บอลเชวิค.. เส้นทางสู่การปฏิวัติ
ภาคแรก ตอนที่ 1.กำเนิดลัทธิมาร์กซรัสเซีย
1...ความตายของมหาอำมาตย์
วันที่ 1 มีนาคม 1881
รถม้าพระที่นั่งของพระเจ้าซาร์ อเล๊กซานเดอร์ที่สอง กำลังวิ่งผ่านถนนเลียบคลอง คัธรินในกรุงเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ทันใดนั้นเด็กหนุ่มผู้หนึ่งได้ขว้างบางสิ่งคล้ายก้อนหิมะไปยังรถม้าพระที่นั่ง....เมื่อสิ้นเสียงระเบิดปรากฏว่าพลาดเป้า, พระเจ้าซาร์เสด็จลงจากรถโดยไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใดและทรงมีพระราชดำรัสกับทหารองครักษ์ชาวคอสแซคที่ได้รับบาดเจ็บบางคน ในขณะนั้นกรินเน
เวทสกี ผู้ก่อการคนที่สองก็วิ่งถลันเข้าไปพร้อมกับกล่าวว่า “ยังเร็วเกินไปที่จะกล่าวขอบคุณพระเจ้า”
พร้อมกับขว้างระเบิดลูกที่สองไปยังที่พระเจ้าซาร์ประทับอยู่….. อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมาองค์จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียก็เสด็จสวรรคต
ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ถูกจดจำกันได้เป็นอย่างดีในช่วงระยะประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติรัสเซีย
ในยุคที่เต็มไปด้วยการร่วมมือกันปฏิบัติการของคนหนุ่มสาวผู้กล้าหาญในรัฐซาร์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนั้น ถือได้ว่ามันเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของผู้ก่อ การที่เป็นสมาชิกองค์กรการเมืองที่มีชื่อว่า นารอดนายา โวลยา หรือ ”ความปรารถนาของประชาชน ” (People’s
Will) ในการทำลายยอดบนสุดของระบอบเอกาธิปไตยที่น่าขยะแขยงลงไป..ด้วยความตาย
ปรากฏการณ์ของชาวรัสเซีย กลุ่มนารอดนิก (พวกป๊อปปูลิสต์,คนของประชาชน) คือผลพวงแห่งความล้าหลังสุดกู่ของระบอบทุนนิยมรัสเซีย ความผุพังของสังคมศักดินารัสเซียนั้นดูเหมือนว่าจะรวดเร็วเสียยิ่งกว่าการก่อตัวของชนชั้นนายทุน ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้..ในส่วนของปัญญาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวได้แยกตัวออกจากนชั้นผู้ดี ข้าราชการและนักบวช เริ่มแสวงหาทางออกให้แก่สัง คมที่กำ ลังอยู่ในภาวะตีบตัน อย่างไรก็ตามเมื่อพวกเขามองไปรอบๆตัวเพื่อแสวงหาการหนุนช่วยจากภายในสังคม.. กลับไม่ได้รับความสนใจจากบรรดาชนชั้นนายทุนที่ เห็นแก่ตัว,ล้าหลังและด้อยพัฒนาเหล่านั้นเลยในขณะที่ขบวนของชนชั้นกรรมมาชีพเองก็ยังคงอยู่ในสภาพประหนึ่งทารกที่ไร้เดียงสา, ไร้การจัดตั้ง,ไม่สนใจการเมือง และยังมีจำนวนน้อยหากจะเปรียบกับชาวนาผู้สงบเสงี่ยม ผู้ถูกกดขี่ ย่ำยี จำนวนหลายล้านคนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมรัสเซีย
ดังนั้น..
จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า...ทำไมปัญญา ชนปฏิวัติรัสเซียจึงได้มุ่งเป้าไปยังชาวนาซึ่งเป็นประชาชนส่วนข้างมากในสังคม…ว่าน่าจะมีศักยภาพที่จะเป็นพลังหลักในการปฏิวัติสังคม การเคลื่อนไหวแนว
ทางนี้จึงเป็นจุดเปลี่ยนในระดับพื้นฐานทางประ วัติศาสตร์ของรัสเซีย ในปี 1861กฤษฎีกา”ปลดปล่อยไพร่ติดที่ดิน” (serf)
ก็ได้อุบัติขึ้นในปีนั้นเอง...
