ตอนที่ 5..
การปกครองของราชวงศ์สจ๊วตและความสุกงอมของสถานการณ์ปฏิวัติ
ปี
1603 พระราชินีเอลิสซาเบธ
(Elizabeth.I ครองราชย์ 1558-1603)
ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ได้สิ้นพระชนม์ลงพระองค์ไม่มีทายาท จึงให้พระเจ้าเจมส์ที่ 6
แห่งราชวงศ์สจ๊วตของ สก๊อตแลนด์เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และเปลี่ยนพระนามเป็นเจมส์ที่
1 (James 1ครองราชย์
1603-1625) จากนั้นมาก็เริ่มการปกครองของราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษ อังกฤษกับสก๊อตแลนด์ถึงแม้ว่าจะมีประมุของค์เดียวกันแต่ทั้งสองรัฐก็ไม่ได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สก๊อตแลนด์ยังคงรักษาอำนาจการปกครองตนเองไว้ไม่น้อยรวมทั้งรัฐสภาและศาสนาก็มีระบอบของตัวเอง
หลังจากเจมส์ที่
1 มาอยู่อังกฤษ
ก็ได้พยายามธำรงรักษาระบอบเผด็จการศักดินาที่เน่าเฟะในทุกด้านเอาไว้ เขาโฆษณาทฤษฎีว่าด้วยอำนาจกษัตริย์เป็นอำนาจฟ้าประทาน
อำนาจกษัตริย์ไม่มีขอบเขตจำกัดเป็นต้น
เห็นว่ากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมายและรัฐสภา
ในด้านนโยบายเศรษฐกิจพระเจ้าเจมส์ก็ดำเนินระบอบผูกขาดอย่างขนานใหญ่ เป็นเจ้าของสัมปทานในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าบางประเภทต่อบุคคลหรือบริษัท ระบอบผูกขาดได้ขยายขอบเขตไปในแขนงการผลิตหลายแขนงและเกือบจะทั้งหมดของการค้ากับต่างประเทศและส่วนใหญ่ของการค้าภายในประเทศ ระบอบผูกขาดทำให้นายทุนส่วนน้อยที่มีความสัมพันธ์ติดต่ออยู่กับราชสำนักร่ำรวยขึ้น แต่ชนชั้นนายทุนกลางกับนายทุนน้อยกลับได้รับความเสียหาย
ในด้านนโยบายทางศาสนาพระองค์ได้เสริมฐานะการปกครองของคณะอังกลิกันเพื่อเสริมความ
มั่นคงให้กับอำนาจกษัตริย์ทั้งทำการปองร้ายสาวกนิกายพิวริแตนส์อย่างขนานใหญ่ เสือกไสพวกเขาต้องหลบหนีลี้ภัยไปอยู่อเมริกาเหนือ ในด้านนโยบายต่างประเทศพระเจ้าเจมส์ละเมิดผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ยกเลิกนโยบายต่างประเทศดั้งเดิมที่ร่วมมือกับฮอลแลนด์ที่เป็นโปรเตสแตนท์ โจมตีสเปนที่เป็นโรมันคาทอลิค ซึ่งเป็นนโยบายที่ยึดถือมาโดยตลอดแต่สมัยราชวงศ์เอลิซาเบธที่
1 ในความ พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะคืนดีกับสเปนและเป็นพันธมิตรด้วย กระทั่งพยายามจะให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าหญิงแห่งสเปน เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับพันธมิตรอังกฤษสเปน
