Saturday, January 28, 2017

พัฒนาการของทุนนิยมในยุโรป 7

ตอนที่ 7
สงครามกลางเมืองครั้งที่สองกับการสถาปนาสาธารณรัฐ
ในขณะที่ภายในกองทัพมีการต่อสู้กันอยู่นั้น   อิทธิพลปฏิกิริยาก็ได้เงยหัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง    ปลายปี 1647 กษัตริย์ลอบหนีออกจากที่คุมขัง  แต่หนีไปถึงเกาะไวท์ก็ถูกจับตัวได้อีก   เนื่องจากเกรงว่าการเคลื่อนไหวของมวลชนจะมีกระแสสูงขึ้น  กลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์และกลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของอังกฤษต่างก็ส่งคนไปเจรจากับกษัตริย์ชาร์ลส์ เพื่อทำข้อตกลงลับกัน      ฤดูใบไม้ผลิปี 1648  พวกนิยมกษัตริย์ได้อาศัยปัญหาทุพภิกขภัยและความยากลำบากทางเศรษฐกิจ    ได้ก่อการจลาจลในท้องที่ต่างๆ เช่นลอนดอน  เวลส์  และเคนต์   มีเรือรบหลายลำแปรพักตร์ไปเข้ากับฝ่ายนิยมกษัตริย์    เดือนกรกฎาคม  กองทัพสก๊อตแลนด์เคลื่อนกำลังเข้าสู่ภาคเหนือของอังกฤษสนับสนุนการกบฏของกษัตริย์ชาร์ลส์

เบื้องหน้าการคุกคามจากสงครามครั้งใหม่ที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ก่อขึ้น  กลุ่มอิสระจึงตัดสินใจประนีประนอมกับกลุ่มเสมอภาคชั่วคราว   ในที่ประชุมสภากองทัพในเดือนเมษายน 1648   กลุ่มอิสระและกลุ่มเสมอภาคตกลงร่วมมือกันตีทัพฝ่ายกษัตริย์พ่ายแพ้ไป   การสู้รบผ่านไปเป็นเวลาหลายเดือนการก่อกบฏในท้องที่ต่างๆของฝ่ายกษัตริย์จึงถูกปราบปรามลงไปได้    สงครามกลางเมืองครั้งที่สองยุติลงด้วยการที่กรุงเอดินบะระของสก๊อตแลนด์ถูกยึดครอง

ขณะที่กองทัพออกจากกรุงลอนดอนเพื่อปราบปรามการกบฏของฝ่ายกษัตริย์นั้น   กลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนก็สร้างฐานะที่ได้เปรียบในรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง   ทั้งดำเนินการเจรจากับกษัตริย์เกี่ยวกับการคืนสู่ราชบัลลังก์    ต้นเดือนธันวาคมกองทัพเคลื่อนกำลังเข้าสู่กรุงลอนดอน  เข้าควบคุมรัฐสภาทำการกวาดล้างสมาชิกรัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนที่วางตัวเป็นศัตรูกับกองทัพจำนวน 140 กว่าคน     ด้วยเหตุจากการกวาดล้างเป็นเหตุให้สมาชิกบางส่วนจงใจไม่เข้าร่วมประชุม       ทำให้สมาชิกที่เข้าร่วมประชุมมีเพียง 50-60 คนเท่านั้น  ต่อมารัฐสภาช่วงยาวจึงถูกขนานนามว่า  “รัฐสภาไม่สมประกอบ”

รัฐสภาดำเนินการต่อสู้ต่อไปในปัญหาพิจารณาพิพากษาโทษกษัตริย์ชาร์ลส์   สภาล่างใช้เวลาอภิปรายเกือบหนึ่งเดือนเต็มๆจึงเสนอให้ส่งตัวชาร์ลส์ขึ้นศาลฐานทรยศกบฏชาติ     แต่ว่า สภาสูงซึ่งมีสมาชิกสภาเหลืออยู่เพียง 16 คนกลับใช้สิทธิยับยั้งภายใต้แรงกดดันอย่างหนักของพลทหารและมวลชน   กลุ่มอิสระภายหลังที่ประกาศให้สภาล่างเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดแล้วได้ผ่านมติจัดตั้งศาลสูงพิเศษที่ประกอบด้วยบุคคลจากรัฐสภาและกองทัพรวม 135 คน  ทำการพิจารณาพิพากษาคดีของกษัตริย์ชาร์ลส์ในวันที่ 6 มกราคม 1649  ถึงวันที่ 27 เดือนเดียวกัน ศาลจึงได้มีคำพิพากษาว่า  ชาร์ลส์แห่งราชวงศ์สจ๊วตเป็นทรราช ผู้ทรยศ  อาชญากร   และศัตรูร่วมของประชาชน  ให้สำเร็จโทษเสีย   วันที่ 30 มกราคม ท่ามกลางเสียงชัยโยโห่ร้องชาร์ลส์ถูกบั่นพระเศียร