มันเป็นเพียงแค่รูปแบบวิธีการที่ทำไปตามข้อเสนอแนะของขุนนางฝ่ายปฏิรูปกลุ่มหนึ่งเท่านั้นซึ่งก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมากนัก เพียงต้องการแสดงให้(ผู้คน)เห็นว่ามันมาจาก
”พระเมตตา” ของพระเจ้าซาร์อเล๊กซานเดอร์ที่
2 เท่านั้น เรื่องนี้...มันเกิดขึ้นเพราะความกลัวต่อความไม่สงบที่จะประทุขึ้นในสังคม… หลังจากรัสเซียต้องเสียเกียรติภูมิจากการพ่ายแพ้ในสงครามไครเมียอย่างย่อยยับเมื่อปี
1853 -56,ซึ่งก็คล้ายกับการแพ้สงครามกับญี่ปุ่นในเวลาต่อมา ทำให้เกิดการต่อต้านระบบการปกครองพระเจ้าซาร์อย่างรุนแรง
การแพ้สงครามไม่ว่าครั้งก่อนหรือครั้งหลังเผยให้เห็นถึงภาวะล้มละลายของระบอบปกครองแบบอัตตา
ธิปไตยซึ่งเป็นแรงกระตุ้นอย่างรุน แรงต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แม้แต่พระราชกฤษฎีกาปลดปล่อย (ไพร่ติดที่ดิน) ก็ไม่สามารถคลี่คลายปัญหานี้ได้.. และในความเป็นจริงยิ่งทำให้สถานภาพของชาวนากลับย่ำแย่ลงไปอีก เพราะธรรมชาติของเจ้าที่ดินย่อมสงวนพื้นที่ๆดีที่สุดเอาไว้สำหรับตนเองเหลือแต่ผืนดินที่แห้งแล้งไว้ให้แก่ชาวนา ส่วนที่สำคัญเช่นแหล่งน้ำและโรงสี(สีลม)ส่วนมากมักจะอยู่ในมือของเจ้าที่ดินและชาวนาจะถูกบังคับให้ต้องจ่ายค่าผ่านทาง ที่แย่ยิ่งกว่านั้นชาวนาอิสระก็ถูกผูกมัดโดยกฎหมายว่าต้องเข้าร่วมใน
สหคาม (คอมมูนหรือมีร์/mir) ต้องรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมภาษีให้แก่ทางการอีกด้วย ไม่มีชาวนาคนใดจะออกจากมีร์ได้โดยไม่ได้รับอนุญาต อิสรภาพในการเคลื่อนไหวถูกจำกัดด้วยระบบใบผ่านทางโดยความหมายแล้วระบบการควบคุมคอมมูนถูกโอนการดูแลไปยัง
”ตำรวจบ้านที่เป็นกลไกในระดับต่ำสุดของระบบซาร์”
สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ..การปฏิรูปยังอนุญาตให้เจ้าที่ดินสามารถตัดแบ่งและจัดสรรที่ดินซึ่งก่อนหน้านี้เป็นผืนดินที่ชาวนาใช้เพาะปลูกได้ถึง
1 ใน 5 (ในบางกรณีได้ถึง 2 ใน 5) ซึ่งเจ้าที่ดินจะเลือกส่วนที่ดีที่ สุด,ที่สร้างผลประโยชน์ให้ตนมากที่สุด เช่นส่วนที่เป็นป่าไม้ ทุ่งหญ้า แหล่งน้ำ
แหล่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์และโรงสีเป็นต้น
ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานฐานเพื่อใช้ควบคุมชาวนาที่ถูก”ปลดปล่อย” ในแต่ละปีครอบครัวชาวนาส่วนใหญ่ต้องจมดิ่งไปสู่ความสิ้นหวัง ภาระหนี้สินที่ต้องชดใช้อย่างไม่มีวันหมดสิ้นและมีคุณภาพชีวิตที่เลวร้ายจากผลพวงของความฉ้อฉลนี้
การปลดปล่อยไพร่ติดที่ดินเป็นความพยายามในการนำไปสู่การปฏิรูปโดยผ่านลงมาจากส่วนบนเพื่อยับ
ยั้งการก่อจลาจลของชาวนา
ในระยะสิบปีสุดท้ายแห่งการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 1 ชาวนาก่อความไม่สงบถึง