มุ่งหวังจะใช้อิทธิพลศักดินาทางสากลมารักษาการปกครองของตนในอังกฤษ
การปกครองของพระเจ้าเจมส์ในอังกฤษ
ทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นภายในประเทศทวีความรุนแรงยิ่ง ขึ้น ชาวนาอันไพศาล หัตถกร
คนงานสถานประกอบการและกรรมกรรายวันต่างไม่พอใจต่อนโยบายของราชวงศ์สจ๊วต
ได้ก่อการจลาจลหลายต่อหลายครั้ง ปี 1607
ชาวนาในแคว้นนอร์ตแธมป์ตัน เลส เตอร์
วอร์วิค ทางภาคกลาง ได้ก่อการเคลื่อนไหวของขบวนการ “ชาวที่ลุ่ม” ที่มีขนาดใหญ่โตเพื่อคัด
ค้านเจ้าที่ดินที่กล่าวอ้างการระบายน้ำในผืนที่ดินซึ่งเป็นที่ลุ่มเข้าครอบครองที่ดินสาธารณะ ต่อมาก็แพร่สะพัดไปในท้องที่อื่นๆ ปี 1617 ในลอนดอนได้เกิดการลุกขึ้นสู้ของผู้ฝึกงานหัตถกรรมที่ว่างงานจำนวนมาก ปี 1620
ในเมืองของแคว้นต่างๆทางภาคตะวันตกก็มีชาวนาก่อเหตุวุ่นวายอย่างหนัก การต่อสู้ของมวลชนพัฒนาไปอย่างครึกโครมได้สั่นคลอนระเบียบศักดินา ทั้งเป็นการหนุนเสริมให้การต่อสู้กับอำ
นาจกษัตริย์ของฝ่ายค้านซึ่งเป็นชนชั้นนายทุนในรัฐสภาเข้มแข็งขึ้น การที่กษัตริย์ดำเนินนโยบายจัดเก็บภาษีอัตราสูงและระบอบผูกขาดในอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ทำให้อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอังกฤษตกอยู่ในสภาพซบเซา ทำให้ชนชั้นนายทุนเกิดความไม่พอใจ พวกเขาจึงปฏิเสธที่จะสนับสนุนกษัตริย์ทางด้านการคลัง คัดค้านนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศของกษัตริย์
ปี
1625 พระเจ้าเจมส์สิ้นพระชนม์ ชาร์ลส์ที่ 1
ซึ่งเป็นทายาทขึ้นครองราชย์
ได้ดำเนินนโยบายสืบต่อจากผู้พ่อ
ในกระบวนการต่อสู้คัดค้านอำนาจกษัตริย์นั้นในสภาล่างได้ปรากฏผู้นำฝ่ายค้านของขุนนางใหม่ชนชั้นนายทุนขึ้นจำนวนหนึ่ง เช่น เซอร์จอห์น เอเลียต(Eliot Sir John
1592-1632) จอห์น ฮัมป์เดน (Hampden John 1594-1643) จอห์น พีม(Pym John
1584-1643) เป็นต้น พีมเคยเป็นผู้พิพากษารักษาความสงบ เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ เคยลงทุนทำเหมืองถ่านหินและตั้งบริษัทเสี่ยงภัยของพ่อค้า มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการล่าอาณานิคม ฮัมป์เดนเป็นผู้นำคนสำคัญของพิวริแตนส์ได้รับมรดกที่ดินเป็นจำนวนมากจากกองมรดกและการแต่งงานจนกลายเป็นคหบดีที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษ
บุคคลเหล่านี้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับชนชั้นนายทุนอังกฤษ เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน พวกเขากล่าวตำหนิติเตียนนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลว่าอ่อนแอไร้ความสามารถ
