3/1
. ช่วง พ.ศ. 2488 – 2501
ยุคนี้เป็นยุคหนึ่งที่กรรมกรมีความตื่นตัวสูง ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมและสหภาพแรงงานกันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับมีความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจหลังสง
ครามโลกครั้งที่ 2
ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ
ของแพง ซึ่งมีส่วนในการเคลื่อนไหวของกรรมกรโดยตรง ประมาณการกันว่าระหว่างปีพ.ศ.2488 – 89
มีการนัดหยุดงานกันถึง 173 ครั้ง
แต่ละครั้งมีลักษณะการต่อสู้ร่วมกันระหว่างกรรมกรไทยกับกรรมกรจีนเช่น
วันที่16
พฤศจิกายน 2488 มีการหยุดงานของกุลีจีนลูกจ้างบริษัทข้าวไทยซึ่งเป็นของรัฐบาล มีกรรมกรเข้าร่วม 2,000 คนเพื่อเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้น
ทางบริษัทฯใช้นโยบายปราบปรามและส่งคนเข้าบ่อนทำลาย แต่ปรากฏว่าพวกที่เข้ามานี้กลับเห็นใจกรรมกรจึงร่วมต่อสู้กับกรรมกรจีนในวันรุ่งขึ้น จากนั้นกรรมกรโรงสีจีนและลูกจ้างรัฐบาลก็ทำการสไต๊รค์สนับสนุนมีผู้เข้าร่วมถึง
4,000คน
เมื่อถึงวันที่ 28 พฤศจิกายนได้มีการตกลงกันนระหว่าง กรรมกร นายทุน รัฐบาล
กรรมกรประสบความสำเร็จในการต่อสู้และได้ค่าแรงเพิ่ม มีสิทธิ์ได้เงินล่วงเวลาสำหรับการทำงานวันอาทิตย์และเลิกงานตอนเที่ยงคืน
เดือนกุมภาพันธ์
2489 กรรมกรแบกหามในโรงไม้ก่อการสไต๊รค์
และในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันกรรมกรโรงงานยาสูบ
กรรมกรท่าเรือ และกรรมกรรถไฟก็สไต็รค์ตามมาเป็นระลอก แต่ที่สำคัญมากก็คือการ สไต๊รค์ของกรรมกรรถไฟมักกะสันที่มีคนเข้าร่วมถึง
2000 คน
กรรมกรรถไฟได้เรียกร้องให้เพิ่มค่าแรง มีวันหยุดปีละ 2 อาทิตย์เป็นต้น
ส่วนการหยุดงานของกรรมกรท่าเรือที่มีผู้เข้าร่วมถึง1500
คนนั้นมุ่งไปที่การถูกลดค่าครองชีพ
และได้เรียกร้องให้นายจ้างจัดบริการทางการแพทย์ฟรี และชุดทำงานราคาถูก
การหยุดงานครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งคือการหยุดงานของกรรมกรกุลีจีนซึ่งดำเนินคู่ขนานไปกับการเคลื่อน
ไหวในจีนโดยตรง
จึงมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างชัดเจน
กุลีขนข้าวหยุดงานตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเวลา 5
เดือนเต็ม
การต่อสู้ในเดือนเมษายนนั้น
กรรมกรเรียกร้องว่าข้าวไทยที่ขายไปยังจีนนั้นไม่ได้เพื่อทหารของก๊กมินตั๋ง
แต่เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่อดอยากโดยตรงแง่มุมทางการเมืองของการต่อสู้ครั้งนี้มีความซับซ้อนขึ้นไปอีก
เพราะรัฐบาลไทยมีการตกลงกับอังกฤษและอเมริกาในเรื่องขนข้าวไปจีนเพื่อช่วยพรรค
ก๊กมินตั๋ง จึงทำให้การต่อสู้ยืดเยื้อออกไป
พร้อมกันนั้นก็มีนายทุนฉวยโอกาสลักลอบส่งข้าวไปขายในตลาดมืดเพื่อหากำไร
แต่กรรมกรรู้ทันจึงบีบให้นายทุนสละเงิน”ก้อนใหญ่”
เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้อดอยากในจีน
ควบคู่กันไปกับการเคลื่อนไหวต่อสู้ของกรรมกรครั้งแล้วครั้งเล่า
บรรดาพี่น้องกรรมกรได้มีการรวมตัวกันเหนียวแน่นมากยิ่งขึ้น โดยการจัดตั้งเป็นสมาคมและสหบาลกรรมกรขึ้น
ซึ่งในยุคแรกได้มีการรวมตัวกันในหมู่ลูกจ้างของบริษัทห้างร้านใหญ่ๆเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันก่อน โดยรวมกันแบบสมาคมลูก จ้างตามบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งฯ
แต่สมาคมเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองแต่อย่างใด
สมาคมลูกจ้างในประเทศไทยนั้นมีมานานแล้วเริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่
1
มีการเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมและช่วยเหลือกันและกันในหมู่สมาชิก ทั้งในด้านการค้า ส่วนตัว และสังคม แต่ไม่มีสิทธิ์ในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างหรือสิทธิในการนัดหยุดงานตามหลักปฏิบัติเหมือนเช่นในนานาประเทศ สห-
ภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นตามหลักสากลจริงๆก็ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า สหบาลกรรมกร(Trade
Union) สำหรับประเทศไทยนั้น..
