ประวัติการต่อสู้ของชนชั้นกรรมกรไทย 1
หมายเหตุ: เรื่องประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทยนี้คัดมาจากจุลสารเรื่อง
”พัฒนาการของขบวนกรรม กรไทย”
ที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2523 เนื่องในวันกรรมกรสากล หรือที่ทางการไทยในยุคนั้นเรียกให้เพี้ยนไปว่า
“วันแรงงานแห่งชาติ” โดยคณะผู้ดำเนินงานมูลนิธิ
อารมณ์ พงศ์พงัน เราเห็นว่าบทบาทและจิตวิญญาณในการต่อสู้ที่เต็มไปด้วยความวีระอาจหาญของผู้ใช้แรงงานไทยรุ่นก่อนนั้น..น่าจะได้รับการสืบทอดและพัฒนาให้เข้มแข็ง
เพราะในเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้..พลังของชนชั้นกรรมกรไทยด้านหนึ่ง..ได้ถูกกัดกร่อนบ่อนเซาะทำลายและแยกสลายไปแทบจะหมดสิ้นโดยชนชั้นผู้กดขี่โดยผ่านผู้นำกรรมกรบางคนที่ยอมทรยศต่อพี่น้องของตนเองเพื่อประโยชน์ส่วนตน
จนขบวนกรรมกรไทยกลายเป็นซากร่างทียังมีลมหายใจในการสร้างกำไรและความสุขให้แก่ชนชั้นผู้กดขี่เท่านั้น
อีกด้านหนึ่งก็เนื่องมาจากสาเหตุต่างๆทั้งที่เป็นเงื่อนไขภายในของชนชั้นกรรมกรเองและปัจจัยแวดล้อมของสังคมทุนนิยมที่ได้แปรเปลี่ยนจิตสำนึกทางชนชั้นให้เสื่อมสลายไป ในขณะนี้จะมีกรรมกรสักกี่คนที่ยังคงระลึกถึงรากเหง้าประวัติการต่อสู้ของชนชั้นตน รู้ถึงการดิ้นรนต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น มีแต่จะถูกชักจูงจากผู้นำแรงงานขุนนาง นักไต่เต้า
และนักฉวยโอกาส ให้ละทิ้งอุดมการณ์ ความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้และจิตสำนึกที่ดีงามไปเสียสิ้น ดังนั้นเราจึงใคร่ขอนำประวัติการเคลื่อนไหวต่อสู้ของชนชั้นกรรม
กรไทยในอดีตมาเสนอ เพื่อให้กรรมกรไทยในปัจจุบันได้เรียนรู้เรื่องราวของอดีต
เรียนรู้ถึงจิตใจที่วีระอาจหาญของคนรุ่นก่อน......ว่าต้องต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคมาด้วยความเหนื่อยยากเพียงใด ทั้งเป็นการยกระดับจิตสำนึก
และเป็นพลังที่จะสร้างสรรค์และบุกเบิกหนทางไปสู่อนาคตที่รุ่งโรจน์ของชนชั้นตน
เกริ่น....กำเนิดและพัฒนาการของพลังกรรมกรไทย
พ.ศ.2365
จักรวรรดินิยมอังกฤษได้ส่งทูต เซอร์ จอห์น เบาริ่ง
เข้ามาเจรจาทำสัญญาค้าขายกับไทย
หลังจากนั้นอีก 10 ปี
จักรวรรดินิยมอเมริกาก็ได้ส่ง เอ็ดมัน โรเบิร์ตเข้ามาทำสัญญาค้าขายกับไทยบ้าง ผู้แทนของจักรวรรดินิยมทั้งสองชาติได้แสดงอำนาจและเอารัดเอาเปรียบไทยด้วยประการต่างๆ แต่ไทยก็มิได้ยินยอมตาม
แต่จักรวรรดินิยมอังกฤษก็ไม่ได้ลดละความพยายาม ได้ส่ง เซอร์ จอห์น เบาริ่ง เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเล่ห์เหลี่ยมและอำนาจอิทธิพลทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จได้มีการทำสัญญาแห่งความไม่เสมอภาคขึ้นระหว่างไทยกับอังกฤษเรียกว่า
“สัญญาเบาริ่ง” ลงนามกันในวันที่ 5 เมษายน 2398
สัญญาฉบับนี้ส่งผลให้ฐานะและสังคมไทยเปลี่ยนไป กล่าวคือ..ผลของสัญ ญานี้ ทำให้ศาลไทยไม่มีอำนาจในการพิพากษาคดีความของคนในบังคับอังกฤษ(British