ภายหลังกษัตริย์ชาร์ลส์สิ้นพระชนม์รัฐสภาของกลุ่มอิสระได้ผ่านกฎหมายจำนวนมาก  ในการประชุมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม 1649  ได้ยกเลิกสภาขุนนาง   กำหนดให้รัฐสภาที่มีสภาเดียวเป็นสถาบันอำนาจสูงสุดของประเทศ   และมอบอำนาจบริหารให้กับคณะรัฐมนตรีที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพที่ มี ครอมเวลล์ เป็นผู้นำ    เดือนพฤษภาคมรัฐสภาประกาศให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ

กระแสสูงใหม่ของการต่อสู้ช่วงชิงประชาธิปไตยของมวลประชาชน  กลุ่มขุดดิน
ภายหลังสถาปนาสาธารณรัฐกลุ่มอิสระได้ยึดอำนาจรัฐไว้ในมือ    สร้างเผด็จการชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ขึ้น  ในด้านเศรษฐกิจกลุ่มอิสระยังคงดำเนินนโยบายของคณะเพรสไบทีเรียนต่อไป    รีดนาทาเร้นคนยากจน ปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่อย่างสุดกำลัง  ในทางการเมืองปฏิเสธการปฏิรูปใดๆที่จะดำเนินไปอีกขั้นหนึ่ง      เป็นเหตุให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคมีกระแสสูงขึ้นและการลุกฮือแข็งข้อของพลทหาร  ลิลเบอร์น ประณามคณะรัฐมนตรีอย่างเปิดเผยว่า   มันคือเตียงนอนอันอบ อุ่นของทรราชย์ใหม่   รัฐบาลของกลุ่มครอมเวลล์เป็นราชวงศ์ที่เผด็จการยิ่งกว่า   ป่าเถื่อนยิ่งกว่าราชวงศ์ที่ผ่านมา   เดือนมิถุนายน  ลิลเบอร์นกับมิตรร่วมรบของเขาส่วนหนึ่งถูกจับ  

เพื่อจะทำลายกลุ่มเสมอภาคในกองทัพ  ครอมเวลล์ ตัดสินใจส่งพวกเขาไปปราบปรามการลุกขึ้นสู้ทางประ ชาชาติของไอร์แลนด์   กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้ชนิดมาไม้ไหนไปไม้นั้น พวกเขาเสนอให้จ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงตกเบิก   คัดค้านการส่งทหารไปยังไอร์แลนด์และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมืองเป็นต้น    พวกเขาดำเนินการปลุกระดมในกองทัพ    เดือนพฤษภาคมกองทหารบางกรมกองที่ถูกส่งไปยังไอร์แลนด์ ขณะ  ที่เดินทางไปถึงท้องที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ได้ก่อการลุกฮือแข็งข้อขนานใหญ่   การลุกฮือแข็งข้อของกอง ทหารทำให้รัฐสภาและรัฐบาลตกอกตกใจเป็นกำลัง        ครอมเวลล์เล่นลูกไม้ใหม่โดยยุแหย่ให้เกิดความแตกแยกระหว่างกรมกองต่างๆ   เขาใช้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินตาม “กติกาประชาชน”  เปิดประชุมรัฐสภาใหม่และจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงตกเบิกเป็นเหยื่อล่อ   ไปทำให้หน่วยทหารอีกส่วนหนึ่งอยู่ในความสงบ   ทั้งเสือกใสพวกเขาไปปราบปรามหน่วยทหารที่ลุกขึ้นสู้   ครอมเวลล์  ยังนำหน่วยทหารที่ประกอบด้วยชั้นชนชาวนารวยด้วยตนเองไปทำการปราบปรามกลุ่มเสมอภาคที่ลุกขึ้นสู้อย่างโหดร้าย