ก็ได้มีการตั้งสหบาลกรรมกรขึ้นประมาณปลายปี 2487 เรียกว่า สหบาลกรรมกรกลาง
(Central Union of Labour)
เดือนมกราคม 2489 กรรมกรโรงพิมพ์ประมาณ 200 คนร่วมกันจัดตั้งสมาคม จากนั้นก็มีการรวมกลุ่มสมาคมคนขับสามล้อ สมาคมลูกจ้างคนงานในกิจการขนส่ง
ปี
2490 ก็เกิดสมาคมคนงานรถไฟ สมาคมลากรถ สมาคมคนงานขนส่ง และในปีนี้เองที่มียอมรับ สหบาลกรรมกรกลางอย่างเป็นทางการ ซึ่งสหบาลกรรมกรกลางนี้ก็คือ “สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย”
นั่นเอง สมาคมสหอาชีวะฯ เป็นสมาคมแรกที่รวมเอากรรมกรในหลายสาขาอาชีพ
เข้ามาอยู่ในสมาคมเดียวกันตามหลักการและอุดมการณ์ของกรรมกรสากลโดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์
หรือเอาเรื่องเชื้อชาติมาเป็นอุปสรรคของสมาคม
ซึ่งเป็นการรวมมวลชนกรรมกรผู้ใช้แรงงานที่ถูกกดขี่ทั้งหลาย ซึ่งประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน
เพื่อรวมพลังกันต่อสู้กับความอยุติธรรมทั้งปวง ในระยะนั้นมีสมาชิกจาก กรรมกรโรงเรือ
โรงสี รถไฟ ไฟฟ้า
ซีเมนต์ ไม้ขีดไฟ และกรรมกรสาขาเกษตร กรรมเข้าร่วมประมาณ 51 สมาคม
มีสมาชิกทั้งหมดราว 75,000 คน ต่อมาในปี 2492
สหบาลกรรมกรได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์สหบาลกรรมกรโลก (WFTU.)
ชนชั้นกรรมกรไทยไทยกว่าจะผนึกกำลังทำการการเคลื่อนไหวของตนเองทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองกันอย่างจริงจังก็เมื่อประมาณปี
2488-2489 กรรมกรรุ่นแรกๆที่มานะบากบั่นทำการเคลื่อนไหวก่อตั้งสมาคมกรรมกรซึ่งเราไม่อาจละเว้นที่จะกล่าวถึงท่านได้ก็คือ
ร.ต.ต.วาส สุนทรจามร และ มจ. วรรณกร วรวรรณ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2488 สมาคมสหอาชีวะฯ ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องและจัดให้มีการชุมนุมเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลขึ้นเป็นครั้งแรกที่วังสราญรมย์ โดยมีกรรมกรเข้าร่วมประมาณ 1000 คนเศษ แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเพราะเป็นการประกาศอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกของกรรมกรที่ได้เฉลิมฉลองวันของตนซึ่งไม่เคยปรากฏอย่างเป็นทางการมาก่อน
ในปีถ้ดมา
สมาคมสหอาชีวะฯ ได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองวันกรรมกรฯขึ้นอีกที่ท้องสนามหลวง ครั้งนี้นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ของกรรมกรไทยที่มีมวลชนกรรมกรเข้าร่วมเฉลิมฉลองกว่าแสนคนภายใต้ร่มธงสีเหลืองและคำขวัญ
“กรรมกรทั้งหลาย จงสามัคคีกัน” ที่โบกสะบัดไปทั่วบริเวณ คำขวัญนี้เปรียบ เสมือนจิตวิญญาณของ สหอาชีวะฯ
เป็นคำขวัญอมตะของมวลชนกรรมกรตราบชั่วกัลปาวสานต์
ส่วนการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ
สหอาชีวะฯเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายชั่วโมงการทำงานให้อย่างสูงไม่เกินสัปดาห์ละ
48 ชั่วโมง เรียกร้องสิทธิการรวมกลุ่มของกรรมกร สิทธิในการนัดหยุดงานและการประกันสังคม ในพ.ศ. 2489 นั้นเอง
กรรมกรรถไฟซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่มีกรรมกรมากที่สุดแห่งหนึ่งได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมกรรมกรรถไฟแงประเทศไทยขึ้นเมื่อวันที่
8 มิถุนายน 2489 ผู้นำกรรมกรรถไฟใน
ช่วงนั้นมีนาย ประกอบ โตลักษณ์ล้ำ และนาย
วิศิษฐ์ ศรีภัทรา เป็นต้น
การเคลื่อนไหวของกรรมกรสามารดำเนินไปได้อย่างเปิดเผยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่
2เพราะเงื่อน ไขทางการเมืองอำนวยให้
ขณะนั้นรัฐบาลที่เข้าบริหารประเทศคือรัฐบาลของพรรคสหชีพ และพรรคแนวร่วมรัฐธรรมนูญซึ่งอยู่ใต้อิทธิพลของ
นาย ปรีดี พนมยงค์
ประกอบกับภายหลังสงครามไทยจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รัฐบาลต้องยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์
ทำให้บรรยากาศทาง การเมืองเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น กรรมกรสามารถรวมตัวกันได้
จึงทำให้การเคลื่อนไหวของกรรมกร ในการรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นตนดำเนินไปอย่างกว้างขวาง
ต่อมามีความผันผวนทางการเมืองทำให้รัฐบาลพรรคสหชีพและแนวร่วมรัฐธรรมนูญ
รวมทั้งตัวนาย ปรีดี พนมยงค์ ต้องพ้นจากอำนาจไป
เพราะจอมพล ป. พิบูลย์สงครามทำรัฐประหาร
เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2490 และนาย ควง อภัยวงศ์ ถูกเชิญเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดชั่วคราว ภายหลังการรัฐประหาร กรรมกรโรงสี 18 โรงได้นัดหยุดงานพร้อมกันเพื่อประท้วงการกดขี่บีบคั้นทางเศรษฐกิจและทางการเมือง
การหยุดงานของกรรมกรโรงสีนอกจากจะเป็นการสร้างแบบอย่างการต่อสู้ให้แก่มวลชนกรรมกรไทยแล้ว ยังสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนให้แก่รัฐบาลทุนนิยมและผู้มีอำนาจทางการเมืองมิใช่น้อย ซึ่งต่อมาจำต้องก้าวเข้าสู่อำนาจด้วยการจี้บังคับให้นายควงออกจากตำแหน่ง
ปี
2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และได้ตระหนักถึงอิทธิพลของสมาคมสหอาชีวะฯในวงการกรรมกร และเข้าใจว่า
สหอาชีวะฯสนับสนุนนายปรีดีซึ่งเป็นศัตรูสำคัญทางการเมืองของตน
จึงให้บริวารของตนจัดตั้งสมาคมกรรมกรแห่งประเทศไทยขึ้น บุคคลที่ใกล้ชิดจอมพล
ป.ที่เข้ามามีส่วนชี้นำในการก่อตั้งสมาคมกรรมกรไทยคือ พลโท ขุนสวัสดิรณชัย สวัสดิเกียรติ
ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาคณะรัฐมนตรี และนาย
สังข์ พัฒโนทัย โฆษกคู่บารมีของจอมพล ป.ในยุค ”เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”
สมาคมนี้มีสำนักงานอยู่ที่ถนนราชดำเนินได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลปีละ 200,000 บาทโดยผ่านทางกรมประชาสงเคราะห์
การที่จอมพล
ป. จัดตั้งสมาคมกรรมกรไทยขึ้นนั้นมีเหตุผลเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ เพื่อทำลายพลังกรรมกร
ที่สนับสนุนสหอาชีวะฯ เพื่อชิงกานนำในวงการกรรมกรทั้งในและต่างประเทศ นับตั้งแต่ก่อตั้งสมาคมกรรมกรไทยขึ้นแล้ว การประชุมองค์กรกรรมกรระหว่างประเทศทุกครั้งจะมีแต่เจ้าหน้าที่ของสมาคมฯเท่านั้นที่ได้เป็นตัวแทนกรรมกรไทยไปร่วมประชุม การก้าวเข้ามาแทรกแซงในขบวนการกรรมกรไทยของจอมพล
