10. การฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของมวลชน
การบ่มเพาะในแวดวงของนักศึกษา ได้เปิดฉากจากการเคลื่อนไหวในด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะครอบครัวของ
”ผู้ที่สูญหาย” ไป ทำให้ช่องว่างระหว่างกลุ่มเผด็จการและโบสถ์คริสตจักรถ่างกว้าง
มากขึ้นอีก.....เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความไม่พอใจที่เกิดขึ้นในหมู่มวลชนโดยทั่วๆไป ความหวาดกลัวจากผลของการปราบปรามทวีขึ้นทุกๆวัน ถึงแม้ว่ามวลชนยังมีความกลัวอยู่..แต่ก็ยังไม่เท่ากับเมื่อก่อนหน้านี้
แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่คือความเฉยเนือยของมวลชนที่ถูกกดทับจากวิกฤตการทางเศรษฐกิจ..ความหิว
และความปวดร้าวขมขื่น
แต่สถานการณ์เช่นนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยความเศร้าเสียใจ...ในความเป็นจริงมันเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า แแสำหรับเวลาเช่นนี้แล้วไม่มีสิ่งใดๆจะดีไปกว่าการเปลี่ยนแปลงโดยรากฐาน
ระบอบเอกบุรุษของปิโนเช..ที่พื้นฐานสำคัญของมันมาจากเครื่องมือของรัฐ ที่พยายามแสวงหาเป้า หมายของดุลยภาพทางชนชั้น ด้วยวิธีนี้..ปิโนเช คิดว่าจะสามารถทำได้โดยได้รับการสนับสนุนจากมวลชนด้วยการพึ่งพิงบริการจากบรรดา นักสหภาพแรงงานขุนนาง ทั้งหลาย หลังจากกองทัพยึดอำนาจ.. องค์กรสหภาพแรงงานของชนชั้นกรรมกรส่วนใหญ่ที่มีอยู่แต่เดิมได้ถูกยกเลิก ในฐานะที่เป็นองค์กรผิดกฎหมาย บรรดาผู้นำกรรมกรของสหภาพฯเหล่านี้ถูกกวาดล้าง จับกุม และไล่ล่าสังหาร กระนั้นการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานก็ยังดำเนินต่อไปภายใต้ระบอบปกครองของกลุ่มเผด็จการ ทหาร แต่ในความเป็นจริงสหภาพแรงงานเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการดำเนินการโดยผู้นำกรรมกรที่บรรดานายพลทั้งหลายขุนเลี้ยงไว้ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของระบบอบปกครองแบบลัทธิเอกบุรุษ
ปิโนเช
มีแนวคิดที่จะกำหนดการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานให้เป็นแบบ ”เชื่องเชื่อ” แต่ในสถาน
การณ์ของประเทศที่กำลังบอบช้ำกับการเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้ความพยายามนี้กลับเป็นผลเสียต่อตนเอง สหภาพแรงงานขุนนางต่างไม่สามารถแสดงบทบาทในการเป็นเครื่องมือของกลุ่มปกครองต่อไปได้อีกภายใต้การเคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งแตกต่างไปจากความต้องการของกลุ่มเผด็จการ ในสภาวะวิกฤตทำให้เกิดแรงกดดันจากบรรดาสมาชิก
จากปัจจัยเหล่านี้ เริ่มจากการเป็น
”สื่อกลาง” หรือ “ผู้ไกล่เกลี่ย” ของรัฐบาล นายจ้าง และกรรมกร (กรรมการไตรภาคี) สามารถทำได้แค่สถานะ
กึ่งค้าน หรือ คัดค้าน เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในบริบทของชิลีก็คือการจัดตั้งสหภาพแรงงานอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมั่น
คง ซึ่งพอจะทดแทนหลายสิ่งหลายอย่างได้และยังคงดำรงอยู่อย่างเป็นรูปเป็นร่าง หน้าร้อนปี 1978
มีกรรมกรมากกว่าล้านคนเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน7,047แห่งที่มีการจัดตั้งขึ้น(สหภาพ ด้านอุตสาหกรรม 819 แห่ง..สหภาพฯด้านเกษตรกรรม