คัดค้านอำนาจอภิสิทธิ์ของกษัตริย์อย่างเด็ดเดี่ยว พวกเขาอ้างบทบัญญัติใน “มหาธรรมนูญ”*(มหาธรรมนูญ
เป็นเอกสารจำกัดอำนาจกษัตริย์ซึ่งเจ้าศักดินาใหญ่ของอังกฤษภายใต้การสนับสนุนของอัศวินและชาวเมือง บีบบังคับให้กษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษลงนามในปี1215)” แต่ตีความตามทัศนะของชนชั้นนายทุน ทั้งใช้ชื่อ “ประชาชน”
ไปจำกัดอำนาจกษัตริย์ ปี 1628 รัฐสภาได้เสนอ “หนังสือร้องเรียนเพื่อสิทธิและผลประโยชน์” เรียกร้องว่าหาก ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภากษัตริย์จะกู้เงินและเก็บภาษีไม่ได้ ถ้าไม่ได้อาศัยกฏหมายของรัฐหรือตัดสินของศาลยุติธรรมจะเที่ยวจับกุมคุมขังหรือริบทรัพย์สินของใครต่อใครไม่ได้ ไม่ให้จับกุมพลเมืองตามอำเภอใจโดยอาศัยประกาศภาวะฉุกเฉิน
ไม่ให้ยึดเอาอาคารบ้านเรือนของประชา ชนเป็นที่พักแรมของกองทหารเป็นต้น พระเจ้าชาร์ลส์จนใจที่ถูกบีบจากภาวะยากลำบากทางการคลังจึงทำเป็นยอมเซ็นต์อนุมัติใน
“หนังสือร้องเรียน”
หลอกเอาเงินช่วยเหลือไปได้ 350,000
ปอนด์ ต่อมาไม่นานก็จัดการยุบรัฐสภา
ระหว่างปี
1629-1640 พระเจ้าชาร์ลส์ ยุติการเรียกประชุมรัฐสภา โดยให้ เคาน์ สตราฟฟอร์ด (Strafford
1593-1641) และสังฆราชใหญ่ วิลเลียม
ลอด (Laud William 1573-1645) เป็นที่ปรึกษา ดำเนินการปกครองเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ไม่มีรัฐสภา ในระหว่างนี้
พระองค์ได้จัดการจับผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา 9
คนยัดเข้าคุก ในจำนวนนี้ เอเลียต ป่วยเสียชีวิตในคุก สาวกนิกายพิวริแตนส์ถูกปองร้ายหมายหัว ระหว่างปี 1630-1640 สาวกนิกายพิวริแตนส์ที่ถูกบีบต้องหนีตายไปอยู่ต่างประเทศมีจำนวนถึง
65,000 คน
ในจำนวนนี้มี 20,000 คนหนีไปอยู่อเมริกาเหนือ เพื่อสร้างรากฐานการคลังที่ไม่ต้องพึ่งพารัฐสภาพระเจ้าชาร์ลส์ได้บังคับเก็บภาษีจิปาถะ ขายสัมปทานในการจำหน่ายสินค้าโดยกำหนดให้สินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันจำนวนมากเข้าอยู่ในขอบข่ายที่ผู้ได้รับสัมปทานเท่านั้นจึงจำหน่ายได้ ปี 1630 กำหนดว่าผู้มีรายได้จากที่ดินปีละ 40 ปอนด์ขึ้นไป จะต้องรับสมญานามอัศวินเสียเบี้ยอัศวิน มิฉะนั้นจะต้องถูกปรับ ปี 1634
มีราชโองการให้สำรวจหลักเขตหวงห้ามของราชสำนัก
ผู้รุกล้ำเขตจะต้องถูกจับเสียค่าปรับ
ปี 1634 เริ่มเก็บภาษีเรือ* (ภาษีเรือ”
เป็นภาษีที่จัดเก็บขึ้น เพื่อรับมือกับโจรสลัด