ป.นี้ ได้สร้างความเสียหาย
และบั่นทอนจิตวิญญาณของการต่อสู้ของกรรมกรไทยที่เคยเข้มข้นและมีความเชื่อมั่นในพลังของชนชั้นตนลงต้องตกต่ำลงไป จอมพล ป. ไม่เพียงแต่จะจัดตั้งสมาคมกรรมกรที่รัฐบาลสามารถบงการได้เท่านั้น แม้แต่คำว่า
สหบาลกรรมกร ก็ยังไม่ใช้เพราะเห็นว่าชื่อแบบนี้เป็นคำที่ฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ใช้กัน จึงใช้คำว่า
สหภาพแรงงาน แทน และสมาคมฯ
ก็ได้เข้าเป็นสมาชิกองค์กรกรรมกรของอเมริกาคือ ICFTU เพราะถือว่า WFTU
เป็นองค์กรกรรมกรของฝ่ายคอมมิวนิสต์
พ.ศ.
2492 พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล อธิบดีกรมตำรวจ ได้ประกาศห้ามสามล้อที่ขับขี่โดยแรงคนนำรถเข้าไปรับจ้างในเขตถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช
กรรมกรสามล้อจึงพากันประท้วงและประทะกับตำรวจที่ถนนเจริญกรุงระหว่างโรงหนังเฉลิมกรุงกับสะพานมอญ
ผลของการประทะตำรวจได้จับกุมกรรมกรสามล้อไปหลายสิบคนในข้อหาก่อจราจล กรรมกรสามล้อจึงพากันแห่ไปหาพลโท ขุนปลดปรปักษ์
ภิบูลย์ภานุวัฒน์ ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ขุนศึกของจอมพล ป.อีกคนหนึ่ง
ซึ่งขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม(จอมพล ป.เป็นรัฐมนตรี) พลโท ขุนปลดฯ จึงเป็นผู้ประกันกรรมกรสามล้อที่ถูกจับทั้งหมด และมีการเจรจารอมชอมกันโดยตำรวจเป็นฝ่ายอ่อนข้อให้สามล้อเข้าไปรับจ้างได้ในบางเขต
บางเวลา ข้อหาจลาจลเป็นอันยกเลิกไป กรรมกรสามล้อจึงได้จัดตั้งเป็นสหพันธ์กรรมกรสามล้อขึ้นในปี
2493 โดยมี พลโท ขุนปลดฯเป็นประธาน นายประเสริฐ ขำปลื้มจิตร
กรรมกรสามล้อเป็นรองประธาน นายแสนนภา
บุญราศี(นักร้อง) เป็นเลขาธิการ จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวของกรรมกรในยุคนี้มักไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่เชื่อมั่นในตนเองเมื่อเกิดปัญหา แทนที่จะพึ่งพลังของตน นเองก็ใช้วิธีเชิญนักการเมืองมาช่วยเหลือ
รัฐบาลยังสนับสนุนบุคคลต่างอาชีพจัดตั้งเป็นสหพันธ์ต่างๆเช่น
สนับสนุนให้แม่ค้าหาบเร่ แผงลอย ช่างถ่ายรูปที่เขาดินวนา แม่ค้าสะพานหัน สะพานมหาพฤฒารามฯลฯ
รวมกันเข้าเป็นสหพันธ์แม่ค้าย่อย มีนาย
สมัย คมกฤช นายโกศล กิจจานุวัฒน์ นางเสรี บุพการี นายกรานต์ เกิดนพคุณ เป็นประธานกรรมการ และเลขานุการเป็นต้น ในปี 2494
รัฐบาลจอมพล ป.ก็สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง “สหพันธ์กรรมกรหญิง”
ขึ้น โดยอยู่ในความอุปการะของท่านผู้หญิง
ละเอียด พิบูลสงคราม มีนางจำนงค์ ทิพย์พยอม เป็นประธาน นาง ไคล ชุณหจันทร์ เป็นเลขาฯ สหพันธ์นี้สอนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว
แม่บ้าน และอื่นๆ
มีกรรมกรหญิงเป็นสมาชิกมาก
เพราะใช้วิธีการเดียวกับสมาคมกรรมกรไทย ที่จอมพล ป.เป็นผู้อุปการะ กรรมกรที่เป็นสมาชิกจะได้รับการช่วยเหลือสงเคราะห์ยามเจ็บป่วย
คลอดบุตร ตาย โดยสมาชิกไม่ต้องเสียเงินค่าบำรุงแต่อย่างใด
พ.ศ.