877 แห่ง สหภาพวิชาชีพต่างๆ4,144 แห่ง
และในในกลุ่มแรงงานภาคเกษตรกรรม and 207 แห่ง) ซึ่งแยกออกเป็นจำนวนดังต่อไปนี้
สหภาพฯด้านอุตสาหกรรม 235,000 คน เกษตรกรรม 283,000 คน สาขาอาชีพ 495,000
คน ลูกจ้างในภาคเกษตรกรรม 13,000 คน
สมาพันธ์แรงงานกลาง (CUT/Confederación Unitaria de Trabajadores) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติของกรรมกร
ถูกปิดลงในวันที่เกิดรัฐประหารยกเว้นสหภาพฯที่เป็นเครื่องมือของกลุ่มขุนนาง
ระบอบเผด็จการทหารได้แต่งตั้งกลุ่มผู้นำกรรมกรปีกขวาที่เป็นผู้แก้ต่างกลุ่มเผด็จการฯและประกาศนโยบายของตน ก่อนที่องค์กรกรรมกรสากลและกลุ่มสหภาพแรงงานทั่วโลกจะเคลื่อนไหวคัดค้าน แต่สหภาพแรงงานขุนนางที่พรรค
คริสเตียน เดโมแครต ควบคุมอยู่สามารถดำรงอยู่ในระดับแถวหน้า กลุ่มปก
ครองเผด็จการไม่สามารถทำลายองค์กรของกรรมกรในระดับท้องถิ่นได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ สำคัญคือจำนวนของสมาชิกสหภาพฯไม่ได้ลดลง ก่อนการรัฐประหาร..สมาพันธ์กรรมกรกลาง(CUT)มีสมาชิกอยู่1,800,000 คน ถ้าจะประเมินคร่าวๆในเวลานี้(1978)บรรดาสหภาพแรงงานทั้งหลายมีสมาชิกรวมกันถึง
1,200.000 คน
อันตรายที่ใหญ่หลวงคือความจริงที่กลุ่มปกครองเผด็จการทหารได้รับรายงานในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นาย นิคานอร์ รัฐมนตรีแรงงานคนก่อนที่ได้แสดงความเห็นว่า
“กรรมกรแทบจะไม่มีอะไรกิน
ซึ่งก็คือสมาชิกสหภาพแรงงานทั้งหลายทั้งหลาย”
ความไม่พอใจของกรรมกร
สิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการฟื้นตัวของจิตวิญญาณทางชนชั้นได้แก่ การเคลื่อนไหวที่เกิด ขึ้นครั้งแรกสุดในปี
1987
บรรดาสหภาพแรงงานได้รวบรวมกรรมกรกว่า30,000คนใน ซานติอาโก
โดยฝ่าฝืนคำสั่งของรัฐบาล และจัดให้มีการชุมนุมในโรงงานต่างๆและในส่วนอื่นๆของประเทศ
เนื่องจากการเคลื่อนไหวนัดหยุดงานเป็นไปได้ยากมากในชิลีขณะนั้น จึงทำได้แค่การปลุกระดมในโรงงาน สามารถกดกันนายจ้างได้เพียง 5 ถึง 10 นาที เท่านั้น จากการกระทำทีละเล็กทีละน้อยทำให้ความกลัวหมดสิ้นไปกรรมกรเริ่มมีความกล้ามากขึ้น วิธีการต่อสู้ประท้วงแบบใหม่ๆได้ถูกคิดค้นขึ้น เหมืองแร่ ชิชิเกอมาตา ในภาคเหนือ ได้มีการนัดหยุดงานเพื่อประท้วง ”ความหิวโหย”เหล่ากรรมกรเหมืองปฏิเสธการกินในโรงอาหารของสถานประกอบการ การประท้วง รูปแบบนี้ได้ขยายไปยังเหมือง เอล เทียเน้นเต การประท้วงแบบนี้ยืดเยื้อออกไปนับเดือนและนั่นคือการบ่มเพาะ ในมวลหมู่กรรมกร ตามที่นิตยสาร ฮอย ได้เขียนไว้ว่า...”มันเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจใน เอล เทียเน้นเต เพราะว่าเราได้ใช้เวลาห้าถึงหกเดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องค่าจ้าง”...”วันพฤหัสที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 1977 กรรมกร 1200 จาก 4000 คน ของเหมืองทองแดง เอล เทียเน้นเต ไม่ยอมกลับเข้าทำงาน
มีการแจกจ่ายแผ่นปลิวเป็นเวลาหลายวัน
และที่เห็นติดอยู่บนกำแพงได้เรียกร้องให้กรรมกรหยุดงานในวันที่ 2 พฤศจิกายน ทำให้นายจ้างจำต้องทำความตกลงว่าจะจ่ายเงินโบนัสให้ในเดือนธันวาคม ในเวลาเดียวกันกรรมกร 49 คนถูกเลิกจ้าง...
“โดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆแม้แต่น้อยจากสหพันธ์กรรมกรเหมืองแร่ทองแดง” แหล่งข่าวเดียวกันได้รายงานอีกว่า
“ในการชุมนุมของมวลชนกรรมกร 3000 คนของสหภาพฯที่เซเวล อี มินาส
ในกลางเดือนพฤศจิกายน...สมาชิกได้เรียกร้องให้ประธานสหภาพฯลาออกเนื่องจากแสดงตนประกาศสนับสนุนเข้าข้างนายจ้าง
“
ความจริงเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงกระบวนการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานที่ได้เริ่มต้นขึ้นอีกอย่างมีชีวิตชี
วา ชนชั้นกรรมกรไม่อาจยอมรับสภาพการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อที่เป็นทางการพุ่งสูงขึ้นถึง
60% ในปี 1978
เป็นเหตุให้สหภาพแรงงานขุนนางตกอยู่ในสถานะที่ง่อนแง่นมากยิ่งขึ้น ครอบครัวของกรรมกรส่วนใหญ่มีอาหารกินกันแค่วันละมื้อเดียวเท่านั้น
กรรมกรและครอบครัวมีเพียงขนมปังและชาสำหรับบริโภค
จากความเป็นอยู่ในสภาพที่สิ้นหวังได้แปรเปลี่ยนไปเป็นการจลาจล
อย่างในกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นใน เอล เทเนียนเต้
เรื่องที่ไร้สาระเรื่องหนึ่งก็คือสหภาพแรงงานทองแดงขุนนาง(ที่มี
กุยเลอโม เมดินา ที่เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติเป็นผู้นำ) ไม่เห็นด้วยกับการหยุดกิจการได้กล่าวหาว่า
“สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 นั้นเป็นผลมาจากแรงจูงใจทางการเมืองของกลุ่มคนที่ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของคนงานเหมือง"
ได้มีการตอบโต้ผู้นำกรรมกรในบางแห่งด้วยการไล่ออกและเนรเทศไปยังชนบทที่ห่างไกล ความไม่พอใจของกรรมกรได้แผ่ขยายไปยังภาคส่วนต่างๆเช่นกรรมกรท่าเรือ
ซึ่งในเวลาเดียวกันได้ทำการเคลื่อนไหว
“เฉื่อยงาน” จนทำให้การขนส่งที่ท่าเรือวาลปาไรโซ ลดลงถึง 50 %.
