5.กลุ่มปลดปล่อยแรงงาน
“การเคลื่อนไหวปฏิวัติในรัสเซียจะสามารถชนะได้มีเพียงหนทางเดียวดือการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวล
ชนกรรมกร
สำหรับเราแล้วไม่มีทางออกอื่นใดและไม่อาจมี “(คำปราศรัยของ เพลคานอฟ ในที่ประชุม
สมัชชาสังคมนิยมสากลที่กรุงปารีส) ครั้งหนึ่ง..เฮเกลได้ให้ข้อสังเกตว่า..”หากเราต้องการจะเห็นต้นโอคที่มีลำต้นแข็งแรง,กิ่งก้าน สาขาที่แผ่กระจายออกไปและพุ่มใบที่ดกหนา
เราคงไม่อาจมั่นใจนักหากจะเห็นแค่ผลของมัน ”
ดังนั้น..ภายในหน่ออ่อนที่สมบูรณ์...ไม่ว่าของพืชหรือสัตว์จะประกอบด้วยสิ่งที่แสดงถึงข้อมูลทางพันธุ กรรมที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาของมันในอนาคต ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากแนวโน้มในพัฒนาการของการปฏิวัติซึ่ง“ข้อมูลทางพันธุกรรม”จะแสดงออกทางทฤษฎีซึ่งอุดมไปด้วยองค์
ประกอบในตัวของมันเองบนพื้นฐานประสบการณ์ในอดีต ทฤษฎีจึงเป็นความจำเป็นในเบื้อง แรก...พัฒนาการต่างๆที่ตามมาจึงจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปคำนึงถึงขนาดความเล็กหรือใหญ่
..การจัดการองค์กรแบบล้าหลังและค่อนข้างจะเป็นแบบมือสมัครเล่นไม่อาจเดินไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มปลดปล่อยแรงงานคือการวางรากฐานทางทฤษฎีในการเคลื่อนไหว
ความจำเป็นในการทำงานครั้งแรกของกลุ่มก็คือการมุ่งเน้นที่การจัดการศึก ษาบ่มเพาะผู้ปฏิบัติงานให้ได้สักหนึ่งหรือสองหน่วยเน้นหนักที่หลักการพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ
เพลคานอฟเขียนว่า “เราได้ทุ่มเทแรงใจทั้งหมดของเราพยายามที่จะเสนองานเขียนที่มวลชนชาวนา-กรรมกรสามารถเข้าถึงและทำความเข้าใจได้พวกเรา,ในเวลานั้นไม่ว่าอย่างไรยังถือว่าเป็นภาระหน้าที่ๆจะกระจายงานเขียนของเราไปยังแวดวงของบรรดาผู้นำชนชั้นกรรมกรที่เป็นปัญญาชน” ข้อเขียนของเพลคานอฟในระยะเวลานี้เป็นช่วงของการวางรากฐานทางทฤษฎีในการสร้างพรรค
งานหลายๆชิ้นของเขายังคงความทันสมัยอยู่จวบจนกระทั่งปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ค่อยจะได้รับความสนใจจากผู้ที่ศึกษาลัทธิมาร์กซเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีโอกาส,และเป็นระยะที่คนทั้งสองคนยังเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกันทาง การเมือง หลังการปฏิวัติ...เลนินเสนออย่างจริงจังให้มีการตีพิมพ์ซ้ำงานของเพลคานอฟที่ว่าด้วยปรัชญาเช่น
“ลัทธิสังคมนิยมและการต่อสู้ทางการเมือง”(Socialism and the
Political Struggle) , “ความแตกต่างของเรา”
(Our Differences)
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานชั้นยอดของเพลคานอฟ..เรื่อง
”พัฒนาการของผู้มองด้านเดียวทางประวัติศาสตร์ (On the
