวัติ    ไม่มีความเห็นแย้งต่อมติสลายกองทัพของรัฐสภา    กระทั่งขอร้อง “นักปลุกระดม” ยอมรับมติของรัฐสภา   แต่ถูกคัดค้านอย่างหนักจากพลทหาร         มาถึงตอนนี้  ครอมเวลล์ เล็งเห็นถึงอันตรายที่เขาอาจต้องสูญเสียการสนับสนุนจากพลทหารชั้นล่าง    จึงเปลี่ยนความคิดตัดสินใจปฏิเสธคำสั่งสลายกองทัพของรัฐสภา    ประกาศว่าจะแตกหักกับกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน   วันที่ 2 มิถุนายน  เขาคุมตัวชาร์ลส์ไปเก็บไว้ในค่ายทหารนิวมาร์เก็ต   เพื่อหยุดยั้งการสมคบคิดกับกษัตริย์ของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน   

ขณะเดียวกันครอมเวลล์ยังวางแผนจัดตั้ง “สภากองทัพ”   ซึ่งประกอบขึ้นจากผู้แทนของนายทหารชั้นสูงและพลทหารชั้นล่าง   เพื่อเป็นหลักประกันในการควบคุมกองทัพของเขา เดือนกรกฎาคม  พวกพลทหารเรียกร้องให้เคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงลอนดอนทำการบดขยี้แผนการของพวกปฏิกิริยา      ครอมเวลล์ได้ขอร้องและขัดขวางอย่างสุดความสามารถ   ทั้งเสนอให้ “สภากองทัพ”  ร่าง “หลักนโยบายการเจรจา” ขึ้นฉบับหนึ่งเพื่อดำเนินการเจรจากับกษัตริย์แต่ถูกกษัตริย์ชาร์ลสส์ปฏิเสธ       ภายใต้แรงกดดันของมวลชนพลทหาร   ครอมเวลล์จึงจำต้องเคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงลอนดอนในเดือนสิงหาคม    กวาดล้างพวกวางแผนการ ของกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียน      สมาชิกรัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนจำนวนมากพากันหลบหนีหัวซุกหัวซุน   กลุ่มอิสระจึงได้กุมอำนาจรัฐสภามาไว้ในมือตนเอง

หลังจากกลุ่มคณะเพรสไบเทอร์เรียนถูกขับออกจากรัฐสภาแล้ว     การต่อสู้ระหว่างนายทหารชั้นบนที่เป็นกลุ่มอิสระกับพลทหารชั้นล่างที่เป็นกลุ่มเสมอภาคก็ระเบิดขึ้น ปัญหาที่เป็นใจกลางของการต่อสู้คือปัญหา เกี่ยวกับรูปแบบอำนาจรัฐและปัญหาการเลือกตั้งทั่วไป    นายทหารกลุ่มอิสระมีข้อคิดเห็นให้ธำรงรักษาไว้ซึ่งระบอบกษัตริย์และสภาสูงเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาใหม่โดยยึดถือคุณสมบัติทางทรัพย์สินเป็นหลัก   ข้อ คิดเห็นเหล่านี้ของพวกเขาได้เขียนไว้ใน “หลักนโยบายการเจรจา” อย่างแจ่มชัด   ส่วนกลุ่มเสมอภาคนั้นเสนอ “กติกาประชาชน” ขึ้นต่อต้าน   เสนอข้อคิดเห็นให้ดำเนิน “สิทธิเลือกตั้งทั่วไป”  และสร้างรัฐสภาที่มีสภาเดียวบนพื้นฐานของการเลือกตั้งทั่วไปเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดของประเทศ   

โดยทางเป็นจริงแล้ว  นี่เท่ากับเลิกสภาสูงและกษัตริย์สถาปนาสาธารณรัฐ      เพียงแต่ไม่ได้เสนอออกมาอย่างโจ่งแจ้งเท่านั้น   แต่ว่าหลักนโยบายของกลุ่มเสมอภาคไม่ได้แตะต้องปัญหามูลฐานของการปฏิวัติปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาการเรียกร้องที่ดินของชาวนาในสังกัดบัญชีหลวง   ละเลยต่อผลประโยชน์ของชาวนาผู้มีนาทำเอง  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคอ่อนแอไร้พลัง     อย่างไรก็ตาม  ถึงแม้ว่าหลักนโยบายของกลุ่มเสมอภาคมีลักษณะจำกัด   แต่ก็เคยเกิดบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การปฏิวัติพัฒนาซึมลึกยิ่งขึ้น

ปลายเดือนตุลาคม 1647 “กติกาประชาชน” ถูกนำเข้าอภิปรายในสภากองทัพซึ่งเปิดขึ้นในที่แห่งหนึ่งใกล้ๆกรุงลอนดอน   ทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการโต้อภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อน   ครอมเวลล์เห็นว่า  ระบอบกษัตริย์ไม่ควรไปโยกคลอน     เขากล่าวว่า   สิทธิเลือกตั้งทั่วไปจะนำไปสู่ภาวะ “อนาธิปไตย”   วันที่ 15 พฤศจิกายน   กลุ่มเสมอภาคถือโอกาสในพิธีสวนสนามของกองทัพดำเนินการสำแดงกำลัง     เขียนคำขวัญ “กติกาประชาชน”    “คืนเสรีภาพแก่ประชาชน   ให้สิทธิผลประโยชน์แก่พลทหาร”  ติดไว้ที่หน้าหมวกทหาร  แต่การสำแดงกำลังครั้งนี้ถูกครอมเวลล์ปราบลงอย่างรวดเร็ว   ผู้นำการเคลื่อนไหวถูกจับใส่คุกและประหารชีวิต    กลุ่มเสมอภาคพ่ายแพ้แล้วสภากองทัพถูกยุบและถูกแทนที่ด้วยสภานายทหาร
จบตอนที่ 6


No comments:

Post a Comment