ในเวลาเดียวกับที่กลุ่มเสมอภาคดำเนินการต่อสู้กับกลุ่มครอมเวลล์นั้นคนยากจนในชนบทก็ดำเนินการต่อสู้ช่วงชิงให้แก้ปัญหาที่ดินตามผลประโยชน์ของชาวนา   ที่เด่นที่สุดในหมู่พวกเขาคือ “กลุ่มเสมอภาคที่แท้ จริง”  หรือ “กลุ่มขุดดิน”   การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสมอภาคโดยมูลฐานแล้วไม่ได้ล้ำออกนอกขอบเขตการช่วงชิงสิทธิเลือกตั้งทั่วไปของชนชั้นนายทุน    กลุ่มขุดดินเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของชาวนาที่ยากจนอันกว้างใหญ่ไพศาล      สะท้อนออกซึ่งความคิดลัทธิเฉลี่ยแบบสังคมบรรพกาลที่เรียบๆของชาวนา  พวกเขาเห็นว่าบนผืนดินที่หล่อเลี้ยงด้วยหยาดเหงื่อและหยดเลือดของประชาชน ประชาชนควรได้ไม่เพียงแต่สิทธิ เลือกตั้งทั่วไปเท่านั้น    หากควรได้รับที่ดินด้วย    ที่ดินที่แต่ละคนครอบครองควรจำกัดแค่ความจำเป็นในการดำรงชีพของแต่ละคนเท่านั้น      ที่ดินของกษัตริย์  ของรัฐ  ของศาสนจักร และของพวกนิยมกษัตริย์จะต้องจัดสรรส่วนหนึ่งมาแบ่งให้ชาวนา     เนื่องจากกลุ่มอิสระก็เช่นเดียวกับกลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนไม่ได้    ให้ผลประโยชน์อะไรในทางเป็นจริงแก่ชาวนา   ชาวนาที่ยากจนจึงลงมือแก้ปัญหาที่ดินด้วยตนเอง

นักคิดและผู้นำของกลุ่มขุดดินคือ   เจอร์ราด   วินสแตนเลย์(Gerrard Winstanley 1609-1652)  เขาเป็นพ่อค้าย่อยที่ล้มละลายในกรุงลอนดอน       ต่อมาไปเป็นชาวนารับจ้างในแคว้นเซอเรย์ใกล้ๆกรุงลอนดอน    วินสแตนเลย์ ดำเนินการเคลื่อนไหวในนามคนยากคนจนที่ถูกกดขี่ทั้งปวงของอังกฤษ   โฆษณาความคิดลัทธิเฉลี่ยแบบสังคมบรรพกาล     เรียกร้องให้ทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนในการถือครองที่ดิน  มีความคิดเห็นว่าคนทุกคนล้วนต้องออกแรงทำงาน  มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านสิทธิผลประโยชน์  กลับไปสู่ภาวะธรรมชาติของระบอบถือครองที่ดินโดยส่วนรวม      แต่ว่าเขามีความคิดเห็นว่า  ให้ใช้ “ความรัก” และการกระทำที่เป็นแบบอย่างไปส่งผลสะเทือนต่อผู้อื่น     คัดค้านการใช้กำลังไปทำลายระบอบกรรมสิทธิ์เอกชน      เพ้อฝันจะผ่านโครงการปฏิรูปสังคมแบบยูโธเปียไปทำให้ระบอบกรรมสิทธิ์สาธารณะปรากฏเป็นจริงขึ้น       เขายังเห็นว่าไม่เพียงแต่คนยากคนจนเท่านั้นที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดินแม้แต่พวกเจ้าของที่ดิน   เมื่อได้รับรู้ถึงลักษณะชอบธรรมในการ เคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดินแล้วก็ล้วนจะต้องยอมสละที่ดินของตนเอง   คำเทศนาโวหารเกี่ยวกับความรักของวินสแตนเลย์ได้ลดทอนประกายที่คมกล้าของความคิดปฏิวัติของเขาลงไปไม่น้อย