Development of the Monist View of History) ที่ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญในการตอกย้ำความคิดพื้นฐานของวิภาษวิธีและวัตถุนิยมประวัติ
ศาสตร์
การโจมตีของเพลคานอฟ ทำให้บรรดาผู้นำของนารอดนิคเกิดความสับสนไม่สามารหาคำตอบที่มีเหตุผลได้เหมือนนักลัทธิมาร์กซ พวกเขาไช้มาตรการตอบโต้ด้วยความไม่พอใจอย่างรุนแรงและใช้ข้อกล่าวหาที่มุ่งร้ายต่อกลุ่มใหม่ หนังสือพิมพ์ “เวสทนิค นารอดนอย
โวลี”(ฉบับที่2 ปี 1884) กล่าวหาว่า “สำหรับพวกเขา(นักลัทธิมาร์กซ) ได้โต้แย้งกับ นารอดนายา โวลยา
มากยิ่งกว่าการต่อสู้กับรัฐบาลรัสเซียและผู้ที่กดขี่ประชาชนรัสเซียคนอื่นๆ”
บ่อยครั้งมากที่บรรดานักลัทธิมาร์กซได้รับฟังในคำกล่าวร้ายเช่นนั้นมาตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์
ดูเหมือนว่ามันเป็นอาชญากรรมในการยืนยันความชัดเจนในเรื่องทฤษฎี
สำหรับความพยายามในการขีดเส้นแบ่งและกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างตัวมันเอง(ลัทธิมาร์กซ)และความโน้มเอียงของลัทธิการ
เมืองอื่นๆ ลัทธิมาร์กซเองมักจะถูกกล่าวหาอยู่เสมอๆว่าเป็น”ลัทธิพรรคพวก”
ที่เลวร้าย เป็นพวกต่อ
ต้านความเป็นเอกภาพของฝ่ายซ้ายและอะไรต่อมิอะไรไปโน่น เรื่องตลกร้ายที่สุดเรื่องหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์คือ
ทิโคมิรอฟ (ชาวพรรคนารอดนายา โวลยา)
ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่เพลคานอฟวิจารณ์ ได้กล่าวหากลุ่มของเพลคานอฟว่าเป็นกลุ่มที่ทำลายความเป็นเอกภาพของปฏิวัติ เป็นพวกยอมจำ นน, ยอมแบกแอกของนายทุน
ซึ่งในภายหลังตัวเขาเองกลับกลายไปเป็นพวกปฏิกิริยาสนับสนุนราชวงศ์ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกหรือครั้งสุดท้ายของผู้ที่ให้การสนับสนุน “เอกภาพ”
ที่ไร้หลักการ...มักจะจบลงด้วยการเข้าร่วมกับฝ่ายที่เป็นศัตรูของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน
การทำงานเคลื่อนไหวด้านลึกในรัสเซีย
ไม่ว่าอย่างไรก็เป็นไปด้วยความเจ็บปวดและยากลำบาก
การขนส่งเอกสารผิดกฎหมายเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ผู้ประกอบอาชีพและนักศึกษาที่อยู่หรือศึกษาในต่าง
ประเทศต่างสมัครใจรับอาสาขนเอกสารที่ผิดกฎหมายเหล่านี้เมื่อกลับบ้านหรือกลับจากการท่องเที่ยว
พักผ่อน
ในช่วงเวลาต่างๆสมาชิกของกลุ่มได้ถูกส่งเข้าไปในรัสเซียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ การเดิน ทางเช่นนี้นับว่ามีอันตรายมากและบ่อยครั้งมักจะจบลงด้วยการถูกจับ คนที่อยู่ภายในประเทศมักจะ
สร้างการติดต่อโดยตรงกับกลุ่มที่อยู่ห่างไกลกันและรักษามันไว้ประหนึ่งก้อนทองคำ ปี 1887-88
มีความพยายามก่อตั้งพรรคสังคมประชาธิปไตยรัสเซียในต่างประเทศนำโดยนักศึกษาชื่อ