400 ครั้ง และมีจำนวนเท่าๆกับอีก 6
ปีต่อมา(1855-60) ในช่วงระยะเวลา 20 ปี(1835
- 1854) เจ้าที่ดินและเจ้าพนักงานยึดทรัพย์ 230 คนถูกสังหารและไปจนถึงปี
1861ก็ถูกสังหารไปอีก 53 คน
พระราชกฤษฎีกาปลดปล่อยไพร่ติดที่ดินต้องเผชิญกับคลื่นแห่งความสับสนอลหม่าน,การลุกขึ้นสู้ และการกดขี่ที่ทารุณโหดร้ายยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ความหวังของนักคิดหัวก้าวหน้าที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูปต่างรู้สึกว่าถูกทรยศโดยผลพวงของกฤษฎีกา
”การปลดปล่อย” นี้มันได้กลายเป็นการหลอกลวงชิ้นมหึมาเลยที่เดียว
ชาวนาซึ่งเชื่อว่าที่ดินต้องเป็นของตนโดยชอบธรรมต่างก็ถูกหลอกลวงทั้งสิ้น
พวกเขายอมรับเพียงการจัดสรรที่ถูกกฎหมาย(ตามข้อตกลงกับเจ้าที่ดิน)และยอมรับค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนในระยะเวลา
49 ปีที่อัตราดอกเบี้ย 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
ผลก็คือเจ้าที่ดินยังถือครองที่ดินประมาณ 71,500,000
เดสยาติน(487 ล้านไร่) ส่วนชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมถือครองที่ดินเพียง 33,700,000(230 ล้านไร่)
เดสยาติน*เท่านั้น(เดสยาตินคือมาตราวัดของรัสเซียซึ่งใช้ในสมัยซาร์ 1 เดสยาติน เทียบเท่า 2.702 เอเคอร์ หรือ 10,900 ตารางเมตร หรือ 6.813 ไร่)
หลังจากปี 1861 เกษตรกรถูกปิดกั้นโดยการออกกฎหมาย”กลุ่มความยากจน”
ที่กดขี่
โดยวัดระดับความยากจนจากภาระหนี้สินเพื่อแก้ปัญหาการลุกขึ้นสู้ในชนบท
สำหรับชาวนาซึ่งตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์,ไม่ได้แสดงบทบาทอย่างเป็นตัวของตัวเองเลยในสังคม, หรือแสดงศักยภาพที่ยิ่ง ใหญ่ กล้าหาญ
และเสียสละในการเคลื่อนไหวปฏิวัติ
หรือมีความพยายามที่จะสลัดหลุดจากการปก ครองของเผด็จการ,
การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องมีผู้นำขบวนที่มีความเข้มแข็งและต้องมีความสามัคคีเป็นเนื้อเดียวกัน,และมีจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างเช่นกรรมกรในเมือง การขาดปัจจัยเหล่านี้ทำให้การลุกขึ้นสู้ของชาวนา
“จ๊าคเกอรี่”(jacqueries * “จ๊าคเกอรี่”หมายถึงกบฏในปลายยุคกลางของยุโรปโดยการลุกขึ้นสู้ของชาวนา เกิดขึ้นในตอนเหนือของฝรั่งเศสในฤดูร้อนปี
1358 และได้ถูกปราบลงภายในไม่กี่สัปดาห์ การลุกขึ้นสู้นี้ต่อมารู้จักกันในนาม“จ๊าคเกอรี่ " เพราะว่าชนชั้นผู้ดีเรียกชาวนาแบบเหยียดๆว่า
จ๊าค ที่หมายถึงรอยปุปะบนเสื้อผ้า ต่อมาคำว่า
จ๊าคเกอรี่ ได้กลายมาเป็นฉายานามทั่วไปของการลุกขึ้นสู้โดยชาวนาทั้งในฝรั่งเศสและอังกฤษ) ต้องประสบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยินจากการปราบปรามที่เหี้ยมโหด