ที่มักจู่โจมตีต่อหมู่บ้านตามชายฝั่งทะเลของ ราชอาณาจักรในศตวรรษที่ 11-12 ได้ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้ว) ปี 1635-1637 การเรียกเก็บภาษีเรือถึงกับขยายไปสู่แคว้นต่างๆที่เป็นดินแดนชั้นใน เป็นเหตุให้มวลชนเกิดความไม่พอใจอย่างมาก
การรีดนาทาเร้นของพระเจ้าชาร์ลส์ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น การผลิตตกอยู่ในภาวะสับสน เศรษฐกิจซบเซา คนว่างงานเพิ่มมากขึ้น การลุกขึ้นสู้ของชาวเมืองเกิดขึ้นไม่ได้ขาด ปี 1639-1640
หัตถกรและคนงานในลอนดอนได้จัดให้มีการเดินขบวนสำแดงกำลังที่มีขนาดใหญ่โต การเคลื่อนไหวของชาว นา ในระหว่างทศวรรษที่ 1630-1640 ก็ปรากฏกระแสสูงใหม่ ปี 1632
และ1638
ชาวนาในแคว้นเคมบริดจ์
ได้ก่อการเคลื่อนไหวคัดค้านขบวนการกว้านที่ดิน จากนั้นก็ขยายตัวไปยังแคว้นอื่นๆ ปี 1639-1640 ชาวนาในแคว้นลินคอร์นก็ขยายการต่อสู้คัดค้านขบวนการกว้านที่ดินที่มีขนาดใหญ่โตขึ้น พวกเขาได้บุกเข้าทำลายทำนบกั้นน้ำ
ปล่อยน้ำเข้าท่วมที่ดินสาธารณะที่ถูกยึดครอง การต่อสู้อย่างกว้างขวางของประชาชนผู้ใช้แรงงานเป็นนิมิตหมายของมรสุมการปฏิวัติที่กำลังคืบใกล้เข้ามาทุกที การลุกขึ้นสู้ในสก๊อตแลนด์ก็ยิ่งเร่งฝีก้าวให้การพัฒนาสถานการณ์ปฏิวัติขยายตัวเร็วยิ่งขึ้น
ภายหลังที่บัลลังก์กษัตริย์ของสก๊อตแลนด์รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับของอังกฤษแล้ว ทางสก๊อตแลนด์ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งอำนาจการปกครองของตนเองไม่น้อย เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับอำนาจของกษัตริย์ พระเจ้าชาร์ลส์พยายามสร้างฐานะการปกครองของศาสนานิกายอังกลิกันขึ้นในสก๊อตแลนด์
แต่ถูกคัดค้านจากขุนนางและชนชั้นนายทุนของสก๊อตแลนด์อย่างเด็ดเดี่ยว ทั้งใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์ไปคัดค้านคณะอังกลิกัน ปี 1637
สังฆราชใหญ่ ลอด มีคำสั่งให้คณะเพรสไบเทอร์เรียนของสก๊อตแลนด์ใช้บทสวดวิงวอนของคณะอังกลิกันในพิธีกรรมทางศาสนา หวังสร้างระบอบเผด็จการในสก๊อตแลนด์
คำสั่งนี้ได้กลายเป็นชนวนการลุกขึ้นสู้ของสก๊อตแลนด์
ในปี 1638-1639 ชาวสก๊อตแลนด์ได้โจมตีกองทหารของอังกฤษแตกกระเจิงและรุกเข้าสู่ดินแดนอังกฤษเป็นครั้งแรก เพื่อจัดหางบค่าใช้จ่ายทางทหารกษัตริย์ชาร์ลส์ถูกบีบจำต้องเรียกประชุมรัฐสภาในเดือนเมษายน
1640 ภายใต้กระแสสูงของการเคลื่อนไหวของมวลชน รัฐสภาปฏิเสธคำเรียกร้องของบทางทหารของกษัตริย์