ราฟาอิล โซโลไวชิค ซึ่งออกจากรัสเซียไปเมื่อปี 1884
แต่เขามีความขัดแย้งกับกลุ่ม, เมื่อกลับถึงรัสเซียก็ถูกจับ กุมในปี 1889 และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลานาน
ในระหว่างที่ต้องโทษอยู่เขามีสภาพจิตสับสนและกระทำอัตวินิบาตกรรม สมาชิกกลุ่มเดียวอีกคนหนึ่งคือ กริกอร์
กูคอฟสกี
นักศึกษาหนุ่มในซูริคถูกจับที่เมือง อ๊าคเค่น ในเยอรมันนีและถูกส่งกลับไปให้รัฐบาลพระเจ้าซาร์
เขาถูกตัดสินจำคุกและได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเช่นเดียวกัน ยังมีเรื่องเช่นเดียว กันนี้อีกหลายกรณี
มือของเจ้าหน้าที่ของระบอบซาร์นั้นยาวมาก กลุ่มเองก็เผชิญหน้ากับอันตรายจากการแทรกซึมจากสายของตำรวจและพวกสายลับ เช่น คริสเตียน เฮาพ์ กรรมกรคนหนึ่งที่มีความ สัมพันธ์กับตำรวจเพื่อแทรกซึมเข้าไปในองค์กรจัดตั้งของพรรคสังคมประชาธิปไตยที่ลี้ภัยอยู่นอกประ
เทศ ถูกเปิดโปงโดยพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันว่าเป็นสายลับของตำรวจ เฮาพ์จึงถูกขับออกจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ที่แย่กว่าเรื่องใดๆคือความรู้สึกที่ว่าถูกโดดเดี่ยวจากการเมืองอย่างสิ้น
เชิง ที่ทำให้แย่ลงอีกก็คือการไม่ลงรอยกันในหมู่นักปฏิวัติที่ใช้ชีวิตแบบผู้ลี้ภัย
ชาวนารอดนิคพลัดถิ่นทั้งหลายรู้สึกเจ็บปวดต่อคำวิจารณ์ของเพลคานอฟ จึงเปิดทางให้แก่ความรู้สึกเจ็บปวดของพวกเขาด้วยการประท้วงพวกที่เรียกว่า
พวกนิยมบาคูนิน และเรียกร้องให้มีการขอโทษในที่สาธารณะ
ผู้ลี้ภัยส่วนข้างมากเป็นชาวนารอดนิคและเป็นปรปักษ์ที่ไม่ยอมประนีประนอมกับกลุ่มใหม่(กลุ่มปลดปล่อยแรงงาน
ของเพลคานอฟ) ที่พวกเขาพิจารณาว่าเป็นผู้ทรยศและสร้างความแตกแยก หนึ่งปีผ่านไปภรรยาของเพลคานอฟได้ระลึกถึงความหลังว่า ” ในขณะนั้นกลุ่มนารอดนายา โวลยา และ เอ็น. เค.
มิคคาอิลลอฟสกี
ได้ครอบงำจิตวิญญานของผู้พลัดถิ่นและเหล่านักศึกษารัสเซียในเจนีวา”
หลังจากการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่2 เป็นช่วงเวลาของความสิ้นหวังที่ปกคลุมไปทั่วทั้งรัสเซีย รัฐบาลของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เงียบเชียบราวกับป่าช้า
สังคมรัสเซียตกอยู่ในความมืดมนต่อความหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ต้องเผชิญกับความสิ้นหวังกับการปฏิรูปอย่างสันติและถือว่าเป็นความล้มเหลวของการเคลื่อนไหวปฏิวัติทั้งมวลอีกด้วย
ในบรรยากาศเช่นนี้เองที่ว่าทำ ไม โรซา ลุกเซ็มบวร์ก
จึงได้รำลึกถึงทศวรรษแห่งความเป็นปฏิกิริยาที่มีแต่ความว่างเปล่า อเล็กซานเดอร์ที่
3 กษัตริย์องค์ใหม่ เป็นคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่,แข็งแรงพอที่จะงอเกือกม้าในมือได้ แต่มีสติปัญญาเพียงน้อยนิด ผู้ปกครองรัสเซียตัวจริงก็คือ โปเบโดนอสท์เซฟ