โดยธรรมชาตินั้นชาวนามักอยู่กันอย่างกระจัดกระจายทำให้ขาดความสัมพันธ์กับสังคมอื่นๆและขาดจิต
สำนึกทางชนชั้น ในรัสเซียขณะนั้นระบอบทุนนิยมยังอยู่ในระหว่างการถือกำเนิดและยังไม่ปรากฏว่ามีชนชั้นปฏิวัติในเขตเมือง ที่แน่นอนก็คือ..มีแต่นักศึกษาและปัญญาชนที่ไม่มีตำแหน่งงานในราชการหรือ ”ปัญญาชนชนชั้นกรรมาชีพ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่พอใจซ่อนลึกอยู่ในในซอกหลืบของการดำรงชีวิตในสังคมรัสเซีย ปีต่อมาผู้ก่อการ
มีชกิน(Myshkin)
ได้ประ กาศในขณะที่ถูกดำเนินคดีในศาลว่า
“การเคลื่อนไหวของปัญญาชนไม่ใช่สิ่งจอมปลอม แต่เป็นเสียงสะท้อนของความวุ่นวายที่เกิดขึ้น” และก็เช่นเคย..บรรดาปัญญาชนก็ไม่สามารถแสดงบทบาททางสังคมได้มากไปกว่าชาวนา ไม่ว่าอย่างไรมันก็เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกและความตึงเครียดที่ได้พัฒนาขึ้นในสังคมแล้ว
ปี 1861
ที่เป็นปีแห่งการประกาศกฤษฎีกาปลดปล่อยอเล็กซานเดอร์ แฮร์ซเซ่น (Alexander Herzen) นักเขียนฝ่ายประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่ของรัสเซียได้เขียนบทความในนิตยสาร”โคโลคอล”(ระฆัง)ในขณะ
ลี้ภัยอยู่ในกรุงลอนดอน..เรียกร้องให้เยาวชนรัสเซีย
”ลงสู่ประชาชน” การจับกุม เชอร์นีเชฟกี* (ข้อเขียนของเขาได้รับอิทธิพลมาจากมาร์กซ
และเป็นคนที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่เลนินและมิตรสหายเป็นอย่างมาก)
และดิมิตรี ปิซาเรฟ นักหนังสือพิมพ์ผู้โด่งดังที่ได้เสนอความเป็นไปได้ของแนวทางปฏิรูปอย่างสันติแบบเสรีนิยมในปลายทศวรรษที่
1860 รากฐานมวลชนในการเคลื่อนไหวปฏิวัติของเยาวชนเสรีนิยมจึงได้ถือกำเนิดขึ้น
สถานการณ์น่าตระหนกที่เกิดขึ้นกับมวลชนในการปฏิรูปที่ผ่านมาได้สร้างความเดือดดาลโกรธแค้นให้
แก่ปัญญาชนชั้นแนวหน้าเป็นอย่างมาก
การจับกุมตัวแทนฝ่ายประชาธิปไตยอย่าง ปิซาเรฟ และ เชอร์นีเชฟสกี ไม่เพียงแต่จะสร้างความแปลกแยกขึ้นในหมู่ปัญญาชนเท่านั้น ยังผลักพวกให้เข้าไปใกล้ชิดกับกลุ่มฝ่ายซ้ายอีกด้วย ในขณะที่พวกเสรีนิยมรุ่นเก่าก็มีปฏิกิริยาต่อต้าน เยาวชนเสรีนิยมสายเลือดใหม่ได้ปรากฎตัวขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆด้วยแรงดลใจที่มีต่อรูปลักษณ์อันเป็นอมตะของ
บาซารอฟ ตัวเอกในนวนิยายของ ทูร์เกนีเยฟ
เรื่อง“พ่อและลูกชาย” ลักษณะเด่นของคนรุ่นใหม่นี้คือขาดความอด
ทนกับนักเสรีนิยมที่เชื่องช้างุ่มง่ามและปฏิบัติต่อคนพวกนี้อย่างหมิ่นแคลน พวกเขาศรัทธาในแนวคิดปฏิวัติที่สุดขั้วและการฟื้นฟูสังคมขึ้นใหม่ด้วยวิธีจากบนลงสู่ล่าง
หนึ่งปีของการประกาศปลดปล่อยโดยซาร์ ”กษัตริย์นักปฏิรูป”
ได้ดำเนินงานต่อไปโดยไม่สนใจกับปฏิกิริ ยาคัดค้าน นั่นเป็นการบีบให้ปัญญาชนตามมหาวิทยาลัยตกอยู่ภายใต้การระแวดระวังของพวกปฏิกิริยา เค้าท์ ดิมิตรี ตอลสตอย