Subjects)ที่กระทำความผิดในดินแดนไทย คนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษที่ทำผิดในประเทศไทยจะต้องให้ศาลกงสุลอังกฤษพิจารณาพิพากษา ไทยจะกำหนดอัตราภาษีเองไม่ได้ และจะต้องเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 ไทยต้องยกเลิกพระคลังสินค้าซึ่งเป็นสำนักงานดำเนินการค้าขายกับต่างประเทศ การทำสัญญาฉบับนี้ไทยจำต้องยอมเพราะจักรวรรดิ์นิยมอังกฤษนำเรือปืน
4 ลำเข้ามาบีบบังคับ
หลังจากเพรี่ยงพล้ำต่ออังกฤษแล้ว
ไทยก็ถูกรุมกินโต๊ะจากประเทศจักรวรรดินิยมอื่นๆเช่น สหรัฐอเมริกา ในพ.ศ. 2399
ฝรั่งเศส พ.ศ.2400 เด็นมาร์ก
พ.ศ.2402 โปรตุเกส 2403 และฮอลันดาเมื่อ
2404 ฯลฯสนธิสัญญาดังกล่าวล้วนแล้วแต่ดำเนินรอยตามสัญญาเบาริ่ง ประเทศไทยได้กลายไปเป็นตลาดรับสิน
ค้าที่ประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้นระบายเข้ามา
พร้อมกันนี้ก็เป็นแหล่งวัตถุดิบราคาถูกส่งไปป้อนอุต -สาหกรรมในประเทศของตน ในขณะเดียวกันก็มีการลงทุนในประเทศไทยด้วยการมาตั้งโรงสี โรง เลื่อย
และโรงงานอื่นๆอีกหลายสาขา สังคมไทยแต่เดิมเป็นสังคมเกษตรกรรมต้องเปิดทางให้แก่
วิสาหกิจอุตสาหกรรมไปด้วย
กำลังแรงงานในภาคเกษตรกรรมที่ล้าหลังได้จึงเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่วงจรอุตสาหกรรมของระบอบทุนนิยมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
เมื่อมีโรงงานก็ย่อมมีกรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์แรงงานไทยกรรมกรสมัยใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นในราวๆพ.ศ.2401 เป็นกรรมกรโรงสีที่ตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทยโดยนายทุนชาวอเมริกัน ด้วยสาเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า...การถือกำเนิดของชนชั้นกรรมกรไทยและประวัติของชนชั้นนี้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการคุกคามของประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก
จำนวนกรรมกรโรงสีรุ่นแรกจึงถือได้ว่าเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2401 มีจำนวนเพียงเล็กน้อย จนอีกประมาณ 31 ปีต่อมาในพ.ศ. 2402 จำนวนกรรมกรโรงสีจึงทวีขึ้นกว่าพันคน ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมโรงสีมีวัตถุดิบคือข้าวที่ส่งเป็นจำนวนมากบรรดานายทุนจึงลงทุนด้านโรงสีมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ
กิจการค้าข้าวจึงเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างความร่ำรวยให้แก่นายทุน
พ่อค้าข้าว เป็นจำนวนมหาศาล
เฉพาะในช่วงเวลาดังกล่าวนี้..เฉพาะในกรุงเทพมีจำนวนโรงสีถึง 23 โรง
ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพอจะลำดับการถือกำเนิดของชนชั้นกรรมกรไทยได้ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2401
เริ่มมีอุตสาหกรรมโรงสีข้าว
กรรมกรโรงสีได้ถือกำเนิดขึ้น
พ.ศ. 2415
กรรมกรโรงพิมพ์