ที่ปรึกษาของกษัตริย์องค์ก่อน
ตัวแทนของสภาคณะสงฆ์อันศักดิ์สิทธิ์..มีความเชื่อว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่เน่าเหม็นมีแต่ระบบการปกครองแบบบิดากับบุตรแบบรัสเซียเท่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม,สำนักข่าวจะต้องถูกสั่งปิด,โรงเรียนจะต้องถูกควบคุมโดยโบสถ์ ,และพระเจ้าซาร์จะต้องมีอำนาจสูงสุด
และพระในชนบทจะต้องรายงานเรื่องราวที่น่าสงสัยใดๆในทางการเมืองของพลเมืองที่อยู่ในเขตคามของตนแก่ตำรวจ.. และแม้แต่หัวข้อการเทศนาของตนก็ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ด้วย
ส่วนพวกที่มิใช่นิกายโอโธด๊อกซ์หรือมิใช่คริสเตียนจะต้องถูกควบคุมตรวจสอบอย่างเข้มงวด สานุศิษย์ของตอลสตอย จะถูกพิจารณาว่าเป็นอันตรายต่อโบสถ์และรัฐตัวตอลสตอยเองก็ถูกบัพชนียกรรม การประท้วงของนักศึกษาได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง
เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก หลายๆฝ่ายจำต้องล่าถอย..อุดมการณ์เสื่อมทรามลงและถูกละทิ้งไปด้วยความขลาดเขลา
ทิศทางของชาวนารอดนิคดั้งเดิมนั้นได้ถึงทางตันแล้วจากการตัดหนามถมทางตัว เองจากการก่อภัยร้าย “การปฏิวัติสุดกำลัง” ส่งผลให้เกิดการตีกลับ
180 องศาและในบั้นปลายก็จบลงในค่ายของพวกเสรีนิยมที่ไร้วัฒนธรรม..ด้วยการเสนอนโยบายที่ขลาดกลัวผ่านคำสั่งสอนของการ
”ทำทีละน้อย ทำอย่างสันติ”
ตามวัฒธรรมการศึกษาที่ไม่เป็นพิษภัยในสายตาของชนชั้นปกครอง มาตอฟ ได้เขียนวิจารณ์ความผุพังของลัทธินารอดนิคไว้ว่า..
”ความล้มเหลวของการปฏิวัติแบบ เสรีภาพของประชาชน ก็เช่นเดียวกันกับการล่มสลายของลัทธิประชานิยมทั้งมวล” ในปริมณฑลอันไพศาลปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตยกำลังขวัญเสียอย่างถึงที่สุด
และผิดหวังในการเมืองและภารกิจที่กล้าหาญของตนเอง วัฒนธรรมแบบ “เจียมเนื้อเจียมตัว” ในการรับใช้ของกลุ่มเสรีนิยม..ของชนชั้นผู้ครอบ ครองสมบัติ....เหล่านี้เป็นสัญญานภายใต้การมีส่วนร่วมของปัญญาชนที่ยังคงภักดีต่อกลุ่มประ
ชานิยมในยุคสมัยที่มืดมัวของทศวรรษที่ 1880
ในสิบปีแรกหรือการดำรงอยู....กลุ่มปลดปล่อยแรงงานถูกบีบให้ต้องต่อสู้อย่างเหน็ดเหนื่อยในสมรภูมิที่ทวนกระแส เพื่อหาหนทางไปสู่คนหนุ่มสาว,เพลคานอฟ
มีภาระในการแสวงหาผู้ร่วมงานที่ปฏิเสธหรือมีความคิดแบบกึ่งนารอดนิค หนึ่งในกลุ่มได้ตีพิมพ์จุลสารชื่อ
“สโวบอดนายา รอสสิยา” หรือรัส เซียเสรี การนำเสนอเบื้องต้นเพื่อจะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดถึงความเป็นไปได้ของ “การจัด ตั้งกรรมกรและชาวนาล้อมรอบการเคลื่อนไหว”