ความไม่พอใจของบรรดากรรมกรได้เริ่มส่งผลสะท้อนกลับไปยังผู้นำกรรมกรขุนนางเอง ในการชุมนุม ที่โรงละคร โคปูลิกัน
ในนครซานติอาโกในพิธีเฉลิมฉลองอาคาร สหพันธ์กรรมกรก่อสร้างและช่างไม้ได้แสดงความไม่พอใจออกมาว่า
“ด้วยเงิน 1,411
เปโซ ซึ่งเป็นอัตราค้าแรงขั้นต่ำ
ทำให้เรามีเงินพอแค่จะจ่ายค่าขนมปังเพียง 2 กิโลกรัมต่อวันเท่านั้น สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 5-7 คน ค่าจ้างขั้นต่ำจะซื้อได้แค่ขนมปังเท่านั้น” (Revista
de America Contemporarea, p. 21)
อีกด้านหนึ่งสภาวะที่ย่ำแย่ของกรรมกรที่แสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า 10%ของการเสียชีวิตของประเทศมาจากการประสบอุบัติเหตุในการทำงาน
ซึ่งเป็นระดับอัตราสูงที่สุดในลาตินอเมริกา ความไม่พอใจของมวลชนกรรมกร..บางครั้งจะสะท้อนออกบนหน้าหนังสือพิมพ์ของชนชั้นนายทุน เช่นใน วันที่ 17 กรกฎาคม 1978 หนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก(tabloid)
ลา
เทเซรา ได้ประณามการข่มเหงกรรม กรเหมืองแร่
เอล ซัลวาดอร์ ในตอนเหนือของประเทศ
ตามที่ บาร์ดาดิโน คาสติลโย
ประธานสมา พันธ์กรรมกรเหมืองแร่ทองแดงได้กล่าวว่า...”ไม่เพียงแต่จะมีการจัดการที่ย่ำแย่เท่านั้น แต่ผู้จัดการอาวุโสยังกลั่นแกล้งข่มเหงกรรมกรอย่างเป็นระบบ...เหยียดหยามศักดิ์ศรีของพวกเขา เลิกจ้างโดยไร้เหตุผล ละเมิดกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย.....ปฏิเสธหลักการที่ถูกกฎหมายและไม่ยอมรับข้อเรียกร้องใดๆในด้านสิทธิแรงงาน”
ความกลัวของชนชั้นนายทุนน้อย
คาสติลโย ได้กล่าวเสริมว่า
“...เขาได้ตัดสินใจที่จะปกป้องสิทธิประโยชน์ของบรรดาสมาชิกสหพันธ์ฯและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งที่จะตามมา ผมไม่สนใจต่อมาตรการต่างๆที่ต่อต้านผม ในขณะนั้นบรรดากรรมกรต่างอยู่ในความสงบ แต่ในแต่ละวันก็มีการเดินขบวนประท้วงอันเนื่องมาจากความทุกข์ยากและไม่พอใจ”
จากถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแรงกดดันทั้งมวลที่มีต่อชนชั้นกรรมกร
ซึ่งมาจากผู้นำกรรมกรขุนนางโดยพื้นฐาน.....ในขณะเดียวกันก็เป็นการผลักดันให้เกิดช่องว่างระหว่างพวกเขากับกลุ่มปกครองเผด็จการและบรรดานายจ้างเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการบอกเตือนถึงสถานการณ์ในอนาคต เช่นในเหมือง เอล เทเนียนเต และเช่นเดียวกันกับที่ เอล ซัลวาดอร์ (ซึ่งเป็นเหมืองทองแดงที่มีความสำคัญเป็นอันดับสามของประเทศที่มีกรรมกรถึง
5,634 คน)
ที่ทำการนัดหยุดงานในเดือนพฤศจิกายน 1977 ภายใต้ยุทธวิธี “ลา” แทนปัญหาการเรียกร้องค่าแรงและได้รับการปฏิบัติที่เลวจากหัวหน้างาน
หนัง
สือพิมพ์ ลา เทเซรา แสดงความ “เห็นอกเห็นใจ” และเข้าข้างกรรมกร โดยกล่าวถึงประเด็นที่พวกหัวหน้างานใช้ตำแหน่งและอำนาจ
”ทำตัวเป็นปฏิปักษ์” ต่อกรรมกร
ด้วยทัศนะคติที่ย่ำแย่เช่นนี้ได้กลายเป็นการสนับสนุนให้เกิดความไม่สงบขึ้นทั่วไปในสังคม