พ.ศ. 2427 กรรมกรเหมืองแร่
พ.ศ. 2430 มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมไฟฟ้า
เกิดกรรมกรไฟฟ้าและรถราง
พ.ศ. 2431
กรรมกรป่าไม้
พ.ศ. 2433
เกิดการรถไฟไทย มีทางรถไฟยาว 264 กม. เกิดกรรมกรรถไฟ
ในช่วงที่กล่าวมานี้กรรมกรในแต่ละกิจการมีไม่มากนัก
อยู่กันกระจัดกระจายจึงตกอยู่ในภาวะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก ในระยะต่อมาเริ่มมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กรรมกรจึงมีจำนวนมากขึ้นเช่น
พ.ศ. 2456
เกิดกรรมกรโรงงานปูนซีเมนต์
พ.ศ. 2462
เกิดกรรมกรโรงงานยาสูบ
พ.ศ. 2463
เกิดกรรมกรสวนยาง
พ.ศ. 2469
เกิดกรรมกรโรงงานไม้ขีดไฟ
พ.ศ. 2472
เกิดกรรมกรโรงกลั่นสุรา
พ.ศ. 2476
เกิดกรรมกรโรงงานทอผ้า
พ.ศ. 2480
เกิดกรรมกรโรงงานน้ำตาล
พ.ศ. 2493
เกิดกรรมกรโรงงานปั่นด้าย
โรงงานที่เกิดขึ้นช่วงแรกมีไม่มากนักและตั้งอยู่กระจัดกระจาย
ชนชั้นกรรมกรก็ยังมีจำนวนไม่มากนักจึงไม่สามารถรวมตัวกันให้เป็นปึกแผ่นได้ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อชนชั้นกรรมกรเลย
ในระยะต่อมาเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศจะเพิ่มมากขึ้น แต่อัตราส่วนแรงแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมก็เพิ่มสูงขึ้นจำนวนโรงงานในภาคอุตสาห-
กรรมเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว จำนวนโรงงานจาก
16,007 โรงในปีพ.ศ. 2503 เพิ่มขึ้นเป็น
44,258 โรงในปีพ.ศ.2511
ซึ่งทางรัฐบาลได้พยายามเร่งส่งเสริมการลงทุนมากขึ้นเท่าใดจำนวนโรงงานก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนกรรมกรซึ่งเปรียบเสมือนเงาตามตัว ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจของชาติอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อพิจารณาถึงการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกรรมกรในช่วง
20 ปืที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ในปี 2503มีผู้อยู่ในวัยทำงาน 17,310,993 คน เป็นผู้มีงานทำ 13,836,795 คน เป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม
11,334,383คน อยู่ในภาคอุตสาห - กรรม 16,32,248 คน
ปี 2520 ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานมีจำนวน 16,180,200 คนเป็นผู้มีงานทำ 15,967,700
คน เป็นแรงงานที่เป็นลูกจ้างของรัฐและเอกชนจำนวน
4,283,800 คน
จากตัวเลขที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้กำลังของชนชั้นกรรมกรขยายตัวในอัตราที่สูง และจะมีบทบาทสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของพลังการผลิตเป็นอย่างมาก เมื่อพลังของกรรม
กรก่อรูปขึ้นท่ามกลางการขยายตัวของเศรษฐกิจแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต่อการทำความ เข้าใจถึงประ
สบการณ์และบทบาทที่ผ่านมาของชนชั้นกรรมกรไทย
2. ช่วงก่อน พ.ศ. 2488
แม้ว่ากรรมกรไทยได้ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.