2497 รัฐบาลจอมพล ป. ได้สนับสนุนให้ตั้ง”สมาคมกรรมกรเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย” ขึ้นอีกสมาคมหนึ่ง เป็นที่รู้กันว่าสมาคมนี้มีพลต.อ เผ่า
ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ เหตุ ผลก็คือเพื่อสามารถควบคุมกรรมกรได้อย่างใกล้ชิดและใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง นายเลื่อน บัวสุวรรณ
พ่อค้าใหญ่คนหนึ่งได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกสมาคมแห่งนี้ มีนายประภาส สุคนธ์ และ นาย เสนอ สว่างพันธ์
เป็นเลขาฯและอุปนายก
เด่นพงษ์
พลละคร ได้เขียนบรรยายสภาพของการก่อตั้งสหภาพแรงงานในสมัยนั้นว่า “รัฐบาลสมัยนั้นตั้งหน้าตั้งตารวบรวมชนชั้นกรรมาชีพมาไว้ในสมาคมเดียวกัน มีสำนักงาน
มีเจ้าหน้าที่บริหารให้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ มีหนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือทั้งภาษาไทย
อังกฤษ และจีน
มีเงินอุดหนุนค่าเช่าสถานที่
ค่าจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าน้ำค่าไฟ ใครเจ็บป่วยมีค่ารักษาพยาบาล ใครคลอดลูกมีเงินอุดหนุนให้ ใครว่างงานสมาคมฯหางานให้ทำ ใครไม่พอใจนายจ้างสมาคมฯช่วยพูดให้ แต่ว่ากันที่จริงแล้วก็คือ
รัฐบาลทำงานสงเคราะห์กรรมกรโดยผ่านสมาคมกรรมกรทั้งสองแห่งและผ่านกรมประชา
สงเคราะห์นั่นเอง”
และเขายังชี้ไว้ในข้อเขียนของเขาอีกว่า
“เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมฯทั้งสองนี้มุ่งหนักไปในทางการเมืองและมีนักการเมืองระดับสูงที่มีอิทธิพลในรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยอย่างใกล้ชิด
ประกอบกับสมาชิกของสมาคมเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุง ดังนั้นสมาคมเหล่านี้จึงไม่อาจยืนอยู่บนขาของตัวเองได้
และในขณะเดียวกันก็คิดว่าแม้ไม่มีทุนดำเนินงานรัฐบาลก็ช่วยจ่ายค่าแรงหรือซื้อข้าวสาร
เนื้อเค็มมาแจกให้กิน
นายจ้างไม่จ่ายค่าแรงในขณะนัดหยุดงาน
รัฐบาลยังแอบมาจ่ายค่าแรงให้ก็มี
ดังนั้นจึงเท่ากับว่าสมาคมแรงงานเหล่านี้ตั้งขึ้นเพราะรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนเพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐบาลและทำอะไรๆตามที่คนของรัฐบาลสั่งเท่านั้น”
เพื่อจะต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้ได้ผลนอกจากจะจัดให้สมาคมกรรมกรไทยเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรรมกรโลกเสรี
(ICFTU) แล้ว สมาคมกรรมกรไทยยังอยู่ใต้อิทธิพลของบางองค์กรที่มีวัตถุประสงแนวเดียวกันที่เข้ามาแทรกแซงด้วยเช่น สันนิบาติเสรีพันธ์ ซึ่งมีนายสังข์
พัฒโนทัยเป็นเลขาธิการ เอ็ม อาร์ เอ
หรือขบวนการฟื้นฟูศัลธรรม(หลวงวิเชียรแพทยาคม)
เพราะสมาคมฯรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลคนในสมาคมจึงต้องร่วมมือทำการต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามนโยบายรัฐบาลด้วย
ปี
2494 สมาชิกของสมาคมกรรมกรไทยการต่อต้านคอมมิวนิสต์บางส่วนจะถูกเรียกไปอบรมที่สำนักงานใหญ่สันนิบาติเสรีพันธ์ มีการจัดตั้งเป็นหน่วยต่างๆเช่นหน่วย ก.