การเอื้อประโยชน์ในปัญหาของกรรมกรเหมืองแร่เช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความกลัวที่เพิ่มขึ้นของบรรดาชนชั้นนายทุนในระดับต่างๆต่อความเป็นไปได้การฟื้นตัวของการเคลื่อนไหวในหมู่กรรมกร
ทุกสิ่งดูเลวร้ายไปหมด..ในกรณีที่ผลิตผลทองแดงที่มีมูลค่าถึง 60% ของเงินตราต่างประเทศที่ใช้เป็นเงินงบ
ประมาณของประเทศ
เรื่องนี้คือสาเหตุสำคัญที่บรรดานายทุนใช้กดดันรัฐบาลให้ ”เอาใจใส่ดูแลข้อ เรียกร้อง” ทางด้านแรงงานเพื่อความเป็นไปได้ในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่างๆ
ความตื่นกลัวของชนชั้นนายทุนได้พุ่งเป้าไปยังกลุ่มปกครองเผด็จการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ ลีห์ กุซ มาน รวมศูนย์การวิจารณ์ของเขาไปยังรัฐบาลที่เริ่มจากปัญหาด้านนโยบายทางเศรษฐกิจ ต้นเดือนสิงหาคม 1975 ลีห์ได้กล่าวหาว่านโยบายเศรษฐกิจของกลุ่มปกครองนั้นเป็นสาเหตุ “ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานอย่างมากในการลิดรอนสิทธิ์ของชนชั้นต่างๆ ค่าใช้จ่ายทางสังคมของนโยบายนี้ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงเกินกว่าที่ได้คาดหมายไว้ การว่างงานพุ่งสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดมากกว่าที่เคยเป็นมา และชนชั้นที่ยากไร้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส”
แน่นอนปฏิบัติการ
”น้ำตาจระเข้”ของพวกปฏิกิริยานี้โดยทั่วไปแล้วไม่ได้ส่งผลให้เกิดความหวาดหวั่น ที่จะรับผิดชอบในการเคลื่อนไหวใดๆ แต่ความกลัวต่อผลกระทบทางสังคมที่จะตามมาก็คือการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นกรรมกร สำหรับตัวปิโนเชเอง..เขาพยายามที่จะจัดประชุมกับบรรดาสหภาพแรงงานขุนนางทั้งหลายซ้ำแล้วซ้ำเล่าในปีเช่นนี้ เพื่อจะค้นหาความจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้นและพยายามจะหาทางออก
ในส่วนของสหภาพแรงงานขุนนาง ต่างมีความชื่นชมยินดีที่สามารถบรรลุข้อลงระหว่างรัฐบาลและ
นายจ้าง แต่สถานะที่ล้มเหลวของระบอบทุนนิยมในชิลีไม่อนุญาตให้พวกเขาสร้างอัตรากำไรที่เพียงพอสำหรับการยักย้ายถ่ายเท นายจ้างยังไม่พร้อมที่จะยอมรับเงื่อนไข สำหรับกรรมกรและครอบครัวก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร มันเป็นสูตรสำเร็จที่ความไม่พอใจจะประทุขึ้นในสังคม
ผู้นำสหภาพแรงงานพนักงานของรัฐได้ให้คำอธิบายว่า การปรับค่าจ้างขึ้นเพียง10% นั้นไม่เพียงพอและยืนกรานในข้อเรียกร้องของตน โดยให้พิจารณาจากปัจจัยต่างๆอย่างเร่งด่วน เนื่องจาก
”สภาพความเป็นอยู่ของพนักงานรัฐตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบากมาก” ประธานของ เฟนเมตา (สหพันธ์แรง งานลูกจ้างอุตสาหกรรมรถยนต์
ช่างไฟฟ้า และช่างโลหะ) ได้มีจดหมายไปถึง นสพ.ลา เทอร์เซรา ฉบับวันที่ 10/7/78 โดยให้เหตุผลถึงกำลังซื้อที่ลดลงในการเจรจาต่อรองกับนายจ้างและหลักประ
กันสำหรับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง ในจดหมายฉบับนี้ คาสโตร ได้อธิบายอย่างชัดเจนต่อผลกระทบของนโยบาย
”เปิดประตู”
ของสำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก เมื่อเขาได้ชี้ชัดออกมาว่า