เดือนเมษายน 1649  ชาวนากลุ่มหนึ่งได้ไปบุกเบิกที่ดินที่ภูเขา เซนต์จอร์จ ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆกรุงลอนดอน   พวกเขาทำงานด้วยกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน  ขนานนามตนเองว่า “พวกขุดดิน”  ต่อมาในท้องที่ต่างๆเช่น   นอร์ทแธมป์ตัน   บักกิ้งแฮม    กลอสเตอร์   ฮันติงตัน   แลงคาเซียร์   ลินคอร์น ฯลฯ   ล้วนได้ปรากฏการเคลื่อนไหวของกลุ่มขุดดิน      การเคลื่อนไหวแม้จะมีลักษณะสันติ ทั้งเป็นการบุกเบิกที่ ดินรกร้างว่างเปล่า  ไม่ได้แตะต้องระบอบกรรมสิทธิ์เอกชนแต่ยังไม่วายถูกรัฐบาลขับไล่และสั่งห้าม   ต่อมาไม่นานการเคลื่อน ไหวของกลุ่มขุดดินในท้องที่ต่างๆ  ได้ถูกกองทหารปราบปรามลงไปตามลำดับ

การลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของไอร์แลนด์ถูกปราบปราม
เกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติคทางภาคตะวันตกของยุโรป  กับสก๊อตแลนด์  และอังกฤษเพียงมีช่องแคบขวางกั้นเท่านั้น  แต่เดิมมีชนเผ่าต่างๆของชนชาติเคลท์อาศัยอยู่     นับแต่ครึ่งหลังศตวรรษที่ 12 อังกฤษก็เริ่มรุกรานเข้าสู่ไอร์แลนด์   ถึงศตวรรษที่ 16  ก็เริ่มทำการแย่งยึดที่ดินขนานใหญ่   พระเจ้าเจมส์ที่ 1 เคยริบที่ดินในไอร์แลนด์ถึงสามล้านเอเคอร์    ชาวอังกฤษและชาวสก๊อตแลนด์พากันย้ายถิ่นฐานไปอยู่อัลสเตอร์ภาคเหนือของไอร์แลนด์      ท้องที่แห่งนี้จึงกลายเป็นฐานที่มั่นของอังกฤษในการปกครองไอร์แลนด์   ในขณะที่ สตราฟฟอร์ท ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ในปี 1633-1639นั้น   ได้ดำเนินการปกครองแบบอาณานิคมที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุด  เป็นเหตุให้เกิดการลุกขึ้นสู้ทางประชาชาติของชาวไอร์แลนด์ ในปี 1641 เพื่อการสร้างชาติที่เป็นเอกราช     การลุกขึ้นสู้ภายใต้การนำของ “สหพันธ์โรมันคาทอลิค”  ได้ปะทุขึ้นที่อัลสเตอร์เป็นแห่งแรก  ไม่นานก็ลุกลามไปทั่วทั้งเกาะ

เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของไอร์แลนด์และพิชิตไอร์แลนด์ในที่สุด   ปี 1642 รัฐสภาช่วงยาวได้ผ่านมติให้ริบที่ดินค่อนข้างดีของไอร์แลนด์จำนวนสองล้านห้าแสนเอเคอร์เป็นค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทหารที่ทำศึกในไอร์แลนด์  โดยวิธีจำหน่ายโฉนดที่ดินก่อน   แล้วตีราคาต่ำที่สุดขายให้แก่ชนชั้นนายทุนใหญ่และขุนนางใหม่ของอังกฤษ   แต่เนื่องจากสงครามกลางเมืองระเบิดขึ้น   โครงการพิชิตไอร์แลนด์จึงถูกพักไว้ชั่วคราว ค่าใช้จ่ายทางทหารสำหรับกองทัพที่ออกศึกในไอร์แลนด์ ซึ่งรวบรวมมาได้ถูกเปลี่ยนไปใช้ในสงครามกลางเมือง   หลังจากที่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในอังกฤษถูกปราบลงในปี 1649 แล้ว  เดือนสิงหาคม ครอมเวลล์ ก็ยกทัพไปตีไอร์แลนด์       นี่เป็นสงครามล่าเมืองขึ้นครั้งแรกของสาธารณรัฐอังกฤษ   มันได้นำภัยพิบัติมาสู่ประชาชนไอร์แลนด์อย่างแสนสาหัส      ในระยะเว ลานับตั้งแต่ปี 1649-1652  เป็นเวลา 3 ปีที่กองทหารอังกฤษเข้ารุกรานไอร์แลนด์    ทำให้ประชากรไอร์แลนด์ลดลง 610,000 คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,460,000 คน  ที่ดินจำนวนมากถูกแย่งยึด