หรือหน่วยกึกก้องกัมปนาท มีนาย ฉาย วิโรจน์ศิริ
เป็นหัวหน้า หน่วย ม. หรือหน่วยมหากาฬ มีนายสังข์ พัฒโนทัย
เป็นหัวหน้าเป็นต้น กรรมกรถูกใช้ไปทำการโฆษณาต่อต้านคอมมิวนิสต์
ตามนโยบายของสันนิบาติเสรีพันธ์และรัฐบาล เช่นไป
ปิดแผ่นปลิวโฆษณาตามที่ต่างๆทั่วประเทศ
มีนาย พัฒน์ นิวาสานนท์ เป็นหัวหน้าฝ่ายโฆษณา
มีการนำพวงหรีดไปวางหน้าสถานทูตรัสเซียในโอกาสคล้ายวันเกิดของ โจเซฟ สตาลิน
ผู้นำของรัสเซียสมัยนั้น
รวมตลอดทั้งปลอมแปลงเครื่องแต่งกายและโกนหัวคล้ายพระถูกจับไปไถนา เพื่อประกอบการโฆษณาว่า คอมมิวนิสต์ทำลายศาสนา สึกพระมาไถนาเป็นต้น
แต่การกระทำดังกล่าวต้องประสบกับความล้มเหลวเพราะคำสารภาพของผู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานกล่าวว่า
ถูกชาวบ้านต่อต้าน คัดค้าน
และทำลายแผ่นปลิวรวมทั้งไล่ชกต่อยผู้ที่นำแผ่นปลิวไปปิด ระยะหลังจึงไม่มีใครกล้าไปทำ และต่อมา “กรรมกรไทยดูจะรู้ถึงข้อผิดพลาด จึงมีการเปลี่ยนแปลงท่าทีกันใหม่ในภาย
หลัง
โดยพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองเพื่อให้เป็นกรรมกรไทยที่แท้จริง”
อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของสมาคมกรรมกรไทยบางคนได้กล่าวยอมรับว่า...ในระยะหนึ่งสมาคมได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของนัก
การเมือง(จอมพล ป.)จริง แต่เป็นการแอบแฝงเข้าไปเพื่อใช้อิทธิพลทางการเมืองมาปลุกเร้ากรรมกรให้ตื่นตัว ไม่ใช่การยอมสยบยอม.. เพราะถ้าไม่อาศัยอำนาจที่ดำรงอยู่ในขณะนั้นก็ไม่สามารถทำการเคลื่อนไหวได้
ซึ่งในระยะหลังกรรมกรได้พยายามยึดอำนาจกลับคืนมาได้เรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถขับนาย ฉาย วิโรจน์ศิริ ออกไปจากสมาคมกรรมกรได้ในที่สุด
ในช่วงนี้ถึงแม้รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงขบวนกรรมกรอย่างเป็นระบบก็ตาม แต่กรรมกรไทยไม่เคยละทิ้งการเคลื่อนไหวอันชอบธรรมดังจะเห็นได้จาก
การเคลื่อนไหวต่อสู้ของกรรมกรรถไฟ (กบฏมักกะสัน)กล่าวคือนอกจากการหยุดงานต่อสู้เรียกร้องค่าแรงและสวัสดิการที่ดีกว่าของกรรมกรโรงสี
18 โรงแล้ว
การต่อสู้ที่ต้องเอาเสรีภาพไปแลกกับปากท้องผลประโยชน์ของคนงานรถไฟแห่งประเทศไทยก็เป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของกรรมกรไทย การต่อสู้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคนงานได้เสนอให้มีการปรับปรุงรายได้และสวัสดิการต่อการรถไฟซึ่งขณะนั้นยังเป็นของราชการอยู่
ไม่ได้แยกออกมาเป็นอิสระอย่างเช่นทุกวันนี้
เพราะขณะนั้นไทยยังไม่ได้กู้เงินจากธนาคารโลกเพราะไม่ยอมรับเงื่อนไขว่าเมื่อกู้แล้วต้องแยกออกมาเป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐ
การต่อสู้ของกรรมกรรถไฟเริ่มตั้งแต่ปี