2401 แล้วก็ตาม
แต่ปรากฏว่ามวลกรรมกรหาได้รับความคุ้มครองหรือได้รับการดูแลจากรัฐแต่อย่างใดไม่ รัฐไม่ได้ออกกฎหมายรับรู้หรือรับรองสิทธิ์หรือให้ความคุ้มครองใดๆต่อกรรมกรเลย เพียงแต่พยายามเข้ามามีบทบาทในการควบคุมการเกณฑ์แรงงานเท่านั้น ดังนั้นในปลายปี พ.ศ. 2440
กรรมกรรถรางได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมแรงงานขึ้นโดยมีสมาชิกราวๆ 300 คน มีวัตถุประสงค์ที่สมาคมแถลงต่อรัฐบาลคือ ส่งเสริมการประหยัก สงเคราะห์ผู้ชราและคนพิการ ส่งเสริมความสามัคคี ฯลฯ รัฐบาลจึงไม่อาจปฏิเสธการจดทะเบียนสมาคมฯนี้ได้ และพยายามดัดแปลงให้สมาคม
จำกัดขอบเขตและบทบาทให้อยู่แต่เพียงด้านสังคมสงเคราะห์เท่านั้น แต่ไม่สำเร็จ
เพราะกรรมกรรถรางเคยมีปัญหากับฝ่ายเจ้าของคือบริษัทไฟฟ้าสยามมาก่อนหน้านี้ เมื่อกรรมกรก่อตั้งสมาคมขึ้นมา ทางบริษัทไม่ยอมรับคณะกรรมการของสมาคมในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในที่ สุดรัฐบาลต้องเข้ามาจัดการประนีประนอม
และจากนั้นมาสมาคมกรรมกรรถรางก็ได้มีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
ปี 2444
ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับคนงานฉบับแรกของประเทศไทยคือ “ข้อบังคับของกรมตำรวจ”
เกี่ยวกับการควบคุมคนใช้ที่ทำงานอยู่ในบ้านของชาวต่างชาติ แต่กฎหมายฉบับนี้ก็มิได้ให้ความคุ้มครองคนของตนแต่อย่างใด
ตรงกันข้ามกลับมีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมลูกจ้างมากกว่าดูแล และเพื่อคุ้ม
ครองหรือเป็นประโยชน์ต่อชาวต่างชาติผู้เป็นนายจ้างโดยตรง ต่อจากข้อบังคับของกรมตำรวจแล้วก็มีประกาสให้มีการ“จดทะเบียนรถลาก”
ประกาศนี้ก็มีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองความปลอดภัยของผู้โดยสาร
หลังสงครามโลกครั้งที่
1 ไทยเข้าเป็นสมาชิดขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ไอ.แอล.โอ) ในพ.ศ. 2462
ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เริ่มต้นขององค์กร และได้เข้าร่วมประชุมครั้งแรกที่กรุงวอชิงตัน
ประเทศสหรัฐอเมริกา
และถูกสันนิบาติชาติถามเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานตัวแทนรัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ตอบไปว่า
ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม อุตสาหกรรมยังมีน้อย
ปัญหากรรมกรยังไม่มีและยังไม่มีความจำเป็นที่จะมีกฎหมายกรรมกร ดังนั้นกรรมกรไทยจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2470
รัฐได้มีการตั้งกรรมการขึ้นมาพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและคุ้มครองคนงาน
ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรให้มีกฎหมายดังกล่าวแต่ก็หาได้มีการร่างหรือประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวไม่
ดังนั้นเมื่อสำรวจสภาพการใช้แรงงานของกรรมกรไทยในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่