ทั้งรุกฆาตกษัตริย์ให้จัดการลงโทษพวกขุนนางสอพลอ ยกเลิกมาตรการทั้งปวงที่กำหนดขึ้นแบบรวบอำนาจในช่วงไม่มีรัฐสภา เดือนพฤษภาคมกษัตริย์ชาร์ลส์จัดการยุบรัฐสภา การประชุมรัฐสภาครั้งนี้ตั้งแต่เริ่มเปิดสมัยประชุมจนถูกยุบมีช่วงเวลาสั้นๆไม่ถึงหนึ่งเดือน ในประวัติศาสตร์จึงเรียกว่า
“รัฐสภาช่วงสั้น”
หลังยุบรัฐสภาหนึ่งวัน
คือวันที่ 6 พฤษภาคม
ในลอนดอนมีการเดินขบวนสำแดงกำลังคัดค้านรัฐบาลเผด็จการ ที่แสดงออกอย่างเอาการเอางานที่สุดคือคนงานหัตถกรรมและผู้ฝึกงาน ผู้เข้าร่วมยังมีกะลา สีเรือ กรรมกรท่าเรือและพวกทำงานรับจ้างเบ็ดเตล็ด วันที่
14 พฤษภาคม
มวลชนในลอนดอนออกปฏิบัติการอีก
โดยบุกโจมตีคุกหวังจะช่วยเหลือมวลชนที่ถูกจับอันสืบเนื่องจากการเดินขบวนสำแดงกำลังในวันที่
6 พฤษภาคม
ชาวนาในท้องที่ต่างๆนอกลอนดอนพากันโถมตัวเข้าต่อสู้แย่งชิงที่ดินของตนกลับ คืนมาและช่วงชิงสิทธิผลประโยชน์ของตนเองเพื่อหนุนช่วยซึ่งกันและกัน หมู่บ้านต่างๆที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวได้จัดตั้งเป็นแนวร่วม เริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี 1640 และต่อจากนั้นมาเป็นเวลา 12 ปี
การเคลื่อนไหวของมวลชนพัฒนาเติบใหญ่มิได้ขาดกลายเป็นแหล่งที่มาของขุมกำลังปฏิวัติอันหนาแน่น ราชวงศ์สจ๊วตกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางการเมืองอย่างลึกซึ้
การปฏิวัติเริ่มขึ้นสงครามภายในประเทศสองครั้งและการสถาปนาสาธารณรัฐ
การเปิดประชุมรัฐสภาช่วงยาว
ขั้นใหม่ในการคัดค้านเผด็จการทรราชย์ของมวลประชาชน
เดือนสิงหาคม
1640
ชาวสก๊อตแลนด์ได้ก่อการโจมตีละลอกใหม่ กษัตริย์ชาร์ลส์เผชิญกับสถานการณ์คับขันจำใจต้องเรียกประชุมรัฐสภาอีก ผลการเลือกตั้งในรัฐสภาใหม่ปรากฏว่าชนชั้นนายทุนและขุน นางใหม่ได้รับชัยชนะอีก
สมาชิกรัฐสภาช่วงสั้นมีกว่าครึ่งได้รับเลือกเข้ามาใหม่ รัฐสภาใหม่นี้ดำรงอยู่จนถึงเดือนเมษายน 1653 ในประวัติศาสตร์เรียกว่า
“รัฐสภาช่วงยาว”
รัฐสภาช่วงยาวที่มีชนชั้นนาย ทุนและขุนนางใหม่เป็นฐาน ซึ่งเคยมีบทบาทเป็นศูนย์การนำของการปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษในชั่วระยะหนึ่ง การเปิดประชุมรัฐสภาช่วงยาวเป็นนิมิตหมายแสดงว่า การต่อสู้คัดค้านเผด็จการทรราชย์ของมวลประชาชนได้ก้าวเข้าสู่ขั้นใหม่แล้ว...การเปิดฉากโหมโรงการปฏิวัติชนชั้นนายทุนได้เริ่มขึ้นแล้ว
ฤดูใบไม้ร่วงต่อฤดูหนาวของปี
1640 ในขณะที่มีการประชุมรัฐสภาช่วงยาวนั้น
มวลชนในนครหลวงเปี่ยมล้นไปด้วยจิตใจปฏิวัติ
เจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนได้ถอนกำลังออกจาก “เขตเมือง” ด้วยความหวาด กลัวมวลชน ชาวเมืองในลอนดอนพากันเฮโลเข้าไปในเขตเมือง พวกเขาบุกเข้าไปในวิหารชุมนุมกันในห้องโถง อภิปรายปัญหาเกี่ยวกับแผนการของราชสำนัก ประกาศบนท้องถนนว่าจะลงโทษผู้วางแผนการที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติสถานหนัก กดความฮึกเหิมของราชสำนักและสังฆราชลงไป
เมื่อ การปฏิวัติมีบรรยากาศสู้รบสูงขึ้น รัฐสภาช่วงยาวได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ทำให้การต่อสู้กับกษัตริย์เข้มข้นขึ้น
อำนาจการนำของรัฐสภาช่วงยาวยุคแรกอยู่ในมือของพวกเพรสไบเทอร์เรียน ในจำนวนสมาชิกรัฐสภา 500 กว่าคน มีอยู่ 400 กว่าคนมาจากผู้พิพากษาศาลรักษาความสงบ
และผู้เคยดำรงตำแหน่งบริหาร งานท้องถิ่น
ผู้นำในรัฐสภายังคงเป็น พิมม และ ฮัมป์เดน
ที่เคยนำการต่อสู้ในรัฐสภาสมัยต่างๆมาแล้ว เนื่องจากมีการสนับสนุนของประชาชนอย่างล้นหลาม พอเริ่มต้นรัฐสภาก็ทำการจับกุมตัว สตราฟฟอร์ตและสังฆราชใหญ่
ลอด
ซึ่งเป็นผู้ที่ประชาชนเคียดแค้นชิงชังอย่างที่สุด และได้ตัดสินประหารชีวิตฐานทรยศกบฏชาติ
กษัตริย์ชาร์ลส์ปฏิเสธไม่ทรงยินยอมลงปรมาภิไธยในคำตัดสิน ต่อเมื่อหัตถกร ผู้ช่วยงาน
ลูกมือผู้ฝึกงาน
กะลาสีเรือจะบุกเข้าไปในไวท์ฮอลล์
จึงถูกบีบให้ทรงยินยอมลงปรมาภิไธยในคำตัดสินประหารชีวิต สตราฟฟอร์ด
วันที่
12 พฤษภาคม 1641
สตราฟฟอร์ดถูกส่งตัวเข้าสู่หลักประหาร
ลอด ก็ถูกประหารชีวิตในเวลาต่อมา ศาลของศาสนจักรอันได้แก่ “ศาลสูงสุด” ซึ่งเป็นเครื่องมือเผด็จการของกษัตริย์ก็ถูกสั่งยกเลิก ประกาศ
คำสั่ง เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ไม่ได้ผ่านการอนุมัติของรัฐสภาล้วนไม่มีผลบังคับใช้ ปี 1641 กษัตริย์ชาร์ลส์ถูกบีบจำต้องลงปรมาภิไธยใน “กฎ 3 ปี” ซึ่งกำหนดว่า อย่างน้อยเวลา 3 ปี ต้องเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
1ครั้ง
นอกจากความเห็นชอบของรัฐสภาเองแล้วจะทำการยุบสภาไม่ได้
ข้อกำหนดต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นการโจมตีต่อระบอบเผด็จการศักดินาอย่างหนักหน่วง
เดือนพฤศจิกายน
1641 รัฐสภาผ่านเอกสารที่เรียกว่า
“หนังสือประท้วงใหญ่” รวม 204 ข้อ โดยหยิบยกโทษกรรมของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ก่อไว้ใน
