3.ที่ดินและเสรีภาพ
ในช่วงเวลานั้น สมาชิกนารอดนิคที่กระจัดกระจายกำลังพยายามเคลื่อนไหวรวบรวมกลุ่มกันขึ้นในเมืองภายใต้ธงผืนใหม่ ปี 1876 พรรค เซมลียา อี โวลยา(Zemlya i Volya)ได้ก่อตั้งขึ้นโดย นาธันสัน , อเล๊กซานเดอร์ มิไคลอฟ
และจอร์จ เพลคานอฟ
องค์กรใต้ดินใหม่นี้นำโดยคณะกรรมการทั่วไปกับคณะกรรมการบริหารสูงสุดกลุ่มเล็กๆที่มาจากการเลือกตั้ง ระดับรองลงมาได้แก่ส่วนงานชาวนา, ส่วนงานกรรมกร, ส่วนงานเยาวชน(นักศึกษา)และที่พัฒนาขึ้นใหม่คือ
”ส่วนที่ไม่มีการจัดตั้ง, หน่วยติดอาวุธสำ หรับป้องกันตนเองและต่อสู้กับอำนาจที่ไม่เป็นธรรมซึ่งกระทำโดยพวกข้าราชการ
“
นโยบายของพรรค เซมลียา อี โวลยา นั้นอยู่บนพื้นฐานของการผสมผสานความคิดของ
“สังคมนิยมแบบชาวนา”...ที่ว่า โอนที่ดินทั้งหมดให้แก่ชาวนาในการที่จะตัดสินใจด้วยตนเองให้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วนในจักรวรรดิ์รัสเซีย สังคมรัสเซียจะก้าวไปบนพื้นฐานของการปกครองตนเองโดยคอมมูนชาวนา จะอย่างไรก็ ตาม...ทั้งหมดนั้นต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หลักของการปฏิวัติในการโค่นล้มระบบเอกาธิปไตยที่จะต้องดำเนินการอย่าง
”ฉับพลันเท่าที่จะเป็นไปได้” ความเร่งด่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่านายทุนจะบ่อนทำลายคอม มูนชาวนาได้เร็วแค่ไหนตามแนวคิดของในการพัฒนาทุนนิยม! ด้วยเหตุนี้,ต้นตอที่แท้จริงของแนวคิด “ระบอบสังคมนิยมในหนึ่งประเทศ” จึงเป็นของบรรดาชาวนารอดนิค,ที่พยายามพยายามจะส่งมอบระบอบสังคมทุนนิยมที่พวกเขาสะพรึงกลัวด้วยการรับหลักการของแนวคิดเรื่อง ”เส้นทางพิเศษของประวัติศาสตร์การพัฒนาสำหรับรัสเซีย”
บนพื้นฐานของความคาดหวังที่มีต่อลักษณะพิเศษและสถาบันทางสังคมของชาวนารัสเซีย
วันที่ 6 ธันวาคม 1876 ผู้ประท้วงมากกว่า 500
คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาทำการประท้วง (ที่ผิดกฎ หมาย) ได้รวมตัวกันที่ลานหน้ามหาวิหาร คาซาน
พร้อมกับตระโกนคำขวัญ “ที่ดินและเสรีภาพ”และ ”การปฏิวัติสังคมนิยมจงเจริญ”
ในกลุ่มผู้ประท้วงมีผู้ปราศรัยเป็นเด็กหนุ่มอดีตนักศึกษาวัย 21 ปีชื่อ
จอร์จ เพลคานอฟ
ที่เรียกร้องการปฏิวัติ..ทำให้เขาต้องเริ่มการใช้ชีวิตลี้ภัยและหลบลงใต้ดิน เพลคานอฟ เกิดเมื่อ ปี 1855
เป็นทายาทของครอบครัวผู้ดีจาก ทามบอฟ
ซึ่งก็เหมือนกับคนอื่นๆในยุคสมัยของเขา
โดยเริ่มมีประสบการณ์จากงานเขียนของนักเขียนฝ่ายประชาธิปไตยรัสเซียทั้งหลายเช่น
เบ--ลินสกี..โดโบรลียูบอฟ..และแน่นอน เชอร์นีลเชฟสกี
ในขณะที่ยังอยู่ในวัยรุ่นเขาได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มนารอดนิค,มีส่วนร่วมในปฏิบัติการที่เสี่ยงและอันตรายหลายครั้ง..