2 จะเห็นถึงการ เอารัดเอาเปรียบกรรมกรว่ามีระดับความรุนแรงมากเพียงใด โดยดูจากค่าจ้างแรงงาน ชั่วโมงการทำ งาน และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดากรรมกร ประการสำคัญที่สุดก็คือภาพสะท้อนจากการต่อสู้ของกรรมกรเอง ก็น่าจะชี้ให้เห็นได้ว่ากรรมกรไทยในยุคนั้นมีลักษณะและสภาพความเป็นอยู่อย่างไร พ.ศ. 2476-2482
กรรมกรกุลีได้รับค่าแรงเฉลี่ยวันละ 75-80 สตางค์สำหรับผู้ชายและ 60
สตางค์สำหรับผู้หญิง
โดยใช้เวลาทำงานวันละ 9-10 ชั่วโมง
สำหรับช่างฝีมือนั้นจะได้รับสูงสุดไม่เกินวันละ
2 .47 สตางค์
ในขณะที่คนเฝ้ายามได้รับค่าจ้างเดือนละ 25.26 บาท หัวหน้าคนงานได้ รับเดือนละ 71 บาท สำหรับคนงานไร้ฝีมือนอกเขตเมืองหลวงจะลดลง กรรมกรชายได้วันละ 65 สตางค์ กรรมกรหญิงได้วันละ 50 สตางค์เท่ากับแรงงานของกรรมกรรถไฟ
เฉลี่ยแล้วประมาณว่ากรรมกรไร้ฝีมือชายจะได้รับค่าจ้างวันละ
21 บาท ส่วนกรรมกรหญิงได้เดือนละ 16.50 บาท
ในขณะที่รัฐสภายุคแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำของข้า
ราชการไว้ที่ 30 บาทต่อเดือน ความแตกต่างในรายได้ขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตนำไปสู่การเรียกร้องของกรรมกรรถไฟให้เพิ่มค่าแรงจากวันละ
50 สตางค์ไปเป็น 1 บาทต่อวัน แต่รัฐบาลปฏิเสธโดยอ้างว่าเพื่อต้องการให้กรรมกรรู้จักประหยัด
และอ้างว่าถ้าเพิ่มค่าแรงให้กรรมกรไทยก็จะเอาไปเล่นการพนันหมดทั้งยังข่มขู่กรรมกรอีกด้วยว่า
รัฐสามารถหาแรงงานได้มากมายหรือไม่ก็ใช้เครื่องจักรแทน
สำหรับชั่วโมงการทำงานนั้น ในปี
พ.ศ.2479-2481กรรมกรกรุงเทพต้องทำงานเฉลี่ยอาทิตย์ละ 50 ชั่ว เมือโมงและเพิ่มเป็น 54 ชั่วโมงในปี
2482 ระยะการทำงานไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนขึ้นอยู่กับนายจ้างเป็นส่วนใหญ่
ในด้านที่พักอาศัยก็ไม่ได้รับการเหลียวแลไม่ว่าจากรัฐหรือนายจ้าง กรรมกรส่วนมากจึงเช่าห้องแถวอยู่ ที่พักฟรีเท่าที่มีคือโรงยาฝิ่นนั่นหมายความว่าเขาต้องเป็นผู้ติดฝิ่นด้วยจึงจะไปใช้สถานที่ได้เมื่อห้องแถวที่กรรมกรอาศัยเกิดความแออัดและแปรสภาพไปเป็นสลัมที่ไม่น่าดูในสายตาของรัฐแล้ว การแก้ไขสภาพดังกล่าวก็คือเกิดเพลิงไหม้ไล่ที่ และการสร้างอาคารขึ้นใหม่เพื่อผลประโยชน์ในกิจการอื่นๆของเจ้าของต่อไป
พ.ศ. 2472
เมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ก็ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคน งานรวมอยู่ด้วย ในบรรพที่ 3 ลักษณะ 6 อันว่าด้วย
“การจ้างแรงงาน” เกี่ยวกับการจ่ายสินจ้าง หลัก เกณฑ์วิธีการเลิกจ้างแรงงาน
ซึ่งบทบัญญัตินี้มีส่วยในการคุ้มครองลูกจ้างอยู่บ้าง แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า บทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้
มิใช่กฎหมายที่ออกมาคุ้มครองแรงงานโดยรงแต่เป็นเรื่องที่ว่าด้วยการจ้างแรงงานโดยทั่วไปซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่จนทุกวันนี้
ส่วนสิทธิในการรวมตัวกันของกรรมกรไม่มีกฎหมายโดยตรง