10 ปีหลัง แต่ไม่ได้กล่าวถึงขบวนการกว้านที่ดิน การปล้นชิงต่อชาวนาและสภาพอันยากจนข้นแค้นของกรรมกร เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของเอกสารคือขอให้ประกันเสรีภาพในอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตั้งรัฐบาลที่มีระบบรับผิดชอบต่อรัฐสภา ใช้คณะเพรสไบเทอร์เรียนแทนคณะอังกลิกันเป็นต้น หนังสือประท้วงใหญ่คือหลักนโยบายทางการเมืองของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ในการปฏิวัติยุคแรก จุดมุ่งหมายก็เพื่อดัดแปลงประเทศอังกฤษเป็นการปก
ครองในระบอบรัฐสภาของชนชั้นนายทุนโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญนั่นเอง
ชาร์ลส์ปฏิเสธ
“หนังสือประท้วงใหญ่” ทั้งยังเพิ่มการปองร้ายต่อสมาชิกฝ่ายค้านในรัฐสภาหนักมือยิ่งขึ้น วันที่ 3 มกราคม 1642 กษัตริย์ชาร์ลส์ไปที่สภาล่างบัญชากาให้จับกุมผู้นำฝ่ายค้าน 5 คน อันมี พีม และ ฮัมป์เดน ด้วยพระองค์เอง แต่พวกเขาหลบเข้าไปอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีกำลังของชนชั้นนายทุนรวมศูนย์อยู่ ทั้งมีกองกำลังติดอาวุธของชาวเมืองคอยพิทักษ์รักษาอยู่
ในขณะที่กษัตริย์ชาร์ลส์เดินออกจากตึกรัฐสภา มวลชนที่ชุมนุมอยู่หน้าประตูใหญ่ได้ส่งเสียงโห่ร้องประณามและขว้างใบปลิวปฏิวัติใส่พระองค์ วันรุ่งขึ้นกษัตริย์ชาร์ลส์ไปทำการตรวจค้นที่เขตเมืองอีก แต่ก็ถูกมวลชนและกองกำลังติดอาวุธของชาว เมืองหลายพันคนเข้าขัดขวางอีก ชาวนาผู้มีนาทำเองในแคว้นบัคกิ้งแฮม
ซึ่งเป็นถิ่นบ้านเกิดของ ฮัมป์เดน
พากันเดินทางมาหนุนช่วยฝ่ายปฏิวัติในเขตเมือง ชาวนาผู้มีนาทำเองในแคว้นต่างๆที่อยู่ใกล้กรุงลอนดอนก็พากันมุ่งหน้าสู่นครหลวง รวมตัวกับพวกหัตถกร ผู้ช่วยงานและลูกมือฝึกงานในลอนดอนจัด ตั้งเป็นกองทหารบ้านร่วมกัน
พิทักษ์รักษารัฐสภา วันที่ 10 มกราคม สมาชิกรัฐสภาผู้นำฝ่ายค้าน 5
คนได้กลับเข้าไปในรัฐสภาอีก
กษัตริย์ชาร์ลส์รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวโดยสิ้นเชิงในกรุงลอนดอน จึงลอบหนีออกจากนครหลวงอย่างเงียบๆในวันเดียวกับที่ห้าผู้นำฝ่ายค้านกลับเข้ารัฐสภา มุ่งหน้าสู่เมืองยอร์ชทาวน์ มุ่งหวังจะไปหาเสียงสนับสนุนจากขุนนางในแคว้นต่างๆของภาคเหนือและภาคกลาง รวบรวมสมัครพรรคพวกทำการดิ้นรนสุดชีวิต วันที่ 22 สิงหาคม
1642
กษัตริย์ชาร์ลส์ได้ชักธงมหาราชบนยอดเขาเล็กๆลูกหนึ่งในน็อตติ้งแฮม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามประเพณีสืบทอดที่แสดงว่าองค์ประมุขกำลังเรียกระดมบรรดาขุนนางราชสำนักและเจ้าผู้ครองนครเข้ามาถวายความจงรักภักดี หมายความว่าทรงประกาศสงครามกับรัฐสภา อังกฤษได้ก้าวเข้าสู่ขั้นสงครามกลางเมืองแล้ว
…..จบตอนที่5
No comments:
Post a Comment