รวมไปถึงการแย่งชิงตัวสหายที่ถูกจับกุม..แม้กระทั่งทำงานจารกรรมและหาข่าว.....ถูกจับกุมหลายครั้งแต่ก็รอดจากการถูกคุมขังจากระบอบซาร์อยู่เสมอๆ
สืบเนื่องมาจากการปราศรัยที่หาญกล้าท้าทาย,เพลคานอฟจำต้องลี้ภัยไปต่างประเทศแต่ด้วยเกียรติภูมิของเขา..จึงได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกหน่วยรากฐานของ
เซ็มลียา อี โวลยา แม้ตัวจะอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัยก็ตาม เขากลับมารัสเซียในปี 1877,ผู้ก่อตั้งลัทธิมาร์กซรัสเซียในอนาคตคนนี้ต้องใช้ชีวิตแบบหลบๆซ่อนๆตลอดเวลา,พกสนับมือและจะซุกปืนพกไว้ใต้หมอนในเวลากลางคืน แรกสุดเขาได้เดินทางไปยังเมือง ซาราตอฟ
บนฝั่งแม่น้ำโวลกา
และได้รับผิดชอบ”ส่วนงานกรรมกร” ของเซ็มลียา อี โวลยา ในเวลาต่อมา
ประสบการณ์ครั้งแรกของเด็กหนุ่มที่ได้ร่วมงานกับกรรมกรโรงงานซึ่งมีผลต่อความคิดของเขาอย่างลึกซึ้ง
และไม่ต้องสงสัยเลยว่าจากประสบการณ์จริงนี้มีส่วนช่วยให้เขาต้องแยกทางกับความผิดพลาดของ
นารอดนิค และก้าวเข้าสู่เส้นทางของลัทธิมาร์กซ
ในเดือนธันวาคม 1877
นั่นเอง.....ห้องเก็บดินปืนของโรงงานผลิตอาวุธบนเกาะ วาซิลเลฟสกี เกิดระเบิดขึ้นมีกรรมกรเสียชีวิต 6 คนและได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก งานศพของกรรมกรได้กลายเป็นการชุมนุมประท้วง เพลคานอฟได้เขียนคำประกาศที่ลงท้ายด้วยถ้อยคำที่ว่า “กรรมกรทั้งหลาย! บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะทำความเข้าใจต่อเหตุผลที่ว่า ท่านไม่ควรคาดหวังจากผู้ใด และไม่ต้องไปคาดหวังสิ่งใดๆจากพวกผู้ดีทั้งหลาย นานมาแล้วที่ชาวนาต่างเคยคาดหวังความช่วยเหลือจากพวกผู้ดี
แต่พวกเขากลับได้รับแต่ที่ดินชั้นเลวและภาษีที่หนักหน่วงและยิ่งหนักข้อขึ้นกว่าแต่ก่อนเสียอีก ท่านจะเป็นเช่นนั้นหรือ....กรรมกรในเมือง..จงยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นไปอีก
” ไม่นานนักเพลคานอฟก็ได้รับคำตอบเร็วกว่าที่เขาหรือคนอื่นที่คาดหวังไว้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ตุรกี(สงครามไครเมีย
1877-78) ได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดการหยุดงานขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
หัวหอกส่วนใหญ่ได้แก่กรรมกรโรงงานทอผ้าผู้ถูกกดขี่ขูดรีดทางชนชั้น และไม่ใช่ครั้งสุดท้าย,ยิ่งกดขี่มากเท่าใดกรรมกรสิ่งทอต่างได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มากยิ่งกว่ากองพันกรรมกรในอุตสาหกรรมโลหะเสียอีก กรรมกรได้ขอความช่วยเหลือจาก”นักศึกษา”ตลอดจนองค์กรต่างๆโดยเฉพาะกรรมกรนักปฏิวัติอิสระ
เพลคานอฟ.....ในฐานะผู้นำส่วนงานกรรมกรของพรรคเซ็มลียา
อี โวลยา