และถกเถียงกันต่อไปถึงเรื่องที่อาจจะทำให้ผู้ที่ชื่นชอบเสรีนิยมตกใจกลัวที่จะเข้าร่วมเล่นเกม
“คนตาบอด” ไล่จับคนตาดีแบบรัสเซีย
สถานภาพของผู้ลี้ภัยไม่แน่ว่าจะแย่ลงไปอีกหรือไม่
ความสิ้นหวังของกลุ่มได้แสดงออกโดยความไม่ลงรอยกันระหว่างเพลคานอฟและผู้ร่วมงาน แม้แต่กิจกรรมที่เกี่ยวกับเอกสารของกลุ่มก็เต็มไปด้วยอุปสรรค
กลุ่มปลดปล่อยแรงงานใช้ชีวิตกันภายใต้วิกฤตทางการเงินมาอย่างต่อเนื่อง
มีบ้างเพียงเล็กน้อยที่สามารถระดมเงินสดได้แต่ก็อยู่ในขอบเขตจำกัด บ่อยครั้ง..ที่ชีวิตของพวกเขาต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกกันว่า
”นางฟ้า” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในโลกมายาแบบอเมริกันหมายถึงผู้มีฐานะที่มีความเห็นอกเห็นใจได้จัดสรรเงินเพื่อใช้ในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำเอกสาร แม้ว่าบางคนจะไม่ใช่นักสังคมนิยม เช่น กูรเยฟ
ที่สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการออกหนังสือ โซเชียล เดโมแครต รายสามเดือน โดยปกติทั่วไป...สิ่งตีพิมพ์ของกลุ่มมักจะออกมาอย่างไม่ค่อยจะสม่ำเสมอ ในเวลานั้นภาระหน้าที่ดำเนินไปในสภาพที่ใกล้จะสิ้นหวัง ฤดูร้อนปี
1885 เพลคานอฟได้เขียนจดหมายถึง อัคเซลรอด
บอกถึงภาวะ ที่ย่ำแย่....”ในความเป็นจริง..เรากำลังยืนอยู่บนขอบนรกของหนี้สินต่างๆไม่รู้และไม่อาจคาดคิดได้ว่าเมื่อไหร่จะมีอะไรบางอย่างมาฉุดรั้งเรามิให้ตกลงไป..ทุกอย่างเลวร้ายเหลือเกิน “
ตลอดช่วงเวลาที่มืดมนของทศวรรษที่
1880 เพลคานอฟและครอบครัวมีชีวิตอยู่อย่างยากไร้
ในเวลานั้นเขาได้ให้บทเรียนเพื่อเตือนสติเป็นบทความเกี่ยวกับค่าจ้างที่น้อยนิดในรัสเซีย
ความเป็นอยู่ในห้อง พักที่ถูกที่สุดของคนขายเนื้อที่บริการอาหารพิเศษคือ
ซุป และเนื้อต้ม เนื่องจากอาหารที่เลวและความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ค่อยๆบ่อนเซาะสุขภาพของเขา มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาล้มป่วยลงด้วยโรคเยื่อหุ้มปอดอัก
เสบซึ่งมีผลต่อเขาไปตลอดชีวิต
การทำงานภายใต้ความยากลำบาก,ความทุกข์ทรมานและความกด ดันจากทุกทิศทาง….กลุ่มปลดปล่อยแรงงานยังดำรงอยู่ได้และยึดโยงกันด้วยความยึดมั่นในอุดมการณ์
การณ์.. .และแน่นอนยังเกิดจากความมีคุณธรรมและความรับผิดชอบทางการเมืองของเพลคานอฟเองด้วย
ภายในกลุ่ม..เพลคานอฟอยู่ในระดับสูงสุด
การที่ถูกโดดเดี่ยวอย่างถึงที่สุดทำให้สมาชิกของกลุ่มมีความสนิทสนมกันอย่างแน่นแฟ้น หล่อหลอมรวมกันด้วยความผูกพันทางการเมืองที่มั่นคงและลักษณะส่วนตัว ไม่ใช่เพราะสิ่งใดๆ..ที่ภายหลังพวกเขาได้ฉายานามว่า
“ครอบครัว” และเพลคานอฟเองก็คือหัวหน้าครอบครัวที่สมาชิกไม่อาจปฏิเสธได้ในด้านความรับรู้และสติปัญญาที่เปรียบเสมือนหอคอยที่มียอดสูงกว่ายอดอื่นๆ การดำรงอยู่ของพวกเขาในปีที่ยากลำบากต่างต้องเสียสละดิ้นรนต่อสู้ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันและกันอย่างถึงที่สุด