หากกรรมกรมีความประสงค์ในการรวมตัวกันก็ทำได้เพียงการตั้ง”สมาคม”เท่านั้น ซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับสมาคมทั่วๆไป และตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งฯ ลักษณะ 3
เรื่องสมาคมนี้ ในการรวมตัวกันเป็นสมาคมดังกล่าวย่อมไม่เหมาะสำหรับกรรมกร โดยเฉพาะในการยื่นคำขอและต้องได้รับอนุญาตจากทางการเสียก่อนจึงจะก่อตั้งได้ การยื่นขออนุญาตนั้นก็มีความยุ่งยากมาก ในทางปฏิบัติ..การให้อนุญาตขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางการเมืองหรือนโยบายของฝ่ายปกครองในเวลานั้น ทำให้กรรมกรต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ นักการเมืองไม่เป็นตัวของตัวเอง
นอกจากกฎหมายแพ่งฯที่กล่าวมาแล้ว
ในการจัดการกับกรรมกรรัฐยังใช้กฎหมายลักษณะอาญามาใช้บังคับอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติที่ห้ามกรรมกรนัดหยุดงาน ฝ่ายปกครองมักจะใช้กฎ
หมายว่าด้วย”กบฏ” เข้ามาจัดการกับกรรมกรคือบทบัญญัติในมาตรา 104 (2) (ประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไข) ที่ว่า..”ผู้ใดยุยง เสี้ยมสอน หรือแนะนำให้เกิดการนัดหยุดงานเพื่อความประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือประเพณีของบ้านเมือง หรือจะบังคับรัฐบาลหรือจะข่มขู่ประชาชน ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า
7 ปี และให้ปรับไม่เกินกว่าสองพันบาทอีกด้วยโสดหนึ่ง
ผู้ใดทราบความประสงค์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้ และเข้ามีส่วนด้วยในการนัดหยุดงาน...ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินกว่า
5 ปี และปรับไม่เกิดนกว่า หนึ่งพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง
(3)
ผู้ใดบังคับหรือพยายามบังคับด้วยทำให้เกิดความกลัว หรือขู่ว่าจะทำร้าย
หรือใช้กำลังทำร้ายด้วยประการใดๆให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใดเข้ามีส่วนในการนัดหยุดงาน ผู้นั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7
ปีและให้ปรับไม่เกินสองพันบาทด้วยอีกโสดหนึ่ง”
ตามบทบัญญัตินี้
ดร.หยุด แสงอุทัย
นักกฎหมายได้อธิบายว่า
ที่จะเป็นความผิดตามมาตรานี้ต้องเป็นการนัดหยุดงานเพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือกฎหมายบ้านเมืองเท่านั้น ถ้ามีเจตนาให้ขึ้นค่าจ้าง
หรือลดค่าจ้างก็ไม่ผิดตามอนุมาตรานี้
ในปีพ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศ้กฎหมายที่เกี่ยวกับแรงงานรวม 2 ฉบับคือ พรบ.สำนักงานจัดหางาน และพรบ.จัดหางานประจำท้องถิ่น สาเหตุที่ทีการตรากฎหมายทั้ง 2
ฉบับนี้ขึ้นก็เพื่อจัดหางานให้แก่ประชาชน
ซึ่งในระยะเวลานั้นเกิดปัญหาการว่างงานขึ้นเป็นจำนวนมากสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจตกต่ำ
ในปีพ.ศ.2479
รัฐได้ออก”กฎหมายการสอบวนภาวะกรรมกร”