พบว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง แต่น่าเสียดาย..ที่ชาวนารอดนิคไม่มีแนวคิดว่าควรจะทำอย่างไรดีกับการเคลื่อนไหวของกรรมกรซึ่งไม่เคยมีอยู่ในแผนงานโดยรวมของพรรค เป็นเวลาสองปีที่สูญเปล่ากรรมกรในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ทำการหยุดงานถึง 26 ครั้ง แม้จะไม่อาจเทียบเคียงได้กับกระแสของปี
1890
สมาชิกของสหบาลกรรมกรฝ่ายเหนือได้แสดงบทบาทที่เด่นชัดในการหยุดงานครั้งนี้..และในเดือนแรกของปี
1879 ได้ไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุด
ประกอบด้วยองค์กรจัดตั้งของกรรมกร 200 แห่ง และยังมีกองหนุนอีก 200
แห่งที่กระจายตัวกันด้วยความระมัดระวังอยู่ในโรงงานต่างๆ องค์กรทั้งหมดเชื่อมโยงกับองค์กรกลาง กลุ่มกรรมกรมีห้องสมุดของตนเองและแน่นอนมีการแตกแขนงแยกย่อยไปตามกลุ่มใต้ดินต่างๆอย่างกว้างขวางแม้แต่ในหมู่กรรมกรที่ไม่ได้สังกัดสหบาลกรรมกรด้วย คาลทูริน
ผู้เฉลียวฉลาดได้ตั้งโรงพิมพ์ใต้ดินขึ้น
ออปนอร์สกีได้เข้าไปทำความตกลงกับกลุ่มกรรมกรในกรุงวอร์ซอ..”เป็นตัวอย่างแรกของความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างกรรมกรรัสเซียและโปล” อย่างเช่นที่เพลคานอฟได้เฝ้าสังเกตด้วยความพอใจยิ่ง
แต่ภายในหนึ่งเดือนจากการปรากฏตัวขึ้นของวารสาร ราโบชายา ซาร์ยา (Rabochaya Zarya/ อรุณรุ่งของกรรมกร)
ซึ่งเป็นวารสารใต้ดินฉบับแรก…
ตำรวจก็ได้เข้าทลายโรงพิมพ์ของสหบาลฯและสมาชิกจำนวนมากถูกกวาดล้างจับกุมและถูกส่งไปทำงานหนัก..บ้างก็ถูกจำคุกและบ้างก็ลี้ภัย ผลของการทำลายองค์กรแรกที่มีความเข้มแข็งของชนชั้นกรรมกรนั้นถือได้ว่าเป็นหายนะภัย คาลทูรินและคนอื่นๆได้ถอนตัวออกไป.. มองโลกในด้วยทัศนะเลวร้ายและพาตัวเองเข้าสู่แนวทางก่อภัยต่อตัวบุคคล
ต้องใช้เวลานานนับสิบปีและความเสียสละอย่างมากในการเคลื่อนไหวขจัดตัวหนอนร้ายของการก่อภัยสยดสยองออกไปจากระบบได้
จากระยะแรกสุด,การเคลื่อนไหวของนักปฏิวัติในรัสเซียได้แบ่งออกเป็นสองแนวทางระหว่าง
”ผู้ให้การ ศึกษา” กับ “ผู้ลุกขึ้นสู้”
ทั้งสองแนวทางได้แสดงออกอย่างกว้างขวางและมีความชื่นชมต่อสถานภาพ ของ
ลาฟรอฟ และ บาคูนิน ความล้มเหลวของการเคลื่อนไหว
“ลงสู่ประชาชน” ส่งผลให้เกิดความไม่ลงรอยและแตกแยกกันอย่างเปิดเผย ในช่วงปี 1874-75
ในรัสเซียมีนักโทษการเมืองหลายพันคน
เยาวชนคนหนุ่มสาวได้จ่ายค่าชดใช้การต่อต้านของพวกเขาด้วยอิสรภาพ บางส่วนได้รับการปล่อยตัวเพราะได้ประกันแต่ต้องอยู่ภายใต้การคุมประพฤติ คนอื่นๆล้วนถูกเนรเทศไปไซบีเรียตามคำสั่ง ที่เหลือถูกจองจำรอคอยการตัดสิน หลายคนยังคงเคลื่อนไหวโดยอิสระ,บ้างก็ตัดสินใจกลับสู่ชนบท.. ครั้งนี้ในฐานะของครูหรือหมอ
ยอมสละเวลาและพลังเพื่อน้อมรับศึกษาการทำงานและรอคอยวันที่ดีกว่า แต่อีกหลายๆคนที่ตระหนักว่าทฤษฎี”สัญชาติญานการปฏิวัติของชาวชาวนา”ของบาคูนินเป็นแนวทางที่ผิดพลาดและพบว่าเป็นเส้นทางที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