การฟื้นอำนาจครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้
ปี 1648  ในขณะที่การปฏิวัติชนชั้นนายทุนของอังกฤษขึ้นสู่กระแสสูงนั้น   รัฐสภากลุ่มคณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์  วิตกว่าการขยายตัวของการปฏิวัติจะกระตุ้นให้ชาวนาในสก๊อตแลนด์ลุกขึ้นสู้  สั่นคลอนฐานะการปกครองของพวกเขา      จึงหันเข้าหาค่ายนิยมกษัตริย์ฝากความหวังไว้กับราชวงศ์สจ๊วต ปี 1649 ภายหลังที่ชาร์ลส์ที่ 1 ถูกสำเร็จโทษไม่นาน    พวกขุนนางและชนชั้นนายทุนของสก๊อตแลนด์หลังจากได้รับคำมั่นสัญญาจากเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ที่หนีตายไปอยู่ฮอลแลนด์ว่า ยินดีจะให้คณะเพรสไบทีเรียนของสก๊อตแลนด์เป็นศาสนาของทางการและคำมั่นสัญญาอื่นๆ    แล้วก็ประกาศสนับสนุนชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์   ทั้งสมคบกับพวกนิยมกษัตริย์ในอังกฤษเตรียมโค่นล้มสาธารณรัฐ  บรรลุซึ่งการฟื้นอำนาจราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษ     ปี 1650 ชาร์ลส์ที่ 2 กลับถึงสก๊อตแลนด์

สาธารณรัฐอังกฤษเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันคับขัน รัฐสภาจึงเรียกตัวครอมเวลล์กลับจากไอร์แลนด์   แต่งตั้งเขาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปราบสก๊อตแลนด์      ครึ่งปีแรกของปี 1650 สง ครามอาณานิคมต่อไอร์แลนด์ของอังกฤษสิ้นสุดลงโดยพื้นฐาน    ครอมเวลล์ได้จัดหน่วยทหารภายใต้การบังคับบัญชาให้ตั้งประจำอยู่ในไอร์แลนด์เพื่อปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวไอร์แลนด์ต่อไป   ส่วนตนเองกลับสู่อังกฤษ นำกองทหารเข้าบุกสก๊อตแลนด์ต่อไป   เดือนกันยายน 1650  ขณะที่กองทหาร 2 กองสัประยุทธ์กันที่ แดนบาร์ นั้น       ครอมเวลล์นำกำลังเข้าโจมตียังความเสียหายแก่กองทหารสก๊อตแลนด์อย่างหนัก  

เดือนกันยายน 1651  ชาร์ลส์ที่ 2 นำทัพด้วยตนเอง    หลีกเลี่ยงการปะทะซึ่งหน้ากับกำลังหลักของครอมเวลล์ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก  แล้วเดินทัพเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกมุ่งหน้าสู่ไอร์แลนด์   มุ่งหวังจะเข้าตีกรุงลอนดอน  ได้เกิดการรบขั้นแตกหักขึ้นที่วูสเตอร์    ชาวนาถือการกลับมาของชาร์ลส์ที่ 2 เป็นการซ้ำรอยภัยพิบัติในสมัยชาร์ลส์ที่ 1   จึงพากันจับอาวุธขึ้นโถมตัวเข้าสู่การสู้รบ    ทหารบ้านเฉพาะมาจากแคว้นอีสเซ็กซ์และแคว้นซัฟโฟล์คก็มีถึง 3,000 คน ครอมเวลล์ได้รับการสนับสนุนจากชาวนาที่ติดอาวุธจึงเปลี่ยน สถานการณ์จากรับเป็นรุก   กองทหารของชาร์ลส์ถูกทำลายเรียบ   ชาร์ลส์ที่ 2 หนีเอาตัวรอดไปอยู่ต่างประ เทศ   ความมุ่งหวังฟื้นอำนาจราชวงศ์เก่าครั้งที่ 1 ถูกบดขยี้ลง