เพื่อสอบสวนและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของกรรมกรเพื่อนำมาวางนโยบายและตรากฎหมายแรงงาน ระหว่างพ.ศ.2480-2484ได้มีการเคลื่อนไหวในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐบาลที่จะออกกฎหมายฉบับนี้หลายครั้ง ปี 2482
ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแรงงานเข้าสู่สภาฯซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้กำหนดชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง
การคุ้มครองดูแลคนงานหญิงและเด็ก การจ่ายเงินค่าทดแทนในกรณีประสบอุ บัติเหตุในขณะทำงาน
แต่ปรากฏว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องตกไปโดยสภาไม่รับหลักการ พ.ศ.2484
ได้มีการเสนอกฎหมายทำนองเดียวกันนี้เข้าสภาฯอีก
แต่ก็ตกไปโดยปริยายเพราะสภาฯถูกยุบไปในปี 2485
อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายโรงงานในปี 2482 วางข้อกำหนดเกี่ยวกับการตั้งโรงงาน ละความปลอดภัยในโรงงาน
(กฎหมายได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง
ครั้งสุดท้ายประกาศ ใช้พรบ.โรงงานพ.ศ.2512)
การตื่นตัวของชนชั้นกรรมกรไทยในการเรียกร้องให้มีกฎหมายแรงงานที่ครอบคลุมถึงเรื่องที่จำเป็นต่างๆเช่น
การปรับปรุงสวัสดิภาพลารทำงาน โดยเฉพาะสิทธิ์ในการก่อตั้งสหภาพแรงงานได้แพร่กระจายไปในหมู่กรรมกร
การนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมในปัญหาค่าจ้าง สวัสดิการได้เพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475
เป็นต้นมากล่าวคือ
เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2440 มีการนัดหยุดงานของกรรมกรรถลาก
กรรมกรรถราง หลังจากก่อตั้งเป็นสมาคมแล้ว
เป็นการเรียกร้องเพื่อให้นายจ้างลดค่าเช่าลงจากวันละ 40 สตางค์ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก
การต่อสู้ครั้งนี้กรรมกรต้องตกเป็นฝ่ายแพ้ด้วยการยอมประนีประนอมตามข้อเสนอของนายทุนเนื่องจากไม่อาจต่อสู้กับความหิวได้ ในปี 2475
การนัดหยุดงานของกรรมกรหญิงโรงงานย้อมผ้าสามารถเอาชนะการตัดค่าแรงจากวันละ 40
สตางค์เป็น 30 สตางค์ได้
และการนัดหยุดงานของกรรมกรรถลากในกรุงเทพฯ 6,000
คน เมื่อ 4 สิงหาคม 2475 เป็นเวลา 5 วันเพื่อขอลดค่าเช่าจากวันละ
75 สตางค์เป็น 60 สตางค์ ได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม
จากนั้นการนัดหยุดงานได้กระจายไปตามต่างจังหวัด ในปี 2478
พนักงานขับรถโดยสารสายเชียงราย-ลำปางได้รับค่าแรงเพิ่มขึ้นภายหลังการนัดหยุดงาน
ปี
2477 กรรมกรขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพฯประท้วงให้เพิ่มค่าแรงและกฎจราจร
เดือนสิงหาคม
2479กรรมกรเหมืองแร่ที่ยะลากว่า 200 คน นัดหยุดงานประท้วงการตัดค่าแรงที่ลดลงไป 10
เปอร์เซ็นต์
การประท้วงดังที่กล่าวมานี้มีลักษณะที่โดดเดี่ยว ไม่มีความเป็นเอกภาพ
การประท้วงครั้งสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะเดิมได้แก่การประท้วงของกรรมกรโรงสีเมื่อต้นปี