องค์กร เซ็มลียา อี โวลยา
ไม่เคยทำการจัดตั้งมวลชนอย่างมากก็แค่จำนวนโหลสองโหลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาปัญญาชนที่อายุอยู่ในช่วง
20-30 ปี ในฐานะสมาชิกพรรคที่เอาการเอางาน
แต่เมล็ดพันธ์เหล่านี้ฝ่อไปเสียตั้งแต่เริ่มแรก ผู้ที่สนับสนุน ลาฟลอฟ พยายามเปิดหูเปิดตาประชา
ชนด้วยการโฆษณาคำขวัญที่
“สันติ”...โดยอ้างเหตุผลว่า...“เราไม่ต้องการปลุกเร้าอารมณ์ของประชาชน แต่ต้องการให้พวกเขาตื่นตัวอยู่เสมอ” ความท้อแท้ผิดหวังในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของมวลชนชาวนาโดยวิธีโฆษณาไม่เป็นผลให้เกิดการยกระดับทางทฤษฎีสำหรับผู้ที่เคยชินกับลัทธิบาคูนินอยู่ในสมอง จากการ “ปฎิเสธการเมือง”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่มีการจัดตั้งส่งผลให้ส่วนหนึ่งของนารอดนิคหันหลังกลับ
180 องศา
และเริ่มใช้วิธีเคลื่อนไหวแบบปิดลับเป็นองค์กรก่อการร้ายแบบรวมศูนย์ในนาม “นารอดนายา โวลยา”
เพื่อให้เป็นแบบอย่างในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวปฏิวัติของมวลชนชาวนาโดยผ่านการ
“โฆษณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง”
ความอัปยศทางการทหารของซาร์แห่งรัสเซียในสงครามกับตุรกีได้ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหม่ของกลุ่มปกครอง แต่กลับสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ฝ่ายตรงกันข้าม บรรดาผู้นำของนารอดนายา โวลยา ได้ตัดสินใจทำการสู้รบกับระบอบเอกาธิปไตยด้วยวิธีก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลเพื่อเป็นการกระตุ้นไฟสงครามปฏิวัติจาก
”เบื้องบน” ที่บัดนี้ส่วนงานเยาวชนต่างเต็มไปด้วยความเร่าร้อนที่จะปฏิบัติการ คำพูดของ เซลียาปอฟ ผู้นำในอนาคตของ นารอดนายา โวลยา ได้สรุปภาระทั้งหมดให้เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ เขากล่าวว่า “การเคลื่อนไหวค่อนข้างช้า มันจำเป็นต้องมีการผลักดัน..ไม่เช่นนั้นชาติทั้งชาติจะเน่าเปื่อยผุพังและต้องเพาะเมล็ดพันธุ์(ปฏิวัติ)ไว้ก่อนที่พวกเสรีนิยมจะทำการใดๆ “อะไรที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ?”.....“ทุกอย่างนำไปสู่สิ่งที่ดีงาม”.....
“เอาละ..คุณต้องการอะไร?
ทำเพื่อรัฐธรรมนูญหรือว่าจะเป็นผู้ผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์”.........“ผมไม่ได้พูดตลกนะ.. เราต้องทำให้ประวัติศาสตร์เดินหน้าต่อไปตั้งแต่บัดนี้” แนวทางทั้งสี่นี้ได้นำไปใช้อย่างตายตัวระหว่างลัทธิก่อภัยร้าย และเสรีนิยม ผู้ก่อ การไม่มีแม้แต่นโยบายที่เป็นของตัวเองอย่างอิสระ
พวกเขาหยิบยืมความคิดมาจากพวกเสรีนิยม ,ผู้ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะให้เป็นไปตามความต้องการของตน
ฤดูใบไม้ร่วงปี 1877
เยาวชนหนุ่มสาวกว่า 200 คนถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหา “ลงสู่ประชาชน”