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาเป็นผู้กำหนดและออกแบบการศึกษาที่ทำลายจิตวิญ ญาณของเสรีภาพและปิดกั้นจินตนาการและการสร้างสรรค์ลงอย่างสิ้นเชิง โรงเรียนต่างๆถูกบังคับให้สอนภาษาลาติน 47
ชั่วโมงและกรีก 36 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์โดยเน้นไวยากรณ์เป็นด้านหลัก วิทยา ศาสตร์ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ถูกกันออกนอกหลักสูตรกลายเป็นวิชาที่ถูกลบเลือนไป ใช้ระบบตรวจสอบปฏิบัติการที่เข้มงวดภายใต้การจับตาของผู้ตรวจการโรงเรียน ช่วงเวลาที่มืดมนของการปฏิรูปเป็นปีที่ต้องระแวดระวังและปรับตัวกับการจับตามองของตำรวจ การเคลื่อนไหวที่ปฏิกิริยาเพิ่มความเข้มข้นขึ้น.....หลังจากการลุกขึ้นสู้ของชาวโปลซึ่งเป็นการปฏิวัติที่นองเลือดล้มเหลวลงในปี
1863 ชาวโปลหลายพันคนสละชีวิตในสงคราม หลังการปราบปรามหลายร้อยคนถูกแขวนคอ ลำพังเฉพาะ เค๊าท์ มูราฟยอฟ
ผู้โหดเหี้ยมได้สั่งแขวนคอชาวโปลไปถึง 128 คน
หญิงชายจำนวน 9,423 คนถูกเนรเทศ(ไปไซบีเรีย)
จำนวนผู้ลี้ภัยในรัสเซียเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวของจำนวนผู้ถูกเนรเทศ
เปทร์ หรือ ปยอร์ท โครปอทกิ้น*(เจ้าชาย ปยอร์ท
อเล็กซีเยวิช โครพอทกิ้น (1842 –1921) (Пётр Алексе́евич
Кропо́ткин; นักสำรวจ นักเศรษฐศาสตร์ นักปรัชญา
นักเคลื่อนไหวทางการเมือง นักสัตว์วิทยา นักทฤษฎีด้านวิวัฒนาการ นักเขียน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักอนาธิปไตยที่โดดเด่น ชาวรัสเซีย)หนุ่มผู้ซึ่งในภายหน้าได้กลายเป็นนักทฤษฎีของลัทธิอนาธิปไตย เป็นพยานยืนยันที่ได้เห็นกับตาถึงความทุกข์ยากแสนสาหัสของชาวโปลผู้ถูกเนรเทศในไซบีเรียขณะที่เข้าประจำการในหน่วยทหารในหน่วยพิทักษ์จักรวรรดิ์ยศร้อยเอก เขาได้บันทึกไว้ว่า “...ผมพบพวกเขาบางคนในเมืองลีนายืนครึ่งเปลือยอยู่ในกระท่อมโกโรโกโส..รายล้อมไปด้วยหม้อต้มน้ำขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำเค็มไว้จนเต็ม,กำลังเคี่ยวน้ำเกลือด้วยพลั่วด้ามยาวภายใต้อุณหภูมิที่ร้อนปานนรก ในขณะที่ประตูกระท่อมเปิดอ้าออกเพื่อรับไอเย็นจากหิมะ หลังจากทำงานเช่นนั้นได้สองปีนักสู้เพื่ออุดมการณ์เหล่านี้คงต้องเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บอย่างไม่ต้องสงสัย” แต่ภายใต้พื้นผิวน้ำแข็งที่เย็นยะเยือกนี้...เมล็ดพันธุ์ของนักปฏิวัติรุ่นใหม่ได้ฟื้นคืนชีพและเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
กรณีของเจ้าชาย โครปอทกิน เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดว่า...ทำไมลมถึงพัดยอดไม้ก่อน เขาเกิดในครอบครัวขุนนางชั้นสูง,บิดาของเขา