สาธารณรัฐหลังจากได้พิชิตสก๊อตแลนด์แล้ว  ก็ได้ริบที่ดินจำนวนมากจากขุนนางใหญ่และพวกนิยมกษัตริย์ส่วนหนึ่งให้เป็นรางวัลแก่นายทหารชั้นสูง      อีกส่วนหนึ่งขายให้แก่ชนชั้นนายทุนอังกฤษและสก๊อตแลนด์   โดยเฉพาะหลังจากพิชิตไอร์แลนด์แล้ว        สาธารณรัฐได้ริบที่ดินของพวกลุกขึ้นสู้อย่างขนานใหญ่ทำให้ ที่ดิน 2 ใน 3 ของไอร์แลนด์  เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ไปอยู่ในมือของผู้ถือครองอังกฤษ   ที่สำคัญคือตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนใหญ่และนายทหารชั้นสูงและชั้นกลางในเขตเมืองลอนดอน   ก่อรูปเป็นชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินอังกฤษ      ตัวครอมเวลล์เองได้ครอบครองที่ดินชั้นดีในไอร์แลนด์ถึง 1,000 เอเคอร์   ชั้นชนใหม่ของขุนนางที่ดินนี้ได้กลายเป็นเสาค้ำของอิทธิพลปฏิกิริยาอังกฤษ   ได้กุมอำนาจรัฐ  และพยายามจะฟื้นระบอบขุนนางอังกฤษตามประเพณีดั้งเดิม

นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐ
นโยบายภายในและต่างประเทศของสาธารณรัฐเผด็จการชนชั้นนายทุนของกลุ่มอิสระทั้งหมดวางอยู่บนจุดพื้นฐานเหล่านี้คือ   ละเลยผลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้แรงงานซึ่งเป็นผู้พิทักษ์รักษาสาธารณรัฐ  โดย เฉพาะอย่างยิ่งคือละเลยผลประโยชน์ของชาวนา..สร้างเงื่อนไขที่เป็นผลดีต่อการก่อร่างสร้างตัวเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่ที่ได้อำนาจรัฐแล้ว   รัฐบาลได้จัดการขายที่ดินจำนวนมากที่ริบมาจากราชสำนัก..พวกนิยมกษัตริย์และศาสนจักรด้วยวิธีแบ่งขายเป็นแปลงใหญ่และตีราคาสูง  คนยากคนจนไม่มีปัญญาซื้อได้    ฉะนั้นจึงตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุนและขุนนางใหม่  

รัฐสภายังนำเอาไร่สวนของพวกนิยมกษัตริย์ปูนบำเหน็จแก่พวกชั้นบนของกองทัพ   ตัวครอมเวลล์เองก็ได้มา 2 แปลงที่สามารถทำรายได้ปีละ 7,000 ปอนด์ขึ้นไป    เจ้าที่ดินคนใหม่จัดการขับไล่ชาวนาออกจากผืนที่ดิน    ภายในประ เทศได้ปรากฏสภาพฉวยโอกาสเก็งกำไรจากการซื้อขายที่ดินอย่างครึกโครม
ในด้านนโยบายต่างประเทศ   เพื่อแย่งชิงอำนาจครองความเป็นเจ้าในการค้าขายทางทะเล     ได้ทำการโจมตีฮอลแลนด์ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ   ปี 1651ได้ประกาศใช้ “กฎหมายการเดินเรือทางทะเล” ในกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดไว้ว่า  การนำเข้าสินค้าของอังกฤษจะอนุญาตให้เรืออังกฤษหรือของประเทศผู้ผลิตสินค้านั้นเป็นผู้ขนส่งเท่านั้น    ส่วนสินค้าส่งออกก็อนุญาตให้เฉพาะเรืออังกฤษเป็นผู้ส่ง  "กฏหมายการเดินเรือทางทะเล"  มีผลกระทบโดยตรงต่อฮอลแลนด์ซึ่งดำเนินกิจการขนส่งทางทะเลโดยเฉพาะ ด้วย เหตุนี้ ฮอลแลนด์กับอังกฤษจึงได้ทำสงครามกันเป็นเวลา 2 ปี (1652-1654)      ผลของสงครามคือฮอล   แลนด์เป็นฝ่ายแพ้  จึงถูกบีบให้รับรอง “กฎหมายการเดินเรือทางทะเล”   จากนั้นมา  การค้าขายทางทะเลและกิจการเดินเรือของอังกฤษก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จบตอนที่ 7


No comments:

Post a Comment