ซึ่งพวกเขาถูกคุมขังมาแล้วกว่าสามปีโดยไม่มีการไต่สวน
และแทบทุกคนถูกจัดให้อยู่ร่วมกับบรรดานักโทษโดยผู้คุมและเจ้าหน้าที่ผู้ป่าเถื่อน
สำหรับนักปฏิวัติจะได้รับการปฏิบัติด้วยความโหดร้ายอย่างเป็นระบบ...ไม่ว่าจะเป็นการทรมานและทำให้อับอายโดยบรรดานักโทษซึ่งเป็นฟางเส้นสุดท้าย โดยเฉพาะกรณีที่ป่าเถื่อนเรื่องหนึ่งที่สร้างความเดือดดาลแก่ผู้คนเป็นอย่างมากคือ....ในเดือนกรกฎาคมปี
1877 เมื่อนายพล เทรปอฟ
หัวหน้าตำรวจผู้ฉาวโฉ่แห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานแรกรับนักโทษ โบโกลียูบอฟ นักการเมืองหนุ่มปฏิเสธที่จะยืนทำความเคารพจึงถูกเทรปอฟสั่งลง
โทษด้วยการโบยหนึ่งร้อยที
จุดเปลี่ยนแปลงของการตัดสินใจตอบโต้ผ่านไปจนถึงเดือนมกราคมปีถัดไป เมื่อหญิงสาววัยรุ่น เวรา ซาซูลิค
ใช้ปืนยิงนายพลเทรปอฟ
เป็นการวางแผนและปฏิบัติการด้วยตัวเธอเองเพื่อเป็นการตอบ โต้ในการปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองอย่างเลวทราม หลังจากเหตุการณ์ของซาซูลิค
ทำให้กระแสของคำโฆษณาชวนเชื่อในประเด็น “โฆษณาเรื่องที่เกิดขึ้นจริง” ก็ได้แพร่
ขยายลุกลามออกไปอย่างไม่มารถยับยั้งได้.... ศาลได้พิพากษาให้เธอพ้นผิดตามความคาดหมาย (จากแรงกดดันทางสังคม)
เบื้องแรก,
ที่ใช้การก่อการร้ายก็ด้วยตั้งใจจะให้เป็นไปในขอบเขตทางยุทธวิธี เพื่อการปล่อยตัวสหายที่ถูกคุมขัง,ขจัดสายลับของตำรวจ,และเพื่อป้องกันตนเอง ทำการต่อต้านการกระทำที่กดขี่ของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่การก่อภัยร้ายนั้นก็มีตรรกในตัวของมันเอง....ในช่วงระยะเวลาสั้นๆความคลั่งไคล้ต่อการก่อภัยร้ายนั้นได้ครอบงำจนกลายเป็นด้านหลักขององค์กร จากระยะเริ่มแรกยังคงมีปัญหาและมีข้อสงสัยใน”ยุทธวิธีแบบใหม่”นี้อยู่ หัวข้อหนึ่งในหน้าหนังสือวารสารที่เป็นทางการของพรรคได้วิจารณ์ในประ เด็นนี้ : เราต้องระลึกอยู่เสมอว่า.... การปลดปล่อยมวลชนกรรมกรนั้นไม่อาจเป็นไปได้โดยวิธีเช่นนี้
ลัทธิก่อภัยร้ายไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาที่จะทำควบคู่ไปกับการดิ้นรนต่อสู้ในขั้นรากฐาน การจัดระเบียบทางสังคมเป็นเรื่องที่ชนชั้นหนึ่งต่อสู้กับอีกชนชั้นหนึ่ง...ดังนั้นพลังหลักของเราทั้งหมดยังต้องทำงานท่ามกลางมวลชนอยู่”
การรับเอายุทธวิธีแบบใหม่เป็นเหตุให้ส่วนหนึ่งต้องแยกตัวออกไป ระหว่างนักก่อภัยร้ายและเหล่าสาวกของ
ลาฟลอฟ
ที่เคยถกเถียงโต้แย้งกันมาตลอดระยะเวลาที่ทำการโฆษณาชวนเชื่อในหมู่มวลชน ในทางปฏิบัติซึ่งภายหลังมีแนวโน้มที่จะถอยห่างออกไปจากแนวทางของการปฏิวัติไปสนับสนุนวิธีปฏิ บัติทางการเมืองแบบ ”ทำทีละน้อย” และแบบ
“ค่อยเป็นค่อยไป” ส่วนกลุ่มปีกขวาของนารอดนิคนั้นก็กำลังจะกลายไปเป็นนักเสรีนิยมอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้.