ในกรณีดังกล่าวมันเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อว่าปัญหาส่วนตัวและการ เมืองได้ผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียว
เพลคานอฟเป็นหอคอยที่แข็งแกร่งกว่าอันอื่นที่คอยปลุกปลอบ พวกเขาให้มีกำลังใจในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสงสัยและเรื่องปัญหาส่วนตัว
เรื่องที่น่าเศร้าของคนเช่น
อัคเซลรอด และซาซูลิค ได้แก่การเป็นคนที่มีสองบุคลิกภายใต้เงื่อนไขประ วัติศาสตร์ที่ต่างกัน..บุคคลเช่นนี้สามารถจะแสดงบทบาทสำคัญให้เป็นแบบอย่างได้ แต่หลายปีที่ต้องใช้ในชีวิตอย่างโดดเดี่ยวในการลี้ภัยได้ทำลายพัฒนาการทางสภาพจิตใจและความเป็นปัญญาชนไปเสียสิ้น การทำงานภายใต้ร่มเงาของเพลคานอฟ,
การเจริญเติบโตของพวกเขากลายเป็นเรื่องที่ไร้สาระไม่สามารถต่อยอดได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปพวกเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้,ไฟของการปฏิวัติได้มอดสลายไป เนื่องจากสภาพที่กลุ่มได้พยายามผลักดันงานมาตลอดเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษ
ผลพวงเล็กๆของการโฆษณาชวนเชื่อที่จำกัดอยู่ในวงแคบๆได้คืบคลานเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปัจจัยดังกล่าวไม่เคยมีความสำคัญทางด้านพื้นฐานในช่วงปีแรกๆ,ซึ่งเป็นเวลายาวนานและเชื่องช้าช่วงของการเตรียมพร้อมทางทฤษฎีและแวดวงโฆษณาเล็กๆ เฉพาะในภายหลังเมื่อการเคลื่อนไหวของนักลัทธิมาร์กซ์รัสเซียต้องเผชิญกับความจำเป็นที่จะต้องก้าวข้ามข้อจำกัดของขั้นตอนการโฆษณา ได้ทำให้คุณสมบัติที่โดดเด่นของกลุ่มปลดปล่อยแรงแรงงานปรากฎออกมา
ล่วงเลยไปถึงสองทศวรรษ..สมาชิกของกลุ่มปลดปล่อยแรงงานยังมีจำนวนเท่าเดิมและเป็นคนเดิมๆ
วี.เอ็น.อิกนาตอฟ ผู้ก่อตั้งเสียชีวิตเร็วเกินไปตั้งแต่เริ่มแรกแต่ได้ฝากรอยประทับเอาไว้ เลฟ ดอยท์ช
คือจิตวิญญาณคนสำคัญในด้านการทำงานขององค์กร
เป็นต้นว่าเป็นผู้จัดการพิมพ์และเผยแพร่เอกสาร พาเวล อัคเซลรอด ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านการโฆษณาเป็นที่ประทับใจของคนหนุ่มอย่างเลนินและทรอตสกี
ชื่อเสียงของเขานั้นเคียงคู่กับเพลคานอฟมาอย่างยาวนาน เวรา ซาซูลิค ที่มีความจริงใจ มีบุคลิกที่อบอุ่นแต่เป็นคนใจร้อน
ได้รับความเจ็บปวดอย่างลึกซึ้งจากบาดแผลของการลี้ภัย เธอรู้สึกหงุดหงิดในการปิดช่องว่างระหว่างกลุ่มปลดปล่อยแรงงานและนักปฏิวัติรุ่นใหม่ในรัสเซียและสนับสนุนอย่างจริงจังในนามของคนหนุ่มสาวเพื่อเอาชนะการต่อต้านของเพลคานอฟ และให้กำลังใจกับการริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ...แต่มักจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จกับกลุ่มคนหนุ่มที่ลี้ภัย