เจ้าชาย อเล๊กไซ เปโตรวิช โครปอทกิ้นสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ รูริค ที่ครอง รัสเซียมาก่อนราชวงศ์
โรมานอฟ เป็นเจ้าที่ดินถึง 3 จังหวัด
มีไพร่ติดที่ดิน 1,200 คน
เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม (ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นโดยราชสำนักเป็นสถานที่ใช้อบรมบ่มเพาะบุตรหลานของชนชั้นสูงเท่านั้น) เช่นเดียวกับบรรดาเด็กชายที่สังกัดชนชั้นสูงร่วมสมัยกัน เขาได้รับอิทธิพลจากความทุกข์ทรมานที่แสนสลดหดหู่ของมวลชนผู้เข้าร่วมขับเคลื่อนการปฏิวัติ
โครปอทกิ้น,นักวิทยาศาสตร์ผู้หลักแหลมได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนในบันทึกความทรงจำของเขาเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในชั่วคนหนึ่ง เขาถามตัวเองว่า ”สิ่งเหล่านี้(การใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย )ทำให้ฉันมีความสุขมากขึ้นนักหรือ
ในเมื่อรอบๆตัวฉันนั้นไม่มีอะไรเลยนอกเสียจากความขมขื่นและการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเศษขนมปังที่สกปรก
เมื่อใดก็ตาม..ที่ฉันควรจ่ายเพื่อช่วยให้ฉันมีชีวิตอยู่ในโลกของอารมณ์ความรู้สึกที่เหนือกว่า มันรู้สึกคล้ายกับว่าจำต้องแย่งยื้ออาหารจากปากของคนปลูกข้าวสาลีที่ไม่มีแม้แต่ขนมปังพอจะเลี้ยงดูลูกๆของพวกเขา?”
ความโหดร้ายที่กระทำต่อชาวโปลนั้นได้เปิดหน้ากากอีกด้านหนึ่งของกษัตริย์
”ซาร์นักปฏิรูป” ชายผู้ที่โครปอทกิน ได้บรรยายถึงว่า
“เป็นผู้ลงนามในคำประกาศที่ปฏิกิริยาที่สุดด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่อง หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นความสลดหดหู่”
การคอร์รัปชั่นและความผุพังของระบบการปกครองแบบเอกาธิปไตย,ระบบราชการแบบขุนนางที่ล้าสมัย.....การแพร่สะพัดของลัทธิลี้ลับทางศาสนา ได้ซึมซ่านไปทั่วทั้งสังคม
และความคลุมเครือไม่โปร่งใสได้ปลุกเร้าให้สรรพกำลังที่มีชีวิตในสังคมก้าวไปสู่การปฏิวัติ จินตกวี เนกราซอฟ ได้จารไว้ในบทกวี
”ความขื่นขม” ของเขาว่า
“ขนมปังเหล่านั้น
ล้วนทำขึ้นจากมือของเหล่าทาส”
การประท้วงต่อต้านความเป็นทาสกระตุ้นให้เยาวชนปฏิวัติแสวงหาทางออก มันได้สะท้อนคำพูดที่ แฮร์ซเซ่น รอคอยมานานแล้วคือการ..”ลงสู่มวลชน”
(วี นารอด /V Narod) คำ พูดที่เปล่งออกมาของแฮร์ซเซ่นแสดงถึงความหาญกล้าและทุ่มเทเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจที่ไม่อาจลบเลือนไปได้..
“จงลงไปสู่ประชาชน...ที่นั่นคือพื้นที่ของเรา...
ประท้วง...พวกเธอจงลุกขึ้น มาในฐานะที่ไม่ใช่พวกอำมาตย์ศักดินา หากแต่เป็นทหารกล้าของประชาชนรัสเซีย”
No comments:
Post a Comment