ในขณะที่พวกสุดขั้วก็ตระเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเพิ่มพลังอำนาจของกระสุนปืนและ ”การปฏิวัติทางเคมี” ของ ไนโตร-กลีเซอร์รีน (สารก่อระเบิด)
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา... ได้มีความพยายามที่จะสร้างนักก่อภัยร้ายรุ่นใหม่ที่ต่างออกไปจากคนรุ่นเก่าในอดีตขึ้นมา
ผู้ปฏิบัติงานของนารอดนิคที่เคยถูกจับกุม.. ยังคงยืนยันยึดมั่นอยู่กับความเชื่อในลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลอยู่และถือว่าพวกตนเป็นตัวแทนการเคลื่อนไหวของมวลชน,ในขณะเดียวกัน....ผู้ที่สนับสนุน “การต่อสู้ด้วยอาวุธ” หรือ
“การสู้รบแบบกองโจรในชนบท” ก็เห็นว่าพวกตนเท่านั้นที่เป็นปีกติดอาวุธในขบวนการต่อสู้ มีวัตถุประสงค์ในการจุดประกายการต่อสู้ของมวลชนให้เกิดบทบาทขึ้นมาอีก แต่ผู้สนับสนุนของ นารอดนายา โวลยา(Narodnaya Volya) อ้างว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ยังไม่เพียงพอวัตถุประสงค์ของพวกเขาคือการเข้าไปนำการเคลื่อนไหวของมวลชน, ที่มีชาวนาเป็นกลุ่มสังคมนิยมพื้นฐานจึงจะสามารถโค่นล้มรัฐลงไปได้ จุดมุ่งหมายของพวกเขาจะเป็นการจุด"ระเบิด"
ด้วยการเคลื่อนไหวโดยประสงค์จะสร้างตัวอย่างที่กล้าหาญให้มวลชนได้ประจักษ์
อย่างไรก็ดี..สำหรับการเมืองนั้นย่อมมีตรรกะในตัวมันเอง ข้อเรียกร้องต้องการทั้งหมดของนารอดนายา
โวลยา
ในนามของมวลชนคล้ายดั่งหมอกควันที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นต่อพลังปฏิวัติของมวลชน ข้ออ้างที่เป็นมานับศตวรรษในรัสเซียได้พิสูจน์ให้เห็นถึงสิ่งที่คล้ายคลึงกันกับข้ออ้างของกลุ่ม
”การก่อภัยร้ายในเมือง” เป็นอย่างมากเช่นคำกล่าวอ้างที่ว่า“เรามีความประทับใจต่อการเคลื่อนไหวต่อสู้ของมวลชน แต่รัฐนั้นเข้มแข็งเกินไป...และอื่นๆฯลฯ ดังที่ โมโรซอฟ นักก่อภัยร้ายได้ยืนยัน :“ในการสังเกตพิจารณาชีวิตทางสังคมของรัสเซียได้บรรลุถึงบทสรุปดังนี้
เนื่องจากการปกครองตามอำเภอใจและการก่อความรุนแรงของรัฐบาลที่ไม่เป็นไปตามความประสงค์ของประชาชน, ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสรี ภาพในการแสดงออก..ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการพิมพ์หรือเสรีภาพในการทำงานของสื่อมวลชนมักจะใช้วิธีชี้นำโน้มน้าวให้ปฏิบัติตาม,
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นสำหรับนักเคลื่อนไหวที่เป็นกองหน้า...เรื่องแรกสุดก่อนสิ่งอื่นใด..ต้องยุติระบบการปกครองของรัฐบาลลงในทันที การต่อสู้นี้ไม่มีทางอื่นใดนอกจากต้องมีอาวุธอยู่ในมือ และเราจะต่อสู้ในแบบฉบับของ วิลเลียม เทล*(วิลเลี่ยม เทล วีรบุรุษผู้กล้าหาญชาวสวิสในศตวรรษที่
14 ที่สังหาร เกสเล่อร์ ผู้ปกครองทรราชซึ่งราชวงศ์ฮัปสบวร์ก
แห่งออสเตรียส่งมาปกครองสวิตเซอร์แลนด์ในยุคที่กำลังรวมเขตปกครองต่างๆเข้าเป็นสหพันธรัฐ)จนกว่าจะบรรลุถึงช่วงเวลาแห่งชัยชนะและปลดปล่อยสถาบันต่างๆให้เป็นอิสระ
มันจึงจะมีความเป็นไปได้สำหรับเราที่จะพูดคุยกันโดยไม่มีอุปสรรคทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์และในการประชุมในที่สาธารณะที่ทุกคำถามทางด้านการเมืองและสังคมจะได้รับการตอบสนอง...และการตกลงใจของพวกเขาโดยการแสดงออกอย่างเสรีของตัวแทนประ
ชาชน ".