2477 ซึ่งเคยหยุดงานประท้วงมาก่อนหน้านี้ แต่ครั้งนี้เป็นการประท้วงที่มีขนาดใหญ่โดยมีการร่วมมือจากกรรมกรอื่นๆด้วย กรรมกรโรงสีประท้วงการงดจ่ายเงินพิเศษในวันตรุษจีน(แต๊ะเอีย)ซึ่งเคยมีการปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ ทางโรงสีข้าวอ้างว่าปีนี้ราคาข้าวตกต่ำ จึงไม่อาจจ่ายเงินให้ได้ตามปกติ แต่กรรมกรอ้างว่าไม่เป็นความจริง
จากนั้นกรรมกรโรงสีได้มีการติดต่อกับสมาคมกรรมกรรถรางซึ่งเป็นสมาคมที่จดทะ เบียนถูกต้องตามกฎหมายให้เป็นตัวแทนในการเจรจาข้อพิพาท พร้อมกันนั้นได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลเข้ามาทำการไกล่เกลี่ย และให้รัฐบาลยึดโรงสีเสียเลยหากจำเป็น จากนั้นกลุ่มกรรมกรได้แถลงต่อประประชาชนว่าการประท้วงครั้งนี้เป็นการต่อสู้เพื่อสวัสดิการลุความอยู่รอดของชาวสยามทั้งมวล
ในที่สุดรัฐบาลก็เข้ามาประนีประนอมหลังจากที่นายจ้างได้ใช้มาตรการขั้นรุนแรงทำร้ายกรรมกร ทุนส่วนหนึ่งที่ใช้ในการประท้วงมาจากการขายรูปถ่ายของพระยาพหลฯและหลวงประดิษฐ์ฯ
ก่อนที่การประท้วงของกรรมกรโรงสีจะยุติลง ทางด้านกรรมกรรถไฟก็ได้มีการหยุดงานประท้วงอีกเช่นกัน
กรรมกรได้เข้ายึดขบวนรถและที่ทำงานในกรุงเทพฯพร้อมกับแถลงต่อประชาชนว่า
ผู้บริหารการรถไฟไม่มีความยุติธรรมและขอให้รัฐบาลเปลี่ยนผู้บริหารเสียใหม่ การประท้วงยุติลงได้เมื่อนายก รัฐมนตรีขึ้นมากล่าวยอมรับข้อเสนอดังกล่าว หลังจากนั้นรัฐบาลได้ตั่งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาแรงงานซึ่งก็จำกัดอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯเสียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในต่างจังหวัดก็ทวีมากขึ้นเช่นเดียวกัน เช่นในปี 2484
มีกรรมกรสามล้อนัดหยุดงานเพื่อยื่นคำร้องต่อข้าหลวงประจำจังหวัดให้ตำรวจเพลามือในการจับกุมในกรณีความผิดเล็กๆน้อยๆ ข้าหลวงไม่ยอมทำตาม กรรมกรสามล้อจึงนัดหยุดงาน จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและยื่นฟ้องศาล เมื่อคดีถึงศาลฎีกาและถูกยกฟ้องในที่สุด ต่อิประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าในทางปฏิบัติ
ฝ่ายปกครองมักจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อย่างกว้างขวางเข้าจัดการกับกรรมกรที่นัดหยุดงานในข้อหากบฎ
สรุป....จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกรรมกรไทยในช่วงที่ผ่านมาก่อนพ.ศ.
2488 นั้นกล่าวได้ว่าเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีองค์กรจัดตั้งของกรรมกร การเคลื่อนไหวต่อสู้จึงเป็นไปเองตามธรรมชาติ
เป็นการต่อสู้ที่โดดเดี่ยว เพื่อเรียกร้องค่าจ้างและความเป็นธรรม
ยังไม่ค่อยจะมีสีสันและการแทรกแซงทางการเมือง
แต่ก็เริ่มมีการพัฒนาในลักษณะที่หนุนเสริมกันอยู่บ้างในบางกรณีที่การอาศัยอำนาจรัฐเข้ามาไกล่เกลี่ย
เมื่อเวลาผ่านไปกรรมกรเริ่มมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น
จนกระทั่งมีการรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพโดยเริ่มมีการจัดตั้งองค์กรของตนขึ้น
No comments:
Post a Comment