“การนำสินค้าเข้าจำนวนมหาศาลได้สร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมและกำลังซื้อของชาติ
ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการว่างงานและการถดถอยทางเศรษฐกิจ สหพันธ์แรงงาน เฟนเตมา เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากที่เคยมีสมาชิกถึง 12,000 คน ในปี 1973
กลับเหลือสมาชิกอยู่เพียง 7,000 คนในเดือนมิถุนายน
1978 การว่างงานในธุรกิจการค้าเนื่องมาจากการปิดกิจการ
และเพราะว่าจากการเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าในระดับต่ำของสินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า”
ข้อตกลงที่ไม่อาจเป็นไปไม่ได้
วันที่ 28 มิถุนายน
สหพันธ์แรงงานพาณิชยกรรมแห่งชาติ (Fenatrobeco)ได้มีจดหมายถึง ปิโนเช เรียกร้องให้มีการเผยแพร่ “กำไรที่เกิดโดยแรงงานหลังจากการต่อสู้มานานปี”
ขึ้นใหม่ โดยยกเลิก คำสั่งที่ได้ตีพิมพ์ไปเมื่อเร็วๆนี้ ในจดหมายได้ชี้แจงอย่างไร้เดียงสาว่า "ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ท่านได้ยืนยันแทบทุกครั้งในโอกาสต่างๆว่าสิทธิทั้งหมดของกรรมกรจะได้รับการเคารพ."
ปัญหาของสหภาพแรงงานขุนนางทั้งหลายคือไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆกับรัฐบาลและบรรดานายทุนได้เลยในสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นำสหภาพฯถูกบีบให้ไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลเผด็จการ
ภายใต้แรงกดดันของชนชั้นกรรมกรที่กำลังมีความตื่นตัวในการต่อสู้เพื่อปกป้องผล ประโยชน์ของตน ตัวอย่าง..เช่นการประกาศใช้กฎหมายควบคุมสหภาพฯ ทำให้เห็นสิ่งลวงตา ว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆต่อการดำรงอยู่ของสหภาพแรงงานขุนนาง...มันเป็นการกีดกันพวกเขาไม่ให้แสดงออกถึงบทบาทของการเป็นคนกลางได้
นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งของคลื่นการประท้วงที่สื่อตรงไปยังปิโนเชโดยผู้นำสหภาพแรงงาน ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนมานี้ “คณะกรรมการสมานฉันท์สหภาพแรงงานแห่งชาติ” มีความสัมพันธ์อย่างสนิทแน่นแฟ้นเป็นพิเศษกับกลุ่มปกครองเผด็จการ และได้แสดงตนว่าเป็น”ตัวแทน”ระดับชาติของบรรดาสมาชิกสหภาพแรงงานนับล้านคน พวกเขาถูกบีบให้ปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายฉบับที่
2200 ของวันที่ 15 มิถุนายนที่พวกเขามีส่วนร่วมในการลงนาม โดยประธานสหภาพแรงงานสิ่งพิมพ์ สหภาพช่างทาสี สมาพันธ์กรรมกร-ชาวนาสามัคคี กรรมกรโลหะและเหมืองแร่ โดยเขียนไว้ในต้นฉบับว่า... ”เราขอปฏิเสธรูปแบบเหล่านี้โดยสิ้นเชิง เมื่อได้ตรวจสอบแล้วว่ามีการผิดสัญญาตั้งแต่แรกเกี่ยวกับเรื่องการยอมรับสิทธิประโยชน์ของกรรมกรที่เคยมีมาแต่เดิม เราไม่ยอมรับการจ้างงานแบบชั่วคราว
ตั้งแต่มีกฎหมายฉบับนี้..กรรมกรถูกมัดมือมัดเท้าให้ยอมรับการแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการกดขี่อย่างหน้าด้านๆหรือถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม....