ชาวนารอดนิคนั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่มีจิตใจที่กล้าหาญ..แต่ถูกชี้นำไปในทางที่ผิดโดยนักจิตนิยมที่จำกัดเป้าหมายไว้เพียงต้องการจะขจัดนักทรมานผู้โหดเหี้ยมเช่นหัวหน้าตำรวจที่มีพฤติกรรมกดขี่หรืออะไรที่ไม่ถูกต้องทำนองนั้น พวกเขายอมมอบตัวกับตำรวจเพื่อที่จะใช้การฟ้องร้องคดีของตัวเองเป็นเวทีสำหรับดำเนินคดีในที่สาธารณะ พวกเขาไม่ใช้ระเบิดกับเด็กและผู้หญิงหรือใช้สังหารพลทหารธรรมดาทั่วไป ในบางโอกาสพวกเขาจะสังหารตำรวจเพื่อยึดเอาอาวุธ วิธีเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดอย่างแท้จริง,
ถูกต่อต้านและถูกประณามโดยนักลัทธิมาร์กซ
เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าทฤษฎีที่
”ทันสมัย”
ของลัทธิก่อภัยร้ายในเมืองเป็นเพียงภาพซ้ำของแนวคิดเก่าของนักก่อภัยร้ายที่ดำรงอยู่ในยุคก่อนหน้าลัทธิมาร์กซในรัสเซีย
มันเป็นเรื่องตลกร้ายที่ผู้คนเหล่านี้อ้างกันอยู่บ่อยๆว่าตนเป็นนักลัทธิมาร์กซ-เลนิน แต่ไม่เคยรู้กันเลยหรือว่าลัทธิมาร์กซรัสเซียนั้นได้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากการต่อต้านลัทธิก่อภัยร้ายต่อตัวบุคคลอย่างไม่อาจประนีประนอมได้
นักลัทธิมาร์กซรัสเซียได้อธิบายลักษณะของผู้ก่อภัยร้ายอย่างกระแนะกระแหนว่าเป็น “พวกเสรีนิยมที่ติดระเบิด”
บิดาของลัทธิเสรีนิยมจะกล่าวอ้างในนาม “ประชาชน”
ภายหลังถูกพิจารณาว่าไม่มีความรู้พอที่จะได้รับความเชื่อถือและขาดความรับผิดชอบต่องานปฏิรูปสังคม บทบาทของพวกเขามีแต่จะลดน้อยลงในวาระการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของทุกๆครั้ง,ได้แต่เฝ้ามองบรรดานักเสรีนิยมในรัฐสภากำลังเจริญก้าวหน้าอยู่กับภารกิจของพวกเขา
ทายาทชายหญิงของพวกเสรีนิยมที่ไม่มีอะไรนอกจากจะรังเกียจรัฐสภา
พวกเขายืนหยัดอยู่กับการปฏิวัติและแน่นอน..“ประชาชน” ที่มึนชาและไม่เข้าใจพวกเขาจะยอมรับในภายหลัง ดังนั้น..พวกเขาจะใช้วิธีของ
”เคมีปฏิวัติ”
ด้วยการผลิตระเบิดและปืนลูกโม่
เช่นเดียวกับแต่ก่อน..บทบาทของมวลชนก็ลดระดับลงไปเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์
นักลัทธิมาร์กซได้เฝ้าสังเกตเห็นว่าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมจะดำเนินไปได้นั้นขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของชนชั้นกรรมกรการที่จะก้าวหน้า...ภาระหน้าที่คือการยกระดับจิตสำนึกของตนเองให้เข้มข้นขึ้น
ซึ่งจะทำให้บทบาทด้านที่ปฏิ กิริยามีแนวโน้มลดน้อยลงจากมุมมองนี้..บทบาทของนักก่อภัยร้ายทั้งมวลย่อมเป็นพวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ
ดังนั้นหากนโยบายก่อภัยร้ายของพวกเขาประสบความสำเร็จ.. จะเป็นอันตรายอย่างแน่นอนสำหรับประชาชน
ความพยายามแสวงหาทางลัดในทางการเมืองนั้นบ่อยครั้งมักประสบกับความหายนะบทสรุปก็คือ..