การทำงานอย่างอดทนของนักลัทธิมาร์กซในที่สุดก็ประสบกับความล้มเหลว
เหตุผลที่แท้จริงกับเสียงร้องคร่ำครวญของพวกนารอดนิคเกี่ยวกับ “ลัทธิพรรคพวก”..”ไอ้พวกแบ่งแยก”ส่งผลสะเทือนต่อแนวคิดของลัทธิมาร์กซและลุกลามไปถึงผู้ที่นิยมลัทธิมาร์กซด้วย
เป็นเรื่องยากที่จะประเมินถึงแรงกระทบที่มีต่องานหนังสือเช่น “ความแตกต่างของเรา”
ที่นักปฏิวัติรุ่นหนุ่มสาวในรัสเซียกระหายอยากจะได้เพื่อหาทางออกจากหนทางที่ตีบตันของลัทธินารอดนิคซึ่งขณะนั้นอยู่ในขั้นที่ต้องพิสูจน์ตัวเองในความเสื่อมถอยของมัน การเปลี่ยนข้างไปสู่ฝ่ายขวาของผู้นำนารอดนิคได้บรรลุถึงบทสุดท้ายแล้วด้วยการเปิด
เผยการทรยศของ ทิโคมิรอฟ
ที่เป็นเป้าในการโต้เถียงของเพลคานอฟ
ผู้ซึ่งในปี1888 ได้ตีพิมพ์หนัง สือเรื่อง “ทำไมข้าพ เจ้าจึงเลิกเป็นนักปฏิวัติ”
การพังทลายของขบวนการปฏิวัติที่เก่าแก่เช่นลัทธินารอดนิคได้ส่งผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งในขบวนหนุ่มสาวภายในรัสเซีย ได้เกิดการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่สนับสนุนแนวทางเสรีนิยมที่แสดงออก
ถึงธาตุแท้ของนักปฏิรูป
และเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับคนหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นบนเส้นทางของการปฏิวัติ ใกล้จะสิ้นปี 1887 เอส. เอ็น.กินสบวร์ก ได้กลับรัสเซียอย่างกระ ทันหัน เขียนจดหมายแสดงความห่วงใยต่อ
พี แอล. ลาฟรอฟ ว่าหนังสือ “ความแตกต่างทางการเมืองของเรา”
และ “ลัทธิสังคมนิยมและการต่อสู้ของเรา” นั้นทรงอิทธิพลและเข้มแข็งมาก ซึ่งถึงคราวที่พวกเราจะต้องทำความตกลงกันเกี่ยวกับความสำคัญของปัจเจกชน… ความสำคัญของปัญญาชนในการปฏิวัติได้ถูกทำลายลงโดยหนังสือทั้งสอง
โดยส่วนตัวแล้วผมได้เห็นผู้คนซึ่งถูกบดขยี้โดยทฤษฎีของเขา สิ่งสำคัญในน้ำ เสียงของเขาคือความกล้าหาญและเชื่อมั่นในความถูกต้อง ข้อคัดค้านทั้งมวลของเขาที่มีมาก่อน,ความถดถอยของคนรุ่นก่อนซึ่งเกือบจะกลายเป็นศูนย์ ทั้งหมดนี้มีอิทธิพลอย่างแน่นอน” จดหมายของ กินสบวร์ก
แสดงถึงความไม่รู้ว่า....นักลัทธิมาร์กซที่ถูกเนรเทศกลุ่มใหม่กำลังก่อตัวขึ้นภาย
ในประเทศ,ถกเถียงกันถึงความล้มเหลวที่ผ่านมา กำลังวางแผนในการแสวงหาทางเส้นใหม่ ซึ่งณที่นี้ความคิดของเพลคานอฟกำลังงอกงาม ปลายทศวรรษ 1890 กลุ่มฯเริ่มจะพอใจที่ได้ประจักษ์กับตาตนเองว่านักลัทธิมาร์กซรุ่นหนุ่มสาวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ชื่อของเพลคานอฟเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของหน่วยงานใต้ดินและสถานีตำรวจทุกแห่ง
No comments:
Post a Comment