“แผนการเลิกจ้างของเคลลี่เป็นอันว่าถูกเลื่อนออกไปโดยรัฐบาลมีความประสงค์ให้กลับไปพิจารณาทบทวนใหม่ก่อนที่จะนำมาใช้ เนื่องจากถูกเคลื่อนไหวคัดค้านจากสหภาพแรงงานทั้งมวลแม้แต่สหภาพฯที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล
อนึ่ง...พวกเขายังแสดงทัศนะที่ว่าด้วยการยกเลิกข้อตกลงในการรวมตัวของแรงงานที่มีลักษณะคล้าย
คลึงกัน...”เราได้สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยมีมานานเป็นๆปี” และนั่นก็เพื่อจะทำให้สหภาพแรงงานทั้งหลายอ่อนแอลง
“สิทธิตามกฎหมายของบรรดาผู้นำกรรมกรถูกจำกัด โดยทำให้พวกเขาเข้าใจสับสนไปว่าเหมือนกับสิทธิในการลาคลอด” ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับการขึ้นค่าจ้าง10%
.ในเดือนมิถุนายาดังที่กล่าวมาแล้ว... “เราขอย้ำว่าการปรับค่าจ้างนั้นไม่สามารถชดเชยกับค่าครองชีพจริงที่สูงขึ้น และชนชั้นผู้ใช้แรงงานไม่สามารถหลุดพ้นจากการมีชีวิตอยู่บนความอดอยากกับค่าจ้างที่ได้รับ มันเป็นการบ่อนเซาะทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเรา”
และท้ายที่สุด
“เนื่องเพราะสถานการณ์เริ่มจะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทนต่อไปได้แล้ว...ในเวลาไม่นานนี้เราจะเสนอเอกสารต่อรัฐบาลให้รับข้อเรียกร้อง
ซึ่งเราพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่จะมีชีวิตรอดได้ท่ามกลางชนชั้นอื่นในสังคม ถึงเนื้อหาสาระในการขึ้นค่าแรงให้แก่กรรมกร
ลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอื่นๆที่เราเป็นตัวแทน”
สิ่งที่เกิดขึ้นได้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างปิโนเชและผู้นำที่”น่านับถือ”ของสหภาพแรงงานคริสเตียน เดโมแครท ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างชัดเจน ได้แสดงอาการถอยห่างออกจากกลุ่มปกครองเผด็จการ วิกฤตเศรษฐกิจ การว่างงาน ความอดอยากหิวโหย ความทุกข์ยาก ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดที่บ้าบอของ Milton Friedman อย่างเข้มงวด โดยการแยกขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างชนชั้นกรรมกร ชาวนาและส่วนใหญ่ของคนชั้นกลางที่ต่อต้านรัฐบาล ปิโนเช สามารถอยู่ได้ก็เพราะความเฉื่อยเนือยของมวลชนในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่มันค่อนข้างชัดเจนว่ากระบวนการพัฒนาจิตสำนึกของชนชั้นกรรม กรนั้นได้ก้าวไปสู่ระดับโมเลกุล มันเป็นการสะสมกำลังภายใต้ปรากฎการณ์ที่ดูเหมือนว่าสงบสันติ
สิ่งที่เกิดขึ้นได้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างปิโนเชและผู้นำที่”น่านับถือ”ของสหภาพแรงงานคริสเตียน เดโมแครท ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารอย่างชัดเจน ได้แสดงอาการถอยห่างออกจากกลุ่มปกครองเผด็จการ วิกฤตเศรษฐกิจ การว่างงาน ความอดอยากหิวโหย ความทุกข์ยาก ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดที่บ้าบอของ Milton Friedman อย่างเข้มงวด โดยการแยกขั้วกันอย่างชัดเจนระหว่างชนชั้นกรรมกร ชาวนาและส่วนใหญ่ของคนชั้นกลางที่ต่อต้านรัฐบาล ปิโนเช สามารถอยู่ได้ก็เพราะความเฉื่อยเนือยของมวลชนในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่มันค่อนข้างชัดเจนว่ากระบวนการพัฒนาจิตสำนึกของชนชั้นกรรม กรนั้นได้ก้าวไปสู่ระดับโมเลกุล มันเป็นการสะสมกำลังภายใต้ปรากฎการณ์ที่ดูเหมือนว่าสงบสันติ
No comments:
Post a Comment