อะไรที่จะสามารถทำให้กรรมกรถอนตัวออกจากการก่อภัยร้ายต่อบุคคลได้?
มีเพียงหนทางเดียวคือการเตรียมการก่อตั้งสหบาลกรรมกรขึ้นมา,แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมกับการนัดหยุดงาน เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับมวล ชน,ปลุกระดม,โฆษณาและให้การศึกษาทั้งหมด
ทั้งหมดนี้กลับถูกมองว่าไม่มีความจำเป็น...สิ่งที่จำ
เป็นกว่าก็คือระเบิดและปืน, แล้วปัญหาต่างๆจะได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไป
ประวัติศาสตร์ของศตวรรษที่ 20
ได้ตระเตรียมบทเรียนที่น่าเศร้าบางอย่างให้เกิดขึ้น เมื่อนักปฏิวัติบางส่วนพยายามที่จะเป็นตัวแทนในการปฏิบัติการเยี่ยงวีรบุรุษที่ติดอาวุธเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของชนชั้นกรรมกร ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนของนารอดนายา โวลยา
ความพยายามที่จะท้าทายอำนาจรัฐโดยวิธีดังกล่าวจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ที่สยดสยองและจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครื่องมือในการกดขี่ขึ้นอีก นั่นหมายถึงความล้มเหลว แต่แม้ในกรณี,ตัวอย่างเช่น...สงครามกองโจรแม้จะประสบความสำเร็จในการโค่นล้มระบอบการปกครองเก่าลงไป
ก็ไม่สามารถนำไปสู่การจัดตั้งรัฐของกรรมกรสังคมนิยมที่มีความมั่นคงได้ อย่างดีที่สุด...มันจะนำไปสู่รัฐกรรมกรที่บิดเบี้ยว [ระบอบปกครองแบบลัทธิเชิดชูวีรบุรุษ(Bonapartism) แห่งชนชั้นกรรมาชีพ] ที่กรรมกรจะต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มขุนนางปัญญาชน
ในความเป็นจริง,ผลพวงที่ออกมานั้นเป็นเรื่องที่ได้ตัดสินใจกันมาก่อนหน้าแล้วคือโครงสร้างในทางจัดตั้งแบบการทหารของนักก่อภัยร้ายและกองโจรที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยภายในองค์กร และนอกเหนือสิ่งอื่นใด,มันเป็นความจริงที่พวกเขาได้กระทำการอย่างเป็นเอกเทศที่อยู่นอกกรอบวินัยของชนชั้นกรรมกร
พรรคปฏิวัติที่แท้จริงไม่ใช่การแต่งตั้งแต่พวกของตัวเองขึ้นมาในฐานะผู้ประสิทธิ์ประสาสน์ของมวลชน หากแต่มีความมุ่งมั่นที่จะจัดตั้งอย่างมีจิตสำนึกเพื่อให้การเคลื่อนไหวต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่...สังคมนิยม
การเคลื่อนไหวของกลุ่มสมาชิกเก่าของพรรค
เซ็มลียา อี โวลยา มีแนวโน้มในความพยายามที่จะคง ลัทธิก่อการร้ายเอาไว้...แต่ถูกกวาดทิ้งไป การประชุมสมัชชาทีโวโรเน็ซฮ์(Voronezh)ในเดือนมิถุนายน 1879
ความพยายามที่จะประนีประนอมเพื่อระงับความแตกแยกประสบความล้มเหลว
และต่อมาก็เกิดการแตกหักกันในเดือนตุลาคมในปีนั้นเองด้วยข้อตกลงที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะยุบเลิกองค์กร แบ่งสิน ทรัพย์ และตกลงกันว่าจะไม่ใช้ชื่อเดิม ฝ่ายนิยมก่อภัยร้ายใช้ชื่อว่า “นารอดนายา
โวลยา หรือความต้องการของประชาชน
ในขณะที่ส่วนที่เหลือที่เป็นสถานที่อบรมสมาชิกของนารอดนิค ใช้ชื่อว่า “ เชอร์นี่ เพเรเดล” หรือ Black Redistribution และยังประกาศเจตนาและแนวคิดเดิมของนารอดนิคในการปฏิวัติชาวนา
ซึ่งภายหลังได้จัดองค์กรขึ้นใหม่นำโดย เพลคานอฟ
และนั่นหมายถึงพลังแห่งลัทธิมาร์กซรัสเซียได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
No comments:
Post a Comment