2493
โดยฝ่ายกรรมกรได้ยื่นข้อเรียกร้องในเรื่องสวัสดิการของคนงานในปัญหาสำคัญๆเช่น การเจ็บป่วยให้ลาได้ 60 วัน ลาบวชได้ 120 วัน ให้จ่ายบำเหน็จปีละ 1 เดือนของค่าจ้าง
สำหรับกรรมกรหญิงให้ลาคลอดลูกได้ 60 วันเป็นต้น
ข้อเรียกร้องเหล่านี้ทางการรถไฟได้ยอมให้ตามข้อเรียกร้อง
ในปีต่อมาทางการรถไฟได้ออกระเบียบใหม่ให้กรรมกรต้องแต่งเครื่องแบบมาทำงาน
ฝ่ายกรรมกรจึงได้ยื่นข้อเรียกร้องห้ระงับการใช้ระเบียบนี้
ถ้าหากการรถไฟจะให้แต่งเครื่องแบบจริงก็ขอให้จ่ายเครื่องแบบให้ปีละสองชุดเป็นต้น
การพิจารณาข้อเรียกร้องของฝ่ายกรรมกรในเรื่องนี้ได้ยืดเยื้อต่อมาและเกิดปัญหาขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น
เพราะต่อมาฝ่ายกรรมกรได้ยื่นข้อเรียกร้องให้มีการปลดย้ายพนักงานของการรถไฟบางคนที่กรรมกรเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นฝ่ายบริหาร ซึ่งทางการรถไฟไม่สามารถตกลงตามคำเรียกร้องได้ เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงพร้อมใจกันนัดหยุดงานสนับสนุนข้อเรียกร้องของตนโดยเริ่มหยุดงานในวันที่
21 มันาคม 2495
ทางการได้ตอบโต้การนัดหยุดงานโดยให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าทำการจับกุมผู้นำกรรมกร
7 คน คือนายประกอบ โตลักษณ์ล้ำ นายพล เพิ่มพาณิชย์ นายเสริม
ทรากกลิ่นหอม นายนิมิต มุติภัย
นายสุพจน์ ฟองสินธุ์ นายวีระ ถนอมเลี้ยง และนายสุวิทย์ เนียมสา
แม้พวกผู้นำการเรียกร้องจะถูกจับกุมตัวไปก็ตามการเรียกร้องก็มิได้
สลายลง กรรมกรยังหยุดงานต่อมาอีก 2 วัน
จึงกลับเข้าทำงานโดยทางการรถไฟยินยอมตามข้อเรียกร้อง
ส่วนผู้นำกรรมกรทั้ง
7 คนนั้นถูกควบคุมตัวอยู่ 43 วันจึงได้รับการประกันตัว แต่ได้ถูกส่งฟ้องศาลในข้อ หา”กบฏ” ที่รู้จักกันในนาม
”กบฏมักกะสัน”
เพราะกรรมกรที่ทำการต่อสู้ครั้งนั้นส่วนใหญ่ทำงานประจำอยู่ที่โรงงานของการรถไฟที่มักกะสันนั่นเอง สำหรับการพิจารณาคดีกบฏเพราะเรียกร้องความเป็นธรรม
ปรากฏว่าศาลพิจารณายกฟ้องและปล่อยตัวจำเลยทั้งหมด แต่ทั้งๆที่ศาลยุติธรรมยกฟ้องไปแล้วเมื่อผู้นำทั้ง
7 ยื่นคำร้องขอกลับเข้าทำงานอีก
ทางการรถไฟกลับปฏิเสธไม่ยอมรับผู้บริสุทธิ์ทั้ง 7
เข้าทำงานโดยไม่มีเหตุผลที่ชอบธรรม การต่อสู้ของกรรมกรรถไฟมักกะสันครั้งนี้สรุปได้ว่า ชัยชนะจะได้มาด้วยการต่อสู้ และการต่อสู้ที่ได้ผลนั้นต้องรวมพลังให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มวลชนกรรมกรนั้นเป็นผู้รักสันติ ในการเรียกร้องต่างๆมักจะทำไปด้วยความสงบ ไม่นิยมความรุนแรงแต่มักจะถูกบีบบังคับให้กระทำในด้านตรงกันข้ามอย่างไม่มีทางอื่นให้เลือก อีกทั้งถูกจับกุม คุมขัง และยัดเยียดข้อหาร้ายแรงให้อีกด้วย
No comments:
Post a Comment